วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

สถานีอวกาศนานาชาติ (Internation Space Station - ISS)

           
วามสงสัย ความอยากรู้ของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นสิ่งที่จุดประกายให้เกิดการศึกษาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาเหล่านั้นให้ได้ ในแต่ละครั้งที่มนุษย์ศึกษาและประสบความสำเร็จก็เกิดองค์ความรู้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาเป็นประโยชน์ต่อโลก ต่อเผ่าพันธุ์มนุษย์ชาติไม่มีที่สิ้นสุด บางครั้งแรงผลักก็เกิดจากการแข่งขัน หรือบางครั้งก็เกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศ
            สถานีอวกาศนานาชาติ (Internation Space Station - ISS) เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ลอยอยู่เหนือโลกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และเป็นห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ในอวกาศที่ใหญ่ที่สุดที่มนุษย์เคยมีมาสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เกิดจากความร่วมมือ 16 ประเทศ นำโดยประเทศสหรัฐอเมริกา, คานาดา, ญี่ปุ่น, รัสเซีย, 11 ประเทศยุโรป และบราซิล ก่อนสถานี ISS จะเกิดขึ้นรัสเซียเป็นผู้บุกเบิกโครงการสถานีอวกาศเมียร์ (Mir’s Space Station) ผ่านประสบการณ์ด้านนี้มากว่า 30 ปีจึงเป็นหัวหอกสำคัญ และเป็นรากฐานให้กับสถานีอวกาศ ISS

          โครงการสถานีอวกาศนานาชาตินี้ เริ่มส่งชิ้นส่วนแรก ตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2541 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2549 มีขนาดยาวประมาณ 88 เมตร และความกว้างส่วนปีกประมาณ 109 เมตร ซึ่งใหญ่กว่าสนามฟุตบอลเล็กน้อย โดยมีน้ำหนักรวม เกือบ 473 ตัน โดยมีนักบินอวกาศ และเจ้าหน้าที่ประจำ 7 คน โคจรรอบโลกด้วยความสูงเกือบ 400 กิโลเมตร โคจรรอบโลกด้วยความเร็ว 27,743.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลา 92 นาที 24 วินาทีต่อรอบ
            ถ้าถามว่าโครงการมูลค่ามหาศาลนี้มีประโยชน์อย่างไรบ้างตอบได้เลยว่า มีการปฏิบัติการทดลอง และวิจัยวิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น 6 ด้านใหญ่ ๆ ดังนี้
            1. Life Sciences: เป็นการศึกษาการพัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิต ภายใต้สภาวะ ไร้แรงโน้มถ่วง, ความแตกต่างระหว่าง การใช้ชีวิตในอวกาศ, สถานีอวกาศ และบนโลก เพื่อนำความรู้ที่ได้ เตรียมตัวสำหรับ การเดินทาง และอาศัยในอวกาศในอนาคต
            2. Earth Sciences: เนื่องจากวงโคจร ของสถานีอวกาศนานาชาติ สามารถครอบคลุมพื้นที่กว่า 75% บนพื้นผิวโลก และเป็นส่วนที่มนุษย์เรา อาศัยอยู่กว่า 95% ทำให้เราสามารถศึกษาชั้นบรรยากาศ, สภาวะอากาศ, การเปลี่ยนแปลง, สภาพป่า, ที่อยู่อาศัย, ทรัพยากร, ทรัพยากรน้ำ, ทะเลในระดับมหภาค
            3. Space Sciences: เป็นการศึกษาด้านอวกาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาไปในทุกๆทิศทาง ในด้านต่างๆ เพื่อให้มีความเข้าใจ เกี่ยวกับอวกาศมากยิ่งขึ้น
            4. Microgravity Sciences: เป็นการทำการทดลอง ทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่มีอยู่ ในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง ซึ่งอาจนำมาถึงการค้นพบ ทฤษฎีใหม่ๆ ที่จะเป็นพื้นฐาน ในการไขปริศนา ความลับด้านอวกาศ  ด้านชีววิทยา, วัสดุ, กลศาสตร์ของไหล, การเกิดปฏิกริยา เป็นต้น
            5. Engineering Research and Technology Development: เป็นการค้นคว้า วิจัยและพัฒนา ด้านวิศวกรรม และเทคโนโลยี ที่ใช้ในกิจการด้านอวกาศ, การขนส่ง, โครงสร้าง, กลไก และพลังงาน เพื่อต้นแบบด้านเทคโนโลยีได้ ในอนาคต
            6. Space product development: เป็นการค้นคว้า วิจัย และพัฒนา เพื่อหาเทคโนโลยีที่ได้ สำหรับการ พัฒนาคุณภาพ ของการผลิต เชิงอุตสาหกรรมบนโลก


en.wikipedia.org
http://science.nationalgeographic.com/science/space/space-exploration/international-space-station-article/
---------------------------------
 https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhO0QxLfSJsEROwAlJHEvKjbiWnV8FI91PtF_f7JLOtq9FT3bTASkdA6W10m17CDmNH9tFyXMxIYlIB8U8FZIuCgZ1t7_Y84XSodI0k1OtSTHr9Qg4mf4PcBF53EkTvyCojffO53CAbw41t/s1600/International+Space+Station.jpg
---------------------------------
http://www.infohow.org/science/space-time/international-space-station-overview/
---------------------------------
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgjl-ifi5iO15P5kymQcq-JKi1SYH1qT1sSn_vglubhwuQ3EvylSzsrJi9SsP6WWFhYBiPogrdUIbYRiiXCVFNeGCGBsbHEcOMdOD2-1BAacKP5wZBUlJpAaMSPIa90mzJ0gf54EM8AaMg/s1600/iss-modules.jpg
---------------------------------
http://spaceinimages.esa.int/var/esa/storage/images/esa_multimedia/images/2001/11
/cutaway_view_of_columbus_laboratory/9201199-8-eng-GB/Cutaway_view_of_Columbus_laboratory.jpg

-zaya module
http://www.21stcentech.com/headlines-happy-15th-birthday-international-space-station/
-kibo module jp
http://www.webzdarma.cz/blocked.page.abuse.html
-tranquility
http://www.flightglobal.com/blogs/hyperbola/2009/05/tranquility_node_here_for_podc/
-Cupola
http://carriedaway.blogs.com/carried_away/2007/02/the_view_from_a.h9b0.html
-เว็บติดตามการโคจรรอบโลกของ iss
http://space.cweb.nl/tracking-iss-zarya.php
-iss ประโยชน์
http://everykid.com/worldnews2/spacestation/index.html
-iss เนื้อหาดี
http://ntc.wattano.ac.th/www/scorm/science/Web%20CAI/skywatcher/ISS-frame.htm

เรียบเรียง : xsci

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น