วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ตึก Enco energy complex กระทรวงพลังงานศูนย์กลางการควบคุมพลังงานของไทย
คลิ๊ก [ที่นี่] ดูขนาดจริง ขนาดภาพ 5500x1135 px
ถ่ายเมื่อ 27 สิงหาคม 2556
โดย xsci
คลิ๊กที่ภาพดูภาพจริงที่ 3000x1097 px
ถ่ายเมื่อ 27 สิงหาคม 2556
โดย xsci
มากกว่าความเป็นโทรศัพท์มือถือ
ตามความเข้าใจเดิมโทรศัพท์มือถือคือเครื่องมือสื่อสารที่มีไว้สำหรับสื่อสารเท่านั้น คือโทรเข้า โทรออก รับสาย เท่านั้นเองแต่โทรศัพท์มือถือเป็นเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการไวมากที่สุดอย่างหนึ่ง และมีการผสมผสานหลายเทคโนโลยีเข้าด้วยกันจนมือถือเครื่องเดียวสามารถทำได้สารพัด ด้วยสาเหตุสำคัญก็คือการแข่งขันกันทำการตลาดที่สูงมากเพราะเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวัน เรียกได้ว่าแทบทุกคนต้องมีโทรศัพท์มือถือ เพราะฉะนั้นใครตอบโจทย์ผู้ใช้ได้มากที่สุดผู้นั้นคือผู้ครองตลาด ที่มีมูลค่ามหาศาลอย่างแน่นอน
จนกระทั้งยุคของโทรศัพท์มือถือก้าวมาถึงความเป็น Smart Phone เท่ากับโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเหมือนคอมพิวเตอร์ ใช้งานได้อย่างหลากหลายรวมไปถึงความสามารถในความเป็นกล้องถ่ายภาพที่คมชัดมากจึงสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ดีผลที่ได้ก็คือได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และสงครามทางการตลาดก็เข้มข้นจนบีบคั้นให้ความสามารถของโทรศัพท์มือถือ ยิ่งสูงขึ้น และยิ่งราคาถูกลง เป็นผลดีต่อผู้บริโภคทั้งหลายนั่นเอง
Nokia เป็นบริษัทผู้ผลิตรายสำคัญที่เคยเป็นเจ้าแห่งตลาดโทรศัพท์มือถือ ผ่านการต่อสู่ในตลาดมาแบบสะบักสะบอม ณ วันนี้ตกผลึกเป็นผลผลิตชั้นยอดเช่น Nokia Lumia 1020 Smart Phone ที่มีความโดดเด่นที่กล้องถ่ายรูปที่กล้อง DSLR เห็นแล้วหวาดหวั่น เพราะมีขนาดไฟล์ที่ละเอียดสูงถึง 41 ล้านพิกเซลขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี PureView Pro มีผลทำให้การซูมดิจิตอลไม่เสียคุณภาพ ทั้งในภาพนิ่งและวีดีโอ ที่คมชัดในระดับ Full HD 1080p
รายละเอียดด้านกล้องถ่ายภาพ
กล้องดิจิตอล 41 ล้านพิกเซล (Digital Camera) (Carl Zeiss optics)
- พร้อมแฟลช Xenon (Digital camera)
- ขนาดภาพสูงสุด 7712 x 5360 พิกเซล (Image Size)
- ปรับภาพอัตโนมัติ (Auto Focus)
- ISO สูงสุด 3200
กล้องหน้า (Front Camera)
- ความละเอียด 1.2 ล้านพิกเซล
บันทึกวีดีโอ ภาพเคลื่อนไหว (Video Recording)
- ความละเอียด HD 1920 x 1080 พิกเซล
อย่างไรก็ตามเหตุผลที่โทรศัพท์มือถือต้องมีกล้องถ่ายภาพคุณภาพสูงขนาดนี้นั้น เพราะเน้นเรื่องพกพาสะดวกและความเอนกประสงค์ มีความคล่องตัวในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานไปด้วยกัน และอีกเหตุผลสำคัญก็คือโลก Social Media ทำให้คนถ่ายภาพเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นถ่ายเพื่อโพสต์เฟซบุ๊คทุกครั้งมีโอกาสการได้ซึ่งนั้นก็แล้วแต่ผู้ใช้จะเลือกใช้ประโยชน์ในด้านใด เพราะเมื่อเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ ให้ได้ความคุ้มค่าในราคาระดับ Smart Phone แล้ว Nokia Lumia 1020 เป็นตัวเลือกที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ลิ้งที่เกี่ยวข้อง
http://www.thaimobilecenter.com/home/mobile_article_detail.asp?nid=185
จนกระทั้งยุคของโทรศัพท์มือถือก้าวมาถึงความเป็น Smart Phone เท่ากับโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเหมือนคอมพิวเตอร์ ใช้งานได้อย่างหลากหลายรวมไปถึงความสามารถในความเป็นกล้องถ่ายภาพที่คมชัดมากจึงสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ดีผลที่ได้ก็คือได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และสงครามทางการตลาดก็เข้มข้นจนบีบคั้นให้ความสามารถของโทรศัพท์มือถือ ยิ่งสูงขึ้น และยิ่งราคาถูกลง เป็นผลดีต่อผู้บริโภคทั้งหลายนั่นเอง
Nokia เป็นบริษัทผู้ผลิตรายสำคัญที่เคยเป็นเจ้าแห่งตลาดโทรศัพท์มือถือ ผ่านการต่อสู่ในตลาดมาแบบสะบักสะบอม ณ วันนี้ตกผลึกเป็นผลผลิตชั้นยอดเช่น Nokia Lumia 1020 Smart Phone ที่มีความโดดเด่นที่กล้องถ่ายรูปที่กล้อง DSLR เห็นแล้วหวาดหวั่น เพราะมีขนาดไฟล์ที่ละเอียดสูงถึง 41 ล้านพิกเซลขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี PureView Pro มีผลทำให้การซูมดิจิตอลไม่เสียคุณภาพ ทั้งในภาพนิ่งและวีดีโอ ที่คมชัดในระดับ Full HD 1080p
รายละเอียดด้านกล้องถ่ายภาพ
กล้องดิจิตอล 41 ล้านพิกเซล (Digital Camera) (Carl Zeiss optics)
- พร้อมแฟลช Xenon (Digital camera)
- ขนาดภาพสูงสุด 7712 x 5360 พิกเซล (Image Size)
- ปรับภาพอัตโนมัติ (Auto Focus)
- ISO สูงสุด 3200
กล้องหน้า (Front Camera)
- ความละเอียด 1.2 ล้านพิกเซล
บันทึกวีดีโอ ภาพเคลื่อนไหว (Video Recording)
- ความละเอียด HD 1920 x 1080 พิกเซล
อย่างไรก็ตามเหตุผลที่โทรศัพท์มือถือต้องมีกล้องถ่ายภาพคุณภาพสูงขนาดนี้นั้น เพราะเน้นเรื่องพกพาสะดวกและความเอนกประสงค์ มีความคล่องตัวในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานไปด้วยกัน และอีกเหตุผลสำคัญก็คือโลก Social Media ทำให้คนถ่ายภาพเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นถ่ายเพื่อโพสต์เฟซบุ๊คทุกครั้งมีโอกาสการได้ซึ่งนั้นก็แล้วแต่ผู้ใช้จะเลือกใช้ประโยชน์ในด้านใด เพราะเมื่อเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ ให้ได้ความคุ้มค่าในราคาระดับ Smart Phone แล้ว Nokia Lumia 1020 เป็นตัวเลือกที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
เขียน / เรียบเรียง : xsci
ลิ้งที่เกี่ยวข้อง
http://www.thaimobilecenter.com/home/mobile_article_detail.asp?nid=185
10 ประเทศที่หื่นที่สุดในโลก
มีการเปิดเผยข้อมูลทางสถิติว่าประเทศใดที่เปิดให้บริการเว็บโป๊ และเข้าถึงสูงสุดของโลกบ้างเป็นเครื่องบ่งชี้ความหื่นได้เป็นอย่างดี ทว่าเรื่องราวความต้องการทางเพศนั้นเกิดขึ้นได้กับทั้งสองเพศหลักเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว เพียงแต่ภาพทางสังคมยังไม่ยอมรับว่าเป็นเรื่องดีงาม กลับถูกมองว่าเป็นเรื่องชั้นต่ำทั้ง ๆ ที่ปากบอกว่าชั้นต่ำแต่ตนเองกลับเข้าถึงในสถานที่ส่วนตัวอยู่เป็นนิจ ดังนั้นการเข้าถึงเรื่องทางเพศอย่างถูกต้องนั้นถูกจำกัดไว้ในสถานที่ส่วนตัวของแต่ละคน
การพูดถึงเรื่องความหื่นระดับโลกนั้นมีแง่คิดหลายอย่างที่สอดแทรกเสริมไว้ในนั้น เป็นตัวชี้วัดพฤติกรรมของคนไปในตัวด้วย แต่การเปิดเผยตัวเลขทางสถติเรื่องการเปิดให้บริการ และการเข้าถึงเว็บโป๊ 10 อันดับของโลกนั้นยังไม่ได้บ่งชี้ว่ามันทำให้เกิดความเสี่ยงเรื่องการละเมิดทางเพศที่เพิ่มขึ้นหรือไม่หรือส่งผลกระทบใด ๆ ในด้านลบหรือไม่ การวิเคราะห์สถิติครั้งนี้จัดทำโดยบริษัท MetaCert ซึ่งระบุว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีอัตราการให้บริการเว็บโป๊สูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลกคิดเป็น 60% ของทั้งโลก เป็นจำนวน 428 ล้านเพจ มีโดเมนถึง 4.2 ล้านโดเมน มีโฮสติ้งวางไว้ที่อเมริกา รัฐแคลิฟอเนียเป็นรัฐที่ให้บริการเว็บโป๊ที่สูงที่สุดเป็นรัฐที่เฟื่องฟูของอุตสากรรมลามก อนาจาร
ส่วนรองลงมาเป็นประเทศเนเธอแลนด์ มีดีกรีความหื่นเป็นลำดับ 2 คิดเป็น 26% ของเว็บโป๊ทั้งโลก ทั้ง ๆ ประชากรของประเทศนี้ทั้งประเทศมีเพียง 17 ล้านคนเท่านั้น หื่นกันทั้งประเทศหรือเปล่าเนี่ย อิอิ...
