วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

"คนค้นฅน" ตอน 388 กม. จากป่าสู่เมือง "เมื่อสื่อโดนคุกคาม"

ความตกต่ำของ Blackberry

   
          เทคโนโลยีไม่ต่างจากชีิวิตคนเราที่เกิด รุ่งเรือง ตกต่ำ และสิ้นสุด ด้วยเหตุผลที่ต่างและคล้ายกันของ NOKIA และ BBM ที่มีจุดจบใกล้เคียงกัน จะว่าไปประวัติศาสตร์มีไว้ให้เรียนรู้บทเรียนจากผู้อื่นที่เราไม่ต้องเสียเวลาไปเรียนรู้ด้วยตัวเอง BBM ดำเนินธุรกิจมาอย่างไรและจะเป็นไปอย่างไรต่อจากนี้นั้นเราอาจจะมองและคาดการณ์ได้บ้างหากเรารู้ว่าวันนี้เป็นเช่นไร

     The Globe and Mail หนังสือพิมพ์รายใหญ่ของประเทศแคนาดา เจาะลึกเบื้องหลังความตกต่ำ ความล่าช้า ความผิดพลาดของ BlackBerry ในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา
The Globe and Mail ใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้บริหารและอดีตผู้บริหารหลายคน โดยผู้บริหารคนสำคัญที่ให้สัมภาษณ์คือ Mike Lazaridis ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอร่วมของบริษัท
บทสัมภาษณ์ชุดนี้ชี้ให้เห็นความแตกแยกเชิงโครงสร้างของบริษัทเอง และแนวทางที่ไม่ตรงกันของทั้งอดีตซีโอร่วมสองคนคือ Mike Lazaridis/Jim Balsillie กับซีอีโอคนปัจจุบัน Thorsten Heins
RIM ในอดีต

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

Solar Farm ของ อ. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ส่วนหนึ่งของ รร.สัตยาไส ที่ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี

ภาพขนาดเต็ม http://www.mediafire.com/view/myfiles/#jcyocqowycqpozg
ภาพประกอบ Solar Farm ถ่ายเมื่อ 27 กันยายน 2556


ภาพประกอบ เราเกิดมาทำไมและจะไปที่ไหน

ภาพประกอบ วิสัยทัศน์มุ่งมั่นสร้างคนดีสู่สังคม

 ภาพประกอบ สายสัมพันธ์ระหว่างกัน เด็กทุกคนจะถูกสอนไม่ให้โกรธ

ภาพประกอบ บรรยากาศภายในพื้นที่กว้างมากและร่มรื่นอากาศดีเย็นสบาย

ภาพประกอบ กินอาหารเสร็จรับผิดชอบทำความสะอาดภาชนะใส่อาหารของตัวเอง

ภาพประกอบ ต้องผ่านการ QC 2 ชั้น ก่อนเก็บไว้ใช้งาน

          โรงเรียนสัตยาไส เป็นโรงเรียนเน้นสร้างคนดีที่แท้จริงเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย จะมีซักกี่คนที่มุ่งหวังตั้งใจแน่วแน่ที่จะสร้างคนดีเพื่อสังคนอย่างทุ่มเทโดยการเริ่มปลูกฝังตั้งแต่อนุบาล โรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนประจำสำหรับเด็ก ม.1-3   ม.4-6  มีวิสัยทัศน์คือสร้างคนดีเหนือสิ่งใดและไม่มีค่าเทอม ไม่มีวัตถุประสงค์ในกำไร นักเรียนกินมังสวิรัตทุกมื้อ ปลูกผัก ปลูกข้าว ผลิตพลังงานเอง ถือศีล5 เน้นการนั่งสมาธิ การเรียนการสอนเน้นปลูกฝังคุณธรรม วินัย ให้ซึมซับโดยการทำเป็นกิจวัตรประจำวัน การที่จะพาบุตรหลานเข้าเรียนที่นี่ได้พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นผู้สอบเข้าเพื่อเป็นการวัดวิสัยทัศน์ว่าตรง หรือขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของโรงเรียนหรือไม่อย่างไร การคัดเลือกนับว่าเข้มข้นพอสมควรโดยคัดจากจำนวนทั้งหมดที่มาสมัคร 600 คนเหนือเพียง 30 คนเท่านั้น เน้นคุณภาพอย่างแท้จริง ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น 300 กว่าคน

