วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

ไลนัสด่า NVIDIA "FUCK you" (พร้อมท่าประกอบ) นาทีที่ 49.50



          ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ไลนัส ทอร์วัลด์ ผู้สร้างลินุกซ์จะจิกกัดใครต่อใครเจ็บๆ แต่การขึ้นเวทีมหาวิทยาลัย Aalto ในฟินแลนด์ก็อาจจะเป็นพัฒนาขั้นใหม่ เมื่อเขาถูกถามความเห็นต่อไดร์เวอร์ของการ์ดจอ NVIDIA ในลินุกซ์ และได้ระเบิดอารมณ์ออกมา
          ปัญหาของไดร์เวอร์การ์ดจอบนลินุกซ์นั้นเป็นปัญหาที่เรื้อรังมายาวนาน ผู้ผลิต (รวมถึง NVIDIA และ ATI) มักอ้างความลับทางการค้าทำให้ไม่ยอมเปิดซอร์สโค้ดของไดร์เวอร์หลัก ทำให้มีปัญหาทุกครั้งที่ต้องอัพเกรดเคอร์เนล ขณะที่ไดร์เวอร์โอเพนซอร์สที่ชุมชนช่วยกันดูแลนั้นจะมีปัญหาเรื่องการอัพเกรดน้อยกว่า แต่ก็รองรับฟีเจอร์ในการ์ดน้อยกว่าเช่นกัน ไลนัสระบุว่ายิ่ง NVIDIA ทำงานร่วมกับแอนดรอยด์มากเพียงใด ก็ยิ่งควรให้ความสำคัญกับลินุกซ์มากขึ้นและซัพพอร์ตให้ดีกว่านี้
          ATI ในช่วงหลังพยายามแก้ปัญหานี้ โดยส่งวิศวกรของตัวเองเข้ามาช่วยพัฒนาไดร์เวอร์รุ่นโอเพนซอร์สไปพร้อมๆ กัน ทำให้ไดร์เวอร์โอเพนซอร์สมีแนวโน้มจะรองรับฟีเจอร์ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ส่วนอินเทลนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ผลิตที่เป็นมิตรกับลินุกซ์มากที่สุดเสมอมา
ดูภาพประกอบได้ในวิดีโอท้ายข่าว นาทีที่ 49 เป็นต้นไป

