วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ISS

           สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) เป็นห้องทดลองและสถานอำนวยความสะดวกสำหรับงานค้นคว้าวิจัยในระดับนานาชาติซึ่งถูกประกอบขึ้นในวงโคจรต่ำของโลก การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 และมีแผนดำเนินการเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2012 ขณะที่การปฏิบัติการจะดำเนินต่อไปอย่างน้อยจนถึงปี ค.ศ. 2020 หรืออาจเป็นไปได้ถึงปี ค.ศ. 2028 เราสามารถมองเห็นสถานีอวกาศนานาชาติได้ด้วยตาเปล่าจากพื้นโลก เนื่องจากสถานีอวกาศแห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดที่อยู่ในระดับวงโคจรของโลก โดยมีมวลมากกว่าสถานีอวกาศใดๆที่มนุษย์เคยสร้างมาก่อนหน้านี้ทั้งหมด สถานีอวกาศนานาชาติทำหน้าที่เป็นห้องทดลองวิจัยอย่างถาวรในอวกาศ ทำการทดลองด้านต่าง ๆ ได้แก่ ชีววิทยา ชีววิทยามนุษย์ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ และ อุตุนิยมวิทยา ซึ่งต้องอาศัยการทดลองในสภาวะที่มีแรงโน้มถ่วงน้อยมากๆ สถานีอวกาศแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นสถานที่ทดสอบสำหรับระบบกระสวยอวกาศที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้สำหรับปฏิบัติการระยะยาวเพื่อการไปสู่ดวงจันทร์และดาวอังคาร การทดลองและการบริหารสถานีอวกาศนานาชาติดำเนินการโดยคณะนักบินอวกาศซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในระยะยาว สถานีเริ่มปฏิบัติการนับแต่ลูกเรือถาวรคณะแรก คือ เอ็กซ์เพดิชั่น 1 ที่ไปถึงสถานีอวกาศตั้งแต่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 จนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011 คณะลูกเรือชุด เอ็กซ์เพดิชั่น 28 อยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ นับรวมแล้วปฏิบัติการนี้ได้ดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 10 ปี และถือเป็นสถิติการอยู่อาศัยของมนุษย์ในอวกาศโดยไม่ขาดความต่อเนื่องที่ยาวนานที่สุดอีกด้วย

            ตัวสถานีอวกาศนานาชาติประกอบด้วยสถานีอวกาศในโครงการต่าง ๆ ของหลายประเทศ ซึ่งรวมไปถึง เมียร์-2 ของอดีตสหภาพโซเวียต, ฟรีดอม ของสหรัฐ, โคลัมบัส ของชาติยุโรป และ คิโบ ของญี่ปุ่น งบประมาณจากแต่ละโครงการทำให้ต้องแยกออกเป็นโครงการย่อย ๆ หลายโครงการก่อน แล้วจึงนำไปรวมกันเป็นสถานีนานาชาติที่เสร็จสมบูรณ์ในภายหลัง โครงการสถานีอวกาศนานาชาติเริ่มต้นปี ค.ศ. 1994 จากโครงการกระสวยอวกาศ เมียร์ โมดูลแรกของสถานีอวกาศนานาชาติคือ ซาร์ยา ถูกส่งขึ้นในปี ค.ศ. 1998 โดยประเทศรัสเซีย หลังจากนั้นได้มีการเชื่อมต่อกันหลายครั้งด้วยโมดูลที่ได้รับการปรับความดันอย่างซับซ้อน โครงสร้างภายนอกสถานี และองค์ประกอบอื่นๆ ที่นำส่งขึ้นโดยกระสวยอวกาศของสหรัฐอเมริกา จรวดโปรตอนของรัสเซีย และจรวดโซยูสของรัสเซีย นับถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2010 สถานีอวกาศมีชิ้นส่วนโมดูลปรับความดัน 13 โมดูล ติดตั้งอยู่บนโครงค้ำหลัก (Integrated Truss Structure; ITS) ระบบไฟฟ้าของสถานีมาจากแผงรับแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ 16 แผงติดตั้งอยู่บนโครงสร้างภายนอก และมีแผงขนาดเล็กกว่าอีก 4 แผงอยู่บนโมดูลของรัสเซีย สถานีอวกาศนานาชาติลอยอยู่ในวงโคจรที่ความสูงระดับ 278-460 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเฉลี่ย 27,724 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โคจรรอบโลก 15.77 รอบต่อวัน