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

พ่อเขียนถึงลูก บันทึกช่วยจำของ"เหลียงจี้จาง



           “เหลียงจี้จางเป็นพิธีกรดังของ TVB ในฮ่องกง และเป็นนักเขียนด้วย บันทึกช่วยจำที่เขาเขียนให้ลูก ได้รับการเผยแพร่เป็นวงกว้าง นอกจากแสดงถึงความห่วงหาอาทรที่พ่อมีต่อลูกเฉกเช่นคุณพ่อทั่วๆไป มุมมองของเขาบางเรื่อง(แบบสังคมฮ่องกง) แม้บางคนจะเคยประสบมาบ้าง เหมือนกัน แต่อ่านแล้วก็ยังอดอึ้งไม่ได้ เลยถ่ายทอดสู่กันฟัง... ลูกรัก..ที่พ่อเขียนบันทึกช่วยจำฉบับนี้ให้ลูก

มีเหตุผลอยู่ 3 ประการ คือ
          1. สรรพสิ่งล้วนอนิจจัง จะมีชีวิตอยู่ได้อีกนานเท่าใดไม่มีใครบอกได้ พ่อจึงคิดว่าบางเรื่องพ่อน่าจะสั่งเสียไว้แต่เนิ่นๆ ย่อมจะดีกว่า
          2. เพราะพ่อเป็นพ่อของลูก ถ้าพ่อไม่บอกลูก ไม่มีใครหรอกที่เขาจะบอกลูกแบบที่พ่อบอก
          3. สิ่งที่พ่อบันทึกไว้นี้ ล้วนเป็นประสบการณ์อันแสนเจ็บปวดที่พ่อได้เรียนรู้มา มันจะทำให้ลูกไม่ต้องเสียเวลาไปเรียนรู้มันอีกในชีวิตของลูก ขอให้จำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ให้ดี

1. คนที่ไม่ดีต่อเรา ไม่ต้องไปใส่ใจนัก ในชีวิตคนเราไม่มีใครมีหน้าที่ที่จะต้องมาดีต่อเรา ยกเว้นพ่อกับแม่ของลูก สำหรับคนที่ดีกับลูก นอกจากลูกต้องหวงแหนและขอบคุณเขาแล้วยังต้องคอยระวังตัวไว้ด้วย เพราะคนเราทุกคนทำอะไรย่อมมีจุดประสงค์ เขาทำดีกับลูกใช่ว่าเขาจะทำเพราะชอบลูกเสมอไป ลูกต้องตระหนักจุดนี้ให้ดี อย่าเพิ่งรับเขาเป็นเพื่อนเร็วเกินไป

2.ไม่มีคนที่ทดแทนกันไม่ได้ และไม่มีสิ่งใดที่ต้องมีให้ได้ ถ้าเข้าใจจุดนี้ หากวันใดคนข้างกายของลูกไม่ต้องการลูกอีกต่อไป หรือวันใดที่ลูกต้องเสียสิ่งที่รักที่สุดไป ลูกจะได้เข้าใจว่า นี่ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายอะไรเลย

3. ชีวิตนี้แสนสั้น หากลูกยังใช้ชีวิตอย่างไม่เห็นคุณค่า พรุ่งนี้ลูกจะพบว่าชีวิตจะหลุดลอยไปไกลยิ่งขึ้น ดังนั้นยิ่งรู้จักถนอมชีวิตเร็ว เท่าใดเวลาที่ลูกจะได้รับความสุขจากชีวิตก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้นหาความสุขเสียแต่วันนี้ ดีกว่านั่งหวังให้มีอายุยืนนาน

