การวัดและประเมินผล
...เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลและเป็นตัวกำหนดว่าผ่านหรือไม่ผ่านเกณฑ์ ใช้งานกันในการศึกษา ทางธุรกิจ และการทำงาน
...สาระสำคัญของเครื่องมือวัดมี 9 ประการ
ความเที่ยงตรง ความยุติธรรม การถามลึก ความยั่วยุ ความยากง่าย อำนาจจำแนก ความเชื่อมั่น ความเป็นปรนัย ความมีประสิทธิภาพ
...ในทางการศึกษากิจกรรมการสอบการวัดผลคือกิจกรรมการวัดและประเมิน ในทางองค์กรต่างๆ นำมาใช้เป็น KPI วัดผลการทำงาน เป็นตัวกำหนดความก้าวหน้าของหน้าที่การงานในรอบการประเมินนั้นๆ แต่สำหรับองค์กรอาจไม่เคร่งครัดในกฏเกณฑ์มากนักอาจเป็นเพราะว่าหากทำให้ถูกต้องตามวิธีการวัดจริงๆ แล้ว ส่งผลให้ทำงานได้ยากไม่สะดวกจึงทำให้การวัด KPI นั้นๆ ทำเพื่อเพียงผ่านพอเป็นพิธี แต่ส่งผลต่อชีวิตพนักงาน ซึ่งสวนทางกับระบบการศึกษาที่วัดอย่างเคร่งครัดแต่เป็นกิจกรรมเชิงสมมุติซักซ้อมเท่านั้น การวัดและประเมินผลในทางปฏิบัติไม่สามารถนำมาใช้จริง 100% เนื่องจากมีรายละเอียดมากมายเมื่อทำการวัดแล้วส่งผลกระทบต่อการทำงาน และประสิทธิภาพจริงๆ จึงไม่เกิดขึ้นและอาจแอบแฝงไว้ด้วยอคติและเสน่หา...
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การศึกษา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การศึกษา แสดงบทความทั้งหมด
วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ปฏิรูปการศึกษา ยกเครื่องทางปัญญา อ.ประเวศ วะสี
จากหนังสือ ปฏิรูปการศึกษา ยกเครื่องทางปัญญา ทางรอดจากความหายนะ
ผู้เขียน ศร.ดร.ประเวศ วะสี
จัดพิมพ์โดย มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
ISBN ๙๗๔-๗๖๖๗-๗๘-๙
พิมพ์ครั้งที่ ๑ : กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
พิมพ์ครั้งที่ ๒ : เมษายน ๒๕๕๑
ตอนที่ 1 อารัมภกถา
*************************
การศึกษาที่ดีแก้ปัญหาได้ทุกอย่างการศึกษาที่ดีทำให้เกิดสิ่งที่ดีงามอะไรก็ได้ เพราะสมองของมนุษย์มีศักยภาพสูงสุด การศึกษาที่ดีสามารถขจัดทุกข์เข็ญของแผ่นดินได้ เราเข้าใจการศึกษาเพียงว่า คือการท่องหนังสือ ซึ่งไม่มีน้ำยา จึงไม่ศรัทธาในการศึกษาว่าจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ เราทำการศึกษาให้เป็นความทุกข์ ความยากลำบาก และผลิตคนที่ด้อยคุณภาพ ความด้อยคุณภาพนำไปสู่ความทุกข์และวิกฤติ แท้ที่จริงการศึกษาไม่ใช่เรื่องยาก ทำให้สนุก ทำให้มีความสุข และสร้างสรรค์คุณภาพคนอย่างใดก็ได้ ถ้าเราจะปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้เสียใหม่ การศึกษาที่ดีสามารถขจัดความยากจน สร้างทักษะชีวิต ทำให้ครอบครัวเป็นปึกแผ่น ชุมชนเข้มแข็งอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรม อนุรักษ์และเพิ่มพูนสิ่งแวดล้อม ทำให้การเมืองถูกต้อง สร้างอิสระภาพและความสุข ทำให้เกิดบุคคลเรียนรู้และสังคมเรียนรู้
ครูคือเมล็ดพันธุ์แห่งความดี
ครูคือเมล็ดพันธุ์แห่งความดี เมื่อตกอยู่ ณ ที่ใด ความดีย่อมงอกงามขึ้นโดยรอบ
ครูคือกัลลยาณมิตร การได้พบกัลยาณมิตรเป็นมงคลสูงสุด ความปรารถนาสูงสุดของพ่อแม่ คือการที่ลูกได้พบครูที่ดี ในขณะที่ครูจำนวนมากเป็นคนดี แต่สังคมและระบบไม่สนับสนุนครูดี การปฏิรูปการศึกษา ต้องปฏิรูประบบให้ส่งเสริมครู เพื่อให้ครูเป็นกัลยาณมิตรของแผ่นดิน
การร่วมแสดงความคิดเห็นของคนทั้งแผ่นดิน
การปฏิรูปการศึกษาเป็นกระบวนการทางการเมือง กระบวนการทางการเมืองคือการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งประเทศ การที่คนทั้งประเทศร่วมกันออกความคิดเห็นว่าการศึกษามีปัญหาอย่างใด และควรแก้ไขอย่างไรจะยังให้เกิดพลังทางปัญญา และพลังทางสังคมที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษา
ขอให้ช่วยกันถามและช่วยกันตอบว่า การศึกษามีปัญหาอย่างไร ควรแก้ไขอย่างไร
ตั้งสภาปฏิรูปการศึกษา
วิกฤษทางเศรษกิจและสังคมของประเทศเกิดจากวิกฤติการณ์ทางปัญญาของชาติหากสังคมไทยยังอ่อนแอทางปัญญา จากวิกฤตจะคืบไปสู่หายนะ วิกฤตทางปัญญาเป็นปัญหาเชิงวัฒนธรรมและโครงสร้างอันถักทอหมักหมมยากต่อการเข้าใจและสางให้ออก การแก้ไขตกแต่งเล็ก ๆ น้อยๆ แก้ไขไม่ได้สัมคมไทยต้องการยกเครื่องทางปัญญา การปฏิรูปการศึกษาในที่นี้หมายถึง การยกเครื่องทางปัญญา การยกเครื่องทางปัญญาใช่ว่าใครคนใดคนหนึ่งหรือองค์กรใดหนี่ง แม้ฝ่ายการเมืองจะทำได้สำเร็จ แต่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวทางปัญญาของสังคมทั้งมวล สภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นกลไกที่เคลื่อนพลังทางสัมคม เพื่อแก้ปัญหาที่ใหญ่และยาก ฉันใด สภาปฏิรูปการศึกษา ก็รวรเป็นกลไกที่คนไทยทั้งมวลร่วมใจกันยกเครื่องทางปัญญา ฉันนั้น
พรรคการเมืองใดที่เห็นว่าควรมีการปฏิรูปการศึกษา สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยเสนอ พ.ร.บ. ตั้งสภาปฏิรูปการศึกษา
ตอนที่ 2 ปัญหาของการศึกษาไทย
*************************
ปัญหาการศึกษาไทยในภาพใหญ่คือ การไม่สามารถเตรียมคนไทยให้สามารถเผชิญกับยุคสมัยแห่งการเปลียนแปลง ทำให้สังคมไทยอ่อนแอ ขัดแย้ง ทำลายตัวเอง และวิกฤต
สังคมไทยในยุคสมัยแห่งการเปลียนแปลงและสภาพวิกฤต
สังคมไทยในอดีตมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เริ่มเปลี่ยนแปลงเร็ว และเร็วยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ จากสังคมหมู่บ้านกลายเป็นสังคมใหญ่ที่เชื่อมโยงกับโลกอย่างสลับซับซ้อนทั้งทางเศรษฐกิจ การเงิน ข้อมูลข่าวสาร วัฒนธรรม และการเมือง มีการเปลียนแปลงอย่างพยากรณ์ไม่ได้ เช่น การพังทลายของระบบเศรษฐกิจการเงินของไทย ซึ่งกำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในปัจจุบัน
สังคมไทยกำลังเผชิญกับสภาวการณ์ใหม่ ๆ และปัญหาใหม่ ๆ ที่เรายังไม่คุ้นเคยมาก่อน
การเผชิญสภาวการณ์ใหม่และปัญหาใหม่ ด้วยทรรศนะเก่า จิตสำนึกเก่า และทักษะเก่า ไม่สามารถทำให้สังคมไทยผนึกตัวเองไว้ในดุลยภาพได้ ยึงกำลังแตกสลาย เช่น การพังทลายของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การพลังทลายของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การพลังทลายของชีวิตครอบครัว การพลังทลายของชีวิตชุมชน และวัฒนธรรมไทย การอพยพหลบภัยทางเศรษฐกิจ การเอาผู้หญิงและเด็กมาเป็นโสภพณีเป็นแสน ๆ คน ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม และความรุนแรง วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยังมองไม่เห็นทางออก ฯลฯ เหล่านี้คือสภาพวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นกับสังคมไทย เป็นดังนี้เพราะ
สังคมไทยมีความอ่อนแอภายใน แล้วไปเชื่อมกับกระแสโลกซึ่่งหมุนเร็วและรุนแรง
ความอ่อนแอภายในของสังคมไทยเกิดจากสิ่งที่ใหญ่มาก เสมือนถูกทับด้วยภูเขา หรือถูกครอบงำหรือครอบด้วยโครงสร้างที่ทำให้ไม่เกิดความสว่างทางปัญญา โครงสร้างมหึมาที่มาครอบสังคมไทยไม่ให้เกิดปัญญาได้แก่