ที่มา : blognone, Ubergizmo

Delta ของ Hybrid Air Vehicles (HAV) เรือเหาะแห่งอนาคต และเป็นอนาคตของเรือเหาะ



Delta เรื่อเหาะแห่งอนาคต และเป็นอนาคตของเรือเหาะ

          โศกนาฏกรรมอันโด่งดังของเรือเหาะ ฮินเดนเบอร์ก เมื่อปี ค.ศ. 1937 เมื่อเรือเหาะที่บรรจุด้วยก๊าซไฮโดรเจนได้ระเบิดลุกใหม้ในขณะที่กำลังพยายามทอดสมอจอดใน New Jersey เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ปิดฉากอุตสาหกรรมการบินที่สร้างอากาศยานเบากว่าอากาศไปพร้อมกับเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายอีก 35 คน แต่อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา กลุ่มวิศกรอากาศยาน ที่มีความมุ่งมัน ส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษ ได้ร่วมกันออกแบบและสร้างเรือเหาะเชิงพาณิชย์ แม้ว่าจะล้มเหลวหลายครั้ง แต่ก็สามารถอยู่รอดได้จนถึงวันนี้
          บริษัท Hybrid Air Vehicles (HAV) ของอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2007 โดย Roger Munk และลูกน้องที่ไม่ประสพความสำเร็จกับความพยายามครั้งก่อน เมื่อเร็วๆนี้ได้รับสัญญาใหญ่ 2 งาน ที่ทำให้อนาคตของเรือเหาะมีอนาคตที่สดใส ดังชื่อของบริษัทที่มีนัยยะ เรือเหาะนี้ไม่ใช่บอลลูนบรรจุก๊าซที่มีรูปทรงเหมือนแท่งซิก้าร์ในอดีต หากแต่เป็นรูปทรงไฮเทคที่สามารถสร้างแรงยกได้ในตัว โครงสร้างลำตัวแบบ Semi-Rigid บังคับทิศทางแรงขับดันด้วย vectored thrust จากเครื่องยนต์ที่อยู่ในเรือเหาะ ลำตัวของเรือเหาะสามารถสร้างแรงยกทางอากาศพลศาสตร์ได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นแรงยกจากก๊าซฮีเลี่ยม นอกจากนั้นการใช้ทุ่นด้านข้าง ใต้ท้องเรือ ซึ่งเป็นเสมือนขาสกีของเรือเหาะ รวมถึงการใช้ใบพัดควบคุมทิศทางแรงขับ ทำให้เรือเหาะนี้สามารถลงจอดได้ทั้งบนพื้นดิน พื้นคอนกรีต หรือพื้นน้ำ ได้โดยไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ภาคพื้น
          ด้วยความอ่อนตัวในการใช้งานบวกกับความสามารถในการลอยอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานานถึง 21 วัน รวมทั้งความสามารถในการบรรทุกสิ่งของได้หนักรวมถึง 200 ตัน ทำให้บริษัท HAV ได้รับสัญญามูลค่า 517 ล้านเหรียญสหรัฐ (370 ล้านยูโร) โดยร่วมมือกับบริษัท Northrop Grumman ในการทำเรือเหาะสำหรับการตรวจการณ์ ลาดตระเวนหาข่าวที่ชื่อว่า Long-Endurance Multi-Intelligence Vehicle (LEMV) สำหรับกองทัพบกสหรัฐเพื่อใช้ในอัฟกานิสถานในปี 2012 ขณะที่ LEMV นั้นเป็นเรือเหาะค่อนข้างเล็กที่ออกแบบมาสำหรับภารกิจการตรวจการณ์ แต่ตอนนี้บริษัท HAV ก็ได้ออกข่าวว่าตอนนี้มีลูกค้าเอกชนได้สั่งซื้อเรือเหาะในรุ่นที่สามารถบรรทุกสิ่งของได้มาก
          บริษัท Discovery Air Innovation (DAI) ของแคนาดาได้ตกลงสั่งซื้อเรือเหาะจำนวนหนึ่งในรุ่นที่สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ 50 ตัน และบินได้ด้วยความเร็วที่ 100 น๊อต (185 กม/ชม หรือ 115 ไมล์/ชม) โดยจะใช้ในภารกิจการบริการขนส่งสินค้าไปยังพื้นที่ห่างไกลแถบขั้วโลกเหนือด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกลง การสร้างเรือเหาะลำแรกสำหรับบริษัท DAI นี้จะเริ่มในปี 2012 และจะเริ่มต้นให้บริการในแคนาดาในปี 2014 โดยบริษัท DAI อาจจะสั่งซื้อเรือเหาะถึง 50 ลำ แต่อย่างไรก็ตามต้องรอดูผลในเรื่องการบินปฏิบัติการณ์ก่อน
          บริษัท Hybrid Air Vehicles มองเห็นความเป็นไปได้มากมายในการประยุกต์ใช้เรือเหาะในภารกิจด้านการดูแลรักษาภูมิประเทศ การช่วยเหลือผู้ประสบภัย การสนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง และแน่นอนก็คือภารกิจด้านการท่องเที่ยวแบบหรูหรา ด้วย 2 สัญญาขนาดใหญ่ที่อยู่ในกระเป๋าแล้ว ทำให้ดูเหมือนว่ายุคทองของเรือเหาะจะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
                                                                  ที่มา :   www.gizmag.co

เครื่องยนต์ F-117 Nighthawk Engine


            เครื่องยนต์ F-117 Nighthawk ได้รับการปรับปรุงให้มีพลังสูงขึ้น เที่ยบเท่า Su-35S และ PAKFA prototypes ในปัจจุบัน

ที่มา :  Battle Machines

Raffaello D'Andrea: The astounding athletic power of quadcopters

แอลจีเรียสนใจเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ Boeing C-17


แอลจีเรียสนใจเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงทางอากาศของ Boeing