4. ในโลกนี้ไม่มีเรื่องรักนิรันด์กาล ความรักเป็นเพียงความรู้สึกชั่ววูบ โดยความรู้สึกนี้ย่อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลาและอารมณ์ หากสิ่งที่ลูกรักมากที่สุดจากลูกไป ขอให้รอคอยอย่างอดทน ให้เวลาช่วยชะล้าง ให้จิตใจค่อยๆตกตะกอน แล้วความทุกข์ของลูกจะค่อยๆจางหายไป... อย่าวาดหวังความรักให้สวยเกินไป และอย่าซ้ำเติมการอกหักให้ทุกข์เกินเหตุ

5. แม้ว่าคนหลายคนที่ประสบความสำเร็จในโลกนี้ไม่ได้เรียนมาสูง แต่ไม่ได้หมายความว่าหากไม่ขยันเรียนแล้วจะได้ดี ความรู้คืออาวุธ คนเราอาจสู้แล้วรวย แต่ไม่มีทางรวยได้ หากปราศจากอาวุธสู้

6. พ่อจะไม่เลี้ยงดูครึ่งหลังของชีวิตลูก เมื่อลูกโตพอจนเป็นอิสระได้แล้ว พ่อก็หมดหน้าที่แล้ว หลังจากนั้นไป ลูกจะนั่งรถเมล์หรือจะนั่งรถเบ๊นซ์ จะกินหูฉลามหรือจะกินบะหมี่ยำๆ ลูกต้องเลือกเอง

7. ต้องทำดีต่อผู้อื่น แต่อย่าหวังว่าผู้อื่นต้องทำดีต่อเรา เราปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไร มิได้หมายความว่าผู้อื่นก็จะปฏิบัติตอบต่อเราในแบบเดียวกัน ลูกต้องเข้าใจในข้อนี้จะได้ไม่หาทุกข์ใส่ตัวโดยไม่จำเป็น

8. พ่อซื้อล๊อตเตอรี่มาตลอดชีวิต ยังยากจนเหมือนเดิม แม้แต่รางวัลเลขท้ายยังไม่เคยถูกเลย นี่เป็นบทพิสูจน์ว่า คนเราจะเจริญก้าวหน้าได้ ต้องขยันขันแข็งอย่างเดียวเท่านั้น ในโลกนี้ไม่มีมื้อเที่ยงที่ไม่ต้องเสียตังค์ (No free lunch)

9. ญาติ มิตร หรือสหาย ล้วนเป็นกันชาตินี้ชาติเดียว ฉะนั้นจงหวนแหนโอกาสที่ได้อยู่ด้วยกันและแสนมีค่านี้ เพราะในชาติหน้า ไม่ว่าท่านจะรักใครหรือชังใคร ท่านก็จะไม่มีโอกาสได้พบกันอีก

ที่มา : payonthai

ความจริงของการสร้างเขื่อนแม่วงก์


  • โครงการยังไม่ผ่านรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA 
  • 10 เมษายน 2556 โครงการได้รับการอนุมัติ มูลค่าโครงการ 13,000 ล้านบาท ซึ่งต้องกู้มาทำให้เกิดหนี้สาธารณะ
  • สร้างขึ้นใน อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ ที่เขาสบกก อุทยานแห่งชาติแม่วงก์สามารถเก็บน้ำได้เพียง 1 เปอร์เซ็นในเขตเขาสบกกเท่านั้นนับจากปริมาณน้ำที่จะท่วมทั้งหมดสุดท้ายน้ำก็ท่วมเหมือนเดิม 
  • งบประมาณ 13,000 ล้านบาท ถ้านำไปพัฒนาการศึกษาจังหวัดละ 100 ล้านบาท ก็ยังไม่ถึง 13,000 ล้านบาท
  • ใช้ระยะเวลาในการสร้างนานถึง 8 ปี และต้องตัดไม้สูญเสียต้นไม้จากน้ำท่วมปริมาณมหาศาล และต้องมีปัญหาการสวมไม้จากนายทุนนอกพื้นที่อย่างแน่นอน รวมไปจนถึงการลักลอบล่าสัตว์สงวน