1. โครงสร้างทางสังคม ที่เป็นโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีอำนาจ (ข้างบน) กับผู้ไม่มีอำนาจ (ข้างล่าง) ในลักษณะที่ข้างบนเอาเปรียบข้างล่างและทำให้ฐานล่างอ่อนแอ โครงสร้างอะไรที่ฐานล่างอ่อนแอย่อมทรุดพลังทลายลง
2. โครงสร้างอำนาจที่รวมศูนย์ มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาน้อย แต่มีคอรัปชั่นมาก
3. ความเคยชินจากสิ่งแวดล้อมในอดีต ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน มีทรัพยากรธรรมชาติมากพลเมืองน้อย ภยันอันตรายจากธรรมชาติน้อย ทำให้ประมาท ไม่กระตือรือร้นในการเรียนรู้ ในการสรรค์สร้าง ในความร่วมมือ บัดนี้สิ่งแวดล้อมเปลียนไปแล้ว แต่นิสัยเดิมยังอยู่ นิสัยเดิมไม่เข้ากับภาวะการณ์ใหม่ และปัญหาใหม่
4. ทิฐิและทิศทางในการพัฒนา สังคมไทยรับเอาทิฐิวัตถุนิยมมาเป็นทิศทางในการพัฒนา ทำให้โลภะ โมหะ โทสะ อันเป็นอกุศลมูลเล่นสูงขึ้นแทนที่จะเป็ยปัญญาหรืออุศลมูล
ทั้งหมดเชื่อมโยงกันเป็นโครงสร้างอันใหญ่ หนักหนาสาหัสสากรรจ์ ที่ครอบสังคมไทยไว้ไม่ให้มีสติปัญญาเพียงพอ จึงยังคงใช้ทรรศนะเก่า จิตสำนึกเก่า และทักษะเก่า ในสถานการณ์ใหม่
คนไทยยังคงเห็นแคบ ๆ ใกล้ ๆ เช่นเห็นแก่ตัว เห็นแค่พรรค เห็นแก่พวก ขาดจิตสาธารณะ (Public Mind) จึงคดโกงกันง่าย ไม่รับผิดชอบ หลบหลีกเอาตัวรอดแบบศรีธนชัย ลักษณะอย่างนี้เมื่อต้องไปเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง เศรษกิจการเงิน ย่อมนำไปสู่สภาวะวิกฤติอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
ในวัฒนธรรมอำนาจมีการเรียนรู้น้อย คนมีอำนาจก็ใช้อำนาจสั่งไปเลยโดยไม่ต้องใช้ความรู้ คนไม่มีอำนาจก็รับทำตามคำสั่งโดยไม่ต้องเรียนรู้ สังคมอำนาจนิยมมีการเรียนรู้น้อย เมื่อมีการเรียนรู้น้อยก็ไม่เกิดปัญญาพอ เมื่อปัญญาไม่พอก็แก้ปัญหาไม่ได้ และนำไม่สู่ภาวะวิกฤต
ในสังคมที่สลับซับซ้อนและมีปัญหายาก ๆ การใช้อำนาจแก้ปัญหาได้ผลน้อยลงๆ แต่ต้องใช้ความรู้ สังคมไทยยังขาดวัฒนธรรมและการใช้ความรู้ ยังเป็นสังคมใช้อำนาจ จึงแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ได้ ปัญหาสะสมมากขึ้นๆ จนวิกฤติ
นี่คือความอ่อนแอภายในของสังคมไทย
สังคมที่มีความอ่อนแอ เมื่อไปเชื่อมกับกระแสโลกซึ่งหมุนเร็วและแรง ย่อมหมดแรง ล้ม หรืออาจตาย เสมือนคนป่วยที่ไม่แข็งแรง ไปวิ่งบนสายพานที่หมุนเร็วและแรง ย่อมไปไม่รอด
การศึกษาไทยไม่มีพลังพอที่จะสร้างความเข้มแข็งให้สังคมไทย โดยมีทรรศนะใหม่ จิตสำนึกใหม่และทักษะใหม่ ที่เผชิญกับสถานการณ์ใหม่และปัญหาใหม่ได้
ที่พูดนี่มิใช่เพื่อตำหนิ เพราะเป็นเรื่องใหญ่และยากสุดกำลัง และระบบการศึกษาก็อยู่ใต้โครงสร้างอำนาจที่มีปัญหานั้นเอง แต่ถ้าเราเข้าใจสภาพปัญหา ก็สามารถช่วยกันคิดยุทธศาสตร์การศึกษาที่มีพลังในการแก้ไขความอ่อนแอทั้งมวลได้โดยไม่ยากเกินไป
ความทุกข์ 3 ประการในการศึกษาของไทย
ปัญหาใหญ่ ๆ ของการศึกษาไทยมี 3 เรื่อง คือ
1. ความเดือดร้อนแสนสาหัสในการแสดงหาและเข้าโรงเรียนดีๆ
พ่อแม่มีความวิตกกังวลว่าทำอย่างไรลูกจะได้เข้าโรงเรียนดีๆ ต้องเดือนร้อนวิ่งเต้นเส้นสาย ฝากฝัง เสียเงนเสียงทอง พล่านกันหมดทั้งประเทศ
เด็กมีความเครียดสูงในการที่จะสอบคัดเลือกเข้าสถานศึกษาดีๆ ต้องท่องหนังสือติวหามรุ่งหามค่ำ และเต็มไปด้วยความหวาดกลัว บางโรงเรียนเมื่อนักเรียนของตัวเองเรียนจบ ม.3 ต้องไปสอบตัวเลือกใหม่ว่าจะมีสิทธิเรียนต่อชั้น ม.4 ในโรงเรียนเดิมของตนเองหรือไม่
ระบบการศึกษาที่ก่อความทุกข์แสนสาหัสให้กับทั้งผู้ปกครองและนักเรียนเช่นนี้ ไม่ยุติธรรมต่อคนทั้งแผ่นดิน
เราควรมีโรงเรียนดีๆ มากพอ จนนักเรียนสามารถเลือกเข้าเรียนได้ง่ายที่โรงเรียนใกล้บ้าน
2. การเรียนยาก ไม่สนุก น่าเบื่อ หรือการเรียนเป็นความทุกข์
การเรียนควรจะมีความเป็นสุข ชวนให้นักเรียนรู้ แต่การศึกษาของเราจะเน้นการท่องจำจากตำราเป็นดุ้นๆ ซึ่งจำยาก เข้าใจยาก เสียเวลามาก และเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง ไม่ชวนให้ติดใจ ทำให้เกลียดการศึกษา เมื่อหมดเงื่อนไขบังคับก็หยุดการเรียนรู้ การหยุดการเรียนรู้ของคนไทยทำให้สติปัญญาไม่เพียงพอ และนำไปสู่ภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจและสังคม
ควรทำให้การเรียนรมีความสุข สนุก ชวนให้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
3. การศึกษาผลิตคนที่ขาดคุณภาพ
มนุษย์มีสมองที่มหัศจรรย์มาก สามารถเรียนรู้ที่จะบรรลุได้ดีทุกอย่าง คือรู้ความจริง แสวงหาความจริง ใช้ความจริง เพื่อความถูกต้องในการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกัน ทั้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มนุษย์ควรจะ
- มีความเอื้ออาทรต่อกัน
- สามารถอยู่ร่วมกันด้วยความเป็นปรกติ หรือความสุข พัฒนาจิตใจหรือความดีให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ
ด้วยศักยภาพทางสมอง คนทุกคนควรจะมีโอกาสที่จะพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพของความเป็นมนุษย์
แต่การศึกษาของเราเน้นที่การท่องจำเนื้อหาวิชาการต่างๆ มากมาย จึงยากและมีความทุกข์ดังกล่าวในข้อ 2 และทำให้ขาดคุณภาพแห่งการคิดเป็น ทำเป็น เรียนเป็น และการพัฒนาจิตใจให้สูงยิ่งๆ ขึ้น
คุณภาพเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จ
การขาดคุณภาพนำไปสู่ความยุ่งยากต่างๆ และนำไปสู่วิกฤติการณ์ทางเศษฐกิจสังคม การที่ประเทศขาดคนที่มีคุณภาพจึงเป็นภยันตรายใหญ่หลวงยิ่งนัก ปัญหาใหญ่ๆ ของการศึกษาทั้ง 3 เรื่องคือ
- ความเดือดร้อนแสนสาหัสของประชาชนในการแสวงหาโรงเรียนดีๆ
- การเรียนที่ยากและมีความทุกข์
- การศึกษาที่ผลิตคนขาดคุณภาพ
สิ่งเหล่านี้ทำร้ายสังคมไทยยิ่งนัก จึงเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นอันตรายที่จะนำประเทศไปสู่สภาวะวิกฤติ สมควรต้องแก้ไขหรือปฏิรูปการศึกษา
วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556
อัตราเงินเดือน อ.มหาวิทยาลัย
ภาพประกอบจาก www.admissions.au.edu |
-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาเอก 20400 บาท
-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาเอก 20400 บาท
-มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาเอก ประมาณ 32000 บาท
-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาเอก 19665 บาท
-มหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญาเอก 20000 บาท
-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปริญญาเอก 20660 บาท ปริญญาโท 15280 บาท
-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ปริญญาเอก 36750 บาท ปริญญาโท 25000 บาท
-มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปริญญาเอก 25520 บาท มีค่าตอบแทนพิเศษเพิ่ม 5000 บาท ปริญญาโท 18900 บาท
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
มหาวิทยาลัยไทยอันดับโลก-kmutt
