แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Sci แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Sci แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ท่องจักรวาล ไขความลับดวงอาทิตย์ - secret of the sun

พลังงานฟรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกมนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมดวงอาทิตย์ให้ความร้อนได้ยาวนาน และจะดับลงเมื่อไหร่? ร่วมหาคำตอบได้ที่นี่

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

LIGO Laser Interferometer Gravitational-Wave Observatory ยืนยันการตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงเป็นครั้งแรก


บทความโดย facebook.com/matiponblog/photos/a.255101608033386.1073741828.255096768033870/427749910768554/?type=3&theater


LIGO ยืนยันการตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงเป็นครั้งแรก

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2016 นี้ ทีมงาน LIGO (Laser Interferometer Gravitational-Wave Observatory) ได้ออกแถลงข่าวยืนยันการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงเป็นครั้งแรกของโลก โดยทีมงานเปิดเผยว่าวันที่ 14 กันยายน 2015 ที่ผ่านมา ได้มีการตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงที่เกิดจากหลุมดำสองหลุมมวล 29 และ 36 เท่าของดวงอาทิตย์รวมตัวกัน และปลดปล่อยพลังงานในรูปของคลื่นความโน้มถ่วงที่ตรวจพบได้โดยเครื่องตรวจวัดคลื่นความโน้มถ่วงทั้งที่ Hanford, Washington และ Livingston, Louisiana ในเวลาเดียวกัน

นอกจากการยืนยันการมีอยู่ของคลื่นความโน้มถ่วงแล้ว การค้นพบนี้ยังช่วยยืนยันถึงการมีอยู่ของ binary black hole หรือหลุมดำสองหลุมที่โคจรรอบกันอีกด้วย

แต่ว่าคลื่นความโน้มถ่วงคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

- ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของไอสไตน์

ก่อนจะพูดถึงคลื่นความโน้มถ่วง เราจำเป็นต้อง ต้องอธิบายถึงแรงโน้มถ่วงตามทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอสไตน์ก่อน ไอสไตน์อธิบายว่าแรงโน้มถ่วงเกิดจากมวลทำให้เกิดการบิดงอของกาลอวกาศ คล้ายกับการที่เรายืนบนเตียงนอนทำให้พื้นเตียงรอบๆ เรานั้นบิดงอไป และการบิดงอของกาลอวกาศนี้เป็นตัวส่งผลให้วัตถุมีการเคลื่อนที่อย่างที่เราสังเกตเป็นแรงโน้มถ่วงทุกวันนี้

ผลพลอยได้อย่างหนึ่งของการบิดงอของกาลอวกาศก็คือ แรงโน้มถ่วงจะสามารถทำให้ระยะทางและเวลาเกิดการบิดเบือนได้ ซึ่งสามารถพบได้ชัดเจนในบริเวณที่มีแรงโน้มถ่วงสูง เช่น รอบหลุมดำ

- คลื่นความโน้มถ่วง

ถ้าการยืนบนเตียงของเราทำให้เตียงเราโค้งงอได้ การกระโดดขึ้นลงหรือเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วบนเตียงนอนของเราก็จะสามารถแผ่อิทธิพลการโค้งงอออกไปรอบๆ ได้เช่นเดียวกับการโยนก้อนหินลงบนผิวน้ำ เมื่อเราโยนก้อนหินลงไปในทะเลสาป การรบกวนบนผิวน้ำจะแผ่ออกไปรอบๆ เกิดเป็นคลื่นผิวน้ำ

เช่นเดียวกัน การรบกวนในกาลอวกาศโดยมวลจำนวนมาก ก็น่าจะสามารถแผ่อิทธิพลการรบกวนนี้ไปยังกาลอวกาศรอบๆ ได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากเราไม่สามารถเพิ่มหรือทำให้มวลหายไปได้ เราจึงไม่สามารถ “โยน” มวลลงไปยังผิวกาลอวกาศได้ในลักษณะเดียวกับการโยนก้อนหินลงในผิวน้ำ แต่สิ่งที่อาจจะสามารถทำให้เกิดการแผ่คลื่นความโน้มถ่วงได้ก็คือการยุบตัวลงของมวลอย่างรวดเร็ว การโคจรรอบกันของมวลจำนวนมากสองมวล หรือการรวมตัวกันของวัตถุขนาดมหึมาเช่นหลุมดำสองหลุม

อีกวิธีหนึ่งที่สามารถเปรียบเทียบคลื่นความโน้มถ่วงได้ก็คือโดยการเปรียบเทียบกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เราทราบกันว่าอิเล็คตรอนจะแผ่สนามไฟฟ้าไปรอบๆมัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเราทำการเคลื่อนอิเล็คตรอนไปยังตำแหน่งใหม่ สนามไฟฟ้าของอิเล็คตรอนจะต้องใช้เวลาเดินทางออกไปเท่ากับความเร็วแสง เมื่อเราทำการเคลื่อนตำแหน่งอิเล็คตรอนอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงสนามไฟฟ้าอย่างรวดเร็วนี้เอง ที่ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกไปรอบๆ การที่เราสามารถใช้โทรศัพท์มือถือได้ก็เป็นเพราะว่าอิเล็คตรอนภายในเสาอากาศเกิดการสั่นขึ้นลงและแผ่ออกไปเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่สามารถตรวจจับได้โดยอิเล็คตรอนในเสาอากาศของเครื่องรับนั่นเอง ในลักษณะเดียวกันเมื่อเรามีมวลขนาดใหญ่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว เราก็จะสามารถแผ่คลื่นความโน้มถ่วง ที่สามารถตรวจพบได้โดยมวลอื่นที่ห่างไกลออกไป

โดยลักษณะของคลื่นความโน้มถ่วงนั้น จะอยู่ในรูปของการบิดงอของกาลอวกาศทำให้ระยะทางในสองทิศทางยืดและหดออกไป คล้ายกับการทำให้หนังยางวงกลมบิดเบี้ยวออกเป็นวงรีในทิศทางที่สลับกันไปมา

