วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โลกร้อนเพราะธรรมชาติ หรือฝีมือมนุษย์ Wisconsin ice age to Holocence

          
Wisconsin ice age 12,800 - 11,500  ปีก่อน
         
ดูหนาวก้าวมาเยือนอีกครั้งปีนี้นับว่าหนาวเย็นสมการรอคอยของหลาย ๆ คน ปีก่อน ๆ นั้นซื้อเสื้อกันหนาวเตรียมเอาไว้แต่ไม่ได้ใช้ตอนนี้ได้เอาออกมาใช้กันสมใจ ในจุดที่สูงสุดของประเทศไทยอย่างดอยอินทนนท์หนาวจนเกิดแม่คะนิ้งบนยอดหญ้าขาวโพลนสวยงามน่าตื่นตาตื่นใจ ดึงดูดท่องเที่ยวจำนวนมากไปสัมผัสความหนาวกัน ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ต่างได้รับความหนาวเย็นกันถ้วนหน้า เว้นแต่ภาคใต้ที่ยังมีฝนตกชุกบางพื้นที่ เพียงแค่ระยะทางห่างกันไม่มากสภาพอากาศยังแตกต่างกันได้ขนาดนี้ทำให้อดฉุกคิดถึงคำว่าโลกร้อนไม่ได้และโลกร้อนเกิดขึ้นจริง แต่นั่นแหละถ้าตั้งคำถามว่าโลกร้อนเพราะอะไรล่ะเราจะมีคำตอบหรือไม่?


ทุ่งดอกบัวตอง ดอยหัวแม่คำ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง
         ก่อนที่โลกเราจะก้าวมาถึงยุคที่มีสภาพอากาศอย่างปัจจุบันที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของมนุษย์นั้นได้ผ่านยุคของสภาพอากาศทั้งหนาวยะเยือก ร้อนอบอ้าว สลับกันกันเรื่อยมาหรือว่าที่โลกเราร้อนอาจเป็นเพราะสาเหตุนี้ผลผสมโรงกันกับการสร้าง CO2 ของมนุษย์
          นับตั้งแต่ 16,000 ปีก่อน ยุคน้ำแข็ง Wisconsin ice age 12,800 - 11,500  ปีก่อน อากาศอบอุนไม่คงที่ อุ่นสลับเย็นหว่างยุคน้ำแข็งกับอากาศอบอุ่น Younger Dryas ยุคนี้น้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว พลิกกลับไปหนาวอย่างรวดเร็ว พลิกกลับมาอุ่นอย่างรวดเร็ว

Wisconsin ice age 12,800 - 11,500  ปีก่อน
          11,700 ยุคอากาศอบอุ่นสลับเย็นยะเยือกเป็นธารน้ำแข็ง เรียกว่า  glacial Period สลับกับช่วงอบอุ่นที่เกิดระหว่างยุคธารน้ำแข็งก่อตัวอย่างกว้างขวางเรียกว่า Interglacial Period  โดยช่วงหนาวเย็นจะยาวนานกว่าช่วงอบอุ่นมาก

อุกกาบาตรพุ่งชนโลกทำให้ฝุ่นปกคลุมและเกิดหนาวเย็น
          หลังจากนั้นเกิดช่วงรอยต่อระหว่างยุคน้ำแข็งกับยุคอบอุ่นเรียกกันว่า Younger-Dryas โลกเกิดอุ่นขึ้นอย่างฉับพลันและธารน้ำแข็งนอกเขตขั้วโลกละลายหมดไปอย่างรวดเร็ว เป็นหนาวเปยุคน้ำแข็งอย่างรวดเร็ว จนกลับไปอบอุ่นเท่ากับ 9500 ปีก่อนปัจจุบัน
          8,000 - 5,000 ยุคปัจจุบันเรียกว่า Holocence เกิดความหนาวเย็นสลับกันเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ปี  5,500 - 7,000 ก่อนปัจจุบันอากาศอบอุ่นกว่าปัจจุบันมาก ระนาบเส้นศูนย์สูตรขยายตัวกว้าง ยุคนี้ทำให้มนุษย์แพร่เผ่าพันธุ์กระจายไปทั่วโลก ก่อให้เกิดอารยธรรมมนุษย์ในลุ่มแม่น้ำสินธุและเมโสโปเตเมีย และก่อให้เกิดสายพันธุ์มนุษย์เฟื่องฟู 1,200 ปีต่อมาเกิดยุคน้ำแข็งระยะสั้นกินระยะเวลา 400 ปี เรียกว่า little ice age ตั้งแต่ขั้วโลกเหนือมายังย่านยุโรปโดนแช่แข็งไป 3 ชั่วอายุคน แล้วค่อยกลับมาอบอุ่นอีกครั้ง

