อาเซียนได้มุ่งเน้นสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาคมเริ่มต้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 โดยเน้น 3 เสาหลักอันได้แก่
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC)
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC)
+มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
+ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
+ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
+ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
ดังนั้นสิ่งที่เราตื่นตัวในปัจจุบันก็คือ AEC เป็น 1 ในสามเสาหลักของอาเซียนที่สำคัญยิ่ง
สิ่งสำคัญในการปรับตัวรับกับการมาถึงของ AEC นั้นก็คือการศึกษาและควรจะศึกษาด้านอะไรบ้างอาจไม่ใช่เพียงภาษาอังกฤษเสียแล้ว และเราต้องเรียนรู้อะไรบ้างถึงจะรับมือกับ AEC ได้เป็นอย่างนี้ จุดนี้ให้เรายึดคติรู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เพื่อตั้งรับและรุก หรือรุกขณะรับได้
+มาเลเซีย ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 2500 นับถึงปี 2556 รวม 56 ปี มีพัฒนาการทางการศึกษาที่ก้าวหน้าอย่างไม่ธรรมดา การศึกษาของมาเลเซียได้การวางรูปแบบโดยอังกฤษใน พ.ศ. 2500
+สิงคโปร์ ประเทศที่แยกออกมาจากมาเลเซียเพิ่งได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 2508 นับถึงปี 2556 รวมเวลา 48 ปีผ่านมา แต่สิงคโปร์มีมหาวิทยาลัยอันดับแรก ๆ ของโลกและมีการจัดระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูงมากนับตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย แม้แต่โอบาม่ายังเคยกล่าวว่าการศึกษาในระดับ Middle School หรือ ป.6-ม.ปลาย ของสิงคโปร์มีคุณภาพเหนือกว่าอเมริกาเลยทีเดียว* สิงคโปร์จะเน้นส่งเสริมการศึกษาทุ่มทุนสูงเพื่อสร้างบุคคลากรให้มีคุณภาพสูงมาก ๆ โดยเน้นการวิจัยและการมีส่วนร่วมระหว่างเอกชนเพื่อตอบโจทย์ความต้องการได้ตรงจุด มีมหาวิทยาลัยทั้งหมด 6 แห่ง แต่มี 2 แห่งที่ติดอันดับ TOP 100 มหาวิทยาลัยดีเด่นของโลก ได้แก่ NUS : National University of Singapore กับ NTU : Nanyang Technogical Univesity
+ในปี 2519 เวียดนามที่ผ่านสภาวะสงครามยืดยื้อจนเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน บ้านแตกสาแหรกขาด ผู้คนล้มตายนับไม่ถ้วนเหตุการณ์เหล่านั้นผ่านพ้นมา 36 ปี การสร้างประเทศยิ่งกว่าเริ่มจากติดลบ แต่ปัจจุบันไทยเราต้องไปดูงานด้านการศึกษาที่นั่น ไทยเรามีกระแสกลัวเวียดนามแซงหน้าซึ่งต้องพูดอย่างตรงไปตรงมาทั้งในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา หรือด้านอื่น ๆ
