วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สถานการณ์ฉุกเฉินตาม พ.ร.ก.


สถานการณ์ฉุกเฉิน
          สถานการณ์ฉุกเฉินคือ สถานการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งรัฐ หรืออันอาจทำให้รัฐตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือภาวะการณ์รบหรือการสงคราม ซึ่ง "ฝ่ายบริหารรัฐ" มีอำนาจประกาศว่าพื้นที่ใดกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เช่นว่า โดยอาศัยอำนาจตามกฏหมายรัฐนั้น ๆ ซึ่งให้อำนาจพิเศษในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินและมักเป็นกฏหมายที่มีกฏบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล อย่างไรก็ดี กฏหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นกฏหมายที่ให้อำนาจพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ไม่เบ็ดเสร็จเท่า "กฏอัยการศึก" หรือกฏหมายที่ในในสภาวะสงคราม
          การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมักมีภายหลังจากการเกิด "ภัยธรรมชาติ" การก่อความไม่สงบ หรือ "การประกาศสงคราม" ซึ่งอาจมีผลให้เจ้าหน้าที่บางฝ่ายต้องหยุดการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ลงเชื่อคราว โดยอำนาจหน้าที่เช่นว่านั้นอาจรวมศูนย์ไปยังเจ้าหน้าที่อีกฝ่ายเพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมสถานการณ์โดยไม่ชักช้า และอาจนำไปสู่ "การห้ามออกจากเคหสถาน" หรือการสั่งห้ามมั่วสุมชุมนุมกันเพื่อการใด ๆ ก็ดี ณ พื้นที่นั้นในระหว่างที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

          สถานการฉุกเฉินตาม พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 หมายความว่า สถารการณ์อนกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในสภาวะคับขันหรืออยู่ในความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฏหมายอาญา การรบหรือ การสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมาหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯลฯ

          ส่วนสาธารณะภัยตาม พ.ร.บ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 หมายความว่าอัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดในสัตว์ โรคระบาดสัตว์น้ำ การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอันที่มีผลกระทบต่อสาธารณชนไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ทำให้เกิดขึ้นอุบัติเหตุหรือเหตุผลอื่นใด ฯลฯ อำนาจการแก้ไขปัญหาของเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยฯ สามารถทำได้อย่างมีผลเช่นกัน ผู้ใดขัดขืนหรือฝ่าฝืนอาจได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น