Boeing ประกาศอย่างเป็นทางการว่ากองทัพอากาศแอลจีเรียสนใจจะจัดหาเครื่องบินลำเลียงและเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศใหม่โดยคาดว่าจะเปิดให้ยื่นเอกสารเชิญชวนยื่นข้อเสนอ(RFP) ภายไม่กี่เดือนนี้
ทางกองทัพอากาศแอลจีเรียให้ความสนใจ บ.ลำเลียงหนัก Boeing C-17 ซึ่งยังไม่ประกาศจำนวนที่ต้องการแน่ชัดแต่คาดว่าอาจจะราว 4-6เครื่อง
และ บ.เติมเชื้อเพลิงทางอากาศที่จะมาแทน IL-78 โดยให้ความให้สนใจ Airbus A330 MRTT และ Boeing KC-46 ซึ่งสำหรับ KC-46 จะทำการสาธิตได้ในปี 2018
นอกจากนี้แอลจีเรียยังให้ความสนใจระบบอากาศยานอื่นๆของ Boeing เช่น UAV ขนาดเล็กแบบ ScanEagle และ ฮ.ลำเลียง CH-47 ด้วย
อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศสหรัฐฯได้รับมอบ C-17 เครื่องสุดท้ายไปแล้ว ถ้าไม่มีลูกค้าเพิ่ม Boeing จะปิดสายการผลิต C-17 ในปี 2015...

ที่มา : สมาคมคนรักเครื่องบินรบ, Supper Weapon

Wing loong UAV ของจีน


Wing loong UAV ของจีน

UAV แบบ wing Loong ของกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมการบินจีนได้เปิดตัวจอดแสดงต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกในงาน Airshow China ในปี 55 ที่ผ่านมา

ถึงแม้ว่าตัวโมเดลของ Wing Loong ได้เคยตั้งแสดงโชว์ในงานแอร์โชว์มาหลายปีแล้ว แต่การเปิดตัวของUAV ที่บินระยะสูงปานกลางและอยู่ในอากาศได้นานๆ (medium altitude long endurance, MALE) ตัวเป็นๆมาตั้งโชว์ในครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมการบินของจีนมีความก้าวหน้า

Wing Loong นั้นดูคล้ายกับ General Atomics MQ-1 Predator UAV ของอเมริกาอย่างมาก Wing Loong มีจุดติดตั้งอาวุธ 2 จุด พร้อมจอแสดงสถานะภาพอาวุธทั้งจรวดนำวิถีและระเบิดที่นำวิถีด้วยแสงเลเซอร์

การออกแบบของ Wing Loong นั้นเป็นแบบแพนหางดิ่งคู่ ปีกอยู่กลางลำตัวโดยมีปีกที่ยาวและแคบ ฐานล้อแบบ 3 ขา พับเก็บได้ มีการใช้วัสดุอลูมินั่มเพื่อง่ายต่อการซ่อมบำรุง
Wing Loong สามารถใช้ในภารกิจลาดตระเวนหาข่าว และโจมตีภาคพื้น รูปแบบการบรรทุกยุทโธปกรณ์นั้นขึ้นอยู่กับภารกิจ โดยมันสามารถติดตั้งอาวุธโจมตีด้วยจรวด TY-90 อากาศสู่อากาศ และระเบิดนำร่องแบบแม่นยำ เช่น HJ-10, LS-6 และ YZ-200...

