วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

Delta ของ Hybrid Air Vehicles (HAV) เรือเหาะแห่งอนาคต และเป็นอนาคตของเรือเหาะ



Delta เรื่อเหาะแห่งอนาคต และเป็นอนาคตของเรือเหาะ

          โศกนาฏกรรมอันโด่งดังของเรือเหาะ ฮินเดนเบอร์ก เมื่อปี ค.ศ. 1937 เมื่อเรือเหาะที่บรรจุด้วยก๊าซไฮโดรเจนได้ระเบิดลุกใหม้ในขณะที่กำลังพยายามทอดสมอจอดใน New Jersey เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ปิดฉากอุตสาหกรรมการบินที่สร้างอากาศยานเบากว่าอากาศไปพร้อมกับเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายอีก 35 คน แต่อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา กลุ่มวิศกรอากาศยาน ที่มีความมุ่งมัน ส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษ ได้ร่วมกันออกแบบและสร้างเรือเหาะเชิงพาณิชย์ แม้ว่าจะล้มเหลวหลายครั้ง แต่ก็สามารถอยู่รอดได้จนถึงวันนี้
          บริษัท Hybrid Air Vehicles (HAV) ของอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2007 โดย Roger Munk และลูกน้องที่ไม่ประสพความสำเร็จกับความพยายามครั้งก่อน เมื่อเร็วๆนี้ได้รับสัญญาใหญ่ 2 งาน ที่ทำให้อนาคตของเรือเหาะมีอนาคตที่สดใส ดังชื่อของบริษัทที่มีนัยยะ เรือเหาะนี้ไม่ใช่บอลลูนบรรจุก๊าซที่มีรูปทรงเหมือนแท่งซิก้าร์ในอดีต หากแต่เป็นรูปทรงไฮเทคที่สามารถสร้างแรงยกได้ในตัว โครงสร้างลำตัวแบบ Semi-Rigid บังคับทิศทางแรงขับดันด้วย vectored thrust จากเครื่องยนต์ที่อยู่ในเรือเหาะ ลำตัวของเรือเหาะสามารถสร้างแรงยกทางอากาศพลศาสตร์ได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นแรงยกจากก๊าซฮีเลี่ยม นอกจากนั้นการใช้ทุ่นด้านข้าง ใต้ท้องเรือ ซึ่งเป็นเสมือนขาสกีของเรือเหาะ รวมถึงการใช้ใบพัดควบคุมทิศทางแรงขับ ทำให้เรือเหาะนี้สามารถลงจอดได้ทั้งบนพื้นดิน พื้นคอนกรีต หรือพื้นน้ำ ได้โดยไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ภาคพื้น
          ด้วยความอ่อนตัวในการใช้งานบวกกับความสามารถในการลอยอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานานถึง 21 วัน รวมทั้งความสามารถในการบรรทุกสิ่งของได้หนักรวมถึง 200 ตัน ทำให้บริษัท HAV ได้รับสัญญามูลค่า 517 ล้านเหรียญสหรัฐ (370 ล้านยูโร) โดยร่วมมือกับบริษัท Northrop Grumman ในการทำเรือเหาะสำหรับการตรวจการณ์ ลาดตระเวนหาข่าวที่ชื่อว่า Long-Endurance Multi-Intelligence Vehicle (LEMV) สำหรับกองทัพบกสหรัฐเพื่อใช้ในอัฟกานิสถานในปี 2012 ขณะที่ LEMV นั้นเป็นเรือเหาะค่อนข้างเล็กที่ออกแบบมาสำหรับภารกิจการตรวจการณ์ แต่ตอนนี้บริษัท HAV ก็ได้ออกข่าวว่าตอนนี้มีลูกค้าเอกชนได้สั่งซื้อเรือเหาะในรุ่นที่สามารถบรรทุกสิ่งของได้มาก
          บริษัท Discovery Air Innovation (DAI) ของแคนาดาได้ตกลงสั่งซื้อเรือเหาะจำนวนหนึ่งในรุ่นที่สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ 50 ตัน และบินได้ด้วยความเร็วที่ 100 น๊อต (185 กม/ชม หรือ 115 ไมล์/ชม) โดยจะใช้ในภารกิจการบริการขนส่งสินค้าไปยังพื้นที่ห่างไกลแถบขั้วโลกเหนือด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกลง การสร้างเรือเหาะลำแรกสำหรับบริษัท DAI นี้จะเริ่มในปี 2012 และจะเริ่มต้นให้บริการในแคนาดาในปี 2014 โดยบริษัท DAI อาจจะสั่งซื้อเรือเหาะถึง 50 ลำ แต่อย่างไรก็ตามต้องรอดูผลในเรื่องการบินปฏิบัติการณ์ก่อน
          บริษัท Hybrid Air Vehicles มองเห็นความเป็นไปได้มากมายในการประยุกต์ใช้เรือเหาะในภารกิจด้านการดูแลรักษาภูมิประเทศ การช่วยเหลือผู้ประสบภัย การสนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง และแน่นอนก็คือภารกิจด้านการท่องเที่ยวแบบหรูหรา ด้วย 2 สัญญาขนาดใหญ่ที่อยู่ในกระเป๋าแล้ว ทำให้ดูเหมือนว่ายุคทองของเรือเหาะจะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
                                                                  ที่มา :   www.gizmag.co

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น