แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เทคโนโลยีทหาร แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เทคโนโลยีทหาร แสดงบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

กองทัพพม่า myanmar army power

          พม่าในขนาด และจำนวนประชากรที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย และเป็นคู่รบกันตลอดมาในอดีต กองทัพพม่าได้ก่อตั้งในแผ่นดินไทยโดยนายอองซาน ซึ่งเป็นบิดาของนางอองซานซูจี ได้ร่วมกับพรรคพวก 30 คน เพื่อร่วมกับญี่ปุ่นขับไล่กองทัพอังฤษที่เข้ายึดครองประเทศพม่า เดิมกองทัพพม่ามีชื่อว่า BIA (Burmese Independence Army) พม่าปิดประเทศมายาวนาน ทำให้เราไม่ทราบถึงความก้าวหน้าทางทหาร ว่ามีการพัฒนาด้านใด มีการซื้ออาวุธชนิดใดไปถึงไหนแล้ว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ต่อกองทัพในการแก้ทางอาวุธยุทธศาสตร์นั้นๆ ประเทศบ้านใกล้ชายแดนติดกันยาวเหยียด ที่เราไม่รู้เขามันเป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญในการระแวดระวังเตรียมพร้อม ปัจจุบันพม่ากำลังผันตัวเองมาสู่ระบบประชาธิปไตย ได้เปิดประเทศให้มีการลงทุนจากต่างชาติ เปิดโอกาสให้กลุ่มชาติพันธุ์ได้เล่าเรียนหนังสือ ภาษา วัฒนธรรมของตนได้ สารคดีชุดนี้จึงเป็นแนวทางให้เราได้ทราบข้อมูลกองทัพพม่าได้บ้างในระดับหนึ่ง







--------------------------

วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

บัคมิสซาย Buk-M1 anti-aircraft missile system

Buk-M1 anti-aircraft missile system 
ระบบบัคมิสซาย (Buk missile system) อยู่ในกลุ่มระบบมิซายพื้นสู่อากาศพิสัยกลาง สามารถติดตามเป้าหมาย 10-24,000 เมตร ถึง 50 กิโลเมตร ที่พัฒนาขึ้นมาโดยสหภาพโซเวียตรับช่วงโดยรัสเซีย ดีไซน์เป็นจรวดสำหรับทำลายเฮลิคอปเตอร์, UAV, และเครื่องบินรบอื่นๆ ได้หลากหลาย

ประเทศที่ประจำการ
Azerbaijan, Belarus, Cyprus, Egypt, Finland, Georgia, India,  North Korea,  People's Republic of China, Russia, Syria, Ukraine, Vietnam, Venezuela

ประเทศไทยก็มีแนวโน้มสูงมากที่จะนำมาประจำการและอยู่ในระหว่างการดำเนินการ

References: en.wikipedia.org/wiki/9K37_Buk#Operators
เรียบเรียง xsci

วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

ความแข็งแกร่งและทิศทางการพัฒนาของกองทัพรัสเซีย - Russia military

ภาพและบทความจาก สมาคมนิยมอาวุธรัสเซีย Russia military fanclub.

            ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมากองทัพรัสเซียได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและแข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในปี 2013 กองทัพรัสเซียได้นำอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ๆจำนวนหลายรายการเข้าประจำการในกองทัพไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินรบเกือบร้อยลำ เฮลิคอปเตอร์มากกว่า 100 ลำ เรือรบและเรือดำน้ำมากกว่า 10 รายการ รถหุ้มเกราะรุ่นใหม่และรถถังที่ได้รับการปรับปรุงหลายร้อยรายการ รวมทั้งขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์และขีปนาวุธป้องกันภัยทางอากาศรุ่นใหม่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งนอกจากการนำอาวุธรุ่นใหม่เข้าประจำการในกองทัพแล้วรัสเซียยังได้ประสบความสำเร็จในนโยบายความมั่นคงที่เกี่ยวกับต่างประเทศ เช่นการบรรลุข้อตกลงในการจัดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศร่วมกับคาซัคสถานและเบลารุส การเพิ่มฝูงบินในคีร์กีซสถาน การเพิ่มกำลังทหารในอาร์เมเนีย ซึ่งคาดว่าในเร็วๆนี้การเจรจาข้อตกลงในการสร้างระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบครบวงจรร่วมกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคที่อยู่ในกลุ่มเครือรัฐอิสระ (CSI) จะบรรลุผลสำเร็จ และนอกจากนี้ในปีที่ผ่านมารัสเซียยังได้มีการซ้อมรบที่สำคัญอีกหลายรายการ ไม่รวมกับโครงการวิจัยและพัฒนาอาวุธทั้งโครงการที่พัฒนาอย่างเปิดเผยและโครงการลับอีกหลายสิบโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

“สหรัฐฯ”โต้ “ฮิวแมนไรท์วอช” อ้าง “ปฎิบัติการโดรน” ไม่ขัดกฏหมายระหว่างประเทศ - uav killer

“สหรัฐฯ”โต้ “ฮิวแมนไรท์วอช” อ้าง “ปฎิบัติการโดรน” ไม่ขัดกฏหมายระหว่างประเทศ - “ชารีฟ” ร้องให้ยุติใช้โดรนโจมตีในปากีสถาน



