วิถีทางในการสรรค์หาพลังงงานไฟฟ้ามาใช้ในประเทศไทยเมืองที่กำลังต้องการพลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น มาจากการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน 52.28% และผลิตได้เอง 47.72% ส่วนของการผลิตเองนี่แหละเป็นต้นเหตุของปัญหา อย่างเช่น โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ที่เป็นเคราะห์กรรมของชาวบ้าน เป็นความเดือดร้อนของประชาชน แน่นอนว่าผลมาจากความ เห็นแก่ตัว ของผู้ผลิตพลังงาน ที่ไม่จัดการระบบผลิตให้ได้มาตรฐานอย่างสมบูรณ์ และชาวบ้านต่อสู้ไม่ชนะหรือชนะยากเมื่อได้สร้างโรงงานลงไปแล้ว
ปัญหามันเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ ที่โรงไฟฟ้าไม่สามารถรับผิดชอบได้เพราะความเห็นแก่ตัว
1. ปัญหาน้ำเสีย จากการเก็บเชื้อเพลิงเช่นทลายปาล์มจำนวนมากเมื่อฝนตกจะชะล้างเอาน้ำเสียลงแหล่งน้ำ และการปล่อยน้ำจากการนำไปใช้ในกระบวนการสร้างพลังงานไฟฟ้า
2. ปัญหฝุ่นควัน เขม่า สารเคมีในอากาศจากการเผาไหม้
3. ปัญหาการจัดการหรือที่ทิ้งขี้เถ้า
4. ปัญหาเสียงรบกวน
5. ปัญหาฝุ่นและถนนพังจากรถบรรทุก
คุณประโยชน์มหาศาลจากการผลิตไฟฟ้านั้นมีแน่นอน แต่ปัญหาที่มีก็คือผู้ควบคุมและผู้ลงทุนมักง่าย เห็นแก่ตัว ไม่ลงทุนในส่วนที่รับผิดชอบต่อสังคม และเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วไม่ว่าจะเป็นคำขอร้องใดๆ โรงไฟฟ้าชีวมวลก็ไม่เหลียวแล รับฟังแต่ไม่นำไปปฏิบัติ เป็นปัญหาเดียวกันแทบทุกที่เมื่อจะสร้างโรงงานเพิ่มในที่แห่งใหม่ก็เกิดการต่อต้าน เพราะการสกัดไม่ให้มีการสร้างเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ตามตัวอย่างผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล จ.กระบี่ (ตอนที่ 1)
โรงไฟฟ้าชีวมวล กับทุกข์ของชาวบ้าน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
ตัวอย่างรูปโรงไฟฟ้าชีวมวล ภาพจาก manager.com |
โรงไฟฟ้าชีวมวลในประเทศไทย ภาพจาก http://www.thia.in.th/welcome/article_read/116 |
แนวคิดการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กกระจายทั่วทุกภาคเป็นแนวคิดที่ดี แต่เมื่อปฏิบัติรัฐไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในกรอบมาตฐานความปลอดภัย และความรับผิดชอบต่อสังคม ระดับโลกได้ มันก็ไม่ต่างจากยกโรงงานที่ปล่อยควันพิษ ปล่อยน้ำเสีย ปล่อยฝุ่นละอองสารเคมี เสียงรบกวน ไปไว้ในชุมชนที่มีธรรมชาติบริสุทธิ์ อากาศบริสุทธิ์ นั่นเท่ากับว่าได้ไม่คุ้มเสีย ทำลายมากกว่าสร้างสรรค์
เรียบเรียงโดย xsci