- ความท้าทายในการศึกษาคลื่นความโน้มถ่วง

อย่างไรก็ตาม การตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำไมจึงยังไม่มีการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงจนถึงทุกวันนี้ ความท้าทายของคลื่นความโน้มถ่วงส่วนหลักๆ เป็นเพราะว่าคลื่นความโน้มถ่วงมีอิทธิพลน้อยมาก และจะสังเกตเห็นได้ง่ายก็ในกรณีที่เกิดการรวมตัวกันของมวลขนาดมหึมาเช่นหลุมดำเท่านั้น

ลองนึกภาพมวลขนาด 29 เท่าของดวงอาทิตย์ แต่มีขนาดเพียงแค่ 150 กม. เคลื่อนที่ด้วยความเร็วครึ่งหนึ่งของความเร็วแสง และชนเข้ากับหลุมดำอีกอันที่มีมวล 36 เท่าของดวงอาทิตย์ นี่คือเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการสังเกตที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2015 ที่ผ่านมา

เมื่อรวมกันแล้ว มวลรวมสุดท้ายของหลุมดำนั้นมีมวลเพียงแค่ 62 เท่าของมวลดวงอาทิตย์เท่านั้นเอง และมวลอีก 3 เท่าของดวงอาทิตย์ได้ถูกเปลี่ยนไปในรูปของพลังงานคลื่นความโน้มถ่วงที่แผ่ออกมาเป็นระยะทางกว่า 1.3 พันล้านปีแสงจนมาถึงโลกของเรา

พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาโดยการรวมตัวของหลุมดำนี้ มีมากกว่า 50 เท่าของพลังงานที่ดาวฤกษ์ทุกดวงในเอกภพปลดปล่อยออกมาในหนึ่งหน่วยเวลาเสียอีก อย่างไรก็ตาม พลังงานเหล่านี้ถูกปลดปล่อยออกมาในเวลาเพียงแค่เสี้ยววินาทีเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่งพลังงานอันมหาศาลนี้ ก็ส่งผลให้เกิดการยืดหดเพียงแค่ 10^(-21) ส่วนเท่านั้นเอง นั่นคือหากเรามีไม้เมตรวางเอาไว้ในขณะที่คลื่นความโน้มถ่วงจากการรวมตัวของหลุมดำนี้ผ่านไป ไม้เมตรนั้นจะยืดได้ไม่เกิน 10^(-21) เมตร

ด้วยความท้าทายเหล่านี้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือตรวจวัดคลื่นความโน้มถ่วงที่แม่นยำและมีขนาดใหญ่เป็นอย่างมาก

- LIGO

Laser Interferometer Gravitational-Wave Observatory (LIGO) เป็นเครื่องตรวจวัดคลื่นความโน้มถ่วงขนาดมหึมา ประกอบขึ้นด้วยท่อขนาดยาว 4 กิโลเมตร สองท่อ ทำมุมกัน 90 องศา และมีสถานีตรวจวัดอยู่สองที่ ที่ Hanford, Washington และ Livingston, Louisiana

การที่ใช้ท่อขนาดยาว 4 กม. นี้จะทำให้การยืดหดของกาลอวกาศที่เกิดจากคลื่นความโน้มถ่วงสามารถสังเกตได้ง่ายขึ้น เพื่อสังเกตคลื่นและการสั่นไหวในกาลอวกาศที่เกิดขึ้น ไม่ต่างอะไรกับทุ่นลอยกลางทะเลที่คอยสังเกตคลื่นผิวน้ำ ซึ่งส่วนมากในเวลาคลื่นลมสงบนั้นมีคลื่นที่ราบเรียบเกินกว่าที่เครื่องมือจะสามารถตรวจวัดได้

การรวมตัวกันของหลุมดำที่ผ่านมา เปรียบได้กับการเกิดมรสุมขนาดใหญ่ ที่ทำให้เกิดคลื่นขนาดมหึมาจนพอจะสังเกตได้

แต่แม้กระทั่งคลื่นความโน้มถ่วงขนาดมหึมานี้ ก็ทำให้กาลอวกาศภายในท่อยาว 4 กม. เปลี่ยนแปลงความยาวไปเพียงแค่ 10^(-18) เมตรเพียงเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นขนาดที่เล็กกว่าขนาดของโปรตอนเสียอีก

ความท้าทายหลักๆ ในการสังเกตคลื่นความโน้มถ่วงของ LIGO ก็คือการกำจัดการสั่นสะเทือนเล็กๆ ที่อาจจะเกิดจากบนโลก และการวัดระยะทางที่แม่นยำ ในการวัดระยะทาง ซึ่ง LIGO สามารถทำได้โดยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า interferometer โดยการใช้เลเซอร์ยิงสะท้อนกับกระจกที่ยังปลายอุโมงค์ เมื่อระยะทางในสองอุโมงค์เกิดการเปลี่ยนแปลงจากคลื่นความโน้มถ่วง จึงสามารถสังเกตได้เป็นเฟสของเลเซอร์ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อสะท้อนกลับมายัง interferometer

ซึ่งการค้นพบในวันที่ 14 กันยายน 2015 นี้ทำให้เราสามารถยืนยันการมีอยู่ของคลื่นความโน้มถ่วง และหลุมดำโคจรรอบกัน ในเอกภพได้

- ต่อจากนี้

เมื่อ 400 ปีที่แล้ว กาลิเลโอได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ในการสังเกตวัตถุบนท้องฟ้าเป็นครั้งแรก และเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของจักรวาลของมนุษย์อย่างก้าวกระโดด และทุกครั้งที่เรามีการเปิดหน้าต่างช่วงคลื่นใหม่ในการสังเกตการณ์ทางธรรมชาติ ก็ทำให้ความเข้าใจของเราก้าวเพิ่มมากขึ้นอย่างทวีคูณ