+ประเทศไทยแลนด์แดนสยามไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใครเรามีเอกราชชาติสยามตลอดเวลาจนปัจจุบันกลับโดนประเทศน้องใหม่เหล่านั้นพัฒนารุดหน้าไปเรียกว่าไม่เห็นฝุ่นถ้าเทียบกับสิงคโปร์ ทั้งนี้ทั้งนั้นประเด็นนี้ผมไม่ได้จะดูถูกประเทศไทยเราเองเพียงแต่ว่ามันน่าตกใจที่ประเทศเราพัฒนาได้เชื่องช้ามากมายขนาดนี้ เพราะอะไรกัน? มีมหาวิทยาลัยของไทยแห่งหนึ่งที่ถูกจัดให้ติดอันดับโลกโดย Time ได้แก่ ม.พระจอมเกล้าธนบุรี ส่วนอันดับของเอเชีย ม.พระจอมเกล้าธนบุรี อันดับที่ 55, ม.มหิดล อันดับที่ 61, ม.จุฬาลงกรณ์ อันดับที่ 82
การพัฒนาการการศึกษาของไทยที่เห็นแล้วไม่ตรงเป้าไม่ว่าจะเป็นการแจกแทบแลตยังไม่เห็นผลของพัฒนาการที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบการการเรียนแบบเดิมหรือประกอบสื่อการเรียนอื่น ๆ การยุบโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งเป็นสถาบันที่ใกล้ชิดคนท้องถิ่น โรงเรียนขนาดเล็กมีเด็กน้อยมีครูสอนครูที่ดีก็มีโอกาสเข้าถึงนักเรียนได้ง่ายสอนเจาะจงได้ง่ายกว่า ซึ่งโดยมาตรฐานกำหนดให้ ครู 1 คนต่อผู้เรียน 45 คนซึ่งแน่นอนว่าดูแลไม่ทั่วถึง และการเปลี่ยนทรงผมจากตัดเกรียนเป็นไว้รองทรงการเอาอกเอาใจโดยการเปลี่ยนทรงผมตามแฟชั่นวัยรุ่น สิ่งเหล่านี้รัฐล้วนกระตือรือร้นทำ หรือแนวทางแบบนี้เรียกว่าพัฒนา
การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่มีเพียงในเอกสารไม่เน้นปฏิบัติ การเรียนการสอนในห้องเป็นไปอย่างลูกผีลูกคน เน้นให้นักเรียนไปกวดวิชาติวเตอร์ เพื่อเพิ่มช่องทางรายได้ให้ครูผู้สอนนอกเวลาทำงาน ถ้าเป็นโรงเรียนรัฐในระดับประถม หรือมัธยม มีผู้บริการอาวุโสเตรียมเกษียรอายุราชการอีก 5 ปีข้างหน้าหลายท่านหยุดนิ่งไม่พัฒนาใด ๆ เพียงเพื่อคิดว่าต้นเองใกล้เกษียรแล้วขี้เกียจแล้วรอรับเงินเดือนอย่างเดียว
การเลือกเรียนด้านครูเพื่อเข้าเป็นผู้สอนแบบตั้งใจ ใจรัก แบบมีจิตวิญญาณ หาได้น้อยเต็มทีคณะครุศาสตร์นี้และอาชีพนี้เป็นเพียงอาชีพที่เก็บตกเหลือเลือกเท่านั้น เพราะเหตุผลเดียวคือเงินเดือนน้อยซึ่งก็น้อยจริงถ้าเปรียบกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจบัน ถ้าเป็นวิทยาลัยสอนในระดับอาชีวะศึกษา ปวช.-ปวส. ครูอาจารย์ที่เข้ามาสอนก็ขาดการคัดกรองเอาเฉพาะคนทีมีความเก่ง มีความสามารถอย่างแท้จริง มาสอนด้วยการอ่านหนังสือให้นักเรียน นักศึกษาฟัง บอกจด ท่องจำ สอนตามตำราเล่มเดียวที่มี การให้เกรดเป็นไปตามอารมณ์ อคติ การประจบประแจง และสเน่หา ผมยกตัวอย่างจุดอ่อนด้านมืดที่มีในวงการศึกษาใช่ว่าเป็นการดูถูกแต่เราต้องยอมรับแก้แก้ไขมัน
การตื่นตัวด้านการศึกษาเพื่อรับ AEC ในปี 2558 สิ่งแรกที่นึกถึงคือเรื่องภาษาอังกฤษเท่าที่เห็นมีทั้งสถาบันการศึกษา บริษัท ห้างร้าน ผู้ประกอบการ ก็ฮิตกันเป็นเทรนเดียวกันว่า ต้องเรียนภาษาอังกฤษ แต่เรียนแล้วเราจะนำมาสื่อสารกับใคร เรามานั่งคิดกันหรือยังว่า ใน AEC ชาติไหนบ้างที่ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับเราบ้าง และมาดูกันว่าภาษาราชการแต่ละประเทศนั้นคือภาษาอะไร
ภาษาราชการแต่ละประเทศ
อินโดนีเซีย ใช้ภาษาอินโดนีเซีย
มาเลเซีย ใช้ภาษา มาลายู หรือ ยาวี
ประเทศฟิลิปลินส์ ใช้ภาษา ฟิลิปิโน่
ประเทศสิงคโปร์ ใช้ภาษา อังกฤษ จีน มาเล ทมิฬ ภาษาที่ใช้บ่อยคือ อังกฤษ
