ปี 2549: วิกฤตการณ์แห่ง ?อำนาจอธิปไตยของปวงชน? และการพังทลายของ ?นิติรัฐ?
การ
วิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2549
ในแง่มุมที่ยังไม่มีเอกสารใดนำเสนอต่อสาธารณะมาก่อน
เพื่อวิเคราะห์ถึงเหตุแห่งวิกฤติอันนำไปสู่การทำรัฐประหาร19กันยา
ผลกระทบทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดจากการรัฐประหารและประเมิน
สถานการณ์ทางด้านการเมืองที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตภายใต้เงาปืนของเผด็จการทหาร
เรียกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2548 -กย. 2549 ว่า
?วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตยของปวงชน? เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด
มีเป้าหมายอยู่ที่การเปลี่ยนผู้ยึดครองอำนาจรัฐหรืออำนาจอธิปไตยด้วยกระบวน
การสองด้าน กล่าวคือ
ด้านหนึ่ง ประนาม โจมตี
ทำลายความชอบธรรมของฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง
กระทั่งมุ่งหมายปลิดชีวิตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชิณวัตร
มุ่งเอาชนะคะคานโดยไม่เลือกวิธีการ
ส่วนอีกด้านหนึ่งพวกเขาใช้
ประโยชน์จากความจงรักภักดีของประชาชนไทยที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ฝ่ายตน ภายใต้ Motto
ที่ฟังดูแปลกๆ เช่น ?ทวงคืนประเทศไทย? ?ทำลายระบอบทักษิณ?
?ถวายคืนพระราชอำนาจ? ?สู้เพื่อในหลวง? ?นายกพระราชทาน ผ่านมาตรา 7?
เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป้าหมาย ?ทักษิณ..ออกไป? ซึ่งจะทำให้
?กลุ่มอำนาจอื่น? เข้าควบคุม ?อำนาจอธิปไตย? ได้ง่ายขึ้น
?กลุ่ม
อำนาจอื่น? ได้แสดงตนในนาม
?คณะปฎิรูปการการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(คปค)? ใช้ภาษีประชาชน 1,000 ล้านบาท เพื่อเติมน้ำมันรถถัง
ให้เบี้ยเลี้ยงคนถือปืน จัดหากระสุนดินปืน เพื่อข่มขวัญ
คุกคามประชาชนที่อาจคัดค้านพวกตน ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2540
ใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ เอากองกำลังอาวุธควบคุมสื่อทีวี และออกประกาศ
คำสั่ง ห้ามประชาชนทำในสิ่งที่พวกตนไม่ประสงค์ให้ทำ
และคำสั่งให้ประชาชนปฎิบัติตามในสิ่งที่ตนต้องการ เป็นรายชั่วโมง รายวัน
รายสัปดาห์
แต่งตั้งสภานิติบัญญัติให้รางวัลแก่ผู้เอาการเอางานต่อต้านระบอบทักษิณ
แต่งตั้งองค์กรอิสระปูนบำเน็จแก่นักล่าระบอบทักษิณ
แต่งตั้งข้าราชการและคณะรัฐมนตรีเพื่อควบคุมกลไกรัฐทั้งปวงให้อยู่ในความควบ
คุมของตน อำนาจอธิปไตยที่เคยเป็นของปวงชน
อยู่ในเงื้อมมือกองโจรในเครื่องแบบโดยสมบูรณ์
ความเป็นไปของประเทศไทยในทุกๆเรื่องล้วนกำหนดโดย
?กลุ่มบุคคลเพียงหยิบมือเดียว? คณะนี้พวกเขาได้ใช้ภาษีประชาชน 1,000
ล้านบาทเพื่อปล้นอำนาจอธิปไตยของปวงชนเข้าควบคุมกลไกรัฐทุกกระทรวงทบวงกรม
รวมรัฐวิสาหกิจ แล้วเข้าบริหารงบประมาณประจำปีอีก 1.5
ล้านล้านบาทโดยใช้วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์บริหารประเทศด้วยวลีสั้นๆเพียงวลี
เดียวนั่นคือ ?ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง?
ปรากฎการณ์เหล่านี้จะเรียกขานเป็นอื่นไม่ได้ นอกจาก ?การพังทลายของ
นิติรัฐ? นั่นเอง.(ลองเปรียบเทียบกับการเข้าสู่อำนาจของพรรคการเมืองซึ่ง
รัฐใช้งบ 2,000 ล้านเพื่อบริหารการเลือกตั้ง
นักการเมืองต้องลงแรงตระเวณหาเสียง ยกมือไหว้ขอคะแนนเสียงจากประชาชน
ใช้เงินส่วนตัว เขตเลือกตั้งละไม่เกิน 1 ล้านบาท งบหาเสียงพรรคเฉลี่ยพรรคละ
100 ล้านบาท ประมาณการทั้งสิ้น 6,500 ล้านบาทเป็นส่วนของรัฐ 2,000 ล้าน
ส่วนขอฝ่ายการเมืองทุกพรรครวมกัน 4,500 ล้านแต่
คปค.ไม่ใช้เงินส่วนตัวแม้สลึงเดียวเข้าสู่อำนาจรัฐจัดเงินเดือนให้ตัวเองและ
พรรคพวก
ส่งพรรคพวกคุมรัฐวิสาหกิจตักตวงผลประโยชน์เข้ากระเป๋าและจัดงบประมาณประจำปี
อีก 1.5 ล้านล้านบาทจัดเองใช้เอง อนุมัติเอง
โดยไร้การตรวจสอบถ่วงดุลย์จากทุกภาคส่วนของสังคม)
1. วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตย
1.1. สาเหตุแห่งวิกฤติ
1.1.1.
โลกาภิวัฒน์มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงกรอบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การได้เปรียบ-เสียเปรียบของข้อตกลงทางการค้า การเคลื่อนย้ายทุน คน สินค้า
ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี เป็นไปอย่างเสรี รวดเร็วและสลับซับซ้อน
กดดันให้คนทั่วทั้งโลกต้องปรับตัวอย่างขนานใหญ่ ทั้งกรอบในการรับรู้
การวิเคราะห์ การทำความเข้าใจโลก และการประเมิณคุณค่าใหม่ๆ
สถานการณ์โดยรวมก่อให้เกิดเส้นแบ่งใหม่ระหว่างฝ่ายที่ปรับตัวได้กับฝ่ายที่
ไม่สามารถปรับตัวได้ (กลุ่มอนุรักษ์ใหม่ ) ประเด็นหลักของการปรับตัวคือ
ยอมรับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือไม่
อยู่ในฝ่ายที่ได้เปรียบ-เสียเปรียบต่อการแปรรูปหรือไม่อย่างไร
ยอมรับการตกลงการค้าเสรีโดยหลักการหรือไม่
อยู่ในฝ่ายที่ได้เปรียบ-เสียเปรียบต่อข้อตกลงทางการค้ารายสินค้าหรือไม่
อย่างไร กลุ่มคนที่ปรับตัวไม่ได้และเสียประโยชน์จากผลกระทบของโลกาภิวัฒน์
มีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมกระทั่งเป็นตัวตั้งตัวตีต่อการต่อต้านรัฐบาล พ.ต.ท.
ทักษิณ ชินวัตร เพราะท่านเน้นยุทธศาสตร์
อยู่ร่วมกับโลกาภิวัฒน์และใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัฒน์เป็นสำคัญ
1.1.2.
กลุ่มทุนที่ไร้ความสามารถปรับตัวหลังวิกฤติ ทั้งกลุ่มที่เป็น NPL
(เช่นผู้จัดการ TPI) กลุ่มที่ไม่มีความสามารถทำกำไรและ/หรือ
ขยายกิจการอย่างมีข้อจำกัด
ล้วนมีความคาดหวังพึ่งพารัฐและต้องการใช้สิทธิพิเศษฟื้นฟูกิจการของตน
เมื่อพึ่งพาและใช้สิทธ์พิเศษไม่ได้ก็หันไปอยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล
1.1.3.
กลุ่มการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่ม
ไม่สามารถต่อรองผลประโยชน์จากรัฐได้ตามต้องการก็หันไปอยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับ
รัฐบาลและพรรคไทยรักไทยที่ตนเคยสังกัดหรือให้การสนับสนุน(เช่นกลุ่มวังน้ำ
เย็น และกลุ่มทุนพรรคชาติไทย)
1.1.4. การมีเสียงข้างมากของ
ทรท.และสามารถผลักดันนโยบายที่สัญญาไว้จนประสบความสำเร็จและเป็นที่พอใจของ
ประชาชนจำนวนมาก ทำให้เกิดภาพความเข้มแข็ง ความมีเสถียรภาพ
และการควบคุมอำนาจรัฐที่มั่นคง
โดยพรรคการเมืองเดียวเป็นสถานการณ์ใหม่ที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในประวัติศาสตร์
การเมืองไทย ได้ก่อให้เกิดความหวาดวิตก
แก่กลุ่มอำนาจและกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ ที่กลัวว่า
นายกทักษิณจะอยู่ในอำนาจยาวนานจนยากแก่การเอาชนะได้
1.1.5.
อำนาจกลุ่มจารีตนิยมที่ได้รับประโยชน์จากการเมืองที่อ่อนแอดำรงอยู่อย่างยาว
นานสูญเสียอำนาจแต่งตั้งโยกย้าย ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง
การวางคนในรัฐวิสาหกิจ
สูญเสียความได้เปรียบจากการประมูลและสัมปทานจากรัฐซึ่งหมายถึงสูญเสียการควบ
คุมสังคมและทิศทางของรัฐเนื่องจากมีรัฐบาลเสียงข้างมากมีพรรคการเมืองที่
เข้มแข็งอีกทั้งมีผู้นำที่ได้รับความนิยมสูงจนเกินไป
1.1.6.
นักวิชาการที่เคยมีบทบาทชี้นำทางความคิดและกำหนดทิศทางสังคมไทย
ค่อยๆสูญเสียฐานะนำหลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540
เนื่องจากไม่สามารถเสนอทิศทางและนโยบายสาธารณะที่สามารถแก้วิกฤติได้
และเริ่มมีความหมายน้อยลงภายใต้การบริหารประเทศของนายกฯทักษิณ
1.1.7.
อำนาจกลุ่มจารีตนิยม กลุ่มนักวิชาการอนุรักษ์นิยมใหม่
ฝ่ายค้านและเสียงส่วนน้อยที่รวมตัวเป็นพันธมิตรมาตราเจ็ดประเมิณกำลังฝ่ายตน
เป็นรอง ทั้งวิสัยทัศน์ การบริหาร
ผลงานและความได้เปรียบด้านทรัพยากรอื่นๆจึงหมดหวังจากการต่อสู้ตามระบบและ
กติกาที่มีอยู่และมองไม่เห็นความได้เปรียบและชัยชนะจากการต่อสู้ในระบบโดย
เฉพาะอย่างยิ่งโอกาสชนะจากการเลือกตั้ง
จึงไม่อาจรอคอยให้ให้นายกทักษิณบริหารงานให้ครบตามวาระ
1.1.8.
กลุ่มผู้สูญเสียประโยชน์จากการมีรัฐบาลและพรรคการเมืองเข้มแข็งทั้งทางตรง
และทางอ้อมเคลื่อนไปบรรจบกัน อย่างมีการจัดการ ภายใต้สถานการณ์ที่นายกฯและ
ทรท.ประเมินความได้เปรียบทางการเมืองของฝ่ายตนสูงเกินไป
อีกทั้งไม่สามารถขจัดข้อโต้แย้ง ข้อโจมตีได้อย่างทันกาล
(การสั่งสมข้อมูลและความรู้สึกด้านลบต่อรัฐบาลมายาวนาน ในประเด็น
เอื้อประโยชน์พวกพ้อง มีอำนาจเบ็ดเสร็จ แทรกแซงองค์กรอิสระ แทรกแทรงสื่อ
ทุจริตคอร์รับชั่น เมื่อมีกรณี CTX คอยกัดกร่อนความเชื่อมั่น ศรัทธา
และกรณีการขายหุ้นชินคอร์ป
เป็นจุดแตกหักจึงเกิดจุดผลิกผันของสถานการณ์ในที่สุด)
1.2. ลักษณะของวิกฤติ
1.2.1.
กลุ่มจารีตนิยม กลุ่มนักวิชาการอนุรักษ์นิยมใหม่
ฝ่ายค้านและสื่อมวลชนสร้างกระแสทำลายความชอบธรรมของรัฐบาลเสียงข้างมากโดย
แอบอิงสถาบันพระมหากษัตริย์
และมุ่งสร้างสถานการณ์และประเด็นต่างๆเพื่อให้รัฐบาลเผชิญหน้ากับสถาบันพระ
มหากษัตริย์โดยไม่มีมูลความจริง
1.2.2.
เสียงส่วนน้อยใช้แต่สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่
แต่บิดเบือนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญกระทั่งละเมิดกฎหมายและกฎเกณฑ์ของสังคม
ซึ่งมีแนวโน้มเป็นอนาธิปไตย และเรียกแนวทางของตนเป็น
?Disobedience(อารยะขัดขืน)?
1.2.3. ในกระแสสูงแห่งการต่อต้าน
กลไกรัฐไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้
ทั้งนี้เพื่อควบคุมสถานการณ์มิให้บานปลาย จนไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
1.2.4.
เสียงส่วนน้อยปฎิเสธสาระสำคัญของระบอบประชาธิปไตยนั่นคือ
?การคว่ำบาตรการเลือกตั้ง? และปฎิเสธอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย
โดยการเสนอทางออกด้วยมาตรา 7 และขอนายกฯพระราชทาน ยกเลิกรัฐธรรมนูญบางมาตรา
ซึ่งเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการที่แอบอิงพระราชอำนาจ
1.2.5.
มาตรการคว่ำบาตรการเลือกตั้งไม่ว่าจะมุ่งหวังสิ่งใด
แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือระบบสังคมสั่นคลอน รวนเร
อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยเป็นง่อยไป 2 ใน 3 (นิติบัญญัติและบริหาร
เหลือแต่ตุลาการ) ในระยะเวลาที่ยาวนาน ทำให้การบริหารประเทศหยุดชะงัก
และส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ สังคมโดยรวม
1.2.6.
อำนาจตุลาการที่เข้ามาทำหน้าที่เพื่อคลี่คลายสถานการณ์
ได้ใช้อำนาจและกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างมีข้อกังขา
และมีความเคลื่อนไหวที่แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันตุลาการกับอำนาจ
นอกระบบที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องของที่มาและระบบคานอำนาจของอำนาจอธิปไตยของปวง
ชนชาวไทย และได้พิสูจน์อย่างชัดเจนแล้วหลังการ ยึดอำนาจ 19 กันยา
ในกรณีการปูนบำเน็จ ความชอบให้นายจรัล ภักดีธนกุล เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม
และ ชาญชัย ประธานศาลฎีกา มาเป็น รมต. กระทรวงยุติธรรม สิ่งนี้ยิ่งตอกย้ำ
ว่าหลักการแห่งความเป็นอิสระของศาล ไร้อำนาจใดแทรกแซงอำนาจตุลาการนั้น
ล้วนโกหกทั้งสิ้น
1.2.7.
กระบวนการแก้ไขปัญหาและคลี่คลายสถานการณ์ของสถาบันตุลาการได้เกิดคำถาม
เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยว่า มีที่มาอย่างไร,
มีกระบวนการใช้อำนาจที่ถูกต้องเป็นอิสระไร้การแทรกแทรงหรือไม่,
มีระบบการคานอำนาจกันอย่างเหมาะสม
เช่นอารยะประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น
ประมุขหรือไม่ ซึ่งเป็นคำถามสาธารณะที่ถูกยกระดับขึ้นหลังเหตุการณ์ 14
ตุลาคม 2516 และพฤษภาคม 2535 นับเป็นคำถามใหม่ ที่สะท้อนความก้าวหน้า
อีกขั้นหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยไทย
1.3. ลักษณะพิเศษของวิกฤตการณ์
1.3.1.
วิกฤตการณ์อำนาจอธิปไตยครั้งนี้
มีการอ้างอิงสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อสร้างความชอบธรรมในการโค่นล้มรัฐบาล
ที่มาจากการเลือกตั้งอย่างอึกทึกครึกโครมเป็นพิเศษ แม้ผู้นำการชุมนุมอย่าง
สนธิ
ลิ้มองกุลจะพูดจาจาบจ้วงจนปรากฎหลักฐานชัดเจนแต่กระบวนการยุติธรรมกลับเพิก
เฉย แม้แต่การรัฐประหารก็ยังใช้เหตุผล 1 ใน 4 ข้อเกี่ยวกับการจาบจ้วงสถาบัน
กระทั่งชื่อของคณะรัฐประหารก็ยังต้องต่อท้ายด้วยถ้อยคำ
?อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข?
1.3.2.
กลุ่มบุคคลที่เคยต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและต่อต้านอำนาจเผด็จการที่รวมกลุ่ม
เป็นพันธมิตรมาตราเจ็ด ได้เปลือยตัวตนและจิตวิญญาณที่กระหายอำนาจ วาสนา
และเข้าสู่กลไกอำนาจรัฐโดยไม่ต้องผ่านการรับรองจากมติมหาชน
เพราะเขาสามารถเข้าสู่อำนาจโดยรับใช้ถวายตัวต่ออำนาจพิศดาร
ภายใต้การสนับสนุนค้ำจุนของกองโจรติดอาวุธที่กระทำการย่ำยีต่ออำนาจอธิปไตย
ของประชาชน คนเหล่านี้มีที่ทำงานใหม่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ องค์กรอิสระ
กระทรวงทบวงกรมสภาร่างรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ
และแทรกตัวตามคณะกรรมการชุดต่างๆที่ คมช.แต่งตั้งขึ้น
1.3.3.
สื่อมวลชน ซึ่งแต่เดิมเป็นสื่อกลางที่ดำเนินงานภายใต้จรรยาบรรณของสื่อ
แต่กลับกลายเป็น กลุ่มพลัง(Pressure Group) ที่มีวาระซ่อนเร้น
ซึ่งนำเสนอข่าวสารเพื่อเป้าหมายของตน มากกว่าการนำเสนอข้อเท็จจริง
และอิงหลักการที่ถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน ตรงกันข้าม
สื่อมวลชนไม่เพียงแต่ปิดบังข่าวสาร
เลือกเฟ้นการเสนอข่าวตามคำชี้แนะเท่านั้น แต่บังอาจที่จะบิดเบือน
แต่งเรื่องโดยไม่มีมูลความจริง นำเสนอต่อสาธารณชนอย่างไร้ยางอาย
ถือได้ว่าสื่อมวลชนทั้งหลายได้ล้มละลายทางความน่าเชื่อถือไปแล้วเป็นส่วน
ใหญ่ หลังการรัฐประหารสื่อเหล่านั้นต่างได้รับการปูนบำเหน็จ
ทั้งให้ตำแหน่งแก่บุคคลากรที่เอาการเอางาน
และเปลี่ยนผังรายการเฉือนเวลาวิทยุ-โทรทัศน์มอบให้สื่อเหล่านั้นเป็นสิ่งตอบ
แทน
1.3.4. นักวิชาการ อีลีตของสังคม จำนวนหนึ่งลงแรงสร้างตรรกะ
ประดิษฐ์ถ้อยคำ เสนอวาทะกรรมเพื่อแก้ต่าง
สร้างความชอบธรรมให้แก่คณะรัฐประหาร โดยละทิ้ง
หลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยไปเสียสิ้น
ราวกับว่าประชาชนไทยไม่เคยรู้มาก่อนว่า
หลักาการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยคืออะไร
1.3.5.