คุณภาพการศึกษาในประเทศไทยเป็นที่วิพากษ์วิจารย์ในด้านคุณภาพอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เพราะผลผลิตที่ออกมาจากระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันนั้นเป็นตัวสะท้อนให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่าเราประสบความสำเร็จในการพัฒนาด้านการศึกษาหรือไม่ ในทุกระดับไล่เรียงตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถม มัธยม อุดมศึกษา บัณฑิตศึกษาหรือสูงกว่านั้น ในปัจจุบันค่านิยมในการศึกษาในการสอบเข้าสถาบันการศึกษาชื่อดังเป็นสิ่งที่มีหน้าตาของพ่อแม่ จึงทำให้การก้าวสู่เป้าหมายนั้นทำไปโดยไม่สนวิธีการ หลายคนทุจริตโกงข้อสอบ หรือลอกข้อสอบเพื่อไปสู่เป้าหมายของตัวเอง ตามตัวอย่างโพลที่ นางพาชิตชนัต ศิริพานิช อาจารย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงผลสำรวจแบบสอบถามทัศนคตินิสิต นักศึกษาเรื่อง “ทัศนคติของนิสิตนักศึกษาต่อการทุจริต การโกง ในการเรียนการสอบ” ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในงานประชุมวิชาการ ทปอ.ประจำปี 2556 ในหัวข้อ “บัณฑิตไทย คนรุ่นใหม่หัวใจคุณธรรม” ตอนหนึ่ง ว่า ทปอ.มอบให้นิด้าโพลสำรวจเรื่องดังกล่าว โดยสำรวจนิสิต นักศึกษา จำนวน 5,654 คน จาก 23 สถาบัน ใช้วิธีกรอกข้อมูลทางออนไลน์ ปรากฏผลสำรวจเบื้องต้นว่า เรื่องการทุจริตการสอบนั้น นิสิตนักศึกษา 16.3 เปอร์เซ็นต์ เคยทุจริตในการสอบ ส่วน 29.7 เปอร์เซ็นต์ เคยช่วยเพื่อทุจริตในการสอบ แต่ที่น่าห่วงมากนักศึกษาที่ทุจริตหรือช่วยเพื่อนทุจริต ว่าการทุจริต ไม่ผิดหรือผิดน้อย และนักศึกษาที่เคยช่วยเพื่อนทุจริต ทราบว่าการทุจริตเป็นเรื่องร้ายแรงน่าละอาย แต่ก็ยังทำเป็นประจำ นี่จึงเป็นดัชนีชี้วัดความเป็นไปของการศึกษาไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลกไทยจึงมีมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวที่ติดอันดับโลก
อันดับ 1 California Institute of Technology |
อันดับ 2 Harvard University |
อันดับ 3 University of Oxford |
ไทม์ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลก 400 อันดับประจำปี 2013-2014 ภายใต้การดำเนินการของทอมสัน สำนักข่าวรอยเตอร์ได้สำรวจมหาวิทยาลัยทั่วโลก ในด้านการสอน การวิจัย การส่งต่อเผยแพร่ความรู้เพื่อมวลมนุษย์ และตัวชี้วัดอื่น ๆ อย่างเหมาะสม
มหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลกครองแชมป์ต่อเนื่องมา 3 สมัยรวมถึงปีนี้ก็คือ California Institute of Technology ที่สองคือ Harvard University ที่สามคือ University of Oxford ที่สี่คือ Stanford University มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ติดอันดับที่ 322 (ช่วงระหว่าง 301-350) นับว่าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของไทย ในปีนีมหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับแค่ ม.KMUTT แห่งเดียวเท่านั้น
เรียบเรียง : xsci
วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556
อินทิเกรตและดิฟเฟอเรนชิเอต คืออะไร integrate, limit
อินทิเกรตและดิฟเฟอเรนชิเอต
เป็นแนวคิดที่เกิดจากแนวคิดพื้นฐานง่ายๆ
แล้วประยุกต์มันด้วยขบวนการอนันต์ครับ
สมมุตินะครับว่าเราต้องการหาพื้นที่ของ
รูปทรงที่มันไม่เป็นเรขาคณิต
คนสมัยโบราณที่เค้ายังไม่มีแคลคูลัสใช้เค้าทำไงครับ
เค้าก็คิดว่าเองั้นเราแบ่งพื้นที่นี้ออกเป็นชิ้นส่วนย่อยๆ
ที่เราสามารคำนวณได้รู้ค่าแน่นอนดีไหมน่ะ
ผลก็คือเมื่อทำการแบ่งพื้นที่ออกมาเป็นสี่เหลี่ยมแล้ว
คำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมนั้นๆ แล้วเอาพื้นที่ทั้งหมดมารวมกันเหมือนเดิม ก็จะได้คำตอบ
แต่ว่า...
คำตอบที่ว่านั่นคือค่าประมาณ เค้าก็ทำการคิดแก้ปัญหาต่อไป โดยการแบ่งพื้นที่ให้ละเอียดมากขึ้น เค้าก็ค้นพบว่าค่าที่ได้ จะใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น ได้ดั่งนั้นนักฟิสิกส์จึงบอกว่า เอาละ ในทางการฟิสิกส์แล้วเราต้องการความละเอียดระดับหนึ่งเท่านั้น ค่าผิดผลาดที่ได้จากการวัดของวิธีนี้ หาเราแบ่งสี่เหลี่ยมให้เล็กพอ นักฟิสิกส์สามารถยอมรับได้ นักเคมีกล่าวว่าในขบวนการทางเคมีนั้นมีค่าผิดผลาดเป็นเรื่องปกติอยู๋แล้วธรรมดามาก เราแค่ควบคุมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ มาถึงคิวนักคณิตศาสตร์นักคณิตศาสตร์คิดหนักเพราะถึงแม้จะแบ่งพื้นที่ให้ละเอียด เป็นพันชิ้น เป็นหมื่นชิ้น มันก็ยังให้ออกมาเป็นเพียงค่าที่ประมาณเท่านั้น นักคณิตศาสตร์ไม่พอใจเป็นอย่างมาก เนือ่งด้วยโลกของคณิตศาสตร์นั้นไม่ยอมรับว่า
0.0000000000000000000000001 = 0.0000000000000000000000002
นักคณิตศาสตร์ไม่รู้จะทำอย่างไร หันซ้ายหันขวาไปเจอลิมิตเข้า ก็ปิ้งไอเดียทันที นักคณิตศาสตร์จึงกล่าวขึ้นมาว่า ถ้าเราแบ่งพื้นที่ออกเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ ขนาด x โดยที่ x มีค่าเข้าใกล้ 0 และเมือ่เราทำการคำนวณหาพื้นที่ทั้งหมดมารวมกัน ด้วยกฏของลิมิตที่นิยามไว้ดีแล้ว จะทำให้เราได้ค่าพื้นที่ปิดล้อมนั้น แบบไม่ใช่ค่าประมาณ!
เป็นแนวคิดที่เกิดจากแนวคิดพื้นฐานง่ายๆ
แล้วประยุกต์มันด้วยขบวนการอนันต์ครับ
สมมุตินะครับว่าเราต้องการหาพื้นที่ของ
รูปทรงที่มันไม่เป็นเรขาคณิต
คนสมัยโบราณที่เค้ายังไม่มีแคลคูลัสใช้เค้าทำไงครับ
เค้าก็คิดว่าเองั้นเราแบ่งพื้นที่นี้ออกเป็นชิ้นส่วนย่อยๆ
ที่เราสามารคำนวณได้รู้ค่าแน่นอนดีไหมน่ะ
ผลก็คือเมื่อทำการแบ่งพื้นที่ออกมาเป็นสี่เหลี่ยมแล้ว
คำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมนั้นๆ แล้วเอาพื้นที่ทั้งหมดมารวมกันเหมือนเดิม ก็จะได้คำตอบ
แต่ว่า...
คำตอบที่ว่านั่นคือค่าประมาณ เค้าก็ทำการคิดแก้ปัญหาต่อไป โดยการแบ่งพื้นที่ให้ละเอียดมากขึ้น เค้าก็ค้นพบว่าค่าที่ได้ จะใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น ได้ดั่งนั้นนักฟิสิกส์จึงบอกว่า เอาละ ในทางการฟิสิกส์แล้วเราต้องการความละเอียดระดับหนึ่งเท่านั้น ค่าผิดผลาดที่ได้จากการวัดของวิธีนี้ หาเราแบ่งสี่เหลี่ยมให้เล็กพอ นักฟิสิกส์สามารถยอมรับได้ นักเคมีกล่าวว่าในขบวนการทางเคมีนั้นมีค่าผิดผลาดเป็นเรื่องปกติอยู๋แล้วธรรมดามาก เราแค่ควบคุมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ มาถึงคิวนักคณิตศาสตร์นักคณิตศาสตร์คิดหนักเพราะถึงแม้จะแบ่งพื้นที่ให้ละเอียด เป็นพันชิ้น เป็นหมื่นชิ้น มันก็ยังให้ออกมาเป็นเพียงค่าที่ประมาณเท่านั้น นักคณิตศาสตร์ไม่พอใจเป็นอย่างมาก เนือ่งด้วยโลกของคณิตศาสตร์นั้นไม่ยอมรับว่า
0.0000000000000000000000001 = 0.0000000000000000000000002
นักคณิตศาสตร์ไม่รู้จะทำอย่างไร หันซ้ายหันขวาไปเจอลิมิตเข้า ก็ปิ้งไอเดียทันที นักคณิตศาสตร์จึงกล่าวขึ้นมาว่า ถ้าเราแบ่งพื้นที่ออกเป็นสี่เหลี่ยมเล็กๆ ขนาด x โดยที่ x มีค่าเข้าใกล้ 0 และเมือ่เราทำการคำนวณหาพื้นที่ทั้งหมดมารวมกัน ด้วยกฏของลิมิตที่นิยามไว้ดีแล้ว จะทำให้เราได้ค่าพื้นที่ปิดล้อมนั้น แบบไม่ใช่ค่าประมาณ!
วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556
400 Times Higher Education World University Rankings 2013-2014 400 อันดับมหาวิทยาลัยดีที่สุดโลกในปี 2013-2014
ไทม์ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลก 400 อันดับประจำปี 2013-2014 ภายใต้การดำเนินการของทอมสัน สำนักข่าวรอยเตอร์ได้สำรวจมหาวิทยาลัยทั่วโลก ในด้านการสอน การวิจัย การส่งต่อเผยแพร่ความรู้เพื่อมวลมนุษย์ และตัวชี้วัดอื่น ๆ อย่างเหมาะสม
มหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลกครองแชมป์ต่อเนื่องมา 3 สมัยรวมถึงปีนี้ก็คือ California Institute of Technology ที่สองคือ Harvard University ที่สามคือ University of Oxford ที่สี่คือ Stanford University
มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ติดอันดับที่ 322 (ช่วงระหว่าง 301-350) นับว่าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของไทยในปีนี้ของไทยติดอันดับแค่ ม.KMUTT แห่งเดียวเท่านั้น
www.timeshighereducation.co.uk
ภาพประกอบ มหาวิทยาลัย California Institute of Technology
มหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลกครองแชมป์ต่อเนื่องมา 3 สมัยรวมถึงปีนี้ก็คือ California Institute of Technology ที่สองคือ Harvard University ที่สามคือ University of Oxford ที่สี่คือ Stanford University
มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ติดอันดับที่ 322 (ช่วงระหว่าง 301-350) นับว่าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของไทยในปีนี้ของไทยติดอันดับแค่ ม.KMUTT แห่งเดียวเท่านั้น
ภาพประกอบ แสดงถึงคะแนนที่ได้จากตัวชี้วัด timeshighereducation.co.uk
www.timeshighereducation.co.uk
วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556
ตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียน, thai classroom research
งานวิจัยในชั้นเรียนเหล่านี้เผยแพร่เพื่อเป็นตัวอย่างเป็นแนวทาง และการพัฒนาต่อยอด เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการศึกษาไทยให้ก้าวไกล ไม่ใช่การ COPY ไปเป็นงานตนเองเพื่อส่งแค่ผ่าน ๆ ตามหน้าที่
และงานทุกชิ้นเคดิตเจ้าของผลงานวิจัยไว้ในเนื้อหานั้น ซึ่งขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง การเผยแพร่นี้เพื่อการศึกษาไม่ใช่เพื่อการค้าใดๆ ทั้งสิ้น
และงานทุกชิ้นเคดิตเจ้าของผลงานวิจัยไว้ในเนื้อหานั้น ซึ่งขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง การเผยแพร่นี้เพื่อการศึกษาไม่ใช่เพื่อการค้าใดๆ ทั้งสิ้น
- หยิบรูปเมฆวางให้ตรง BOX เพื่อมองเห็นและดาวน์โหลดไฟล์
วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
รายงานการวิจัย การพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 THE DEVELOPMENT COMPUTION SKILL FOR PRATHOM SUKSA IV STUDENTS
คณะผู้วิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุดใจ ศรีจามร หัวหน้าโครงการวิจัย
อาจารย์ทับทิม สุริยสุภาพงศ์ ผู้ร่วมโครงการวิจัย
อาจารย์อุดมพร สุพรรณวงศ์ ผู้ร่วมโครงการวิจัย
อาจารย์ปรัชญ์ธวีฐ์ โพธิ์เงิน ผู้ร่วมโครงการวิจัย
โครงการวิจัยในชั้นเรียนปีการศึกษา 2545
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง)
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายงานการวิจัย
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่เน้นการสอน โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานและสารเคมี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 The Development of Teaching and Learning Activities in Science Using the Science Process Approach on Energy and Chemical Substance Unit for Prathomsuksa III Students
มยุรา ก่อบุญ* ดร. อัญชลี สารรัตนะ รศ.น้อยทิพย์ ลิ้มยิ่งเจริญ
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พฒั นารปู แบบการจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอนวิชาวิทยาศาสตร ์เรื่องพลังงานและสารเคมี ที่เน้นการสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ ร้อยละ 70 ขึ้นไป โดยมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด (3) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป โดยมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนบ้านสันติสุข (กฟผ.อุปถัมภ์) จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 23 คนการวิจัยครั้งนี้ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1)เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการสอนที่เน้น การสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 17 แผน การสอน (2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบบันทึกประจำวันของครูผู้สอน แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู ผลการวิจัยพบว่า
1. การวิจัยครั้งนี้ได้พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ที่เน้นการสอนโดย
ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
(1) การสอนในเนื้อหาที่ไม่ใช่การทดลอง และ
(2) การสอนในเนื้อหาที่เป็นการทดลอง การสอนในเนื้อหาที่ไม่ใช่การทดลอง
วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556
AEC 1 ใน 3 เสาหลักของ ASEAN
คำว่าภูมิภาคอาเซียน เราได้ยินคุ้นหูเป็นอย่างดีเพราะว่ามีการก่อตั้งมายาวนาน ซึ่งเริ่มต้นโดยประเทศไทยเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2510 นับถึงปัจจุบันก็ 46 ปี มีสมาชิกร่วมก่อตั้งเริ่มแรกคือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ นับถึงปัจจุบันมีประเทศสมาชิกเพิ่มใหม่อีก 5 ประเทศ ได้แก่ บรูไน เวียดนาม พม่า ลาว และล่าสุดคือกัมพูชา รวมทั้งสิ้น 10 ประเทศ
อาเซียนได้มุ่งเน้นสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาคมเริ่มต้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 โดยเน้น 3 เสาหลักอันได้แก่
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC)
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC)
+มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
+ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
+ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
+ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
ดังนั้นสิ่งที่เราตื่นตัวในปัจจุบันก็คือ AEC เป็น 1 ในสามเสาหลักของอาเซียนที่สำคัญยิ่ง
สิ่งสำคัญในการปรับตัวรับกับการมาถึงของ AEC นั้นก็คือการศึกษาและควรจะศึกษาด้านอะไรบ้างอาจไม่ใช่เพียงภาษาอังกฤษเสียแล้ว และเราต้องเรียนรู้อะไรบ้างถึงจะรับมือกับ AEC ได้เป็นอย่างนี้ จุดนี้ให้เรายึดคติรู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เพื่อตั้งรับและรุก หรือรุกขณะรับได้
+มาเลเซีย ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 2500 นับถึงปี 2556 รวม 56 ปี มีพัฒนาการทางการศึกษาที่ก้าวหน้าอย่างไม่ธรรมดา การศึกษาของมาเลเซียได้การวางรูปแบบโดยอังกฤษใน พ.ศ. 2500
+สิงคโปร์ ประเทศที่แยกออกมาจากมาเลเซียเพิ่งได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 2508 นับถึงปี 2556 รวมเวลา 48 ปีผ่านมา แต่สิงคโปร์มีมหาวิทยาลัยอันดับแรก ๆ ของโลกและมีการจัดระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูงมากนับตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย แม้แต่โอบาม่ายังเคยกล่าวว่าการศึกษาในระดับ Middle School หรือ ป.6-ม.ปลาย ของสิงคโปร์มีคุณภาพเหนือกว่าอเมริกาเลยทีเดียว* สิงคโปร์จะเน้นส่งเสริมการศึกษาทุ่มทุนสูงเพื่อสร้างบุคคลากรให้มีคุณภาพสูงมาก ๆ โดยเน้นการวิจัยและการมีส่วนร่วมระหว่างเอกชนเพื่อตอบโจทย์ความต้องการได้ตรงจุด มีมหาวิทยาลัยทั้งหมด 6 แห่ง แต่มี 2 แห่งที่ติดอันดับ TOP 100 มหาวิทยาลัยดีเด่นของโลก ได้แก่ NUS : National University of Singapore กับ NTU : Nanyang Technogical Univesity
