วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

thundercloud-สายฟ้าคำราม เมื่อยามฝนโปรย


ภาพลักษณะการเกิดฟ้าแลบฟ้าฝ่า  credit: OutdoorEd.com
         ขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนองจะเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ลูกเห็บตก มีลมกระโชกแรงเป็นครั้ง คราว โดยในรอบ 1 ปี ทั่วโลกมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นถึง 16 ล้านครั้ง โดยเฉพาะในเขตละติจูดสูง และในเมืองที่อากาศร้อนชื้นจะมีจำนวนวันที่มีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดได้ถึง 80 - 160 วันต่อปี สำหรับประเทศไทยมักเกิดมากในเดือน เมษายน - พฤษภาคม เป็นช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนองมากที่สุด


           ขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนองจะเกิดฟ้าแลบ โดยเกิดขึ้นพร้อมกับฟ้าร้อง แต่มนุษย์เรามองเห็นฟ้าแลบก่อนได้ยินเสียงฟ้าร้อง เนื่องจากแสงเดินทางเร็วกว่าเสียง (แสงมีอัตราเร็ว 300,000 กิโลเมตร/วินาที ส่วนเสียงมีอัตราเร็ว 1/3 ของแสง) ประกายไฟฟ้าของฟ้าแลบ 1 ครั้ง มีปริมาณไฟฟ้าจำนวนสูงถึง 200,000 แอมแปร์ และมีความต่างศักย์ถึง 30 ล้านโวลต์ ฟ้าแลบเกิดจากประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่จากก้อนเมฆสู่ก้อนเมฆ จากก้อนเมฆสู่พื้นดิน โดยมีขั้นตอนคือ ประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ถ่ายเทในก้อนเมฆมีการเคลื่อนที่หลุดออกมาและถ่ายเทสู่อาคารสิ่งก่อสร้าง หรือต้นไม้สูงบนพื้นดิน เหตุการณ์เหล่านี้ใช้เวลาน้อยกว่า 1 วินาที และเกิดเป็นแสงของฟ้าแลบ ซึ่งบางครั้งลำแสงมีความยาวถึง 60 - 90 เมตร การเกิดฟ้าร้อง เนื่องจากประกายไฟฟ้าของฟ้าแลบทำให้อากาศในบริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึงประมาณ 25,000 องศาเซลเซียส อย่างเฉียบพลัน มีผลทำให้อากาศมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้เกิดเสียง “ฟ้าร้อง” เนื่องจากฟ้าร้องและฟ้าแลบเกิดขึ้นพร้อมกัน

มรสุมที่พักผ่านประเทศไทย
          ดังนั้นเมื่อเรามองเห็นฟ้าแลบ และนับจำนวนวินาทีต่อไปจนกว่าจะได้ยินเสียงฟ้าร้อง เช่น ถ้านับได้ 3 วินาที แสดงว่าฟ้าแลบอยู่ห่างจากเราไปประมาณ 1 กิโลเมตร และสาเหตุที่เราได้ยินเสียงฟ้าร้องครวญครางอย่างต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากมีสาเหตุมาจากการเดินทางของเสียงมีความต่างกันในเรื่องของระยะเวลาและระยะทางที่คาบเกี่ยวกันนั่นเอง การเกิดฟ้าผ่า เป็นปรากฏการควบคู่กันกับฟ้าแลบ และฟ้าร้อง เนื่องจากประจุไฟฟ้าได้มีการหลุดออกมาจากกลุ่มเมฆฝน และถ่ายเทลงสู่พื้นดิน ต้นไม้ อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง ตลอดจนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ  ฟ้าผ่าอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากมีพลังงานไฟฟ้าสูง ความรุนแรงของกระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่าเพียงพอที่จะจุดหลอดไฟฟ้าขนาด 60 แรงเทียนให้สว่างได้ถึงจำนวน 600,000 ดวง เลยทีเดียว

          ในระยะนี้เป็นช่วงฤดูฝนในประเทศไทยบ้านเราฤดูฝนเริ่มในเดือน พฤษภาคม - ตุลาคม กินระยะเวลา 5 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดีย พัดปกคลุมประเทศไทย และมักจะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง มีโอกาสเกิดฟ้าฝ่าขึ้นได้มากกว่าปกติ จึงควรระมัดระวังการเกิดฟ้าฝ่าในช่วงนี้

นิตยสารภูวธรรมจึงนำวิธีระวังป้องกันมาฝากกัน
1. อย่าเข้าไปในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
2.อยู่ในอาคารที่มีสายล่อฟ้าปลอดภัยกว่าอาคารที่ไม่มีสายล่อฟ้า
3. ไม่ควรเปิดทีวีระหว่างฟ้าร้องฟ้าผ่า   
4. หากอยู่ที่โล่งให้หาที่หลบ แต่ถ้าไม่มีที่ให้หลบให้นั่งยองๆ ขาชิดกัน
5. อย่าหลบใต้ต้นไม้สูงเพราะฟ้ามีโอกาสผ่าลงที่ต้นไม้นั้น จะได้รับปฏิกิริยา 3 อย่างคือแรงเชิงกล ความร้อน และไฟฟ้า
6. เก็บมือถือสื่อล่อฟ้า
7. ถอดปลักไฟและไม่ควรอยู่ใกล้สายไฟ
8. เตรียมไฟฉายไว้ให้พร้อมหากไฟดับหรือไม่ไหม้

    ถ้าขนลุกชัน หรือผิวหนังกระตุกขึ้นมาทันที... นี่เป็นประสบการณ์ที่ท่านอาจจะลืมไม่ลง เพราะท่านกำลังอยู่ในเขตที่ฟ้ากำลังจะผ่า ให้นั่งยองๆ นำมือ 2 ข้างมาแนบติดกับเข่า แล้วซุกหัวเข้าไประหว่างเข่าท่านี้จะช่วยให้ท่านผู้อ่านแตะพื้นดินน้อยที่สุด ลดพื้นที่สัมผัสพื้นดิน ซึ่งเวลานี้คงจะเต็มไปด้วยไฟแรงสูง และทำให้ร่างกายมีลักษณะกลม ทำให้พื้นที่ผิวนอกลดลง(เมื่อเทียบกับท่าอื่นๆ เช่น ท่ายืน ท่านอน ฯลฯ ถ้าขนลุกชัน หรือผิวหนังกระตุกขึ้นมาทันทีแล้ว... น่าจะรีบนั่งยองๆ ด้วย และนอบน้อม ระลึกถึงพระพุทธเจ้าทันที

ข้อมูลจาก : ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น