หนองตุง ที่มาของชื่อเมืองเชียงตุง |
กว่า 80% มีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ร่วมกันมาตั้งแต่โบราณ ทั้งเคยร่วมรบกันในสงคราม ประวัติศาสตร์ยังเชื่อมไทยกับไทใหญ่ไว้ร่วมกัน ไทใหญ่ เชียงตุง เชียงรุ่ง เชียงใหม่ ล้วนเป็นเครือญาติกัน ไม่ได้รู้สึกเป็นมิตรกับพม่าแต่กลับเป็นมิตรกับไทยมากกว่า ในยุคที่มีการเปิดเสรีค้าฝิ่นเมืองเชียงตุงรุ่งเรืองกว่าเมืองไหนๆ ในแถบนี้ แต่เมื่อยกเลิกค้าฝิ่นบ้านเมืองก็หยุดเจริญเติบโตและพัฒนาช้า ทำให้เมืองเชียงใหม่ เชียงรายพัฒนาก้าวหน้าล้ำกว่า ชาวไทใหญ่เรียกชื่อเมืองนี้ว่า เก็งตุ๋ง (Keng tung)ในอดีต เชียงตุงเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางการค้าเชื่อมต่อระหว่างสิบสองปันนากับล้านนา โดยมีพ่อค้าชาวจีนฮ่อเดินทางไปมาค้าขายในเส้นทางนี้
เชียงตุงมีประชากรหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกัน ส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทขึนหรือไทเขิน มีไทใหญ่ และ พม่า ลองลงมา ยังมีชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น อาข่า ปะด่อง ว้า ลาฮู ลีซอ ลัวะ เผ่าแอน ฯลฯ รวมทั้งสิ้น 37 เผ่า เชียงตุงมีที่มาจากชื่อแม่น้ำน้ำขึน หรือฝืน มาจากแม่น้ำไหลย้อนขึ้นทางเหนือไม่เหมือนแม่น้ำทั่วไป ชาวไทลื้อที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำแห่งนี้จึงเรียกตัวเองว่าชาวไทขึน มีความสามารถโดดเด่นในการสานไม้ไผ่แบบลวดลายละเอียดมากเป็นภาชนะแล้วเคลือบด้วยยางไม้สีแดง เรียกว่าเครื่องเขิน ไทยภาคกลางจึงเรียกกลุ่มชนเหล่านี้ว่า ไทเขิน ในอีกความหมายหนึ่งด้วย หรือในภาษาล้านนาเรียกว่า ครัวฮักครัวหาง ลักษณะเด่นอีกอย่างของเมืองเชียงตุงคือมีวัดจำนวนมากหรือเรียกว่าเมืองร้อยวัด และวัดส่วนใหญ่ในเชียงตุงจะมีอายุ 600 กว่าปี มีความเก่าแก่ร่วมสมัยกับ เชียงใหม่ เชียงแสน น่าน สุโขทัย มีอายุมากกว่า อยุธยา 100-200 ปี มากกว่ารัตนโกสินทร์ 400 ปี
ในปัจจุบันเชียงตุงเป็นภาพย้อนกาลเวลาของเมืองไทยเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน ที่นั่นคือภาพอดีตที่ไม่ใช่อยู่ในหน้าตำราหรือภาพถ่าย แต่เป็นภาพชีวิตจริง ความดีงามข้องน้ำจิตน้ำใจ การเข้าถึงวัดเข้าถึงธรรม คุณธรรม ศีลธรรม มีอยู่สูงมาก ในเมืองนี้มีวัดจำนวนมาก การเดินทางไปเชียงตุงในปัจจุบันสามารถเดินทางได้สะดวกโดยทางรถยนต์เริ่มต้นจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย หลังจากจัดการเรื่องเอกสารผ่านแดน ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สาย หากทำบอเดอร์พาส ใช้แค่บัตรประชาชนยื่น จ่ายค่าธรรมเนียมเราก็จะได้เอกสารผ่านแดนฝั่งไทย จากนั้นเตรียมสำเนาบัตรประชาชน 1 ใบ พร้อมรูปถ่าย 1 นิ้ว เพื่อยื่นเอกสารผ่านแดนฝั่งพม่า เอกสารดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ที่ไกด์ ไกด์จะเป็นผู้ดูแล จนกว่าจะกลับ เริ่มการเดินทางจากด่านแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก มุ่งหน้าไปตามถนน NH4 ระยะทาง 165 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 4 ชม. ด้วยรถยนต์ ถนนลาดยาง 2 เลนส์ วิ่งเลนขวา
