ระบบการศึกษาของสิงคโปร์แบ่งออกเป็นระดับประถม 6 ปี ระดับมัธยมศึกษา 4 ปี ซึ่งรวมแล้วเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 10 ปี แต่ผู้ที่จะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจะต้องศึกษาขั้นเตรียมมหาวิทยาลัย อีก 2 ปี
การศึกษาภาคบังคับของสิงคโปร์จะต้องเรียนรู้ 2 ภาษาควบคู่กันไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และเลือกเรียนภาษาแม่ (Mother Tongue) อีก 1 ภาษา คือ จีน (แมนดาริน) มาเลย์ หรือทมิฬ (อินเดีย)
รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก โดยถือว่าประชาชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ และมีค่าที่สุดของประเทศ ในการนี้ รัฐบาลได้ให้การอุดหนุนด้านการศึกษาจนเสมือนกับเป็นการศึกษาแบบให้เปล่า โรงเรียนในระดับประถม และมัธยมล้วนเป็นโรงเรียนของรัฐบาลหรือกึ่งรัฐบาล สถานศึกษาของเอกชนในสิงคโปร์ มีเฉพาะในระดับอนุบาล และโรงเรียนนานาชาติเท่านั้น
มหาวิทยาลัยในสิงคโปร์มี 3 แห่ง คือ :-
1. National University of Singapore (NUS)
2. Nanyang Technological University
3. Singapore Management University (SMU)
โดยมหาวิทยาลัย NUS จะให้การศึกษาครอบคลุมเกือบทุกสาขาวิชา ทั้งแพทยศาสตร์ ทันตแพทย์ กฎหมาย ศิลปะศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม และการบริหารธุรกิจ ส่วนมหาวิทยาลัย Nanyang จะเน้นการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่างๆ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และสาขาธุรกิจ และการบัญชี สำหรับมหาวิทยาลัย SMU จะเน้นเรื่องธุรกิจการจัดการ
วิทยาลัยเทคนิค (Polytechnic) ของสิงคโปร์มี 4 แห่งได้แก่ Singapore Polytechnic, Ngee Ann Polytechnic, Temasek Polytechnic และ Nanyang Polytechnic ส่วนวิทยาลัยผลิตครูของสิงคโปร์มีอยู่เพียงแห่งเดียว คือ National Institute of Education นอกจากนี้ ยังมี Institute of Technical Education : ITE เป็นสถาบันที่จัดการศึกษาสำหรับผู้ต้องการทักษะทางช่าง และช่างผีมือ
ผู้ปกครองนักเรียนของสิงคโปร์จะส่งบุตรหลานเข้ารับการเตรียมความพร้อมใน โรงเรียนเมื่อเด็กมีอายุ ได้ 2 ขวบครึ่ง เมื่อเด็กอายุได้ 6 ขวบก็จะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1
ระดับประถมศึกษาของสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ป.1-ป.4 เรียกว่า Foundation Stage และ ป.5-ป.6 เรียกว่า Orientation Stage ชั้นประถมต้นจะเรียน 3 วิชาหลัก คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาแม่ และคณิตศาสตร์ นอกจากนั้น จะมีวิชาดนตรี ศิลปหัตถกรรม หน้าที่พลเมือง สุขศึกษา สังคม และพลศึกษา แต่ในช่วงประถมปลาย หรือ Orientation Stage นั้น นักเรียนจะถูกแยกออกเป็น 3 กลุ่มทางภาษา คือ EM 1. EM 2. และ EM 3. การแยกนักเรียนเข้ากลุ่มทางภาษานั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถทางภาษาของแต่ละคน เมื่อจบ ป.6 แล้วจะมีการสอบที่เรียกว่า Primary School Leaving Examination (PSLE) เพื่อที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาต่อไป ผลการเข้าสอบมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา
การศึกษาในระดับมัธยมศึกษานั้น จะมี 3 หลักสูตรให้เลือกตามความสามารถ และความสนใจ โดยใช้เวลา 4-5 ปี หลักสูตรในระดับมัธยมศึกษา ได้แก่
หลักสูตรพิเศษ (Special Course)
หลักสูตรเร่งรัด (Express Course)
หลักสูตรปกติ (Normal Course)
