วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การศึกษาไทยและเวียดนาม thai and vietnam Education

เปรียบเทียบประเทศเวียดนามและประเทศไทย ด้านการศึกษา , ภาษาและการลงทุน ใน AEC

          หลังสิ้นสุดความวุ่นวายทางการเมืองที่ทอดยาวมาเป็นเวลานานนั้นเสียได้ นับถอยกลับไปหลังจากที่อเมริกาถอนทหารจากเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ.2516 กองกาลังเวียดนามเหนือและเวียดกงยึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ได้ทั้งหมด ในปี พ.ศ.2518 เวียดนามเหนือ-ใต้ รวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ เมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2519 กลายเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ระยะ 36 ปีกว่า นับแต่นั้นเป็นต้นมา เวียดนามกาลังกลายเป็นพญามังกรที่กางปีกเต็มที่ และพร้อมแล้วกับการบินทุกรูปแบบ ทั้งสูง ผาดโผน และนุ่มนวล โดยเฉพาะเมื่อมีโอกาสบินในสมรภูมิรบที่คุ้นเคย ซึ่งบัดนี้ได้เปลี่ยนเป็นสมรภูมิการค้าเสรีใหญ่โตด้วยแล้ว ขณะเดียวกันก็จะทาให้การเติบโตและความรุ่งเรืองของเอเชียถีบตัวเป็นแม่เหล็กสาคัญในการลงทุนของโลกในอนาคต ท่ามกลางความตกต่าทางเศรษฐกิจของอเมริกาเหนือและกลุ่มอียู
          อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ในเวียดนามทั้ง 58 จังหวัด และอีก 5 เทศบาลนคร โดยเฉพาะในนครฮานอยและนครโฮจิมินห์ มีทัศนคติค่อนข้างดีและมีการปรับตัวทางการศึกษาอย่างคึกคัก เหตุผลสาคัญคือกลุ่มคนหนุ่มสาวสมัยใหม่ในเวียดนามค่อนข้างมั่นใจว่าการศึกษาและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษได้ดี เป็นตัวแปรสาคัญที่มีผลต่อชีวิตและสถานะของครอบครัว การศึกษาไทยเองก็ต้องให้ความสาคัญจุดนี้ให้มากด้วยเช่นกัน เพราะหากเทียบทักษะคนหนุ่มสาวไทย-เวียดนามที่อยู่ในช่วงระดับเดียวกันแล้ว คนไทยหาได้เปรียบอยู่มากไม่ เมื่อพิจารณาจากการใช้ภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์ในการวัด ราชอาณาจักรไทยเองในฐานะประเทศร่วมก่อตั้งอาเซียน ต้องลงทุนเรื่องมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมให้มาก งบประมาณต้องตั้งไว้อย่างเพียงพอเพื่อผลิตบุคลากรด้านนี้ให้ทันใช้งานในเวทีแข่งขันข้างหน้าที่การเปลี่ยนแปลงจะมีอยู่สูงตลอดจนการแสวงหาแนวทางใหม่ๆ ในการยกระดับมาตรฐานการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของอาเซียนให้สูงขึ้น ย้อนกลับมาวิเคราะห์การที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน นอกจากจะทาให้เวียดนามได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจรอบด้านจากอาเซียนแล้ว ยังทาให้มีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจการตลาดของเวียดนามโตวันโตคืน
          ฉะนั้น นับตั้งแต่เวียดนามประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการลงทุนต่างชาติ ประเทศสมาชิกอาเซียนสนใจลงทุนในเวียดนามสูงขึ้นทันที เพราะเวียดนามเองก็ถือเป็นตลาดใหญ่กว่า 89 ล้านคน สมบูรณ์พร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีแรงงานที่มีค่าแรงถูก ศักยภาพของเวียดนามส่งผลให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนอย่างสิงคโปร์เข้าไปลงทุนมากเป็นอันดับ 1 ไทยลงทุนเป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลาดับ

ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ธันวาคม 2555 ที่มา : ไทยโพสต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น