          สถานีอวกาศนานาชาติเป็นโครงการร่วมกันระหว่างหน่วยงานด้านอวกาศ 5 หน่วยจากชาติต่างๆ ได้แก่ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA, สหรัฐอเมริกา) องค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซีย (RKA, รัสเซีย) องค์การอวกาศแคนาดา (CSA, แคนาดา) องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA, ญี่ปุ่น) และองค์การอวกาศยุโรป (ESA, สหภาพยุโรป) การระบุความเป็นเจ้าของและการใช้สอยสถานีดำเนินการภายใต้สนธิสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับ โดยที่รัสเซียเป็นเจ้าของชิ้นส่วนโมดูลของรัสเซียเองโดยสมบูรณ์  ESA ประเมินค่าใช้จ่ายของโครงการสถานีอวกาศนานาชาติอยู่ที่ประมาณ 100,000 ล้านยูโรตลอดช่วงระยะเวลา 30 ปี ด้วยงบประมาณมหาศาลนี้ทำให้โครงการกระสวยอวกาศนานาชาติตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์มากมายทั้งในด้านการเงิน ความสามารถในการทำวิจัย และการออกแบบทางเทคนิค

          ส่วนต่างๆ ของสถานีถูกควบคุมโดยศูนย์ควบคุมปฏิบัติการบนพื้นโลกหลายแห่ง รวมไปถึง ศูนย์ควบคุมปฏิบัติการของนาซา (MCC-H) ศูนย์ควบคุมปฏิบัติการของ RKA (TsUP) ศูนย์ควบคุมโครงการโคลัมบัส (Col-CC) ศูนย์ควบคุม ATV (ATV-CC) ศูนย์ควบคุมปฏิบัติการของญี่ปุ่น (JEM-CC) และศูนย์ควบคุมปฏิบัติการสำคัญอื่นๆ (HTV-CC และ MSS-CC) การซ่อมบำรุงสถานีอวกาศนานาชาติดำเนินการโดยกระสวยอวกาศทั้งแบบที่ใช้มนุษย์และไม่ใช้มนุษย์ควบคุม รวมถึงกระสวยอวกาศโซยูส กระสวยอวกาศโพรเกรส ยานขนส่งอัตโนมัติ และ ยานขนส่ง H-II มีนักบินอวกาศและนักสำรวจอวกาศจากประเทศต่างๆ 15 ประเทศได้ขึ้นไปเยี่ยมชมแล้ว

 Agency ISS websites

    Canada Canadian Space Agency
    Not the esa logo.png European Space Agency
    France Centre national d'études spatiales (National Centre for Space Studies)
    Germany German Aerospace Centre
    Italy Italian Space Agency
    Japan Japan Aerospace Exploration Agency
    Russia S.P. Korolev Rocket and Space Corporation Energia
    Russia Russian Federal Space Agency
    United States National Aeronautics and Space Administration

Research

Live viewing

Multimedia


     ขอบคุณข้อมูล th.wikipedia.org

     ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ
  : โลกทรงกลม , สถานีอวกาศนานาชาติ , mthai


วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Trinity College Library



Trinity College Library ห้องสมุดที่สวยอันดับต้นๆของโลกเป็นของ Trinity College และ University of Dublin ประเทศไอร์แลนด์ สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1,592 เป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไอร์แลนด์ ภายในห้องสมุดมีหนังสือกว่า 5,000,000 เล่ม

เว็บไซต์ห้องสมุด http://www.tcd.ie/Library/

ฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่บาง 5mm. สำหรับแท็บเล็ต Ultra Mobile hard drive

ฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่บางที่สุด สำหรับแท็บเล็ต




          Ultra Mobile hard drive ฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่สำหรับตลาดกลุ่มอุปกรณ์แท็บเล็ตและอัลตราบุ๊ค ความจุตั้งแต่ 500GB ขึ้นไป ฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ SATA ขนาด 2.5 นิ้ว หมุนที่ความเร็ว 5,400 RPM บางเฉียบแค่ 5 มิลลิเมตร หนัก 94 กรัม

          Seagate ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ชื่อดัง ได้เปิดตัว Ultra Mobile hard drive ซึ่งถือได้ว่าบางกว่าที่มีขายในท้องตลาดปัจจุบันถึง 30% นอกจากนี้มันถูก optimize ให้ทำงานบนแท็บเล็ต แถมยังบริหารจัดการเรื่องการสั่นสะเทือน, ความร้อน, และ gyroscopic motion เพราะเค้าใส่ zero-gravity sensors (ZGS) มาให้ด้วย ส่วนเรื่องราคาและการวางจำหน่ายยังไม่ได้ถูกประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ

www.apzonliner.lnwshop.com

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีก้าวหน้าในปี 2013 technology 2013

          ปี 2013 เป็นปีแห่งความก้าวหน้าทางนวัตกรรมสูงมากอีกปี เทคโนโลยีหลายด้านแข่งขันกันพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมาก เช่น จอ Talet บางและงอได้เหมือนกระดาษที่สามารถโต้ตอบได้