ความตื่นตัวต่อการต้านรัฐประหาร ยืนยันหลักการประชาธิปไตย รายแรกๆ
กลับกลายเป็นคนหาเช้ากินค่ำอย่างลุง ?นวมทอง ไพรวัลย์?
ใช้รถแท็กซี่พุ่งชนรถถัง และผูกคอตาย ตั้งใจส่ง Message ต่อเพื่อนร่วมชาติ
ผ่านบทกลอน
ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเสื้อคอกลมสีดำที่หุ้มร่างกายโดยปราศจากดวง
วิญญาณ อีกทั้งเตรียมการบันทึกเสียงคำอำลา
และสั่งเสียให้เผยแพร่ในวันสุดท้ายของงานศพ นับเป็นปรากฎการณ์ทางสังคม
ที่สะเทือนความรู้สึกในวงกว้าง
และจะต้องถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไปอีกนานแสน
นาน
2. ?นิติรัฐ? พังทลาย อำนาจตุลาการสั่งได้
2.1. อาการพังทลายของ ?นิติรัฐ? คือลักษณะดังต่อไปนี้
2.1.1.
ใช้กองกำลังอาวุธปล้นอำนาจอธิปไตยของปวงชน
ยกเลิกรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งเป็นวิถีอนารยะ ป่าเถื่อน
ไม่ต่างจากการปล้นชิง มิใช่วิถีอารยะที่ประชาคมโลกให้การยอมรับ
2.1.2. ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งร่างโดยคณะเนติบริกรตามคำสั่งของผู้ยึดอำนาจ ซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ร่วมของประชาชนทั้งประเทศ
2.1.3.
คณะผู้ยึดอำนาจสามารถ จัดตั้งรัฐบาล สภานิติบัญญัติ องค์กรอิสระ
ซึ่งก็คือการเข้าควบคุมองคาพยพของรัฐที่สามารถกำหนดความเป็นตายไร้ดีของ
ประชาชนทั้งประเทศ โดยคณะบุคคลที่ใช้อำนาจอาวุธเพียงไม่กี่คน
2.1.4.
การออกประกาศ คำสั่งของผู้ยึดอำนาจโดยที่ประกาศคำสั่งนั้นเทียบเท่ากฎหมาย
ทั้งที่กระบวนการออกกฎหมายของ ?นิติรัฐ?
ต้องมาจาฝ่ายนิติบัญญัติที่ประชาชนทั้งประเทศเลือกตั้งขึ้น
นั่นคือความต้องการของคณะผู้ยึดอำนาจ คือกฎหมาย
2.1.5.
คณะผู้ยึดอำนาจสามารถ
สั่งการและแทรกแทรงกระบวนการยุติธรรมได้ทุกขั้นตอนตั้งแต่ตำรวจไปถึงศาล
นับเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือ และความน่าไว้วางใจของกระบวนการยุติธรรม
กระทั่งทำให้ศาลไม่สามารถธำรงไว้ซึ่งความเป็นอิสระ ตามหลักการพื้นฐานของ
?นิติรัฐ? เมื่อความเชื่อถือต่อกระบวนการยุติธรรม พังทลายลง
ก็จะเกิดความโกลาหลในสังคม เช่นเดียวกับความโกลาหลที่เกิดขึ้นใน 3
จังหวัดภาคใต้
2.1.6. คณะผู้ยึดอำนาจสามารถตั้งองค์กร แต่งตั้ง
ถอดถอน บุคคลให้ทำหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม ตามความประสงค์ของตน เช่น
คตส. ปปช. และศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งๆทีกระบวนการตามปกติของ ?นิติรัฐ?
มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายและหลายขั้นตอน
ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันในด้านความเป็นอิสระ ความโปร่งใส และความสุจริต
3.
สามเดือนสุดท้ายของปี 2549 พิสูจน์ชัด: อำนาจอธิปไตยในอุ้งมือของ คมช.
นอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาประชาชนและไม่สามารถรักษาความมั่งคั่งของประเทศไทย
ได้ดั่งเดิมแล้ว ยังผลักไสให้ประเทศไทยถอยหลังนับสิบๆปี และมีวิกฤติ นา นา
ประการ รอคอยอยู่เบื้องหน้า
3.1. รัฐบาลที่แล้วใช้เวลา 5
ปีเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศและสร้างความน่าเชื่อถือให้
ประเทศไทยยืนอยู่บนเวทีโลกอย่างมีศักดิ์ศรีและเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก
แต่รัฐบาล คมช. ใช้เวลาเพียงข้ามคืน
ทำลายความน่าเชื่อถือและศักดิ์ศรีของประเทศไทยไปเสียสิ้น
ต่างชาติรุมกันประนามอย่างกว้างขวาง
ความภาคภูมิใจของคนไทยถูกทำลายอย่างย่อยยับ
3.2.
รัฐบาลที่แล้วใช้เวลา 3 ปีเพื่อเตรียมงานเฉลิมฉลองศิริราชสมบัติครอบ 60 ปี
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเชิญ
กษัตริย์จากทั่วโลกเข้าร่วมและเป็นข่าวใหญ่ไปก้องโลก แต่
คมช.ใช้เวลาเพียงข้ามคืน ทำให้ทั่วโลกเข้าใจว่าการรัฐประหาร 19 กันยายน
2549 อยู่ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นข่าวพาดหัว
สื่อมวลชนยักษ์ใหญ่ที่เผยแพร่ไปทั่วโลก
3.3. ผลการดำเนินงานใน 3
เดือนสุดท้ายของปี 2549 มีอยู่ 3 อย่าง หนึ่ง
ใช้ความพยายามทุกวิถีทางเพื่อเอาผิดต่อ
นายกทักษิณและครอบครัวให้ได้ตลอดจนรื้อนโยบายและผลงานของรัฐบาลที่ผ่านมา
โดยการคัดลอก ตัดแปะ และเปลี่ยนชื่อโดยหวังให้ผู้คนลืมรัฐบาลที่แล้วโดยเร็ว
พร้อมๆกับกีดกันการกลับเข้ามาของ อดีตนายกทักษิณ ทุกวิถีทาง สอง
วางกำลังคนของฝ่ายตนเข้าควบคุมกลไกรัฐ ทั้งที่มีอยู่เดิมและตั้งขึ้นมาใหม่
ตลอดจนเข้าควบคุมแหล่งงบประมาณและแหล่งผลประโยชน์ทั้งรัฐวิสาหกิจและองค์กร
หน่วยงานต่างๆ สาม
สร้างองค์กรใหม่และขยายองค์กรเดิมเพื่อดูดงบประมาณให้อยู่ในการกำกับดูแลของ
ตน เช่นหน่วยงานใหม่ ของคมช.เพื่อขอใช้งบกว่า 500 ล้านบาท
และการเพิ่มอัตรากำลังพล 70,000 อัตราใน กอ.รมน. เป็นต้น ตลอดทั้ง 3
เดือนประชาชนคอยสดับตรับฟังว่า พวกเขาจะนำพาประเทศไปทิศทางไหน
ด้วยยุทธศาสตร์ใด แต่ไร้วี่แวว
3.4. เพียง 3 เดือนที่ครองอำนาจ
คณะรัฐมนตรีผู้เชี่ยวชาญงานรูทีนทั้งหลาย
นอกจากไม่ได้สร้างผลงานเป็นชิ้นเป็นอันแล้ว
กลับสร้างเรื่องเลวร้ายขึ้นมากมาย
3.4.1. ใช้เงินภาษีประชาชน 1,000
ล้านบาทเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ฉีกรัฐธรรมนูของประชาชนทิ้ง
คุกคามและริดรอนสิทธิ เสรีภาพของประชาชนด้วยประกาศคำสั่งตามใจชอบ
แต่งตั้งพรรคพวก กินเงินเดือนจากภาษีประชาชน เข้าเป็นคณะรัฐมนตรี
สภานิติบัญญัติ องค์กรอิสระ สภาที่ปรึกษา เข้าควบคุมรัฐวิสาหกิจ
และแทรกแทรงในกรรมการชุดต่างๆที่พวกเขาตั้งขึ้น
3.4.2.
ความเป็นนิติรัฐที่สังคมไทยพัฒนาขึ้นด้วยสติปัญญา และแลกมาด้วยเลือดเนื้อ
ชีวิตของวีรชนเดือนพฤษภาคม 2535 ต้องพังทลายลง จากการเข้ามายึดอำนาจของ
คปค.ครั้งนี้
3.4.3. ใช้เงินภาษีประชาชนจัดตั้งองค์กร คุกคาม
และเตรียมการปราบปรามประชาชน โดยเป็นหน่วยงานพิเศษของ คมช. 550 ล้านบาท
และเพิ่มกำลังพลใน กอ.รมน.อีก 70,000 ตำแหน่ง
เพื่อควบคุมประชาชนในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ
ทั้งๆที่ประกาศให้ทั่วโลกรู้ว่าพวกตนยึดอำนาจโดยที่ประชาชนให้การยอมรับทั่ว
ประเทศ
3.4.4. เชิดชูความมีจริยธรรม คุณธรรมของผู้นำสูงส่ง
ทั้งๆที่นายกรัฐมนตรีคือเป็นผู้บุกรุกป่าสงวนที่เขายายเที่ยง และ ประธาน
คมช.จดทะเบียนสมรสซ้อน
3.4.5. แก้ปัญหาค่าเงินบาทแต่ทำลายตลาดทุน
ทำให้ขนาดตลาดเสียหาย 800,000 ล้านภายในวันเดียวทำให้หุ้นลง 108 จุด
ต่างประเทศเทขายไม่หยุด พวกเขาจัดการให้ดัชนีเป็นบวกโดยบังคับให้กองทุนฯ
อุ้มซื้อ
ซึ่งจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและส่งผลกระทบต่อตลาดทุนในระยะยาว
3.4.6.
สรรหาบุคคลเป็นสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญโดยไม่มีที่มาที่ไป
ดำเนินการเลือกสมัชชา ไปเป็น สสร. โดยมีกลิ่นไอของการใช้เงิน
เพื่อบล็อคโหวตให้ได้คนตามโผของพวกตน
นอกจากไม่สามารถสร้างความชอบธรรมได้แล้ว ยังถูกรุมประนามไปทั่ว
3.4.7.
สร้างภาพ วาดหวังให้ผู้คนเชื่อว่า ศอ.บต.
มีประสิทธิภาพและมียุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาภาคใต้ได้ แต่ปํญหาภาคใต้
ได้ขยายตัวจากเรื่องภายในประเทศกลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศ และยกระดับจาก
เรื่องก่อการวินาศกรรมเป็นเรื่องแยกดินแดนแล้ว
ซึ่งสถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงทุกวัน
4. ปี 2550: คมช.รัฐบาล สภานิติบัญญัติ องค์กรทีไม่อิสระ และฝ่ายตุลาการใต้เงาปืน จะผ่านด่านทดสอบได้หรือไม่
ตั้งแต่นี้ต่อไป คมช.จะต้องผ่านด่านทดสอบที่สำคัญดังต่อไปนี้?.
4.1.
ด่านทดสอบ หนึ่ง จริยธรรม คุณธรรม และความพอเพียง ผู้นำ คมช.ทั้งตัวประธาน
คมช. นายกรัฐมนตรี และบุคคลในคณะ
ซึ่งสร้างภาพให้ประชาชนเข้าใจและรู้สึกว่าตนเป็นผู้นำที่เพรียบพร้อมด้วย
คุณธรรมและจริยธรรมอันสูงส่ง
กระทั่งเป็นแบบอย่างอันดีงานของผู้ประพฤติตนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น
จะเป็นจริงเช่นนั้นต่อไปหรือไม่
กรณีการบุกรุกป่าสงวนเขายายเที่ยงของนายกรัฐมนตรี
และกรณีจดทะเบียนสมรสซ้อนของ ประธาน คมช.นั้น
เป็นเพียงการเผชิญความจริงหน้าด่านทดสอบแรกเท่านั้น
4.2. ด่านทดสอบ
สอง ปัญหาภาคใต้แก้ได้หรือขยายตัว การแก้ปัญหาภาคใต้รัฐบาลขิงแก่
ยังแก้ไม่ถูกจุด ล้มเหลวด้านการข่าว เข้าไม่ถึงรังของผู้ก่อการ
อ่านยุทธศาสตร์ของผู้ก่อการไม่ออก จัดทำยุทธศาสตร์ผิดพลาด
พ่ายแพ้พวกแยกดินแดนในหลายๆยุทธการ
แถมยังวางตัวบุคลากรและแนวทางการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประชาชนไม่ถูกต้อง
ทำให้ปัญหาการก่อวินาศกรรม
จากจุดเล็กๆเป็นเงื่อนไขให้พวกแยกดินแดนใช้ประโยชน์ไปขยายการก่อการร้ายได้
กว้างขึ้น
และยกระดับปัญหาให้เป็นการแยกดินแดนและเป็นเรื่องที่เชื่อมกับต่างประเทศ
ยิ่งมีสำนักข่าว อัลซาจีร่ามาตั้งอยู่ในมาเลเซีย
จะทำให้การเสนอข่าวสารต่อโลกมุสลิมมีความแหลมคมยิ่งขึ้น
เมื่อนายกสุรยุทธ์ไปให้สัมภาษณ์สำนักข่าวดังกล่าวโดยที่ไม่เข้าใจปัญหาอย่าง
ถ่องแท้ยิ่งทำให้เกิดคำถามมากกว่าความเข้าใจที่ดีขึ้นจะทำให้เหตุการณ์บาน
ปลายยิ่งขึ้น
4.3. ด่านทดสอบ สาม
กระบวนการยุติธรรมเป็นอิสระโดยปราศจากการแทรกแซงจริงหรือ
การออกมาให้ข่าวตั้งข้อหา กล่าวโทษ อดีตนายกทักษิณ ครอบครัว
และนักการเมืองคนอื่นๆ ของ คตส. นั้น
ถือเป็นพฤติกรรมของผู้ทำงานในกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง ครองธรรม หรือไม่
ในเมื่อ คตส.เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม
ทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมข้อมูลหลักฐาน ที่ยังไม่มีการชี้แจงจากผู้ถูกล่าวหา
และศาลยังมิได้พิพากษา
ไม่เพียงเท่านี้เมื่อเรื่องราวทั้งปวงถูกส่งฟ้องศาลแล้ว อำนาจตุลาการ
โดยศาล จะสามารถรักษาความเป็นอิสระไว้ได้หรือไม่ และ
ศาลจะสามารถพิสูจน์ว่าไม่มีการแทรกแซงจากผู้มีอำนาจจริงหรือไม่
4.4.
ด่านทดสอบ สี่ พิพากษาคดียุบพรรคการเมืองเดินตามธงของผู้มีอำนาจหรือไม่ ปี
2550 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่แต่งตั้งโดย คมช. และมีคนใกล้ชิดของ
พลเอกเปรม รวมอยู่ในนั้นหลายคน จะต้องพิสูจน์ให้ประชาชน เชื่อมั่นได้ว่า
ดำเนินการอย่างสุจริต โปร่งใส ไร้อคติ
และที่สำคัญไม่ใช่มีมติพิพากษาไปตามธงของ คมช. หรือ ผู้อยู่เบื้องหลัง คมช.
4.5.
ด่านทดสอบ ห้า สิทธิ เสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมทางการเมือง
ของประชาชน
จะถูกตั้งข้อหาเป็นพวกคลื่นใต้น้ำป่วนเมืองและเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือไม่
คมช. กอ.รมน. สันติบาล จะต้องพิสูจน์ว่า การรขอใช้งบ 500
ล้านเพื่อสร้างหน่วยงานใหม่ ให้คมช. และเพิ่อัตรากำลังพล 70,000
นายในกอ.รมน.
นั้นเป็นการทำงานเพื่อความมั่นคงของรัฐที่เกิดจากการรุกรานของอริราชศตรูจาก
ต่างประเทศ หรือ การก่อการร้าย มิใช่มีไว้เพื่อ ปราบปราม กดหัว
ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยและคัดค้านพวกตน
และจะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าจะไม่ใช้งบประมาณก้อนนี้ ?สถาปนารัฐทหาร?
เพื่อสืบทอดอำนาจของ คมช.และคณะ ไม่ว่า คมช.จะเป็นผู้ออกมาเล่นเองหรือ
ส่งตัวแทนออกมาเล่นตามบทที่ตนกำหนด
4.6. ด่านทดสอบ หก
ร่างรัฐธรรมนูญโดยตั้งธงและหมกเม็ดหรือไม่ กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ
ที่จะเกิดขึ้นจาก สสร.ที่คัดเลือกแต่งตั้งโดย คมช.นั้น แท้ที่จริงคือปาหี่
และละครโรงใหญ่ ซึ่งเป็น ?มุก?ทางการเมืองที่ใช้มาแล้วเมื่อปี 2517
การนำมุกนี้กลับมาใช้อีกในปี 2549 โดยที่โลกเคลื่อนที่ไปในกาแลกซี่ ถึง 32
ปีแล้วนั้น นับเป็นอาการย้ำคิด ย้ำทำ ทางการเมืองไร้เหตุผล
แต่เมื่อมันได้เกิดขึ้นแล้ว สสร. จะต้องพิสูจน์ให้ประชาชนเห็นว่า
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องดีกว่า หรือดีไม่น้อยกว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 ที่พวก
คมช.ฉีกทำลายไป
4.7. ด่านทดสอบ เจ็ด เศรษฐกิจไทยปี 2550 ปลอดภัยหรือสุ่มเสี่ยง
4.7.1.
ประชานไม่กล้าจับจ่าย ใช้สอย เพราะความไม่มั่นใจต่ออนาคต
อีกทั้งคล้อยตามคำโฆษณาให้ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง จะทำให้ยอดขายสินค้าตก
รัฐเก็บภาษี VAT ได้น้อยลง ผู้ประกอบการยอดขายตก กำไนหด
ก็จ่ายภาษีนิติบุคคลได้น้อยลง สินค้าเหล้า
บุหรี่ถูกควบคุมอย่างหนักทำให้เก็บภาษีสรรพษามิตรได้น้อยลง
จะทำให้รายได้ของรัฐมีแนวโน้มลดลงอย่ามาก
จนก่อปัญหาด้านการคลังในปีงบประมาณปี 2551
4.7.2.
ประเทศอเมริกาและสหภาพยุโรปชลอการเจราทางการค้ากับไทยและมีแนวโน้มกีดกันการ
นำเข้าสินค้าจากไทย
จนกว่าจะมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งจะทำให้โอกาสส่งออกในตลาดใหญ่ๆของไทยหดแคบ
ลง ทำให้เงินตราต่างประเทศเข้าสู่ประเทศน้อยลง
4.7.3.
ค่าเงินบาทยังจะแข็งค่า เนื่องจาก เศรษฐกิจขาลงของอเมริกา ขีดความสามารถ
ในการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทของ ธปท.มีความจำกัด
ยังจะมีผลต่อการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออก
และจะทำให้ภาคการส่งออกประสบกับความเสี่ยง
4.7.4. ผู้ประกอบการในภาค
Real Sector ชลอการลงทุนเพิ่ม กิจการส่งออกถึงขั้นลดกำลังการผลิต
และหยุดผลิต ในขณะที่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศยืดเวลาการลงทุนออกไป
จะทำให้ภาวะการลงทุนในภาค Real Sector หดตัวลง
4.7.5.
