ลักษณะเชื้อโรคลีเจียนแนร์
ภาพจากhttp://en.wikipedia.org/wiki/Legionnaires'_disease
|
เชื้อลีจิโอแนลลา (Legionella) ปัจจุบันตรวจพบแล้ว 43 สปีชีส์ 65 ซีโรกรุ๊ป แต่ที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์บ่อยที่สุดคือ ลีจิโอแนลลา นิวโมฟิลา (Legionella pneumophila) ซึ่งตรวจพบแล้ว 18 ซีโรกรุ๊ป เชื้อดังกล่าวนี้พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 32 - 45 องศาเซลเซียส สามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายเดือนในสิ่งแวดล้อมที่มีความชื้นสูง และแบ่งตัวในที่ ที่มีสาหร่ายและอินทรีย์วัตถุ
เมื่อประมาณปลายปี พ.ศ. 2549 ได้พบโรคที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทยกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6 ราย หลังจากกลับจากท่องเที่ยวภูเก็ตแล้วป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ หลังจากตรวจพบว่าเป็นโรคเดียวกันกับที่เคยเกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กับทหารผ่านศึกในเมืองฟิลาเดเฟียสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2519 โรคนี้ได้ชื่อมาจากการพบครั้งนั้นว่า โรคสหายสงคราม แต่ปัจจุบันได้พบว่าต้นเหตุแหล่งสะสมเชื่ออยู่ที่เครื่องปรับอากาศจึงได้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคเครื่องปรับอากาศ และโรคผึ่งเย็น และสามารถพบได้ในแหล่งน้ำนิ่งเช่น หอผึ่งเย็นของเครื่องปรับอากาศที่ใช้กันในศูนย์การค้า โรงแรม และโรงพยาบาล หรืออาคารใหญ่ๆ และยังพบว่าในอ่างน้ำวน น้ำแร่ เครื่องทำน้ำร้อน ฝักบัวอาบน้ำที่ไม่ได้ดูแลทำความสะอาดก็เป้นแหล่งที่อยู่อาศัยของเชื้อนี้เป็นอย่างดี
การติดเชื้อโรคนี้เกิดขึ้นได้ง่ายมาก โดยการสูดหายใจ เอาเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในละออง ฝอยของน้ำ เช่น น้ำจากหอฝึ่งเย็น (Colling Towers) ของระบบปรับอากาศ จากการใช้ฝักบัวอาบน้ำ จากอ่างน้ำวน เครื่องช่วยหายใจ หรือแม้แต่น้ำพุสำหรับตกแห่งอาคารสถานที่ต่างๆ แต่ยังไม่พบการติดต่อจากคนสู่คน
ระยะอาการของโรค
1. โรคลีเจียร์แนร์ส่วนใหญ่จะปรากฏอาการภายใน 5 - 6 วันหลังได้รับเชื้อ แต่อาจอยู่ในช่วง 2 - 10 วัน (ชนิดรุนแรง)
2. โรคไข้ปอนเตียกมักจะมีอาการภายใน 24 - 48 ชั่วโมงหลังได้รับเชื้อ แต่อาจอยู่ในช่วง 5 - 66 ชั่วโมง (ชนิดไม่รุนแรง)
โดยมีลักษณะอาการดังนี้
1. อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (Flu-like illness) คือเริ่มด้วยปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ
2. มีไข้สูง (39 - 40) องศาเซลเซียส หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน อาจมีอุจจาระร่วง ไอแห้งๆ
3. ในกรณีที่เป็นไข้ปอนเตียกมักจะหายภายใน 2 - 5 วัน แม้จะไม่ได้รับการรักษา
4. มีอาการปอดอักเสบและลามไปที่ปอดทั้งสองข้าง ทำให้การหายใจล้มเหลวและตายในที่สุด
แม้ว่าเราจะพยายามใช้ชีวิตให้ปลอดภัยที่สุดแต่สิ่งที่อาจคาดไม่ถึงก็อยู่ใกล้ตัวจนเกินที่จะหนีไปไหนได้ เพราะฉะนั้นนอกจากเราจะต้องดูแลตัวเองให้ปลอดโรคแล้ว ผู้ที่ดูแลเกี่ยวกับระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ก็ต้องใส่ใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมากเพราะกระทบต่อชีวิตคนโดยรวมโดยที่เขาเหล่านั้นไม่รู้ตัวและไม่อาจปกป้องตัวเองได้
เรียบเรียงโดย xsci
credit : en.wikipedia.org/wiki/Legionnaires'_disease