อันอับที่ 3 ตกเป็นของประเทศอังกฤษมีการเข้าถึงที่ 7% จากประชากร 60 ล้านคน เกือบเท่า ๆ กับประเทศไทยแต่หื่นมากกว่า
เป็นที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยเราไม่ติด 1 ใน 10 อันดับนี้ เพราะอัตราเว็บโป๊ ลามกมีจำนวนมากเหลือล้น (ผู้เขียนไม่เคยเปิดดูหรอก อิอิ... แค่ลองค้นหาเว็บโป๊จาก Google ก็จะทราบดี) แต่จากลัษณะนิสัยคนไทยผู้ชายมักจะคุยทะลึ่งอย่างเปิดเผย ส่วนผู้หญิงก็หื่นไม่แพ้กันแต่แอบคุย??? เรียกว่าโดนกระแสวัฒนธรรมกดเอาไว้ว่าสตรีไทยต้องเป็นกุลสตรี เรียบร้อยประดุจผ้าพับไว้ (วิจารณ์แบบนี้จะโดนด่าไม่เนี่ย...ก็นะเปิดใจให้กว้างกันซักนิ๊ดดนึงนะจ๊ะ) แต่ถึงอย่าไรไม่ต้องกลัวว่าบ้านเราจะถูกตราหน้าว่าหื่นเพราะเราไม่ได้เศษเสี้ยวของฝรั่งเลย เมื่อดูจากสถิติแล้ว มีชาติเดียวในเอเชียที่สู้ฝรั่งได้ก็คือ ญี่ปุ่น ประเทศนี้มีจุดเด่นอีกด้านก็คือหนัง AV ต่างจากเกาหลีที่เน้น MV ซึ่งลูกค้ากลุ่มใหญ่ก็คือประเทศไทยมีท้งแบบหนังแผ่นและปล่อยดาวน์โหลดให้โจ๋งครึ่ม!!! ผมเคยได้ยินเพื่อนมันบอกมานะครับ :-D อิอิ... แต่อย่างไรผมก็๋แนะนำว่าเพลา ๆ กันซักนิดนะครับกลัวไปติดอันดับโลกกับเค้าครับผม
เขียน / เรียบเรียง โดย : xsci
วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556
แชมป์แบตหญิงคนแรกของไทย
"การเป็นที่หนึ่งมันไม่ได้มีหลายคน ที่หนึ่งมันมีแค่คนเดียว ถ้าวันหนึ่งเราพร้อม หรือมีโอกาสจะทำได้ ก็ต้องทำให้เต็มที่"
หากไม่รู้จักเด็กสาวเจ้าของวาทะนี้มาก่อนหรือเป็นคนธรรมดาทั่วไปที่เราไม่รู้จัก อาจเป็นคำพูดธรรมดาที่ใคร ๆ ก็พูดได้ แต่ครั้งนี้ผู้พูดคือสาวน้อยวัน 18 ปีได้สร้างชื่อเสียงก้องโลกและพิสูจน์คำพูดนี้ให้โลกได้ประจักษ์แก่สายตาแล้ว นั่นคือ น้องเมย์ รัชนก อินทนนท์ ด้วยการคว้าแชมป์โลกแบตมินตันคนใหม่ ด้วยการล้ม หลี่ เสี่ยวเล่ย ชาวจีน มือวางอันดับ 1 ของโลก
วันที่ 11 สิงหาคม 2556 ของขวัญวันแม่ที่น้องเมย์ให้กับคนไทย กระหึ่มก้องในใจจนความภาคภูมิใจของหลาย ๆ คนล้นปรี่กลายเป็นน้ำตาแห่งความภาคภูมิที่เอ่อล้นออกมาอาบแก้มที่ปริ่มร้อยยิ้มโดยไม่รู้ตัว เป็นสิ่งที่มากกว่ารางวัลเพราะบ้านเมืองเราในขณะที่เต็มไปด้วยความอึมครึมทางการเมือง ภาวะเศษรฐกิจเริ่มถดถอยหดตัวนั้น ในจิตใจคนไทยก็ห่อเหี่ยวเปรียบเหมือนต้นไม้ที่ขาดน้ำจนวันนี้ที่ได้ยินข่าวชื่อเสียงคนไทยสร้างชื่อก็เหมือนต้นไม้ได้น้ำให้กลับมาสดใสอีกครั้งวันที่ 15 สิงหาคม 2556 น้องเมย์ได้ขยับอันดับจากที่ 3 มาเป็นที่ 2 ของโลกทันที เป็นวันประกาศอย่างเป็นทางการจากการจัดอันดับของสหพันธ์แบดมินตันโลกอย่าง BWF น้องเมย์ และ หลี เสี้ยวเล่ย เคยพบกันทั้งหมด 5 ครั้ง หลี เสี้ยวเล่ย เป็นฝ่ายเอาชนะทั้งหมด 4 ครั้ง โดยน้องเมย์เอาชนะได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นคือศึก ยูเอส โอเพ่น 2011 และในเกมส์ หลี่ หนิง ไชน่า โอเพ่น 2012 น้องเมย์ก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้อีกเช่นเดียวกัน แต่ชัยชนะในครั้งนี้นั้นได้มาด้วยฝีมือและความพยามล้วน ๆ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้เยาวชนเป็นอย่างมาก และยังเป็นสาวไทยคนแรกที่มีอายุน้อยที่สุดที่สามารถคว้าแชมป์โลกไปครองได้ด้วย
น้องเมย์ รัชนก อินทนนท์ เป็นชาวจังหวัดร้อยเอ็ดโดยพ่อเป็นชาวจังหวัดยโสธร แม่มีชาวจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งพ่อและแม่ทำงานเป็นคนทำขนมไทยที่บ้านทองหยอดจึงมีโอกาสได้เล่นแบตมินตันตั้งแต่เด็ก ๆ ที่บ้านทองหยอดและจุดประกายคว้าแชมป์ตั้งอายุเพียงไม่กี่ขวบ ความสำเร็จก้าวขึ้นมาเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ปี 2552 บีดับเบิลยูเอฟเวิลด์จูเนียร์แชมเชียนชิพ ครั้งที่ 14, ปี 2553-2554 ยังครองแชมป์ บีดับเบิลยูเอฟเวิลด์จูเนียร์แชมเชียนชิพไว้ได้ ยาวนานถึง 3 สมัย และปี 2556 สามารถคว้าแชมป์การแข่งขันแบดมินตันโลกได้สำเร็จเป็นคนแรกของประเทศสมาชิกอาเซียนและเป็นแชมป์โลกแบดมินตันที่มีอายุน้อยที่สุดของโลก
------------------------------------------
เรียบเรียง / เขียน : xsci
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556
นอร์ทธรอป กรัมแมน คอร์ปอเรชัน Northrop Grumman Corporation
...นอร์ทธรอป กรัมแมน คอร์ปอเรชัน
นอร์ทธรอป กรัมแมน คอร์ปอเรชัน (Northrop Grumman Corporation) เป็นบริษัทสัญชาติสหรัฐอเมริกา ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอากาศยานทางการทหาร การต่อเรือรบ และเทคโนโลยีทางการทหาร ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 จากการควบรวมกิจการของบริษัท นอร์ทธรอปและบริษัทกรัมแมน เข้าด้วยกัน
ในปี 2010 นอร์ทธรอป กรัมแมน เป็นบริษัทที่มีสัญญาการจัดซื้ออาวุธอยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก มีพนักงานทั่วโลกกว่า 120,000 คนมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเซนจูรีซิตี้ เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปี 2010 ได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 61 ในประเภทบริษัทอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกาจากนิตยสารฟอร์จูน
นอร์ทธรอป กรัมแมน คอร์ปอเรชัน (Northrop Grumman Corporation) เป็นบริษัทสัญชาติสหรัฐอเมริกา ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอากาศยานทางการทหาร การต่อเรือรบ และเทคโนโลยีทางการทหาร ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 จากการควบรวมกิจการของบริษัท นอร์ทธรอปและบริษัทกรัมแมน เข้าด้วยกัน
ในปี 2010 นอร์ทธรอป กรัมแมน เป็นบริษัทที่มีสัญญาการจัดซื้ออาวุธอยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก มีพนักงานทั่วโลกกว่า 120,000 คนมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเซนจูรีซิตี้ เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปี 2010 ได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 61 ในประเภทบริษัทอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกาจากนิตยสารฟอร์จูน
วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556
เตรียมตัวด้านการศึกษาเพื่อรับมือ AEC