เอเจนซีส์ - สหรัฐฯได้กล่าวปฎิเสธข้อกล่าวหาที่ว่า “ปฎิบัติการโดรน” ในเยเมนและปากีสถานหรือที่อื่นที่สหรัฐฯได้ใช้เพื่อสังหารเครือข่ายก่อการร้ายอัลกออิดะห์นั้น “ขัดกฏหมายระหว่างประเทศ” ตามที่องค์กรนิรโทษสากลและกลุ่มสิทธิมนุษยชนได้กล่าวหาก่อนหน้านี้ และในวันอังคาร(22) นายกรัฐมนตรีปากีสถาน นาวาซ ชารีฟ เรียกร้องให้สหรัฐฯยุติปฎิบัติการโดรนในปากีสถาน อ้างหากดำเนินต่อจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศ ในการขึ้นพูดที่ US Institute of Peace (USIP)

การปฎิเสธของสหรัฐฯในครั้งนี้มีขึ้นหลังจากองค์กรนิรโทษสากลและกลุ่มสิทธิมนุษยชนได้กล่าวหาถึงโครงการโดรนล่าสังหารที่สหรัฐฯใช้เพื่อตอบโต้เครือข่ายอัลกออิดะห์ในเยเมนและปากีสถานหรือที่อื่นๆนั้น “ขัดกฏหมายระหว่างประเทศ” ซึ่งความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีขึ้นก่อนที่นายกรัฐมนตรีปากีสถาน นาวาซ ชารีฟ จะนำเรื่องนี้เข้าหารือกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ที่ทำเนียบขาว ในวันพุธ(23) นอกเหนือจากเรื่องร้อนๆที่สหรัฐฯกล่าวหาปากีสถานว่า แอบช่วยกลุ่มก่อการร้ายตอลีบานอยู่ลับๆ ซึ่งในการพบปะครั้งนี้ สหรัฐฯมีแผนที่จะให้การช่วยเหลือปากีสถานด้วยตัวเลข 1.6 พันล้าน โดยก่อนหน้านี้ในวันอังคาร(22)ชารีฟขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ที่ US Institute of Peace (USIP) ได้เรียกร้องให้สหรัฐฯยุติปฎิบัติการโดรนในปากีสถาน โดยทางชารีฟกล่าวว่า “โดรนนั้นเป็นต้นเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีของปากีสถานและสหรัฐฯต้องสั่นคลอน ดังนั้นผมจึงขอยืนยันอย่างหนักแน่นในความต้องการให้ยุติโครงการนี้เสีย”

ทางด้านโฆษกทำเนียบขาว เจน์ คาร์นีย์ กล่าวว่า “เรากำลังพิจารณารายงานของกลุ่มฮิวแมนไรท์วอชอย่างถี่ถ้วน” นอกจากนี้ คาร์นีย์ยังกล่าวต่อไปว่า “เมื่อดูจากรายงานขององค์กรนิรโทษสากลและกลุ่มสิทธิมนุษยชนที่อ้างว่าสหรัฐฯได้ละเมิดกฏหมายระหว่างประเทศนั้น สหรัฐฯขอยืนกรานปฎิเสธอย่างสิ้นเชิง ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบได้พิจารณาอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วนเป็นพิเศษว่าปฎิการต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯนั้นอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายที่กำหนดไว้”

นอกจากนี้ คาร์นีย์ยังเสริมด้วยว่า ปฎิบัติการโจมตีทางอากาศที่สหรัฐฯใช้ในการจัดการสังหารผู้ต้องสงสัยก่อการร้ายแทนที่จะส่งกำลังทหารหรือการใช้อาวุธประเภทอื่นนั้น ทางวอชิงตันได้เลือกทางปฎิบัติที่จะส่งผลข้างเคียงน้อยที่สุดที่จะไม่ให้มีการสูญเสียชีวิตกับพลเรือน”

โดยก่อนหน้านี้ในวันอังคาร(22) ทางองค์กรนิรโทษสากลและกลุ่มสิทธิมนุษยชนได้ร่วมกันเรียกร้องให้สภาคองเกรสของสหรัฐฯสอบสวนอย่างละเอียด พร้อมกับแสดงถึงหลักฐานที่หลายครั้งรัฐบาลสหรัฐฯได้ใช้อากาศยานไร้คนขับในปฎิบัติการต่อต้านก่อการร้ายละเมิดกฏหมายระหว่างประเทศ