          ด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคม - มี Tablet จอทัชสกรีนโค้งงอได้ บางเบาเช่นกระดาษ พัฒนาโดยมัลติมีเดียแลป ควีนยูนิเวอร์ซิตี้ ในออนทาโร ประเทศแคนนาดา เปเปอร์เแทป มีความละเอียดสูงในขนาด 10.7 นิ้ว  หน้าจอเป็นพลาสติคทัชสกรีน ผลิตโดย บ. :Plastic Logic  แห่งมหาลัยแคมบริจ โดยใช้ Intel core i5

processor

-slashdot.org/story/13/01/10/0040222/canadian-researchers-debut-papertab-the-paper-thin-tablet
-myhappyoffice.com/index.php/2013/02/paper-tablet/

ไทยทดสอบ OPLOT TEST 5 คันแรก

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

8 ข้อคิดเพิ่มประสิทธิภาพหัวหน้างาน - empower leadership

      ยิ่งบริษัทขยายตัวมาก ขึ้นเท่าไหร่ ดูเหมือนว่าสิ่งต่างๆ ก็เริ่มไหลเข้ามามากขึ้น ตั้งแต่อีเมล เอกสาร การประชุม ไปจนถึงพนักงาน เมื่อเรามาถึงจุดหนึ่งที่ไม่สามารถดูแลได้ทุกสิ่งทุกอย่าง เราควรแน่ใจก่อนว่าจะให้เวลากับสิ่งใดบ้าง ประสบการณ์ที่เราได้รับการบอกเล่าทั้ง 8 ประการต่อไปนี้เป็นของเจ้าของกิจการรุ่นใหม่ๆ ที่เจอปัญหาคล้ายๆ กัน เราเชื่อว่าบางข้อน่าจะเป็นประโยชน์กับคุณ

1. อย่าบั่นทอนเวลางาน ด้วยตารางงาน
Jason Fried ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท 37 Signals เล่าให้เราฟังว่า “ถ้าเป็นไปได้เราจะไม่ค่อยเรียกประชุมถ้าไม่จำเป็น เพราะส่วนตัวผมเองไม่ชอบการประชุม มันทั้งเปลืองและเสียเวลาเปล่า และกลายเป็นว่าเวลาประชุมเหล่านั้นคอยเฉือนเวลาว่างของเราออกให้เป็นห้วงๆ จนเหลือตรงนั้น 20 นาที ตรงนี้ 45 นาทีตลอดเวลาจนแทบทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันไม่ค่อยได้เลย เวลาสร้างสรรค์งานบางทีมันจำกัดเวลาลงไม่ได้ อีกอย่าง ก็คือ ถ้ารู้ว่ามีเวลาแค่ภายใน 20 นาที คุณก็คงคิดอะไรไม่ออกอยู่ดี”
“ผมไม่ตั้งนาฬิกาปลุกแต่พยายามตื่นเอง ไม่ได้หยิบโทรศัพท์มือถือมาดูว่ามีอีเมลเข้ามาหรือไม่ทุกเช้า และแทนที่ผมจะทำอย่างนั้น ผมจะไปชงชา จัดการทุกอย่างให้เรียบร้อยเสียก่อนแล้วจึงมาเริ่มงาน เพราะผมขยาดกับกิจวัตรเดิมๆ ของระบบออฟฟิศหรือองค์กรที่ต้องไปใช้เวลาที่มีอยู่จำกัด 40 ชั่วโมงหมดไปกับการประชุม แล้วสุดท้ายแล้วก็ไม่มีเวลาพอ”

2. คลุกตัวกับข้อมูลให้เต็มที่
ผู้เริ่มต้นธุรกิจส่วนมากจะให้เวลากับการวิเคราะห์ข้อมูล แต่ที่ Kayak.com ไม่ใช่แค่ผู้บริหารเท่านั้นที่วันๆ ต้องตามดูตัวเลขสำคัญๆ ต่างๆ ที่เกี่ยวของกับธุรกิจ เขาก้าวล้ำไปกว่านั้นด้วยการสอนให้พนักงานรู้จักและเข้าใจตัวเลขต่างๆ บางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และพัฒนาบริการด้วย
“เรามีจอมอนิเตอร์ถึงสี่จอเพื่อดูข้อมูลของเว็บไซท์ว่ามีคนเข้าชมอยู่กี่คน แล้ว มีอีเมลจากลูกค้าเข้ามาบ้างไหม รวมทั้งการให้บริการลูกค้าว่าพนักงานคนไหนบ้างที่ดูแลเรื่องนี้อยู่ ข้อมูลทั้งหมดนี้ทำให้รู้ได้เลยว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น และทำให้เราสามารถจัดการทุกปัญหาได้ถูกที่ถูกเวลามากขึ้น”