แกนหลักรากฐานสำคัญของชีวิตคนเราก็คือการศึกษา โลกทุกวันนี้พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความรู้ช่วยให้เราอยู่ในโลกนี้ได้ง่ายขึ้น และอีกบทพิสูจน์ก็มีถึงเมื่อสมาชิกอาเซียนร่วมมือกันด้านเศรษฐกิจซึ่งเรียกว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ผู้ที่รับมือได้ดีที่สุดคือผู้ที่จะสร้างผลประโยชน์จากความร่วมมือครั้งนี้ได้สูงสุด และสิ่งสำคัญในการปรับตัวรับกับการมาถึงของ AEC นั้นก็คือการศึกษาและควรจะศึกษาด้านอะไรบ้างอาจไม่ใช่ภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียว และเราต้องเรียนรู้อะไรบ้างถึงจะรับมือกับ AEC ได้เป็นอย่างดี จุดนี้ให้เรายึดคติรู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เพื่อตั้งรับและรุก หรือรุกขณะรับได้
จะเห็นได้ว่าหน่วยงาน องกรณ์รัฐ เอกชน ต่างมีการเตรียมการรับมือ AEC ที่ฮิตที่สุดก็คือ การเรียนภาษาอังกฤษ แต่จะตอบโจทย์เรื่องการสื่อสารได้จริงหรือ เพราะว่าแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนก็ล้วนมีภาษาราชการที่เป็นภาษาของตัวเองเป็นสวนใหญ่ แต่ก็จะเห็นว่าประชาชนส่วนหนึ่งของประเทศอดีตเครือจักรภพใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี เช่น พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ การเรียนภาษาราชการของประเทศที่เราคิดจะคบค้าด้วยจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม นอกจากนั้นการศึกษาวัฒนธรรม กฏหมาย สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ก็นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นไม่น้อยเลยทีเดียว
การที่เรารู้จุดแข็งจุดอ่อนของสมาชิกแต่ประเทศทำให้เรามองเห็นโอกาสทางธุรกิจและเป็นโอกาสแห่งความสำเร็จเกิดขึ้นได้สูงความเสี่ยงก็น้อยลง พร้อมทั้งการเตรียมตัวด้านการศึกษาให้ตรงจุด เรามาดูกันว่าแต่ละประเทศมีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร
จะเห็นได้ว่าหน่วยงาน องกรณ์รัฐ เอกชน ต่างมีการเตรียมการรับมือ AEC ที่ฮิตที่สุดก็คือ การเรียนภาษาอังกฤษ แต่จะตอบโจทย์เรื่องการสื่อสารได้จริงหรือ เพราะว่าแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนก็ล้วนมีภาษาราชการที่เป็นภาษาของตัวเองเป็นสวนใหญ่ แต่ก็จะเห็นว่าประชาชนส่วนหนึ่งของประเทศอดีตเครือจักรภพใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี เช่น พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ การเรียนภาษาราชการของประเทศที่เราคิดจะคบค้าด้วยจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม นอกจากนั้นการศึกษาวัฒนธรรม กฏหมาย สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ก็นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นไม่น้อยเลยทีเดียว
การที่เรารู้จุดแข็งจุดอ่อนของสมาชิกแต่ประเทศทำให้เรามองเห็นโอกาสทางธุรกิจและเป็นโอกาสแห่งความสำเร็จเกิดขึ้นได้สูงความเสี่ยงก็น้อยลง พร้อมทั้งการเตรียมตัวด้านการศึกษาให้ตรงจุด เรามาดูกันว่าแต่ละประเทศมีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร
วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Thailand Hub of Asia and AEC
ประเทศไทยมีจุดแข็งในด้านภูมิศาสตร์ที่มีความเป็นศูนย์กลางของเอเชียซึ่งไทยเราเองเล็งเห็นถึงจุดนี้มานานพอสมควรและจึงได้เร่งผลักดันด้วยการเป็นศูนย์กลางการบินระหว่างประเทศ โดยการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิมารองรับการเดินทาง การขนส่งสินค้า จุดเปลี่ยนถ่าย จุดพัก และกระจาย ทั้งคนและสินค้า
นับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา 10 ประเทศ ASEAN ได้ร่วมมือกันผลักดันให้เกิด 3 เสาหลักแห่งความร่วมมือระหว่างประเทศเรียกว่า ประชาคมอาเซียน อันได้แก่ 1. ด้านการเมืองและความมั่นคง 2. ด้านเศรษฐกิจ 3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม แต่ ณ ปัจจุบันเรามุ่งเน้นด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า AEC
เมื่อเราเน้นเรื่องการค้าการลงทุนระหว่างประเทศแล้วสิ่งที่ขาดกันไม่ได้ก็คือ ระบบโลจิสติกส์ (Logistics) พูดถึงความหมายกันสั้น ๆ ว่า เป็นระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่นจากจุดต้นทางไปยังจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งประเทศไทยเราก็มีบทบาทเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางบกอีกเช่นกันก็ว่าได้ เพราะมีถนนที่ต้องตัดผ่านประเทศไทยเชื่อมกับเส้นทางต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ เช่นเส้นทาง R3A เส้นทางนี้เชื่อมผ่านจากคุณหมิง-12ปันนา ประเทศจีน ผ่านลาว เข้าสู่ไทยที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย โดยมีจุดเชื่อมข้ามแม่น้ำโขงฝั่งไทย-ลาว เป็นสะพานแห่งที่ 4 (อ่านรายละเอียด เรื่องสะพานเชื่อม R3A เชียงของ-ท่าทราย) หากนับถึงกรุงเทพก็จะได้ระยะทางประมาณ 1,800 กม. หรืออีกเส้นทางท่าเรือน้ำลึกทวาย เป็นการขนส่งจากทะเลตะวันออกสู่ตะวันตกร่วมระยะทาง 1,300 กิโลเมตร จากเมืองทวายประเทศพม่า ที่ตัดตรงผ่านไทย 950 กม. ผ่านลาว 250 กม. ไปยังท่าเรือดานัง ประเทศเวียดนาม 84 กม. ซึ่งแน่นอนว่าต้องกระจายสินค้าผ่านมาทางท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง จ.ชลบุรี เส้นทางที่ผ่านประเทศไทยสามารถเชื่อมต่อไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ ได้อีกด้วย
เขียน / เรียบเรียง : xsci
ลิ้งที่เกี่ยวข้อง
การเตรียมพร้อมด้านการศึกษารับ AEC
http://xsci.blogspot.com/2013/08/aec-1-3-asean.html
ท่าเรือน้ำลึกทวาย
http://www.thai-aec.com/41
ถนน R3A
http://www.edisiam.com/index.php?option=com_content&view=article&id=124%3A-r3a&lang=th
ประโยชน์ของเส้นทาง R3A
http://www.edisiam.com/index.php?option=com_content&view=article&id=144%3A-r3a&lang=th
นับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา 10 ประเทศ ASEAN ได้ร่วมมือกันผลักดันให้เกิด 3 เสาหลักแห่งความร่วมมือระหว่างประเทศเรียกว่า ประชาคมอาเซียน อันได้แก่ 1. ด้านการเมืองและความมั่นคง 2. ด้านเศรษฐกิจ 3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม แต่ ณ ปัจจุบันเรามุ่งเน้นด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า AEC