+ในปี 2519 เวียดนามที่ผ่านสภาวะสงครามยืดยื้อจนเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน บ้านแตกสาแหรกขาด ผู้คนล้มตายนับไม่ถ้วนเหตุการณ์เหล่านั้นผ่านพ้นมา 36 ปี การสร้างประเทศยิ่งกว่าเริ่มจากติดลบ แต่ปัจจุบันไทยเราต้องไปดูงานด้านการศึกษาที่นั่น ไทยเรามีกระแสกลัวเวียดนามแซงหน้าซึ่งต้องพูดอย่างตรงไปตรงมาทั้งในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา หรือด้านอื่น ๆ
+ประเทศไทยแลนด์แดนสยามไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใครเรามีเอกราชชาติสยามตลอดเวลาจนปัจจุบันกลับโดนประเทศน้องใหม่เหล่านั้นพัฒนารุดหน้าไปเรียกว่าไม่เห็นฝุ่นถ้าเทียบกับสิงคโปร์ ทั้งนี้ทั้งนั้นประเด็นนี้ผมไม่ได้จะดูถูกประเทศไทยเราเองเพียงแต่ว่ามันน่าตกใจที่ประเทศเราพัฒนาได้เชื่องช้ามากมายขนาดนี้ เพราะอะไรกัน? มีมหาวิทยาลัยของไทยแห่งหนึ่งที่ถูกจัดให้ติดอันดับโลกโดย Time ได้แก่ ม.พระจอมเกล้าธนบุรี ส่วนอันดับของเอเชีย ม.พระจอมเกล้าธนบุรี อันดับที่ 55, ม.มหิดล อันดับที่ 61, ม.จุฬาลงกรณ์ อันดับที่ 82
การพัฒนาการการศึกษาของไทยที่เห็นแล้วไม่ตรงเป้าไม่ว่าจะเป็นการแจกแทบแลตยังไม่เห็นผลของพัฒนาการที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบการการเรียนแบบเดิมหรือประกอบสื่อการเรียนอื่น ๆ การยุบโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งเป็นสถาบันที่ใกล้ชิดคนท้องถิ่น โรงเรียนขนาดเล็กมีเด็กน้อยมีครูสอนครูที่ดีก็มีโอกาสเข้าถึงนักเรียนได้ง่ายสอนเจาะจงได้ง่ายกว่า ซึ่งโดยมาตรฐานกำหนดให้ ครู 1 คนต่อผู้เรียน 45 คนซึ่งแน่นอนว่าดูแลไม่ทั่วถึง และการเปลี่ยนทรงผมจากตัดเกรียนเป็นไว้รองทรงการเอาอกเอาใจโดยการเปลี่ยนทรงผมตามแฟชั่นวัยรุ่น สิ่งเหล่านี้รัฐล้วนกระตือรือร้นทำ หรือแนวทางแบบนี้เรียกว่าพัฒนา
การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่มีเพียงในเอกสารไม่เน้นปฏิบัติ การเรียนการสอนในห้องเป็นไปอย่างลูกผีลูกคน เน้นให้นักเรียนไปกวดวิชาติวเตอร์ เพื่อเพิ่มช่องทางรายได้ให้ครูผู้สอนนอกเวลาทำงาน ถ้าเป็นโรงเรียนรัฐในระดับประถม หรือมัธยม มีผู้บริการอาวุโสเตรียมเกษียรอายุราชการอีก 5 ปีข้างหน้าหลายท่านหยุดนิ่งไม่พัฒนาใด ๆ เพียงเพื่อคิดว่าต้นเองใกล้เกษียรแล้วขี้เกียจแล้วรอรับเงินเดือนอย่างเดียว
การเลือกเรียนด้านครูเพื่อเข้าเป็นผู้สอนแบบตั้งใจ ใจรัก แบบมีจิตวิญญาณ หาได้น้อยเต็มทีคณะครุศาสตร์นี้และอาชีพนี้เป็นเพียงอาชีพที่เก็บตกเหลือเลือกเท่านั้น เพราะเหตุผลเดียวคือเงินเดือนน้อยซึ่งก็น้อยจริงถ้าเปรียบกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจบัน ถ้าเป็นวิทยาลัยสอนในระดับอาชีวะศึกษา ปวช.-ปวส. ครูอาจารย์ที่เข้ามาสอนก็ขาดการคัดกรองเอาเฉพาะคนทีมีความเก่ง มีความสามารถอย่างแท้จริง มาสอนด้วยการอ่านหนังสือให้นักเรียน นักศึกษาฟัง บอกจด ท่องจำ สอนตามตำราเล่มเดียวที่มี การให้เกรดเป็นไปตามอารมณ์ อคติ การประจบประแจง และสเน่หา ผมยกตัวอย่างจุดอ่อนด้านมืดที่มีในวงการศึกษาใช่ว่าเป็นการดูถูกแต่เราต้องยอมรับแก้แก้ไขมัน
การตื่นตัวด้านการศึกษาเพื่อรับ AEC ในปี 2558 สิ่งแรกที่นึกถึงคือเรื่องภาษาอังกฤษเท่าที่เห็นมีทั้งสถาบันการศึกษา บริษัท ห้างร้าน ผู้ประกอบการ ก็ฮิตกันเป็นเทรนเดียวกันว่า ต้องเรียนภาษาอังกฤษ แต่เรียนแล้วเราจะนำมาสื่อสารกับใคร เรามานั่งคิดกันหรือยังว่า ใน AEC ชาติไหนบ้างที่ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับเราบ้าง และมาดูกันว่าภาษาราชการแต่ละประเทศนั้นคือภาษาอะไร
ภาษาราชการแต่ละประเทศ
อินโดนีเซีย ใช้ภาษาอินโดนีเซีย
มาเลเซีย ใช้ภาษา มาลายู หรือ ยาวี
ประเทศฟิลิปลินส์ ใช้ภาษา ฟิลิปิโน่
ประเทศสิงคโปร์ ใช้ภาษา อังกฤษ จีน มาเล ทมิฬ ภาษาที่ใช้บ่อยคือ อังกฤษ
ประเทศบรูไน ใช้ภาษา บรูไน
ประเทศเวียดนาม ใช้ภาษา เวียดนาม
ประเทศลาว ใช้ภาษา ลาว
ประเทศพม่า ใช้ภาษา พม่า
ประเทศเขมร ใช้ภาษา เขมร
แต่ถึงอย่างไรก็กลับมีคำถามต่อไปว่าเราตื่นตัวแค่เรื่องภาษาอังกฤษอย่างเดียวใช่หรือไม่ แล้วนอกจากเรื่องภาษาแล้วเราเตรียมพร้อมด้านไหนอีกเพื่อรับมืออย่างเป็นผู้ทีได้เปรียบทางการค้า
เมื่อได้เห็นจุดอ่อนของเราเองแล้วเราก็น่าจะทราบดีว่าประเทศอื่นก็มองจุดอ่อนของเราเป็นโอกาส เช่นเดียวกัน ผู้เหนือกว่าจะเข้ามาลงทุนด้านการศึกษาอย่างแน่นอน โดยเฉพาะสิงคโปร์ที่มีโอกาสเข้ามาลงทุนด้านสถาบันการศึกษา ซึ่งนั่นเป็นทั้งวิกฤติและโอกาสในเวลาเดียวกัน โอกาสก็คือคนไทยได้มีโอกาสได้เข้าสู่สถาบันที่ระบบการศึกษามีมาตรฐานระดับโลก โอกาสที่สองคือเป็นการสร้างแรงผลักให้การศึกษาไทยได้ขยับตัวพัฒนาให้เท่าทันจุดนี้ผู้ที่เข้าศึกษาก็จะได้ประโยชน์ รัฐบาลไทยจะเห็นถึงความสำคัญแค่ไหนในการผลักดันงบประมาณแนะนโยบายในการแข่งขัน และสถาบันการศึกษาเอกชนก็ต้องพัฒนาและปรับตัวให้มาตรฐานสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่อย่างมาก ซึ่งต้องใช้เงินทุน และรัฐบาลเองนอกจากจะผลักดันในส่วนการศึกษาของรัฐแล้ว จะให้สถาบันเอกชนได้พึ่งพามากแค่ไหน
ที่ผ่านมาสถาบันการศึกษาทั้งรัฐและเอกชนเล็งเห็น วิกฤติและโอกาส พร้อมทั้งปรับตัวกันหรือไม่ ตอบได้เลยว่าแทบจะไม่ได้ขยับตัวไปอยู่ในตำแหน่งผู้นำสถาบันการศึกษาคุณภาพระดับเอชีย ซึ่งยังไม่ต้องคาดหวังถึงระดับโลก คล้ายฟุตบอลไทยนั่นเอง เลยถ้าเทียบกับจำนวนหรือบ้านเราเน้นแค่ปริมาณ ปัจจุบันมี มหาวิทยาลัยรัฐทั้งหมด 27 แห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 40 แห่ง แต่กลับมีมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ติดอันดับมหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลกเพียงแห่งเดียว อันดับที่ 389 จากทั้งหมด 400 อันดับหรือว่าบ้านเราเน้นปริมาณเพียงอย่างเดียวโดยไม่สนใจคุณภาพ
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ภาษาในประเทศต่าง ๆ
http://www.ceted.org/tutorceted/language.html
โอบาม่ากล่าวถึงการศึกษาสิงคโปร์
http://www.nytimes.com/2009/03/10/us/politics/10text-obama.html?pagewanted=all&_r=0
การศึกษาของเวียดนาม
http://blog.eduzones.com/tonsungsook/106556
ประวัติ 10 ประเทศอาเซียน
http://hilight.kapook.com/view/67028
เปรียบเทียบประเทศเวียดนามและประเทศไทย ด้านการศึกษา , ภาษาและการลงทุน ใน AEC
http://www.seminarwinyuchon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539375628
อันดับมหาลัยในสิงคโปร์
http://javaboom.wordpress.com/2013/05/21/singapore-university-ranking-2013-part01/
อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก
http://education.kapook.com/view48825.html
ระบบการศึกษาของมาเลเซีย
http://www.gotoknow.org/posts/200549
อาเซียนได้มุ่งเน้นสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาคมเริ่มต้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 โดยเน้น 3 เสาหลักอันได้แก่
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC)
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC)
+มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
+ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
+ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
+ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
ดังนั้นสิ่งที่เราตื่นตัวในปัจจุบันก็คือ AEC เป็น 1 ในสามเสาหลักของอาเซียนที่สำคัญยิ่ง
สิ่งสำคัญในการปรับตัวรับกับการมาถึงของ AEC นั้นก็คือการศึกษาและควรจะศึกษาด้านอะไรบ้างอาจไม่ใช่เพียงภาษาอังกฤษเสียแล้ว และเราต้องเรียนรู้อะไรบ้างถึงจะรับมือกับ AEC ได้เป็นอย่างนี้ จุดนี้ให้เรายึดคติรู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เพื่อตั้งรับและรุก หรือรุกขณะรับได้
