มยุรา ก่อบุญ* ดร. อัญชลี สารรัตนะ รศ.น้อยทิพย์ ลิ้มยิ่งเจริญ
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พฒั นารปู แบบการจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอนวิชาวิทยาศาสตร ์เรื่องพลังงานและสารเคมี ที่เน้นการสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ ร้อยละ 70 ขึ้นไป โดยมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด (3) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป โดยมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนบ้านสันติสุข (กฟผ.อุปถัมภ์) จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 23 คนการวิจัยครั้งนี้ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1)เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการสอนที่เน้น การสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 17 แผน การสอน (2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบบันทึกประจำวันของครูผู้สอน แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู ผลการวิจัยพบว่า
1. การวิจัยครั้งนี้ได้พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่เน้นการสอนโดย
ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
(1) การสอนในเนื้อหาที่ไม่ใช่การทดลอง และ
(2) การสอนในเนื้อหาที่เป็นการทดลอง การสอนในเนื้อหาที่ไม่ใช่การทดลอง
มีขั้นตอนที่สำคัญ 5 ขั้นตอน คือ
(1) ขั้นนำ เป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านเนื้อหา และทักษะกระบวนการที่เป็นพื้นฐานของมโนมติหรือเนื้อหาที่จะสอน
(2) ขั้นรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เป็นองค์ประกอบของมโนมติหรือเนื้อหาที่จะสอน
(3) ขั้นจัดกระทำข้อมูล เป็นการจัดกระทำข้อมูลที่ได้รวบรวมมาให้เป็นระเบียบ และมีความหมายชัดเจน
มากยิ่งขึ้น
(4) ขั้นสรุปเป็นมโนมติหรือเนื้อหา เป็นการสรุปมโนมติที่ได้จากการรวบรวมหรือจัดกระทำ
(5) ขั้นนำเสนอข้อมูล เป็นการนำข้อมูลที่สรุปได้มานำเสนอในรูปแบบต่างๆ ส่วนการสอนในเนื้อหาที่เป็นการทดลอง
มีขั้นตอนที่สำคัญ 6 ขั้นตอน คือ
(1) ขั้นนำ เป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านเนื้อหาและทักษะกระบวนการที่เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 3 มาตั้งเป็นสมมติฐาน และวาง (6) ขั้นสรุปการทดลองเป็นการนำข้อมูลที่ได้จาก
การทดลองไปสรุปผล
2.นักเรียนที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการสอน ที่เน้นการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 78.47 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 82.60
3. นักเรียนที่ได้รับการสอนตามรูป แบบการสอน ที่เน้นการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มี
คะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เฉลี่ยร้อยละ 71.30 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 73.91
----------------------------------------------------------------------
* นักศึกษาปริญญาโท สาขาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 3 มาตั้งเป็นสมมติฐาน และวาง (4) ขั้นตั้งสมมติฐาน และ วางแผนการทดลอง(6) ขั้นสรุปการทดลองเป็นการนำข้อมูลที่ได้จาก
การทดลองไปสรุปผล
2. นกั เรยี นทไี่ ดร้ บั การสอนตามรปู แบบการสอน ที่เน้นการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร ์ มี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 78.47 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 82.60
3. นกั เรยี นทไี่ ดร้ บั การสอนตามรปู แบบการสอน ที่เน้นการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร มี
คะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เฉลี่ยร้อยละ 71.30 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 73.91
ABSTRACT
The purposes of the present study
were (1) to develop teaching and learning activities
for the science unit of “Chemical
Substance and Energy”, emphasizing the application of
science process skills approach,
for Prathom Suksa III (Grade 3) students, (2) to develop
Prathom Suksa III students’
learning achievement in science to attain a mean score level of
70% or above in which at least
80% of the students should pass the prescribed criterion, (3) to
develop Grade-3 students’ science
process skills to attain a mean score of 70% or above and
at least 80% of the students
should pass the prescribed criterion.
The samples group consisted of 23
Grade-3 students in Ban Santisook (supported by
the Electricity Production
Authority), in Chaiyaphum Province, during the second semester
of the 2000 academic year.
There were two categories of
tools employed in the study, i.e. the experimental tools
which included 17 lesson plans
emphasizing science process skills, and data gathering tools
which included a learning
achievement test, a science process skills test, teacher’s diary,
student interview form and
teacher’s teaching-behavior observation form. Results of the study
showed that : 1. A teaching model
with emphasis on science process skills has been
developed in which teaching and
learning activities were organized into two approaches, i.e.
for experimental instruction and
non-experimental instruction.