เมื่อเราเน้นเรื่องการค้าการลงทุนระหว่างประเทศแล้วสิ่งที่ขาดกันไม่ได้ก็คือ ระบบโลจิสติกส์ (Logistics) พูดถึงความหมายกันสั้น ๆ ว่า เป็นระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่นจากจุดต้นทางไปยังจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งประเทศไทยเราก็มีบทบาทเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางบกอีกเช่นกันก็ว่าได้ เพราะมีถนนที่ต้องตัดผ่านประเทศไทยเชื่อมกับเส้นทางต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ เช่นเส้นทาง R3A เส้นทางนี้เชื่อมผ่านจากคุณหมิง-12ปันนา ประเทศจีน ผ่านลาว เข้าสู่ไทยที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย โดยมีจุดเชื่อมข้ามแม่น้ำโขงฝั่งไทย-ลาว เป็นสะพานแห่งที่ 4 (อ่านรายละเอียด เรื่องสะพานเชื่อม R3A เชียงของ-ท่าทราย) หากนับถึงกรุงเทพก็จะได้ระยะทางประมาณ 1,800 กม. หรืออีกเส้นทางท่าเรือน้ำลึกทวาย เป็นการขนส่งจากทะเลตะวันออกสู่ตะวันตกร่วมระยะทาง 1,300 กิโลเมตร จากเมืองทวายประเทศพม่า ที่ตัดตรงผ่านไทย 950 กม. ผ่านลาว 250 กม. ไปยังท่าเรือดานัง ประเทศเวียดนาม 84 กม. ซึ่งแน่นอนว่าต้องกระจายสินค้าผ่านมาทางท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง จ.ชลบุรี เส้นทางที่ผ่านประเทศไทยสามารถเชื่อมต่อไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ ได้อีกด้วย
ภาพประกอบ เส้นทาง R3A จากเชียงของ-สิบสองปันนา link ดูแผนที่เชียงของ-สิบสองปันนา
เขียน / เรียบเรียง : xsci
การเตรียมพร้อมด้านการศึกษารับ AEC
http://xsci.blogspot.com/2013/08/aec-1-3-asean.html
ท่าเรือน้ำลึกทวาย
http://www.thai-aec.com/41
ถนน R3A
http://www.edisiam.com/index.php?option=com_content&view=article&id=124%3A-r3a&lang=th
ประโยชน์ของเส้นทาง R3A
http://www.edisiam.com/index.php?option=com_content&view=article&id=144%3A-r3a&lang=th
วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556
AEC 1 ใน 3 เสาหลักของ ASEAN
คำว่าภูมิภาคอาเซียน เราได้ยินคุ้นหูเป็นอย่างดีเพราะว่ามีการก่อตั้งมายาวนาน ซึ่งเริ่มต้นโดยประเทศไทยเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2510 นับถึงปัจจุบันก็ 46 ปี มีสมาชิกร่วมก่อตั้งเริ่มแรกคือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ นับถึงปัจจุบันมีประเทศสมาชิกเพิ่มใหม่อีก 5 ประเทศ ได้แก่ บรูไน เวียดนาม พม่า ลาว และล่าสุดคือกัมพูชา รวมทั้งสิ้น 10 ประเทศ
อาเซียนได้มุ่งเน้นสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาคมเริ่มต้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 โดยเน้น 3 เสาหลักอันได้แก่
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC)
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC)
+มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
+ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
+ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
+ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
ดังนั้นสิ่งที่เราตื่นตัวในปัจจุบันก็คือ AEC เป็น 1 ในสามเสาหลักของอาเซียนที่สำคัญยิ่ง
สิ่งสำคัญในการปรับตัวรับกับการมาถึงของ AEC นั้นก็คือการศึกษาและควรจะศึกษาด้านอะไรบ้างอาจไม่ใช่เพียงภาษาอังกฤษเสียแล้ว และเราต้องเรียนรู้อะไรบ้างถึงจะรับมือกับ AEC ได้เป็นอย่างนี้ จุดนี้ให้เรายึดคติรู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เพื่อตั้งรับและรุก หรือรุกขณะรับได้
+มาเลเซีย ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 2500 นับถึงปี 2556 รวม 56 ปี มีพัฒนาการทางการศึกษาที่ก้าวหน้าอย่างไม่ธรรมดา การศึกษาของมาเลเซียได้การวางรูปแบบโดยอังกฤษใน พ.ศ. 2500
+สิงคโปร์ ประเทศที่แยกออกมาจากมาเลเซียเพิ่งได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 2508 นับถึงปี 2556 รวมเวลา 48 ปีผ่านมา แต่สิงคโปร์มีมหาวิทยาลัยอันดับแรก ๆ ของโลกและมีการจัดระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูงมากนับตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย แม้แต่โอบาม่ายังเคยกล่าวว่าการศึกษาในระดับ Middle School หรือ ป.6-ม.ปลาย ของสิงคโปร์มีคุณภาพเหนือกว่าอเมริกาเลยทีเดียว* สิงคโปร์จะเน้นส่งเสริมการศึกษาทุ่มทุนสูงเพื่อสร้างบุคคลากรให้มีคุณภาพสูงมาก ๆ โดยเน้นการวิจัยและการมีส่วนร่วมระหว่างเอกชนเพื่อตอบโจทย์ความต้องการได้ตรงจุด มีมหาวิทยาลัยทั้งหมด 6 แห่ง แต่มี 2 แห่งที่ติดอันดับ TOP 100 มหาวิทยาลัยดีเด่นของโลก ได้แก่ NUS : National University of Singapore กับ NTU : Nanyang Technogical Univesity
+ในปี 2519 เวียดนามที่ผ่านสภาวะสงครามยืดยื้อจนเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน บ้านแตกสาแหรกขาด ผู้คนล้มตายนับไม่ถ้วนเหตุการณ์เหล่านั้นผ่านพ้นมา 36 ปี การสร้างประเทศยิ่งกว่าเริ่มจากติดลบ แต่ปัจจุบันไทยเราต้องไปดูงานด้านการศึกษาที่นั่น ไทยเรามีกระแสกลัวเวียดนามแซงหน้าซึ่งต้องพูดอย่างตรงไปตรงมาทั้งในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา หรือด้านอื่น ๆ
+ประเทศไทยแลนด์แดนสยามไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใครเรามีเอกราชชาติสยามตลอดเวลาจนปัจจุบันกลับโดนประเทศน้องใหม่เหล่านั้นพัฒนารุดหน้าไปเรียกว่าไม่เห็นฝุ่นถ้าเทียบกับสิงคโปร์ ทั้งนี้ทั้งนั้นประเด็นนี้ผมไม่ได้จะดูถูกประเทศไทยเราเองเพียงแต่ว่ามันน่าตกใจที่ประเทศเราพัฒนาได้เชื่องช้ามากมายขนาดนี้ เพราะอะไรกัน? มีมหาวิทยาลัยของไทยแห่งหนึ่งที่ถูกจัดให้ติดอันดับโลกโดย Time ได้แก่ ม.พระจอมเกล้าธนบุรี ส่วนอันดับของเอเชีย ม.พระจอมเกล้าธนบุรี อันดับที่ 55, ม.มหิดล อันดับที่ 61, ม.จุฬาลงกรณ์ อันดับที่ 82