สิ่งต้องห้ามก็คือการถ่ายภาพทหารและด่านตรวจ
ด่านที่ 1 ตรวจคือด่านบ้านแม่ยาง (สำเนียงไทขึน เรียกว่า หมากยาง)
ค่าธรรมเนียม 10 บาท พร้อมเช็คเอกสารจากไกด์
ด่านที่ 2 คือ เมืองท่าเดื่อ (สำเนียงไทขึน เรียกว่า ต้าเลอ หรือ ต้าเล)
ค่าธรรมเนียม 50 บาท พร้อมเช็คเอกสารจากไกด์
จุดที่ 3 คือ ด่านเมืองพยาก (สำเนียงไทขึน เรียกว่า เมืองเพี๊ยก หรือเมืองแพรก)
ค่าธรรมเนียม 10 บาท พร้อมเช็คเอกสารจากไกด์
ค่าอัดฉีดรถยนต์ 10 บาท
จุดที่ 4 คือ ด่านเมืองเชียงตุง 20 บาทไทย พร้อมเช็คเอกสารจากไกด์
ค่าอัดฉีดรถยนต์ 10 บาทไทย
ทุกด่านจะมีค่าตาชั่งรถยนต์ อีก 5 บาท
ต้องมีไกด์ประจำทริป
การจ้างไกด์นี่เป็นกฎหมาย (เริ่มใช้มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552) ว่านักท่องเที่ยวจะต้องมีไกด์คนพม่านำเที่ยวด้วยทุกครั้ง ทุกด่าน พร้อมค่าธรรมเนียม 1,000 บาทต่อวัน ค่าธรรมเนียมนั้น จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือไกด์ 600 บาท รัฐบาล 400 บาท
หน้าที่คล้ายกัน
Keng Tung 2013
ตำนานเมืองเชียงตุง
รู้จักเส้นทางเศรษฐกิจสายอาเซียน GMS Economic Corridors
มองในมุมของการเชื่อม AEC ถนนเชื่อมเศรษกิจ R3 หรือถนนความร่วมมือ 3 ประเทศ แบ่งเป็น 2 เส้นทางคือ R3A คือความร่วมมือระหว่าง ไทย-ลาว-จีน , R3B คือความร่วมมือระหว่าง ไทย-พม่า-จีน ในครั้งนี้เราไปสำรวจเส้นทาง R3B กันบ้าง โดยเริ่มจากการเดินทางจากกรุงเทพด้วย ทางหลวงหมายเลข 1 มุ่งหน้าสู่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ระยะทาง 830 กิโลเมตร เริ่มข้ามแดนเข้าสู่พม่าที่ด่านพรมแดนท่าขี้เหล็กมุ่งหน้าไป เชียงตุง 162 กิโลเมตร - เมืองลา ผ่านจุดข้ามแดนถาวร - เข้าสู่เหม่งหยาง หรือเชียงรุ้งประเทศจีน ไปบรรจบกับ R3A ที่คุณหมิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ถนนสองเส้นที่บรรจบกันนี้เีรียกว่า "สี่เหลียมมรกต" ปัจจุบันถนนเส้นทาง R3B สร้างเสร็จแล้ว 80% และจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2558
ตัวอย่างการกรอกเอกสาร TEMPORARY PASS ใบนี้เราต้องพกติดตัว และส่งคืนด่านไทย |
แม่สายไม่ใช่เมืองธรรมดาแต่เป็นเมืองที่ตั้งอยู่เหนือสุดในสยาม เป็นประตูสู่พม่า เส้นทางสู่เมืองเชียงตุง R3B |
ไปเชียงตุง 165 กม. เส้นทางเดียวกันนี้มุ่งสู่สิบสองปันนาในระยะทาง 385 กม. หรือเส้นทาง R3B |
ด่านพม่าท่าขี้เหล็กสีเหลือง |
ด่านไทยสีฟ้า |
เมื่อข้ามด่านเข้ามาในตลาดท่าล้อตรงสามแยกก็จะมีอนุสาวรีย์แห่งนี้รอต้อนรับ |
