โปรแกรม refile เป็นโปรแกรมของค่ายโปรดักนา |
เครื่องยิงเพลท |
แผ่นเพลท |
Block ใช้ปั๊มทองเค หรือปั๊มฟอยด์เงิน ลัษณะการใช้งานใช้แรงกดทับคล้ายการเขียนบนกระดาษคาบอร์น |
เครื่องปั๊มทองเค และฟอยด์เงิน |
ชิ้นงานที่ได้จากการปั๊มทองเคจะสวยงามดูหรา |
สำหรับสถาบันการศึกษาอย่ายึดตำราเล่มเดียวในการสอนเพราะโลกแห่งความจริงมันมีรายละเอียดมากมายไปกว่านั้นมาก สถาบันควรร่วมมือกับโรงพิมพ์ในการกำหนดหลักสูตรความรู้ ให้ได้ความรู้จริงๆ ไม่ใช่ทำตามหน่วยงานต้นสังกัดกำหนดแค่ให้ผ่านเกณฑ์ ซึ่งเมื่อถึงเวลาตรวจมาตรฐาน สมศ. ทีนึงก็ทำผักชีโรยหน้าทีนึงให้ผ่านมาตรฐาน เป็นเหมือนกันหมดทั้งสถานศึกษาเอกชนและของรัฐ พอเสร็จงานโรยหน้าการศึกษาก็เหมือนเดิม ตำราเล่มเดิม บางแห่งโปรแกรมที่ใช้สอนก็ตัวเก่าที่เขาเลิกพัฒนา เหตุผลเพราะผู้สอนใช้โปรแกรมตัวใหม่ไม่เป็น แต่สอนเรื่องสื่อสิ่งพิมพ์ สอนเฉพาะการใช้โปรแกรมเท่านั้น ไม่รู้กระบวนการพิมพ์ลึกๆ ลงไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เรียนควรรู้ ทั้งหมดผู้เขียนเคยทำงานในด้านการศึกษาจึงทราบรายละเอียดจุดบกพร่องเหล่านั้น ซึ่งการศึกษาบ้านเรายังคงน่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก
วันนี้จึงนำเสนอความในแง่มุมหนึ่งของระบบการพิมพ์นั้นก็คืองานเตรียมพิมพ์ ที่ได้รับความรู้มาจากการทำงานจริง ในการทำสื่อสิ่งพิมพ์นั้นต้องผ่านกระบวนการสำคัญนี้ทั้งสิ้น เพราะนี่คือขั้นตอนการทำแม่พิมพ์ สำหรับผลิตงานในปริมาณมาก
กราฟิกสื่อสิ่งพิมพ์มี 3 ระดับ คือ
1.ต้นทางเป็นผู้ออกแบบอาร์ต จัดวางบทความรูปภาพ
2. งานแม่พิมพ์หรือเพลท ซึ่งเป็นแผ่นสังกะสีสีเขียว หรือสีฟ้า มีความไวแสงที่ถูกยิงด้วย Laser ที่หมุนด้วยความเร็ว 900 รอบต่อนาที แล้วผ่านเครื่องอาบน้ำยา และล้างน้ำ ขั้นตอนนี้ได้รับงานต่อมาจากขั้น 1 เป็นผู้ตรวจความถูกต้อง ซึ่งไม่มีโอกาสให้ผิดพลาดเพราะความเสียหายจะเกิดขึ้นมีมูลค่าที่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
3. ระดับงานพิมพ์รรับงานต่อมาจากงานเพลท ซึ่งแผ่นเพลทนี้ต้องเข้ากับระบบเครื่องพิมพ์ได้ เช่นงาน 4 สีมีเพลท 4 แผ่นเป็นสี C M Y K (สี Process) และมากกว่า 4 สีหรือสี Spot เรียกติดปากกันว่า PANTONE (สีพิเศษที่ผสมสำเร็จ ไม่ได้เกิดจากการผสมระหว่างการพิมพ์จากแม่สี CMYK)
-ขนาดกระดาษพิมพ์ สำหรับแท่นพิมพ์
15.5"x21.5 | 21.5x31" | 17.5x24" | 24.5x35" | 18x25" | 25x36" | 28x40" | 31x43"
-งานพิมพ์ 5สี 4สี 3สี 2สี 1สี
-วิธีเลย์ (Layout) กลับนอก กลับในตัว กลับตีลังกา ในกรณีไม่ใช่หนังสือทำได้โดยใช้โปรแกรม Adobe Illustrator. ถ้าเป็นหนังสือมีโปรแกรม Layout ชื่อว่า Prep แต่ก่อนลงในโปรแกรมท Prep ต้องทำดัมมี่ Lay ก่อน โดยการพับกระดาษ เรโชเดียวกับหนังสือ พับบนลงล่าง ซ้ายไปขวา แล้วเขียนเลขหน้าเรียง แบบหนังสือเล่มจริง
-ขนาดเพลท (แม่พิมพ์)
ตัด4 ขนาด 650x550mm (นิยมใช้มาก) | ตัด2 พิเศษ (770x1030mm) | ตัด2 พิเศษ 790x1030mm | ตัด2 (29x36) | ตัด2 พิเศษ (800x1040mm)
-คลิปเปอร์ (เป็นระยะที่ตัวหนีบกระดาษของเครือ่งพิมพ์แต่ละโรงพิมพ์จับ ไม่เท่ากัน เช่น 2.5", 4cm ฯลฯ)
-ไลน์สกรีน (ระดับความละเอียดมีหน่วยเป็น Lpi เช่น 175Lpi) เราสามารถกำหนดได้โดยใช้โปรแกรม Rip ของ Kodak ชื่อว่า Evo
-ปรุ๊ปกระดาษ (Proof) ตัวอย่างงานเสมือนจริงก่อนคอนเฟิร์มพิมพ์
-รูปแบบเข้าเล่ม | เย็บมุงหลังคา | ไสกาว | เย็บกี่ 1 ยกต่อกี่ | เย็บกี่ 2 ยกต่อกี่
-ดำสี่เม็ด คือ สีดำที่เกิดจากการผสมแบบ Process CMYK เกิดเป็นสีดำไม่สนิท
-การทำ Spot UV คือการเคลือบเงาเฉพาะจุด วิธีการคือการ Draft จุดที่ต้องการด้วย Illustrator แล้วเติมสีดำสนิทลงไป โดยที่ Scale, Ratio งานทั้งหมดต้องเท่ากับงานต้นแบบ
บทความที่เกี่ยวข้อง "กว่าจะได้อ่านหนังสือ"
https://stanglibrary.wordpress.com/tag/ขั้นตอนการทำหนังสือ/
บทความทั้งหมดโดย xsci
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น