การพัฒนาการการศึกษาของไทยที่เห็นแล้วไม่ตรงเป้าไม่ว่าจะเป็นการแจกแทบแลตยังไม่เห็นผลของพัฒนาการที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบการการเรียนแบบเดิมหรือประกอบสื่อการเรียนอื่น ๆ การยุบโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งเป็นสถาบันที่ใกล้ชิดคนท้องถิ่น โรงเรียนขนาดเล็กมีเด็กน้อยมีครูสอนครูที่ดีก็มีโอกาสเข้าถึงนักเรียนได้ง่ายสอนเจาะจงได้ง่ายกว่า ซึ่งโดยมาตรฐานกำหนดให้ ครู 1 คนต่อผู้เรียน 45 คนซึ่งแน่นอนว่าดูแลไม่ทั่วถึง และการเปลี่ยนทรงผมจากตัดเกรียนเป็นไว้รองทรงการเอาอกเอาใจโดยการเปลี่ยนทรงผมตามแฟชั่นวัยรุ่น สิ่งเหล่านี้รัฐล้วนกระตือรือร้นทำ หรือแนวทางแบบนี้เรียกว่าพัฒนา
การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่มีเพียงในเอกสารไม่เน้นปฏิบัติ การเรียนการสอนในห้องเป็นไปอย่างลูกผีลูกคน เน้นให้นักเรียนไปกวดวิชาติวเตอร์ เพื่อเพิ่มช่องทางรายได้ให้ครูผู้สอนนอกเวลาทำงาน ถ้าเป็นโรงเรียนรัฐในระดับประถม หรือมัธยม มีผู้บริการอาวุโสเตรียมเกษียรอายุราชการอีก 5 ปีข้างหน้าหลายท่านหยุดนิ่งไม่พัฒนาใด ๆ เพียงเพื่อคิดว่าต้นเองใกล้เกษียรแล้วขี้เกียจแล้วรอรับเงินเดือนอย่างเดียว
การเลือกเรียนด้านครูเพื่อเข้าเป็นผู้สอนแบบตั้งใจ ใจรัก แบบมีจิตวิญญาณ หาได้น้อยเต็มทีคณะครุศาสตร์นี้และอาชีพนี้เป็นเพียงอาชีพที่เก็บตกเหลือเลือกเท่านั้น เพราะเหตุผลเดียวคือเงินเดือนน้อยซึ่งก็น้อยจริงถ้าเปรียบกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจบัน ถ้าเป็นวิทยาลัยสอนในระดับอาชีวะศึกษา ปวช.-ปวส. ครูอาจารย์ที่เข้ามาสอนก็ขาดการคัดกรองเอาเฉพาะคนทีมีความเก่ง มีความสามารถอย่างแท้จริง มาสอนด้วยการอ่านหนังสือให้นักเรียน นักศึกษาฟัง บอกจด ท่องจำ สอนตามตำราเล่มเดียวที่มี การให้เกรดเป็นไปตามอารมณ์ อคติ การประจบประแจง และสเน่หา ผมยกตัวอย่างจุดอ่อนด้านมืดที่มีในวงการศึกษาใช่ว่าเป็นการดูถูกแต่เราต้องยอมรับแก้แก้ไขมัน
การตื่นตัวด้านการศึกษาเพื่อรับ AEC ในปี 2558 สิ่งแรกที่นึกถึงคือเรื่องภาษาอังกฤษเท่าที่เห็นมีทั้งสถาบันการศึกษา บริษัท ห้างร้าน ผู้ประกอบการ ก็ฮิตกันเป็นเทรนเดียวกันว่า ต้องเรียนภาษาอังกฤษ แต่เรียนแล้วเราจะนำมาสื่อสารกับใคร เรามานั่งคิดกันหรือยังว่า ใน AEC ชาติไหนบ้างที่ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับเราบ้าง และมาดูกันว่าภาษาราชการแต่ละประเทศนั้นคือภาษาอะไร
ภาษาราชการแต่ละประเทศ
อินโดนีเซีย ใช้ภาษาอินโดนีเซีย
มาเลเซีย ใช้ภาษา มาลายู หรือ ยาวี
ประเทศฟิลิปลินส์ ใช้ภาษา ฟิลิปิโน่
ประเทศสิงคโปร์ ใช้ภาษา อังกฤษ จีน มาเล ทมิฬ ภาษาที่ใช้บ่อยคือ อังกฤษ
ประเทศบรูไน ใช้ภาษา บรูไน
ประเทศเวียดนาม ใช้ภาษา เวียดนาม
ประเทศลาว ใช้ภาษา ลาว
ประเทศพม่า ใช้ภาษา พม่า
ประเทศเขมร ใช้ภาษา เขมร
แต่ถึงอย่างไรก็กลับมีคำถามต่อไปว่าเราตื่นตัวแค่เรื่องภาษาอังกฤษอย่างเดียวใช่หรือไม่ แล้วนอกจากเรื่องภาษาแล้วเราเตรียมพร้อมด้านไหนอีกเพื่อรับมืออย่างเป็นผู้ทีได้เปรียบทางการค้า
เมื่อได้เห็นจุดอ่อนของเราเองแล้วเราก็น่าจะทราบดีว่าประเทศอื่นก็มองจุดอ่อนของเราเป็นโอกาส เช่นเดียวกัน ผู้เหนือกว่าจะเข้ามาลงทุนด้านการศึกษาอย่างแน่นอน โดยเฉพาะสิงคโปร์ที่มีโอกาสเข้ามาลงทุนด้านสถาบันการศึกษา ซึ่งนั่นเป็นทั้งวิกฤติและโอกาสในเวลาเดียวกัน โอกาสก็คือคนไทยได้มีโอกาสได้เข้าสู่สถาบันที่ระบบการศึกษามีมาตรฐานระดับโลก โอกาสที่สองคือเป็นการสร้างแรงผลักให้การศึกษาไทยได้ขยับตัวพัฒนาให้เท่าทันจุดนี้ผู้ที่เข้าศึกษาก็จะได้ประโยชน์ รัฐบาลไทยจะเห็นถึงความสำคัญแค่ไหนในการผลักดันงบประมาณแนะนโยบายในการแข่งขัน และสถาบันการศึกษาเอกชนก็ต้องพัฒนาและปรับตัวให้มาตรฐานสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่อย่างมาก ซึ่งต้องใช้เงินทุน และรัฐบาลเองนอกจากจะผลักดันในส่วนการศึกษาของรัฐแล้ว จะให้สถาบันเอกชนได้พึ่งพามากแค่ไหน
ที่ผ่านมาสถาบันการศึกษาทั้งรัฐและเอกชนเล็งเห็น วิกฤติและโอกาส พร้อมทั้งปรับตัวกันหรือไม่ ตอบได้เลยว่าแทบจะไม่ได้ขยับตัวไปอยู่ในตำแหน่งผู้นำสถาบันการศึกษาคุณภาพระดับเอชีย ซึ่งยังไม่ต้องคาดหวังถึงระดับโลก คล้ายฟุตบอลไทยนั่นเอง เลยถ้าเทียบกับจำนวนหรือบ้านเราเน้นแค่ปริมาณ ปัจจุบันมี มหาวิทยาลัยรัฐทั้งหมด 27 แห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 40 แห่ง แต่กลับมีมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ติดอันดับมหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลกเพียงแห่งเดียว อันดับที่ 389 จากทั้งหมด 400 อันดับหรือว่าบ้านเราเน้นปริมาณเพียงอย่างเดียวโดยไม่สนใจคุณภาพ
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ภาษาในประเทศต่าง ๆ
http://www.ceted.org/tutorceted/language.html
โอบาม่ากล่าวถึงการศึกษาสิงคโปร์
http://www.nytimes.com/2009/03/10/us/politics/10text-obama.html?pagewanted=all&_r=0
การศึกษาของเวียดนาม
http://blog.eduzones.com/tonsungsook/106556
ประวัติ 10 ประเทศอาเซียน
http://hilight.kapook.com/view/67028
เปรียบเทียบประเทศเวียดนามและประเทศไทย ด้านการศึกษา , ภาษาและการลงทุน ใน AEC
http://www.seminarwinyuchon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539375628
อันดับมหาลัยในสิงคโปร์
http://javaboom.wordpress.com/2013/05/21/singapore-university-ranking-2013-part01/
อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก
http://education.kapook.com/view48825.html
ระบบการศึกษาของมาเลเซีย
http://www.gotoknow.org/posts/200549
อาเซียนได้มุ่งเน้นสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาคมเริ่มต้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 โดยเน้น 3 เสาหลักอันได้แก่
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC)
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC)
+มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
+ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
+ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
+ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
ดังนั้นสิ่งที่เราตื่นตัวในปัจจุบันก็คือ AEC เป็น 1 ในสามเสาหลักของอาเซียนที่สำคัญยิ่ง
สิ่งสำคัญในการปรับตัวรับกับการมาถึงของ AEC นั้นก็คือการศึกษาและควรจะศึกษาด้านอะไรบ้างอาจไม่ใช่เพียงภาษาอังกฤษเสียแล้ว และเราต้องเรียนรู้อะไรบ้างถึงจะรับมือกับ AEC ได้เป็นอย่างนี้ จุดนี้ให้เรายึดคติรู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เพื่อตั้งรับและรุก หรือรุกขณะรับได้