3. เข้าหาลูกทีม เพื่อเข้าใจลูกทีม
Marc Lore ผู้ก่อตั้งธุรกิจขายผ้าอ้อมสำหรับเด็กออนไลน์ Diapers.com ที่เฉพาะยอดจำหน่ายในปีที่แล้วมีมูลค่ารวม 90 ล้านเหรียญฯ เล่าว่า
“ในขณะที่บริษัทกำลังขยายตัวขึ้น ปีนี้ผมกำลังจะจ้างพนักงานเพิ่มอีก 40 คนสำหรับการขยายตัวครั้งนี้ แต่พนักงานอีกหลายๆ คน โดยเฉพาะพนักงานใหม่ๆ จะยังไม่เข้าใจว่า ทำไมเราถึงตัดสินใจไปอย่างนั้น ผมเลยเริ่มใช้เวลาเดินไปๆ มาๆ ในออฟฟิศวันละประมาณ 5-6 รอบ เพียงเพื่อจะได้คุยกับทุกๆ คนให้ได้มากที่สุด เพื่อจะได้รู้ว่าพวกเขาติดขัดอะไรตรงไหนบ้าง หรือช่วยขยายความให้เป้าหมายของงานที่กำลังจะทำชัดเจนขึ้น ด้วยวิธีนี้ผมรู้สึกดี ดีกว่านั่งอยู่ที่โต๊ะอย่างเดียว”

4. ลดเวลากับอีเมลลง
Matt Mullenweg ผู้ก่อตั้ง WordPress ค้นพบบางอย่างที่รบกวนเวลาการสร้างสรรค์งานของเขา
“เราเสียเวลาไปกับการนั่งเช็คอีเมลอยู่เป็นจำนวนมากทุกวัน ผมรู้ตรงนี้เพราะผมเคยตั้งโปรแกรมให้เช็คดูว่าผมใช้เวลาไปกับอะไรบ้าง และผลก็ปรากฎว่าเวลาที่ใช้ไปรวมๆ กันแล้วเยอะที่สุดก็คือการนั่งอ่านอีเมลเหล่านี้ แม้ว่าผมรู้สึกเหมือนจะใช้เวลาไปไม่กี่นาที แต่จริงๆ มันกินเวลาไปตั้งหลายชั่วโมงของวันเลยทีเดียว ผมเลยต้องลดเวลาตรงนี้ลงเสียบ้าง”

5.รักษาภาพลักษณ์ความเป็นมิตรเอาไว้ให้สม่ำเสมอ
Essie Weingarten ผู้ก่อตั้ง Essie Cosmetic เลือกไม่จ้างเลขานุการ แม้ว่าธุรกิจของเธอจะมียอดขายถึง 150 ล้านเหรียญฯ ต่อปีก็ตาม เธอให้เหตุผลกับเราว่า “ผู้คนคิดว่า หลายคนมองว่าฉันแปลกที่พยายามรับสายโทรเข้าให้ได้เสมอๆ อันที่จริงส่วนใหญ่กริ๊งเดียวฉันก็รับแล้ว แต่นั่นเป็นภาพลักษณ์ที่ฉันมองว่าสำคัญนะ ฉันสนใจสิ่งที่คนอื่นพูดเสมอ และยิ่งเมื่อบริษัทโตขึ้นไปเรื่อยๆ เรื่องพวกนี้ยิ่งหยุดทำไม่ได้เลยทีเดียว”

6. แต่ละคนแก้ปัญหาไม่เหมือนกัน
Kim Kleeman ผู้ก่อตั้งบริษัทด้านสื่อการสอน  Shakespere Sqaured ได้เล่าให้เราฟังว่า “ความเครียดเป็นเรื่องใหญ่ ดิฉันก็เลยชอบที่จะถามคนที่มาสัมภาษณ์ไปว่า คุณมีวิธีรับมือ หรือจัดการกับความเครียดอย่างไรบ้าง คุณขังตัวเองในห้องน้ำแล้วปล่อยโฮหรือเปล่า? หรือจะขอลาหยุดพักร้อน? ไม่สำคัญว่าคำตอบคืออะไร แค่ฉันอยากตั้งรับมันเสียตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ใช่ไปเจอคำตอบตอนไกล้เดตไลน์ คุณกำลังจะแย่ และฉันกำลังจะต้องพังตามไปเท่านั้นเอง”

7. นึกถึงธุรกิจของคุณไปด้วยเสมอเวลาอ่านอะไรก็ตาม
Sam Caglione ผู้ก่อตั้ง Dog Fish Craft Brewery เป็นคนชอบอ่านหนังสือ และแสวงหาไอเดียใหม่ๆ อยู่เสม
“เวลาผมอ่านหนังสือแล้วเหมือนเจออะไร ผมก็จะพับคั่นหน้าหนังสือเสมอๆ ต่อให้ที่ผมกำลังอ่านอยู่นั้นเป็นนิยายก็ตาม ถ้าผมพับกลับไปข้างหน้า นั่นแปลว่ามันต้องมีไอเดียที่ผมเอาไปใช้กับธุรกิจของผมได้ แต่ถ้าผมพับลง มันแปลได้ว่าเกี่ยวข้องกับความรู้สึก สิ่งที่เขียนต่างๆ มักจะเป็นแนวคิดที่ไม่ยึดติดกับตัวเอง ทุกคำพูดที่ผมได้อ่าน ผมจะกลั่นกรองผ่านความคิดด้านธุรกิจเหมือนกัน อาจจะฟังดูแปลกๆ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ช่วยก่อร่างวิธีทำธุรกิจของผมมาแต่ไหนแต่ไร”