เช่นเดียวกัน การค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการค้นพบยิ่งใหญ่ที่กำลังจะตามมาเพียงเท่านั้น เมื่อเราสามารถค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงได้ เราก็จะสามารถยืนยันปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่างๆ อีกมากมายที่คาดเอาไว้ได้ เช่น การยุบตัวของซูเปอร์โนวา ดาวนิวตรอน คอสมิคสตริง ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดที่เครื่องตรวจวัดคลื่นความโน้มถ่วงอาจจะนำมา ก็คือสิ่งที่เรายังคาดคิดไม่ถึงในตอนนี้

ปัจจุบัน LIGO ยังมี sensitivity เพียงแค่ 1 ใน 3 ของที่ควรจะเป็นเพียงเท่านั้น และ LIGO ยังสามารถพัฒนาเครื่องมือได้อีก จึงมีโอกาสที่จะตรวจพบปรากฏการณ์อื่นได้อีกมาก

อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของคลื่นความโน้มถ่วงก็คือ คลื่นความโน้มถ่วงนั้นไม่สามารถบอกทิศทางได้ ใกล้เคียงกับไมโครโฟนที่สามารถฟังเสียงได้ แต่บอกไม่ได้ว่าเสียงมาจากทิศทางใด

อย่างไรก็ตาม กำลังจะมีการสร้างเครื่องตรวจวัดคลื่นความโน้มถ่วงอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ญี่ปุ่น อิตาลี ฯลฯ เป็นเครือข่ายของคลื่นความโน้มถ่วง ซึ่งหากเรามีเครื่องตรวจวัดหลายตำแหน่ง ก็จะช่วยให้เราสามารถจำกัดขอบเขตของทิศทางที่กำลังมาถึงได้

การค้นพบที่ยิ่งใหญ่นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงข้ามคืน แต่ใช้ระยะเวลากว่า 50 ปีและเงินทุนสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและความร่วมมือของเอกชน เงินภาษีประชาชนกว่า 40 ปี จึงจะเกิดเป็นการค้นพบอันยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติได้

ภาพ: LIGO, NSF, Aurore Simonnet (Sonoma State U.)

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

เราจะมีน้ำมันใช้ได้อีกเพียง 30-40 ปีเท่านั้น จริงหรือไม่ แล้วพลังงานอย่างอื่นมีอะไรอีกบ้าง

          เราจะมีน้ำมันใช้ได้เพียง 30-40 ปีเท่านั้น นี่เป็นคำพูดเมื่อ 30 ปีก่อน ปัจจุบันก็ยังพูดกันเช่นเดิมว่า เราจะมีน้ำมันใช้กันอีกแค่ 30-40 ปีเท่านั้น ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เชื่อถือได้หรือไม่และ "คำว่าปริมาณที่คาดว่าจะผลิตได้" และ "ปริมาณสำรองที่อยู่ใต้ดิน" นั้นแตกต่างกันอย่างไร?


          ปริมาณที่คาดว่าจะผลิตได้ (พิสูจน์แล้ว) ก็คือ ปริมาณที่สามารถขุดเจาะด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน จากปริมาณที่สำรวจพบได้ในปัจจุบัน และถ้าพัฒนาเทคโนโลยีค้นหาและขุดเจาะมีสมถรรนะเพิ่มขึ้นก็จะสามารถผลิตเพิ่มขึ้นได้อีก หรือจะผลิตเมื่อมีความคุ้มค่าเชิงพานิช หรือค้นพบแหล่งใหม่ ก็จะถูกยกระดับเป็นปริมาณสำรองในอนาคต ซึ่งข้อมูลที่เผยแพร่ออกมาได้นั้นต้องผ่านการพิสูจน์และเชื่อถือได้ 90%
          ส่วนปริมาณสำรองที่ยังไม่ได้พิสูจน์ เป็นส่วนที่คาดว่าจะพบเพิ่มเติมจากส่วนที่พิสูจน์แล้ว แต่ยังติดเรื่องต่างๆ เช่นสัญญา ระบบการผลิต กฏระเบียบ มีการค้นพบ สำรวจ ทดสอบ ในระดับความน่าเชื่อถือ 10-50%


วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หนังสือพลังงานฉบับการ์ตูน แปลใหม่่ล่าสุดจากญี่ปุ่น ลดพิเศษนาทีทองเอาใจนักอ่าน 235 เหลือเพียง 195 บาท เท่านั้น



สนใจดูรายละเอียดได้ที่ http://bit.ly/powertpa
รายละเอียดสินค้า : ผู้แต่ง :Katsuhiro Saito 
ผู้แปล :ดร.อรรณพ เรืองวิเศษ 
ขนาด :Pocketbook 
ISBN :9789744436139 
จำนวนหน้า : 208 หน้า 
พิมพ์ 4 สีทั้งเล่ม 
ระดับผู้ใช้ : นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ 

***ระยะเวลา Pre sale วันที่ 20 ก.พ.-16 มี.ค.2558 ฟรีค่าจัดส่ง 
ทีมงานจะจัดส่งหนังสือให้ท่านเมื่อสิ้นสุดโปรโมชั่น และท่านจะได้รับหนังสือภายใน 7 วันนับจากวันที่จัดส่ง 

