วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

BRICS 5 ประเทศพัฒนาเร็วร่วมมือก่อตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาแข่งกับ IMF

5 ประเทศกลุ่ม BRICS กลุ่มประเทศพัฒนาเร็ว
ภาพจาก www.newzimbabwe.com

BRICS เป็นอักษรย่อของกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วประกอบด้วย
B Brazil
R Russia
I India
C China
S South Africa
          ทั้ง 5 ประเทศกลุ่ม BRICS มีการพัฒนารวดเร็วมากจนประมาณปี พ.ศ. 2593 เศรษฐกิจของกลุ่ม BRICS รวมกันร่ำรวยมากกว่าประเทศที่ร่ำรวยในปัจจุบัน และ พื้นที่ประเทศทั้งห้ารวมกันแล้วมากกว่าหนึ่งในสี่ของแผ่นดินโลก จำนวนประชากรรวมกันมากกว่า 40% ของประชากรโลกอีกด้วย

          เมื่อกลางสัปดาห์ที่สองของเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2557 BRICS ได้ร่วมมือกันก่อตั้ง "ธนาคารเพื่อการพัฒนา" เช่นเดียวกับ "ธนาคารโลก หรือ IMF" ซึ่งนั่นก็คือคู่แข่งของธนาคารโลกได้เกิดขึ้นแล้ว ทำให้การผูกขาดทางด้านเงินทุนของธนาคารโลกที่มีกลุ่มประเทศตะวันตกผูกขาดอำนาจอยู่นั้นมีราคาต่อรองลดลง ซุ่งมันจะคอยจ้องฉกฉวยผลประโยชน์บนความเดือดร้อนของประเทศต่างๆ อยู่เป็นนิจ ในวันที่ 15 - 17 กรกฏาคม 2557 ที่ผ่านมากลุ่ม BRICS ได้มีการจัดประชุมสุดยอดครั้งที่ 6 หรือ "BRICS SUMMIT" ที่ประเทศบราซิล บรรดาผู้นำ 5 ประเทศยักษ์ใหญ่ได้ร่วมกันแสดงจุดยืนในการก่อตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศครั้งนี้อย่างแข็งแกร่ง

          ทั้งนี้ สถาบันการเงินแห่งใหม่ ซึ่งจะมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการในระยะเริ่มต้นว่า “New Development Bank” หรือ “NDB” ถูกระบุว่า จะมีเงินทุนแรกเริ่มราว 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ล้านดอลลาร์ในอนาคต โดยที่รัฐบาลทั้งของบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ จะควักกระเป๋าจ่ายเงินสมทบเข้าสู่ธนาคารแห่งใหม่นี้ในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน

          ขณะที่ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารหรือ “ซีอีโอ” คนแรกนั้น ที่ประชุมตกลงให้เป็นสิทธิ์ของอินเดีย ส่วนที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของเอ็นดีบีจะอยู่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ของจีนในส่วนของข้อตกลงตั้ง “กองทุนฉุกเฉิน” นั้น ที่ประชุมสุดยอดที่บราซิลเห็นพ้อง ให้ก่อตั้งขึ้นด้วยเงินทุนเริ่มต้น 100,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับรับมือความผันผวนทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น โดยรัฐบาลจีนจะรับหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ของกองทุนที่ว่านี้ ด้วยวงเงินราว 41,000 ล้านดอลลาร์ ตามมาด้วยบราซิล อินเดีย และรัสเซียอีกชาติละ 18,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนแอฟริกาใต้จะร่วมสมทบทุนราว 5,000 ล้านดอลลาร์
     
        จริงอยู่ที่ว่า อาจต้องใช้เวลาอีกกว่า 2 ปีกว่าที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่และกองทุนฉุกเฉินของ BRICS จะเริ่มดำเนินงานได้อย่างเป็นทางการ แต่ข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นก็ถือเป็น “ความหวังใหม่” สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่อาจได้มีโอกาสในการปลดแอกตัวเองจากการครอบงำของประเทศร่ำรวยในโลกตะวันตกที่ผูกขาดครองอำนาจในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกมาช้านาน และเชื่อว่าการที่ประเทศกำลังพัฒนาจะผนึกกำลังกัน “เลิกง้องอนตะวันตก” คราวนี้ คงสร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับสหรัฐฯและยุโรปไม่น้อยทีเดียว

ส่วนหนึ่งเรียบเรียงโดย xsci
manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000081260
http://th.wikipedia.org/wiki/BRICS

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น