เมื่อหมดงานพืชสวนโลกกระแสนักท่องเที่ยวจะลดลง
และรัฐยังไม่มีแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อแสวงหารายได้จากเงินตราต่าง
ประเทศจากนักท่องเที่ยว จะทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง
4.8.
ด่านทดสอบ แปด แรงงานเพิ่งจบเข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นอีก 1,000,000
ตำแหน่ง ในขณะที่แรงงานปัจจุบัน มีความเสี่ยงจากการถูกเลิกจ้าง
เนื่องจากการลดกำลังผลิต และ หยุดการผลิต อีกทั้งไม่มีการขยายกิจการเพิ่ม
เนื่องจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
จะทำให้ปัญหาคนว่างงานกลายเป็นปัญหาใหญ่และเป็นภาระของสังคมมากกว่าเป็นพลัง
สร้างสังคม
4.9. ด่านทดสอบ เก้า สินค้าเกษตรตกต่ำ
ประชาชนในภาคการเกษตรจะถูกทอดทิ้ง ขาดการเหลียวแล สินค้าด้านการเกษตร
ที่สำคัญ เช่นข้าว ยางพารา และพืชผลอื่นๆ ราคาตกลงอย่างน่าเป็นห่วง
ด้านหนึ่งเนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาท ที่ส่งผลต่อผู้ส่งออก
แต่อีกด้านหนึ่งมาจาก
ความสามารถด้านการบริหารของผู้นำรัฐบาลและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ
จะทำให้เกษตรกรจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน และเดินทางเข้าสู่
กรุงเทพเพื่อหารายได้เพิ่ม ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาที่ยากจะคาดการณ์ได้
4.10.
ด่านทดสอบ สิบ ปํญหาสังคม ตามมาเป็นพรวน จากปัญหาต่างๆที่กล่าวมา
สังคมไทยจะกลายสภาพเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความชั่วร้าย นา นา ประการ เช่น
การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด การลัก ขโมย การปล้น จี้ชิงทรัพย์
การฉ้อฉลธุรกรรมทางธุรกิจ การปล่อยเงินกู้นอกระบบ การทวงหนี้นอกกฎหมาย
มือปืนรับจ้าง และการฆาตกรรม
ทั้งจากการจ้างวานและจากภาวะความเครียดทางจิตใจ ปัญหาเหล่านี้
มักจะเกิดขึ้นเมื่อระบบนิติรัฐพังทลาย และภาวะเศรษฐกิจมีปัญหา
ประชาชนมองไม่เห็นอนาคตของประเทศและของตนเอง และผู้ทีจะบอกว่า
พวกท่านทั้งหลายผ่านด่านทดสอบหรือไม่
คือประชาชนทั้งประเทศ
หาใช่ ?อำนาจพิศดาร? ใดๆ ไม่
บทความนี้มาจาก http://article-spadmc.blogspot.com/2010/11/blog-post_23.html
วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตยของปวงชน
ปี 2549: วิกฤตการณ์แห่ง ?อำนาจอธิปไตยของปวงชน? และการพังทลายของ ?นิติรัฐ?
การ วิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2549 ในแง่มุมที่ยังไม่มีเอกสารใดนำเสนอต่อสาธารณะมาก่อน เพื่อวิเคราะห์ถึงเหตุแห่งวิกฤติอันนำไปสู่การทำรัฐประหาร19กันยา ผลกระทบทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดจากการรัฐประหารและประเมิน สถานการณ์ทางด้านการเมืองที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตภายใต้เงาปืนของเผด็จการทหาร เรียกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2548 -กย. 2549 ว่า ?วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตยของปวงชน? เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด มีเป้าหมายอยู่ที่การเปลี่ยนผู้ยึดครองอำนาจรัฐหรืออำนาจอธิปไตยด้วยกระบวน การสองด้าน กล่าวคือ
ด้านหนึ่ง ประนาม โจมตี ทำลายความชอบธรรมของฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง กระทั่งมุ่งหมายปลิดชีวิตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชิณวัตร มุ่งเอาชนะคะคานโดยไม่เลือกวิธีการ
ส่วนอีกด้านหนึ่งพวกเขาใช้ ประโยชน์จากความจงรักภักดีของประชาชนไทยที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ฝ่ายตน ภายใต้ Motto ที่ฟังดูแปลกๆ เช่น ?ทวงคืนประเทศไทย? ?ทำลายระบอบทักษิณ? ?ถวายคืนพระราชอำนาจ? ?สู้เพื่อในหลวง? ?นายกพระราชทาน ผ่านมาตรา 7? เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป้าหมาย ?ทักษิณ..ออกไป? ซึ่งจะทำให้ ?กลุ่มอำนาจอื่น? เข้าควบคุม ?อำนาจอธิปไตย? ได้ง่ายขึ้น
?กลุ่ม อำนาจอื่น? ได้แสดงตนในนาม ?คณะปฎิรูปการการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค)? ใช้ภาษีประชาชน 1,000 ล้านบาท เพื่อเติมน้ำมันรถถัง ให้เบี้ยเลี้ยงคนถือปืน จัดหากระสุนดินปืน เพื่อข่มขวัญ คุกคามประชาชนที่อาจคัดค้านพวกตน ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2540 ใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ เอากองกำลังอาวุธควบคุมสื่อทีวี และออกประกาศ คำสั่ง ห้ามประชาชนทำในสิ่งที่พวกตนไม่ประสงค์ให้ทำ และคำสั่งให้ประชาชนปฎิบัติตามในสิ่งที่ตนต้องการ เป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ แต่งตั้งสภานิติบัญญัติให้รางวัลแก่ผู้เอาการเอางานต่อต้านระบอบทักษิณ แต่งตั้งองค์กรอิสระปูนบำเน็จแก่นักล่าระบอบทักษิณ แต่งตั้งข้าราชการและคณะรัฐมนตรีเพื่อควบคุมกลไกรัฐทั้งปวงให้อยู่ในความควบ คุมของตน อำนาจอธิปไตยที่เคยเป็นของปวงชน อยู่ในเงื้อมมือกองโจรในเครื่องแบบโดยสมบูรณ์ ความเป็นไปของประเทศไทยในทุกๆเรื่องล้วนกำหนดโดย ?กลุ่มบุคคลเพียงหยิบมือเดียว? คณะนี้พวกเขาได้ใช้ภาษีประชาชน 1,000 ล้านบาทเพื่อปล้นอำนาจอธิปไตยของปวงชนเข้าควบคุมกลไกรัฐทุกกระทรวงทบวงกรม รวมรัฐวิสาหกิจ แล้วเข้าบริหารงบประมาณประจำปีอีก 1.5 ล้านล้านบาทโดยใช้วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์บริหารประเทศด้วยวลีสั้นๆเพียงวลี เดียวนั่นคือ ?ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง? ปรากฎการณ์เหล่านี้จะเรียกขานเป็นอื่นไม่ได้ นอกจาก ?การพังทลายของ นิติรัฐ? นั่นเอง.(ลองเปรียบเทียบกับการเข้าสู่อำนาจของพรรคการเมืองซึ่ง รัฐใช้งบ 2,000 ล้านเพื่อบริหารการเลือกตั้ง นักการเมืองต้องลงแรงตระเวณหาเสียง ยกมือไหว้ขอคะแนนเสียงจากประชาชน ใช้เงินส่วนตัว เขตเลือกตั้งละไม่เกิน 1 ล้านบาท งบหาเสียงพรรคเฉลี่ยพรรคละ 100 ล้านบาท ประมาณการทั้งสิ้น 6,500 ล้านบาทเป็นส่วนของรัฐ 2,000 ล้าน ส่วนขอฝ่ายการเมืองทุกพรรครวมกัน 4,500 ล้านแต่ คปค.ไม่ใช้เงินส่วนตัวแม้สลึงเดียวเข้าสู่อำนาจรัฐจัดเงินเดือนให้ตัวเองและ พรรคพวก ส่งพรรคพวกคุมรัฐวิสาหกิจตักตวงผลประโยชน์เข้ากระเป๋าและจัดงบประมาณประจำปี อีก 1.5 ล้านล้านบาทจัดเองใช้เอง อนุมัติเอง โดยไร้การตรวจสอบถ่วงดุลย์จากทุกภาคส่วนของสังคม)
1. วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตย
1.1. สาเหตุแห่งวิกฤติ
1.1.1. โลกาภิวัฒน์มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงกรอบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การได้เปรียบ-เสียเปรียบของข้อตกลงทางการค้า การเคลื่อนย้ายทุน คน สินค้า ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี เป็นไปอย่างเสรี รวดเร็วและสลับซับซ้อน กดดันให้คนทั่วทั้งโลกต้องปรับตัวอย่างขนานใหญ่ ทั้งกรอบในการรับรู้ การวิเคราะห์ การทำความเข้าใจโลก และการประเมิณคุณค่าใหม่ๆ สถานการณ์โดยรวมก่อให้เกิดเส้นแบ่งใหม่ระหว่างฝ่ายที่ปรับตัวได้กับฝ่ายที่ ไม่สามารถปรับตัวได้ (กลุ่มอนุรักษ์ใหม่ ) ประเด็นหลักของการปรับตัวคือ ยอมรับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือไม่ อยู่ในฝ่ายที่ได้เปรียบ-เสียเปรียบต่อการแปรรูปหรือไม่อย่างไร ยอมรับการตกลงการค้าเสรีโดยหลักการหรือไม่ อยู่ในฝ่ายที่ได้เปรียบ-เสียเปรียบต่อข้อตกลงทางการค้ารายสินค้าหรือไม่ อย่างไร กลุ่มคนที่ปรับตัวไม่ได้และเสียประโยชน์จากผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ มีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมกระทั่งเป็นตัวตั้งตัวตีต่อการต่อต้านรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เพราะท่านเน้นยุทธศาสตร์ อยู่ร่วมกับโลกาภิวัฒน์และใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัฒน์เป็นสำคัญ
1.1.2. กลุ่มทุนที่ไร้ความสามารถปรับตัวหลังวิกฤติ ทั้งกลุ่มที่เป็น NPL (เช่นผู้จัดการ TPI) กลุ่มที่ไม่มีความสามารถทำกำไรและ/หรือ ขยายกิจการอย่างมีข้อจำกัด ล้วนมีความคาดหวังพึ่งพารัฐและต้องการใช้สิทธิพิเศษฟื้นฟูกิจการของตน เมื่อพึ่งพาและใช้สิทธ์พิเศษไม่ได้ก็หันไปอยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล
1.1.3. กลุ่มการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่ม ไม่สามารถต่อรองผลประโยชน์จากรัฐได้ตามต้องการก็หันไปอยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับ รัฐบาลและพรรคไทยรักไทยที่ตนเคยสังกัดหรือให้การสนับสนุน(เช่นกลุ่มวังน้ำ เย็น และกลุ่มทุนพรรคชาติไทย)
1.1.4. การมีเสียงข้างมากของ ทรท.และสามารถผลักดันนโยบายที่สัญญาไว้จนประสบความสำเร็จและเป็นที่พอใจของ ประชาชนจำนวนมาก ทำให้เกิดภาพความเข้มแข็ง ความมีเสถียรภาพ และการควบคุมอำนาจรัฐที่มั่นคง โดยพรรคการเมืองเดียวเป็นสถานการณ์ใหม่ที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในประวัติศาสตร์ การเมืองไทย ได้ก่อให้เกิดความหวาดวิตก แก่กลุ่มอำนาจและกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ ที่กลัวว่า นายกทักษิณจะอยู่ในอำนาจยาวนานจนยากแก่การเอาชนะได้
1.1.5. อำนาจกลุ่มจารีตนิยมที่ได้รับประโยชน์จากการเมืองที่อ่อนแอดำรงอยู่อย่างยาว นานสูญเสียอำนาจแต่งตั้งโยกย้าย ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง การวางคนในรัฐวิสาหกิจ สูญเสียความได้เปรียบจากการประมูลและสัมปทานจากรัฐซึ่งหมายถึงสูญเสียการควบ คุมสังคมและทิศทางของรัฐเนื่องจากมีรัฐบาลเสียงข้างมากมีพรรคการเมืองที่ เข้มแข็งอีกทั้งมีผู้นำที่ได้รับความนิยมสูงจนเกินไป
1.1.6. นักวิชาการที่เคยมีบทบาทชี้นำทางความคิดและกำหนดทิศทางสังคมไทย ค่อยๆสูญเสียฐานะนำหลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 เนื่องจากไม่สามารถเสนอทิศทางและนโยบายสาธารณะที่สามารถแก้วิกฤติได้ และเริ่มมีความหมายน้อยลงภายใต้การบริหารประเทศของนายกฯทักษิณ
1.1.7. อำนาจกลุ่มจารีตนิยม กลุ่มนักวิชาการอนุรักษ์นิยมใหม่ ฝ่ายค้านและเสียงส่วนน้อยที่รวมตัวเป็นพันธมิตรมาตราเจ็ดประเมิณกำลังฝ่ายตน เป็นรอง ทั้งวิสัยทัศน์ การบริหาร ผลงานและความได้เปรียบด้านทรัพยากรอื่นๆจึงหมดหวังจากการต่อสู้ตามระบบและ กติกาที่มีอยู่และมองไม่เห็นความได้เปรียบและชัยชนะจากการต่อสู้ในระบบโดย เฉพาะอย่างยิ่งโอกาสชนะจากการเลือกตั้ง จึงไม่อาจรอคอยให้ให้นายกทักษิณบริหารงานให้ครบตามวาระ
1.1.8. กลุ่มผู้สูญเสียประโยชน์จากการมีรัฐบาลและพรรคการเมืองเข้มแข็งทั้งทางตรง และทางอ้อมเคลื่อนไปบรรจบกัน อย่างมีการจัดการ ภายใต้สถานการณ์ที่นายกฯและ ทรท.ประเมินความได้เปรียบทางการเมืองของฝ่ายตนสูงเกินไป อีกทั้งไม่สามารถขจัดข้อโต้แย้ง ข้อโจมตีได้อย่างทันกาล (การสั่งสมข้อมูลและความรู้สึกด้านลบต่อรัฐบาลมายาวนาน ในประเด็น เอื้อประโยชน์พวกพ้อง มีอำนาจเบ็ดเสร็จ แทรกแซงองค์กรอิสระ แทรกแทรงสื่อ ทุจริตคอร์รับชั่น เมื่อมีกรณี CTX คอยกัดกร่อนความเชื่อมั่น ศรัทธา และกรณีการขายหุ้นชินคอร์ป เป็นจุดแตกหักจึงเกิดจุดผลิกผันของสถานการณ์ในที่สุด)
1.2. ลักษณะของวิกฤติ
1.2.1. กลุ่มจารีตนิยม กลุ่มนักวิชาการอนุรักษ์นิยมใหม่ ฝ่ายค้านและสื่อมวลชนสร้างกระแสทำลายความชอบธรรมของรัฐบาลเสียงข้างมากโดย แอบอิงสถาบันพระมหากษัตริย์ และมุ่งสร้างสถานการณ์และประเด็นต่างๆเพื่อให้รัฐบาลเผชิญหน้ากับสถาบันพระ มหากษัตริย์โดยไม่มีมูลความจริง
1.2.2. เสียงส่วนน้อยใช้แต่สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ แต่บิดเบือนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญกระทั่งละเมิดกฎหมายและกฎเกณฑ์ของสังคม ซึ่งมีแนวโน้มเป็นอนาธิปไตย และเรียกแนวทางของตนเป็น ?Disobedience(อารยะขัดขืน)?
1.2.3. ในกระแสสูงแห่งการต่อต้าน กลไกรัฐไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ ทั้งนี้เพื่อควบคุมสถานการณ์มิให้บานปลาย จนไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
1.2.4. เสียงส่วนน้อยปฎิเสธสาระสำคัญของระบอบประชาธิปไตยนั่นคือ ?การคว่ำบาตรการเลือกตั้ง? และปฎิเสธอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย โดยการเสนอทางออกด้วยมาตรา 7 และขอนายกฯพระราชทาน ยกเลิกรัฐธรรมนูญบางมาตรา ซึ่งเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการที่แอบอิงพระราชอำนาจ
1.2.5. มาตรการคว่ำบาตรการเลือกตั้งไม่ว่าจะมุ่งหวังสิ่งใด แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือระบบสังคมสั่นคลอน รวนเร อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยเป็นง่อยไป 2 ใน 3 (นิติบัญญัติและบริหาร เหลือแต่ตุลาการ) ในระยะเวลาที่ยาวนาน ทำให้การบริหารประเทศหยุดชะงัก และส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ สังคมโดยรวม
1.2.6. อำนาจตุลาการที่เข้ามาทำหน้าที่เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ ได้ใช้อำนาจและกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างมีข้อกังขา และมีความเคลื่อนไหวที่แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันตุลาการกับอำนาจ นอกระบบที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องของที่มาและระบบคานอำนาจของอำนาจอธิปไตยของปวง ชนชาวไทย และได้พิสูจน์อย่างชัดเจนแล้วหลังการ ยึดอำนาจ 19 กันยา ในกรณีการปูนบำเน็จ ความชอบให้นายจรัล ภักดีธนกุล เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม และ ชาญชัย ประธานศาลฎีกา มาเป็น รมต. กระทรวงยุติธรรม สิ่งนี้ยิ่งตอกย้ำ ว่าหลักการแห่งความเป็นอิสระของศาล ไร้อำนาจใดแทรกแซงอำนาจตุลาการนั้น ล้วนโกหกทั้งสิ้น
1.2.7. กระบวนการแก้ไขปัญหาและคลี่คลายสถานการณ์ของสถาบันตุลาการได้เกิดคำถาม เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยว่า มีที่มาอย่างไร, มีกระบวนการใช้อำนาจที่ถูกต้องเป็นอิสระไร้การแทรกแทรงหรือไม่, มีระบบการคานอำนาจกันอย่างเหมาะสม เช่นอารยะประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุขหรือไม่ ซึ่งเป็นคำถามสาธารณะที่ถูกยกระดับขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และพฤษภาคม 2535 นับเป็นคำถามใหม่ ที่สะท้อนความก้าวหน้า อีกขั้นหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยไทย
1.3. ลักษณะพิเศษของวิกฤตการณ์
1.3.1. วิกฤตการณ์อำนาจอธิปไตยครั้งนี้ มีการอ้างอิงสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อสร้างความชอบธรรมในการโค่นล้มรัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้งอย่างอึกทึกครึกโครมเป็นพิเศษ แม้ผู้นำการชุมนุมอย่าง สนธิ ลิ้มองกุลจะพูดจาจาบจ้วงจนปรากฎหลักฐานชัดเจนแต่กระบวนการยุติธรรมกลับเพิก เฉย แม้แต่การรัฐประหารก็ยังใช้เหตุผล 1 ใน 4 ข้อเกี่ยวกับการจาบจ้วงสถาบัน กระทั่งชื่อของคณะรัฐประหารก็ยังต้องต่อท้ายด้วยถ้อยคำ ?อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข?
