วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อาหรับสปริง Arab Spring ถึงคิวซีเรีย

           อาหรับสปริง เป็นคลื่นปฏิวัติการเดินขบวน การประท้วงและสงครามซึ่งเกิดขึ้นในโลกอาหรับตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2553 ตราบจนปัจจุบัน ผู้ปกครองถูกโค่นจากอำนาจใน 1. ตูนิเซีย  2. อียิปต์  3. ลิเบีย  4.เยเมน  5. การก่อการกำเริบพลเมืองอุบัติขึ้นในบาห์เรน  6. ซีเรีย  7.การประท้วงใหญ่เกิดขึ้นในอัลจีเรีย  8. อิรัก  9. จอร์แดน  10. คูเวต  11. โมร็อกโก  12. ซูดาน  13. และการประท้วงเล็กเกิดในเลบานอน 14. มอริเตเนีย  15. โอมาน  16. ซาอุดิอาระเบีย  17. จิบูตี  18. เวสเทิร์นสะฮารา

ภาพประกอบ กลุ่มประเทศอาหรับ (credit:siamintelligence.com)

          .....เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองของ 18 ประเทศกลุ่มอาหรับ ที่ดำเนินไปในรูปแบบไกล้เคียงกันการปกครองก็ไกล้เคียงกันจึงเกิดการรวมตัวกันภายใต้เป้าหมายเดียวกัน ก็คือโค่นล้มรัฐบาล เหตุการณ์รุนแรงที่ผ่านมาเร็ว ๆ นี้ก็คือ อียิปต์ จัดการผู้ประท้วงอย่างรุนแรงทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และอีกประเทศที่กำลังเกิดสงครามการเมืองก็คือซีเรีย ที่อเมริกาหนุนหลังฝ่ายผู้ประท้วง หรือตามข่าวเรียกว่า กบฏ ตั้งแต่แรก และวันนี้มีการใช้อาวุธเคมีกับประชาชนซีเรีย ข่าวที่ออกมาจากทางสงครามมักจะมีการโจมตีและใส่ร้าย ดิสเครดิตแล้วอ้างความชอบธรรมให้ตัวเอง

ภาพประกอบ บาชาร์ อัล-อัสซาด ประธานาธิบดีซีเรีย

           บาชาร์ อัล-อัสซาด ได้รับการเลือกตั้งหลังจากการเสียชีวิตของพ่อของเขา ซึ่งตระกูลอัสซาดปกครองมายาวนานหลังจากพ่อของอัสซาสเสียชีวิต อัสซาสก็ได้รับเลือกตั้งขึ้นเป็นผู้นำและเป็นผู้นับถือศาสนานิกายที่แตกต่างจากประชาชนส่วนใหญ่ 74% ซึ่งทั้งสองนิกายมีความขัดแย้งกันอยู่แล้วยิ่งเป็นเชื้อไฟให้ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้าน การต่อสู้ช่วงแรก ๆ ดำเนินไปเพื่อเรียกร้องอิสระภาพ

          การดิสเครดิตและอ้างความชอบธรรมในสงครามเกิดขึ้นเสมอ  ในขณะที่อิสราเอลเป็นศัตรูของซีเรีย เมื่อเห็นโอกาสตรงนี้จึงไม่รอช้าที่จะดำเนินการสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ด้วยซีเรียเป็นยุทธศาสตร์ทางทหาร ที่สำคัญซีเรียมีอุดมการณ์เดียวกับ เลบานอน และอิหร่าน คือการปลดปล่อยปาเลสไตน์ และซีเรียยังเป็นท่อน้ำเลี้ยงให้กลุ่มก่อการร้าย คู่แค้นอิสราเอลอีกด้วย หาก 3 ประเทศร่วมมือกัน อิสราเอลจะลำบากอีกครั้ง นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้การต่อสู้เพื่ออิสระภาพกลายเป็นการต่อสู้แบบสงครามตัวแทน  หลังจากมีการใช้อาวุธเคมีที่ถือว่าไร้มนุษยธรรมเกิดขึ้น อัสซาดถูกตราหน้าว่าเป็นผู้ก่อการครั้งนี้ ซึ่งอัสซาดได้ออกมายืนยันจุดยืนว่าไม่ได้เป็นผู้ใช้อาวุธเคมีดังกล่าว ซึ่งอัลซาดรู้ดีว่าหากใช้อาวุธเคมีก็เท่ากับเรียกอเมริกาเข้ามาช่วยฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ถ้าเราหันไปมองอิสราเอลเป็นตัวแปรสำคัญในการก่อการครั้งนี้  วีรกรรมของหน่วยมอสซาดที่เคยเล่นงานอียิปต์ย่อยยับมาแล้ว รวมถึงกลุ่มทหารรัฐบาลที่แปรพักต์แล้วการที่อาวุธเคมีตกไปอยู่ในมือฝ่ายต่อต้านก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย และหากการใช้อาวุธเคมีครั้งนี้โยนปาบให้รัฐบาลอัสซาด เพื่อให้เกิดความชอบธรรมที่ในการโจมตีซีเรียจากสหรัฐและพันธมิตรตะวันตกและหากปฏิบัติการครั้งนี้สำเร็จผู้ที่ได้ประโยชน์อย่างใหญ่หลวง แผนที่อาจใหญ่ขึ้นก็คือ อิสราเอล นั่นเอง