บรรยากาศเส้นทางในตลาดท่าล้อหลังผ่านประตูด่านท่าขี้เหล็ก |
บรรยากาศเมื่อรถวิ่งผ่านเมืองออกมายังใกล้เคียงกับชนบทในเมืองไทย |
สวนยางพาราแพร่หลายจำนวนมากส่วนใหญ่เพิ่งปลูกไม่เกิน 7 ปี นับตั้งแต่เริ่มต้นเดินทางไปจนถึงเชียงตุง |
ไร่ชาเป็นอีกพืชเศรษฐกิจสำคัญ ทุกที่ทุกแห่งหนก็กินขาด้วยกันทั้งนั้น |
มาถึงครึ่งทางก็ถึงจุดพักรถเมืองแพก หรือภาษาไทยเรียกว่าเมืองพยาก เป็นจุดที่รถจอด พักรถเพื่อเอาน้ำมารดล้อ รดเครื่อง ทานข้าว ยืดเส้นยืดสาย |
รถเล็ก็ใช้ขันตักราด รถใหญ่มีสายฉีด บริการด้วยตัวเองฟรี น้ำต่อมาจากแม่น้ำธรรมชาติเย็นๆ |
ครึ่งทางหลังถนนจะตัดผ่านเทือกเขาสูงชัน แม่น้ำที่เห็นไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการ เมื่อไหลผ่านหมู่บ้านไหนจะถูกเรียกตามชื่อหมู่บ้านนั้น |
พื้นที่ในเขตรัฐฉานไม่ได้รับการสนใจจากรัฐบาลพม่าที่จะสร้างสาธารณูปโภค ถนน สะพาน ไฟฟ้า ประปา ประชาชนต้องพึ่งพาตนเองในการสร้างสิ่งเหล่านั้น |
ถนนตัดเลียบริมแม่น้ำไต่ไปเรื่อยๆ แต่โดยรวมไม่ได้ไต่เทือกเขาสูงชัน เป็นแค่เนินไม่สูงมากแต่เบื้องล่างคือแม่น้ำ |
หมู่บ้านขาวเขาที่ปักหลักตั้งถิ่นฐานปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เมื่อไม่มีพื้นที่ราบให้ทำนา ก็ทำนาบนเขานี่แหละ ผลที่ได้คือนาขั้นบันได ถ้ามาในฤดูทำนาละก็คงสวยน่าดูเลยทีเดียว |
อีกมุมหนึ่ง ณ โค้งเดียวกัน |
สายน้ำแห่งนี้หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนแหละสัตว์ เป็นทั้งแหล่งอาหาร แหล่งพลังงานปั่นไฟฟ้า ไหลไปสู่ท่าขี้เหล็ก |
จุดพักรถ ลอยป๋างกวาย ทิศทางมุ่งหน้าสู่ท่าขี้เหล็ก เมื่อถึงตรงนี้รถก็จะจอดอีกครั้ง เป็นการพักรถพักคน และจากจุดนี้ต่อไปอีกไม่ไกลก็จะเข้าสู่ตัวเมือเชียงตุง |
จุดพักรถ ลอยป๋างกวาย ทิศทางมุ่งหน้าสู่เชียงตุง จะเห็นร้านค้าขายของฝากซื้อขายเป็นเงินไทยและเงินพม่า สินค้าราคาค่อนข้างแพง จุดนี้มีห้องน้ำให้บริการทั้งชายหญิง |
ล้างฝุ่นล้อและเครื่องเครื่อง พักเครื่องระบายความร้อน |
นี่คือเหล้าข้าวเปลือก ซึ่งตอนแรกผมคิดว่าเป็นน้ำมันเติมมอไซด์ |
เมื่อถึงโรงแรมที่พักจัดการเรื่องที่นอนเรียบร้อย ก็เริ่มร่อนหาอาหารท้องถิ่นมาเจอ ร้านบาบีคิวปิ้งย่างร้านนี้ ราคาไม่แพงคิดเป็นเงินไทย ไม้ละ 6 บาท จึงต้องลองกันซะหน่อย |
ร้านปิ้งให้ ถ้ามีเตาสำหรับเราปิ้งเองคงจะได้บรรยากาศและได้ผิงไฟด้วยเพราะอากาศเย็นประมาณ 22 องศา มีน้ำจิ้มรสเฉพาะถิ่นและพริกป่นไม่ค่อยเผ็ด เบียร์เมียนม่าร์ |
จานนี้เป็นผัดปิ้งย่างราดซอสเชียงตุงอร่อยดีครับ |
กลับมาที่เนื้อย่างแบบชัดๆ เรียงตับกันอยู่ในจานรอทาน |
หน้าตาน้ำจิ้ม |
พริกป่นกินคู่กัน |
ซุปผักเสี้ยวใส่ถั่วเน่า |
ข้าวซอย รสชาติเดิมคือเค็มกลมกล่อม |
จินต๊ก ถั่วยำใส่ขิง |
ละแพ๊ทต๊ก ถั่วยำใส่ใบชาดอง |
โดนัทเชียงตุง เคลือบด้วยน้ำอ้อย ได้ความหวานจากธรรมชาติโดยแท้ |