โดยทางกลุ่มฮิวแมนไรท์วอชได้เจาะจงไปที่ปฎิบัติการใช้โดรนในเยเมนจำนวน 6 ครั้ง สังหารประชาชนในเยเมน ในปี 2009 และอีก 5 ครั้งในปี 2012-2013 โดยทำให้ชาวเยเมนเสียชีวิตไป 82 คน และยังพบว่า มีจำนวนถึง 57 คนหรือ70% ของจำนวนทั้งหมดที่เสียชีวิตนั้นเป็นพลเรือน และการวิเคราะห์ของหน่วยงานเอ็นจีโอแห่งนี้พบว่า “การโจมตี 2 ครั้งจากทั้งหมด 6 ครั้งนั้นขัดกฎหมายระหว่างประเทศ” และนอกจากนี้ การโจมตีทั้งหมดที่ทั้ง 6 ครั้งนั้นยังไม่เป็นไปตามนโยบายของโอบามาที่ได้แถลงไว้ในเดือนพฤษภาคม ต้นปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ในรายงานขององค์กรนิรโทษสากล ที่ได้เจาะจงไปที่ปฎิบัติการโดรนจำนวน 9 ครั้งจากจำนวนทั้งหมด 45 ครั้งในแถบทางตอนเหนือของวาซิริสถาน ปากีสถาน ช่วงระหว่างเดือนมกราคม 2012 จนถึงเดือนสิงหาคม 2013 เป็นแถบที่สหรัฐฯมุ่งโจมตีกลุ่มก่อการร้ายในปากีสถานอย่างหนักหน่วง โดยรายงานขององค์กรได้เจาะจงไปที่กรณีของ “ มามานา บีบี” ชาวปากีสถาน วัย 68 ปี ที่ถูกสังหารด้วยปฎิบัติการโดรนของสหรัฐฯในเดือนตุลาคม 2012 ในระหว่างที่เธอกำลังเก็บผักอยู่กับหลาน และรายงานฉบับนี้ยังได้วิเคราะห์ถึงการโจมตีของโดรนแบบ “double-tab” หรือการที่จรวดมิสไซล์ลูกที่สองจะถูกปล่อยออกตามลูกแรกหากพบว่าเป้าหมายสังหารนั้นได้รับการช่วยเหลือจากชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม ทางองค์กรไม่ได้รายงานถึงตัวเลขที่แน่นอนของพลเมืองที่เสียชีวิตจากการถูกสังหารด้วยโดรน

โดยในสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ทางยูเอ็นได้มีการประเมินตัวเลขผู้เสียชีวิตในปากีสถานและเยเมนจากปฎิบัติการโดรนของสหรัฐนั้นพบว่า มีตัวเลขพลเรือนปากีสถานเสียชีวิตอย่างน้อย 400 คน และมีจำนวนพลเรือนหลายสิบคนในเยเมนที่เสียชีวิต

ที่มา : manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000132834

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หุ่นยนต์แมว cat robot


          ยานพาหนะที่เป็นล้อได้เกิดขึ้นและครองโลกด้วยปัจจัยที่ตอบสนองความต้องการได้ดีและสร้างง่าย กว่ายานยนต์ที่เป็นขา แต่ปัจจุบันสิ่งที่สร้างเลียนแบนสัตว์ 4 เท้าได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นทางเลือก และอุดรอยรั่วจุดอ่อนของยานยนต์ที่เป็นล้อ การพัฒนาทางทหารเป็นอีกแรงผลักสำคัญให้โปรแจคเหล่านั้นเกิดขึ้นมา ตามคลิ๊บนี้เป็นหุ่นยนต์แมว ซึ่งก่อนหน้านี้หุ่นยนต์สุนัขได้เกิดขึ้นมาแล้ว มีประสิทธิภาพดีมาก เป้าหมายเพื่อใช้ในการขนส่งในสนามรบ ที่ต้องลุยไปได้ทุกที่อย่างคล่องตัว ระบบขาจึงเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพสูงพอที่จะตอบโจทย์เหล่านั้นได้

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ต้นแบบรถถังสเตลรุ่นใหม่ในอนาคต 24 Gliwice - PL-01 Stealth Main Battle Tank Concept Prototype


         ในอนาคตสงครามการทำลายล้างพัฒนายิ่งขึ้นไปมากเห็นได้จากเครื่องบินล่องหนหรือสเตลที่มีความสามารถในการลดการสะท้อนของเรดาห์ได้ดีมากจนเรดาห์เห็นเครื่องบินเหล่านั้นมีขนาดเท่านก ผลก็คือศัตรูตรวจจับได้ยากมาก ทำให้ได้เปรียบในเชิงยุทธศาสตร์สูง หรือแม้กระทั่งเรือรบที่พัฒนาขึ้นมาประจำการแล้วในปัจจุบัน จุดนี้ทำให้อาวุธก็ต้องเร่งพัฒนาไล่ให้ทันในการที่จะทำลายเป้าหมายเหล่านี้ให้ได้ อาวุธหลักภาคพื้นดินก็คงไม่พ้นรถถังและก็เป็นอีก 1 เครื่องจักรสังหารที่ก้าวเข้าสู่ความเป็นสเต็ล และอีกไม่นานปรากฏการใหม่ของเครื่องมือเหล่านี้จะปรากฏให้เห็นจนเหนือจิตนาการ เหนือกว่าหนังฮอลลีวุ๊ดได้จินตนาการไ้ว้ และต่อไปหากเกิดสงครามครั้งใหญ่จะทำลายล้างมนุษย์ด้วยกันเอง...ได้รุนแรงเฉียบขาด...ทำลายกันเองอย่างน่าหวาดกลัว!!!