+มาเลเซีย ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 2500 นับถึงปี 2556 รวม 56 ปี มีพัฒนาการทางการศึกษาที่ก้าวหน้าอย่างไม่ธรรมดา การศึกษาของมาเลเซียได้การวางรูปแบบโดยอังกฤษใน พ.ศ. 2500
+สิงคโปร์ ประเทศที่แยกออกมาจากมาเลเซียเพิ่งได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 2508 นับถึงปี 2556 รวมเวลา 48 ปีผ่านมา แต่สิงคโปร์มีมหาวิทยาลัยอันดับแรก ๆ ของโลกและมีการจัดระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูงมากนับตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย แม้แต่โอบาม่ายังเคยกล่าวว่าการศึกษาในระดับ Middle School หรือ ป.6-ม.ปลาย ของสิงคโปร์มีคุณภาพเหนือกว่าอเมริกาเลยทีเดียว* สิงคโปร์จะเน้นส่งเสริมการศึกษาทุ่มทุนสูงเพื่อสร้างบุคคลากรให้มีคุณภาพสูงมาก ๆ โดยเน้นการวิจัยและการมีส่วนร่วมระหว่างเอกชนเพื่อตอบโจทย์ความต้องการได้ตรงจุด มีมหาวิทยาลัยทั้งหมด 6 แห่ง แต่มี 2 แห่งที่ติดอันดับ TOP 100 มหาวิทยาลัยดีเด่นของโลก ได้แก่ NUS : National University of Singapore กับ NTU : Nanyang Technogical Univesity
+ในปี 2519 เวียดนามที่ผ่านสภาวะสงครามยืดยื้อจนเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน บ้านแตกสาแหรกขาด ผู้คนล้มตายนับไม่ถ้วนเหตุการณ์เหล่านั้นผ่านพ้นมา 36 ปี การสร้างประเทศยิ่งกว่าเริ่มจากติดลบ แต่ปัจจุบันไทยเราต้องไปดูงานด้านการศึกษาที่นั่น ไทยเรามีกระแสกลัวเวียดนามแซงหน้าซึ่งต้องพูดอย่างตรงไปตรงมาทั้งในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา หรือด้านอื่น ๆ
+ประเทศไทยแลนด์แดนสยามไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใครเรามีเอกราชชาติสยามตลอดเวลาจนปัจจุบันกลับโดนประเทศน้องใหม่เหล่านั้นพัฒนารุดหน้าไปเรียกว่าไม่เห็นฝุ่นถ้าเทียบกับสิงคโปร์ ทั้งนี้ทั้งนั้นประเด็นนี้ผมไม่ได้จะดูถูกประเทศไทยเราเองเพียงแต่ว่ามันน่าตกใจที่ประเทศเราพัฒนาได้เชื่องช้ามากมายขนาดนี้ เพราะอะไรกัน? มีมหาวิทยาลัยของไทยแห่งหนึ่งที่ถูกจัดให้ติดอันดับโลกโดย Time ได้แก่ ม.พระจอมเกล้าธนบุรี ส่วนอันดับของเอเชีย ม.พระจอมเกล้าธนบุรี อันดับที่ 55, ม.มหิดล อันดับที่ 61, ม.จุฬาลงกรณ์ อันดับที่ 82
การพัฒนาการการศึกษาของไทยที่เห็นแล้วไม่ตรงเป้าไม่ว่าจะเป็นการแจกแทบแลตยังไม่เห็นผลของพัฒนาการที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบการการเรียนแบบเดิมหรือประกอบสื่อการเรียนอื่น ๆ การยุบโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งเป็นสถาบันที่ใกล้ชิดคนท้องถิ่น โรงเรียนขนาดเล็กมีเด็กน้อยมีครูสอนครูที่ดีก็มีโอกาสเข้าถึงนักเรียนได้ง่ายสอนเจาะจงได้ง่ายกว่า ซึ่งโดยมาตรฐานกำหนดให้ ครู 1 คนต่อผู้เรียน 45 คนซึ่งแน่นอนว่าดูแลไม่ทั่วถึง และการเปลี่ยนทรงผมจากตัดเกรียนเป็นไว้รองทรงการเอาอกเอาใจโดยการเปลี่ยนทรงผมตามแฟชั่นวัยรุ่น สิ่งเหล่านี้รัฐล้วนกระตือรือร้นทำ หรือแนวทางแบบนี้เรียกว่าพัฒนา
การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่มีเพียงในเอกสารไม่เน้นปฏิบัติ การเรียนการสอนในห้องเป็นไปอย่างลูกผีลูกคน เน้นให้นักเรียนไปกวดวิชาติวเตอร์ เพื่อเพิ่มช่องทางรายได้ให้ครูผู้สอนนอกเวลาทำงาน ถ้าเป็นโรงเรียนรัฐในระดับประถม หรือมัธยม มีผู้บริการอาวุโสเตรียมเกษียรอายุราชการอีก 5 ปีข้างหน้าหลายท่านหยุดนิ่งไม่พัฒนาใด ๆ เพียงเพื่อคิดว่าต้นเองใกล้เกษียรแล้วขี้เกียจแล้วรอรับเงินเดือนอย่างเดียว
การเลือกเรียนด้านครูเพื่อเข้าเป็นผู้สอนแบบตั้งใจ ใจรัก แบบมีจิตวิญญาณ หาได้น้อยเต็มทีคณะครุศาสตร์นี้และอาชีพนี้เป็นเพียงอาชีพที่เก็บตกเหลือเลือกเท่านั้น เพราะเหตุผลเดียวคือเงินเดือนน้อยซึ่งก็น้อยจริงถ้าเปรียบกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจบัน ถ้าเป็นวิทยาลัยสอนในระดับอาชีวะศึกษา ปวช.-ปวส. ครูอาจารย์ที่เข้ามาสอนก็ขาดการคัดกรองเอาเฉพาะคนทีมีความเก่ง มีความสามารถอย่างแท้จริง มาสอนด้วยการอ่านหนังสือให้นักเรียน นักศึกษาฟัง บอกจด ท่องจำ สอนตามตำราเล่มเดียวที่มี การให้เกรดเป็นไปตามอารมณ์ อคติ การประจบประแจง และสเน่หา ผมยกตัวอย่างจุดอ่อนด้านมืดที่มีในวงการศึกษาใช่ว่าเป็นการดูถูกแต่เราต้องยอมรับแก้แก้ไขมัน
การตื่นตัวด้านการศึกษาเพื่อรับ AEC ในปี 2558 สิ่งแรกที่นึกถึงคือเรื่องภาษาอังกฤษเท่าที่เห็นมีทั้งสถาบันการศึกษา บริษัท ห้างร้าน ผู้ประกอบการ ก็ฮิตกันเป็นเทรนเดียวกันว่า ต้องเรียนภาษาอังกฤษ แต่เรียนแล้วเราจะนำมาสื่อสารกับใคร เรามานั่งคิดกันหรือยังว่า ใน AEC ชาติไหนบ้างที่ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับเราบ้าง และมาดูกันว่าภาษาราชการแต่ละประเทศนั้นคือภาษาอะไร
ภาษาราชการแต่ละประเทศ
อินโดนีเซีย ใช้ภาษาอินโดนีเซีย
มาเลเซีย ใช้ภาษา มาลายู หรือ ยาวี
ประเทศฟิลิปลินส์ ใช้ภาษา ฟิลิปิโน่
ประเทศสิงคโปร์ ใช้ภาษา อังกฤษ จีน มาเล ทมิฬ ภาษาที่ใช้บ่อยคือ อังกฤษ
ประเทศบรูไน ใช้ภาษา บรูไน
ประเทศเวียดนาม ใช้ภาษา เวียดนาม
ประเทศลาว ใช้ภาษา ลาว
ประเทศพม่า ใช้ภาษา พม่า
ประเทศเขมร ใช้ภาษา เขมร
แต่ถึงอย่างไรก็กลับมีคำถามต่อไปว่าเราตื่นตัวแค่เรื่องภาษาอังกฤษอย่างเดียวใช่หรือไม่ แล้วนอกจากเรื่องภาษาแล้วเราเตรียมพร้อมด้านไหนอีกเพื่อรับมืออย่างเป็นผู้ทีได้เปรียบทางการค้า
เมื่อได้เห็นจุดอ่อนของเราเองแล้วเราก็น่าจะทราบดีว่าประเทศอื่นก็มองจุดอ่อนของเราเป็นโอกาส เช่นเดียวกัน ผู้เหนือกว่าจะเข้ามาลงทุนด้านการศึกษาอย่างแน่นอน โดยเฉพาะสิงคโปร์ที่มีโอกาสเข้ามาลงทุนด้านสถาบันการศึกษา ซึ่งนั่นเป็นทั้งวิกฤติและโอกาสในเวลาเดียวกัน โอกาสก็คือคนไทยได้มีโอกาสได้เข้าสู่สถาบันที่ระบบการศึกษามีมาตรฐานระดับโลก โอกาสที่สองคือเป็นการสร้างแรงผลักให้การศึกษาไทยได้ขยับตัวพัฒนาให้เท่าทันจุดนี้ผู้ที่เข้าศึกษาก็จะได้ประโยชน์ รัฐบาลไทยจะเห็นถึงความสำคัญแค่ไหนในการผลักดันงบประมาณแนะนโยบายในการแข่งขัน และสถาบันการศึกษาเอกชนก็ต้องพัฒนาและปรับตัวให้มาตรฐานสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่อย่างมาก ซึ่งต้องใช้เงินทุน และรัฐบาลเองนอกจากจะผลักดันในส่วนการศึกษาของรัฐแล้ว จะให้สถาบันเอกชนได้พึ่งพามากแค่ไหน
ที่ผ่านมาสถาบันการศึกษาทั้งรัฐและเอกชนเล็งเห็น วิกฤติและโอกาส พร้อมทั้งปรับตัวกันหรือไม่ ตอบได้เลยว่าแทบจะไม่ได้ขยับตัวไปอยู่ในตำแหน่งผู้นำสถาบันการศึกษาคุณภาพระดับเอชีย ซึ่งยังไม่ต้องคาดหวังถึงระดับโลก คล้ายฟุตบอลไทยนั่นเอง เลยถ้าเทียบกับจำนวนหรือบ้านเราเน้นแค่ปริมาณ ปัจจุบันมี มหาวิทยาลัยรัฐทั้งหมด 27 แห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 40 แห่ง แต่กลับมีมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ติดอันดับมหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลกเพียงแห่งเดียว อันดับที่ 389 จากทั้งหมด 400 อันดับหรือว่าบ้านเราเน้นปริมาณเพียงอย่างเดียวโดยไม่สนใจคุณภาพ
เขียน / เรียบเรียง : xsci
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ภาษาในประเทศต่าง ๆ
http://www.ceted.org/tutorceted/language.html
โอบาม่ากล่าวถึงการศึกษาสิงคโปร์
http://www.nytimes.com/2009/03/10/us/politics/10text-obama.html?pagewanted=all&_r=0
การศึกษาของเวียดนาม
http://blog.eduzones.com/tonsungsook/106556
ประวัติ 10 ประเทศอาเซียน
http://hilight.kapook.com/view/67028
เปรียบเทียบประเทศเวียดนามและประเทศไทย ด้านการศึกษา , ภาษาและการลงทุน ใน AEC
http://www.seminarwinyuchon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539375628
อันดับมหาลัยในสิงคโปร์
http://javaboom.wordpress.com/2013/05/21/singapore-university-ranking-2013-part01/
อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก
http://education.kapook.com/view48825.html
ระบบการศึกษาของมาเลเซีย
http://www.gotoknow.org/posts/200549
การศึกษาไทยและเวียดนาม thai and vietnam Education
เปรียบเทียบประเทศเวียดนามและประเทศไทย ด้านการศึกษา , ภาษาและการลงทุน ใน AEC