1.3.2. กลุ่มบุคคลที่เคยต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและต่อต้านอำนาจเผด็จการที่รวมกลุ่ม เป็นพันธมิตรมาตราเจ็ด ได้เปลือยตัวตนและจิตวิญญาณที่กระหายอำนาจ วาสนา และเข้าสู่กลไกอำนาจรัฐโดยไม่ต้องผ่านการรับรองจากมติมหาชน เพราะเขาสามารถเข้าสู่อำนาจโดยรับใช้ถวายตัวต่ออำนาจพิศดาร ภายใต้การสนับสนุนค้ำจุนของกองโจรติดอาวุธที่กระทำการย่ำยีต่ออำนาจอธิปไตย ของประชาชน คนเหล่านี้มีที่ทำงานใหม่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ องค์กรอิสระ กระทรวงทบวงกรมสภาร่างรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ และแทรกตัวตามคณะกรรมการชุดต่างๆที่ คมช.แต่งตั้งขึ้น
1.3.3. สื่อมวลชน ซึ่งแต่เดิมเป็นสื่อกลางที่ดำเนินงานภายใต้จรรยาบรรณของสื่อ แต่กลับกลายเป็น กลุ่มพลัง(Pressure Group) ที่มีวาระซ่อนเร้น ซึ่งนำเสนอข่าวสารเพื่อเป้าหมายของตน มากกว่าการนำเสนอข้อเท็จจริง และอิงหลักการที่ถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน ตรงกันข้าม สื่อมวลชนไม่เพียงแต่ปิดบังข่าวสาร เลือกเฟ้นการเสนอข่าวตามคำชี้แนะเท่านั้น แต่บังอาจที่จะบิดเบือน แต่งเรื่องโดยไม่มีมูลความจริง นำเสนอต่อสาธารณชนอย่างไร้ยางอาย ถือได้ว่าสื่อมวลชนทั้งหลายได้ล้มละลายทางความน่าเชื่อถือไปแล้วเป็นส่วน ใหญ่ หลังการรัฐประหารสื่อเหล่านั้นต่างได้รับการปูนบำเหน็จ ทั้งให้ตำแหน่งแก่บุคคลากรที่เอาการเอางาน และเปลี่ยนผังรายการเฉือนเวลาวิทยุ-โทรทัศน์มอบให้สื่อเหล่านั้นเป็นสิ่งตอบ แทน
1.3.4. นักวิชาการ อีลีตของสังคม จำนวนหนึ่งลงแรงสร้างตรรกะ ประดิษฐ์ถ้อยคำ เสนอวาทะกรรมเพื่อแก้ต่าง สร้างความชอบธรรมให้แก่คณะรัฐประหาร โดยละทิ้ง หลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยไปเสียสิ้น ราวกับว่าประชาชนไทยไม่เคยรู้มาก่อนว่า หลักาการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยคืออะไร
1.3.5. ความตื่นตัวต่อการต้านรัฐประหาร ยืนยันหลักการประชาธิปไตย รายแรกๆ กลับกลายเป็นคนหาเช้ากินค่ำอย่างลุง ?นวมทอง ไพรวัลย์? ใช้รถแท็กซี่พุ่งชนรถถัง และผูกคอตาย ตั้งใจส่ง Message ต่อเพื่อนร่วมชาติ ผ่านบทกลอน ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเสื้อคอกลมสีดำที่หุ้มร่างกายโดยปราศจากดวง วิญญาณ อีกทั้งเตรียมการบันทึกเสียงคำอำลา และสั่งเสียให้เผยแพร่ในวันสุดท้ายของงานศพ นับเป็นปรากฎการณ์ทางสังคม ที่สะเทือนความรู้สึกในวงกว้าง และจะต้องถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไปอีกนานแสน นาน
2. ?นิติรัฐ? พังทลาย อำนาจตุลาการสั่งได้
2.1. อาการพังทลายของ ?นิติรัฐ? คือลักษณะดังต่อไปนี้
2.1.1. ใช้กองกำลังอาวุธปล้นอำนาจอธิปไตยของปวงชน ยกเลิกรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งเป็นวิถีอนารยะ ป่าเถื่อน ไม่ต่างจากการปล้นชิง มิใช่วิถีอารยะที่ประชาคมโลกให้การยอมรับ
2.1.2. ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งร่างโดยคณะเนติบริกรตามคำสั่งของผู้ยึดอำนาจ ซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ร่วมของประชาชนทั้งประเทศ
2.1.3. คณะผู้ยึดอำนาจสามารถ จัดตั้งรัฐบาล สภานิติบัญญัติ องค์กรอิสระ ซึ่งก็คือการเข้าควบคุมองคาพยพของรัฐที่สามารถกำหนดความเป็นตายไร้ดีของ ประชาชนทั้งประเทศ โดยคณะบุคคลที่ใช้อำนาจอาวุธเพียงไม่กี่คน
2.1.4. การออกประกาศ คำสั่งของผู้ยึดอำนาจโดยที่ประกาศคำสั่งนั้นเทียบเท่ากฎหมาย ทั้งที่กระบวนการออกกฎหมายของ ?นิติรัฐ? ต้องมาจาฝ่ายนิติบัญญัติที่ประชาชนทั้งประเทศเลือกตั้งขึ้น นั่นคือความต้องการของคณะผู้ยึดอำนาจ คือกฎหมาย
2.1.5. คณะผู้ยึดอำนาจสามารถ สั่งการและแทรกแทรงกระบวนการยุติธรรมได้ทุกขั้นตอนตั้งแต่ตำรวจไปถึงศาล นับเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือ และความน่าไว้วางใจของกระบวนการยุติธรรม กระทั่งทำให้ศาลไม่สามารถธำรงไว้ซึ่งความเป็นอิสระ ตามหลักการพื้นฐานของ ?นิติรัฐ? เมื่อความเชื่อถือต่อกระบวนการยุติธรรม พังทลายลง ก็จะเกิดความโกลาหลในสังคม เช่นเดียวกับความโกลาหลที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้
2.1.6. คณะผู้ยึดอำนาจสามารถตั้งองค์กร แต่งตั้ง ถอดถอน บุคคลให้ทำหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม ตามความประสงค์ของตน เช่น คตส. ปปช. และศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งๆทีกระบวนการตามปกติของ ?นิติรัฐ? มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายและหลายขั้นตอน ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันในด้านความเป็นอิสระ ความโปร่งใส และความสุจริต
3. สามเดือนสุดท้ายของปี 2549 พิสูจน์ชัด: อำนาจอธิปไตยในอุ้งมือของ คมช. นอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาประชาชนและไม่สามารถรักษาความมั่งคั่งของประเทศไทย ได้ดั่งเดิมแล้ว ยังผลักไสให้ประเทศไทยถอยหลังนับสิบๆปี และมีวิกฤติ นา นา ประการ รอคอยอยู่เบื้องหน้า
3.1. รัฐบาลที่แล้วใช้เวลา 5 ปีเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศและสร้างความน่าเชื่อถือให้ ประเทศไทยยืนอยู่บนเวทีโลกอย่างมีศักดิ์ศรีและเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก แต่รัฐบาล คมช. ใช้เวลาเพียงข้ามคืน ทำลายความน่าเชื่อถือและศักดิ์ศรีของประเทศไทยไปเสียสิ้น ต่างชาติรุมกันประนามอย่างกว้างขวาง ความภาคภูมิใจของคนไทยถูกทำลายอย่างย่อยยับ
3.2. รัฐบาลที่แล้วใช้เวลา 3 ปีเพื่อเตรียมงานเฉลิมฉลองศิริราชสมบัติครอบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเชิญ กษัตริย์จากทั่วโลกเข้าร่วมและเป็นข่าวใหญ่ไปก้องโลก แต่ คมช.ใช้เวลาเพียงข้ามคืน ทำให้ทั่วโลกเข้าใจว่าการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 อยู่ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นข่าวพาดหัว สื่อมวลชนยักษ์ใหญ่ที่เผยแพร่ไปทั่วโลก
3.3. ผลการดำเนินงานใน 3 เดือนสุดท้ายของปี 2549 มีอยู่ 3 อย่าง หนึ่ง ใช้ความพยายามทุกวิถีทางเพื่อเอาผิดต่อ นายกทักษิณและครอบครัวให้ได้ตลอดจนรื้อนโยบายและผลงานของรัฐบาลที่ผ่านมา โดยการคัดลอก ตัดแปะ และเปลี่ยนชื่อโดยหวังให้ผู้คนลืมรัฐบาลที่แล้วโดยเร็ว พร้อมๆกับกีดกันการกลับเข้ามาของ อดีตนายกทักษิณ ทุกวิถีทาง สอง วางกำลังคนของฝ่ายตนเข้าควบคุมกลไกรัฐ ทั้งที่มีอยู่เดิมและตั้งขึ้นมาใหม่ ตลอดจนเข้าควบคุมแหล่งงบประมาณและแหล่งผลประโยชน์ทั้งรัฐวิสาหกิจและองค์กร หน่วยงานต่างๆ สาม สร้างองค์กรใหม่และขยายองค์กรเดิมเพื่อดูดงบประมาณให้อยู่ในการกำกับดูแลของ ตน เช่นหน่วยงานใหม่ ของคมช.เพื่อขอใช้งบกว่า 500 ล้านบาท และการเพิ่มอัตรากำลังพล 70,000 อัตราใน กอ.รมน. เป็นต้น ตลอดทั้ง 3 เดือนประชาชนคอยสดับตรับฟังว่า พวกเขาจะนำพาประเทศไปทิศทางไหน ด้วยยุทธศาสตร์ใด แต่ไร้วี่แวว
3.4. เพียง 3 เดือนที่ครองอำนาจ คณะรัฐมนตรีผู้เชี่ยวชาญงานรูทีนทั้งหลาย นอกจากไม่ได้สร้างผลงานเป็นชิ้นเป็นอันแล้ว กลับสร้างเรื่องเลวร้ายขึ้นมากมาย
3.4.1. ใช้เงินภาษีประชาชน 1,000 ล้านบาทเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ฉีกรัฐธรรมนูของประชาชนทิ้ง คุกคามและริดรอนสิทธิ เสรีภาพของประชาชนด้วยประกาศคำสั่งตามใจชอบ แต่งตั้งพรรคพวก กินเงินเดือนจากภาษีประชาชน เข้าเป็นคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติ องค์กรอิสระ สภาที่ปรึกษา เข้าควบคุมรัฐวิสาหกิจ และแทรกแทรงในกรรมการชุดต่างๆที่พวกเขาตั้งขึ้น
3.4.2. ความเป็นนิติรัฐที่สังคมไทยพัฒนาขึ้นด้วยสติปัญญา และแลกมาด้วยเลือดเนื้อ ชีวิตของวีรชนเดือนพฤษภาคม 2535 ต้องพังทลายลง จากการเข้ามายึดอำนาจของ คปค.ครั้งนี้
3.4.3. ใช้เงินภาษีประชาชนจัดตั้งองค์กร คุกคาม และเตรียมการปราบปรามประชาชน โดยเป็นหน่วยงานพิเศษของ คมช. 550 ล้านบาท และเพิ่มกำลังพลใน กอ.รมน.อีก 70,000 ตำแหน่ง เพื่อควบคุมประชาชนในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ทั้งๆที่ประกาศให้ทั่วโลกรู้ว่าพวกตนยึดอำนาจโดยที่ประชาชนให้การยอมรับทั่ว ประเทศ
3.4.4. เชิดชูความมีจริยธรรม คุณธรรมของผู้นำสูงส่ง ทั้งๆที่นายกรัฐมนตรีคือเป็นผู้บุกรุกป่าสงวนที่เขายายเที่ยง และ ประธาน คมช.จดทะเบียนสมรสซ้อน
3.4.5. แก้ปัญหาค่าเงินบาทแต่ทำลายตลาดทุน ทำให้ขนาดตลาดเสียหาย 800,000 ล้านภายในวันเดียวทำให้หุ้นลง 108 จุด ต่างประเทศเทขายไม่หยุด พวกเขาจัดการให้ดัชนีเป็นบวกโดยบังคับให้กองทุนฯ อุ้มซื้อ ซึ่งจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและส่งผลกระทบต่อตลาดทุนในระยะยาว
3.4.6. สรรหาบุคคลเป็นสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญโดยไม่มีที่มาที่ไป ดำเนินการเลือกสมัชชา ไปเป็น สสร. โดยมีกลิ่นไอของการใช้เงิน เพื่อบล็อคโหวตให้ได้คนตามโผของพวกตน นอกจากไม่สามารถสร้างความชอบธรรมได้แล้ว ยังถูกรุมประนามไปทั่ว
3.4.7. สร้างภาพ วาดหวังให้ผู้คนเชื่อว่า ศอ.บต. มีประสิทธิภาพและมียุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาภาคใต้ได้ แต่ปํญหาภาคใต้ ได้ขยายตัวจากเรื่องภายในประเทศกลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศ และยกระดับจาก เรื่องก่อการวินาศกรรมเป็นเรื่องแยกดินแดนแล้ว ซึ่งสถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงทุกวัน
4. ปี 2550: คมช.รัฐบาล สภานิติบัญญัติ องค์กรทีไม่อิสระ และฝ่ายตุลาการใต้เงาปืน จะผ่านด่านทดสอบได้หรือไม่
ตั้งแต่นี้ต่อไป คมช.จะต้องผ่านด่านทดสอบที่สำคัญดังต่อไปนี้?.
4.1. ด่านทดสอบ หนึ่ง จริยธรรม คุณธรรม และความพอเพียง ผู้นำ คมช.ทั้งตัวประธาน คมช. นายกรัฐมนตรี และบุคคลในคณะ ซึ่งสร้างภาพให้ประชาชนเข้าใจและรู้สึกว่าตนเป็นผู้นำที่เพรียบพร้อมด้วย คุณธรรมและจริยธรรมอันสูงส่ง กระทั่งเป็นแบบอย่างอันดีงานของผู้ประพฤติตนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะเป็นจริงเช่นนั้นต่อไปหรือไม่ กรณีการบุกรุกป่าสงวนเขายายเที่ยงของนายกรัฐมนตรี และกรณีจดทะเบียนสมรสซ้อนของ ประธาน คมช.นั้น เป็นเพียงการเผชิญความจริงหน้าด่านทดสอบแรกเท่านั้น
4.2. ด่านทดสอบ สอง ปัญหาภาคใต้แก้ได้หรือขยายตัว การแก้ปัญหาภาคใต้รัฐบาลขิงแก่ ยังแก้ไม่ถูกจุด ล้มเหลวด้านการข่าว เข้าไม่ถึงรังของผู้ก่อการ อ่านยุทธศาสตร์ของผู้ก่อการไม่ออก จัดทำยุทธศาสตร์ผิดพลาด พ่ายแพ้พวกแยกดินแดนในหลายๆยุทธการ แถมยังวางตัวบุคลากรและแนวทางการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประชาชนไม่ถูกต้อง ทำให้ปัญหาการก่อวินาศกรรม จากจุดเล็กๆเป็นเงื่อนไขให้พวกแยกดินแดนใช้ประโยชน์ไปขยายการก่อการร้ายได้ กว้างขึ้น และยกระดับปัญหาให้เป็นการแยกดินแดนและเป็นเรื่องที่เชื่อมกับต่างประเทศ ยิ่งมีสำนักข่าว อัลซาจีร่ามาตั้งอยู่ในมาเลเซีย จะทำให้การเสนอข่าวสารต่อโลกมุสลิมมีความแหลมคมยิ่งขึ้น เมื่อนายกสุรยุทธ์ไปให้สัมภาษณ์สำนักข่าวดังกล่าวโดยที่ไม่เข้าใจปัญหาอย่าง ถ่องแท้ยิ่งทำให้เกิดคำถามมากกว่าความเข้าใจที่ดีขึ้นจะทำให้เหตุการณ์บาน ปลายยิ่งขึ้น
4.3. ด่านทดสอบ สาม กระบวนการยุติธรรมเป็นอิสระโดยปราศจากการแทรกแซงจริงหรือ การออกมาให้ข่าวตั้งข้อหา กล่าวโทษ อดีตนายกทักษิณ ครอบครัว และนักการเมืองคนอื่นๆ ของ คตส. นั้น ถือเป็นพฤติกรรมของผู้ทำงานในกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง ครองธรรม หรือไม่ ในเมื่อ คตส.เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมข้อมูลหลักฐาน ที่ยังไม่มีการชี้แจงจากผู้ถูกล่าวหา และศาลยังมิได้พิพากษา ไม่เพียงเท่านี้เมื่อเรื่องราวทั้งปวงถูกส่งฟ้องศาลแล้ว อำนาจตุลาการ โดยศาล จะสามารถรักษาความเป็นอิสระไว้ได้หรือไม่ และ ศาลจะสามารถพิสูจน์ว่าไม่มีการแทรกแซงจากผู้มีอำนาจจริงหรือไม่
4.4. ด่านทดสอบ สี่ พิพากษาคดียุบพรรคการเมืองเดินตามธงของผู้มีอำนาจหรือไม่ ปี 2550 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่แต่งตั้งโดย คมช. และมีคนใกล้ชิดของ พลเอกเปรม รวมอยู่ในนั้นหลายคน จะต้องพิสูจน์ให้ประชาชน เชื่อมั่นได้ว่า ดำเนินการอย่างสุจริต โปร่งใส ไร้อคติ และที่สำคัญไม่ใช่มีมติพิพากษาไปตามธงของ คมช. หรือ ผู้อยู่เบื้องหลัง คมช.