Suerp Laser ของสหรัฐอเมริกาเปิดตัวแล้ว

ภาพประกอบ Suerp Laser 

สหรัฐเปิดตัว ซูเปอร์เลเซอร์ สร้างดวงอาทิตย์จำลองได้
          สหรัฐเปิดตัวระบบเครื่องยิงแสงเลเซอร์ที่ทรงพลังมากที่สุดในโลก โดยหวังที่จะพัฒนามันเป็นทั้งอาวุธและแหล่งพลังงานสะอาด
หลังจากที่ใช้เวลาในการคิดค้นและจัดสร้างนานถึงกว่า 2 ทศวรรษ กับงบประมาณอีกถึง 3 พัน 500 ล้าน          ดอลล่าร์ หรือ กว่า 1 แสน 2 หมื่น 2 พันล้านบาท เครื่องยิงแสงเลเซอร์ที่ทรงพลังที่สุดในโลก ซึ่งสามารถจำลองพลังงานของระเบิดไฮโดรเจน และดวงอาทิตย์ได้ ก็ได้ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่ห้องปฏิบัติการณ์แห่งชาติ ลิเวอร์มอร์ ที่รัฐแคลิฟอร์เนียในสหรัฐเมื่อวาน โดยมีบุคคลสำคัญในวงการเข้าร่วมเป็นสักขีพยานราว 3 พัน 500 คน
          เครื่องยิงเลเซอร์ ที่มีชื่อว่า เนชั่นนอล อิกนิชั่น ฟาซิลิตี้ หรือ นิฟ (National Ignition Facility, or NIF) มีขนาดใหญ่เท่ากับสนามฟุตบอล มันถูกออกแบบมาเพื่อให้เครื่องยิงเลเซอร์ 192 ตัว ยิงเลเซอร์ไปยังเป้าหมายขนาดเท่าเม็ดถั่วแห่งเดียวกัน เพื่อสร้างพลังงานออกมาเท่ากับการจุดระเบิดแบบฟิวชั่น
วัตถุประสงค์หลักของมัน ก็คือการช่วยในการรับประกันเรื่องความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์ที่มีอายุเก่าแก่ลงทุกปีของประเทศ แต่ขณะเดียวกันมันก็เป็นแหล่งพลังงานสะอาดได้เป็นอย่างดี
คาดว่าหลังจากนี้ นักวิทยาศาสตร์จะทดลองกำลังของระบบไปเรื่อยๆนานราว 1 ปี และในปี 2553 จึงจะมีการทดลองระบบเต็มกำลัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเรื่องการจุดระเบิดแบบฟิวชั่นให้ได้
ด้านอาร์โนลด์ ชวาซเนกเกอร์ ผู้ว่าการรัฐ พูดแบบตลกๆว่า ตอนนี้ทางผู้สร้างหนังฮอลลีวู๊ด คงจะผิดหวังมากที่ข้าวของไฮเทคต่างๆที่พวกเขาจินตนาการขึ้นมาเพื่อนำมาใช้ในหนัง ได้กลายเป็นของล้าสมัยไปแล้ว เพราะของไฮเทคจริงได้มาอยู่ที่นี่แล้วโครงการนี้ ถูกนำเสนอครั้งแรกในยุค 90 โดยสมัยนั้นมีการตั้งงบเอาไว้แค่ 700 ล้านดอลล่าร์เท่านั้น

ที่มา : facebook Supper Weapon โดย @Recon

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Tomahawk (โทมาฮอว์ค)

Tomahawk (โทมาฮอว์ค)

ภาพประกอบ จรวดร่อนโทมาฮอว์ค ความเร็ว 880 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง


          สำหรับอาวุธเด็ดของกองทัพสหรัฐอเมริกา มหาอำนาจทางการทหารระดับโลกนั้น คงหนีไม่พ้นเจ้า "โทมาฮอว์ค" ขีปนาวุธร่อนนำวิถีสัญชาติอเมริกันพันธุ์แท้ ฝีมือการวิจัยและพัฒนาโดยบริษัทเจเนอรัล ไดนามิกส์ ตั้งแต่สมัยช่วงสงครามเย็นในทศวรรษที่ 1970 ปัจจุบันผลิตโดยบริษัทเรย์เธียน และบางส่วนผลิตจากโรงงานของบริษัทแมคโดนัลด์ ดักกลาส ขณะนี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งของ โบอิ้ง ดีเฟนส์ สเปซ แอนด์ ซิเคียวริตี้ มีพิษสงร้ายกาจในการทำลายล้าง แม่นยำ เริ่มประจำการในกองทัพตั้งแต่ปี ค.ศ.1983 จนถึงปัจจุบัน สนนราคาลูกละประมาณ 22 ล้านบาท (ราคาในปี 2011) มูลค่าเท่ากับรถสปอร์ตหรูที่เศรษฐีชาวไทยชอบขับขี่

          ทั้งนี้จรวดโทมาฮอว์คถูกนำมาใช้งานครั้งแรกอย่างเป็นทางการในสงครามอ่าวเปอร์เซีย ในปฏิบัติการพายุทะเลทราย โดยกองทัพเรือสหรัฐฯ ยิงโทมาฮอว์คจากเรือประจัญบานชั้นมิสซูรี ได้แก่ ยูเอสเอส มิสซูรี ยูเอสเอสวิสคอนซิน และยูเอสเอสไอโอวา โดยสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นได้เสนอภาพลูกจรวดโทมาฮอว์คพุ่งออกจากเรือทะยานเป็นเส้นตรงไปยังชายฝั่งอิรัก และภาพของซีเอ็นเอ็นที่รายงานภาพสดๆ จากอิรักเห็นโทมาฮอว์คพุ่งผ่านหน้ากล้องเข้าใส่เป้าหมายกลางกรุงแบกแดด