          ในขณะเดียวกัน จีน รัสเซียและอิหร่าน ออกคัดค้านการโจมตีซีเรียจากสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรตะวันตก โดยรัสเซียได้ส่ง เรือลาดตระเวนติดขีปนาวุธ “มอสควา” และและเรือต่อต้านเรือดำน้ำ ในสังกัดกองเรือทะเลดำ ไปประจำการในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแล้วเพื่อกดดันการปฏิบัติการครั้งนี้จนทำให้ปฏิบัติการต้องเลื่อนออกไป

ภาพประกอบ เรือรบติดขีปนาวุธมอสควา ติดอาวุธมิซาย P-500  ของรัสเซียที่สามารถทำลายเรือชั้นอาร์เลห์เบิร์กของอเมริกา ในลูกเดียว

ภาพประกอบ เรือพิฆาตติดอาวุธนำวิถีโทมาฮอคของอเมริกา ชั้นอาร์เลห์เบิร์ก(ArleighBurke Class Destroyer) ได้เข้าประจำการในน่านน้ำเมดิเตอร์เรเนียน เรือบรรทุกเครื่องบินและเรืออื่นๆ อีกรวม 5 ลำ ในระยะทำการในซีเรีย ท่านที่ได้ดูหนังเรื่องแบทเทิลชิป Battleship ก็จะคุ้นตากับเรือลำนี้

ภาพประกอบ โทมาฮอว์ก เป็นขีปนาวุธร่อนนำวิถีระยะไกล  ของอเมริกา  ความเร็วต่ำกว่าเสียง  ใช้งานได้ทุกสภาพอากาศ สามารถลัดเลาะตามภูมิประเทศเพื่อหลบเรด้าได้    อเมริกามักจะใช้ในการเปิดฉากโจมตีผู้อ่อนแอกว่าด้วยจรวดชนิดนี้อยู่บ่อยครั้ง

          อเมริกาเป็นตัวกลางที่มีส่วนร่วมในสงครามประเทศอื่นอยู่บ่อยครั้ง ซีเรียรบกันเสียหายมากพออยู่แล้ว มันต้องหาทางทำให้เกิดความสงบ แต่อเมริกากลับเลือกวิธีการ เติมไฟให้สงคราม ที่น่าสังเกตุก็คือ อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศษ ออกมายืนยันให้รีบโจมตี โดยไม่ต้องฟังผลสืบสวนจาก UN หรือนั่นเพราะไม่ต้องการให้เรื่องถูกสาวมาถึงตัว จึงรีบทำลายหลักฐาน เตรียมพร้อมที่จะยิงโทมาฮอคโจมตีฝ่ายรัฐบาลซีเรีย ข้ออ้างเดียวกันกับในอิรัค นักฆ่าหน้านักบุญ เป็นคำเปรียบเทียบอเมริกา ไม่ใช่ให้ดูเท่เป็นวีระบุรุษแน่นอน การแสดงท่าทีของอเมริกาเรื่องการลงโทษซีเรีย นั่นคือสัญญาณการพิฆาต บาชาร์ อัล-อัสซาด ผู้นำซีเรีย ในชะตากรรมเดียวกันกับ กัดดาฟี ผู้นำลิเบียนั่นเอง

ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
boston.com/news/world/middle-east/2012/10/10/civil-war-leaves-syrian-economy-cities-ruins/D5z55W9UV2JQo2gaLZxDII/story.html

Arleigh Burke
       

เขียน / เรียบเรียง : xsci

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น