ที่มา : สมาคมคนรักเครื่องบินรบ, Supper Weapon

DLR และ NASA ร่วมมือกันวิจัยที่จะทำให้เฮลิคอปเตอร์ในอนาคตเสียงเงียบมากขึ้น



...DLR และ NASA ร่วมมือกันวิจัยที่จะทำให้เฮลิคอปเตอร์ในอนาคตเสียงเงียบมากขึ้น

เฮลิคอปเตอร์สามารถขึ้น-ลงทางดึ่งได้ก็ด้วยอาศัยใบพัดประธาน แต่ตัวใบพัดนี้ก็เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดเสียงดังในขณะบิน นักวิจัยที่ศูนย์การบินและอวกาศของเยอรมัน(Deutsches Zentrum fur Luft- und Raumfahrt; DLR)ในเมือง Gottingen และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ (NASA) กำลังทำการวิจัยถึงสาเหตุต้นตอที่สำคัญที่ทำให้เกิดเสียงดังจากตัวใบพัด วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อจะทำให้เฮลิคอปเตอร์ในอนาคตบินได้เงียบมากยิ่งขึ้น
การทำงานร่วมกันระหว่าง NASA และ DLR นั้นเป็นไปตามข้อตกลงในความร่วมมือทั้งสองฝ่าย “ความเชี่ยวชาญของเราที่ DLR เมือง Gottingen นั้นมีในด้านเทคโนโลยีการวัดด้วยลำแสงสำหรับการไหลของของไหล” กล่าวโดย Markus Raffel หัวหน้าแผนกเฮลิคอปเตอร์ของ DLR เมือง Gottingen

James T. Heineck นักวิทยาศาสตร์ของ NASA ยืนยันว่า “ทีมงานที่ Gottingen นั้นนับว่าเป็นทีมงานที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก” นักวิจัยของ NASA กำลังทุ่มเทกับเทคโนโลยีการวัดที่ทันสมัยที่สุดและกำลังทดลองกับอุโมงค์ลมที่ใหญ่ที่สุดในโลก

การเกิด Vortices นั้นเป็นแหล่งกำเนิดเสียงดัง
“เสียงทุกอย่างที่คุณได้ยินจากเฮลิคอปเตอร์นั้นเป็นเสียงดังที่เกิดจากอากาศพลศาสตร์ เสียงส่วนใหญ่นี้นั้นมาจาก Vortices ที่ปลายใบพัด” กล่าวโดย Raffel

Vortices ที่ปลายใบพัดนั้นเกิดขึ้นที่ปลายสุดของใบพัด “ความดันอากาศที่ลดลงที่ด้านบนของใบพัดดึงกระแสอากาศให้หมุนวนขึ้นด้านบน ทำให้เกิด Vortex แต่ Vortex ที่ปลายปีกนั้นถูกบังคับให้ไหลลงด้านล่าง” อธิบายโดย Karen Mulleners นักวิจัยของ DLR ผู้ซึ่งทำงานทดสอบร่วมกับทีมวิจัยของ NASA “เมื่อใบพัดใบอื่นหมุนมาปะทะกับ Vortices นี้จะทำให้เกิดเสียงดังคล้าย ‘chopping’ or throbbing อันเป็นเสียงดังที่เป็นเอกลักษณ์ของเฮลิคอปเตอร์”

นักวิจัยกำลังใช้แท่นทดสอบด้วยโมเดลใบพัดจากมหาวิทยาลัยเทคนิค Aachen สำหรับการตรวจสอบ พวกเขาใช้กล้องความเร็วสูง 7 ตัว ใช้แสงเลเซอร์และหลอด LED กำลังไฟสูงในการทำให้ Vortices สามารถมองเห็นได้ “สิ่งพิเศษที่นี่ก็คือการใช้เทคนิคการวัดด้วยลำแสงที่ต่างกัน 3 เทคนิค” Raffel อธิบาย ความหนาแน่นและกลุ่มความเร็วใน Vortices และการเปลี่ยนรูปของใบพัดนั้นถูกบันทึกไว้ เหมือนกับในวงการแพทย์ วิธีการทดสอบหลายๆวิธีช่วยให้ไปสู่การวินิจฉัยที่ถูกต้อง ก็ต้องขอบคุณสำหรับกล้องความเร็วสูงที่ทันสมัยล่าสูดที่สามารถจับภาพได้ด้วยความเร็วถึง 4000 เฟรมต่อวินาที ทำให้สามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของ Vortex ได้อย่างต่อเนื่องเป็นครั้งแรก จนถึงเดี๋ยวนี้กล้องความเร็วสูงสามารถจับภาพนิ่งได้ดีเพียงพอ

Vortices สามารถมองเห็นได้

กระแสอากาศหมุนที่ปลายใบพัดนั้นยังก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆอีก เมื่อมันสัมผัสกับพื้นในขณะที่บินขึ้นหรือลงสนาม ฝุ่นหรือหิมะสามารถหมุนฟุ้งขึ้น ทำให้นักบินตกอยู่ในสภาวะอันตรายที่เรียกว่าภาวะ ‘brownout’ ทำให้เกิดการหลงสภาพอากาศ

การวัดในปัจจุบันจะเป็นพื้นฐานสำหรับการทดสอบในอนาคตในอุโมงลม การวิจัยด้วยการใช้เฮลิคอปเตอร์จริงนั้นมีแผนจะกระทำในอนาคต...