8. จ้างคนที่คุณเชื่อใจ และปล่อยให้พวกเค้าทำงานไป
Bob Parsons ผู้ก่อตั้ง GoDaddy บอกกับผมว่า “หลายคนมองและคิดว่าชีวิตผมในแต่ละวันต้องวุ่นวายมาก แน่ๆ แต่ที่จริงแล้วไม่เลย ผมมีเวลาเท่าที่ผมต้องการ อยากอยู่ที่ไหนก็ได้ที่ผมอยาก เพราะผมประสบความสำเร็จทุกอย่างโดยให้คนอื่นทำงานแทนให้ ผมเชื่อใจในฝีมือ และสิ่งที่พวกเขาทำ มันจึงไม่สำคัญหรอกว่าผมจะอยู่ที่ออฟฟิศหรือไม่ แต่ความเชื่อใจของผมที่ให้กับทีมงานเป็นเรื่องสำคัญกว่า และนั่นทำให้ผมมีเวลามากพอที่จะทำอะไรมากขึ้นด้วย”

Cr: http://incquity.com

“สหรัฐฯ”โต้ “ฮิวแมนไรท์วอช” อ้าง “ปฎิบัติการโดรน” ไม่ขัดกฏหมายระหว่างประเทศ - uav killer

“สหรัฐฯ”โต้ “ฮิวแมนไรท์วอช” อ้าง “ปฎิบัติการโดรน” ไม่ขัดกฏหมายระหว่างประเทศ - “ชารีฟ” ร้องให้ยุติใช้โดรนโจมตีในปากีสถาน



เอเจนซีส์ - สหรัฐฯได้กล่าวปฎิเสธข้อกล่าวหาที่ว่า “ปฎิบัติการโดรน” ในเยเมนและปากีสถานหรือที่อื่นที่สหรัฐฯได้ใช้เพื่อสังหารเครือข่ายก่อการร้ายอัลกออิดะห์นั้น “ขัดกฏหมายระหว่างประเทศ” ตามที่องค์กรนิรโทษสากลและกลุ่มสิทธิมนุษยชนได้กล่าวหาก่อนหน้านี้ และในวันอังคาร(22) นายกรัฐมนตรีปากีสถาน นาวาซ ชารีฟ เรียกร้องให้สหรัฐฯยุติปฎิบัติการโดรนในปากีสถาน อ้างหากดำเนินต่อจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศ ในการขึ้นพูดที่ US Institute of Peace (USIP)

การปฎิเสธของสหรัฐฯในครั้งนี้มีขึ้นหลังจากองค์กรนิรโทษสากลและกลุ่มสิทธิมนุษยชนได้กล่าวหาถึงโครงการโดรนล่าสังหารที่สหรัฐฯใช้เพื่อตอบโต้เครือข่ายอัลกออิดะห์ในเยเมนและปากีสถานหรือที่อื่นๆนั้น “ขัดกฏหมายระหว่างประเทศ” ซึ่งความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีขึ้นก่อนที่นายกรัฐมนตรีปากีสถาน นาวาซ ชารีฟ จะนำเรื่องนี้เข้าหารือกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ที่ทำเนียบขาว ในวันพุธ(23) นอกเหนือจากเรื่องร้อนๆที่สหรัฐฯกล่าวหาปากีสถานว่า แอบช่วยกลุ่มก่อการร้ายตอลีบานอยู่ลับๆ ซึ่งในการพบปะครั้งนี้ สหรัฐฯมีแผนที่จะให้การช่วยเหลือปากีสถานด้วยตัวเลข 1.6 พันล้าน โดยก่อนหน้านี้ในวันอังคาร(22)ชารีฟขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ที่ US Institute of Peace (USIP) ได้เรียกร้องให้สหรัฐฯยุติปฎิบัติการโดรนในปากีสถาน โดยทางชารีฟกล่าวว่า “โดรนนั้นเป็นต้นเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีของปากีสถานและสหรัฐฯต้องสั่นคลอน ดังนั้นผมจึงขอยืนยันอย่างหนักแน่นในความต้องการให้ยุติโครงการนี้เสีย”