+มาเลเซีย ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 2500 นับถึงปี 2556 รวม 56 ปี มีพัฒนาการทางการศึกษาที่ก้าวหน้าอย่างไม่ธรรมดา การศึกษาของมาเลเซียได้การวางรูปแบบโดยอังกฤษใน พ.ศ. 2500
+สิงคโปร์ ประเทศที่แยกออกมาจากมาเลเซียเพิ่งได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 2508 นับถึงปี 2556 รวมเวลา 48 ปีผ่านมา แต่สิงคโปร์มีมหาวิทยาลัยอันดับแรก ๆ ของโลกและมีการจัดระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูงมากนับตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย แม้แต่โอบาม่ายังเคยกล่าวว่าการศึกษาในระดับ Middle School หรือ ป.6-ม.ปลาย ของสิงคโปร์มีคุณภาพเหนือกว่าอเมริกาเลยทีเดียว* สิงคโปร์จะเน้นส่งเสริมการศึกษาทุ่มทุนสูงเพื่อสร้างบุคคลากรให้มีคุณภาพสูงมาก ๆ โดยเน้นการวิจัยและการมีส่วนร่วมระหว่างเอกชนเพื่อตอบโจทย์ความต้องการได้ตรงจุด มีมหาวิทยาลัยทั้งหมด 6 แห่ง แต่มี 2 แห่งที่ติดอันดับ TOP 100 มหาวิทยาลัยดีเด่นของโลก ได้แก่ NUS : National University of Singapore กับ NTU : Nanyang Technogical Univesity
+ในปี 2519 เวียดนามที่ผ่านสภาวะสงครามยืดยื้อจนเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน บ้านแตกสาแหรกขาด ผู้คนล้มตายนับไม่ถ้วนเหตุการณ์เหล่านั้นผ่านพ้นมา 36 ปี การสร้างประเทศยิ่งกว่าเริ่มจากติดลบ แต่ปัจจุบันไทยเราต้องไปดูงานด้านการศึกษาที่นั่น ไทยเรามีกระแสกลัวเวียดนามแซงหน้าซึ่งต้องพูดอย่างตรงไปตรงมาทั้งในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา หรือด้านอื่น ๆ
+ประเทศไทยแลนด์แดนสยามไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใครเรามีเอกราชชาติสยามตลอดเวลาจนปัจจุบันกลับโดนประเทศน้องใหม่เหล่านั้นพัฒนารุดหน้าไปเรียกว่าไม่เห็นฝุ่นถ้าเทียบกับสิงคโปร์ ทั้งนี้ทั้งนั้นประเด็นนี้ผมไม่ได้จะดูถูกประเทศไทยเราเองเพียงแต่ว่ามันน่าตกใจที่ประเทศเราพัฒนาได้เชื่องช้ามากมายขนาดนี้ เพราะอะไรกัน? มีมหาวิทยาลัยของไทยแห่งหนึ่งที่ถูกจัดให้ติดอันดับโลกโดย Time ได้แก่ ม.พระจอมเกล้าธนบุรี ส่วนอันดับของเอเชีย ม.พระจอมเกล้าธนบุรี อันดับที่ 55, ม.มหิดล อันดับที่ 61, ม.จุฬาลงกรณ์ อันดับที่ 82
การพัฒนาการการศึกษาของไทยที่เห็นแล้วไม่ตรงเป้าไม่ว่าจะเป็นการแจกแทบแลตยังไม่เห็นผลของพัฒนาการที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบการการเรียนแบบเดิมหรือประกอบสื่อการเรียนอื่น ๆ การยุบโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งเป็นสถาบันที่ใกล้ชิดคนท้องถิ่น โรงเรียนขนาดเล็กมีเด็กน้อยมีครูสอนครูที่ดีก็มีโอกาสเข้าถึงนักเรียนได้ง่ายสอนเจาะจงได้ง่ายกว่า ซึ่งโดยมาตรฐานกำหนดให้ ครู 1 คนต่อผู้เรียน 45 คนซึ่งแน่นอนว่าดูแลไม่ทั่วถึง และการเปลี่ยนทรงผมจากตัดเกรียนเป็นไว้รองทรงการเอาอกเอาใจโดยการเปลี่ยนทรงผมตามแฟชั่นวัยรุ่น สิ่งเหล่านี้รัฐล้วนกระตือรือร้นทำ หรือแนวทางแบบนี้เรียกว่าพัฒนา
การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่มีเพียงในเอกสารไม่เน้นปฏิบัติ การเรียนการสอนในห้องเป็นไปอย่างลูกผีลูกคน เน้นให้นักเรียนไปกวดวิชาติวเตอร์ เพื่อเพิ่มช่องทางรายได้ให้ครูผู้สอนนอกเวลาทำงาน ถ้าเป็นโรงเรียนรัฐในระดับประถม หรือมัธยม มีผู้บริการอาวุโสเตรียมเกษียรอายุราชการอีก 5 ปีข้างหน้าหลายท่านหยุดนิ่งไม่พัฒนาใด ๆ เพียงเพื่อคิดว่าต้นเองใกล้เกษียรแล้วขี้เกียจแล้วรอรับเงินเดือนอย่างเดียว
การเลือกเรียนด้านครูเพื่อเข้าเป็นผู้สอนแบบตั้งใจ ใจรัก แบบมีจิตวิญญาณ หาได้น้อยเต็มทีคณะครุศาสตร์นี้และอาชีพนี้เป็นเพียงอาชีพที่เก็บตกเหลือเลือกเท่านั้น เพราะเหตุผลเดียวคือเงินเดือนน้อยซึ่งก็น้อยจริงถ้าเปรียบกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจบัน ถ้าเป็นวิทยาลัยสอนในระดับอาชีวะศึกษา ปวช.-ปวส. ครูอาจารย์ที่เข้ามาสอนก็ขาดการคัดกรองเอาเฉพาะคนทีมีความเก่ง มีความสามารถอย่างแท้จริง มาสอนด้วยการอ่านหนังสือให้นักเรียน นักศึกษาฟัง บอกจด ท่องจำ สอนตามตำราเล่มเดียวที่มี การให้เกรดเป็นไปตามอารมณ์ อคติ การประจบประแจง และสเน่หา ผมยกตัวอย่างจุดอ่อนด้านมืดที่มีในวงการศึกษาใช่ว่าเป็นการดูถูกแต่เราต้องยอมรับแก้แก้ไขมัน
การตื่นตัวด้านการศึกษาเพื่อรับ AEC ในปี 2558 สิ่งแรกที่นึกถึงคือเรื่องภาษาอังกฤษเท่าที่เห็นมีทั้งสถาบันการศึกษา บริษัท ห้างร้าน ผู้ประกอบการ ก็ฮิตกันเป็นเทรนเดียวกันว่า ต้องเรียนภาษาอังกฤษ แต่เรียนแล้วเราจะนำมาสื่อสารกับใคร เรามานั่งคิดกันหรือยังว่า ใน AEC ชาติไหนบ้างที่ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกับเราบ้าง และมาดูกันว่าภาษาราชการแต่ละประเทศนั้นคือภาษาอะไร
ภาษาราชการแต่ละประเทศ
อินโดนีเซีย ใช้ภาษาอินโดนีเซีย
มาเลเซีย ใช้ภาษา มาลายู หรือ ยาวี
ประเทศฟิลิปลินส์ ใช้ภาษา ฟิลิปิโน่
ประเทศสิงคโปร์ ใช้ภาษา อังกฤษ จีน มาเล ทมิฬ ภาษาที่ใช้บ่อยคือ อังกฤษ
ประเทศบรูไน ใช้ภาษา บรูไน
ประเทศเวียดนาม ใช้ภาษา เวียดนาม
ประเทศลาว ใช้ภาษา ลาว
ประเทศพม่า ใช้ภาษา พม่า
ประเทศเขมร ใช้ภาษา เขมร
แต่ถึงอย่างไรก็กลับมีคำถามต่อไปว่าเราตื่นตัวแค่เรื่องภาษาอังกฤษอย่างเดียวใช่หรือไม่ แล้วนอกจากเรื่องภาษาแล้วเราเตรียมพร้อมด้านไหนอีกเพื่อรับมืออย่างเป็นผู้ทีได้เปรียบทางการค้า
เมื่อได้เห็นจุดอ่อนของเราเองแล้วเราก็น่าจะทราบดีว่าประเทศอื่นก็มองจุดอ่อนของเราเป็นโอกาส เช่นเดียวกัน ผู้เหนือกว่าจะเข้ามาลงทุนด้านการศึกษาอย่างแน่นอน โดยเฉพาะสิงคโปร์ที่มีโอกาสเข้ามาลงทุนด้านสถาบันการศึกษา ซึ่งนั่นเป็นทั้งวิกฤติและโอกาสในเวลาเดียวกัน โอกาสก็คือคนไทยได้มีโอกาสได้เข้าสู่สถาบันที่ระบบการศึกษามีมาตรฐานระดับโลก โอกาสที่สองคือเป็นการสร้างแรงผลักให้การศึกษาไทยได้ขยับตัวพัฒนาให้เท่าทันจุดนี้ผู้ที่เข้าศึกษาก็จะได้ประโยชน์ รัฐบาลไทยจะเห็นถึงความสำคัญแค่ไหนในการผลักดันงบประมาณแนะนโยบายในการแข่งขัน และสถาบันการศึกษาเอกชนก็ต้องพัฒนาและปรับตัวให้มาตรฐานสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่อย่างมาก ซึ่งต้องใช้เงินทุน และรัฐบาลเองนอกจากจะผลักดันในส่วนการศึกษาของรัฐแล้ว จะให้สถาบันเอกชนได้พึ่งพามากแค่ไหน