เมื่อจบหลักสูตรจะมีการสอบ โดยหลักสูตรพิเศษ และหลักสูตรเร่งรัดจะต้องผ่านประกาศนียบัตร GCB (General Certificate of Education) ในระดับ “O” Level ส่วนหลักสูตรปกติจะต้องผ่าน GCB “N” Level แต่ถ้าต้องศึกษาต่อในระดับเตรียมอุดมศึกษา ก็ต้องสอบให้ผ่าน GCB “O” Level เช่นเดียวกัน
เมื่อจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาแล้ว ผู้ที่สนใจเรียนสายวิชาชีพเทคนิค หรืออาชีวศึกษา ก็สามารถแยกไปเรียนตามสถาบันต่างๆ ได้ ส่วนผู้ที่จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัยก็จะเข้าศึกษาต่อใน Junior College อีก 2 ปี เมื่อจบแล้วจะต้องสอบ GCE “A” Level เพื่อนำผลคะแนนไปตัดสินการเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย ผู้ที่เข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ก็อาจศึกษาในสายอาชีพ หรือหางานทำต่อไป
ปีการศึกษาของสิงคโปร์จะแบ่งออกเป็น 4 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 10 สัปดาห์ เริ่มเปิดการศึกษาตั้งแต่วันที่ 2 มกราคมของทุกปี ช่วงระหว่างภาคเรียนที่ 1 กับที่ 2 และที่ 3 กับที่ 4 จะมีการหยุด 1 สัปดาห์ ระหว่างภาคเรียนที่ 2 กับที่ 3 หยุด 4 สัปดาห์ และมีช่วงหยุด 6 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา
2. การศึกษาอินโดนีเซีย
ระบบการศึกษาในโรงเรียนประกอบด้วยระดับการศึกษาขั้นต่างๆ ดังนี้คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาชั้นมัธยมและการศึกษาระดับสูง นอกเหนือจากระดับการศึกษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีการศึกษาก่อนวัยเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมของเด็กด้วย
การศึกษา ขั้นพื้นฐาน ตามเกณฑ์จะใช้เวลา 9 ปีโดยเรียนชั้นประถมศึกษา 6 ปีและชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี มีเป้าหมายเพื่อจัดหาทักษะพื้นฐานในการพัฒนาตนเองในฐานะที่เป็นปัจเจกชน สมาชิกในสังคม ประชากรในประเทศและโลก เท่าๆ กับที่เตรียมก้าวเข้าสู่การศึกษาระดับมัธยมศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา จะกำหนดโครงการการศึกษาเป็นเวลา 6 ปีซึ่งโรงเรียนจะมีลักษณะแตกต่างกัน 2 แบบ คือ โรงเรียนประถมศึกษาแบบทั่วไป (general primary school) และโรงเรียนประถมศึกษาพิเศษสำหรับเด็กพิการ (special primary school for handicapped children) สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจะกำหนดการเรียนเป็นเวลา 3 ปีและมีลักษณะแบบเดียวกับของโรงเรียนระดับประถมศึกษาคือ มีโรงเรียนแบบทั่วไปและโรงเรียนพิเศษสำหรับเด็กพิการ
โรงเรียนมัธยม ศึกษา รับผู้จบการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้เวลาเรียน 3 ปี โดยมีรูปแบบของการจัดการศึกษาหลายแบบ เช่น แบบสามัญทั่วไป แบบสามัญวิชาชีพ แบบสามัญทางศาสนา แบบสามัญบริการ และแบบการศึกษาพิเศษ วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษามีดังนี้คือ
1.พัฒนาความรู้แก่นักเรียนให้ ได้ศึกษาต่อเนื่องไปถึงขั้นสูง และเพื่อพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์แขนงต่างๆ
2.พัฒนาความสามารถของนักเรียนในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม ให้มีปฏิสัมพันธ์ต่อสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
การ ศึกษาระดับมัธยมศึกษาทั่วไป หลักสูตรประกอบด้วยโครงการวิชาการสอนทั่วไปและการสอนเฉพาะวิชา เพื่อเตรียมความรู้และพัฒนาทักษะสำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป
