วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2557

สิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ยูโรปา-Moon Europa


             ยูโรปาดวงจันทร์จิ๋วของดาวพฤหัส มีขนาดเล็กกว่าโลกหลายเท่าตัว ดาวที่ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งและภายใต้น้ำแข็งนั้นเป็นมหาสมุทรน้ำในสถานะของเหลวในปริมาณที่มากกว่าโลกถึง 2-3 เท่า และหากถามว่ายูโรป้ามีพลังงานความร้อนมาจากไหนในเมื่อพลังจากแสงอาทิตย์ส่องไปไม่ถึง เพราะอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ 960 ล้านกิโลเมตร  พลังงานความร้อนของยูโรปาเกิดจากการยึดหดตัวของดาวที่เกิดจากแรงดึงดูดจากดาวพฤหัส ทำให้เกิดการยืดหดแบบเดียวกับลูกเทนนิสที่โดนตี หรือลูกฟุตบอลที่โดนเตะและคืนสภาพเดิม ทำให้พื้นมหาสมุทรมีพลังงานความร้อนจนน้ำแข็งหลอมเหลว น้ำเป็นสภาวะเอื้อต่อการดำรงค์ชีวิต แม้ไม่มีแหล่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ แต่จากการได้ศึกษาพบว่าสิ่งมีชีวิตสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานจากดวงอาทิตย์แต่เพียงอย่างเดียว พลังงานความร้อนจากแหล่งอื่นก็สามารถใช้งานได้เช่นเดียวกัน   ดังเช่นใต้มหาสมุทรลึกบนโลกเราคือปล่องน้ำพุร้อนที่ละลายแร่ธาตุออกมาเรียกว่า ปล่องไอดำ ในบริเวณนั้นพบว่ามีสัตว์ทะเลอาศัยอยู่อย่างมากมายโดยอาศัยพลังงานความร้อนและแร่ธาตุจากน้ำพุร้อนนั้นดุจโอเอซีสใต้ทะเล



             เพราะฉะนั้นยูโรปาจึงเป็นเป้าหมายสำคัญในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก เมื่อทุกแห่งบนโลกที่มีน้ำเราจะพบสิ่งมีชีวิตเสมอ ห่างออกไปจากโลก 793 ล้านกิโลเมตร ยูโรปาดาวที่เคลือบด้วยน้ำแข็งนี้เป็นไปได้ว่ามหาสมุทรบนดาวยูโรป้าเกิดขึ้นเมื่อ 4,500 ล้านปีก่อน พื้นผิวยูโรป้ามีลักษณะคล้ายจิ๊กซอว์เป็นพื้นผิวน้ำแข็งแตกที่ต่อกันสนิทพอดี ภูมิประเทศเป็นภูเขาน้ำแข็งสูงหลายร้อยเมตร และร่องลึก มืดเหมือนขั้วโลกตอนมืดเพราะดวงอาทิตย์อยู่ไกลมาก น้ำแข็งที่ปกคลุมอยู่หนาถึง 10 กิโลเมตร ใต้แผ่นน้ำแข็งมีน้ำที่เป็นของเหลวลึกราว 100 กิโลเมตร ใจกลางคล้ายดวงจันทร์เป็นพื้นหินและแกนโลหะ


             การค้นพบว่ามีดาวที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้นอกเหนือจากโลก แม้ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กก็ตามนั้นบ่งบอกว่ามีดาวอีกมหาศาลในจักรวาลที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ มนุษย์ไม่ใช่สายพันธุ์เดียวในจักรวาลนี้ เรามีเพื่อนบ้านที่ยังค้นหาไม่พบต่างหาก ด้วยระยะทางอันไกลโพ้นเทคโนโลยีของมนุษย์ยังไม่ก้าวหน้ามากพอที่จะไปถึงที่แห่งนั้น

เรียบเรียง : xsci
credit : 
fromquarkstoquasars.com/why-we-need-to-go-to-europa/
space.com/23923-europa-water-geyers-taller-than-everest.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น