ที่ผ่านมาสถาบันการศึกษาทั้งรัฐและเอกชนเล็งเห็น วิกฤติและโอกาส พร้อมทั้งปรับตัวกันหรือไม่ ตอบได้เลยว่าแทบจะไม่ได้ขยับตัวไปอยู่ในตำแหน่งผู้นำสถาบันการศึกษาคุณภาพระดับเอชีย ซึ่งยังไม่ต้องคาดหวังถึงระดับโลก คล้ายฟุตบอลไทยนั่นเอง เลยถ้าเทียบกับจำนวนหรือบ้านเราเน้นแค่ปริมาณ ปัจจุบันมี มหาวิทยาลัยรัฐทั้งหมด 27 แห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 40 แห่ง แต่กลับมีมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ติดอันดับมหาวิทยาลัยดีที่สุดในโลกเพียงแห่งเดียว อันดับที่ 389 จากทั้งหมด 400 อันดับหรือว่าบ้านเราเน้นปริมาณเพียงอย่างเดียวโดยไม่สนใจคุณภาพ
เขียน / เรียบเรียง : xsci
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ภาษาในประเทศต่าง ๆ
http://www.ceted.org/tutorceted/language.html
โอบาม่ากล่าวถึงการศึกษาสิงคโปร์
http://www.nytimes.com/2009/03/10/us/politics/10text-obama.html?pagewanted=all&_r=0
การศึกษาของเวียดนาม
http://blog.eduzones.com/tonsungsook/106556
ประวัติ 10 ประเทศอาเซียน
http://hilight.kapook.com/view/67028
เปรียบเทียบประเทศเวียดนามและประเทศไทย ด้านการศึกษา , ภาษาและการลงทุน ใน AEC
http://www.seminarwinyuchon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539375628
อันดับมหาลัยในสิงคโปร์
http://javaboom.wordpress.com/2013/05/21/singapore-university-ranking-2013-part01/
อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก
http://education.kapook.com/view48825.html
ระบบการศึกษาของมาเลเซีย
http://www.gotoknow.org/posts/200549
การศึกษาไทยและเวียดนาม thai and vietnam Education
เปรียบเทียบประเทศเวียดนามและประเทศไทย ด้านการศึกษา , ภาษาและการลงทุน ใน AEC
หลังสิ้นสุดความวุ่นวายทางการเมืองที่ทอดยาวมาเป็นเวลานานนั้นเสียได้ นับถอยกลับไปหลังจากที่อเมริกาถอนทหารจากเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ.2516 กองกาลังเวียดนามเหนือและเวียดกงยึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ได้ทั้งหมด ในปี พ.ศ.2518 เวียดนามเหนือ-ใต้ รวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ เมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2519 กลายเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ระยะ 36 ปีกว่า นับแต่นั้นเป็นต้นมา เวียดนามกาลังกลายเป็นพญามังกรที่กางปีกเต็มที่ และพร้อมแล้วกับการบินทุกรูปแบบ ทั้งสูง ผาดโผน และนุ่มนวล โดยเฉพาะเมื่อมีโอกาสบินในสมรภูมิรบที่คุ้นเคย ซึ่งบัดนี้ได้เปลี่ยนเป็นสมรภูมิการค้าเสรีใหญ่โตด้วยแล้ว ขณะเดียวกันก็จะทาให้การเติบโตและความรุ่งเรืองของเอเชียถีบตัวเป็นแม่เหล็กสาคัญในการลงทุนของโลกในอนาคต ท่ามกลางความตกต่าทางเศรษฐกิจของอเมริกาเหนือและกลุ่มอียู
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ในเวียดนามทั้ง 58 จังหวัด และอีก 5 เทศบาลนคร โดยเฉพาะในนครฮานอยและนครโฮจิมินห์ มีทัศนคติค่อนข้างดีและมีการปรับตัวทางการศึกษาอย่างคึกคัก เหตุผลสาคัญคือกลุ่มคนหนุ่มสาวสมัยใหม่ในเวียดนามค่อนข้างมั่นใจว่าการศึกษาและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษได้ดี เป็นตัวแปรสาคัญที่มีผลต่อชีวิตและสถานะของครอบครัว การศึกษาไทยเองก็ต้องให้ความสาคัญจุดนี้ให้มากด้วยเช่นกัน เพราะหากเทียบทักษะคนหนุ่มสาวไทย-เวียดนามที่อยู่ในช่วงระดับเดียวกันแล้ว คนไทยหาได้เปรียบอยู่มากไม่ เมื่อพิจารณาจากการใช้ภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์ในการวัด ราชอาณาจักรไทยเองในฐานะประเทศร่วมก่อตั้งอาเซียน ต้องลงทุนเรื่องมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมให้มาก งบประมาณต้องตั้งไว้อย่างเพียงพอเพื่อผลิตบุคลากรด้านนี้ให้ทันใช้งานในเวทีแข่งขันข้างหน้าที่การเปลี่ยนแปลงจะมีอยู่สูงตลอดจนการแสวงหาแนวทางใหม่ๆ ในการยกระดับมาตรฐานการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของอาเซียนให้สูงขึ้น ย้อนกลับมาวิเคราะห์การที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน นอกจากจะทาให้เวียดนามได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจรอบด้านจากอาเซียนแล้ว ยังทาให้มีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจการตลาดของเวียดนามโตวันโตคืน
ฉะนั้น นับตั้งแต่เวียดนามประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการลงทุนต่างชาติ ประเทศสมาชิกอาเซียนสนใจลงทุนในเวียดนามสูงขึ้นทันที เพราะเวียดนามเองก็ถือเป็นตลาดใหญ่กว่า 89 ล้านคน สมบูรณ์พร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีแรงงานที่มีค่าแรงถูก ศักยภาพของเวียดนามส่งผลให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนอย่างสิงคโปร์เข้าไปลงทุนมากเป็นอันดับ 1 ไทยลงทุนเป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลาดับ
ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ธันวาคม 2555 ที่มา : ไทยโพสต์
หลังสิ้นสุดความวุ่นวายทางการเมืองที่ทอดยาวมาเป็นเวลานานนั้นเสียได้ นับถอยกลับไปหลังจากที่อเมริกาถอนทหารจากเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ.2516 กองกาลังเวียดนามเหนือและเวียดกงยึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ได้ทั้งหมด ในปี พ.ศ.2518 เวียดนามเหนือ-ใต้ รวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ เมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2519 กลายเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ระยะ 36 ปีกว่า นับแต่นั้นเป็นต้นมา เวียดนามกาลังกลายเป็นพญามังกรที่กางปีกเต็มที่ และพร้อมแล้วกับการบินทุกรูปแบบ ทั้งสูง ผาดโผน และนุ่มนวล โดยเฉพาะเมื่อมีโอกาสบินในสมรภูมิรบที่คุ้นเคย ซึ่งบัดนี้ได้เปลี่ยนเป็นสมรภูมิการค้าเสรีใหญ่โตด้วยแล้ว ขณะเดียวกันก็จะทาให้การเติบโตและความรุ่งเรืองของเอเชียถีบตัวเป็นแม่เหล็กสาคัญในการลงทุนของโลกในอนาคต ท่ามกลางความตกต่าทางเศรษฐกิจของอเมริกาเหนือและกลุ่มอียู