การ ศึกษาระดับมัธยมศึกษาทางวิชาชีพ เหมาะสำหรับผู้ต้องการเข้าสู่วิชาชีพ สามารถแยกการศึกษานี้ออกเป็น 6 กลุ่มในสาขาวิชาชีพต่างๆ ดังนี้คือ
• เกษตรกรรมและการป่าไม้
• เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
• ธุรกิจและการจัดการ
• ความเป็นอยู่ของชุมชน
• การท่องเที่ยว
• ศิลปะหัตถกรรม
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาด้านศาสนา เป็นการจัดการศึกษาด้านศาสนาโดยเฉพาะ
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาแบบบริการ เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมความรู้ความสามารถสำหรับผู้ที่จะเข้าเป็นพนักงานหรือข้าราชการ
การศึกษาระดับมัธยมศึกษาพิเศษ เป็นการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่พิการทางร่างกายและ/หรือจิตใจ
การ ศึกษาระดับสูง หรืออุดมศึกษา เป็นการขยายไปจากการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ระดับปริญญาตรีใช้เวลาเรียน 3-4 ปี ปริญญาโท 2 ปี และปริญญาเอก 3 ปี สถาบันที่ให้การศึกษาระดับสูงนี้มีลักษณะเป็นสถาบันวิชาการ โพลีเทคนิค สถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัย
3. การศึกษาของ สหภาพม่า
กระทรวงศึกษาธิการของพม่า เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารการศึกษาของประเทศ ใช้ระบบการศึกษาเป็นระบบ 5 :4 : 2 ดังนี้
• ประถมศึกษา 5 ปี (อนุบาล 1 ปี และประถม 4 ปี)
• มัธยมศึกษาตอนต้น 4 ปี
• มัธยมศึกษาตอนปลาย 2 ปี
และอาชีวศึกษา 1- 3 ปี อุดมศึกษา 4 -6 ปี
กรมการ ศึกษาพื้นฐานของพม่า เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางนโยบายและบริหารการศึกษาระดับก่อน ประถมศึกษามัธยมศึกษารวมทั้งการฝึกหัดครู แต่เดิมนั้นเป็นระบบบริหารซึ่งรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ต่อมาได้มีการกระจายอำนาจการบริหารออกไปสู่ระดับรัฐและหัวเมืองต่าง ๆ โดยมีหัวหน้าส่วนการศึกษานั้น ๆ เป็นผู้ควบคุมดูแลและประสานงาน รัฐเป็นผู้สนับสนุนด้านงบประมาณของทุกโรงเรียนโดยนักเรียนจะเสียค่าเล่า เรียนเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของ พม่านั้นพม่าพยายามที่จะจัดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศแต่ยังมีปัญหาที่ ไม่สามารถจัดหาอาคารสถานที่วัสดุและอุปกรณ์ให้กับโรงเรียนในบางท้องที่ได้ รัฐบาลพม่าได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้มีโรงเรียนอย่างน้อยหนึ่งแห่งในทุกหมู่ บ้าน กรมการเทคโนโลยีกษตรและอาชีวศึกษา เป็นหน่วยงานที่ดูแลจัดการศึกษาด้านเกษตรกรรมพณิชยกรรม วิศวกรรมเครื่องกล การประมง คหกรรมและการฝึกหัดครู ทางด้านช่างเทคนิการเรียน-การสอนมีทั้งเต็มเวลาและนอกเวลา มีทั้งหลักสูตรระยะยาวและระยะสั้นเพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงานใน สภาพเศรษฐกิจและสังคมของพม่าที่กำลังเปลี่ยนแปลง กรมอุดมศึกษา ทำหน้าที่วางแผนนโยบายและดำเนินการด้านอุดมศึกษาของประเทศจัดการศึกษาในรูป แบบของมหาวิทยาลัยใน3เมืองสำคัญคือมหาวิทยาลัย Yangon Mandalay และ Manlamyine นอกจากนี้ยังมีสถาบันเทคโนโลยีที่จัดการศึกษาวิชาชีพระดับสูงที่ใช้เวลาใน การศึกษา 4-6 ปี ตามลักษณะวิชาอีกด้วย
4. การศึกษาของ สปป.ลาว
