คือคำทั่วๆไปที่ใช้สำหรับเรียกพายุหมุนขนาดใหญ่ที่เกิดเหนือทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อน ที่มีอุณหูมิของน้ำสูงกว่า 27 องศาเซลเซียส โดยทั่วไปมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 50-200 กิโลเมตร หรืออาจสามารถปกคลุมประเทศไทยได้ทั้งประเทศ เกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดรุนแรงมาก มีลมพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ ส่วนซีกโลกใต้ลมจะพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในทางเดียวกับเข็มนาฬิกา ความเร็วลม 50 - 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและมีฝนตกหนัก ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุดบางครั้งมีความเร็วลมเกินกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (175 นอต) ความกดอากาศต่ำสุดที่บริเวณศูนย์กลางบางครั้งต่ำกว่า 900 เฮกโตปาสคาล (hPa) พื้นที่ปกคลุมของพายุมีลักษณะอากาศเลวร้ายเกิดขึ้น มีฝนตกหนักมากและมีพายุฟ้าคะนอง ทำให้เกิดคลื่นสูงใหญ่ในทะเล และน้ำขึ้นสูง ตรงบริเวณศูนย์กลางพายุมีลักษณะคล้ายกับตาเป็นวงกลม มองเห็นได้จากภาพถ่ายดาวเทียมเรียกว่า “ตาพายุ” เส้นผ่าศูนย์กลางตาพายุมีขนาดประมาณ 15 - 60 กิโลเมตร ภายในตาพายุมีอากาศแจ่มใส ลมพัดอ่อน มีเมฆบ้างเล็กน้อยมีความกดอากาศต่ำมากถ้าใครอยู่ในบริเวณนั้นจะเป็นอันตรายต่อแก้วหูได้
คำว่า “หย่อมความกดอากาศต่ำ” เราอาจเคยได้ยินบ่อยครั้งจากพยากรณ์อากาศของกรมอุตุในช่วงของฤดูฝนหลายคนเก็บความงุนงงสงสัยเอาไว้ บางคนคิดว่าฟังผ่าน ๆ เอาสาระแค่ว่าฝนตกหรือเปล่าแค่นั้นพอ แต่วันนี้เรามาคลี่คลายปมสงสัยเหล่านั้นกัน
ณ. พื้นที่บริเวณหนึ่งมีอากาศร้อนกว่าบริเวณโดยรอบ อากาศเหล่านี้ได้พากันลอยตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับเมื่อเราก่อกองไฟแล้วควันไฟและเปลวความร้อนลอยตัวสูงขึ้นไปบนฟ้าทำให้ความกดอากาศในบริเวณนั้นต่ำกว่าความกดอากาศโดยรอบและดูดอากาศเย็นไหลเข้าแทนที่เกิดกระแสลมพัดเข้าหาศูนย์กลางจึงเรียกบริเวณนั้นว่า “หย่อมความกดอากาศต่ำ” หากบริเวณนั้นมีไอน้ำอยู่มากไอน้ำจะถูกดันตัวสูงขึ้นไปด้วยแต่!! ยิ่งสูง...ก็ยิ่งหนาว ไอน้ำเหล่านั้นจึงทำการควบแน่นรวมตัวเป็นเมฆลอยตัวอยู่บริเวณนั้นเมื่อเกิดการสะสมตัวมากขึ้นเป็นเม็ดน้ำที่ใหญ่ขึ้นและตกลงมาเป็นฝนในที่สุดฝนจะกระจายตัวไปรอบศูนย์กลางหย่อมความกดอากาศต่ำนั่นเอง
*เรียกหย่อมความกดอากาศต่ำว่า Low Presure Area ใช้สัญญลักษณ์ L สีแดง
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก แบ่งประเภทพายุหมุนตามความเร็วใกล้ศูนย์กลางพายุ โดยแบ่งตามระดับความรุนแรง ดังนี้
1. พายุดีเปรสชั่น (Depression) ความเร็วลมน้อยกว่า 63 กิโลเมตร / ชั่วโมง เป็นพายุอ่อนๆ มีฝนตกบาง ถึงหนัก
2. พายุโซนร้อน (Tropical Storm) ความเร็วลม 64-115 กิโลเมตร / ชั่วโมง มีกำลังปานกลาง มีฝนตกหนัก อย่างเช่นพายุโซนร้อนแฮเลียต ที่ถล่มแหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เมื่อปี 2505
3. พายุหมุนเขตร้อน หรือ พายุไซโคลนเขตร้อน (Tropical Cyclone) พายุไห่เยี่ยนพัดถล่มฟิลิปปินส์ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 ความเร็วลมมากกว่า 235 กิโลเมตร / ชั่วโมง เป็นพายุที่มีกำลังแรงสูงสุด มีฝนตกหนักมาก มีพายุฝนฟ้าคะนองด้วย
ธรรมชาติมีความสมดุลเป็นระบบภายในตัวเอง ธรรมชาติปราณีสรรค์สร้างให้ทุกชีวิตดำรงค์อยู่ได้และธรรมชาติเองก็แสดงพลังที่ยิ่งใหญ่ออกมาทำลายเมื่อมีการสะสมพลังจนถึงที่สุดซึ่งเป็นการสิ้นสุดวัฏจักรเดิมและเริ่มต้นใหม่มนุษย์เป็นเพียงแค่ฝุ่นผงไม่อาจต้านทานพลังแห่งธรรมชาติได้เลย
ผลกระทบที่ได้รับเมื่อพลังแห่งธรรมชาติระเบิดออกมามีแต่ความย่อยยับเสียหาย ทั้งชีวิตทรัพย์สินไม่เว้นว่าใครรวยใครจน ไม่สนเสียงกรีดร้องอ้อนวอนใด ๆ ทุกชีวิตมีความหมายเท่ากันคืนสู่สามัญทั้งหมดหลายชีวิตรอดตายแต่ทรัพย์สินบ้านเรือนเสียหายจนเป็นคนไร้ที่อยู่อาศัยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้รอเพียงน้ำใจและการช่วยเหลือมาเยียวยา
พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนหรือชาวฟิลิปปินส์เรียกว่าโยลันดา เป็นพายุที่รุนแรงที่สุดลูกหนึ่งใน 24 ลูกที่พัดถล่มและสร้างความเสียหายให้ฟิลิปปินส์ในปีนี้ เมื่อวันที่ 8 พฤษจิกายน 2556 นับว่าหนักที่สุดในปีนี้ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วลม 235 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อขึ้นฝั่งความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 275 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จัดว่าเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่น รุนแรงที่สุด 1 ใน 4 ของโลกตามสถิติที่ได้บันทึกไว้ พัดถล่มทางตอนใต้ของเกาะซามาร์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงมะนิลา ก่อนจะเคลื่อนตัวไปยังเกาะเลย์เตซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนนับแสนราย
มนุษย์เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่เกินจะต้านทานพลังที่แท้จริงของธรรมชาติแต่ในทุก ๆ วินาทีมนุษย์กลับกำลังทำลายธรรมชาติทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วยกันทั้งสิ้นสิ่งที่ทำลงไปนั้นก่อให้เกิดความไม่สมดุลธรรมชาติอีกต่อไปเช่นการปล่อยมลพิษที่ก่อให้เกิดโลกร้อนสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงจนเกิดพายุรุนแรงบ่อยครั้งขึ้น สิ่งที่่ทำได้ในตอนนี้คือร่วมมือกันลดการทำลายธรรมชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม.
เรียบเรียง : xsci
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น