ทางด้านโฆษกทำเนียบขาว เจน์ คาร์นีย์ กล่าวว่า “เรากำลังพิจารณารายงานของกลุ่มฮิวแมนไรท์วอชอย่างถี่ถ้วน” นอกจากนี้ คาร์นีย์ยังกล่าวต่อไปว่า “เมื่อดูจากรายงานขององค์กรนิรโทษสากลและกลุ่มสิทธิมนุษยชนที่อ้างว่าสหรัฐฯได้ละเมิดกฏหมายระหว่างประเทศนั้น สหรัฐฯขอยืนกรานปฎิเสธอย่างสิ้นเชิง ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบได้พิจารณาอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วนเป็นพิเศษว่าปฎิการต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯนั้นอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายที่กำหนดไว้”

นอกจากนี้ คาร์นีย์ยังเสริมด้วยว่า ปฎิบัติการโจมตีทางอากาศที่สหรัฐฯใช้ในการจัดการสังหารผู้ต้องสงสัยก่อการร้ายแทนที่จะส่งกำลังทหารหรือการใช้อาวุธประเภทอื่นนั้น ทางวอชิงตันได้เลือกทางปฎิบัติที่จะส่งผลข้างเคียงน้อยที่สุดที่จะไม่ให้มีการสูญเสียชีวิตกับพลเรือน”

โดยก่อนหน้านี้ในวันอังคาร(22) ทางองค์กรนิรโทษสากลและกลุ่มสิทธิมนุษยชนได้ร่วมกันเรียกร้องให้สภาคองเกรสของสหรัฐฯสอบสวนอย่างละเอียด พร้อมกับแสดงถึงหลักฐานที่หลายครั้งรัฐบาลสหรัฐฯได้ใช้อากาศยานไร้คนขับในปฎิบัติการต่อต้านก่อการร้ายละเมิดกฏหมายระหว่างประเทศ

โดยทางกลุ่มฮิวแมนไรท์วอชได้เจาะจงไปที่ปฎิบัติการใช้โดรนในเยเมนจำนวน 6 ครั้ง สังหารประชาชนในเยเมน ในปี 2009 และอีก 5 ครั้งในปี 2012-2013 โดยทำให้ชาวเยเมนเสียชีวิตไป 82 คน และยังพบว่า มีจำนวนถึง 57 คนหรือ70% ของจำนวนทั้งหมดที่เสียชีวิตนั้นเป็นพลเรือน และการวิเคราะห์ของหน่วยงานเอ็นจีโอแห่งนี้พบว่า “การโจมตี 2 ครั้งจากทั้งหมด 6 ครั้งนั้นขัดกฎหมายระหว่างประเทศ” และนอกจากนี้ การโจมตีทั้งหมดที่ทั้ง 6 ครั้งนั้นยังไม่เป็นไปตามนโยบายของโอบามาที่ได้แถลงไว้ในเดือนพฤษภาคม ต้นปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ในรายงานขององค์กรนิรโทษสากล ที่ได้เจาะจงไปที่ปฎิบัติการโดรนจำนวน 9 ครั้งจากจำนวนทั้งหมด 45 ครั้งในแถบทางตอนเหนือของวาซิริสถาน ปากีสถาน ช่วงระหว่างเดือนมกราคม 2012 จนถึงเดือนสิงหาคม 2013 เป็นแถบที่สหรัฐฯมุ่งโจมตีกลุ่มก่อการร้ายในปากีสถานอย่างหนักหน่วง โดยรายงานขององค์กรได้เจาะจงไปที่กรณีของ “ มามานา บีบี” ชาวปากีสถาน วัย 68 ปี ที่ถูกสังหารด้วยปฎิบัติการโดรนของสหรัฐฯในเดือนตุลาคม 2012 ในระหว่างที่เธอกำลังเก็บผักอยู่กับหลาน และรายงานฉบับนี้ยังได้วิเคราะห์ถึงการโจมตีของโดรนแบบ “double-tab” หรือการที่จรวดมิสไซล์ลูกที่สองจะถูกปล่อยออกตามลูกแรกหากพบว่าเป้าหมายสังหารนั้นได้รับการช่วยเหลือจากชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม ทางองค์กรไม่ได้รายงานถึงตัวเลขที่แน่นอนของพลเมืองที่เสียชีวิตจากการถูกสังหารด้วยโดรน

โดยในสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ทางยูเอ็นได้มีการประเมินตัวเลขผู้เสียชีวิตในปากีสถานและเยเมนจากปฎิบัติการโดรนของสหรัฐนั้นพบว่า มีตัวเลขพลเรือนปากีสถานเสียชีวิตอย่างน้อย 400 คน และมีจำนวนพลเรือนหลายสิบคนในเยเมนที่เสียชีวิต

ที่มา : manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000132834

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

firefox ดู youtube ไม่มีเสียง

http://get.adobe.com/flashplayer/?promoid=JZEFT

การติดตั้งวินโดว์ใหม่ หรือแม้ว่าอยู่ดี ๆ firefox อาจไม่มีเสียงปัญหาเกิดจาก flashplayer ที่ทำหน้าที่อ่านไฟล์เสียงมีปัญหา แก้ไขได้โดยการติดตั้ง Adobe Flash Player ใหม่ ซึ่งเป็น Version ใหม่ตามลิ้งด้านบน และวิธีการด้านล่าง


วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สุรินทร์ แฉไทยหลุมดำอาเซียน เหตุโกงมากที่สุด

 

       เมื่อวันที่ 12 ต.ค. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ประธานสถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย แถลงว่า จากการที่สถาบันออกแบบประเทศไทย ได้ศึกษาถึงแนวทางการแก้ปัญหาของประเทศ ทำให้พบข้อมูลว่า วันนี้มีความน่าเป็นห่วงปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ที่ทำให้ประเทศไทยเป็นหลุมดำ ทำให้นักลงทุนต่างประเทศวิตก ส่งผลกระทบต่อเงินลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศลดลงถึง 1.8 แสนล้านบาท ซึ่งจะเป็นจุดที่ทำให้ประเทศไทยที่เคยมีภาวะเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาค ตกลงไปอยู่ในอันดับ 4 เนื่องจากปัญหาการคอร์รัปชั่นที่มากที่สุดในประเทศอาเซียน เนื่องจาก 10 ปีที่ผ่านมา ไทยไม่สามารถขจัดปัญหาคอร์รัปชั่นได้ และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ซึ่งมีองค์กรต่าง ๆ สำรวจพบว่า พรรคการเมืองเป็นต้นตอการคอร์รัปชันมากที่สุด รวมถึงสื่อมวลชนไม่สามารถเป็นกระจกสะท้อนคอร์รัปชันได้
          นายสุรินทร์ กล่าวต่อว่า จากผลสำรวจของเอแบคโพลและสวนดุสิตโพล ถึงทัศนคติคนไทยต่อปัญหาคอร์รัปชัน พบว่าเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี กว่า 70 เปอร์เซ็น เห็นด้วยและยอมรับการคอร์รัปชันได้หากได้ประโยชน์ด้วย และจากการสำรวจทรัพยากรจากงบประมาณแหล่งเงินและโอกาสต่าง ๆ พบว่าเราสูญเสียเงินในส่วนนี้ปีละ 1 แสนล้านบาท ถือว่าเป็นมะเร็งร้ายที่ทำลายความสามารถแข่งขันของประเทศ และทำให้ไทยตามใครไม่ทัน เพราะใช้งบประมาณรั่วไหลจากการทุจริต ที่สำคัญจากการศึกษาขององค์กรโปร่งใสนานาชาติพบว่า 1 ใน 6 ของคนไทย ยอมรับว่าเคยมีส่วนจ่ายสินบนหรือมีส่วนทุจริตคอร์รัปชันด้วย จึงทำให้เกิดปัญหาหลุมดำในประเทศไทยคือ 1.นักลงทุนไม่เข้ามาลงทุน และหันไปลงทุนในประเทศเล็กๆ เพราะเป็นหลุมสว่างมากกว่า ไม่มีทุนคอร์รัปชัน 30-40% 2.หลุมดำนี้จะทำให้โครงการต่างๆ ของอาเซียนต้องชะงักลง เพราะไทยเป็นจุดศูนย์กลางหนึ่งของภูมิภาค 3.สมรรถนะการของไทยจะลดลง
          ”ผมขอเตือนสติว่าเรากำลังกลายเป็นกับดักของทุกสิ่ง จะเป็นภัยพิบัติของตัวเองและภูมิภาค ถ้าเราล้มจะส่งผลต่อภูมิภาคด้วย เราเป็นไข่แดงของภูมิภาค สิ่งที่จะทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวคือการคอร์รัปชัน จึงอยากใหทุกฝ่ายตื่นตัวร่วมกันแก้วิกฤติ บังคับใช้กฎหมายคอร์รัปชันตรงไปตรงมา ไม่ทำแบบลูบหน้าปะจมูก มีการลงโทษจริงจัง ทำตามข้อตกลงในการต่อต้านคอร์รัปชันในภูมิภาคอาเซียนที่ไทยร่วมลงนามด้วย รวมถึงไทยควรเข้าไปเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อให้เป็นมาตรวัดกระตุ้นให้ไทยแก้ปัญหามะเร็งร้ายได้ และ 3.ต้องเปลี่ยนทัศนคติของคนไทยในการคอร์รัปชัน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ไม่เช่นนั้นจะทำให้ไทยล่มจม เป็นหลุมดำ และอนาคตเยาวชนจะเป็นผู้รับบาป เพราะการไม่เอาจริงเรื่องคอร์รัปชันของคนในรุ่นปัจจุบัน ที่สำคัญสื่อมวลชนจะต้องเป็นกระจกเงาสะท้อนปัญหาให้ชัดเจนมากขึ้น เพราะสื่อมวลชนคือสาเหตุหนึ่งของความอ่อนเปลี้ยในการแก้ปัญหาทุจริต” นายสุรินทร์ กล่าว.