4.5. ด่านทดสอบ ห้า สิทธิ เสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมทางการเมือง ของประชาชน จะถูกตั้งข้อหาเป็นพวกคลื่นใต้น้ำป่วนเมืองและเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือไม่ คมช. กอ.รมน. สันติบาล จะต้องพิสูจน์ว่า การรขอใช้งบ 500 ล้านเพื่อสร้างหน่วยงานใหม่ ให้คมช. และเพิ่อัตรากำลังพล 70,000 นายในกอ.รมน. นั้นเป็นการทำงานเพื่อความมั่นคงของรัฐที่เกิดจากการรุกรานของอริราชศตรูจาก ต่างประเทศ หรือ การก่อการร้าย มิใช่มีไว้เพื่อ ปราบปราม กดหัว ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยและคัดค้านพวกตน และจะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าจะไม่ใช้งบประมาณก้อนนี้ ?สถาปนารัฐทหาร? เพื่อสืบทอดอำนาจของ คมช.และคณะ ไม่ว่า คมช.จะเป็นผู้ออกมาเล่นเองหรือ ส่งตัวแทนออกมาเล่นตามบทที่ตนกำหนด
4.6. ด่านทดสอบ หก ร่างรัฐธรรมนูญโดยตั้งธงและหมกเม็ดหรือไม่ กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะเกิดขึ้นจาก สสร.ที่คัดเลือกแต่งตั้งโดย คมช.นั้น แท้ที่จริงคือปาหี่ และละครโรงใหญ่ ซึ่งเป็น ?มุก?ทางการเมืองที่ใช้มาแล้วเมื่อปี 2517 การนำมุกนี้กลับมาใช้อีกในปี 2549 โดยที่โลกเคลื่อนที่ไปในกาแลกซี่ ถึง 32 ปีแล้วนั้น นับเป็นอาการย้ำคิด ย้ำทำ ทางการเมืองไร้เหตุผล แต่เมื่อมันได้เกิดขึ้นแล้ว สสร. จะต้องพิสูจน์ให้ประชาชนเห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องดีกว่า หรือดีไม่น้อยกว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 ที่พวก คมช.ฉีกทำลายไป
4.7. ด่านทดสอบ เจ็ด เศรษฐกิจไทยปี 2550 ปลอดภัยหรือสุ่มเสี่ยง
4.7.1. ประชานไม่กล้าจับจ่าย ใช้สอย เพราะความไม่มั่นใจต่ออนาคต อีกทั้งคล้อยตามคำโฆษณาให้ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง จะทำให้ยอดขายสินค้าตก รัฐเก็บภาษี VAT ได้น้อยลง ผู้ประกอบการยอดขายตก กำไนหด ก็จ่ายภาษีนิติบุคคลได้น้อยลง สินค้าเหล้า บุหรี่ถูกควบคุมอย่างหนักทำให้เก็บภาษีสรรพษามิตรได้น้อยลง จะทำให้รายได้ของรัฐมีแนวโน้มลดลงอย่ามาก จนก่อปัญหาด้านการคลังในปีงบประมาณปี 2551
4.7.2. ประเทศอเมริกาและสหภาพยุโรปชลอการเจราทางการค้ากับไทยและมีแนวโน้มกีดกันการ นำเข้าสินค้าจากไทย จนกว่าจะมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งจะทำให้โอกาสส่งออกในตลาดใหญ่ๆของไทยหดแคบ ลง ทำให้เงินตราต่างประเทศเข้าสู่ประเทศน้อยลง
4.7.3. ค่าเงินบาทยังจะแข็งค่า เนื่องจาก เศรษฐกิจขาลงของอเมริกา ขีดความสามารถ ในการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทของ ธปท.มีความจำกัด ยังจะมีผลต่อการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออก และจะทำให้ภาคการส่งออกประสบกับความเสี่ยง
4.7.4. ผู้ประกอบการในภาค Real Sector ชลอการลงทุนเพิ่ม กิจการส่งออกถึงขั้นลดกำลังการผลิต และหยุดผลิต ในขณะที่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศยืดเวลาการลงทุนออกไป จะทำให้ภาวะการลงทุนในภาค Real Sector หดตัวลง
4.7.5. เมื่อหมดงานพืชสวนโลกกระแสนักท่องเที่ยวจะลดลง และรัฐยังไม่มีแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อแสวงหารายได้จากเงินตราต่าง ประเทศจากนักท่องเที่ยว จะทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง
4.8. ด่านทดสอบ แปด แรงงานเพิ่งจบเข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นอีก 1,000,000 ตำแหน่ง ในขณะที่แรงงานปัจจุบัน มีความเสี่ยงจากการถูกเลิกจ้าง เนื่องจากการลดกำลังผลิต และ หยุดการผลิต อีกทั้งไม่มีการขยายกิจการเพิ่ม เนื่องจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จะทำให้ปัญหาคนว่างงานกลายเป็นปัญหาใหญ่และเป็นภาระของสังคมมากกว่าเป็นพลัง สร้างสังคม
4.9. ด่านทดสอบ เก้า สินค้าเกษตรตกต่ำ ประชาชนในภาคการเกษตรจะถูกทอดทิ้ง ขาดการเหลียวแล สินค้าด้านการเกษตร ที่สำคัญ เช่นข้าว ยางพารา และพืชผลอื่นๆ ราคาตกลงอย่างน่าเป็นห่วง ด้านหนึ่งเนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาท ที่ส่งผลต่อผู้ส่งออก แต่อีกด้านหนึ่งมาจาก ความสามารถด้านการบริหารของผู้นำรัฐบาลและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ จะทำให้เกษตรกรจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน และเดินทางเข้าสู่ กรุงเทพเพื่อหารายได้เพิ่ม ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาที่ยากจะคาดการณ์ได้
4.10. ด่านทดสอบ สิบ ปํญหาสังคม ตามมาเป็นพรวน จากปัญหาต่างๆที่กล่าวมา สังคมไทยจะกลายสภาพเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความชั่วร้าย นา นา ประการ เช่น การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด การลัก ขโมย การปล้น จี้ชิงทรัพย์ การฉ้อฉลธุรกรรมทางธุรกิจ การปล่อยเงินกู้นอกระบบ การทวงหนี้นอกกฎหมาย มือปืนรับจ้าง และการฆาตกรรม ทั้งจากการจ้างวานและจากภาวะความเครียดทางจิตใจ ปัญหาเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นเมื่อระบบนิติรัฐพังทลาย และภาวะเศรษฐกิจมีปัญหา ประชาชนมองไม่เห็นอนาคตของประเทศและของตนเอง และผู้ทีจะบอกว่า พวกท่านทั้งหลายผ่านด่านทดสอบหรือไม่
คือประชาชนทั้งประเทศ
หาใช่ ?อำนาจพิศดาร? ใดๆ ไม่
บทความนี้มาจาก article-spadmc.blogspot.com/2010/11/blog-post_23.html
การ วิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2549 ในแง่มุมที่ยังไม่มีเอกสารใดนำเสนอต่อสาธารณะมาก่อน เพื่อวิเคราะห์ถึงเหตุแห่งวิกฤติอันนำไปสู่การทำรัฐประหาร19กันยา ผลกระทบทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่เกิดจากการรัฐประหารและประเมิน สถานการณ์ทางด้านการเมืองที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตภายใต้เงาปืนของเผด็จการทหาร เรียกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2548 -กย. 2549 ว่า ?วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตยของปวงชน? เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด มีเป้าหมายอยู่ที่การเปลี่ยนผู้ยึดครองอำนาจรัฐหรืออำนาจอธิปไตยด้วยกระบวน การสองด้าน กล่าวคือ
ด้านหนึ่ง ประนาม โจมตี ทำลายความชอบธรรมของฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง กระทั่งมุ่งหมายปลิดชีวิตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชิณวัตร มุ่งเอาชนะคะคานโดยไม่เลือกวิธีการ
ส่วนอีกด้านหนึ่งพวกเขาใช้ ประโยชน์จากความจงรักภักดีของประชาชนไทยที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ฝ่ายตน ภายใต้ Motto ที่ฟังดูแปลกๆ เช่น ?ทวงคืนประเทศไทย? ?ทำลายระบอบทักษิณ? ?ถวายคืนพระราชอำนาจ? ?สู้เพื่อในหลวง? ?นายกพระราชทาน ผ่านมาตรา 7? เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป้าหมาย ?ทักษิณ..ออกไป? ซึ่งจะทำให้ ?กลุ่มอำนาจอื่น? เข้าควบคุม ?อำนาจอธิปไตย? ได้ง่ายขึ้น
?กลุ่ม อำนาจอื่น? ได้แสดงตนในนาม ?คณะปฎิรูปการการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค)? ใช้ภาษีประชาชน 1,000 ล้านบาท เพื่อเติมน้ำมันรถถัง ให้เบี้ยเลี้ยงคนถือปืน จัดหากระสุนดินปืน เพื่อข่มขวัญ คุกคามประชาชนที่อาจคัดค้านพวกตน ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2540 ใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ เอากองกำลังอาวุธควบคุมสื่อทีวี และออกประกาศ คำสั่ง ห้ามประชาชนทำในสิ่งที่พวกตนไม่ประสงค์ให้ทำ และคำสั่งให้ประชาชนปฎิบัติตามในสิ่งที่ตนต้องการ เป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ แต่งตั้งสภานิติบัญญัติให้รางวัลแก่ผู้เอาการเอางานต่อต้านระบอบทักษิณ แต่งตั้งองค์กรอิสระปูนบำเน็จแก่นักล่าระบอบทักษิณ แต่งตั้งข้าราชการและคณะรัฐมนตรีเพื่อควบคุมกลไกรัฐทั้งปวงให้อยู่ในความควบ คุมของตน อำนาจอธิปไตยที่เคยเป็นของปวงชน อยู่ในเงื้อมมือกองโจรในเครื่องแบบโดยสมบูรณ์ ความเป็นไปของประเทศไทยในทุกๆเรื่องล้วนกำหนดโดย ?กลุ่มบุคคลเพียงหยิบมือเดียว? คณะนี้พวกเขาได้ใช้ภาษีประชาชน 1,000 ล้านบาทเพื่อปล้นอำนาจอธิปไตยของปวงชนเข้าควบคุมกลไกรัฐทุกกระทรวงทบวงกรม รวมรัฐวิสาหกิจ แล้วเข้าบริหารงบประมาณประจำปีอีก 1.5 ล้านล้านบาทโดยใช้วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์บริหารประเทศด้วยวลีสั้นๆเพียงวลี เดียวนั่นคือ ?ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง? ปรากฎการณ์เหล่านี้จะเรียกขานเป็นอื่นไม่ได้ นอกจาก ?การพังทลายของ นิติรัฐ? นั่นเอง.(ลองเปรียบเทียบกับการเข้าสู่อำนาจของพรรคการเมืองซึ่ง รัฐใช้งบ 2,000 ล้านเพื่อบริหารการเลือกตั้ง นักการเมืองต้องลงแรงตระเวณหาเสียง ยกมือไหว้ขอคะแนนเสียงจากประชาชน ใช้เงินส่วนตัว เขตเลือกตั้งละไม่เกิน 1 ล้านบาท งบหาเสียงพรรคเฉลี่ยพรรคละ 100 ล้านบาท ประมาณการทั้งสิ้น 6,500 ล้านบาทเป็นส่วนของรัฐ 2,000 ล้าน ส่วนขอฝ่ายการเมืองทุกพรรครวมกัน 4,500 ล้านแต่ คปค.ไม่ใช้เงินส่วนตัวแม้สลึงเดียวเข้าสู่อำนาจรัฐจัดเงินเดือนให้ตัวเองและ พรรคพวก ส่งพรรคพวกคุมรัฐวิสาหกิจตักตวงผลประโยชน์เข้ากระเป๋าและจัดงบประมาณประจำปี อีก 1.5 ล้านล้านบาทจัดเองใช้เอง อนุมัติเอง โดยไร้การตรวจสอบถ่วงดุลย์จากทุกภาคส่วนของสังคม)
1. วิกฤตการณ์แห่งอำนาจอธิปไตย
1.1. สาเหตุแห่งวิกฤติ
1.1.1. โลกาภิวัฒน์มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงกรอบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การได้เปรียบ-เสียเปรียบของข้อตกลงทางการค้า การเคลื่อนย้ายทุน คน สินค้า ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี เป็นไปอย่างเสรี รวดเร็วและสลับซับซ้อน กดดันให้คนทั่วทั้งโลกต้องปรับตัวอย่างขนานใหญ่ ทั้งกรอบในการรับรู้ การวิเคราะห์ การทำความเข้าใจโลก และการประเมิณคุณค่าใหม่ๆ สถานการณ์โดยรวมก่อให้เกิดเส้นแบ่งใหม่ระหว่างฝ่ายที่ปรับตัวได้กับฝ่ายที่ ไม่สามารถปรับตัวได้ (กลุ่มอนุรักษ์ใหม่ ) ประเด็นหลักของการปรับตัวคือ ยอมรับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือไม่ อยู่ในฝ่ายที่ได้เปรียบ-เสียเปรียบต่อการแปรรูปหรือไม่อย่างไร ยอมรับการตกลงการค้าเสรีโดยหลักการหรือไม่ อยู่ในฝ่ายที่ได้เปรียบ-เสียเปรียบต่อข้อตกลงทางการค้ารายสินค้าหรือไม่ อย่างไร กลุ่มคนที่ปรับตัวไม่ได้และเสียประโยชน์จากผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ มีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมกระทั่งเป็นตัวตั้งตัวตีต่อการต่อต้านรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เพราะท่านเน้นยุทธศาสตร์ อยู่ร่วมกับโลกาภิวัฒน์และใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัฒน์เป็นสำคัญ
1.1.2. กลุ่มทุนที่ไร้ความสามารถปรับตัวหลังวิกฤติ ทั้งกลุ่มที่เป็น NPL (เช่นผู้จัดการ TPI) กลุ่มที่ไม่มีความสามารถทำกำไรและ/หรือ ขยายกิจการอย่างมีข้อจำกัด ล้วนมีความคาดหวังพึ่งพารัฐและต้องการใช้สิทธิพิเศษฟื้นฟูกิจการของตน เมื่อพึ่งพาและใช้สิทธ์พิเศษไม่ได้ก็หันไปอยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล
1.1.3. กลุ่มการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่ม ไม่สามารถต่อรองผลประโยชน์จากรัฐได้ตามต้องการก็หันไปอยู่ฝ่ายตรงกันข้ามกับ รัฐบาลและพรรคไทยรักไทยที่ตนเคยสังกัดหรือให้การสนับสนุน(เช่นกลุ่มวังน้ำ เย็น และกลุ่มทุนพรรคชาติไทย)
1.1.4. การมีเสียงข้างมากของ ทรท.และสามารถผลักดันนโยบายที่สัญญาไว้จนประสบความสำเร็จและเป็นที่พอใจของ ประชาชนจำนวนมาก ทำให้เกิดภาพความเข้มแข็ง ความมีเสถียรภาพ และการควบคุมอำนาจรัฐที่มั่นคง โดยพรรคการเมืองเดียวเป็นสถานการณ์ใหม่ที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในประวัติศาสตร์ การเมืองไทย ได้ก่อให้เกิดความหวาดวิตก แก่กลุ่มอำนาจและกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ ที่กลัวว่า นายกทักษิณจะอยู่ในอำนาจยาวนานจนยากแก่การเอาชนะได้
1.1.5. อำนาจกลุ่มจารีตนิยมที่ได้รับประโยชน์จากการเมืองที่อ่อนแอดำรงอยู่อย่างยาว นานสูญเสียอำนาจแต่งตั้งโยกย้าย ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง การวางคนในรัฐวิสาหกิจ สูญเสียความได้เปรียบจากการประมูลและสัมปทานจากรัฐซึ่งหมายถึงสูญเสียการควบ คุมสังคมและทิศทางของรัฐเนื่องจากมีรัฐบาลเสียงข้างมากมีพรรคการเมืองที่ เข้มแข็งอีกทั้งมีผู้นำที่ได้รับความนิยมสูงจนเกินไป
1.1.6. นักวิชาการที่เคยมีบทบาทชี้นำทางความคิดและกำหนดทิศทางสังคมไทย ค่อยๆสูญเสียฐานะนำหลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ปี 2540 เนื่องจากไม่สามารถเสนอทิศทางและนโยบายสาธารณะที่สามารถแก้วิกฤติได้ และเริ่มมีความหมายน้อยลงภายใต้การบริหารประเทศของนายกฯทักษิณ
1.1.7. อำนาจกลุ่มจารีตนิยม กลุ่มนักวิชาการอนุรักษ์นิยมใหม่ ฝ่ายค้านและเสียงส่วนน้อยที่รวมตัวเป็นพันธมิตรมาตราเจ็ดประเมิณกำลังฝ่ายตน เป็นรอง ทั้งวิสัยทัศน์ การบริหาร ผลงานและความได้เปรียบด้านทรัพยากรอื่นๆจึงหมดหวังจากการต่อสู้ตามระบบและ กติกาที่มีอยู่และมองไม่เห็นความได้เปรียบและชัยชนะจากการต่อสู้ในระบบโดย เฉพาะอย่างยิ่งโอกาสชนะจากการเลือกตั้ง จึงไม่อาจรอคอยให้ให้นายกทักษิณบริหารงานให้ครบตามวาระ
1.1.8. กลุ่มผู้สูญเสียประโยชน์จากการมีรัฐบาลและพรรคการเมืองเข้มแข็งทั้งทางตรง และทางอ้อมเคลื่อนไปบรรจบกัน อย่างมีการจัดการ ภายใต้สถานการณ์ที่นายกฯและ ทรท.ประเมินความได้เปรียบทางการเมืองของฝ่ายตนสูงเกินไป อีกทั้งไม่สามารถขจัดข้อโต้แย้ง ข้อโจมตีได้อย่างทันกาล (การสั่งสมข้อมูลและความรู้สึกด้านลบต่อรัฐบาลมายาวนาน ในประเด็น เอื้อประโยชน์พวกพ้อง มีอำนาจเบ็ดเสร็จ แทรกแซงองค์กรอิสระ แทรกแทรงสื่อ ทุจริตคอร์รับชั่น เมื่อมีกรณี CTX คอยกัดกร่อนความเชื่อมั่น ศรัทธา และกรณีการขายหุ้นชินคอร์ป เป็นจุดแตกหักจึงเกิดจุดผลิกผันของสถานการณ์ในที่สุด)
1.2. ลักษณะของวิกฤติ
1.2.1. กลุ่มจารีตนิยม กลุ่มนักวิชาการอนุรักษ์นิยมใหม่ ฝ่ายค้านและสื่อมวลชนสร้างกระแสทำลายความชอบธรรมของรัฐบาลเสียงข้างมากโดย แอบอิงสถาบันพระมหากษัตริย์ และมุ่งสร้างสถานการณ์และประเด็นต่างๆเพื่อให้รัฐบาลเผชิญหน้ากับสถาบันพระ มหากษัตริย์โดยไม่มีมูลความจริง
1.2.2. เสียงส่วนน้อยใช้แต่สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ แต่บิดเบือนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญกระทั่งละเมิดกฎหมายและกฎเกณฑ์ของสังคม ซึ่งมีแนวโน้มเป็นอนาธิปไตย และเรียกแนวทางของตนเป็น ?Disobedience(อารยะขัดขืน)?