ที่มา : Supper Weapon

เผยโฉมแบบจำลองเครื่องบิน C-130 Successor Fast STOL Speed Agile


...เผยโฉมแบบจำลองเครื่องบิน C-130 Successor Fast STOL Speed Agile
เมื่อหลายปีที่แล้ว กองทัพอากาศสหรัฐ ฯ ได้พยายามที่จะหาเครื่องบินทดแทนเครื่องบิน Lockheed Martin C-130 โดยมีการมีการตั้งโครงการเครื่องบินลำเลียงที่สามารถขึ้นลงได้ในระยะสั้น (short takeoff and landing – STOL) โดยเป็นการแข่งขันระหว่างเครื่องบินต้นแบบ Boeing YC-14 และเครื่องบินต้นแบบ McDonnell YC-15 จากนั้นสถานการณ์ก็ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยงบประมาณโครงการเริ่มสูงขึ้น และงบอนุมัติจากรัฐบาลถูกสั่งตัด และความต้องการทางเทคนิคที่เพิ่มขึ้นทำให้ต้นแบบของเครื่องบินแบบใหม่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นเครื่องบิน Boeing C-17A Globemaster III ที่มาทำการทดแทนเครื่องบิน Lockheed C-141B Starlifter แทน ในขณะที่เครื่องบิน Lockheed C-130 ก็ยังทำการบินต่อไปเข้าสู่ทศวรรษที่ 7 ของสายการผลิต
อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างย่อมมีวงรอบ และตอนนี้ก็เหมือนเป็นเวลาอีกครั้งสำหรับเครื่องบินต้นแบบ YC-14 และ YC-15
ซึ่งเป็นที่มาของเครื่องบินแบบ Speed Agile ถ้ากองทัพอากาศสหรัฐ ฯ ได้รับอนุมัติงบประมาณใหม่สำหรับทำการทดแทนเครื่องบิน super-STOL C-130 หลังจากปี 2020 รูปข้างล่างเป็น ต้นแบบเครื่องบินลำเลียงชนิดใหม่ที่ทางบริษัท Lockheed พัฒนาขึ้นมา
โดยทางบริษัท Boeing ก็กำลังพัฒนาเครื่องบินต้นแบบเพื่อเป็นทางเลือก โดยหน่วยทดลองและวิจัยกองทัพอากาศสหรัฐ ฯ (Air Force Research Laboratory) ได้ตั้งงบสำหรับการทำเครื่องบินต้นแบบจำลองสำหรับทดลองในอุโมงค์ลม และหน่วยทดลองและวิจัยกองทัพอากาศสหรัฐ ฯ ได้เปิดเผยภาพแบบจำลองขนาด 23% ของขนาดจริง เครื่องบินต้นแบบ Lockheed Speed Agile concept ที่จะขับเคลื่อน 4 เครื่องยนต์ โดยแบบจำลองที่ทดลองในอุโมงค์ลมได้รวมเครื่องยนต์แบบ Williams FJ44 จำนวน 2 เครื่อง...

ที่มา : สมาคมคนรักเครื่องบินรบ

Sikorsky ได้เปิดเผย ข้อมูลฮ.S-97



...Sikorsky ได้เปิดเผย ข้อมูลฮ.S-97 สำหรับภารกิจโจมตีตามโครงการ"Army 's Armed Aerial Scout program"วึ่งคาดว่าจะมีการทดสอบในปีหน้า...