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

Delta ของ Hybrid Air Vehicles (HAV) เรือเหาะแห่งอนาคต และเป็นอนาคตของเรือเหาะ



Delta เรื่อเหาะแห่งอนาคต และเป็นอนาคตของเรือเหาะ

          โศกนาฏกรรมอันโด่งดังของเรือเหาะ ฮินเดนเบอร์ก เมื่อปี ค.ศ. 1937 เมื่อเรือเหาะที่บรรจุด้วยก๊าซไฮโดรเจนได้ระเบิดลุกใหม้ในขณะที่กำลังพยายามทอดสมอจอดใน New Jersey เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ปิดฉากอุตสาหกรรมการบินที่สร้างอากาศยานเบากว่าอากาศไปพร้อมกับเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายอีก 35 คน แต่อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา กลุ่มวิศกรอากาศยาน ที่มีความมุ่งมัน ส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษ ได้ร่วมกันออกแบบและสร้างเรือเหาะเชิงพาณิชย์ แม้ว่าจะล้มเหลวหลายครั้ง แต่ก็สามารถอยู่รอดได้จนถึงวันนี้
          บริษัท Hybrid Air Vehicles (HAV) ของอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2007 โดย Roger Munk และลูกน้องที่ไม่ประสพความสำเร็จกับความพยายามครั้งก่อน เมื่อเร็วๆนี้ได้รับสัญญาใหญ่ 2 งาน ที่ทำให้อนาคตของเรือเหาะมีอนาคตที่สดใส ดังชื่อของบริษัทที่มีนัยยะ เรือเหาะนี้ไม่ใช่บอลลูนบรรจุก๊าซที่มีรูปทรงเหมือนแท่งซิก้าร์ในอดีต หากแต่เป็นรูปทรงไฮเทคที่สามารถสร้างแรงยกได้ในตัว โครงสร้างลำตัวแบบ Semi-Rigid บังคับทิศทางแรงขับดันด้วย vectored thrust จากเครื่องยนต์ที่อยู่ในเรือเหาะ ลำตัวของเรือเหาะสามารถสร้างแรงยกทางอากาศพลศาสตร์ได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นแรงยกจากก๊าซฮีเลี่ยม นอกจากนั้นการใช้ทุ่นด้านข้าง ใต้ท้องเรือ ซึ่งเป็นเสมือนขาสกีของเรือเหาะ รวมถึงการใช้ใบพัดควบคุมทิศทางแรงขับ ทำให้เรือเหาะนี้สามารถลงจอดได้ทั้งบนพื้นดิน พื้นคอนกรีต หรือพื้นน้ำ ได้โดยไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ภาคพื้น
          ด้วยความอ่อนตัวในการใช้งานบวกกับความสามารถในการลอยอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานานถึง 21 วัน รวมทั้งความสามารถในการบรรทุกสิ่งของได้หนักรวมถึง 200 ตัน ทำให้บริษัท HAV ได้รับสัญญามูลค่า 517 ล้านเหรียญสหรัฐ (370 ล้านยูโร) โดยร่วมมือกับบริษัท Northrop Grumman ในการทำเรือเหาะสำหรับการตรวจการณ์ ลาดตระเวนหาข่าวที่ชื่อว่า Long-Endurance Multi-Intelligence Vehicle (LEMV) สำหรับกองทัพบกสหรัฐเพื่อใช้ในอัฟกานิสถานในปี 2012 ขณะที่ LEMV นั้นเป็นเรือเหาะค่อนข้างเล็กที่ออกแบบมาสำหรับภารกิจการตรวจการณ์ แต่ตอนนี้บริษัท HAV ก็ได้ออกข่าวว่าตอนนี้มีลูกค้าเอกชนได้สั่งซื้อเรือเหาะในรุ่นที่สามารถบรรทุกสิ่งของได้มาก
          บริษัท Discovery Air Innovation (DAI) ของแคนาดาได้ตกลงสั่งซื้อเรือเหาะจำนวนหนึ่งในรุ่นที่สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ 50 ตัน และบินได้ด้วยความเร็วที่ 100 น๊อต (185 กม/ชม หรือ 115 ไมล์/ชม) โดยจะใช้ในภารกิจการบริการขนส่งสินค้าไปยังพื้นที่ห่างไกลแถบขั้วโลกเหนือด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกลง การสร้างเรือเหาะลำแรกสำหรับบริษัท DAI นี้จะเริ่มในปี 2012 และจะเริ่มต้นให้บริการในแคนาดาในปี 2014 โดยบริษัท DAI อาจจะสั่งซื้อเรือเหาะถึง 50 ลำ แต่อย่างไรก็ตามต้องรอดูผลในเรื่องการบินปฏิบัติการณ์ก่อน
          บริษัท Hybrid Air Vehicles มองเห็นความเป็นไปได้มากมายในการประยุกต์ใช้เรือเหาะในภารกิจด้านการดูแลรักษาภูมิประเทศ การช่วยเหลือผู้ประสบภัย การสนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง และแน่นอนก็คือภารกิจด้านการท่องเที่ยวแบบหรูหรา ด้วย 2 สัญญาขนาดใหญ่ที่อยู่ในกระเป๋าแล้ว ทำให้ดูเหมือนว่ายุคทองของเรือเหาะจะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
                                                                  ที่มา :   www.gizmag.co

เครื่องยนต์ F-117 Nighthawk Engine


            เครื่องยนต์ F-117 Nighthawk ได้รับการปรับปรุงให้มีพลังสูงขึ้น เที่ยบเท่า Su-35S และ PAKFA prototypes ในปัจจุบัน

ที่มา :  Battle Machines

แอลจีเรียสนใจเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ Boeing C-17


แอลจีเรียสนใจเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงทางอากาศของ Boeing