1.2.3. ในกระแสสูงแห่งการต่อต้าน กลไกรัฐไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ ทั้งนี้เพื่อควบคุมสถานการณ์มิให้บานปลาย จนไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
1.2.4. เสียงส่วนน้อยปฎิเสธสาระสำคัญของระบอบประชาธิปไตยนั่นคือ ?การคว่ำบาตรการเลือกตั้ง? และปฎิเสธอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย โดยการเสนอทางออกด้วยมาตรา 7 และขอนายกฯพระราชทาน ยกเลิกรัฐธรรมนูญบางมาตรา ซึ่งเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญด้วยวิธีการที่แอบอิงพระราชอำนาจ
1.2.5. มาตรการคว่ำบาตรการเลือกตั้งไม่ว่าจะมุ่งหวังสิ่งใด แต่ผลลัพธ์ที่ได้คือระบบสังคมสั่นคลอน รวนเร อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยเป็นง่อยไป 2 ใน 3 (นิติบัญญัติและบริหาร เหลือแต่ตุลาการ) ในระยะเวลาที่ยาวนาน ทำให้การบริหารประเทศหยุดชะงัก และส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ สังคมโดยรวม
1.2.6. อำนาจตุลาการที่เข้ามาทำหน้าที่เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ ได้ใช้อำนาจและกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างมีข้อกังขา และมีความเคลื่อนไหวที่แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันตุลาการกับอำนาจ นอกระบบที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องของที่มาและระบบคานอำนาจของอำนาจอธิปไตยของปวง ชนชาวไทย และได้พิสูจน์อย่างชัดเจนแล้วหลังการ ยึดอำนาจ 19 กันยา ในกรณีการปูนบำเน็จ ความชอบให้นายจรัล ภักดีธนกุล เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม และ ชาญชัย ประธานศาลฎีกา มาเป็น รมต. กระทรวงยุติธรรม สิ่งนี้ยิ่งตอกย้ำ ว่าหลักการแห่งความเป็นอิสระของศาล ไร้อำนาจใดแทรกแซงอำนาจตุลาการนั้น ล้วนโกหกทั้งสิ้น
1.2.7. กระบวนการแก้ไขปัญหาและคลี่คลายสถานการณ์ของสถาบันตุลาการได้เกิดคำถาม เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยว่า มีที่มาอย่างไร, มีกระบวนการใช้อำนาจที่ถูกต้องเป็นอิสระไร้การแทรกแทรงหรือไม่, มีระบบการคานอำนาจกันอย่างเหมาะสม เช่นอารยะประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุขหรือไม่ ซึ่งเป็นคำถามสาธารณะที่ถูกยกระดับขึ้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และพฤษภาคม 2535 นับเป็นคำถามใหม่ ที่สะท้อนความก้าวหน้า อีกขั้นหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยไทย
1.3. ลักษณะพิเศษของวิกฤตการณ์
1.3.1. วิกฤตการณ์อำนาจอธิปไตยครั้งนี้ มีการอ้างอิงสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อสร้างความชอบธรรมในการโค่นล้มรัฐบาล ที่มาจากการเลือกตั้งอย่างอึกทึกครึกโครมเป็นพิเศษ แม้ผู้นำการชุมนุมอย่าง สนธิ ลิ้มองกุลจะพูดจาจาบจ้วงจนปรากฎหลักฐานชัดเจนแต่กระบวนการยุติธรรมกลับเพิก เฉย แม้แต่การรัฐประหารก็ยังใช้เหตุผล 1 ใน 4 ข้อเกี่ยวกับการจาบจ้วงสถาบัน กระทั่งชื่อของคณะรัฐประหารก็ยังต้องต่อท้ายด้วยถ้อยคำ ?อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข?
1.3.2. กลุ่มบุคคลที่เคยต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและต่อต้านอำนาจเผด็จการที่รวมกลุ่ม เป็นพันธมิตรมาตราเจ็ด ได้เปลือยตัวตนและจิตวิญญาณที่กระหายอำนาจ วาสนา และเข้าสู่กลไกอำนาจรัฐโดยไม่ต้องผ่านการรับรองจากมติมหาชน เพราะเขาสามารถเข้าสู่อำนาจโดยรับใช้ถวายตัวต่ออำนาจพิศดาร ภายใต้การสนับสนุนค้ำจุนของกองโจรติดอาวุธที่กระทำการย่ำยีต่ออำนาจอธิปไตย ของประชาชน คนเหล่านี้มีที่ทำงานใหม่ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ องค์กรอิสระ กระทรวงทบวงกรมสภาร่างรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ และแทรกตัวตามคณะกรรมการชุดต่างๆที่ คมช.แต่งตั้งขึ้น
1.3.3. สื่อมวลชน ซึ่งแต่เดิมเป็นสื่อกลางที่ดำเนินงานภายใต้จรรยาบรรณของสื่อ แต่กลับกลายเป็น กลุ่มพลัง(Pressure Group) ที่มีวาระซ่อนเร้น ซึ่งนำเสนอข่าวสารเพื่อเป้าหมายของตน มากกว่าการนำเสนอข้อเท็จจริง และอิงหลักการที่ถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน ตรงกันข้าม สื่อมวลชนไม่เพียงแต่ปิดบังข่าวสาร เลือกเฟ้นการเสนอข่าวตามคำชี้แนะเท่านั้น แต่บังอาจที่จะบิดเบือน แต่งเรื่องโดยไม่มีมูลความจริง นำเสนอต่อสาธารณชนอย่างไร้ยางอาย ถือได้ว่าสื่อมวลชนทั้งหลายได้ล้มละลายทางความน่าเชื่อถือไปแล้วเป็นส่วน ใหญ่ หลังการรัฐประหารสื่อเหล่านั้นต่างได้รับการปูนบำเหน็จ ทั้งให้ตำแหน่งแก่บุคคลากรที่เอาการเอางาน และเปลี่ยนผังรายการเฉือนเวลาวิทยุ-โทรทัศน์มอบให้สื่อเหล่านั้นเป็นสิ่งตอบ แทน
1.3.4. นักวิชาการ อีลีตของสังคม จำนวนหนึ่งลงแรงสร้างตรรกะ ประดิษฐ์ถ้อยคำ เสนอวาทะกรรมเพื่อแก้ต่าง สร้างความชอบธรรมให้แก่คณะรัฐประหาร โดยละทิ้ง หลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยไปเสียสิ้น ราวกับว่าประชาชนไทยไม่เคยรู้มาก่อนว่า หลักาการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยคืออะไร
1.3.5. ความตื่นตัวต่อการต้านรัฐประหาร ยืนยันหลักการประชาธิปไตย รายแรกๆ กลับกลายเป็นคนหาเช้ากินค่ำอย่างลุง ?นวมทอง ไพรวัลย์? ใช้รถแท็กซี่พุ่งชนรถถัง และผูกคอตาย ตั้งใจส่ง Message ต่อเพื่อนร่วมชาติ ผ่านบทกลอน ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเสื้อคอกลมสีดำที่หุ้มร่างกายโดยปราศจากดวง วิญญาณ อีกทั้งเตรียมการบันทึกเสียงคำอำลา และสั่งเสียให้เผยแพร่ในวันสุดท้ายของงานศพ นับเป็นปรากฎการณ์ทางสังคม ที่สะเทือนความรู้สึกในวงกว้าง และจะต้องถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไปอีกนานแสน นาน
2. ?นิติรัฐ? พังทลาย อำนาจตุลาการสั่งได้
2.1. อาการพังทลายของ ?นิติรัฐ? คือลักษณะดังต่อไปนี้
2.1.1. ใช้กองกำลังอาวุธปล้นอำนาจอธิปไตยของปวงชน ยกเลิกรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งเป็นวิถีอนารยะ ป่าเถื่อน ไม่ต่างจากการปล้นชิง มิใช่วิถีอารยะที่ประชาคมโลกให้การยอมรับ
2.1.2. ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ซึ่งร่างโดยคณะเนติบริกรตามคำสั่งของผู้ยึดอำนาจ ซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ร่วมของประชาชนทั้งประเทศ
2.1.3. คณะผู้ยึดอำนาจสามารถ จัดตั้งรัฐบาล สภานิติบัญญัติ องค์กรอิสระ ซึ่งก็คือการเข้าควบคุมองคาพยพของรัฐที่สามารถกำหนดความเป็นตายไร้ดีของ ประชาชนทั้งประเทศ โดยคณะบุคคลที่ใช้อำนาจอาวุธเพียงไม่กี่คน
2.1.4. การออกประกาศ คำสั่งของผู้ยึดอำนาจโดยที่ประกาศคำสั่งนั้นเทียบเท่ากฎหมาย ทั้งที่กระบวนการออกกฎหมายของ ?นิติรัฐ? ต้องมาจาฝ่ายนิติบัญญัติที่ประชาชนทั้งประเทศเลือกตั้งขึ้น นั่นคือความต้องการของคณะผู้ยึดอำนาจ คือกฎหมาย
2.1.5. คณะผู้ยึดอำนาจสามารถ สั่งการและแทรกแทรงกระบวนการยุติธรรมได้ทุกขั้นตอนตั้งแต่ตำรวจไปถึงศาล นับเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือ และความน่าไว้วางใจของกระบวนการยุติธรรม กระทั่งทำให้ศาลไม่สามารถธำรงไว้ซึ่งความเป็นอิสระ ตามหลักการพื้นฐานของ ?นิติรัฐ? เมื่อความเชื่อถือต่อกระบวนการยุติธรรม พังทลายลง ก็จะเกิดความโกลาหลในสังคม เช่นเดียวกับความโกลาหลที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้
2.1.6. คณะผู้ยึดอำนาจสามารถตั้งองค์กร แต่งตั้ง ถอดถอน บุคคลให้ทำหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม ตามความประสงค์ของตน เช่น คตส. ปปช. และศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งๆทีกระบวนการตามปกติของ ?นิติรัฐ? มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายและหลายขั้นตอน ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันในด้านความเป็นอิสระ ความโปร่งใส และความสุจริต
3. สามเดือนสุดท้ายของปี 2549 พิสูจน์ชัด: อำนาจอธิปไตยในอุ้งมือของ คมช. นอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาประชาชนและไม่สามารถรักษาความมั่งคั่งของประเทศไทย ได้ดั่งเดิมแล้ว ยังผลักไสให้ประเทศไทยถอยหลังนับสิบๆปี และมีวิกฤติ นา นา ประการ รอคอยอยู่เบื้องหน้า
3.1. รัฐบาลที่แล้วใช้เวลา 5 ปีเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศและสร้างความน่าเชื่อถือให้ ประเทศไทยยืนอยู่บนเวทีโลกอย่างมีศักดิ์ศรีและเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก แต่รัฐบาล คมช. ใช้เวลาเพียงข้ามคืน ทำลายความน่าเชื่อถือและศักดิ์ศรีของประเทศไทยไปเสียสิ้น ต่างชาติรุมกันประนามอย่างกว้างขวาง ความภาคภูมิใจของคนไทยถูกทำลายอย่างย่อยยับ
3.2. รัฐบาลที่แล้วใช้เวลา 3 ปีเพื่อเตรียมงานเฉลิมฉลองศิริราชสมบัติครอบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเชิญ กษัตริย์จากทั่วโลกเข้าร่วมและเป็นข่าวใหญ่ไปก้องโลก แต่ คมช.ใช้เวลาเพียงข้ามคืน ทำให้ทั่วโลกเข้าใจว่าการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 อยู่ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นข่าวพาดหัว สื่อมวลชนยักษ์ใหญ่ที่เผยแพร่ไปทั่วโลก
3.3. ผลการดำเนินงานใน 3 เดือนสุดท้ายของปี 2549 มีอยู่ 3 อย่าง หนึ่ง ใช้ความพยายามทุกวิถีทางเพื่อเอาผิดต่อ นายกทักษิณและครอบครัวให้ได้ตลอดจนรื้อนโยบายและผลงานของรัฐบาลที่ผ่านมา โดยการคัดลอก ตัดแปะ และเปลี่ยนชื่อโดยหวังให้ผู้คนลืมรัฐบาลที่แล้วโดยเร็ว พร้อมๆกับกีดกันการกลับเข้ามาของ อดีตนายกทักษิณ ทุกวิถีทาง สอง วางกำลังคนของฝ่ายตนเข้าควบคุมกลไกรัฐ ทั้งที่มีอยู่เดิมและตั้งขึ้นมาใหม่ ตลอดจนเข้าควบคุมแหล่งงบประมาณและแหล่งผลประโยชน์ทั้งรัฐวิสาหกิจและองค์กร หน่วยงานต่างๆ สาม สร้างองค์กรใหม่และขยายองค์กรเดิมเพื่อดูดงบประมาณให้อยู่ในการกำกับดูแลของ ตน เช่นหน่วยงานใหม่ ของคมช.เพื่อขอใช้งบกว่า 500 ล้านบาท และการเพิ่มอัตรากำลังพล 70,000 อัตราใน กอ.รมน. เป็นต้น ตลอดทั้ง 3 เดือนประชาชนคอยสดับตรับฟังว่า พวกเขาจะนำพาประเทศไปทิศทางไหน ด้วยยุทธศาสตร์ใด แต่ไร้วี่แวว
3.4. เพียง 3 เดือนที่ครองอำนาจ คณะรัฐมนตรีผู้เชี่ยวชาญงานรูทีนทั้งหลาย นอกจากไม่ได้สร้างผลงานเป็นชิ้นเป็นอันแล้ว กลับสร้างเรื่องเลวร้ายขึ้นมากมาย
3.4.1. ใช้เงินภาษีประชาชน 1,000 ล้านบาทเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ฉีกรัฐธรรมนูของประชาชนทิ้ง คุกคามและริดรอนสิทธิ เสรีภาพของประชาชนด้วยประกาศคำสั่งตามใจชอบ แต่งตั้งพรรคพวก กินเงินเดือนจากภาษีประชาชน เข้าเป็นคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติ องค์กรอิสระ สภาที่ปรึกษา เข้าควบคุมรัฐวิสาหกิจ และแทรกแทรงในกรรมการชุดต่างๆที่พวกเขาตั้งขึ้น
3.4.2. ความเป็นนิติรัฐที่สังคมไทยพัฒนาขึ้นด้วยสติปัญญา และแลกมาด้วยเลือดเนื้อ ชีวิตของวีรชนเดือนพฤษภาคม 2535 ต้องพังทลายลง จากการเข้ามายึดอำนาจของ คปค.ครั้งนี้
3.4.3. ใช้เงินภาษีประชาชนจัดตั้งองค์กร คุกคาม และเตรียมการปราบปรามประชาชน โดยเป็นหน่วยงานพิเศษของ คมช. 550 ล้านบาท และเพิ่มกำลังพลใน กอ.รมน.อีก 70,000 ตำแหน่ง เพื่อควบคุมประชาชนในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ทั้งๆที่ประกาศให้ทั่วโลกรู้ว่าพวกตนยึดอำนาจโดยที่ประชาชนให้การยอมรับทั่ว ประเทศ
3.4.4. เชิดชูความมีจริยธรรม คุณธรรมของผู้นำสูงส่ง ทั้งๆที่นายกรัฐมนตรีคือเป็นผู้บุกรุกป่าสงวนที่เขายายเที่ยง และ ประธาน คมช.จดทะเบียนสมรสซ้อน
3.4.5. แก้ปัญหาค่าเงินบาทแต่ทำลายตลาดทุน ทำให้ขนาดตลาดเสียหาย 800,000 ล้านภายในวันเดียวทำให้หุ้นลง 108 จุด ต่างประเทศเทขายไม่หยุด พวกเขาจัดการให้ดัชนีเป็นบวกโดยบังคับให้กองทุนฯ อุ้มซื้อ ซึ่งจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและส่งผลกระทบต่อตลาดทุนในระยะยาว
3.4.6. สรรหาบุคคลเป็นสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญโดยไม่มีที่มาที่ไป ดำเนินการเลือกสมัชชา ไปเป็น สสร. โดยมีกลิ่นไอของการใช้เงิน เพื่อบล็อคโหวตให้ได้คนตามโผของพวกตน นอกจากไม่สามารถสร้างความชอบธรรมได้แล้ว ยังถูกรุมประนามไปทั่ว
3.4.7. สร้างภาพ วาดหวังให้ผู้คนเชื่อว่า ศอ.บต. มีประสิทธิภาพและมียุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาภาคใต้ได้ แต่ปํญหาภาคใต้ ได้ขยายตัวจากเรื่องภายในประเทศกลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศ และยกระดับจาก เรื่องก่อการวินาศกรรมเป็นเรื่องแยกดินแดนแล้ว ซึ่งสถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงทุกวัน
4. ปี 2550: คมช.รัฐบาล สภานิติบัญญัติ องค์กรทีไม่อิสระ และฝ่ายตุลาการใต้เงาปืน จะผ่านด่านทดสอบได้หรือไม่
ตั้งแต่นี้ต่อไป คมช.จะต้องผ่านด่านทดสอบที่สำคัญดังต่อไปนี้?.
4.1. ด่านทดสอบ หนึ่ง จริยธรรม คุณธรรม และความพอเพียง ผู้นำ คมช.ทั้งตัวประธาน คมช. นายกรัฐมนตรี และบุคคลในคณะ ซึ่งสร้างภาพให้ประชาชนเข้าใจและรู้สึกว่าตนเป็นผู้นำที่เพรียบพร้อมด้วย คุณธรรมและจริยธรรมอันสูงส่ง กระทั่งเป็นแบบอย่างอันดีงานของผู้ประพฤติตนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น จะเป็นจริงเช่นนั้นต่อไปหรือไม่ กรณีการบุกรุกป่าสงวนเขายายเที่ยงของนายกรัฐมนตรี และกรณีจดทะเบียนสมรสซ้อนของ ประธาน คมช.นั้น เป็นเพียงการเผชิญความจริงหน้าด่านทดสอบแรกเท่านั้น
4.2. ด่านทดสอบ สอง ปัญหาภาคใต้แก้ได้หรือขยายตัว การแก้ปัญหาภาคใต้รัฐบาลขิงแก่ ยังแก้ไม่ถูกจุด ล้มเหลวด้านการข่าว เข้าไม่ถึงรังของผู้ก่อการ อ่านยุทธศาสตร์ของผู้ก่อการไม่ออก จัดทำยุทธศาสตร์ผิดพลาด พ่ายแพ้พวกแยกดินแดนในหลายๆยุทธการ แถมยังวางตัวบุคลากรและแนวทางการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประชาชนไม่ถูกต้อง ทำให้ปัญหาการก่อวินาศกรรม จากจุดเล็กๆเป็นเงื่อนไขให้พวกแยกดินแดนใช้ประโยชน์ไปขยายการก่อการร้ายได้ กว้างขึ้น และยกระดับปัญหาให้เป็นการแยกดินแดนและเป็นเรื่องที่เชื่อมกับต่างประเทศ ยิ่งมีสำนักข่าว อัลซาจีร่ามาตั้งอยู่ในมาเลเซีย จะทำให้การเสนอข่าวสารต่อโลกมุสลิมมีความแหลมคมยิ่งขึ้น เมื่อนายกสุรยุทธ์ไปให้สัมภาษณ์สำนักข่าวดังกล่าวโดยที่ไม่เข้าใจปัญหาอย่าง ถ่องแท้ยิ่งทำให้เกิดคำถามมากกว่าความเข้าใจที่ดีขึ้นจะทำให้เหตุการณ์บาน ปลายยิ่งขึ้น
4.3. ด่านทดสอบ สาม กระบวนการยุติธรรมเป็นอิสระโดยปราศจากการแทรกแซงจริงหรือ การออกมาให้ข่าวตั้งข้อหา กล่าวโทษ อดีตนายกทักษิณ ครอบครัว และนักการเมืองคนอื่นๆ ของ คตส. นั้น ถือเป็นพฤติกรรมของผู้ทำงานในกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง ครองธรรม หรือไม่ ในเมื่อ คตส.เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมข้อมูลหลักฐาน ที่ยังไม่มีการชี้แจงจากผู้ถูกล่าวหา และศาลยังมิได้พิพากษา ไม่เพียงเท่านี้เมื่อเรื่องราวทั้งปวงถูกส่งฟ้องศาลแล้ว อำนาจตุลาการ โดยศาล จะสามารถรักษาความเป็นอิสระไว้ได้หรือไม่ และ ศาลจะสามารถพิสูจน์ว่าไม่มีการแทรกแซงจากผู้มีอำนาจจริงหรือไม่
4.4. ด่านทดสอบ สี่ พิพากษาคดียุบพรรคการเมืองเดินตามธงของผู้มีอำนาจหรือไม่ ปี 2550 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่แต่งตั้งโดย คมช. และมีคนใกล้ชิดของ พลเอกเปรม รวมอยู่ในนั้นหลายคน จะต้องพิสูจน์ให้ประชาชน เชื่อมั่นได้ว่า ดำเนินการอย่างสุจริต โปร่งใส ไร้อคติ และที่สำคัญไม่ใช่มีมติพิพากษาไปตามธงของ คมช. หรือ ผู้อยู่เบื้องหลัง คมช.
