วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เตรียมตัวด้านการศึกษาเพื่อรับมือ AEC

          แกนหลักรากฐานสำคัญของชีวิตคนเราก็คือการศึกษา โลกทุกวันนี้พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความรู้ช่วยให้เราอยู่ในโลกนี้ได้ง่ายขึ้น และอีกบทพิสูจน์ก็มีถึงเมื่อสมาชิกอาเซียนร่วมมือกันด้านเศรษฐกิจซึ่งเรียกว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ผู้ที่รับมือได้ดีที่สุดคือผู้ที่จะสร้างผลประโยชน์จากความร่วมมือครั้งนี้ได้สูงสุด   และสิ่งสำคัญในการปรับตัวรับกับการมาถึงของ AEC นั้นก็คือการศึกษาและควรจะศึกษาด้านอะไรบ้างอาจไม่ใช่ภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียว และเราต้องเรียนรู้อะไรบ้างถึงจะรับมือกับ AEC ได้เป็นอย่างดี จุดนี้ให้เรายึดคติรู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เพื่อตั้งรับและรุก หรือรุกขณะรับได้
          จะเห็นได้ว่าหน่วยงาน องกรณ์รัฐ เอกชน ต่างมีการเตรียมการรับมือ AEC ที่ฮิตที่สุดก็คือ การเรียนภาษาอังกฤษ แต่จะตอบโจทย์เรื่องการสื่อสารได้จริงหรือ เพราะว่าแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนก็ล้วนมีภาษาราชการที่เป็นภาษาของตัวเองเป็นสวนใหญ่ แต่ก็จะเห็นว่าประชาชนส่วนหนึ่งของประเทศอดีตเครือจักรภพใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี เช่น พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ การเรียนภาษาราชการของประเทศที่เราคิดจะคบค้าด้วยจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม นอกจากนั้นการศึกษาวัฒนธรรม กฏหมาย สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ก็นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นไม่น้อยเลยทีเดียว
         การที่เรารู้จุดแข็งจุดอ่อนของสมาชิกแต่ประเทศทำให้เรามองเห็นโอกาสทางธุรกิจและเป็นโอกาสแห่งความสำเร็จเกิดขึ้นได้สูงความเสี่ยงก็น้อยลง พร้อมทั้งการเตรียมตัวด้านการศึกษาให้ตรงจุด เรามาดูกันว่าแต่ละประเทศมีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร


1. สิงคโปร์ 
จุดแข็ง รายได้เฉลี่ยต่อคนสูงอันดับที่ 15 ของโลก มีเสถียรภาพทางการเมือง เป็นศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ แรงงานมีทักษะสูง ชำนาญการจัดการทรัพยากรบุคคล และธุรกิจ
จุดอ่อน ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบสูง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสูง

2. ประเทศอินโดนีเซีย
จุดแข็ง มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลาดใหญ่มีประชากร 248 ล้านคน มีทรัพยากรหลากหลายและจำนวนมาก ระบบธนาคารแข็งแกร่ง มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก
จุดอ่อน ที่ตั้งเป็นเกาะแบบกระจายตัว สาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ดีเท่าที่ควร

3. ประเทศมาเลเซีย
จุดแข็ง รายได้เฉลี่ยอันดับ 3 ของอาเซียน ปริมาณน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับ 3 ก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก  โครงสร้างพื้นฐานดีครบวงจร
จุดอ่อน ประชากรน้อย ขาดแคลนแรงงานระดับล่าง

4. ประเทศบรูไน
จุดแข็ง รายได้เฉลียต่อคนต่อปีอันดับ 2 ของอาเซียนและอันดับที่ 26 ของโลก การเมืองมั่นคง ส่งออกน้ำมันอันดับ 4 ของอาเซียน ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารมาก
จุดอ่อน ตลาดขนาดเล็กมีประชากร 4 แสนคน ขาดแคลนแรงงาน

5. ประเทศฟิลิปปินส์
จุดแข็ง จำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 12 ของโลก 100 ล้านคน แรงงานมีความรู้และสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
จุดอ่อน ระยะทางที่ตั้งห่างจากประเทศสมาชิก ระบบโครงสร้างพื้นฐานและสวัสดิการสังคมยังไม่ดีเท่าที่ควร

6. ประเทศเวียดนาม
จุดแข็ง ประชากรมากเป็นอันดับ 14 ของโลก 90 ล้านคน มีปริมาณน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก มีชายฝั่งทะเลยาว 3,200 กม. การเมืองมีเสถียรภาพ ค่าแรงต่ำรองสุดท้ายในอาเซียน
จุดอ่อน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ดีเท่าที่ควร ต้นทุนค่าเช่าที่ดินและสำนักงานสูง

7. ประเทศกัมพูชา
จุดแข็ง มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะ น้ำจืด ป่าไม้ แร่ ชนิดต่าง ๆ รวมถึงค่าแรงต่ำสุดในอาเซียน
จุดอ่อน ระบบสาธารณูปโภคไม่ดีเท่าที่ควร ต้นทุนสาธารณูปโภคสูง ขาดแคลนแรงงานมีทักษะ

8. ประเทศลาว
จุดแข็ง มีทรัพยากรหลากหลายและอุดมสมบูณร์โดยเฉพาะน้ำ และแร่ธาตุต่าง ๆ การเมืองมีเสถียรภาพ ค่าแรงต่ำ
จุดอ่อน ระบบสาธารณูปโภคยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร พื้นที่สวนใหญ่เป็นภูเขา ไม่มีทางออกสู่ทะเล

9. ประเทศพม่า
จุดแข็ง มีทรัพยากรธรรมชาติ และก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก มีพรมแดนติดจีนและอินเดีย ค่าจ้างต่ำ
จุดอ่อน ระบบสาธารณูปโภคยังไม่ดีเท่าที่ควร การเมืองยังไม่เสถียร

          เมื่อได้ทราบข้อมูลของประเทศสมาชิกแล้วก็เริ่มทำให้เกิดความคิดว่าเราเหมาะที่จะทำธุรกิจกับประเทศไหน และเตรียมพร้อมทางการศึกษาด้านไหนบ้างเป็นการเตรียมพร้อมให้รอบด้าน ดังคำกล่าวที่ว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง นั่นเอง

เรียบเรียง / เขียน : xsci

ลิ้งที่เกี่ยวข้อง
จุดอ่อนจุดแข็งแต่ละประเทศอาเซียน
http://www.thai-aec.com/140


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น