สนใจดูรายละเอียดได้ที่ http://bit.ly/powertpa

เนื้อหาโดยสังเขป 

ความรู้พื้นฐานเรื่องพลังงานต่าง ๆ ที่หลากหลาย รอบด้าน อ่านสนุก เข้าใจง่าย สำหรับนักเรียน นักศึกษา สายวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาถึงมหาวิทยาลัย 
เรียนรู้ความหมายและหลักการพื้นฐานเรื่องพลังงาน และศึกษาหลักการใช้พลังงานให้เป็นประโยชน์ ทั้งพลังงานแสง ไฟฟ้า ความร้อน เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ พลังงานทดแทน พลังงานนิวเคลียร์ 
รู้จักแหล่งพลังงานดั้งเดิม อย่างดวงอาทิตย์ ความร้อน การเผาไหม้ และพลังงานในธรรมชาติ อย่างแม่น้ำ มหาสมุทร หิมะบนภูเขา รวมถึงพลังงานสมัยใหม่ อย่างไฟฟ้าและพลังงานนิวเคลียร์ 
ทบทวนแหล่งพลังงานในปัจจุบันที่ใช้สะดวก แต่ก่อปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำมัน ถ่านหิน รู้จักพลังงานสะอาดที่หมุนเวียนได้ เช่น แสงอาทิตย์ น้ำ ลม ชีวมวล มหาสมุทร ความร้อนใต้พิภพ และค้นหาแหล่งพลังงานที่อาจใช้ได้ในอนาคต เพื่อทางออกที่ยั่งยืนของทุกปัญหาพลังงาน 

สนใจดูรายละเอียดได้ที่ http://bit.ly/powertpa

วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

จำลองจักรวาลเหมือนจริงด้วย supercomputer Model Universe

ภาพกลุ่ม galaxy ที่ประกอบไปด้วยปฏิสสาร ในจักรวาลอันยุ่งเหยิง สวยงาม และน่ากลัว  : Illustris Collaboration

          ในปัจจุบันทฤษฏีจักรวาลวิทยาสามารถอธิบายว่าจักรวาลมีวิวัฒนาการมาอย่างไร ทางเดียวที่จะค้นหา เรื่องราวก่อนเกิดจักรวาล และกาแลคซี่  นั่นคือการจำลองเหตุการขึ้นบนซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ การจำลองประสบความสำเร็จได้เพราะว่ามีการปรับปรุงอัลกอริทีมให้ดีขึ้น เพื่อการคำนวณที่หลากหลายทางฟิสิกส์ อย่างเช่นการสร้างมวลมหาศาลของหลุมดำ และผลกระทบต่างๆ ต่อสิ่งแวดล้อม พลังการทำงานของคอมพิวเตอร์นี้ หากใช้คอมพิวเตอร์เดสทอปทำงานอาจใช้เวลาถึง 2,000 ปี เลยทีเดียว

credit : nature.com/news/model-universe-recreates-evolution-of-the-cosmos-1.15178

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ - Royal Development Projects

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ภาพจาก http://chm-thai.onep.go.th/chm/Business/egat_operate/egat2.html

“เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับการทำมาหากินและปัญหาอื่นๆ ที่กระทบถึงสภาพการดำรงชีวิตในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ”

        เป็นรูปแบบการดำเนินการด้านการพัฒนารูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะหลากหลายและครอบคลุมพื้นที่เกือบทุกจังหวัด  ปัจจุบันโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีจำนวนมากกว่า 3,000 โครงการ (ข้อมูลปี 46 สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) 
    นอกจากนี้ โครงการดำเนินกิจกรรมเป็น “องค์กรด้านการพัฒนา” ทำให้เกิดเป็น “เครือข่ายองค์กรด้านการพัฒนา” ที่มีบทบาทสำคัญต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากรูปแบบการดำเนินการด้านการพัฒนาครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง และส่งผลต่อประชาชนจำนวนมาก

         โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ คือการดำเนินกิจกรรมด้านการพัฒนาของสถาบันกษัตริย์หรือที่รู้จักกันในนาม “โครงการในพระราชดำริ” โดยทั่วไปมีความหมายถึง โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ได้ทรงมีดำริจัดทำขึ้น ซึ่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น มีลักษณะสำคัญคือ “เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับการทำมาหากินและปัญหาอื่นๆ ที่กระทบถึงสภาพการดำรงชีวิตในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ” (สุเมธ ตันติเวชกุล 2529: 1)
        โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงมีหลากหลายประเภท หลายสาขา และมีพื้นที่ดำเนินการครอบคลุมเกือบทุกจังหวัดของประเทศ นอกจากนี้รูปแบบของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในนบางโครงการยังได้พัฒนาเป็นมูลนิธิจดทะเบียนดำเนินการตามกฏหมายอีกด้วย อาทิ มูลนิธิอานันทมหิดล มูลนิธิราชประชาสมัย มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ มูลนิธิโครงการหลวง มูลนิธิชัยพัฒนา เป็นต้น

    1. โครงการตามพระราชประสงค์  หมายถึง  โครงการที่ทรงศึกษาและทดลองปฏิบัติเป็นการส่วนพระองค์ และทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการดำเนินการทดลอง ต่อมาเมื่อทรงแน่พระทัย แล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้รัฐบาลเข้ามารับช่วงดำเนินการต่อ ตัวอย่าง ของโครงการดังกลาว ได้แก่ โครงการส่วนพระองค์จิตรลดา โครงการหุบกะพงตามพระราชประสงค์ เป็นต้น
    2. โครงการหลวง  หมายถึง  โครงการส่วนพระองค์ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากราษฏร รัฐบาลไทยและต่างประเทศ รวมทั้งสำนักงาน กปร. โดยทรงเจาะจงดำเนินการพัฒนาและบำรุงรักษาต้นน้ำลำธารในบริเวณภาคเหนือ โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดำเนินกิจการโดยตรงกับชาวเขา โดยร่วมปฏิบัติผสมผสานกับหน่วยงานของรัฐบาลในพื้นที่ต่างๆ ในภาคเหนือ บางโครงการมีลักษณะการดำเนินงานแบบโครงการพระราชดำริ
    3. โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ หมายถึง โครงการที่ทรงพระราชทานข้อแนะนำพระราชดำริให้เอกชนไปดำเนินการด้วยกำลังเงิน กำลังปัญญา และกำลังแรงงาน พร้อมทั้งการติดตามผลงานให้ต่อเนื่องโดยภาคเอกชนเอง เช่นโครงการหมู่บ้านสหกรณ์โนนดินแดง อ.ทับสะแก อ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งสโมสรโรตารีแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดและดำเนินการตามแนวพระราชดำริ โครงการพจนานุกรมและโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เป็นต้น
    4. โครงการตามพระราชดำริ หมายถึง โครงการที่ทรงวางแผนพัฒนา ทรงเสนอแนะให้รัฐบาลร่วมดำเนินการตามพระราชดำริ โดยจะร่วมทรงงานกับหน่วยงานของรัฐบาล ซึ่งมีทั้งฝ่ายพลเรือน ตำรวจ และทหาร โครงการประเภทนี้ปัจจุบันมีกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย อาทิ โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ โครงการศูนย์ศึกษาพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น