Boeing ประกาศอย่างเป็นทางการว่ากองทัพอากาศแอลจีเรียสนใจจะจัดหาเครื่องบินลำเลียงและเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศใหม่โดยคาดว่าจะเปิดให้ยื่นเอกสารเชิญชวนยื่นข้อเสนอ(RFP) ภายไม่กี่เดือนนี้
ทางกองทัพอากาศแอลจีเรียให้ความสนใจ บ.ลำเลียงหนัก Boeing C-17 ซึ่งยังไม่ประกาศจำนวนที่ต้องการแน่ชัดแต่คาดว่าอาจจะราว 4-6เครื่อง
และ บ.เติมเชื้อเพลิงทางอากาศที่จะมาแทน IL-78 โดยให้ความให้สนใจ Airbus A330 MRTT และ Boeing KC-46 ซึ่งสำหรับ KC-46 จะทำการสาธิตได้ในปี 2018
นอกจากนี้แอลจีเรียยังให้ความสนใจระบบอากาศยานอื่นๆของ Boeing เช่น UAV ขนาดเล็กแบบ ScanEagle และ ฮ.ลำเลียง CH-47 ด้วย
อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศสหรัฐฯได้รับมอบ C-17 เครื่องสุดท้ายไปแล้ว ถ้าไม่มีลูกค้าเพิ่ม Boeing จะปิดสายการผลิต C-17 ในปี 2015...

ที่มา : สมาคมคนรักเครื่องบินรบ, Supper Weapon

Wing loong UAV ของจีน


Wing loong UAV ของจีน

UAV แบบ wing Loong ของกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมการบินจีนได้เปิดตัวจอดแสดงต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกในงาน Airshow China ในปี 55 ที่ผ่านมา

ถึงแม้ว่าตัวโมเดลของ Wing Loong ได้เคยตั้งแสดงโชว์ในงานแอร์โชว์มาหลายปีแล้ว แต่การเปิดตัวของUAV ที่บินระยะสูงปานกลางและอยู่ในอากาศได้นานๆ (medium altitude long endurance, MALE) ตัวเป็นๆมาตั้งโชว์ในครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมการบินของจีนมีความก้าวหน้า

Wing Loong นั้นดูคล้ายกับ General Atomics MQ-1 Predator UAV ของอเมริกาอย่างมาก Wing Loong มีจุดติดตั้งอาวุธ 2 จุด พร้อมจอแสดงสถานะภาพอาวุธทั้งจรวดนำวิถีและระเบิดที่นำวิถีด้วยแสงเลเซอร์

การออกแบบของ Wing Loong นั้นเป็นแบบแพนหางดิ่งคู่ ปีกอยู่กลางลำตัวโดยมีปีกที่ยาวและแคบ ฐานล้อแบบ 3 ขา พับเก็บได้ มีการใช้วัสดุอลูมินั่มเพื่อง่ายต่อการซ่อมบำรุง
Wing Loong สามารถใช้ในภารกิจลาดตระเวนหาข่าว และโจมตีภาคพื้น รูปแบบการบรรทุกยุทโธปกรณ์นั้นขึ้นอยู่กับภารกิจ โดยมันสามารถติดตั้งอาวุธโจมตีด้วยจรวด TY-90 อากาศสู่อากาศ และระเบิดนำร่องแบบแม่นยำ เช่น HJ-10, LS-6 และ YZ-200...

ที่มา : สมาคมคนรักเครื่องบินรบ, Supper Weapon

DLR และ NASA ร่วมมือกันวิจัยที่จะทำให้เฮลิคอปเตอร์ในอนาคตเสียงเงียบมากขึ้น



...DLR และ NASA ร่วมมือกันวิจัยที่จะทำให้เฮลิคอปเตอร์ในอนาคตเสียงเงียบมากขึ้น

เฮลิคอปเตอร์สามารถขึ้น-ลงทางดึ่งได้ก็ด้วยอาศัยใบพัดประธาน แต่ตัวใบพัดนี้ก็เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดเสียงดังในขณะบิน นักวิจัยที่ศูนย์การบินและอวกาศของเยอรมัน(Deutsches Zentrum fur Luft- und Raumfahrt; DLR)ในเมือง Gottingen และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ (NASA) กำลังทำการวิจัยถึงสาเหตุต้นตอที่สำคัญที่ทำให้เกิดเสียงดังจากตัวใบพัด วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อจะทำให้เฮลิคอปเตอร์ในอนาคตบินได้เงียบมากยิ่งขึ้น
การทำงานร่วมกันระหว่าง NASA และ DLR นั้นเป็นไปตามข้อตกลงในความร่วมมือทั้งสองฝ่าย “ความเชี่ยวชาญของเราที่ DLR เมือง Gottingen นั้นมีในด้านเทคโนโลยีการวัดด้วยลำแสงสำหรับการไหลของของไหล” กล่าวโดย Markus Raffel หัวหน้าแผนกเฮลิคอปเตอร์ของ DLR เมือง Gottingen

James T. Heineck นักวิทยาศาสตร์ของ NASA ยืนยันว่า “ทีมงานที่ Gottingen นั้นนับว่าเป็นทีมงานที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก” นักวิจัยของ NASA กำลังทุ่มเทกับเทคโนโลยีการวัดที่ทันสมัยที่สุดและกำลังทดลองกับอุโมงค์ลมที่ใหญ่ที่สุดในโลก

การเกิด Vortices นั้นเป็นแหล่งกำเนิดเสียงดัง
“เสียงทุกอย่างที่คุณได้ยินจากเฮลิคอปเตอร์นั้นเป็นเสียงดังที่เกิดจากอากาศพลศาสตร์ เสียงส่วนใหญ่นี้นั้นมาจาก Vortices ที่ปลายใบพัด” กล่าวโดย Raffel