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People’s Democratic Republic) เป็นประเทศที่อยู่ในวงล้อมของ 5ประเทศ คือ เวียดนาม กัมพูชา ไทย พม่า และจีน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล พื้นที่ประเทศทั้งหมด 236,800ตารางกิโลเมตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขาและที่ราบสูง ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาราชการ เมืองหลวงชื่อเวียงจันทน์(Vientiane) ปกครองในระบบสังคมนิยม การจัดการศึกษาของลาวเริ่มด้วยการศึกษาในระดับอนุบาลและก่อนวัยเรียน โรงเรียนอนุบาลในประเทศลาวจะมีทั้งโรงเรียนที่เป็นของรัฐบาลและเอกชน เปิดรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 3-6 ปี ใช้เวลาเรียน 3 ปี แบ่งเป็นชั้นอนุบาล 1-3 เมื่อจบชั้นอนุบาลแล้วจะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไป นับตั้งแต่ลาวได้เปลี่ยนการปกครองเมื่อปี ค.ศ.1975 (พ.ศ.2528) เป็นต้นมา ลาวได้ใช้ระบบการศึกษาเป็นแบบ 11 ปี คือระบบ 5 :3 :3 ดังนี้
• ประถมศึกษา
ใช้ เวลาในการศึกษา 5 ปี เด็กจะเริ่มเข้าเรียนเมื่ออายุ 6 ปี การศึกษาในระดับนี้คือเป็นการศึกษาภาคบังคับ เด็กทุกคนต้องจบการศึกษาในระดับนี้ แต่ในทางปฏิบัติการศึกษาภาคบังคับจะมีผลดีแต่เฉพาะเด็กในเมืองใหญ่เท่านั้น เนื่องจากลาวมีพื้นที่ประเทศกว้างขวางและประชากรกระจายกันอยู่
• มัธยมศึกษาตอนต้น
ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี และในอนาคตจะให้เด็กได้เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น
• มัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาในการศึกษา 3 ปี
การศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบ 5 -3 -3 นี้อยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของกรมสามัญศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
• อุดมศึกษาหรือการศึกษาชั้นสูง รวมถึงการศึกษาด้านเทคนิค สถาบันการศึกษาชั้นสูงหรือมหาวิทยาลัย ซึ่งอยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของกรมอาชีวศึกษาและมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นการศึกษาเฉพาะทางซึ่งอยู่ในความดูแลของกระทรวงอื่น โดยเมื่อเด็กจบการศึกษาในระดับประถมและมัธยมศึกษาแล้ว จะมีการคัดเลือกนักเรียนเพื่อเสนอกระทรวงศึกษาธิการให้เด็กได้เข้าศึกษาต่อ ในระดับที่สูงขึ้น ได้แก่
• สายอาชีพ
ใช้เวลาศึกษา 3 ปี ในวิทยาลัยเทคนิคต่างๆ เช่น ทางด้านไฟฟ้า ก่อสร้าง บัญชี ป่าไม้ เป็นต้น
• มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาที่สำคัญได้แก่
1. มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (เวียงจันทน์) ใช้เวลาศึกษา 6 ปี ขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุข
2. มหาวิทยาลัยแห่งชาติ (ดงโดก) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี
3. สถาบันสรรพวิชา (National Polytechnic Institute) ใช้เวลาศึกษา 6 ปี
5. การศึกษาของเวียดนาม
กระทรวงศึกษาธิการของพม่า เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารการศึกษาของประเทศ ใช้ระบบการศึกษาเป็นระบบ 5 :4 : 2 ดังนี้
• ประถมศึกษา 5 ปี (อนุบาล 1 ปี และประถม 4 ปี)
• มัธยมศึกษาตอนต้น 4 ปี
• มัธยมศึกษาตอนปลาย 2 ปี
และอาชีวศึกษา 1- 3 ปี อุดมศึกษา 4 -6 ปี