The non-experimental instruction
consisted of 5 essential steps of (1) the
introduction in which teacher
helps prepare the students for instruction keeping in mind their
prior knowledge and science
process skills which are the foundation of the concepts or
subject content about to be
taught, (2) the data compilation in which data, the essential
components of the concepts or
subject content to be taught, are compiled, (3) the treatment of
data in which the collected data
are organized systematically in order to make them more
meaningful, (4) the shaping of
data into a concept or subject content, and (5) the presentation
in which the concluded data are
presented in various forms.
The experimental instruction
consisted of 6 essential steps of (1) the introduction in
which teacher helps prepare the
students for instruction keeping in mind their prior
knowledge and science process
skills which are the foundation of the concepts or subject
content about to be taught, (2)
the data compilation in which data on the origins of problems
are compiled, (3) the conclusion
and discussion of the causes of problems, (4) the formation
of hypothesis and planning for
experiment in which the data collected in Step 3 are used for
the formation of an hypothesis
and a test of the hypothesis, (5) the experiment, and (6) the
conclusion in which data obtained
from the experiment are concluded.
2. The students had made a mean
score of 78.47 for their learning achievement in
science and 82.60 % of them
passed the prescribed criterion.
3. Regarding their attainment of
science process skills, the students showed a mean
score of 71.30 in science process skills
and 73.91% of them passed the prescribed criterion.
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
เพราะว่าการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมายนั้น จะต้องพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม
3 การพลังงาน และการศึกษาให้สอดคล้องกัน ซึ่งการพัฒนาในแต่ละด้านนั้นต้องอาศัย ความรู้ทาง
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าช่วย จึงจะทำให้การดำเนินงานในแต่ละด้านเป็นไปอย่างมีประ
สิทธิภาพ (เติมศักดิ์ เศรษฐวัชราวนิช และคณะ, 2542) ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มขีดความรู้
ทางด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่บุคลากรภายในประเทศเพื่อปรับเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจทางด้านวิทยา
ศาสตร์ให้เป็นเทคโนโลยี เพื่อนำเทคโนโลยีเหล่านั้นสู่การผลิตที่เป็นหนทางในการพัฒนาเศรษฐกิจต่อ
ไป (อภิชัย พันธเสน, 2539)
รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จากนโยบายสำคัญในการพัฒนาประเทศเป็นลำดับ ดังเช่น แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเนื้อหาสาระด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ทันกับความเจริญก้าวหน้าของโลก เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานและเทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ มาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) ได้กำหนดนโยบายในการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มุ่งเน้นด้านการส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการ และการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนการรักษาดุลยภาพของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2535) และในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) ก็ยังคง
ให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดไว้ในแผนหลัก 4 แผน คือ การยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของปวงชน การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การพัฒนาการผลิตครู การฝึกอบรมและผลิตครูประจำการ การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและด้านสังคมศาสตร์ (กรมวิชาการ, 2541ก) ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ [สปช.], 2542)
ถึงแม้ว่าจากอดีตถึงปัจจุบันจะมีนโยบายที่ให้ความสำคัญ และมุ่งส่งเสริมการจัดการศึกษาวิทยา
ศาสตร์และเทคโนโลยีมากเพียงใดก็ตาม แต่การจัดการศึกษายังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งเห็นได้จากการประเมินคุณภาพการศึกษาในการประชุมสมัชชาการศึกษา ได้รายงานคุณภาพการศึกษาไว้ว่าผลการเรียนของเด็กไทยในวิชาพื้นฐานที่สำคัญคือ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มีแนวโน้มต่ำลง ความสามารถของเด็กไทยในวิชาดังกล่าวไม่อาจเทียบกับมาตรฐานการเรียนรู้ของเด็กชาติอื่นได้ (คณะอนุกรรมการพัฒนาการสอนและผลิตวัสดุอุปกรณ์การสอนคณิตศาสตร์, 2539) และจากการรายงานผลการประเมินคุณภาพนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2538 ของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ปรากฏว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละของกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตในปีการศึกษา 2536-2538 ลดลงตามลำดับ ดังนี้คือปีการศึกษา 2536 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 73.20 ปีการศึกษา 2537 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 68.77 ปีการศึกษา 2538 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 68.49 ในปีการศึกษา 2537 และ 2538 คะแนนเฉลี่ยร้อยละกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตไม่ผ่านเกณฑ์ที่สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิตั้งเป้าไว้ คือ ร้อยละ 70 (สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ, 2539)
จากการวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้การศึกษาวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา ไม่บรรลุตาม
เปา้ หมายทวี่ างไว ้ อาจเป็นเพราะว่าหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521 ได้บูรณาการความรู้ทาง 4วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และสุขศึกษา เข้าไว้ในมวลประสบการณ์กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตและถึงแม้ว่าจะมีการปรับปรุงหลักสูตร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) แล้ว แต่ก็ไม่ได้แยกวิชาวิทยา
ศาสตร์ออกจากกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ทำให้ความสำคัญของวิชาวิทยาศาสตร์ดูเหมือนจะ
ลดลง (สุภาสินี สุภธีระ, 2533) และโดยสภาพทั่วไปครูวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเนื้อหา
วิชา การสอนยึดครูเป็นศูนย์กลางทำให้ไม่ได้ฝึกนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ และมีทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์อย่างเพียงพอ (สุวพร เซ็มเฮ็ง, 2535)
ดังนั้นการแก้ปัญหาดังกล่าวควรเริ่มที่การพัฒนาการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่าเนื้อหาวิทยาศาสตร ์ การจัดการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ดีและถูกต้อง ต้องให้ผู้เรียนได้รับทั้งความรู้ มีทักษะการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อ้างถึงใน อาสา คัมภิรา, 2537) ตลอดจนปลูกฝังอบรมให้เกิดค่านิยม และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม ยอมรับและรู้จักปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาให้ผู้เรียนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และประยุกต์ใช้เป็น (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์,2540 ; วิทยากร เชียงกุล, 2539)
นอกจากนั้นการจัดการเรียนการสอน ควรจัดให้สอดคล้องกับหลักการปฏิรูปการเรียนรู้ ตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่เน้นการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนที่เน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ โดยจัดสภาวะแวดล้อม บรรยากาศ และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ อย่างหลากหลาย เพื่อเอื้อต่อความสามารถของนักเรียนแต่ละคน จัดกิจกรรมโดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อนักเรียนจะได้รับประสบการณ์ตรง ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนให้ สนุกสนาน นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน (สปช., 2540 ; กรมวิชาการ, 2541ข ; จรัญ คำยัง, 2541 ; ชาตรี สำราญ, 2542 ; สปช., 2542 ; สถาบัน แห่งชาติเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้, 2542) และการสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก็เป็นอีกวิธีสอนหนึ่งที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนมีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติจริง และค้นหาคำตอบด้วยตนเอง (กนกศักดิ์ ศรีคำ, 2543) นอกจากนั้นผลการวิจัยยังพบว่า การสอนโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ช่วยทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น (บุญเลิศ เสียงสุขสันติ, 2531 ; นิตยา ภูมิไชยา, 2535 ; แสงดาว เชิดชู, 2539 ; นารี ลือภูเขียว, 2541 ; จุฑามาศจำปาชนม์, 2542)
ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ให้มีผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตามที่ผู้วิจัยได้ตั้งเป้าไว้ และเพื่อเป็นการ แก้ปัญหา
ที่ผู้วิจัยประสบในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พลังงานและสาร
เคมี ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะแก้ปัญหา และพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ทักษะกระบวน
การทางวิทยาศาสตร์ และใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการมาเป็นวิธีดำเนินการวิจัยในการศึกษาครั้งนี้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานและสารเคมี ที่เน้นการสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 ให้มีระดับ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป โดยมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80ของนักเรียนทั้งหมด
3. เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีคะแนน
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป โดยมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด
วิธีดำเนินการวิจัย
1. กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสันติสุข (กฟผ.อุปถัมภ์) สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2543 จำนวน 23 คน
2. การดำเนินการวิจัย ดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งในการดำเนินการในแต่ละวง
จรของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นปฏิบัติการ (Act) ขั้นสังเกตการณ์ (Observe) ขั้นสะท้อนการปฏิบัติการ (Reflect) (ยาใจ พงษ์บริบูรณ์, 2523)
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
3.1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการสอนที่เน้นการสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ จำนวน 17 แผนการสอน