Vortices ที่ปลายใบพัดนั้นเกิดขึ้นที่ปลายสุดของใบพัด “ความดันอากาศที่ลดลงที่ด้านบนของใบพัดดึงกระแสอากาศให้หมุนวนขึ้นด้านบน ทำให้เกิด Vortex แต่ Vortex ที่ปลายปีกนั้นถูกบังคับให้ไหลลงด้านล่าง” อธิบายโดย Karen Mulleners นักวิจัยของ DLR ผู้ซึ่งทำงานทดสอบร่วมกับทีมวิจัยของ NASA “เมื่อใบพัดใบอื่นหมุนมาปะทะกับ Vortices นี้จะทำให้เกิดเสียงดังคล้าย ‘chopping’ or throbbing อันเป็นเสียงดังที่เป็นเอกลักษณ์ของเฮลิคอปเตอร์”

นักวิจัยกำลังใช้แท่นทดสอบด้วยโมเดลใบพัดจากมหาวิทยาลัยเทคนิค Aachen สำหรับการตรวจสอบ พวกเขาใช้กล้องความเร็วสูง 7 ตัว ใช้แสงเลเซอร์และหลอด LED กำลังไฟสูงในการทำให้ Vortices สามารถมองเห็นได้ “สิ่งพิเศษที่นี่ก็คือการใช้เทคนิคการวัดด้วยลำแสงที่ต่างกัน 3 เทคนิค” Raffel อธิบาย ความหนาแน่นและกลุ่มความเร็วใน Vortices และการเปลี่ยนรูปของใบพัดนั้นถูกบันทึกไว้ เหมือนกับในวงการแพทย์ วิธีการทดสอบหลายๆวิธีช่วยให้ไปสู่การวินิจฉัยที่ถูกต้อง ก็ต้องขอบคุณสำหรับกล้องความเร็วสูงที่ทันสมัยล่าสูดที่สามารถจับภาพได้ด้วยความเร็วถึง 4000 เฟรมต่อวินาที ทำให้สามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของ Vortex ได้อย่างต่อเนื่องเป็นครั้งแรก จนถึงเดี๋ยวนี้กล้องความเร็วสูงสามารถจับภาพนิ่งได้ดีเพียงพอ

Vortices สามารถมองเห็นได้

กระแสอากาศหมุนที่ปลายใบพัดนั้นยังก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆอีก เมื่อมันสัมผัสกับพื้นในขณะที่บินขึ้นหรือลงสนาม ฝุ่นหรือหิมะสามารถหมุนฟุ้งขึ้น ทำให้นักบินตกอยู่ในสภาวะอันตรายที่เรียกว่าภาวะ ‘brownout’ ทำให้เกิดการหลงสภาพอากาศ

การวัดในปัจจุบันจะเป็นพื้นฐานสำหรับการทดสอบในอนาคตในอุโมงลม การวิจัยด้วยการใช้เฮลิคอปเตอร์จริงนั้นมีแผนจะกระทำในอนาคต...

ที่มา : Supper Weapon

เผยโฉมแบบจำลองเครื่องบิน C-130 Successor Fast STOL Speed Agile


...เผยโฉมแบบจำลองเครื่องบิน C-130 Successor Fast STOL Speed Agile
เมื่อหลายปีที่แล้ว กองทัพอากาศสหรัฐ ฯ ได้พยายามที่จะหาเครื่องบินทดแทนเครื่องบิน Lockheed Martin C-130 โดยมีการมีการตั้งโครงการเครื่องบินลำเลียงที่สามารถขึ้นลงได้ในระยะสั้น (short takeoff and landing – STOL) โดยเป็นการแข่งขันระหว่างเครื่องบินต้นแบบ Boeing YC-14 และเครื่องบินต้นแบบ McDonnell YC-15 จากนั้นสถานการณ์ก็ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยงบประมาณโครงการเริ่มสูงขึ้น และงบอนุมัติจากรัฐบาลถูกสั่งตัด และความต้องการทางเทคนิคที่เพิ่มขึ้นทำให้ต้นแบบของเครื่องบินแบบใหม่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นเครื่องบิน Boeing C-17A Globemaster III ที่มาทำการทดแทนเครื่องบิน Lockheed C-141B Starlifter แทน ในขณะที่เครื่องบิน Lockheed C-130 ก็ยังทำการบินต่อไปเข้าสู่ทศวรรษที่ 7 ของสายการผลิต
อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างย่อมมีวงรอบ และตอนนี้ก็เหมือนเป็นเวลาอีกครั้งสำหรับเครื่องบินต้นแบบ YC-14 และ YC-15
ซึ่งเป็นที่มาของเครื่องบินแบบ Speed Agile ถ้ากองทัพอากาศสหรัฐ ฯ ได้รับอนุมัติงบประมาณใหม่สำหรับทำการทดแทนเครื่องบิน super-STOL C-130 หลังจากปี 2020 รูปข้างล่างเป็น ต้นแบบเครื่องบินลำเลียงชนิดใหม่ที่ทางบริษัท Lockheed พัฒนาขึ้นมา
โดยทางบริษัท Boeing ก็กำลังพัฒนาเครื่องบินต้นแบบเพื่อเป็นทางเลือก โดยหน่วยทดลองและวิจัยกองทัพอากาศสหรัฐ ฯ (Air Force Research Laboratory) ได้ตั้งงบสำหรับการทำเครื่องบินต้นแบบจำลองสำหรับทดลองในอุโมงค์ลม และหน่วยทดลองและวิจัยกองทัพอากาศสหรัฐ ฯ ได้เปิดเผยภาพแบบจำลองขนาด 23% ของขนาดจริง เครื่องบินต้นแบบ Lockheed Speed Agile concept ที่จะขับเคลื่อน 4 เครื่องยนต์ โดยแบบจำลองที่ทดลองในอุโมงค์ลมได้รวมเครื่องยนต์แบบ Williams FJ44 จำนวน 2 เครื่อง...