convection zone
             จะเห็นได้ว่าความร้อนและความเย็นที่เกิดขึ้นนั้นสลับกันอยู่ตลอดมา อันมีเหตุมาจากดวงอาทิตย์มีความแปรปรวนของวงจรการไหลเวียนของพลาสม่าใน (Convection Zone) ที่ไหลจากใจกลางมาผุดบริเวณเส้นศูนย์สูตรและกระจายออกไปทางขั้วเหนือและขั้วใต้สู่พื้นผิวแผ่พลังงานออกสู่อวกาศ เย็นตัวลงจมลงไปสู่ส่วนลึก 1 รอบวงจรกินเวลา 40 ปี อีกอย่างเกี่ยวกับสนามแม่เหล็กบนดวงอาทิตย์เกิดแรงเครียดบิดตัวพุ่งทะลุพื้นผิวกลายเป็นจุดดับบนดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดพายุสุริยะที่รุนแรงจนเชื่อว่าเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โลกร้อน และการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เอง จนมีข้อโต้แย้งเรื่องโลกร้อนว่าเกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์กันแน่!
           
ก๊าซเรือนกระจกเป็นผ้าห่มผืนใหญ่ปกคลุมโลก
          แต่อีกแง่หนึ่งการเป็นอยู่ของมนุษย์สร้างมลพิษต่าง ๆ ที่มีผลต่อการทำให้โลกร้อนอีกด้วยเช่นกัน สภาวะที่ทำให้โลกร้อนเรียกว่า “เรือนกรจะจก“ มีสาเหตุมาจากก๊าซที่มีความสามารถในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์, มีเทน ไนตรัสออกไซด์, CFC12, เตตระฟลูออโรมีเทน ,ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์

โรงงานอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ปล่อยก๊าซโลกร้อนอันดับต้นๆ
              ทั้งเกิดจากธรรมชาติเอง แต่มนุษย์ปล่อยสู่อากาศมากกว่ายิ่งประชากรโลกเพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ความต้องการกินต้องการใช้ยิ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ต้องมีอุตสาหกรรมผลิตเพื่อป้อนสู่ความต้องการเหล่านั้น ผลพวงก็คือมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลมากขึ้น มีการรั่วไหลของสารเคมีมากขึ้น ก๊าซเรือนกระจกทำหน้าที่ให้รังสีความร้อนผ่านเข้ามาบนผิวโลกได้   แต่สะท้อนออกไปไม่ได้เป็นผ้าห่มผืนใหญ่ที่ปกคลุมโลกเอาไว้ส่งผลให้อุณหภูมิบนโลกสูงขึ้น ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงแปรปรวนเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นและถี่ชึ้นกว่าเดิม น้ำแข็งขั้วโลกละลายปริมาณน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ประเทศไทยมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียสในรอบ 40 ปี และคาดว่าอีก 100 ปีข้างหน้า อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้น 4.5 องศาเซลเซียส ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากที่สุดได้แก่ กลุ่มประเทศอาหรับผลิตน้ำมัน สหรัฐอาหรับอามิเรสต์ คูเวต  และกลุ่มประเทศทุนนิยมเต็มตัว อเมริกา ออสเตรเลีย แคนนาดา
            ดังนั้นจะเห็นแนวคิดทั้งสองทฤษฎีที่ต่างอ้างถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโลกร้อนเราจะเชื่อทฤษฏีไหนดี หรือว่ามันเป็นไปได้ทั้งสองอย่างและเป็นสิ่งที่ผสมโรงกันทำให้โลกร้อน อย่างไรก็ตามการจะเชื่อสิ่งใดนั้นควรใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดี ถูกต้องหรือไม่ก่อนเชื่อตามหลัก
กาลามสูตร ที่พระพุทธองทางวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน 10 ประการ ดังนี้

1.  มา อนุสฺสวเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
2.  มา ปรมฺปราย - อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
3.  มา อิติกิราย - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
4.  มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
5.  มา ตกฺกเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
6.  มา นยเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
7.  มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
8.  มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
9.  มา ภพฺพรูปตา - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
10. มา สมโณ โน ครูติ - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา

xsci : เรียบเรียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น