กรมการ ศึกษาพื้นฐานของพม่า เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางนโยบายและบริหารการศึกษาระดับก่อน ประถมศึกษามัธยมศึกษารวมทั้งการฝึกหัดครู แต่เดิมนั้นเป็นระบบบริหารซึ่งรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ต่อมาได้มีการกระจายอำนาจการบริหารออกไปสู่ระดับรัฐและหัวเมืองต่าง ๆ โดยมีหัวหน้าส่วนการศึกษานั้น ๆ เป็นผู้ควบคุมดูแลและประสานงาน รัฐเป็นผู้สนับสนุนด้านงบประมาณของทุกโรงเรียนโดยนักเรียนจะเสียค่าเล่า เรียนเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของ พม่านั้นพม่าพยายามที่จะจัดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศแต่ยังมีปัญหาที่ ไม่สามารถจัดหาอาคารสถานที่วัสดุและอุปกรณ์ให้กับโรงเรียนในบางท้องที่ได้ รัฐบาลพม่าได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้มีโรงเรียนอย่างน้อยหนึ่งแห่งในทุกหมู่ บ้าน กรมการเทคโนโลยีกษตรและอาชีวศึกษา เป็นหน่วยงานที่ดูแลจัดการศึกษาด้านเกษตรกรรมพณิชยกรรม วิศวกรรมเครื่องกล การประมง คหกรรมและการฝึกหัดครู ทางด้านช่างเทคนิการเรียน-การสอนมีทั้งเต็มเวลาและนอกเวลา มีทั้งหลักสูตรระยะยาวและระยะสั้นเพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงานใน สภาพเศรษฐกิจและสังคมของพม่าที่กำลังเปลี่ยนแปลง กรมอุดมศึกษา ทำหน้าที่วางแผนนโยบายและดำเนินการด้านอุดมศึกษาของประเทศจัดการศึกษาในรูป แบบของมหาวิทยาลัยใน3เมืองสำคัญคือมหาวิทยาลัย Yangon Mandalay และ Manlamyine นอกจากนี้ยังมีสถาบันเทคโนโลยีที่จัดการศึกษาวิชาชีพระดับสูงที่ใช้เวลาใน การศึกษา 4-6 ปี ตามลักษณะวิชาอีกด้วย
6. การศึกษาของมาเลเซีย
ระบบการบริหารการศึกษาของประเทศมาเลเซียอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการ แบ่งระดับการบริหารเป็น 5 ระดับ คือ ระดับชาติ ระดับรัฐ ระดับอำเภอ ระดับกลุ่มโรงเรียนและระดับโรงเรียน การบริหารการศึกษาระดับชาติอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลกลาง ( Federal Government) การศึกษาทุกประเภททุกระดับอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการเพียงกระทรวงเดียว ยกเว้นการศึกษาที่มีลักษณะเป็นการศึกษานอกระบบ(Non-formal Education) จะมีกรมจากกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ เช่น กรมแรงงาน กรมเกษตร เป็นต้น
ระบบการจัดการศึกษาของมาเลเซีย (National Education System) เป็นระบบ 6:3:2 คือ
- ระดับประถมศึกษา หลักสูตร 6 ปีการศึกษา
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตร 3 ปีการศึกษา
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตร 2 ปีการศึกษา
- ระดับเตรียมอุดมศึกษา หลักสูตร 1 หรือ 2 ปีการศึกษา
- ระดับอุดมศึกษา หลักสูตรเฉลี่ยประมาณ 3 ปีครึ่งถึง 4 ปีการศึกษา
และแบ่งการศึกษาออกเป็น 5 ระดับดังนี้
1. การศึกษาระดับประถมศึกษา (Pre-school Education)
2. การศึกษาระดับประถมศึกษา (Primary Education)
3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา (Secondary Education)
4. การศึกษาระดับหลังมัธยมศึกษาหรือเตรียมอุดมศึกษา (Post-secondary Education)
5. การศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher Education)
ส่วนสถานศึกษาที่ทำหน้าที่จัดการศึกษาระดับต่าง ๆ นั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. สถานศึกษาของรัฐบาล (Government Education Institutions)
2. สถานศึกษาในอุปถัมภ์ของรัฐบาล (Government-aided Educational Institutions)
3. สถานศึกษาเอกชน (Private Educational Institutes)
ในโรงเรียนของรัฐบาลกำหนดให้ใช้ภาษาประจำชาติคือ ภาษามลายู (Bahasa Malayu) ที่เขียนด้วยอักษรรูมี(อักษรภาษาอังกฤษ) เป็นภาษาหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
7. การศึกษาของ ฟิลิปปินส์
ระบบการศึกษาของประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยการศึกษาแบบที่เป็นทางการนั้นมีลำดับขั้นตอนของการเรียนอยู่สามระดับนั่นคือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา ในระดับประถมศึกษาระดับประถมศึกษานั้นจะใช้เวลาศึกษาภาคบังคับหกปีที่โรงเรียนของรัฐบาลหรือเจ็ดปีในโรงเรียนของเอกชนนอกเหนือจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยซึ่งนักเรียนสามารถเลือกเรียนได้ โดยการศึกษาระดับนี้รวมไปถึงการเรียนชั้นอนุบาลและอาจเป็นหลักสูตรเตรียมประถมศึกษาก็ได้ นักเรียนที่มีอายุระหว่างสามหรือสี่ปีจะเข้าเรียนในสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนจนกระทั่งมีอายุครบ 5-6 ปี จึงจะเลื่อนขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่ง การศึกษาระดับมัธยมศึกษาใช้เวลาสี่ปีโดยนักเรียนต้องเรียนจบชั้นประถมศึกษาตอนปลายก่อน นักเรียนส่วนใหญ่ที่เรียนชั้นมัธยมศึกษาจะมีอายุ 12 ปีและเรียนจบเมื่ออายุ 15 ปี ส่วนระดับอุดมศึกษานั้น นักเรียนส่วนใหญ่จะมีอายุประมาณ 16ปี การศึกษาระดับนี้แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกในหลากหลายสาขาวิชา นอกจากนั้น การศึกษาระดับหลังมัธยมศึกษายังรวมไปถึงหลักสูตรอาชีวศึกษาแบบสองหรือสามปีที่อาจไม่มีการมอบปริญญาก็ได้ระบบการศึกษาในประเทศฟิลิปปินส์ใกล้เคียงกับระบบการศึกษาแบบเป็นทางการของสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ระบบการศึกษาของประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชียมักจะได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือเนเธอร์แลนด์ การศึกษาแบบไม่เป็นทางการซึ่งรวมถึงการรับความรู้นอกโรงเรียนนั้นมีวัตถุประสงค์หลักสำหรับผู้เรียนกลุ่มเฉพาะ เช่นเยาวชนหรือผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยได้ ตัวอย่างได้แก่หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือซึ่งบูรณาการการเขียนและการอ่านเบื้องต้นเข้ากับทักษะในชีวิตประจำวัน หน้าที่ในการบริหาร ควบคุมและดำเนินการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ระดับประถมและมัธยมศึกษา) นั้นจะเป็นของแผนกการศึกษา วัฒนธรรมและกีฬา ในขณะที่คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษาจะรับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาระดับสูง ส่วนการศึกษาด้านเทคนิคหลังมัธยมศึกษานั้นจะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ด้านการพัฒนาทักษะและการศึกษาด้านเทคนิคซึ่งยังมีหน้าที่ปฐมนิเทศ ให้การฝึกอบรมและการพัฒนาด้านทักษะอาชีพแก่เยาวชนที่ไม่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนและผู้ใหญ่ที่ว่างงานนอกจากนี้ประเทศฟิลิปปินส์ใช้การเรียนการสอนแบบทวิภาษา บางวิชาจะส่วนเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาอื่นๆ จะสอนเป็นภาษาฟิลิปปินส์
8. การศึกษาของ บรูไนดารุซาลาม
กระทรวงศึกษาธิการของพม่า เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารการศึกษาของประเทศ ใช้ระบบการศึกษาเป็นระบบ 5 :4 : 2 ดังนี้
• ประถมศึกษา 5 ปี (อนุบาล 1 ปี และประถม 4 ปี)
• มัธยมศึกษาตอนต้น 4 ปี
• มัธยมศึกษาตอนปลาย 2 ปี
และอาชีวศึกษา 1- 3 ปี อุดมศึกษา 4 -6 ปี