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

ไลนัสด่า NVIDIA "FUCK you" (พร้อมท่าประกอบ) นาทีที่ 49.50



          ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ไลนัส ทอร์วัลด์ ผู้สร้างลินุกซ์จะจิกกัดใครต่อใครเจ็บๆ แต่การขึ้นเวทีมหาวิทยาลัย Aalto ในฟินแลนด์ก็อาจจะเป็นพัฒนาขั้นใหม่ เมื่อเขาถูกถามความเห็นต่อไดร์เวอร์ของการ์ดจอ NVIDIA ในลินุกซ์ และได้ระเบิดอารมณ์ออกมา
          ปัญหาของไดร์เวอร์การ์ดจอบนลินุกซ์นั้นเป็นปัญหาที่เรื้อรังมายาวนาน ผู้ผลิต (รวมถึง NVIDIA และ ATI) มักอ้างความลับทางการค้าทำให้ไม่ยอมเปิดซอร์สโค้ดของไดร์เวอร์หลัก ทำให้มีปัญหาทุกครั้งที่ต้องอัพเกรดเคอร์เนล ขณะที่ไดร์เวอร์โอเพนซอร์สที่ชุมชนช่วยกันดูแลนั้นจะมีปัญหาเรื่องการอัพเกรดน้อยกว่า แต่ก็รองรับฟีเจอร์ในการ์ดน้อยกว่าเช่นกัน ไลนัสระบุว่ายิ่ง NVIDIA ทำงานร่วมกับแอนดรอยด์มากเพียงใด ก็ยิ่งควรให้ความสำคัญกับลินุกซ์มากขึ้นและซัพพอร์ตให้ดีกว่านี้
          ATI ในช่วงหลังพยายามแก้ปัญหานี้ โดยส่งวิศวกรของตัวเองเข้ามาช่วยพัฒนาไดร์เวอร์รุ่นโอเพนซอร์สไปพร้อมๆ กัน ทำให้ไดร์เวอร์โอเพนซอร์สมีแนวโน้มจะรองรับฟีเจอร์ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ส่วนอินเทลนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ผลิตที่เป็นมิตรกับลินุกซ์มากที่สุดเสมอมา
ดูภาพประกอบได้ในวิดีโอท้ายข่าว นาทีที่ 49 เป็นต้นไป