4.5. ด่านทดสอบ ห้า สิทธิ เสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมทางการเมือง ของประชาชน จะถูกตั้งข้อหาเป็นพวกคลื่นใต้น้ำป่วนเมืองและเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือไม่ คมช. กอ.รมน. สันติบาล จะต้องพิสูจน์ว่า การรขอใช้งบ 500 ล้านเพื่อสร้างหน่วยงานใหม่ ให้คมช. และเพิ่อัตรากำลังพล 70,000 นายในกอ.รมน. นั้นเป็นการทำงานเพื่อความมั่นคงของรัฐที่เกิดจากการรุกรานของอริราชศตรูจาก ต่างประเทศ หรือ การก่อการร้าย มิใช่มีไว้เพื่อ ปราบปราม กดหัว ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยและคัดค้านพวกตน และจะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าจะไม่ใช้งบประมาณก้อนนี้ ?สถาปนารัฐทหาร? เพื่อสืบทอดอำนาจของ คมช.และคณะ ไม่ว่า คมช.จะเป็นผู้ออกมาเล่นเองหรือ ส่งตัวแทนออกมาเล่นตามบทที่ตนกำหนด
4.6. ด่านทดสอบ หก ร่างรัฐธรรมนูญโดยตั้งธงและหมกเม็ดหรือไม่ กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะเกิดขึ้นจาก สสร.ที่คัดเลือกแต่งตั้งโดย คมช.นั้น แท้ที่จริงคือปาหี่ และละครโรงใหญ่ ซึ่งเป็น ?มุก?ทางการเมืองที่ใช้มาแล้วเมื่อปี 2517 การนำมุกนี้กลับมาใช้อีกในปี 2549 โดยที่โลกเคลื่อนที่ไปในกาแลกซี่ ถึง 32 ปีแล้วนั้น นับเป็นอาการย้ำคิด ย้ำทำ ทางการเมืองไร้เหตุผล แต่เมื่อมันได้เกิดขึ้นแล้ว สสร. จะต้องพิสูจน์ให้ประชาชนเห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องดีกว่า หรือดีไม่น้อยกว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 ที่พวก คมช.ฉีกทำลายไป
4.7. ด่านทดสอบ เจ็ด เศรษฐกิจไทยปี 2550 ปลอดภัยหรือสุ่มเสี่ยง
4.7.1. ประชานไม่กล้าจับจ่าย ใช้สอย เพราะความไม่มั่นใจต่ออนาคต อีกทั้งคล้อยตามคำโฆษณาให้ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง จะทำให้ยอดขายสินค้าตก รัฐเก็บภาษี VAT ได้น้อยลง ผู้ประกอบการยอดขายตก กำไนหด ก็จ่ายภาษีนิติบุคคลได้น้อยลง สินค้าเหล้า บุหรี่ถูกควบคุมอย่างหนักทำให้เก็บภาษีสรรพษามิตรได้น้อยลง จะทำให้รายได้ของรัฐมีแนวโน้มลดลงอย่ามาก จนก่อปัญหาด้านการคลังในปีงบประมาณปี 2551
4.7.2. ประเทศอเมริกาและสหภาพยุโรปชลอการเจราทางการค้ากับไทยและมีแนวโน้มกีดกันการ นำเข้าสินค้าจากไทย จนกว่าจะมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งจะทำให้โอกาสส่งออกในตลาดใหญ่ๆของไทยหดแคบ ลง ทำให้เงินตราต่างประเทศเข้าสู่ประเทศน้อยลง
4.7.3. ค่าเงินบาทยังจะแข็งค่า เนื่องจาก เศรษฐกิจขาลงของอเมริกา ขีดความสามารถ ในการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทของ ธปท.มีความจำกัด ยังจะมีผลต่อการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออก และจะทำให้ภาคการส่งออกประสบกับความเสี่ยง
4.7.4. ผู้ประกอบการในภาค Real Sector ชลอการลงทุนเพิ่ม กิจการส่งออกถึงขั้นลดกำลังการผลิต และหยุดผลิต ในขณะที่ผู้ประกอบการจากต่างประเทศยืดเวลาการลงทุนออกไป จะทำให้ภาวะการลงทุนในภาค Real Sector หดตัวลง
4.7.5. เมื่อหมดงานพืชสวนโลกกระแสนักท่องเที่ยวจะลดลง และรัฐยังไม่มีแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อแสวงหารายได้จากเงินตราต่าง ประเทศจากนักท่องเที่ยว จะทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง
4.8. ด่านทดสอบ แปด แรงงานเพิ่งจบเข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นอีก 1,000,000 ตำแหน่ง ในขณะที่แรงงานปัจจุบัน มีความเสี่ยงจากการถูกเลิกจ้าง เนื่องจากการลดกำลังผลิต และ หยุดการผลิต อีกทั้งไม่มีการขยายกิจการเพิ่ม เนื่องจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จะทำให้ปัญหาคนว่างงานกลายเป็นปัญหาใหญ่และเป็นภาระของสังคมมากกว่าเป็นพลัง สร้างสังคม
4.9. ด่านทดสอบ เก้า สินค้าเกษตรตกต่ำ ประชาชนในภาคการเกษตรจะถูกทอดทิ้ง ขาดการเหลียวแล สินค้าด้านการเกษตร ที่สำคัญ เช่นข้าว ยางพารา และพืชผลอื่นๆ ราคาตกลงอย่างน่าเป็นห่วง ด้านหนึ่งเนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาท ที่ส่งผลต่อผู้ส่งออก แต่อีกด้านหนึ่งมาจาก ความสามารถด้านการบริหารของผู้นำรัฐบาลและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ จะทำให้เกษตรกรจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน และเดินทางเข้าสู่ กรุงเทพเพื่อหารายได้เพิ่ม ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาที่ยากจะคาดการณ์ได้
4.10. ด่านทดสอบ สิบ ปํญหาสังคม ตามมาเป็นพรวน จากปัญหาต่างๆที่กล่าวมา สังคมไทยจะกลายสภาพเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความชั่วร้าย นา นา ประการ เช่น การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด การลัก ขโมย การปล้น จี้ชิงทรัพย์ การฉ้อฉลธุรกรรมทางธุรกิจ การปล่อยเงินกู้นอกระบบ การทวงหนี้นอกกฎหมาย มือปืนรับจ้าง และการฆาตกรรม ทั้งจากการจ้างวานและจากภาวะความเครียดทางจิตใจ ปัญหาเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นเมื่อระบบนิติรัฐพังทลาย และภาวะเศรษฐกิจมีปัญหา ประชาชนมองไม่เห็นอนาคตของประเทศและของตนเอง และผู้ทีจะบอกว่า พวกท่านทั้งหลายผ่านด่านทดสอบหรือไม่
คือประชาชนทั้งประเทศ
หาใช่ ?อำนาจพิศดาร? ใดๆ ไม่
บทความนี้มาจาก article-spadmc.blogspot.com/2010/11/blog-post_23.html
ภูมิปัญญาของเทวดาผู้ทรงคุณธรรม คือ อุปสรรคของประชาธิปไตย
ภูมิปัญญาของเทวดาผู้ทรงคุณธรรม คือ อุปสรรคของประชาธิปไตย
นักปรัชญาชายขอบ
ที่มา : ประชาไท
อาจารย์ ท่านหนึ่งที่ไปสอนในหลักสูตรนานาชาติเล่าว่า เด็กอเมริกันที่มาเรียนในเมืองไทย มีเรื่องที่ต้องให้คิดถึงบ้านอยู่เรื่องหนึ่ง คือคิดถึงบรรยากาศของ ?การสนทนาเชิงลึก? ซึ่งเขาบอกว่าในเมืองไทยเขาไม่เคยได้สัมผัสบรรยากาศที่ว่านี้เลย
ผม ฟังแล้วก็เห็นด้วย อย่าว่าแต่เด็กอเมริกันจะเหงาเลย อาจารย์ไทยที่คิดอะไรเชิงลึก หรือคิดเรื่องซีเรียสหน่อยก็เหงา เพราะหาเพื่อนคุยด้วยได้ยาก ผมเห็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเขาคุยกันสนุกปากเรื่องฟีล์ม-แอนนี่ คลิปฉาวของดารา แต่ไม่เห็นคุยเรื่องคลิปฉาวของศาลรัฐธรรมนูญ แถมในห้องทำงานของบางภาควิชายังห้ามคุยเรื่องการเมืองเสียอีก
แต่มี ข้อสังเกตอยู่อย่างคือ เวลาคนพวกนี้พูดถึงคนเสื้อแดง เขาจะกลายเป็น ?เทวดาผู้ทรงคุณธรรมและภูมิปัญญา? ขึ้นมาทันที คือเขาจะตัดสินความผิดของคนเสื้อแดงว่าใช้ความรุนแรง ถูกจ้าง ไม่รู้ประชาธิปไตย ฯลฯ จากภูมิปัญญาที่คิดว่าตนเองเข้าใจคนเสื้อแดงอย่างสิ้นสงสัยเลยทีเดียว
มี เรื่องเศร้าเรื่องหนึ่ง คือผมได้มีโอกาสสนทนากับคนระดับศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ นี้ เขาพูดถึงคนเสื้อแดงว่า ?มาชุมนุมแบบไม่รู้อะไร จะมาก็ต้องมีคนพามา จัดให้มา จะกลับบ้านก็ต้องมีคนพากลับถึงจะกลับถูก แบบนี้จะบอกว่ามาเรียกร้องสิ่งที่มันมีความหมายซับซ้อนอย่างเช่นประชาธิปไตย ได้อย่างไร?
ผมเข้าใจว่าศาสตราจารย์ท่านนี้ท่านน่าจะนึกถึงภาพคนชนบท เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อน ที่มีคำล้อเลียนความไม่รู้ของชาวบ้านว่า มีเจ้าหน้าที่ทางราชการไปพูดถึงการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ แล้วชาวบ้านก็ถามว่า ?ไอ้เทคโนโลยีที่ว่ามันกิโลละเท่าไหร่?
แต่ไม่น่าเชื่อว่าถึง พ.ศ.นี้แล้ว ก็ยังมีคนล้อเลียนชาวบ้านในท่วงทำนองแบบเดิมๆ ดังวิทยากรรับเชิญมาออกรายการทีวีช่อง 11 คนหนึ่ง บอกว่าชาวบ้านถูกชวนมาโค่นอำมาตย์ พอมาถึงกรุงเทพฯ แล้วก็ถามว่า ?ไหนต้นอำมาตย์อยู่ไหน พวกเราจะช่วยกันโค่น!?
นี่คือปัญหาสำคัญของ พวกเทวดาบนหอคอยงาช้างครับ คิดว่าตัวเองเป็นผู้รู้เจนจบ ฉลาดอยู่ฝ่ายเดียว เที่ยวตัดสินชาวบ้านด้วยทัศนะอันตื้นเขิน!
ความจริงคือ ช่วงไม่น้อยกว่าสองทศวรรษมานี้คนชนบทเปลี่ยนไปพอสมควร ยกตัวอย่างเช่นตัวผมเองมาจากครอบครัวรากหญ้าในหมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่งของ จังหวัดขอนแก่น ผมถูกจับบวชเณร ตั้งแต่อายุ 14 ปี จึงได้เรียนหนังสือจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ แล้วก็ไปทำงานหาเงินเรียนจบปริญญาโทในมหาวิทยาลัยของรัฐ จนจับพลัดจับผลูมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
แม่ผม ญาติพี่น้องผมก็ยังเป็นรากหญ้าอยู่เหมือนเดิม แต่อาจดีขึ้นหน่อยคือเวลาลำบากก็ไม่ถึงขนาดต้องไปยืมข้าวสารเพื่อนบ้านมา นึ่งเหมือนเมื่อก่อน ครอบครัวน้องสาวผมยังทำนา และรับจ้างทั่วไป (กรรมกร) แต่ลูกชายคนโตของเขาเพิ่งจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และทำงานอยู่ในเมือง คนรองกำลังเรียนอยู่มหาวิทยาลัยเดียวกันปีที่ 3 คนเล็กเรียน ม. 4 เพื่อนบ้านหลายๆ คนที่ปากกัดตีนถีบเหมือนกันเขาก็ดิ้นรนแบบเดียวกันนี้ คือส่งลูกมาเรียนอยู่ในเมือง ทำงานอยู่ในเมือง
คือชาวบ้านเขายังจน แต่เขาก็ดิ้นรน เห็นคุณค่าของการศึกษา ออกจากบ้านไปทำงานในกรุงเทพฯ ในหลายๆ จังหวัด มีการติดตามข่าวสารบ้านเมือง ความคิดความอ่าน โลกทัศน์เปลี่ยนไปมาก
ฉะนั้น คนชนบทปัจจุบันที่ยังทำไร่ทำนา เป็นกรรมกร อาจจะมีลูกเป็นนักศึกษาปริญญาตรี โท เอก เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย หรือทำงานอาชีพต่างๆ ในสังคมเมือง ที่เขามาเรียกร้องประชาธิปไตยนับหมื่นนับแสนไม่ใช่คนโง่ที่อะไรๆ ก็ต้องขึ้นอยู่กับคนพามาพากลับอย่างที่ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยชั้นนำคิด!
แม่ ผมเล่าให้ฟังว่า คนในหมู่บ้านก็ไปชุมนุมกับคนเสื้อแดงตลอดในช่วงเมษา-พฤษภาที่ผ่านมา ผมถามว่าได้เงินค่าจ้างกันไหม? แม่ผมบอกว่าไม่รู้ ไม่เห็นใครมาเล่าให้ฟังว่าได้ค่าจ้าง แต่ที่เห็นแน่ๆ คือ เวลาจะไปชุมนุมผู้ใหญ่บ้านจะประกาศทางหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านเชิญชวนคนไป ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย ใครมีรถปิ๊คอัพก็ให้เอาไป ใครไม่มีก็ให้อาศัยกันไป ส่วนใครที่ไปไม่ได้ก็ขอให้ร่วมบริจาคค่าน้ำมัน ข้าวสารอาหารแห้ง ช่วยเหลือกันตามมีตามเกิดเท่าที่จะช่วยได้
ผมถาม ว่า ผู้ใหญ่บ้านทำอย่างนั้น ทหารที่เข้ามาในหมู่บ้านเขาไม่ห้ามหรือ? แม่ผมบอกว่าไม่รู้ว่าทหารจะห้ามหรือเปล่า แต่ทุกครั้งที่ไปชุมนุม ผู้ใหญ่บ้านก็ประกาศทางหอกระจายข่าวทุกครั้ง ชาวบ้านเขาก็ไม่ชอบที่ทหารเข้ามาในหมู่บ้านเกณฑ์คนมาอบรม เขาไม่เชื่อในสิ่งที่ทหารพูด
ไม่ใช่หมู่บ้านผมเท่านั้นที่เป็นแบบนี้ น้องสาวแม่ผมที่อยู่หมู่บ้านแห่งหนึ่งของจังหวัดหนองบัวลำภู ก็จัดผ้าป่า 3-4 ครั้ง ช่วยคนเสื้อแดงในหมู่บ้านให้ออกไปร่วมชุมนุม ซึ่งผมแปลกใจมากว่าผู้หญิงในวัยใกล้ 70 อย่างแม่ผม อย่างน้องสาวแม่ผมแต่ก่อนไม่เคยเห็นพูดเรื่องการเมืองเลย แต่ปัจจุบันคนในวัยนี้ และเป็นจำนวนมากในหมู่บ้านลงทุนลงแรงต่อสู้ทางการเมือง หรือต่อสู่เพื่อสิ่งที่เขาเรียกว่าประชาธิปไตย
ผมเองหลุดออกมาจาก ชนบทมาใช้ชีวิตในสังคมเมือง อยู่ในมหาวิทยาลัย กลับพบแต่ ?คำพิพากษา? ว่าชาวบ้านไม่รู้ประชาธิปไตย เป็นเหยื่อนักการเมืองโกง ถูกซื้อด้วยเงิน ฯลฯ แม้ผมจะเชื่อว่าชาวบ้านส่วนหนึ่งก็อาจเป็นอย่างที่ว่าจริง คือการต่อสู้ของชาวบ้านก็อาจไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่มันน่าเสียใจว่าคนที่พิพากษาชาวบ้านเช่นนี้ หลายคนเป็นนักวิชาการ เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่เขาเคยเสียเวลาไปศึกษาตัวตน เหตุผล ความคิดความอ่านของชาวบ้างไหมว่า ทำไมพวกเขาจึงออกมาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย!
ผมเขียนเรื่องนี้เหมือน กับพูดซ้ำเรื่องเดิมๆ แต่มันก็เป็นเรื่องเดิมๆ ที่ยังเป็นปัญหาอยู่ เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจปรากฏการณ์การลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยของ คนระดับล่างว่าจำเป็นต้องได้รับการมองให้ถูกต้อง
ไม่ใช่มองแค่ว่าพวก เขาเป็น ?มนุษย์เครื่องมือ? ต้องมองให้เห็นความเป็นคนของพวกเขาเท่าเทียมกับความเป็นคนของทุกคน หนึ่งคนหนึ่งเสียงเป็นเจ้าของประเทศนี้เท่าๆ กัน ข้อเรียกร้องและเหตุผลของพวกเขาจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างตรงไปตรงมา
อยาก ถามปัญญาชน นักวิชาการ สื่อทั้งหลายว่า พวกคุณรู้ตัวหรือเปล่าว่า ชาวบ้าน คนชนบท คนต่างจังหวัด คนขับแท็กซี่ ขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง กรรมกรในสังคมเมือง พวกเขาก้าวล้ำหน้าพวกคุณไปไกลแล้วในเส้นทางการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย!
ถ้า ตามไม่ทันชาวบ้าน ก็ขอบิณฑบาตว่าอย่าทำตัวเป็นเทวดาผู้ทรงคุณธรรมและภูมิปัญญาเที่ยวพิพากษา ชาวบ้านผิดๆ อีกต่อไปเลย หรือถ้าไม่มีปัญญาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ก็อย่าทำตัวขัดขวางกระบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของชาวบ้านอีกเลยครับ!
บทความนี้มาจาก article-spadmc.blogspot.com/2010/11/blog-post_7354.html
นักปรัชญาชายขอบ
ที่มา : ประชาไท
อาจารย์ ท่านหนึ่งที่ไปสอนในหลักสูตรนานาชาติเล่าว่า เด็กอเมริกันที่มาเรียนในเมืองไทย มีเรื่องที่ต้องให้คิดถึงบ้านอยู่เรื่องหนึ่ง คือคิดถึงบรรยากาศของ ?การสนทนาเชิงลึก? ซึ่งเขาบอกว่าในเมืองไทยเขาไม่เคยได้สัมผัสบรรยากาศที่ว่านี้เลย
ผม ฟังแล้วก็เห็นด้วย อย่าว่าแต่เด็กอเมริกันจะเหงาเลย อาจารย์ไทยที่คิดอะไรเชิงลึก หรือคิดเรื่องซีเรียสหน่อยก็เหงา เพราะหาเพื่อนคุยด้วยได้ยาก ผมเห็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเขาคุยกันสนุกปากเรื่องฟีล์ม-แอนนี่ คลิปฉาวของดารา แต่ไม่เห็นคุยเรื่องคลิปฉาวของศาลรัฐธรรมนูญ แถมในห้องทำงานของบางภาควิชายังห้ามคุยเรื่องการเมืองเสียอีก
แต่มี ข้อสังเกตอยู่อย่างคือ เวลาคนพวกนี้พูดถึงคนเสื้อแดง เขาจะกลายเป็น ?เทวดาผู้ทรงคุณธรรมและภูมิปัญญา? ขึ้นมาทันที คือเขาจะตัดสินความผิดของคนเสื้อแดงว่าใช้ความรุนแรง ถูกจ้าง ไม่รู้ประชาธิปไตย ฯลฯ จากภูมิปัญญาที่คิดว่าตนเองเข้าใจคนเสื้อแดงอย่างสิ้นสงสัยเลยทีเดียว
มี เรื่องเศร้าเรื่องหนึ่ง คือผมได้มีโอกาสสนทนากับคนระดับศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ นี้ เขาพูดถึงคนเสื้อแดงว่า ?มาชุมนุมแบบไม่รู้อะไร จะมาก็ต้องมีคนพามา จัดให้มา จะกลับบ้านก็ต้องมีคนพากลับถึงจะกลับถูก แบบนี้จะบอกว่ามาเรียกร้องสิ่งที่มันมีความหมายซับซ้อนอย่างเช่นประชาธิปไตย ได้อย่างไร?