#‎ข่าวเดลินิวส์‬ ‪#‎ภาพเดลินิวส์‬ ‪#‎แถลงที่พรรค‬ @democrat_party ‪#‎บุคลากรคุณภาพระดับอาเซียน‬

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ศาสนาพุทธสอนเรื่องการดับทุกข์ การทรมานร่างกายไม่ใช่หนทางพ้นท์ที่แท้จริง!! ไม่มีคำสอนบทใดสอนให้สาวกทรมานร่างกายเพื่อพ้นทุกข์


 ถ้าบุญที่ได้ ต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวดทรมานขนาดนี้.. ?
ขออยู่แบบไม่มีบุญดีกว่า
ถ้าโลกสวยจะด่า ตอบกูก่อนนะว่า..
- มึงนับถือ ศาสนาอะไร ?
- ถ้ามึงตอบว่าพุทธ (แล้วมึงรู้มั้ยว่าที่คนในรูปทำนั้นมันของลัทธิเต๋า ไม่ใช่พุทธ)
- กูนับถือพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้กราบไหว้นับถือ ผี สาง นางไม้ เทพเจ้าใดๆทั้งสิ้น
- ถ้าเห็นรูปแล้วดิ้นจะเป็นจะตายก็กลับไปอ่านหนังสือพุทธศาสนาให้เข้าใจแก่นแท้ของศาสนาก่อน

ที่มา : เพจสอนควายให้หายโง่, FuckGhost ฟักโกสต์ : สมาคมต่อต้านสิ่งงมงาย

รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2013 The Nobel Peace Prize for 2013

รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2013 นี้ไม่ใช่ Malala Yousafzai อย่างที่หลายคนคาดหวัง เนื่องจากคณะกรรมการรางวัลโนเบลแห่งนอร์เวย์มีมติมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2013 ให้แก่ Organization for the Prohibition of Chemical Weapons (OPCW) สำหรับความอุตสาหะขององค์กรในการกำจัดอาวุธเคมี

หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง การประชุมที่กรุงเจนีวาในปี 1925 ได้มีมติห้ามใช้อาวุธเคมี แต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ยังคงมีการใช้อาวุธเคมีในการสังหารมนุษย์โดยเฉพาะการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของนาซีเยอรมัน และหลังจากนั้นอาวุธเคมีก็กลายเป็นอุปกรณ์ของผู้ก่อการร้ายและรัฐอีกหลายรัฐ นานาชาติในประชาคมโลกต่างเห็นความน่ากลัวของการใช้อาวุธเคมี ฉะนั้นการประชุมวาระอาวุธเคมีจึงได้มีมติสั่งห้ามการใช้, การผลิต, การกักเก็บอาวุธเคมีตั้งแต่ปี 1992-1993 และในที่สุด OPCW ก็ก่อตั้งขึ้นมาในปี 1997 เพื่อรับผิดชอบหน้าที่บังคับใช้มติในทางปฏิบัติ ประเทศที่ลงนามในมติวาระอาวุธเคมีในปี 1993 จึงเป็นสมาชิกของ OPCW โดยอัตโนมัติ (ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย) ปัจจุบัน OPCW มีประเทศสมาชิกแล้ว 190 ประเทศ (ยกเว้นเมียนม่าร์และอิสราเอลซึ่งลงนามแต่ไม่เห็นชอบต่อมติ)

เหตุการณ์การใช้อาวุธเคมีต่อพลเรือนในประเทศซีเรียเมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมาสร้างความตระหนกแก่สังคมโลก คณะกรรมการรางวัลโนเบลฯ จึงมอบรางวัลให้แก่ OPCW โดยมีจุดประสงค์ในทางหนึ่งเพื่อเน้นให้ทั่วโลกตระหนักถึงความร้ายแรงของอาวุธเคมีและเอาจริงเอาจังในการกำจัดอาวุธเคมีทั้งหมดทั้งในประเทศสมาชิกและประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก (การประชุมนานาชาติวาระการปลดอาวุธเคมีได้เคยมีมติขีดเส้นตาย 29 เมษายน 2012 ให้ทุกประเทศสมาชิกทำลายอาวุธเคมีที่ครอบครองทั้งหมดให้สิ้น แต่เมื่อเส้นตายเดือนเมษายน 2012 ผ่านไป บางประเทศสมาชิก เช่น ลิเบีย, รัสเซีย, สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ก็ออกมายอมรับว่าไม่สามารถกำจัดอาวุธเคมีได้ทันกำหนดเส้นตายและขอเลื่อนกำหนดเส้นตายออกไปอีก --- ที่น่าสนใจคือ 3 ประเทศสมาชิกตัวอย่างข้างต้นนี้เป็นประเทศสมาชิกใน Executive Council ของ OPCW ด้วย)

ที่มา - Nobel Prize Press Release, jusci