ที่มา : blognone, Ubergizmo

Delta ของ Hybrid Air Vehicles (HAV) เรือเหาะแห่งอนาคต และเป็นอนาคตของเรือเหาะ



Delta เรื่อเหาะแห่งอนาคต และเป็นอนาคตของเรือเหาะ

          โศกนาฏกรรมอันโด่งดังของเรือเหาะ ฮินเดนเบอร์ก เมื่อปี ค.ศ. 1937 เมื่อเรือเหาะที่บรรจุด้วยก๊าซไฮโดรเจนได้ระเบิดลุกใหม้ในขณะที่กำลังพยายามทอดสมอจอดใน New Jersey เหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ปิดฉากอุตสาหกรรมการบินที่สร้างอากาศยานเบากว่าอากาศไปพร้อมกับเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายอีก 35 คน แต่อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา กลุ่มวิศกรอากาศยาน ที่มีความมุ่งมัน ส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษ ได้ร่วมกันออกแบบและสร้างเรือเหาะเชิงพาณิชย์ แม้ว่าจะล้มเหลวหลายครั้ง แต่ก็สามารถอยู่รอดได้จนถึงวันนี้
          บริษัท Hybrid Air Vehicles (HAV) ของอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2007 โดย Roger Munk และลูกน้องที่ไม่ประสพความสำเร็จกับความพยายามครั้งก่อน เมื่อเร็วๆนี้ได้รับสัญญาใหญ่ 2 งาน ที่ทำให้อนาคตของเรือเหาะมีอนาคตที่สดใส ดังชื่อของบริษัทที่มีนัยยะ เรือเหาะนี้ไม่ใช่บอลลูนบรรจุก๊าซที่มีรูปทรงเหมือนแท่งซิก้าร์ในอดีต หากแต่เป็นรูปทรงไฮเทคที่สามารถสร้างแรงยกได้ในตัว โครงสร้างลำตัวแบบ Semi-Rigid บังคับทิศทางแรงขับดันด้วย vectored thrust จากเครื่องยนต์ที่อยู่ในเรือเหาะ ลำตัวของเรือเหาะสามารถสร้างแรงยกทางอากาศพลศาสตร์ได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นแรงยกจากก๊าซฮีเลี่ยม นอกจากนั้นการใช้ทุ่นด้านข้าง ใต้ท้องเรือ ซึ่งเป็นเสมือนขาสกีของเรือเหาะ รวมถึงการใช้ใบพัดควบคุมทิศทางแรงขับ ทำให้เรือเหาะนี้สามารถลงจอดได้ทั้งบนพื้นดิน พื้นคอนกรีต หรือพื้นน้ำ ได้โดยไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ภาคพื้น
          ด้วยความอ่อนตัวในการใช้งานบวกกับความสามารถในการลอยอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานานถึง 21 วัน รวมทั้งความสามารถในการบรรทุกสิ่งของได้หนักรวมถึง 200 ตัน ทำให้บริษัท HAV ได้รับสัญญามูลค่า 517 ล้านเหรียญสหรัฐ (370 ล้านยูโร) โดยร่วมมือกับบริษัท Northrop Grumman ในการทำเรือเหาะสำหรับการตรวจการณ์ ลาดตระเวนหาข่าวที่ชื่อว่า Long-Endurance Multi-Intelligence Vehicle (LEMV) สำหรับกองทัพบกสหรัฐเพื่อใช้ในอัฟกานิสถานในปี 2012 ขณะที่ LEMV นั้นเป็นเรือเหาะค่อนข้างเล็กที่ออกแบบมาสำหรับภารกิจการตรวจการณ์ แต่ตอนนี้บริษัท HAV ก็ได้ออกข่าวว่าตอนนี้มีลูกค้าเอกชนได้สั่งซื้อเรือเหาะในรุ่นที่สามารถบรรทุกสิ่งของได้มาก
          บริษัท Discovery Air Innovation (DAI) ของแคนาดาได้ตกลงสั่งซื้อเรือเหาะจำนวนหนึ่งในรุ่นที่สามารถบรรทุกน้ำหนักได้ 50 ตัน และบินได้ด้วยความเร็วที่ 100 น๊อต (185 กม/ชม หรือ 115 ไมล์/ชม) โดยจะใช้ในภารกิจการบริการขนส่งสินค้าไปยังพื้นที่ห่างไกลแถบขั้วโลกเหนือด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกลง การสร้างเรือเหาะลำแรกสำหรับบริษัท DAI นี้จะเริ่มในปี 2012 และจะเริ่มต้นให้บริการในแคนาดาในปี 2014 โดยบริษัท DAI อาจจะสั่งซื้อเรือเหาะถึง 50 ลำ แต่อย่างไรก็ตามต้องรอดูผลในเรื่องการบินปฏิบัติการณ์ก่อน
          บริษัท Hybrid Air Vehicles มองเห็นความเป็นไปได้มากมายในการประยุกต์ใช้เรือเหาะในภารกิจด้านการดูแลรักษาภูมิประเทศ การช่วยเหลือผู้ประสบภัย การสนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง และแน่นอนก็คือภารกิจด้านการท่องเที่ยวแบบหรูหรา ด้วย 2 สัญญาขนาดใหญ่ที่อยู่ในกระเป๋าแล้ว ทำให้ดูเหมือนว่ายุคทองของเรือเหาะจะกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
                                                                  ที่มา :   www.gizmag.co

เครื่องยนต์ F-117 Nighthawk Engine


            เครื่องยนต์ F-117 Nighthawk ได้รับการปรับปรุงให้มีพลังสูงขึ้น เที่ยบเท่า Su-35S และ PAKFA prototypes ในปัจจุบัน