ประเทศบรูไน ใช้ภาษา บรูไน
ประเทศเวียดนาม ใช้ภาษา เวียดนาม
ประเทศลาว ใช้ภาษา ลาว
ประเทศพม่า ใช้ภาษา พม่า
ประเทศเขมร ใช้ภาษา เขมร
แต่ถึงอย่างไรก็กลับมีคำถามต่อไปว่าเราตื่นตัวแค่เรื่องภาษาอังกฤษอย่างเดียวใช่หรือไม่ แล้วนอกจากเรื่องภาษาแล้วเราเตรียมพร้อมด้านไหนอีกเพื่อรับมืออย่างเป็นผู้ทีได้เปรียบทางการค้า
เมื่อได้เห็นจุดอ่อนของเราเองแล้วเราก็น่าจะทราบดีว่าประเทศอื่นก็มองจุดอ่อนของเราเป็นโอกาส เช่นเดียวกัน ผู้เหนือกว่าจะเข้ามาลงทุนด้านการศึกษาอย่างแน่นอน โดยเฉพาะสิงคโปร์ที่มีโอกาสเข้ามาลงทุนด้านสถาบันการศึกษา ซึ่งนั่นเป็นทั้งวิกฤติและโอกาสในเวลาเดียวกัน โอกาสก็คือคนไทยได้มีโอกาสได้เข้าสู่สถาบันที่ระบบการศึกษามีมาตรฐานระดับโลก โอกาสที่สองคือเป็นการสร้างแรงผลักให้การศึกษาไทยได้ขยับตัวพัฒนาให้เท่าทันจุดนี้ผู้ที่เข้าศึกษาก็จะได้ประโยชน์ รัฐบาลไทยจะเห็นถึงความสำคัญแค่ไหนในการผลักดันงบประมาณแนะนโยบายในการแข่งขัน และสถาบันการศึกษาเอกชนก็ต้องพัฒนาและปรับตัวให้มาตรฐานสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่อย่างมาก ซึ่งต้องใช้เงินทุน และรัฐบาลเองนอกจากจะผลักดันในส่วนการศึกษาของรัฐแล้ว จะให้สถาบันเอกชนได้พึ่งพามากแค่ไหน
ที่ผ่านมาสถาบันการศึกษาทั้งรัฐและเอกชนเล็งเห็น วิกฤติและโอกาส พร้อมทั้งปรับตัวกันหรือไม่ ตอบได้เลยว่าแทบจะไม่ได้ขยับตัวไปอยู่ในตำแหน่งผู้นำสถาบันการศึกษาคุณภาพระดับเอชีย ซึ่งยังไม่ต้องคาดหวังถึงระดับโลก คล้ายฟุตบอลไทยนั่นเอง เลยถ้าเทียบกับจำนวนหรือบ้านเราเน้นแค่ปริมาณ ปัจจุบันมี มหาวิทยาลัยรัฐทั้งหมด 27 แห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 40 แห่ง แต่กลับมีมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ติดอันดับมหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลกเพียงแห่งเดียว อันดับที่ 389 จากทั้งหมด 400 อันดับหรือว่าบ้านเราเน้นปริมาณเพียงอย่างเดียวโดยไม่สนใจคุณภาพ
เขียน / เรียบเรียง : xsci
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ภาษาในประเทศต่าง ๆ
http://www.ceted.org/tutorceted/language.html
โอบาม่ากล่าวถึงการศึกษาสิงคโปร์
http://www.nytimes.com/2009/03/10/us/politics/10text-obama.html?pagewanted=all&_r=0
การศึกษาของเวียดนาม
http://blog.eduzones.com/tonsungsook/106556
ประวัติ 10 ประเทศอาเซียน
http://hilight.kapook.com/view/67028
เปรียบเทียบประเทศเวียดนามและประเทศไทย ด้านการศึกษา , ภาษาและการลงทุน ใน AEC
http://www.seminarwinyuchon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539375628
อันดับมหาลัยในสิงคโปร์
http://javaboom.wordpress.com/2013/05/21/singapore-university-ranking-2013-part01/
อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก
http://education.kapook.com/view48825.html
ระบบการศึกษาของมาเลเซีย
http://www.gotoknow.org/posts/200549