ตรงนี้เห็นหอประชุมสำคัญๆ |
กิจกรรมยามเช้าของชาวเชียงตุงเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการทำบุญใส่บาตร |
สาวเชียงตุงกลับจากการจับจ่ายใช้สอยในกาดหลวง เราสามารถแยกพม่าออกจากไทใหญ่ได้ ไทยใหญ่จะใส่กางเกง (พม่าใส่ผ้าถุง, โสร่ง) หรือถ้ามีกิจกรรมเช่นเข้าวัด หรือจัดงานรื่นเริงจะใส่ชุดไทใหญ่ |
ไม้หมายเมืองเชียงตุง |
อีกหนึ่งสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจชาวเชียงตุง นั่นก็คือวัดประธาตุจอมดอยที่มีตำนานการสร้างด้วยพลังแห่งศรัทธาอันแรงกล้ามาก |
จุดชมวิวจากบนวัดพระธาตุจอมดอย มองไปด้านล่างจะเห็นหมู่บ้านเล็กๆ ทำเกษตรกรรมเลี้ยงชีพบรรยากาศสุดคลาสสิค |
ขาลงจากวัดพระธาตุจอมดอยเราจอดรถเพื่อเก็บวิวนี้ หมู่บ้านตรงหน้านั้นคือ หมู่บ้านแอน "ชนเผ่าแอน" หนึ่งใน 37 ชนเผ่าในประเทศพม่า |
ก่อนพม่าจะเปิดประเทศนั้นชนเผ่าในพม่าห้ามศึกษาภาษาวัฒนธรรมของตนเองนอกเหนือไปจากหลักสูตรที่ทางการจัดการเรียนการสอน แต่เมื่อพม่าเปิดประเทศก็เปิดกว้างในเรื่องนี้มากขึ้น โดยเฉพาะชนชาวไทใหญ่ ไทเขิน ในเมืองเชียงตุงร่วมแรงร่วมใจกันสร้างโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมของตนรวมถึงภาษาอังฤษและวิชาอื่นๆ ด้วยแรงเงินแรงกายแรงใจแรงสามัคคีของคนในเชื้อชาติเดียวกัน เหล่าเด็กและเยาวชนต่างตื่นตัวต่อการศึกษามากจนมียอดนักเรียนมากเกินคาดการเป็นอย่างมาก ทำให้ห้องเรียนที่สร้างขึ้นและครูผู้สอนไม่พอ จนต้องใช้ทุกสถานที่ๆ สามารถนั่งเรียนได้ในวัดพระธาตุหัวเสือเป็นห้องเรียน และต้องบริหารจัดการเวลาของผู้สอนให้ลงตัวเสียใหม่ นับว่าเป็นอีกก้าวที่น่าภาคภูมิใจ น่าดีใจ ที่ได้มีโอกาสศึกษา ด้วยความคาดหวังว่าจะมีอนาคตที่ดี มีงาน มีรายได้ที่ดีในอนาคต
เพราะเชียงตุงเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่โดดเด่น เป็นตำนานที่ยังมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ ตั้งอยู่ระหว่างกลางเมืองค้าขายที่สำคัญอย่างแม่สายหรือท่าขี้เหล็ก และเมืองลา ซึ่งเป็นเมืองที่ติดกับประเทศจีนเป็นเมืองการค้าชายแดนที่รุ่งเรือง รวมถึงเชียงตุงมีสนามบินที่จะเดินทางเชื่อมต่อภายในประเทศพม่าได้สะดวกกว่าเส้นทางอื่น ชาวเชียงตุงไม่น้อยที่ยึดอาชีพเป็นไกด์นำเที่ยวที่สร้างรายได้ไม่น้อยมาหล่อเลี้ยงครอบครัวให้อยู่ดีกินดี โดยในภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือสื่อสารสำคัญ
หากไปเที่ยวเชียงตุงแนะนำโรงแรมดีๆ ที่คนไทยนิยมไปพัก เพราะที่นี่ใหม่ สะอาด ห้องกว้าง มีไวไฟให้ใช้ตลอดเวลาทั้งกลางวันกลางคืน รวมถึงทำเลดีเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวมาก โรงแรม Golden World Hotel
ประวัติศาสตร์รัฐฉาน
เรียนภาษาไทใหญ่ ไทขึน
ฟอนต์ภาษาไทยขึน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น