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ในเวียดนามทั้ง 58 จังหวัด และอีก 5 เทศบาลนคร โดยเฉพาะในนครฮานอยและนครโฮจิมินห์ มีทัศนคติค่อนข้างดีและมีการปรับตัวทางการศึกษาอย่างคึกคัก เหตุผลสาคัญคือกลุ่มคนหนุ่มสาวสมัยใหม่ในเวียดนามค่อนข้างมั่นใจว่าการศึกษาและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษได้ดี เป็นตัวแปรสาคัญที่มีผลต่อชีวิตและสถานะของครอบครัว การศึกษาไทยเองก็ต้องให้ความสาคัญจุดนี้ให้มากด้วยเช่นกัน เพราะหากเทียบทักษะคนหนุ่มสาวไทย-เวียดนามที่อยู่ในช่วงระดับเดียวกันแล้ว คนไทยหาได้เปรียบอยู่มากไม่ เมื่อพิจารณาจากการใช้ภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์ในการวัด ราชอาณาจักรไทยเองในฐานะประเทศร่วมก่อตั้งอาเซียน ต้องลงทุนเรื่องมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมให้มาก งบประมาณต้องตั้งไว้อย่างเพียงพอเพื่อผลิตบุคลากรด้านนี้ให้ทันใช้งานในเวทีแข่งขันข้างหน้าที่การเปลี่ยนแปลงจะมีอยู่สูงตลอดจนการแสวงหาแนวทางใหม่ๆ ในการยกระดับมาตรฐานการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของอาเซียนให้สูงขึ้น ย้อนกลับมาวิเคราะห์การที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน นอกจากจะทาให้เวียดนามได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจรอบด้านจากอาเซียนแล้ว ยังทาให้มีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจการตลาดของเวียดนามโตวันโตคืน
ฉะนั้น นับตั้งแต่เวียดนามประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการลงทุนต่างชาติ ประเทศสมาชิกอาเซียนสนใจลงทุนในเวียดนามสูงขึ้นทันที เพราะเวียดนามเองก็ถือเป็นตลาดใหญ่กว่า 89 ล้านคน สมบูรณ์พร้อมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีแรงงานที่มีค่าแรงถูก ศักยภาพของเวียดนามส่งผลให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนอย่างสิงคโปร์เข้าไปลงทุนมากเป็นอันดับ 1 ไทยลงทุนเป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลาดับ
ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ธันวาคม 2555 ที่มา : ไทยโพสต์
วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556
bloger 100 million เขียนบล็อกรวยร้อยล้าน
..........การพยายามอธิบายเรื่องราวให้ผู้อื่นได้รับรู้นั้นมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่เข้าถึงง่ายที่สุดเบสิคที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเขียน การพูด ในปัจจุบันผู้อ่านสามารถเข้าถึงได้แสนง่ายดาย โดยการเผยแพร่ลง Blog แต่มีเพียงไม่กี่คนที่จะเก่งและเฮงได้จนมีเงินนับร้อยล้านไหลเข้ามา และอีกหลายคนได้เป็นนักเขียนตัวจริง
หว่านหวาน หรือ หู เจีย เหวย บล็อกเกอร์สาวสวยชาวใต้หวัน โดยปกติเธอจะเป็นคนชอบบันทึกชีวิคประจำวันเหมือนคนทั่วไป แต่ด้วยการที่เป็นคนไม่ชอบเขียนอะไรเป็นเรื่องราวยาว ๆ เลยหาทางอธิบายเรื่องราวเป็นรูปภาพจากรากฐานที่ตนนั้นชอบอ่านการ์ตูนเป็นทุนอยู่ก่อนแล้ว ก็เลยเลือกที่จะถ่ายทอดเรื่องราวเป็นตัวละครการ์ตูนที่เรียบง่ายเข้าใจง่่าย ในชื่อเดียวกับเธอเอง
หว่านหวาน หรือ หู เจีย เหวย บล็อกเกอร์สาวสวยชาวใต้หวัน โดยปกติเธอจะเป็นคนชอบบันทึกชีวิคประจำวันเหมือนคนทั่วไป แต่ด้วยการที่เป็นคนไม่ชอบเขียนอะไรเป็นเรื่องราวยาว ๆ เลยหาทางอธิบายเรื่องราวเป็นรูปภาพจากรากฐานที่ตนนั้นชอบอ่านการ์ตูนเป็นทุนอยู่ก่อนแล้ว ก็เลยเลือกที่จะถ่ายทอดเรื่องราวเป็นตัวละครการ์ตูนที่เรียบง่ายเข้าใจง่่าย ในชื่อเดียวกับเธอเอง
สาวน้อยร้อยล้าน
ภาพประกอบจาก http://www.ecommerce-magazine.com/
วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556
AEC Education ระบบการศึกษาใน aec
1. การศึกษาของสิงคโปร์
ระบบการศึกษาของสิงคโปร์แบ่งออกเป็นระดับประถม 6 ปี ระดับมัธยมศึกษา 4 ปี ซึ่งรวมแล้วเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 10 ปี แต่ผู้ที่จะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจะต้องศึกษาขั้นเตรียมมหาวิทยาลัย อีก 2 ปี
การศึกษาภาคบังคับของสิงคโปร์จะต้องเรียนรู้ 2 ภาษาควบคู่กันไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และเลือกเรียนภาษาแม่ (Mother Tongue) อีก 1 ภาษา คือ จีน (แมนดาริน) มาเลย์ หรือทมิฬ (อินเดีย)
รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก โดยถือว่าประชาชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ และมีค่าที่สุดของประเทศ ในการนี้ รัฐบาลได้ให้การอุดหนุนด้านการศึกษาจนเสมือนกับเป็นการศึกษาแบบให้เปล่า โรงเรียนในระดับประถม และมัธยมล้วนเป็นโรงเรียนของรัฐบาลหรือกึ่งรัฐบาล สถานศึกษาของเอกชนในสิงคโปร์ มีเฉพาะในระดับอนุบาล และโรงเรียนนานาชาติเท่านั้น
มหาวิทยาลัยในสิงคโปร์มี 3 แห่ง คือ :-
1. National University of Singapore (NUS)
2. Nanyang Technological University
3. Singapore Management University (SMU)
ระบบการศึกษาของสิงคโปร์แบ่งออกเป็นระดับประถม 6 ปี ระดับมัธยมศึกษา 4 ปี ซึ่งรวมแล้วเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 10 ปี แต่ผู้ที่จะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจะต้องศึกษาขั้นเตรียมมหาวิทยาลัย อีก 2 ปี
การศึกษาภาคบังคับของสิงคโปร์จะต้องเรียนรู้ 2 ภาษาควบคู่กันไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และเลือกเรียนภาษาแม่ (Mother Tongue) อีก 1 ภาษา คือ จีน (แมนดาริน) มาเลย์ หรือทมิฬ (อินเดีย)
รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก โดยถือว่าประชาชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ และมีค่าที่สุดของประเทศ ในการนี้ รัฐบาลได้ให้การอุดหนุนด้านการศึกษาจนเสมือนกับเป็นการศึกษาแบบให้เปล่า โรงเรียนในระดับประถม และมัธยมล้วนเป็นโรงเรียนของรัฐบาลหรือกึ่งรัฐบาล สถานศึกษาของเอกชนในสิงคโปร์ มีเฉพาะในระดับอนุบาล และโรงเรียนนานาชาติเท่านั้น
มหาวิทยาลัยในสิงคโปร์มี 3 แห่ง คือ :-
1. National University of Singapore (NUS)
2. Nanyang Technological University
3. Singapore Management University (SMU)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)