ภาพประกอบ เจ้าหน้าที่ทางการรัสเซียช่วยเหลือประชาชน
Credit : scmp.com
ภาพประกอบ น้ำท่วมตะวันออกเฉียงเหนือของจีนและเขตแดนรัสเซีย
Credit : dw.de
เช่นตั้งแต่ตะวันออกเฉียงเหนือของจีนติดเขตแดนรัสเซียเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2556 ใหญ่ในรอบหลายสิบปี โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดได้แก่ มณฑลเฮย์หลงเจียง มณฑลเหลียวหนิง และมณฑลจี้หลิน ประชาชนได้รับความเดือนร้อนต้องอพยนออกน้อกพื้นที่ถึง 140,000 คน แต่พื้นที่อื่น ๆ ต้องเผชิญคลื่นความร้อนปกคลุมเช่นที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ศูนย์กลางการค้าของประเทศในรอบ 140 ปี ในวันเดียวกันกรุงมอสโกประเทศรัสเซียต้องสั่งอพยพประชาชนกว่า 100,000 คน ออกจากบ้านเรือนในพื้นที่ ดินแดนติดต่อกับจีน ซึ่งเกิดฝนตกหนักทั้งวันทั้งคืนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน จนเกิดเหตุน้ำท่วมหนักในรอบ 120 ปี
ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย หลังจากน้ำท่วมภาคกลางและกรุงเทพครั้งใหญ่ในปี 2554 ไม่ว่าภาครัฐและเอกชนเฝ้าระวังน้ำท่วม โดยรัฐบาลมีโครงการต่าง ๆ ในการบริการจัดการน้ำเพื่อรับมือน้ำท่วม แต่ยังไม่ครอบคลุมและไม่ทันท่วงที ต่อสภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปีนี้ทีเกิดน้ำท่วมหลายจุดในประเทศไทย เช่น
วันที่ 30 กรกฏาคม 2556 อำเภอแม่สอด จังหวัดตากทำให้ประชาชนติดอยู่ในพื้นที่ มีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าให้การช่วยเหลือซึ่งบางพื้นที่ยังไม่สามารถเข้าช่วยเหลือได้ ส่วนอำเภอแม่ระมาดสถานการณ์น้ำรุนแรงมากเพราะน้ำจากแม่สอดสะสมไหลเข้าท่วมพื้นที่
วันที่ 13 สิงหาคม 2556 ภาคอีสาน น้ำป่าภูพาน เอ่อท่วมพื้นที่เกษตร จ.มุกดาหาร เนื่องจากเกิดฝนตกหนักในแถบเทือกเขาภูพาน ทำให้น้ำไหลลงสู่ลำห้วยบางทราย อำเภอดงหลวง ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมริมฝั่งแม่น้ำและใกล้เคียงเกิดน้ำท่วมนับหมื่นไร่
วันที่ 13 สิงหาคม 2556 น้ำป่าเขาค้อทะลักน้ำตกวังหินหอ นักท่องเที่ยวพากันหลบหนีขึ้นไปบนเนินเขา ในขณะที่เล่นน้ำอยู่ ๆ น้ำเริ่มขุ่นและเพิ่มปริมาณเอ่อท่วมอย่างรวดเร็วจนหนีไม่ทัน ต่อมาหน่วยกู้ภัยที่ได้รับแจ้งมาช่วยเหลือด้วยการผูกเชือกทั้งสองฝั่งและลำเลียงนัำท่องเที่ยวฝ่ากระแสน้ำเข้าฝั่งได้อย่างปลอดภัย
แต่ปีนี้ปัญหาน้ำท่วมกระทบทางภาคเหนือและอีสานเป็นส่วนใหญ่ นั่นเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ความแปรปรวนรุนแรงฉับพลันของสภาวะอากาศที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง ซึ่งนับเป็นมูลค่าความเสียหายที่สูง และคาดว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องมาจากมนุษย์เราเป็นต้นเหตุที่ทำให้โลกสูญเสียสมดุลทางธรรมชาติไป และไม่มีทีท่าว่าจะลดลง เพราะเมื่อความเจริญของโลกเพิ่มขึ้น ฝั่งธรรมชาติก็ยิ่งโดนทำลาย การใช้ชีวิตต่อไปในอนาคตต้องนั้นต้องมีการเตรียมพร้อมอย่างรอบคอบไว้เสมอทั้งในด้านป้องกันภัยธรรมชาติ รวมทั้งปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ เพื่อการอยู่รอด.
เขียน / เรียบเรียง : xsci
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น