credit :
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ :การสถาปนาพระราชอำนาจนำในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผู้แต่ง/ผู้แปล : ชนิดา ชิตบัณฑิตย์
Barcode : 9789748278575
ISBN : 9789748278575
ปีพิมพ์ : 2 / 2554

วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เมื่อฝุ่นผงผ่านกาลเวลาเป็นโลก from dust to eart



การเดินทางของการเวลา ก้าวผ่านปัจจุบัน กลืนกินอนาคต บางสิ่งยิ่งผ่านกาลเวลายิ่งเติบโต บางสิ่งยิ่งผ่านกาลเวลากลับทรุดโทรมและแย่ลงเรื่อยๆ โลกเรากำลังก้าวผ่านกาลเวลานับได้  4,600 ล้านปี สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่เกิดจากฝุ่นเม็ดแรก เม็ดที่สองและอีกมหาศาลค่อยๆ  รวมตัวกันผ่านกาลเวลาก้อนฝุ่นใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ  จนกลายเป็นดวงดาวในระบบสุริยะแต่ในขณะนั้นต้องเผชิญสภาวะอันโหดร้ายจากฝูง อุกกาบาตฟุ่งชนอย่างหนัก ขณะที่โลกมีขนาด 80% ของปัจจุบันอุกกาบาตก้อนใหญ่พุ่งชนจนเนื้อโลกหลุดออกไปเป็นดวงจันทร์ หลังจากนั้นโลกก็ค่อยๆ เย็นตัวลงเปลือกโลกแข็งตัวเป็นหินแต่ยังไม่เป็นทวีปเป็นเพียงเกาะเล็กๆ ลอยอยู่ในมหาสมุทร เมื่อ 2,500 ล้านพี่ผ่านไปเปลือกโลกก็แยกตัวเป็นทวีปแตกต่างจากยุคแรกอย่างสิ้นเชิง

วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

5 พ.ค. 57 เกิดแผ่นดินไหวที่เชียงราย 5.6 ริคเตอร์ - ติดตามแผ่นดินไหวแบบเรียลไทม์ Real Time Earthquake Map and Volcano Activity Report

REALTIMETOOLS - Real Time Earthquake Map and Volcano Activity Report

Update 08.05 7-5-57


Update 08.05  6-5-57

***************************************************
ขณะนี้เกิดแผ่นดินไหวที่เชียงราย 5.6 แมคนิจูด


ข่าวจากรอยเตอร์
http://mobile.reuters.com/article/idUSBREA440A220140505?irpc=932

ข่าวจ่าก sky report ch3
https://m.facebook.com/profile.php?id=118856201469804&ref=m_notif&notif_t=close_friend_activity

วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

thundercloud-สายฟ้าคำราม เมื่อยามฝนโปรย


ภาพลักษณะการเกิดฟ้าแลบฟ้าฝ่า  credit: OutdoorEd.com
         ขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนองจะเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ลูกเห็บตก มีลมกระโชกแรงเป็นครั้ง คราว โดยในรอบ 1 ปี ทั่วโลกมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นถึง 16 ล้านครั้ง โดยเฉพาะในเขตละติจูดสูง และในเมืองที่อากาศร้อนชื้นจะมีจำนวนวันที่มีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดได้ถึง 80 - 160 วันต่อปี สำหรับประเทศไทยมักเกิดมากในเดือน เมษายน - พฤษภาคม เป็นช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนองมากที่สุด

วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2557

สิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ยูโรปา-Moon Europa


             ยูโรปาดวงจันทร์จิ๋วของดาวพฤหัส มีขนาดเล็กกว่าโลกหลายเท่าตัว ดาวที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งและภายใต้น้ำแข็งนั้นเป็นมหาสมุทรน้ำในสถานะของเหลวในปริมาณที่มากกว่าโลกถึง 2-3 เท่า และหากถามว่ายูโรป้ามีพลังงานความร้อนมาจากไหนในเมื่อพลังจากแสงอาทิตย์ส่องไปไม่ถึง เพราะอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ 960 ล้านกิโลเมตร  พลังงานความร้อนของยูโรปาเกิดจากการยึดหดตัวของดาวที่เกิดจากแรงดึงดูดจากดาวพฤหัส ทำให้เกิดการยืดหดแบบเดียวกับลูกเทนนิสที่โดนตี หรือลูกฟุตบอลที่โดนเตะและคืนสภาพเดิม ทำให้พื้นมหาสมุทรมีพลังงานความร้อนจนน้ำแข็งหลอมเหลว น้ำเป็นสภาวะเอื้อต่อการดำรงค์ชีวิต แม้ไม่มีแหล่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ แต่จากการได้ศึกษาพบว่าสิ่งมีชีวิตสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานจากดวงอาทิตย์แต่เพียงอย่างเดียว พลังงานความร้อนจากแหล่งอื่นก็สามารถใช้งานได้เช่นเดียวกัน   ดังเช่นใต้มหาสมุทรลึกบนโลกเราคือปล่องน้ำพุร้อนที่ละลายแร่ธาตุออกมาเรียกว่า ปล่องไอดำ ในบริเวณนั้นพบว่ามีสัตว์ทะเลอาศัยอยู่อย่างมากมายโดยอาศัยพลังงานความร้อนและแร่ธาตุจากน้ำพุร้อนนั้นดุจโอเอซีสใต้ทะเล

วันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2557

โรคฉี่หนูอันตรายใต้สายฝน-Leptospirosis


โรคฉี่หนู Leptospirosis
             เข้าสู่หน้าฝน ไม้ที่ผ่านความแห้งแล้งขาดน้ำจนต้นเหี่ยวเฉา ความชุ่มฉ่ำจากสายฝนมาเยือนก็เริ่มผลิใบอ่อนชูช่อ พืชพันธุ์ล้มลุกเริ่มแตกหน่อ เมล็ดพันธุ์เริ่มงอกงาม หมุนกงล้อชีวิตให้เดินหน้าต่อ ชีวิตคนเราก็ไม่ต่างกับสิ่งเหล่านี้ทุกนาทีเรากำลังก้าวผ่านกาลเวลา เผชิญปัญหาต่อสู้ดิ้นรน ผ่านทุกข์ สุข โรคภัย เพื่อก้าวไปข้างหน้า
             ฤดูฝนในอีกมุมหนึ่งเชื้อโรคต่างๆ อาจจะแพร่เชื้อระบาดได้ง่าย ด้วยความชื้นแฉะ ในฤดูนี้มีโรคเกิดขึ้นได้หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นโรคทางน้ำและอาหาร โรคทางเดินหายใจ น้ำกัดเท้า ไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย และโรคฉี่หนูหรือโรค โรคเลปโตสไปโรซิส  เป็นโรคติดต่อจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสู่คน (Zoonosis) โรคนี้เราอาจเข้าใจผิดไปว่ามีเฉพาะหนูเท่านั้นที่แพร่เชื้อได้แต่สัตว์อื่นอย่างเช่น สุกร โค กระบือ สุนัข แมวฯ แต่หนู จะไม่มีอาการแต่สามารถปล่อยเชื้อได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรืออาจจะตลอดชีวิต และมีเปอร์เซ็นเป็นพาหะนำโรคสูงที่สุดในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เชื้อที่อาศัยอยู่ในตัวหนูจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ทำให้เชื้อปนเปื้อนอยู่ในน้ำขัง หรือผัก ปลา โดยเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายทางรอยขีดข่วนเป็นแผล เนื้อเยื่ออ่อนบุตา จมูก ปาก หรือผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานานแม้ไม่มีบาดแผล ระยะฟักตัว 1-2 สัปดาห์ จะมีอาการเซื่องซึม เบื่ออาหาร มีไข้อ่อนๆ ตาแดง กล้ามเนื้ออักเสบ ตัวเหลือง คอแห้ง ตับวาย ไตวาย ถึงเสียชีวิตได้

การทำลายเชื้อทำได้อย่างไร?
1. ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) สูงกว่า 8.0 หรือต่ำกว่า 6.5
2. ความเค็ม เช่น น้ำทะเล
3. ที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที หรือ 70 องศาเซลเซียส 10 วินาที และแสงแดดสามารถทำลายเชื้อได้
4. ความแห้งสามารถทำลายเชื้อได้ ในพื้นดินที่แห้ง เชื้อจะตายในไม่กี่ชั่วโมง
5. น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ไอโอดีน คลอรีน และน้ำยาทำความสะอาด (Detergents) รวมทั้งสบู่สามารถฆ่าเชื้อได้

ข้อแนะนำ
1. ถ้าสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงติดเชื่อให้นำไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจรักษา และแยกสัตว์ป่วยกับสัตว์ปกติ
2. ฉีดวัคซีนป้องกันฉี่หนูให้กับสัตว์เลี้ยงใกล้ชิด (แมวยังไม่มีวัคซีนโรคนี้)
3. หลีกเลี่ยงไม่ให้สัตว์เล่นน้ำขัง เจ้าของควรหลีกเลี่ยงสัมผัสสัตว์ป่วย
4. ทำความสะอาดบริเวณที่อยู่อาศัย และกรงสัตว์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
5. กำจัดหนูบริเวณที่อยู่อาศัย ไร่ นา หรือที่ๆ มีโอกาสแพร่เชื้อ
6. ตรวจแหล่งน้ำ ดินทรายที่อาจปนเปื้อนเชื้อ ถ้าเป็นน้ำในท่อระบาย ควรล้างระบายน้ำที่ปนเปื้อนออกไป
7. หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ แช่หรือลุยในน้ำที่อาจปนเปื้อนเชื้อจากปัสสาวะสัตว์นำโรค หรือถ้าจำเป็นควรสวมรองเท้าบู๊ต
8. ฉีดวัคซีนป้องกันแก่คนงานและผู้ที่ประกอบอาชีพเสี่ยงต่อโรค เป็นวิธีที่ใช้ในญี่ปุ่น จีน อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส และอิสราเอล

ภาพประกอบ/เรียบเรียง : xsci

วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

สถานีอวกาศนานาชาติ (Internation Space Station - ISS)

           
วามสงสัย ความอยากรู้ของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นสิ่งที่จุดประกายให้เกิดการศึกษาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาเหล่านั้นให้ได้ ในแต่ละครั้งที่มนุษย์ศึกษาและประสบความสำเร็จก็เกิดองค์ความรู้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาเป็นประโยชน์ต่อโลก ต่อเผ่าพันธุ์มนุษย์ชาติไม่มีที่สิ้นสุด บางครั้งแรงผลักก็เกิดจากการแข่งขัน หรือบางครั้งก็เกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศ
            สถานีอวกาศนานาชาติ (Internation Space Station - ISS) เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ลอยอยู่เหนือโลกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และเป็นห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ในอวกาศที่ใหญ่ที่สุดที่มนุษย์เคยมีมาสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เกิดจากความร่วมมือ 16 ประเทศ นำโดยประเทศสหรัฐอเมริกา, คานาดา, ญี่ปุ่น, รัสเซีย, 11 ประเทศยุโรป และบราซิล ก่อนสถานี ISS จะเกิดขึ้นรัสเซียเป็นผู้บุกเบิกโครงการสถานีอวกาศเมียร์ (Mir’s Space Station) ผ่านประสบการณ์ด้านนี้มากว่า 30 ปีจึงเป็นหัวหอกสำคัญ และเป็นรากฐานให้กับสถานีอวกาศ ISS

วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ดวงอาทิตย์เกิดปรากฏการกลับขั้วจากขั้วเหนือ เป็นขั้วใต้ - Sun ‘flips upside down’ while reversing magnetic poles

ดวงอาทิตย์เกิดปรากฏการกลับขั้วจากขั้วเหนือ เป็นขั้วใต้ เกิดการเปลียนแปลงจากแกนกลางของดวงอาทิตย์ เรียกว่า วัฏจักรสุริยะที่ 24  ในวันที่ 31 ธันวาคม 2556


"การเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กไฟฟ้าบนดวงอาทิตย์เป็นปรากฏการใหญ่ ดร. โทนี่ ฟิลลิป แถลง ณ หน่วยงานข่าวสารทางเว็บไซต์ด้านอวกาศ"

"ขั้วแม่เหล็กของดวงอาทิตย์เกิดการอ่อนแรงลงสู่ระดับ 0 อีกครั้ง ซึ่งเป็นวัฏจักรปรกติของดวงอาทิตย์ " ฟิล แชร์เร่อ ม.แสตนฟอร์ด กล่าว"


ในขณะเดียวกันผลกระทบของมันอาจเป็นภัยพิบัติของกาแลคซี่ และส่งผลกระทบส่วนใหญ่ต่อภารกิจการสำรวจอวกาศ รังสีคอสมิค เป็นอันตรายต่อนักบินอวกาศ และยานสำรวจอวกาศ นักวิจัยกล่าวว่าพวกเขาอาจได้รับผลกระทบจากทัศนวิสัยบนพื้นผิวโลก ฟิลิป กล่าว

ผลกระทบจากปรากฏการนี้โลกเราอาจก้าวเข้าสู่ยุคน้ำแข็งระยะสั้น เช่นเดียวกับ 1,200 ปีก่อน ที่มียุคน้ำแข็งระยะสั้นกินเวลา 400 ปี ที่โลกเราจะเย็นยะเยือกไล่ตั้งแต่ยุโรปลงมาถึงเส้นศูนย์สูตร จากขั้นโลกใต้ขึ้นมาถึงเส้นศูนย์สูตรซึ่งพอจะอยู่อาศัยได้อย่างหนาวเย็นอีกครั้ง


ข่าวจาก rt.com/news/sun-upside-down-flip-990/



วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การดูแลสุขภาพรับฤดูหนาว -Healthy

างครั้งฤดูหนาวก็สร้างความตื่นเต้นให้กับคนเมืองร้อนได้ดีไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะเพิ่งผ่านฤดูร้อนที่ร้อนหฤโหดมาเมื่อไม่นานนี่เองช่วงนั้นร้อนจนแทบจะอยู่ในบ้านไม่ได้จนต้องออกมาหลบความร้อนตามความสะดวกของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นไปเที่ยวน้ำตก คนที่อยู่ใกล้ห้างสรรพสินค้าก็เดินห้างกันดีกว่า บางคนเลี่ยงไม่ได้เพราะต้องทำงานกลางแดดเปรี้ยงก็ต้องทำใจให้เข้มแข็งแล้วบอกตัวเองว่าไม่ร้อนเท่าไหร่แค่นี้จิ๊บ ๆ สบายมาก แต่ก็เตรียมอุปกรณ์เสื้อผ้าที่ห่อหุ้มร่างกายให้พ้นจากเปลวความร้อนให้ดีพอที่จะสู้ได้ตลอดวัน
  แต่ตอนนี้เข้าสู่ฤดูหนาวที่เรียกได้เต็มปากซักทีว่าฤดูหนาวจริง ๆ ปี 2556 เริ่มหนาวกันตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมเรื่อยมาจนตอนนี้ทางภาคเหนือหนาวเหน็บจนยอดดอยเกิดแม่คะนิ้งขาวโพลนให้เชยชมกันเลยทีเดียว เราชาวเมืองร้อนตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตรย่อมตื่นตัวที่จะหาแหล่งท่องเที่ยวฤดูหนาว จินตนาการไว้ในหัวว่าใส่ชุดกันหนาวเท่ ๆ เดินชมดอกไม้สวย ๆ ธรรมชาติงามตา  ทางภาคเหนือ เป็นการเที่ยวเมืองหนาวแบบประหยัดไม่ต้องไปไกลถึงญี่ปุ่น เกาหลี หรือย่านยุโรปให้เมื่อยตุ้ม แต่เราต้องไม่ลืมเรื่องการดูแลสุขภาพต้องพร้อมเพื่อรับกับความหนาวได้โดยที่ต้องไม่ป่วยไม่สบายไปซะก่อน มาดูกันว่าโรคที่พบบ่อยในฤดูหนาวมีอะไรกันบ้าง

ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
ในช่วงฤดูหนาวเราอาจเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส  บางคนที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่เดิม โดยเฉพาะแพ้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในบ้าน เช่น ขนของสัตว์เลี้ยง  ตัวไรในฝุ่นก็อาจมีอาการแพ้มากขึ้น โดยอาจมีอาการจาม น้ำมูกไหล

