วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พระราชอำนาจ



พระราชอำนาจ
          พระราชอำนาจกฤษฏีกาพระราชทานอภัยโทษ เป็น "พระราชอำนาจ" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จะพระราชทานให้ใครหรือไม่ให้ใคร แต่มีผู้เชี่ยวชาญกฏหมายอธิบายว่า "พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ ก็เหมือนพระราชกฤษฎีกาทั่วไป เช่น" พระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน ฯลฯ เป็นความต้องการของรัฐบาลเอง เมื่อเสนอเป็นพระราชกฤษฏีกาทูลเกล้าฯ ถวายขึ้นไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็จะทรงลงพระปรมาภิไธยเพราะประกาศใช้เป็นกฏหมายต่อไป" ไม่ได้เป็น "พระราชอำนาจ" ทึ่จะทรงอนุมัติหรือไม่ทรงอนุมัติ

ตัวอย่างเช่น พ.ร.ฎ เวนคืนที่ดินเพื่อเวนคืนไปสร้างสาธารณูปโภค เช่น ถนน รถไฟใต้ดิน เมื่อรัฐบาลทำ พ.ร.ฏ. เวนคืนที่ดินขึ้นมาทูลเกล้าถวาย พระองค์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยเพื่อประกาศใช้เป็นกฏหมายต่อไป ไม่ได้ใช้พระราชอำนาจวินิจฉัยว่า ฉบับนี้ให้ ฉบับนี้ไม่ให้ ที่สำคัญใน พ.ร.ฏ. เวนคืนที่ดินก็ไม่ได้มีการระบุว่าเป็นที่ดินของใคร

          พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษก็เช่นเดียวกัน เมื่อรัฐบาลเห็นชอบให้มีการเสนอพระราชกฤษฏีกาพระราชทานอภัยโทษและนำขึ้นทูลเกล้าถวาย พระองค์ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยเหมือนพระราชกฤษฏีกาทั่วไปทุกฉบับ ไม่ได้มีการใช้ "พระราชอำนาจ" วินิจฉัยว่าฉบับนี้ให้ ฉบับนี้ไม่ให้ ส่วนรายละเอียด รายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษก็เป็น "หน้าที่ของรัฐบาล" เป็นผู้กำหนดรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษตามกฏเกณฑ์ ไม่ใช่พระราชอำนาจที่จะอภัยโทษคนนี้ ไม่ให้อภัยโทษคนนั้น

                                                                                                                (ลมเปลี่ยนทิศ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น