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติ ได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 3 ประเภท ได้แก่ แบบฝึกหัดจำนวน 17 ชุด แบบทดสอบย่อย จำนวน 4 ชุด แบบทดสอบเพื่อประเมินผลสรุป จำนวน 1 ชุด แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบบันทึกประจำวันของครูผู้สอน แบบสัมภาษณ์นักเรียน และ แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ก่อนดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้วิจัยได้ประชุมปรึกษาหารือร่วมกันกับผู้
ร่วมวิจัย และปฐมนิเทศนักเรียน
2. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการสอนที่สร้างขึ้น ผู้ร่วมวิจัยจะเป็นผู้บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะดำเนินการเรียนการสอนในแบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู หลังจากการเรียนการสอนสิ้นสุดลง นักเรียนจะทำแบบฝึกหัดเพื่อประเมินความสามารถในการเรียน ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยจะร่วมกันสัมภาษณ์นักเรียนที่เรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน จำนวน 3 คน ทุกท้ายชั่วโมงและบันทึกผลการสัมภาษณ์ในแบบสัมภาษณ์นักเรียน เมื่อสิ้นสุดการสอนแต่ละครั้ง ผู้วิจัยบันทึกการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนลงในแบบบันทึกประจำวันของครูผู้สอน และเมื่อสิ้นสุดแต่ละวงจรจะทำการทดสอบย่อยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากแบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู แบบบันทึกประจำวันของครูผู้สอน แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบฝึกหัด และแบบทดสอบย่อย มาอภิปรายร่วมกันกับผู้ร่วมวิจัย เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนในวงจรต่อไป
3. หลังจากสิ้นสุดการสอนทุกวงจรปฏิบัติการ ผู้วิจัยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียน และแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อประเมินผลสรุป
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ คะแนนของนักเรียนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัด การทำแบบทดสอบย่อยและการทำแบบทดสอบเพื่อประเมินผลสรุป ทั้งแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน และแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการวิเคราะห์ข้อมูลจะนำคะแนนที่ได้ไปหาค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ โดยผู้วิจัยได้ตั้งเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และจะต้องมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ข้อมูลจากการบันทึกประจำวันของครูผู้สอน ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักเรียน และแบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู ผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาในวงจรต่อไปและสรุปเป็นความเรียง
สรุปผลการวิจัย
1. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
สำหรับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกใช้รูปแบบการสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยา
ศาสตร์มาพัฒนากิจกรรมการเรียน การสอนในวิชาวิทยาศาสตร์ ลักษณะของกิจกรรมจะมีความหลากหลาย นักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง และฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเน้นการมีส่วนร่วมของนักเรียนทุกคน ลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบ่ง เป็น 2 ลักษณะ คือ 1) การสอนใน เนื้อหาที่ไม่ใช่การทดลอง 2) การสอนในเนื้อหาที่เป็นการทดลอง ซึ่งการสอนในแต่ละลักษณะจะมีรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนของ กิจกรรมดังต่อไปนี้
การสอนในเนื้อหาที่ไม่ใช่การทดลอง มีขั้นตอนที่สำคัญดังต่อไปนี้
1) ขั้นนำ 2) ขั้นรวบรวมข้อมูล 3) ขั้นจัดกระทำข้อมูล 4) ขั้นสรุปเป็นมโนมติหรือเนื้อหา 5) ขั้นนำ
เสนอข้อมูล
การสอนในเนื้อหาที่เป็นการทดลอง มีลำดับขั้นตอนที่สำคัญดังต่อไปนี้
1) ขั้นนำ 2) ขั้นรวบรวมข้อมูลที่เป็นที่มาของปัญหา 3) ขั้นสรุปปัญหาและอภิปรายสาเหตุของปัญหา
4) ขั้นตั้งสมมติฐานและวางแผนการทดลอง 5) ขั้นทดลอง 6) ขั้นสรุปผลการทดลอง
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์
ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปรากฎว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ
78.47 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 82.60
4. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผลการทดสอบปรากฏว่านักเรียนมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยร้อยละ 71.30
และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 73.91
ข้อเสนอแนะ
1. สื่อการเรียนการสอนควรมีความหลากหลาย และมีการทดลองใช้สื่อการสอนจนแน่ใจในประสิทธิภาพของสื่อ จึงนำไปใช้กับนักเรียน
2. ครูควรมีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี จดจำลำดับขั้นตอนการสอนอย่างแม่นยำ ดำเนินการสอนอย่างเป็นธรรมชาติ มีการทดลองปฏิบัติกิจกรรมหรือการทดลองก่อนสอนจริง เพื่อจะได้ทราบปัญหาหรือข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นในชั้นเรียน เพื่อเตรียมการแก้ไขและปรับปรุงกิจกรรม หรือการทดลองให้เหมาะสมและเกิดปัญหาน้อยที่สุด
3. ครูต้องมีการเตรียมคำถามที่จะใช้ในการถามนักเรียน ทั้งคำถามทั่วๆ ไปและคำถามที่นำไปสู่ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีการจัดเรียงลำดับคำถามก่อนหลังเพื่อนักเรียนจะได้จัดลำดับความคิดตามขั้นตอน ครูควรฝึกฝนทักษะการใช้คำถามให้คล่องแคล่ว และสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้
4. ในการถามคำถามครูควรเว้นจังหวะให้นักเรียนได้คิดอย่างเหมาะสม และควรกระตุ้นให้นักเรียนตอบคำถามอย่างทั่วถึง