กรมการศึกษาพื้นฐานของพม่า เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางนโยบายและบริหารการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษามัธยมศึกษารวมทั้งการฝึกหัดครู แต่เดิมนั้นเป็นระบบบริหารซึ่งรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ต่อมาได้มีการกระจายอำนาจการบริหารออกไปสู่ระดับรัฐและหัวเมืองต่าง ๆ โดยมีหัวหน้าส่วนการศึกษานั้น ๆ เป็นผู้ควบคุมดูแลและประสานงาน รัฐเป็นผู้สนับสนุนด้านงบประมาณของทุกโรงเรียนโดยนักเรียนจะเสียค่าเล่าเรียนเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของพม่านั้นพม่าพยายามที่จะจัดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศแต่ยังมีปัญหาที่ไม่สามารถจัดหาอาคารสถานที่วัสดุและอุปกรณ์ให้กับโรงเรียนในบางท้องที่ได้รัฐบาลพม่าได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้มีโรงเรียนอย่างน้อยหนึ่งแห่งในทุกหมู่บ้าน กรมการเทคโนโลยีกษตรและอาชีวศึกษา เป็นหน่วยงานที่ดูแลจัดการศึกษาด้านเกษตรกรรมพณิชยกรรม วิศวกรรมเครื่องกล การประมง คหกรรมและการฝึกหัดครู ทางด้านช่างเทคนิการเรียน-การสอนมีทั้งเต็มเวลาและนอกเวลา มีทั้งหลักสูตรระยะยาวและระยะสั้นเพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงานในสภาพเศรษฐกิจและสังคมของพม่าที่กำลังเปลี่ยนแปลง กรมอุดมศึกษา ทำหน้าที่วางแผนนโยบายและดำเนินการด้านอุดมศึกษาของประเทศจัดการศึกษาในรูปแบบของมหาวิทยาลัยใน3เมืองสำคัญคือมหาวิทยาลัย Yangon Mandalay และ Manlamyine นอกจากนี้ยังมีสถาบันเทคโนโลยีที่จัดการศึกษาวิชาชีพระดับสูงที่ใช้เวลาในการศึกษา 4-6 ปี ตามลักษณะวิชาอีกด้วย
9. การศึกษาของกัมพูชา
กระทรวงศึกษาธิการของพม่า เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารการศึกษาของประเทศ ใช้ระบบการศึกษาเป็นระบบ 5 :4 : 2 ดังนี้
• ประถมศึกษา 5 ปี (อนุบาล 1 ปี และประถม 4 ปี)
• มัธยมศึกษาตอนต้น 4 ปี
• มัธยมศึกษาตอนปลาย 2 ปี
และอาชีวศึกษา 1- 3 ปี อุดมศึกษา 4 -6 ปี
กรมการศึกษาพื้นฐานของพม่า เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางนโยบายและบริหารการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษามัธยมศึกษารวมทั้งการฝึกหัดครู แต่เดิมนั้นเป็นระบบบริหารซึ่งรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ต่อมาได้มีการกระจายอำนาจการบริหารออกไปสู่ระดับรัฐและหัวเมืองต่าง ๆ โดยมีหัวหน้าส่วนการศึกษานั้น ๆ เป็นผู้ควบคุมดูแลและประสานงาน รัฐเป็นผู้สนับสนุนด้านงบประมาณของทุกโรงเรียนโดยนักเรียนจะเสียค่าเล่าเรียนเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของพม่านั้นพม่าพยายามที่จะจัดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศแต่ยังมีปัญหาที่ไม่สามารถจัดหาอาคารสถานที่วัสดุและอุปกรณ์ให้กับโรงเรียนในบางท้องที่ได้รัฐบาลพม่าได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้มีโรงเรียนอย่างน้อยหนึ่งแห่งในทุกหมู่บ้าน กรมการเทคโนโลยีกษตรและอาชีวศึกษา เป็นหน่วยงานที่ดูแลจัดการศึกษาด้านเกษตรกรรมพณิชยกรรม วิศวกรรมเครื่องกล การประมง คหกรรมและการฝึกหัดครู ทางด้านช่างเทคนิการเรียน-การสอนมีทั้งเต็มเวลาและนอกเวลา มีทั้งหลักสูตรระยะยาวและระยะสั้นเพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงานในสภาพเศรษฐกิจและสังคมของพม่าที่กำลังเปลี่ยนแปลง กรมอุดมศึกษา ทำหน้าที่วางแผนนโยบายและดำเนินการด้านอุดมศึกษาของประเทศจัดการศึกษาในรูปแบบของมหาวิทยาลัยใน3เมืองสำคัญคือมหาวิทยาลัย Yangon Mandalay และ Manlamyine นอกจากนี้ยังมีสถาบันเทคโนโลยีที่จัดการศึกษาวิชาชีพระดับสูงที่ใช้เวลาในการศึกษา 4-6 ปี ตามลักษณะวิชาอีกด้วย
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
http://www.bic.moe.go.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น