หลังสิ้นสุดความวุ่นวายทางการเมืองที่ทอดยาวมาเป็นเวลานานนั้นเสียได้ นับถอยกลับไปหลังจากที่อเมริกาถอนทหารจากเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ.2516 กองกาลังเวียดนามเหนือและเวียดกงยึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ได้ทั้งหมด ในปี พ.ศ.2518 เวียดนามเหนือ-ใต้ รวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ เมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2519 กลายเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ระยะ 36 ปีกว่า นับแต่นั้นเป็นต้นมา เวียดนามกาลังกลายเป็นพญามังกรที่กางปีกเต็มที่ และพร้อมแล้วกับการบินทุกรูปแบบ ทั้งสูง ผาดโผน และนุ่มนวล โดยเฉพาะเมื่อมีโอกาสบินในสมรภูมิรบที่คุ้นเคย ซึ่งบัดนี้ได้เปลี่ยนเป็นสมรภูมิการค้าเสรีใหญ่โตด้วยแล้ว ขณะเดียวกันก็จะทาให้การเติบโตและความรุ่งเรืองของเอเชียถีบตัวเป็นแม่เหล็กสาคัญในการลงทุนของโลกในอนาคต ท่ามกลางความตกต่าทางเศรษฐกิจของอเมริกาเหนือและกลุ่มอียู
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ในเวียดนามทั้ง 58 จังหวัด และอีก 5 เทศบาลนคร โดยเฉพาะในนครฮานอยและนครโฮจิมินห์ มีทัศนคติค่อนข้างดีและมีการปรับตัวทางการศึกษาอย่างคึกคัก เหตุผลสาคัญคือกลุ่มคนหนุ่มสาวสมัยใหม่ในเวียดนามค่อนข้างมั่นใจว่าการศึกษาและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษได้ดี เป็นตัวแปรสาคัญที่มีผลต่อชีวิตและสถานะของครอบครัว การศึกษาไทยเองก็ต้องให้ความสาคัญจุดนี้ให้มากด้วยเช่นกัน เพราะหากเทียบทักษะคนหนุ่มสาวไทย-เวียดนามที่อยู่ในช่วงระดับเดียวกันแล้ว คนไทยหาได้เปรียบอยู่มากไม่ เมื่อพิจารณาจากการใช้ภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์ในการวัด ราชอาณาจักรไทยเองในฐานะประเทศร่วมก่อตั้งอาเซียน ต้องลงทุนเรื่องมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมให้มาก งบประมาณต้องตั้งไว้อย่างเพียงพอเพื่อผลิตบุคลากรด้านนี้ให้ทันใช้งานในเวทีแข่งขันข้างหน้าที่การเปลี่ยนแปลงจะมีอยู่สูงตลอดจนการแสวงหาแนวทางใหม่ๆ ในการยกระดับมาตรฐานการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของอาเซียนให้สูงขึ้น ย้อนกลับมาวิเคราะห์การที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน นอกจากจะทาให้เวียดนามได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจรอบด้านจากอาเซียนแล้ว ยังทาให้มีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจการตลาดของเวียดนามโตวันโตคืน
ฉะนั้น นับตั้งแต่เวียดนามประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการลงทุนต่างชาติ ประเทศสมาชิกอาเซียนสนใจลงทุนในเวียดนามสูงขึ้นทันที เพราะเวียดนามเองก็ถือเป็นตลาดใหญ่กว่า 89 ล้านคน สมบูรณ์พร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีแรงงานที่มีค่าแรงถูก ศักยภาพของเวียดนามส่งผลให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนอย่างสิงคโปร์เข้าไปลงทุนมากเป็นอันดับ 1 ไทยลงทุนเป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลาดับ
ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ธันวาคม 2555 ที่มา : ไทยโพสต์
หลังสิ้นสุดความวุ่นวายทางการเมืองที่ทอดยาวมาเป็นเวลานานนั้นเสียได้ นับถอยกลับไปหลังจากที่อเมริกาถอนทหารจากเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ.2516 กองกาลังเวียดนามเหนือและเวียดกงยึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ได้ทั้งหมด ในปี พ.ศ.2518 เวียดนามเหนือ-ใต้ รวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ เมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2519 กลายเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ระยะ 36 ปีกว่า นับแต่นั้นเป็นต้นมา เวียดนามกาลังกลายเป็นพญามังกรที่กางปีกเต็มที่ และพร้อมแล้วกับการบินทุกรูปแบบ ทั้งสูง ผาดโผน และนุ่มนวล โดยเฉพาะเมื่อมีโอกาสบินในสมรภูมิรบที่คุ้นเคย ซึ่งบัดนี้ได้เปลี่ยนเป็นสมรภูมิการค้าเสรีใหญ่โตด้วยแล้ว ขณะเดียวกันก็จะทาให้การเติบโตและความรุ่งเรืองของเอเชียถีบตัวเป็นแม่เหล็กสาคัญในการลงทุนของโลกในอนาคต ท่ามกลางความตกต่าทางเศรษฐกิจของอเมริกาเหนือและกลุ่มอียู
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ในเวียดนามทั้ง 58 จังหวัด และอีก 5 เทศบาลนคร โดยเฉพาะในนครฮานอยและนครโฮจิมินห์ มีทัศนคติค่อนข้างดีและมีการปรับตัวทางการศึกษาอย่างคึกคัก เหตุผลสาคัญคือกลุ่มคนหนุ่มสาวสมัยใหม่ในเวียดนามค่อนข้างมั่นใจว่าการศึกษาและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษได้ดี เป็นตัวแปรสาคัญที่มีผลต่อชีวิตและสถานะของครอบครัว การศึกษาไทยเองก็ต้องให้ความสาคัญจุดนี้ให้มากด้วยเช่นกัน เพราะหากเทียบทักษะคนหนุ่มสาวไทย-เวียดนามที่อยู่ในช่วงระดับเดียวกันแล้ว คนไทยหาได้เปรียบอยู่มากไม่ เมื่อพิจารณาจากการใช้ภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์ในการวัด ราชอาณาจักรไทยเองในฐานะประเทศร่วมก่อตั้งอาเซียน ต้องลงทุนเรื่องมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมให้มาก งบประมาณต้องตั้งไว้อย่างเพียงพอเพื่อผลิตบุคลากรด้านนี้ให้ทันใช้งานในเวทีแข่งขันข้างหน้าที่การเปลี่ยนแปลงจะมีอยู่สูงตลอดจนการแสวงหาแนวทางใหม่ๆ ในการยกระดับมาตรฐานการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของอาเซียนให้สูงขึ้น ย้อนกลับมาวิเคราะห์การที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน นอกจากจะทาให้เวียดนามได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจรอบด้านจากอาเซียนแล้ว ยังทาให้มีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจการตลาดของเวียดนามโตวันโตคืน
ฉะนั้น นับตั้งแต่เวียดนามประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการลงทุนต่างชาติ ประเทศสมาชิกอาเซียนสนใจลงทุนในเวียดนามสูงขึ้นทันที เพราะเวียดนามเองก็ถือเป็นตลาดใหญ่กว่า 89 ล้านคน สมบูรณ์พร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีแรงงานที่มีค่าแรงถูก ศักยภาพของเวียดนามส่งผลให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนอย่างสิงคโปร์เข้าไปลงทุนมากเป็นอันดับ 1 ไทยลงทุนเป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลาดับ
ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ธันวาคม 2555 ที่มา : ไทยโพสต์
วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556
AEC Education ระบบการศึกษาใน aec
1. การศึกษาของสิงคโปร์
ระบบการศึกษาของสิงคโปร์แบ่งออกเป็นระดับประถม 6 ปี ระดับมัธยมศึกษา 4 ปี ซึ่งรวมแล้วเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 10 ปี แต่ผู้ที่จะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจะต้องศึกษาขั้นเตรียมมหาวิทยาลัย อีก 2 ปี
การศึกษาภาคบังคับของสิงคโปร์จะต้องเรียนรู้ 2 ภาษาควบคู่กันไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และเลือกเรียนภาษาแม่ (Mother Tongue) อีก 1 ภาษา คือ จีน (แมนดาริน) มาเลย์ หรือทมิฬ (อินเดีย)
รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก โดยถือว่าประชาชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ และมีค่าที่สุดของประเทศ ในการนี้ รัฐบาลได้ให้การอุดหนุนด้านการศึกษาจนเสมือนกับเป็นการศึกษาแบบให้เปล่า โรงเรียนในระดับประถม และมัธยมล้วนเป็นโรงเรียนของรัฐบาลหรือกึ่งรัฐบาล สถานศึกษาของเอกชนในสิงคโปร์ มีเฉพาะในระดับอนุบาล และโรงเรียนนานาชาติเท่านั้น
มหาวิทยาลัยในสิงคโปร์มี 3 แห่ง คือ :-
1. National University of Singapore (NUS)
2. Nanyang Technological University
3. Singapore Management University (SMU)
ระบบการศึกษาของสิงคโปร์แบ่งออกเป็นระดับประถม 6 ปี ระดับมัธยมศึกษา 4 ปี ซึ่งรวมแล้วเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 10 ปี แต่ผู้ที่จะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจะต้องศึกษาขั้นเตรียมมหาวิทยาลัย อีก 2 ปี