ที่มา :  Battle Machines

Raffaello D'Andrea: The astounding athletic power of quadcopters

แอลจีเรียสนใจเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ Boeing C-17


แอลจีเรียสนใจเครื่องบินลำเลียงและเติมเชื้อเพลิงทางอากาศของ Boeing

Boeing ประกาศอย่างเป็นทางการว่ากองทัพอากาศแอลจีเรียสนใจจะจัดหาเครื่องบินลำเลียงและเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศใหม่โดยคาดว่าจะเปิดให้ยื่นเอกสารเชิญชวนยื่นข้อเสนอ(RFP) ภายไม่กี่เดือนนี้
ทางกองทัพอากาศแอลจีเรียให้ความสนใจ บ.ลำเลียงหนัก Boeing C-17 ซึ่งยังไม่ประกาศจำนวนที่ต้องการแน่ชัดแต่คาดว่าอาจจะราว 4-6เครื่อง
และ บ.เติมเชื้อเพลิงทางอากาศที่จะมาแทน IL-78 โดยให้ความให้สนใจ Airbus A330 MRTT และ Boeing KC-46 ซึ่งสำหรับ KC-46 จะทำการสาธิตได้ในปี 2018
นอกจากนี้แอลจีเรียยังให้ความสนใจระบบอากาศยานอื่นๆของ Boeing เช่น UAV ขนาดเล็กแบบ ScanEagle และ ฮ.ลำเลียง CH-47 ด้วย
อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศสหรัฐฯได้รับมอบ C-17 เครื่องสุดท้ายไปแล้ว ถ้าไม่มีลูกค้าเพิ่ม Boeing จะปิดสายการผลิต C-17 ในปี 2015...

ที่มา : สมาคมคนรักเครื่องบินรบ, Supper Weapon

Wing loong UAV ของจีน


Wing loong UAV ของจีน

UAV แบบ wing Loong ของกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมการบินจีนได้เปิดตัวจอดแสดงต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกในงาน Airshow China ในปี 55 ที่ผ่านมา

ถึงแม้ว่าตัวโมเดลของ Wing Loong ได้เคยตั้งแสดงโชว์ในงานแอร์โชว์มาหลายปีแล้ว แต่การเปิดตัวของUAV ที่บินระยะสูงปานกลางและอยู่ในอากาศได้นานๆ (medium altitude long endurance, MALE) ตัวเป็นๆมาตั้งโชว์ในครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมการบินของจีนมีความก้าวหน้า

Wing Loong นั้นดูคล้ายกับ General Atomics MQ-1 Predator UAV ของอเมริกาอย่างมาก Wing Loong มีจุดติดตั้งอาวุธ 2 จุด พร้อมจอแสดงสถานะภาพอาวุธทั้งจรวดนำวิถีและระเบิดที่นำวิถีด้วยแสงเลเซอร์

การออกแบบของ Wing Loong นั้นเป็นแบบแพนหางดิ่งคู่ ปีกอยู่กลางลำตัวโดยมีปีกที่ยาวและแคบ ฐานล้อแบบ 3 ขา พับเก็บได้ มีการใช้วัสดุอลูมินั่มเพื่อง่ายต่อการซ่อมบำรุง
Wing Loong สามารถใช้ในภารกิจลาดตระเวนหาข่าว และโจมตีภาคพื้น รูปแบบการบรรทุกยุทโธปกรณ์นั้นขึ้นอยู่กับภารกิจ โดยมันสามารถติดตั้งอาวุธโจมตีด้วยจรวด TY-90 อากาศสู่อากาศ และระเบิดนำร่องแบบแม่นยำ เช่น HJ-10, LS-6 และ YZ-200...