ที่มา : สมาคมคนรักเครื่องบินรบ

Sikorsky ได้เปิดเผย ข้อมูลฮ.S-97



...Sikorsky ได้เปิดเผย ข้อมูลฮ.S-97 สำหรับภารกิจโจมตีตามโครงการ"Army 's Armed Aerial Scout program"วึ่งคาดว่าจะมีการทดสอบในปีหน้า...

  ที่มา : สมาคมคนรักเครื่องบินรบ

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

ภาพประกอบ AV-8B

          กองทัพเรืออเมริกาทำการเติมน้ำมัน AV-8B กลางอากาศจากเครื่อง KC-130 ระหว่างปฏิบัติการทางกาศของหน่วย (Marine Expeditionary Unit : MEU : หน่วยลาดตระเวณ ด้วยกำลัง นาวิกโยธิน (ฟอร์ซ รีคอน) ) ใช้เวลา26 ชั่วโมง ที่ระดับ 18,000 feet เหนือ Djbouti, Africa เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2013 เป็นปฏิบัติการแบบอากาศสู่พื้นของกองเรือรบ ที่ 5 และที่ 6 เป็นพื้นที่รับผิดชอบของเรือ Kearsarge Amphibious

ภาพประกอบ เรือ USS Kearsarge


Name:     USS Kearsarge
ชื่อเรือ :     USS Kearsarge (1861), a Civil War Sloop
ผู้สร้าง :     Ingalls Shipbuilding
วางกระดูกงู :     6 กุมภาพันธ์ 1990
ปล่อยลงน้ำ :     26 มีนาคม 1992
สนับสนุนโดย :     Alma Powell, wife of Gen. Colin Powell
ชื่ออย่างเป็นทางการ :     16 พฤษภาคม 1992
Commissioned:     16 ตุลาคม 1993
ท่าเรือประจำการ :     Norfolk, Virginia
รหัสประจำตัว :     LHD 3
คำขวัญ :     Proud—Trustworthy—Bold
สถานะ :     พร้อมรบ,  2013

ที่มา: Defence around the globe, (U.S. Marine Corps photo by Cpl. Kyle N. Runnels)

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

นอร์ทธรอป กรัมแมน คอร์ปอเรชัน Northrop Grumman Corporation

...นอร์ทธรอป กรัมแมน คอร์ปอเรชัน

นอร์ทธรอป กรัมแมน คอร์ปอเรชัน (Northrop Grumman Corporation) เป็นบริษัทสัญชาติสหรัฐอเมริกา ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอากาศยานทางการทหาร การต่อเรือรบ และเทคโนโลยีทางการทหาร ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 จากการควบรวมกิจการของบริษัท นอร์ทธรอปและบริษัทกรัมแมน เข้าด้วยกัน

ในปี 2010 นอร์ทธรอป กรัมแมน เป็นบริษัทที่มีสัญญาการจัดซื้ออาวุธอยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก มีพนักงานทั่วโลกกว่า 120,000 คนมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเซนจูรีซิตี้ เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปี 2010 ได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 61 ในประเภทบริษัทอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกาจากนิตยสารฟอร์จูน

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

จีนและรัสเซียร่วมซ้อมรบทางทะเล 2556

           น่านน้ำทางทะเลมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างสูงต่อการรบจนมีคำกล่าวที่ว่า "ผู้ที่ครองน่านทะเลได้เท่ากับครองโลก" ซึ่งในความเป็นจริงนั้น อเมริกาได้ทำให้โลกได้ประจักษ์แล้วโดยมีกองเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก จนกดดันให้ชาติที่เีรียกได้ว่าเป็นมหาอำนาจในยุคปัจจุบันเช่นเดียวกันอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ อย่างเช่นจีนก็ดิ้นพัฒนากองเรือให้ก้าวหน้าเพื่อถ่วงดุลอำนาจ เราจะได้ยินข่าวว่าจีนแอบซื้อเรือบรรทุกเครื่องบินเก่าของรัสเซียไปซ่อมและใช้งานได้แล้วในปัจจุบัน ส่วนรัสเซียเองก็เป็นมหาอำนาจเก่าที่มีกองกำลังทางทหารและเทคโนโลยีที่ก้าวทันอเมริกาตลอดแก้ทางกันตลอด เป็นหมีที่แสดงตัวว่าหลับไหล ภายใต้การพัฒนาทางทหารอย่างไม่หยุดยั้งเช่นกัน  
          จีนและรัสเซียร่วมซ้อมรบทางทะเล ที่ Peter the Great Bay มีทหารร่วมฝึกซ้อมกลยุทธทางเรือ กว่า 4,000 นาย

กองเรือกำลังประสานการซักซ้อมเพื่อพร้อมรบ