5. ก่อนลงมือปฏิบัติกิจกรรม ครูควรอธิบายขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรมให้ชัดเจน เน้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญกับการทำงานกลุ่ม ตลอดจนการมีระเบียบวินัยในชั้น
เรียน
6. การวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นการดำเนินงานที่อาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายและมีการ ประสานงานร่วมกันระหว่างผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัยและนักเรียน ตลอดระยะเวลาทำการวิจัย ดังนั้นผู้วิจัยจำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อผู้ร่วมวิจัย รู้จักการยอมรับความคิดเห็นหรือ ข้อเสนอแนะของผู้ร่วมวิจัย เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง และพัฒนางานวิจัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
7. ควรปรับเกณฑ์ความรอบรู้ให้มีความเหมาะสม หรืออาจเพิ่มระยะเวลาในการสอนให้มากยิ่งขึ้น เพื่อนักเรียนจะได้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น
8. ควรนำวิธีสอนและการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ไปใช้ในการวิจัยในเนื้อหาอื่นหรือระดับชั้นอื่นบ้าง
9. ควรมีการเพิ่มตัวแปรอื่นๆ เช่น ความคงทนในการเรียนรู้ เจตคติทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2541 ก). กรอบความคิดเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่เน้นความมีวินัยและความเป็นประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
. (2541 ข). สรุปผลสาระสำคัญจากการสัมมนาทิศทางการจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ
: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2540). ปฏิรูปครบวงจร : สู่ยุคเรืองรองของเมืองไทย. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.คณะอนุกรรมการการพัฒนาการสอนและผลิตวัสดุอุปกรณ์การสอนคณิตศาสตร์,
จรัญ คำยัง. (2541). สอนและประเมินผลอย่างไร เด็กจึงจะคิดเป็น. ปฏิรูปการศึกษา, 1(3), 8.
จุฑามาศ จำปาชนม์. (2542). การเปรียบเทียบการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งแวดล้อมทาง ธรรมชาติ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการสอนปกติ.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชาตรี สำราญ. (2542 ก). ครูและห้องเรียน ค.ศ. 2000. กรุงเทพฯ : สถาบันแห่งชาติเพื่อปฎิรูปการเรียนรู้.
เติมศักดิ์ เศรษฐวัชราวนิช และคณะ. (2542). วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ:เธิร์ดเวฟเอ็ดดูเคชั่น.
นารี ลือภูเขียว. (2541) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการ ทางวิทยา
ศาสตร์ เรื่องสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของนักเรียน
ประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์กับการสอนตามคู่มือครู.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิตยา ภูมิไชยา. (2535). ผลการสอนโดยใช้กิจกรรมการสอนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญเลิศ เสียงสุขสันติ. (2531). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สอน โดยใช้ชุดการ
สอนฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ยาใจ พงษ์บริบูรณ์. (2523). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เอกสารประกอบการสอนระเบียบวิธีวิจัย. ขอนแก่น :
คณะศึกษาศาสตร ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิทยากร เชียงกุล. (2539). VISION 2020 จินตภาพสำหรับผู้บริหารและสังคมไทย. กรุงเทพฯ : ยิ่งมิตร.
สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ. (2539). รายงานการประเมินคุณภาพนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 ระดับจังหวัด ปีการศึกษา 2538. ชัยภูมิ : สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ. (เอกสารอัดสำเนา). สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2535). การสัมมนาเรื่อง การพัฒนาการ
ศึกษาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีและแนวโน้มในอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุภาสินี สุภธีระ. (2533). ทิศทางในการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาของประเทศไทยสำหรับช่วงต้นศตวรรษที่ 21 : ระดับประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์, 14(2).
สุวพร เข็มเฮ็ง. (2535). การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาจาก 2515-2533. ข่าวสาร สสวท., 20(7).
แสงดาว เชิดชู. (2539). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนรู้กลุ่ม
สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่อง สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
โดยใช้กิจกรรมการเรยี นการสอนทักษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตรก์ ับการสอนตามปกต.ิ
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อาสา คัมภิรา. (2537). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร ์ เจตคติวิทยาศาสตร ์ ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร ์ และความคงทนในการ
เรียนรู้ในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่องความดันและสารเคมี ของนักเรียนประถม
ศึกษาปีที่ 6 ที่สอนโดยใช้ชุดการสอนกับการสอนตามปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรม
หาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Weber, Marwin C. (1972). The Influence of Science Curriculum Improvement Study on the
Learner’s Operation Utilization of Science Process. Dissertation ABSTRACTs
International, 32 (5), 2582-A.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น