  ที่มา : สมาคมคนรักเครื่องบินรบ

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

สติ๊กเกอร์ไลน์ฟรี ตัวใหม่ 2556 LINE News, LINE Stickers



Panpaka-Pants by “Haruyama” (ญี่ปุ่น)
ANA & Ai Fukuhara (ญี่ปุ่น)
LOWRYS FARM meets “repimaru”! (ญี่ปุ่น)
momo co (ไต้หวัน)
แนะนำวิธีดาวน์โหลดสติ๊กเกอร์ LINE แบบฟรี
OpenVPN สำหรับ iOS (ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, อินเดีย, อิตาลี)
OpenVPN สำหรับ Android (ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, อินเดีย, อิตาลี)
FlyVPN สำหรับ iOS (จีน, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, สเปน, ตุกรี, ฮ่องกง, อินเดีย)
Fly VPN สำหรับ Android (จีน, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, สเปน, ตุกรี, ฮ่องกง, อินเดีย)
TigerVPN สำหรับ Android (จีน, ญี่ปุ่น)
VPN One Click (ญี่ปุ่น, สเปน, ตุรกี)

 via: iphone-droid.net

อาจารย์เฉลิมชัยฯ(สรยุทธเจาะข่าวเด่นตอนที่๑-๒)




วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

“สัตว์นรก” "วิมล ไทรนิ่มนวล" กวีซีไรต์ร่ายบทกวีดุดัน

“สัตว์นรก”

เมื่อสัตว์นรกปกครองผองมนุษย์
ไฟนรกก็ถูกจุดบนโลกหล้า
สันดานชั่วย่อมนำมาบัญชา...
ให้มนุษย์หวาดผวานรกภัย
แบ่งมนุษย์เป็นฝักฝ่ายให้แตกแยก
แล้วเทียมแอกหุ้มทองคล้องบ่าให้
มนุษย์ใจกระบือฮือชอบใจ
ยกย่องไว้เหนือเกล้าเผ่ากระบือ
เป็นกองหน้า กองกลาง กองหลังหนุน
มีกองทุน กองเงิน เพลินจับถือ
สั่งซ้ายหัน ขวาหัน พลันโหมฮือ
ไล่ขวิดตะพึดตะพือ...กระบือแดง
เมื่อมนุษย์ใจมนุษย์สุดเก็บกลั้น
ย่อมถึงวันประจัญสู้อยู่ทุกแห่ง
ไฟนรกที่ลุกโชนจะดับแรง
สัตว์นรก – กระบือแดง จะลงนรก.

"วิมล ไทรนิ่มนวล" กวีซีไรต์ร่ายบทกวีดุดัน

วิวัฒนาการรถไฟญี่ปุ่น japan railpass

"หลายคนบอกว่าไม่ต้องส่งลูกเรียนหนังสือก็ได้เรียนจบทำงานเป็นลูกน้องก็ไม่ได้รวยอะไร"
......แต่รากฐานของการพัฒนาประเทศก็คือการศึกษา การศึกษาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างลึกซึ้ง ด้านการเมืองส่งผลโดยตรงต่อชีวิตและความเป็นอยู่ เริ่มตั้งแต่การเริ่มต้นหาเสียด้วยโฆษณาชวนเชื่อของนักการเมือง การศึกษาเป็นตัวแยกแยะว่ามันน่าเชื่อถือและเป็นไปได้แค่ไหน  การซื้อเสียงเป็นสิ่งที่สมควรสนับสนุนหรือไม่เป็นต้น
......ในปี 1870 ตอนนั้น ประเทศไทยรู้หนังสือแค่ร้อยละ 2  แต่ญี่ปุ่นรู้หนังสือร้อยละ 45 คำพูด "ความรู้คืออาวุธ" เกิดขึ้นในสมัย ร.5 แต่มันกลับกลายเป็นว่า เราใช้อาวุธไม่เป็น เพราะอ่านหนังสือไม่ออก
......ญี่ปุ่นเริ่มพัฒนาประเทศมาพร้อม ๆ กับไทยและพัฒนารถไฟมาหลังไทยแต่ปัจจุบันมันต่างกันราวกับฟ้ากับดินไม่ใช่จะโหนกระแสอยากได้รถไฟจากเงินกู้ 2 ล้านล้าน แต่มองถึงวิวัฒนาการรถไฟญี่ปุ่นว่าทำไมถึงก้าวหน้าได้รวดเร็วขนาดนี้ รัฐวิสาหกิจรถไฟญี่ปุ่นมันต่างกับของไทยราวนรกกับสวรรค์ ติดตามอ่านได้ที่นี่ http://pantip.com/topic/31002039

JR Japan Railpass http://www.japanrailpass.net/