ที่มา : สมาคมคนรักเครื่องบินรบ, Supper Weapon

DLR และ NASA ร่วมมือกันวิจัยที่จะทำให้เฮลิคอปเตอร์ในอนาคตเสียงเงียบมากขึ้น



...DLR และ NASA ร่วมมือกันวิจัยที่จะทำให้เฮลิคอปเตอร์ในอนาคตเสียงเงียบมากขึ้น

เฮลิคอปเตอร์สามารถขึ้น-ลงทางดึ่งได้ก็ด้วยอาศัยใบพัดประธาน แต่ตัวใบพัดนี้ก็เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดเสียงดังในขณะบิน นักวิจัยที่ศูนย์การบินและอวกาศของเยอรมัน(Deutsches Zentrum fur Luft- und Raumfahrt; DLR)ในเมือง Gottingen และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ (NASA) กำลังทำการวิจัยถึงสาเหตุต้นตอที่สำคัญที่ทำให้เกิดเสียงดังจากตัวใบพัด วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อจะทำให้เฮลิคอปเตอร์ในอนาคตบินได้เงียบมากยิ่งขึ้น
การทำงานร่วมกันระหว่าง NASA และ DLR นั้นเป็นไปตามข้อตกลงในความร่วมมือทั้งสองฝ่าย “ความเชี่ยวชาญของเราที่ DLR เมือง Gottingen นั้นมีในด้านเทคโนโลยีการวัดด้วยลำแสงสำหรับการไหลของของไหล” กล่าวโดย Markus Raffel หัวหน้าแผนกเฮลิคอปเตอร์ของ DLR เมือง Gottingen

James T. Heineck นักวิทยาศาสตร์ของ NASA ยืนยันว่า “ทีมงานที่ Gottingen นั้นนับว่าเป็นทีมงานที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก” นักวิจัยของ NASA กำลังทุ่มเทกับเทคโนโลยีการวัดที่ทันสมัยที่สุดและกำลังทดลองกับอุโมงค์ลมที่ใหญ่ที่สุดในโลก

การเกิด Vortices นั้นเป็นแหล่งกำเนิดเสียงดัง
“เสียงทุกอย่างที่คุณได้ยินจากเฮลิคอปเตอร์นั้นเป็นเสียงดังที่เกิดจากอากาศพลศาสตร์ เสียงส่วนใหญ่นี้นั้นมาจาก Vortices ที่ปลายใบพัด” กล่าวโดย Raffel

Vortices ที่ปลายใบพัดนั้นเกิดขึ้นที่ปลายสุดของใบพัด “ความดันอากาศที่ลดลงที่ด้านบนของใบพัดดึงกระแสอากาศให้หมุนวนขึ้นด้านบน ทำให้เกิด Vortex แต่ Vortex ที่ปลายปีกนั้นถูกบังคับให้ไหลลงด้านล่าง” อธิบายโดย Karen Mulleners นักวิจัยของ DLR ผู้ซึ่งทำงานทดสอบร่วมกับทีมวิจัยของ NASA “เมื่อใบพัดใบอื่นหมุนมาปะทะกับ Vortices นี้จะทำให้เกิดเสียงดังคล้าย ‘chopping’ or throbbing อันเป็นเสียงดังที่เป็นเอกลักษณ์ของเฮลิคอปเตอร์”

นักวิจัยกำลังใช้แท่นทดสอบด้วยโมเดลใบพัดจากมหาวิทยาลัยเทคนิค Aachen สำหรับการตรวจสอบ พวกเขาใช้กล้องความเร็วสูง 7 ตัว ใช้แสงเลเซอร์และหลอด LED กำลังไฟสูงในการทำให้ Vortices สามารถมองเห็นได้ “สิ่งพิเศษที่นี่ก็คือการใช้เทคนิคการวัดด้วยลำแสงที่ต่างกัน 3 เทคนิค” Raffel อธิบาย ความหนาแน่นและกลุ่มความเร็วใน Vortices และการเปลี่ยนรูปของใบพัดนั้นถูกบันทึกไว้ เหมือนกับในวงการแพทย์ วิธีการทดสอบหลายๆวิธีช่วยให้ไปสู่การวินิจฉัยที่ถูกต้อง ก็ต้องขอบคุณสำหรับกล้องความเร็วสูงที่ทันสมัยล่าสูดที่สามารถจับภาพได้ด้วยความเร็วถึง 4000 เฟรมต่อวินาที ทำให้สามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของ Vortex ได้อย่างต่อเนื่องเป็นครั้งแรก จนถึงเดี๋ยวนี้กล้องความเร็วสูงสามารถจับภาพนิ่งได้ดีเพียงพอ

