คณะผู้วิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุดใจ ศรีจามร หัวหน้าโครงการวิจัย
อาจารย์ทับทิม สุริยสุภาพงศ์ ผู้ร่วมโครงการวิจัย
อาจารย์อุดมพร สุพรรณวงศ์ ผู้ร่วมโครงการวิจัย
อาจารย์ปรัชญ์ธวีฐ์ โพธิ์เงิน ผู้ร่วมโครงการวิจัย
โครงการวิจัยในชั้นเรียนปีการศึกษา 2545
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง)
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายงานการวิจัย
THE DEVELOPMENT COMPUTION SKILL
FOR PRATHOM SUKSA IV STUDENTS
2. คณะผู้วิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุดใจ ศรีจามร หัวหน้าโครงการวิจัย
อาจารย์ทับทิม สุริยสุภาพงศ์ ผู้ร่วมโครงการวิจัย
อาจารย์อุดมพร สุพรรณวงศ์ ผู้ร่วมโครงการวิจัย
อาจารย์ปรัชญ์ธวีฐ์ โพธิ์เงิน ผู้ร่วมโครงการวิจัย
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
3.1 เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
3.2 เพื่อศึกษาแบบฝึกทักษะการคิดคำนวณเรื่องบวก ลบ คูณและหาร
4. ความสำคัญและที่มาของประเด็นการวิจัย
การศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ อีกทั้งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ยังได้แบ่งสาระการเรียนรู้หลักเป็น 2 กลุ่ม และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นสาระการเรียนรู้สาระหนึ่งที่เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างพื้นฐานการคิดและเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาและวิกฤตของชาติ (กรมวิชาการ, 2544)
การเรียนการสอนคณิตศาสตร์มีทักษะที่ต้องเน้นผู้เรียนประกอบด้วยทักษะดังนี้
1. การแก้ปัญหา
2. ทักษะการนำคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
3. ทักษะในการพิจารณาผลลัพธ์ที่สมเหตุสมผล
4. ทักษะการคิดคะเนและการกะประมาณ
5. ทักษะการวัด ทักษะเรขาคณิต
6. ทักษะเกี่ยวกับการอ่าน การตีความ
7. ทักษะการทำนาย และทักษะการคำนวณ (สุลัดดา ลอยฟ้า,2538)
ซึ่งจะเห็นได้ว่าทักษะการคิดคำนวณ เป็นทักษะหนึ่งที่ผู้สอนต้องสร้างให้ผู้เรียนเกิด เพื่อให้
ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในการคิดคำนวณ ถ้านักเรียนประสบความสำเร็จในการคิดคำนวณหาคำตอบได้รวดเร็ว ถูกต้องย่อมมีผลช่วยให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชา และอยากมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม (วัลลภา อารีรัตน์, 2534)
การเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) ครูผู้สอนได้พยายามสอนนักเรียนตามเนื้อหาที่หลักสูตรสถานศึกษาจัดให้ แต่การเรียนการสอนบางเนื้อหายังขาดการเน้นทักษะการคิดคำนวณ ดังนั้นคณาจารย์ผู้สอนสาระการเรียนรู้กลุ่มทักษะคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 เห็นว่าควรจะส่งเสริมทักษะการคิดคำนวณให้กับนักเรียนทุกชั่วโมงสอน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการคิดคำนวณและสามารถนำไปใช้ร่วมกับวิชาอื่นได้ ตลอดจนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำได้
5. วิธีดำเนินการวิจัย
5.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) จำนวน 200 คน
5.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือคือ แบบฝึกคิดคำนวณ 1 ชุด ประกอบด้วย แบบฝึก 4 เรื่อง คือ
- แบบฝึกการบวกเลข จำนวน 100 ข้อ
- แบบฝึกการลบเลข จำนวน 100 ข้อ
- แบบฝึกการคูณเลข จำนวน 100 ข้อ
- แบบฝึกการหารเลข จำนวน 90 ข้อ
5.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณโดยใช้เทคนิคการวบ
รวมข้อมูล และทำการทดลองก่อนสอนเนื้อหาในชั่วโมงคณิตศาสตร์ใช้เวลาประมาณ 5 นาที โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นเตรียม (ใช้เวลา 1 นาที)
1.1 ให้นักเรียนวางแผ่นพลาสติกใสทาบบนแบบฝึกให้พอดี
1.2 เตรียมปากกาและเครื่องลบ
2. ขั้นฝึก (ใช้เวลา 1 นาที)
2.1 ภายใน 1 สัปดาห์ให้ฝึก 4 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที โดยเริ่มจากการบวก ลบ คูณ หาร สลับกันไป
2.2 การฝึกจะฝึกในชั่วโมงคณิตศาสตร์ก่อนเรียนเนื้อหาในชั่วโมงทุกชั่วโมง
2.3 เมื่อเริ่มจับเวลา ให้นักเรียนเขียนคำตอบลงบนแผ่นพลาสติก ให้ตรงกับช่องเติมคำตอบของแต่ละข้อ
2.4 เมื่อหมดเวลาให้วางปากกาทันที
3. ขั้นตรวจ และให้คะแนน (ใช้เวลา 1 นาที)
3.1 ทุกคนตรวจและให้คะแนนด้วยตนเอง โดยครูและนักเรียนเป็นผู้เฉลยคำตอบร่วมกัน
3.2 คำตอบถูกให้ข้อละ 1 คะแนน ตอบผิดให้ 0 คะแนน
4. บันทึกผลแสดงการพัฒนาการ (ใช้เวลา 1 นาที)
บันทึกผลลงในตารางพัฒนาการคณิตคิดคำนวณ
6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
6.1 นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 มีทักษะการคิดคำนวณดีขึ้น
6.2 ได้แบบฝึกทักษะการคิดคำนวณจำนวน 1 ชุด
7. ตัวแปรที่ทำการวิจัย
7.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ แบบฝึกทักษะการคิดคำนวณ
7.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ คะแนนที่ได้รับการฝึกคิดคำนวณในเรื่องการบวก ลบ คูณและหาร
8. การวิเคราะห์ข้อมูล
8.1 หาประสิทธิภาพของแบบฝึกโดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ แล้วนำไปปรังปรุง
8.2 หาค่าสถิติพื้นฐาน
8.2.1 ค่าเฉลี่ย ( X )
8.2.2 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.)
9. ผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้แสดงผลได้ดังนี้
9.1 ผลการวิเคราะห์คะแนนทักษะการคิดคำนวณเรื่องการบวก
ตารางที่ 1 แสดงผลการวิเคราะห์ คะแนนเฉลี่ย S.D.
คะแนนทักษะการคิดคำนวณ (x)
เรื่องการบวก ครั้งที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น