วิธีการรักษา
             โรคไข้หวัดใหญ่โดยทั่วไปจะหายเองภายใน 1-2 สัปดาห์  หรือให้การรักษาตามอาการ คือช่วงที่มีไข้ก็รับประทานยาลดไข้พาราเซตตามอล  เช็ดตัวบ่อย ๆ พักผ่อนมาก ๆ  ไม่ตรากตำทำงานหนัก ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ  ถ้าสูบบุหรี่หรือดื่มเหล้ายู่ต้องงด  และรับประทานยาลดอาการต่าง ๆ  เช่น  ถ้าไอก็รับประทานยาแก้ไอ มีน้ำมูกก็รับประทานยาลดน้ำมูก สำหรับยาฆ่าเชื้อไข้หวัดใหญ่โดยเฉพาะมักไม่ต้องใช้  เพราะโรคจะหายได้เอง  จึงใช้เฉพาะในรายที่อาการรุนแรงเท่านั้น
ควรดูแลสุขภาพในช่วงฤดูหนาวอย่างไร

             การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าสุขภาพดีจะลดโอกาสการเจ็บป่วยลง โดยทั่วไปควรปฏิบัติ ดังนี้
1. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพียงพอ
2. อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท
3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และยาเสพติดต่าง ๆ
4. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัด
5. ล้างมือบ่อย ๆ เนื่องจากอาจไปสัมผัสเชื้อโรคที่อยู่ตามสิ่งของต่าง ๆ เช่น ราวบันได ลูกบิดประตู  แก้วน้ำ เป็นต้น แล้วเผลอไปสัมผัสบริเวณหน้าได้ โดยล้างมือด้วยสบู่ธรรมดา 15-20 วินาที หรือใช้น้ำยาล้างมืออื่น ๆ
6. รักษาร่างกายให้อบอุ่นในช่วงฤดูหนาวหรือช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง
7. หากเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ควรมีผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอจาม
8. สำหรับปัญหาเรื่องผิวหนัง เราควรให้ร่างกายอบอุ่นอยู่ตลอดเวลา ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ   อาจไม่ต้องอาบน้ำวันละสองครั้งเหมือนฤดูอื่น หลังอาบน้ำควรทาโลชั่นหรือน้ำมันทาผิว  หลังจากเช็ดตัวหมาด ๆ
ทุกคนจึงควรหมั่นคอยดูแลสุขภาพให้ดีตลอดเวลาเพราะจะเป็นการป้องกันโรคที่คุ้มค่าที่สุด  และไม่มีใครรู้ว่าความเจ็บป่วยจะเกิดขึ้นกับตัวเราเมื่อไหร่  หากเมื่อเราป่วยอาจเป็นมากกว่าคนที่มีพื้นฐานสุขภาพที่ดี   สำหรับผู้ที่อายุยังไม่มาก ก็ควรดูแลสุขภาพให้ดีเช่นเดียวกัน เพราะสุขภาพที่ดีในตอนอายุยังน้อยจะเป็นเกราะป้องกันโรคตอนอายุมากขึ้น

เรียบเรียง : xsci

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โลกร้อนเพราะธรรมชาติ หรือฝีมือมนุษย์ Wisconsin ice age to Holocence

          
Wisconsin ice age 12,800 - 11,500  ปีก่อน
         
ดูหนาวก้าวมาเยือนอีกครั้งปีนี้นับว่าหนาวเย็นสมการรอคอยของหลาย ๆ คน ปีก่อน ๆ นั้นซื้อเสื้อกันหนาวเตรียมเอาไว้แต่ไม่ได้ใช้ตอนนี้ได้เอาออกมาใช้กันสมใจ ในจุดที่สูงสุดของประเทศไทยอย่างดอยอินทนนท์หนาวจนเกิดแม่คะนิ้งบนยอดหญ้าขาวโพลนสวยงามน่าตื่นตาตื่นใจ ดึงดูดท่องเที่ยวจำนวนมากไปสัมผัสความหนาวกัน ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ต่างได้รับความหนาวเย็นกันถ้วนหน้า เว้นแต่ภาคใต้ที่ยังมีฝนตกชุกบางพื้นที่ เพียงแค่ระยะทางห่างกันไม่มากสภาพอากาศยังแตกต่างกันได้ขนาดนี้ทำให้อดฉุกคิดถึงคำว่าโลกร้อนไม่ได้และโลกร้อนเกิดขึ้นจริง แต่นั่นแหละถ้าตั้งคำถามว่าโลกร้อนเพราะอะไรล่ะเราจะมีคำตอบหรือไม่?

3D Camera fusion system

 
เทคนิคการถ่ายภาพ 3D แบบ Camera fusion system โดยจอห์น คาเมรอน
http://vimeo.com/21054740

ชุดถ่าย 3D Camera fusion : http://www.3dfilmfactory.com

บทความเกี่ยวกับการทำภาพยนต์ 3D Camera fusion system
http://www.thaidfilm.com/read.php?tid=5694

เรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างแอฟเฟ็คเสมือนจริงในภาพยนต์ระดับโลก
http://pantip.com/topic/31409604

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แคปซูลทัวร์อวกาศ Altas V

Altas V  ภาพจาก www.universetoday.com
แคปซูลทัวร์อวกาศ
          อุตสากรรมการบินที่เป็นก้าวสำคัญของบริษัทเอกชนที่จะเข้าไปมีบทบาทในการส่งนักบินหรือคนทั่วไปขึ้นไปท่องเที่ยวหรือสำรวจอวกาศผ่านแคปซูลอวกาศที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นการเฉพาะ
          โดยทางบริษัทโบอิ้งยักษ์ใหญ่วงการผลิตเครื่องบินโดยสารเพื่อการพานิชย์ได้ประกาศเลือก United Luanch Alliance (ULA)  ผู้ผลิตใช้จรวด Altas V เพื่อขับเคลื่อนแคปซูลอวกาศของโบอิ้งที่เรียกว่า Boeing Crew Space Transportation (CST) - 100 เพื่อขึ้นไปยังวงโคจรที่ฐานยิงจรวดชายฝั่งรัฐฟอริดา