การศึกษาภาคบังคับของสิงคโปร์จะต้องเรียนรู้ 2 ภาษาควบคู่กันไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และเลือกเรียนภาษาแม่ (Mother Tongue) อีก 1 ภาษา คือ จีน (แมนดาริน) มาเลย์ หรือทมิฬ (อินเดีย)
รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก โดยถือว่าประชาชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ และมีค่าที่สุดของประเทศ ในการนี้ รัฐบาลได้ให้การอุดหนุนด้านการศึกษาจนเสมือนกับเป็นการศึกษาแบบให้เปล่า โรงเรียนในระดับประถม และมัธยมล้วนเป็นโรงเรียนของรัฐบาลหรือกึ่งรัฐบาล สถานศึกษาของเอกชนในสิงคโปร์ มีเฉพาะในระดับอนุบาล และโรงเรียนนานาชาติเท่านั้น
มหาวิทยาลัยในสิงคโปร์มี 3 แห่ง คือ :-
1. National University of Singapore (NUS)
2. Nanyang Technological University
3. Singapore Management University (SMU)
วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
คู่มือการพิมพ์หนังสือราชการ โดยใช้โปรแกรม Microsoft word
ขั้นตอนการปฏิบัติ
1. หลังจากติดตั้งโปรแกรม Microsoft Word และจัดเตรียมโครงร่างงานที่จะทำการบันทึก
2. เข้าโปรแกรม Microsoft Word โดยคลิกที่ปุ่ม Start เลือก Programs จากนั้นเลื่อนเมาส์ไปที่ Microsoft Office แล้วคลิกที่ Microsoft Word
- จากนั้นจะปรากฏหน้าจอของ Microsoft Word ขึ้นมา ดังรูป
3. . ตั้งกั้นหน้าและก้นหลังของเอกสาร
3.1 คลิกที่ปุ่มแฟ้ม เลือก ตั้งค่าหน้ากระดาษ
- ตั้งค่าหน้ากระดาษด้านบน 1.02 เซนติเมตร
- ตั้งค่าหน้ากระดาษด้านล่าง 1 เซนติเมตร
- ตั้งค่าหน้ากระดาษด้านซ้าย 3.17 เซนติเมตร
- ตั้งค่าหน้ากระดาษด้านขวา 1.5 เซนติเมตร
แล้วกดปุ่ม ตกลง
วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
Cognitive style, learning style
ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางความคิดของมนุษย์ ที่สำคัญนั้น นอกจากความเชื่อ และทัศนคติแล้ว ปัจจุบันนี้ในบริบทของ การจัดการศึกษา นักจิตวิทยา นักการศึกษา และนักวิจัยกำลังให้ความสนใจ และให้ความสำคัญมากขึ้นทุกที ต่อสิ่งที่เรียกว่า รูปแบบการคิด (cognitive style) และ รูปแบบการเรียนรู้ (learning style) ในฐานะที่เป็นปัจจัยทางจิตวิทยาสำคัญ ที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มสัมฤทธิผลทางการเรียนของผู้เรียนได้ ทั้งในการจัดการศึกษาในระดับโรงเรียน ระดับอุดมศึกษา และในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาวิชาชีพขององค์กรต่างๆ
ความหมายของคำว่า “รูปแบบ (style)”
คำว่า “รูปแบบ (style)” ในทางจิตวิทยา หมายถึงลักษณะที่บุคคลมีอยู่หรือเป็นอยู่ หรือใช้ในตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม อย่างค่อนข้าง คงที่ ดังที่เรามักจะใช้ทับศัพท์ว่า “สไตล์” เช่น สไตล์การพูด สไตล์การทำงาน และสไตล์การแต่งตัว เป็นต้น ซึ่งก็หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของเราเป็นอยู่ หรือเราทำอยู่เป็นประจำ หรือค่อนข้างประจำ
ความหมายของคำว่า “รูปแบบ (style)”
คำว่า “รูปแบบ (style)” ในทางจิตวิทยา หมายถึงลักษณะที่บุคคลมีอยู่หรือเป็นอยู่ หรือใช้ในตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม อย่างค่อนข้าง คงที่ ดังที่เรามักจะใช้ทับศัพท์ว่า “สไตล์” เช่น สไตล์การพูด สไตล์การทำงาน และสไตล์การแต่งตัว เป็นต้น ซึ่งก็หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของเราเป็นอยู่ หรือเราทำอยู่เป็นประจำ หรือค่อนข้างประจำ
วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
รวมข้อสอบ ม.1,2,3
ข้อสอบทัศนศิลป์ ม.1
pdf ข้อเขียน 4 หน้า
http://downloads.ziddu.com/downloadfile/16241444/tutormathphysics.com_015.zip.html
ข้อสอบเต็ม ๆ ปรนัย 80 ข้อ พร้อมเฉลย
http://goo.gl/Bsi7N
ข้อสอบสังคม ม.4
http://www.koukaew.com/index.php?mo=3&art=648204
รวมข้อสอบ
http://patchara1.igetweb.com/
คลังข้อสอบ
http://www.islamwit.net/Test_Index.html
pdf ข้อเขียน 4 หน้า
http://downloads.ziddu.com/downloadfile/16241444/tutormathphysics.com_015.zip.html
ข้อสอบเต็ม ๆ ปรนัย 80 ข้อ พร้อมเฉลย
http://goo.gl/Bsi7N
ข้อสอบสังคม ม.4
http://www.koukaew.com/index.php?mo=3&art=648204
รวมข้อสอบ
http://patchara1.igetweb.com/
คลังข้อสอบ
http://www.islamwit.net/Test_Index.html
วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556
คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม
ตัวอย่างปัจจัย ๔
เสื้อผ้านี้ คุณค่าแท้ของมันคืออะไร ? คือเพื่อปกปิดร่างกาย ป้องกันความละอาย แก้ความหนาว ความร้อน เป็นต้น นี่คือประโยชน์แท้ หรือคุณค่าแท้ของมัน แต่สำหรับมนุษย์ปุถุชนแล้ว มันไม่แค่นั้น มันจะมีคุณค่ารองอีก
คุณค่ารองนี้คืออะไร ? คือสิ่งที่จะให้เกิดความรู้สึกสวยงาม โก้หรูหรา อวดกัน วัดกัน อะไรต่างๆ เป็นต้น นี้คือคุณค่ารอง หรือคุณค่าเทียม
อย่างเราใช้รถยนต์ มันก็จะมีคุณค่าแท้ส่วนหนึ่ง และสำหรับบางคนก็จะมีคุณค่ารองอีกส่วนหนึ่ง
คุณค่าแท้คืออะไร ? คุณค่าแท้ก็คือใช้เป็นยานพาหนะ นำเราไปสู่ที่หมาย ด้วยความรวดเร็ว... แนวความคิดที่ควบกับคุณค่านี้ก็คือ พยายามให้สะดวกและปลอดภัย ทนทานที่สุด
เสื้อผ้านี้ คุณค่าแท้ของมันคืออะไร ? คือเพื่อปกปิดร่างกาย ป้องกันความละอาย แก้ความหนาว ความร้อน เป็นต้น นี่คือประโยชน์แท้ หรือคุณค่าแท้ของมัน แต่สำหรับมนุษย์ปุถุชนแล้ว มันไม่แค่นั้น มันจะมีคุณค่ารองอีก
คุณค่ารองนี้คืออะไร ? คือสิ่งที่จะให้เกิดความรู้สึกสวยงาม โก้หรูหรา อวดกัน วัดกัน อะไรต่างๆ เป็นต้น นี้คือคุณค่ารอง หรือคุณค่าเทียม
อย่างเราใช้รถยนต์ มันก็จะมีคุณค่าแท้ส่วนหนึ่ง และสำหรับบางคนก็จะมีคุณค่ารองอีกส่วนหนึ่ง
คุณค่าแท้คืออะไร ? คุณค่าแท้ก็คือใช้เป็นยานพาหนะ นำเราไปสู่ที่หมาย ด้วยความรวดเร็ว... แนวความคิดที่ควบกับคุณค่านี้ก็คือ พยายามให้สะดวกและปลอดภัย ทนทานที่สุด
โยนิโสมนสิการ (Critical Reflection)
โยนิโสมนสิการ (Critical Reflection) โยสิโส มาจาก โยนิ แปลว่า เหตุ มนสิการ แปลว่า การทำในใจ รวมแล้วแปลว่า การทำในใจโดยแยบคาย เน้นเรื่องการคิดวิเคราะห์ ซึ่งนำมาใช้ในทางการศึกษาในด้านพุทธิพิสัยก็คือ รู้จำ เข้าใจ นำไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า (ซึ่งได้เขียนไว้ในฉบับที่แล้ว ปีที่ 2 ฉบับที่ 11) โยนิโสมนสิการ ประกอบไปด้วยหลักการคิด 10 ประการ
1. คิดจากเหตุไปหาผล รู้เหตุก่อนถึงจะรู้ผล เช่น ความหิวเป็นสาเหตุให้ต้องไปกินอาหาร หรือ การไม่อ่านหนังสือทำให้สอบตก
2. คิดจากผลไปหาเหตุ รู้ผลก่อนถึงจะรู้เหตุ เช่น รู้ว่าสอบตกเหตุมาจากไม่อ่านหนังสือไม่ตั้งใจเรียน หรือ กินอาหารเป็นเหตุมาจากความหิว
3. คิดแบบเห็น ความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เป็นลูกโซ่ มองเหตุการณ์ สถานการณ์ ความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายอย่างรู้เข้าใจธรรมดาธรรมชาติของมันเช่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นวงจรของชีวิต
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
การใช้ No , Not , Don't
No สามารถใช้ได้ทั่วไป แทบทุกสถานการณ์ โดยมีความหมายเชิงปฏิเสธ สามารถใช้คำเดียวเดี่ยวๆ เลยก็ได้ใจความ เช่น ในกรณีตอบคำถาม
Do you like this shirt? No = ไม่ชอบ
Can you drive? No = ขับไม่เป็น
Do you have a pen? No = ไม่มี
Will you come to the party tonight? No = ไม่ไป
Have you ever try this before? No = ไม่เคย
Would you like some of this? No = ไม่เอา
Do you like this shirt? No = ไม่ชอบ
Can you drive? No = ขับไม่เป็น
Do you have a pen? No = ไม่มี
Will you come to the party tonight? No = ไม่ไป
Have you ever try this before? No = ไม่เคย
Would you like some of this? No = ไม่เอา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)