Vortices สามารถมองเห็นได้

กระแสอากาศหมุนที่ปลายใบพัดนั้นยังก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆอีก เมื่อมันสัมผัสกับพื้นในขณะที่บินขึ้นหรือลงสนาม ฝุ่นหรือหิมะสามารถหมุนฟุ้งขึ้น ทำให้นักบินตกอยู่ในสภาวะอันตรายที่เรียกว่าภาวะ ‘brownout’ ทำให้เกิดการหลงสภาพอากาศ

การวัดในปัจจุบันจะเป็นพื้นฐานสำหรับการทดสอบในอนาคตในอุโมงลม การวิจัยด้วยการใช้เฮลิคอปเตอร์จริงนั้นมีแผนจะกระทำในอนาคต...

ที่มา : Supper Weapon

เผยโฉมแบบจำลองเครื่องบิน C-130 Successor Fast STOL Speed Agile


...เผยโฉมแบบจำลองเครื่องบิน C-130 Successor Fast STOL Speed Agile
เมื่อหลายปีที่แล้ว กองทัพอากาศสหรัฐ ฯ ได้พยายามที่จะหาเครื่องบินทดแทนเครื่องบิน Lockheed Martin C-130 โดยมีการมีการตั้งโครงการเครื่องบินลำเลียงที่สามารถขึ้นลงได้ในระยะสั้น (short takeoff and landing – STOL) โดยเป็นการแข่งขันระหว่างเครื่องบินต้นแบบ Boeing YC-14 และเครื่องบินต้นแบบ McDonnell YC-15 จากนั้นสถานการณ์ก็ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยงบประมาณโครงการเริ่มสูงขึ้น และงบอนุมัติจากรัฐบาลถูกสั่งตัด และความต้องการทางเทคนิคที่เพิ่มขึ้นทำให้ต้นแบบของเครื่องบินแบบใหม่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นเครื่องบิน Boeing C-17A Globemaster III ที่มาทำการทดแทนเครื่องบิน Lockheed C-141B Starlifter แทน ในขณะที่เครื่องบิน Lockheed C-130 ก็ยังทำการบินต่อไปเข้าสู่ทศวรรษที่ 7 ของสายการผลิต
อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างย่อมมีวงรอบ และตอนนี้ก็เหมือนเป็นเวลาอีกครั้งสำหรับเครื่องบินต้นแบบ YC-14 และ YC-15
ซึ่งเป็นที่มาของเครื่องบินแบบ Speed Agile ถ้ากองทัพอากาศสหรัฐ ฯ ได้รับอนุมัติงบประมาณใหม่สำหรับทำการทดแทนเครื่องบิน super-STOL C-130 หลังจากปี 2020 รูปข้างล่างเป็น ต้นแบบเครื่องบินลำเลียงชนิดใหม่ที่ทางบริษัท Lockheed พัฒนาขึ้นมา
โดยทางบริษัท Boeing ก็กำลังพัฒนาเครื่องบินต้นแบบเพื่อเป็นทางเลือก โดยหน่วยทดลองและวิจัยกองทัพอากาศสหรัฐ ฯ (Air Force Research Laboratory) ได้ตั้งงบสำหรับการทำเครื่องบินต้นแบบจำลองสำหรับทดลองในอุโมงค์ลม และหน่วยทดลองและวิจัยกองทัพอากาศสหรัฐ ฯ ได้เปิดเผยภาพแบบจำลองขนาด 23% ของขนาดจริง เครื่องบินต้นแบบ Lockheed Speed Agile concept ที่จะขับเคลื่อน 4 เครื่องยนต์ โดยแบบจำลองที่ทดลองในอุโมงค์ลมได้รวมเครื่องยนต์แบบ Williams FJ44 จำนวน 2 เครื่อง...

ที่มา : สมาคมคนรักเครื่องบินรบ