ผมเข้าใจว่าศาสตราจารย์ท่านนี้ท่านน่าจะนึกถึงภาพคนชนบท เมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อน ที่มีคำล้อเลียนความไม่รู้ของชาวบ้านว่า มีเจ้าหน้าที่ทางราชการไปพูดถึงการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ แล้วชาวบ้านก็ถามว่า ?ไอ้เทคโนโลยีที่ว่ามันกิโลละเท่าไหร่?
แต่ไม่น่าเชื่อว่าถึง พ.ศ.นี้แล้ว ก็ยังมีคนล้อเลียนชาวบ้านในท่วงทำนองแบบเดิมๆ ดังวิทยากรรับเชิญมาออกรายการทีวีช่อง 11 คนหนึ่ง บอกว่าชาวบ้านถูกชวนมาโค่นอำมาตย์ พอมาถึงกรุงเทพฯ แล้วก็ถามว่า ?ไหนต้นอำมาตย์อยู่ไหน พวกเราจะช่วยกันโค่น!?
นี่คือปัญหาสำคัญของ พวกเทวดาบนหอคอยงาช้างครับ คิดว่าตัวเองเป็นผู้รู้เจนจบ ฉลาดอยู่ฝ่ายเดียว เที่ยวตัดสินชาวบ้านด้วยทัศนะอันตื้นเขิน!
ความจริงคือ ช่วงไม่น้อยกว่าสองทศวรรษมานี้คนชนบทเปลี่ยนไปพอสมควร ยกตัวอย่างเช่นตัวผมเองมาจากครอบครัวรากหญ้าในหมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่งของ จังหวัดขอนแก่น ผมถูกจับบวชเณร ตั้งแต่อายุ 14 ปี จึงได้เรียนหนังสือจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ แล้วก็ไปทำงานหาเงินเรียนจบปริญญาโทในมหาวิทยาลัยของรัฐ จนจับพลัดจับผลูมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
แม่ผม ญาติพี่น้องผมก็ยังเป็นรากหญ้าอยู่เหมือนเดิม แต่อาจดีขึ้นหน่อยคือเวลาลำบากก็ไม่ถึงขนาดต้องไปยืมข้าวสารเพื่อนบ้านมา นึ่งเหมือนเมื่อก่อน ครอบครัวน้องสาวผมยังทำนา และรับจ้างทั่วไป (กรรมกร) แต่ลูกชายคนโตของเขาเพิ่งจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และทำงานอยู่ในเมือง คนรองกำลังเรียนอยู่มหาวิทยาลัยเดียวกันปีที่ 3 คนเล็กเรียน ม. 4 เพื่อนบ้านหลายๆ คนที่ปากกัดตีนถีบเหมือนกันเขาก็ดิ้นรนแบบเดียวกันนี้ คือส่งลูกมาเรียนอยู่ในเมือง ทำงานอยู่ในเมือง
คือชาวบ้านเขายังจน แต่เขาก็ดิ้นรน เห็นคุณค่าของการศึกษา ออกจากบ้านไปทำงานในกรุงเทพฯ ในหลายๆ จังหวัด มีการติดตามข่าวสารบ้านเมือง ความคิดความอ่าน โลกทัศน์เปลี่ยนไปมาก
ฉะนั้น คนชนบทปัจจุบันที่ยังทำไร่ทำนา เป็นกรรมกร อาจจะมีลูกเป็นนักศึกษาปริญญาตรี โท เอก เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย หรือทำงานอาชีพต่างๆ ในสังคมเมือง ที่เขามาเรียกร้องประชาธิปไตยนับหมื่นนับแสนไม่ใช่คนโง่ที่อะไรๆ ก็ต้องขึ้นอยู่กับคนพามาพากลับอย่างที่ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยชั้นนำคิด!
แม่ ผมเล่าให้ฟังว่า คนในหมู่บ้านก็ไปชุมนุมกับคนเสื้อแดงตลอดในช่วงเมษา-พฤษภาที่ผ่านมา ผมถามว่าได้เงินค่าจ้างกันไหม? แม่ผมบอกว่าไม่รู้ ไม่เห็นใครมาเล่าให้ฟังว่าได้ค่าจ้าง แต่ที่เห็นแน่ๆ คือ เวลาจะไปชุมนุมผู้ใหญ่บ้านจะประกาศทางหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านเชิญชวนคนไป ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย ใครมีรถปิ๊คอัพก็ให้เอาไป ใครไม่มีก็ให้อาศัยกันไป ส่วนใครที่ไปไม่ได้ก็ขอให้ร่วมบริจาคค่าน้ำมัน ข้าวสารอาหารแห้ง ช่วยเหลือกันตามมีตามเกิดเท่าที่จะช่วยได้
ผมถาม ว่า ผู้ใหญ่บ้านทำอย่างนั้น ทหารที่เข้ามาในหมู่บ้านเขาไม่ห้ามหรือ? แม่ผมบอกว่าไม่รู้ว่าทหารจะห้ามหรือเปล่า แต่ทุกครั้งที่ไปชุมนุม ผู้ใหญ่บ้านก็ประกาศทางหอกระจายข่าวทุกครั้ง ชาวบ้านเขาก็ไม่ชอบที่ทหารเข้ามาในหมู่บ้านเกณฑ์คนมาอบรม เขาไม่เชื่อในสิ่งที่ทหารพูด
ไม่ใช่หมู่บ้านผมเท่านั้นที่เป็นแบบนี้ น้องสาวแม่ผมที่อยู่หมู่บ้านแห่งหนึ่งของจังหวัดหนองบัวลำภู ก็จัดผ้าป่า 3-4 ครั้ง ช่วยคนเสื้อแดงในหมู่บ้านให้ออกไปร่วมชุมนุม ซึ่งผมแปลกใจมากว่าผู้หญิงในวัยใกล้ 70 อย่างแม่ผม อย่างน้องสาวแม่ผมแต่ก่อนไม่เคยเห็นพูดเรื่องการเมืองเลย แต่ปัจจุบันคนในวัยนี้ และเป็นจำนวนมากในหมู่บ้านลงทุนลงแรงต่อสู้ทางการเมือง หรือต่อสู่เพื่อสิ่งที่เขาเรียกว่าประชาธิปไตย
ผมเองหลุดออกมาจาก ชนบทมาใช้ชีวิตในสังคมเมือง อยู่ในมหาวิทยาลัย กลับพบแต่ ?คำพิพากษา? ว่าชาวบ้านไม่รู้ประชาธิปไตย เป็นเหยื่อนักการเมืองโกง ถูกซื้อด้วยเงิน ฯลฯ แม้ผมจะเชื่อว่าชาวบ้านส่วนหนึ่งก็อาจเป็นอย่างที่ว่าจริง คือการต่อสู้ของชาวบ้านก็อาจไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่มันน่าเสียใจว่าคนที่พิพากษาชาวบ้านเช่นนี้ หลายคนเป็นนักวิชาการ เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่เขาเคยเสียเวลาไปศึกษาตัวตน เหตุผล ความคิดความอ่านของชาวบ้างไหมว่า ทำไมพวกเขาจึงออกมาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย!
ผมเขียนเรื่องนี้เหมือน กับพูดซ้ำเรื่องเดิมๆ แต่มันก็เป็นเรื่องเดิมๆ ที่ยังเป็นปัญหาอยู่ เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจปรากฏการณ์การลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยของ คนระดับล่างว่าจำเป็นต้องได้รับการมองให้ถูกต้อง
ไม่ใช่มองแค่ว่าพวก เขาเป็น ?มนุษย์เครื่องมือ? ต้องมองให้เห็นความเป็นคนของพวกเขาเท่าเทียมกับความเป็นคนของทุกคน หนึ่งคนหนึ่งเสียงเป็นเจ้าของประเทศนี้เท่าๆ กัน ข้อเรียกร้องและเหตุผลของพวกเขาจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างตรงไปตรงมา
อยาก ถามปัญญาชน นักวิชาการ สื่อทั้งหลายว่า พวกคุณรู้ตัวหรือเปล่าว่า ชาวบ้าน คนชนบท คนต่างจังหวัด คนขับแท็กซี่ ขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง กรรมกรในสังคมเมือง พวกเขาก้าวล้ำหน้าพวกคุณไปไกลแล้วในเส้นทางการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย!
ถ้า ตามไม่ทันชาวบ้าน ก็ขอบิณฑบาตว่าอย่าทำตัวเป็นเทวดาผู้ทรงคุณธรรมและภูมิปัญญาเที่ยวพิพากษา ชาวบ้านผิดๆ อีกต่อไปเลย หรือถ้าไม่มีปัญญาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ก็อย่าทำตัวขัดขวางกระบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของชาวบ้านอีกเลยครับ!
บทความนี้มาจาก article-spadmc.blogspot.com/2010/11/blog-post_7354.html
17 โครงการด้านวัฒนธรรมและสนเทศของอาเซียน
17 โครงการด้านวัฒนธรรมและสนเทศของอาเซียน
ไทยจะเข้า สู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 เมื่อเร็ว ๆ นี้ผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม และผู้แทนสำนักเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วมประชุม ?คณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 46? (46th Meeting of the ASEAN-COCI) ณ จังหวัดชลบุรี สมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ถือเป็นพลังจิตวิญญาณของความเป็นอาเซียนอย่างหนึ่ง ประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน เน้นเร่งรัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร อำนวยความสะดวกด้านการฝึกอบรม วิจัย การศึกษา วิชาชีพ วิชาการ การบริหาร ร่วมมือด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา และร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศส่วนภูมิภาค
ซึ่งวัฒนธรรมถือเป็นหนึ่งในเสาหลักของประชาคม ดังนั้น ในการประชุมคณะกรรมการอาเซียนด้านวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 46 นอกจากประชุมเต็มคณะแล้ว ยังมีการประชุมคณะอนุกรรมการกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่ม คือ คณะอนุกรรมการอาเซียนด้านวัฒนธรรม (SCC) คณะอนุกรรมการอาเซียนด้านสนเทศ (SCI) ที่ ประชุมได้พิจารณาอนุมัติงบประมาณการดำเนินงานโครงการประจำปี 2555 แบ่งเป็นโครงการด้านวัฒนธรรม 7 โครงการ และโครงการด้านสนเทศ 7 โครงการ โครงการ ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ การประชุมคณะอนุกรรมการด้านวัฒนธรรม (มาเลเซีย) โครงการค่ายเยาวชนอาเซียน ประจำปี 2555/2556 (สิงคโปร์) โครงการเทศกาลศิลปวัฒนธรรมอาเซียนเพื่อสร้างประชาคมอาเซียนสู่สังคมเอื้อ อาทร (กัมพูชา) โครงการจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับช่างหัตถกรรมชั้นครูของอาเซียน (มาเลเซีย) โครงการประชุมปฏิบัติการว่าด้วยการออกแบบและเทคนิคการละคร ? การกำกับ การอำนวยการผลิต และการกำกับเวที - ระยะที่ 3 (ฟิลิปปินส์) โครงการท่องเที่ยวแหล่งประวัติศาสตร์เพื่อเอกภาพของอาเซียน (อินโดนีเซีย) และโครงการจัดแสดงคอนเสิร์ตอาเซียน (ลาว) ส่วนโครงการด้านสนเทศ ได้แก่ การประชุมคณะอนุกรรมการด้านสนเทศ (เวียดนาม) โครงการข่าวโทรทัศน์อาเซียน ปีที่ 18 โครงการ ASEAN in Action ปีที่ 18 การประชุมร่วมผู้ผลิตรายการข่าวโทรทัศน์อาเซียน และ ASEAN in Action ครั้งที่ 6 โครงการตอบปัญหาอาเซียน (ASEAN Quiz) ระดับภูมิภาค ครั้งที่ 5 โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปี การริเริ่มความร่วมมือสื่อเผยแพร่ดิจิทัล โครงการเครือข่ายสื่อประชาสัมพันธ์อาเซียน (ASEAN Media Portal) และโครงการอื่น ๆ 1 โครงการ ได้แก่ การประชุมที่ปรึกษากองทุนอาเซียน ครั้งที่ 10
ในส่วนไทยเสนอ 2 โครงการ คือ โครงการประชุมสัมมนาเพื่อแบ่งปันองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่เป็น เลิศในการพิทักษ์สมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ และโครงการแลกเปลี่ยนระดับประชาชนเพื่อส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระดับ รากหญ้าระหว่างอาเซียน ? จีน จะเห็นว่าทั้ง 17 โครงการนี้ สะท้อนหัวใจของประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนคือ สร้างสังคมที่เอื้อเฟื้อแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความเข้าใจกันและกัน เป็นพื้นฐานนำไปสู่?อาเซียน คอมมินีตี้?ที่เข้มแข็ง ซึ่งทั้ง 10 ประเทศต่างช่วยกันเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านอัตลักษณ์ของแต่ละประเทศที่มี ลักษณะคล้ายเป็นประเทศเดียวกัน. เรียบเรียงโดย พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์
บทความนี้มากจาก web62.sskru.ac.th/aseansskru/maxsite/?name=knowledge&file=readknowledge&id=17
ไทยจะเข้า สู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 เมื่อเร็ว ๆ นี้ผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม และผู้แทนสำนักเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วมประชุม ?คณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 46? (46th Meeting of the ASEAN-COCI) ณ จังหวัดชลบุรี สมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ถือเป็นพลังจิตวิญญาณของความเป็นอาเซียนอย่างหนึ่ง ประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน เน้นเร่งรัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร อำนวยความสะดวกด้านการฝึกอบรม วิจัย การศึกษา วิชาชีพ วิชาการ การบริหาร ร่วมมือด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา และร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศส่วนภูมิภาค
ซึ่งวัฒนธรรมถือเป็นหนึ่งในเสาหลักของประชาคม ดังนั้น ในการประชุมคณะกรรมการอาเซียนด้านวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 46 นอกจากประชุมเต็มคณะแล้ว ยังมีการประชุมคณะอนุกรรมการกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่ม คือ คณะอนุกรรมการอาเซียนด้านวัฒนธรรม (SCC) คณะอนุกรรมการอาเซียนด้านสนเทศ (SCI) ที่ ประชุมได้พิจารณาอนุมัติงบประมาณการดำเนินงานโครงการประจำปี 2555 แบ่งเป็นโครงการด้านวัฒนธรรม 7 โครงการ และโครงการด้านสนเทศ 7 โครงการ โครงการ ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ การประชุมคณะอนุกรรมการด้านวัฒนธรรม (มาเลเซีย) โครงการค่ายเยาวชนอาเซียน ประจำปี 2555/2556 (สิงคโปร์) โครงการเทศกาลศิลปวัฒนธรรมอาเซียนเพื่อสร้างประชาคมอาเซียนสู่สังคมเอื้อ อาทร (กัมพูชา) โครงการจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับช่างหัตถกรรมชั้นครูของอาเซียน (มาเลเซีย) โครงการประชุมปฏิบัติการว่าด้วยการออกแบบและเทคนิคการละคร ? การกำกับ การอำนวยการผลิต และการกำกับเวที - ระยะที่ 3 (ฟิลิปปินส์) โครงการท่องเที่ยวแหล่งประวัติศาสตร์เพื่อเอกภาพของอาเซียน (อินโดนีเซีย) และโครงการจัดแสดงคอนเสิร์ตอาเซียน (ลาว) ส่วนโครงการด้านสนเทศ ได้แก่ การประชุมคณะอนุกรรมการด้านสนเทศ (เวียดนาม) โครงการข่าวโทรทัศน์อาเซียน ปีที่ 18 โครงการ ASEAN in Action ปีที่ 18 การประชุมร่วมผู้ผลิตรายการข่าวโทรทัศน์อาเซียน และ ASEAN in Action ครั้งที่ 6 โครงการตอบปัญหาอาเซียน (ASEAN Quiz) ระดับภูมิภาค ครั้งที่ 5 โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปี การริเริ่มความร่วมมือสื่อเผยแพร่ดิจิทัล โครงการเครือข่ายสื่อประชาสัมพันธ์อาเซียน (ASEAN Media Portal) และโครงการอื่น ๆ 1 โครงการ ได้แก่ การประชุมที่ปรึกษากองทุนอาเซียน ครั้งที่ 10
ในส่วนไทยเสนอ 2 โครงการ คือ โครงการประชุมสัมมนาเพื่อแบ่งปันองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่เป็น เลิศในการพิทักษ์สมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ และโครงการแลกเปลี่ยนระดับประชาชนเพื่อส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระดับ รากหญ้าระหว่างอาเซียน ? จีน จะเห็นว่าทั้ง 17 โครงการนี้ สะท้อนหัวใจของประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนคือ สร้างสังคมที่เอื้อเฟื้อแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความเข้าใจกันและกัน เป็นพื้นฐานนำไปสู่?อาเซียน คอมมินีตี้?ที่เข้มแข็ง ซึ่งทั้ง 10 ประเทศต่างช่วยกันเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านอัตลักษณ์ของแต่ละประเทศที่มี ลักษณะคล้ายเป็นประเทศเดียวกัน. เรียบเรียงโดย พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์
บทความนี้มากจาก web62.sskru.ac.th/aseansskru/maxsite/?name=knowledge&file=readknowledge&id=17
ประเทศไทยกับอาเซียน
ประเทศไทยกับอาเซียน
1. อาเซียน : จากสมาคมสู่ประชาคม
ตลอดช่วงระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนได้มีพัฒนาการมาเป็น ลำดับ และไทยก็มีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือของอาเซียนให้มีความคืบหน้ามา โดยตลอด โดยเมื่อเริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2510 สภาพแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความตึงเครียด อันเป็นผลมาจากสงครามเย็น ซึ่งมีความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ ระหว่างประเทศที่สนับสนุนอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยกับประเทศที่ยึดมั่น ในอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์
ในขณะเดียวกัน ความขัดแย้งด้านดินแดนระหว่างประเทศในภูมิภาค เช่น ความขัดแย้งระหว่าง มลายาและฟิลิปปินส์ ในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนซาบาห์และซาราวัก รวมทั้งการที่สิงคโปร์แยกตัวออกจากมลายา ทำให้หลายประเทศเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมมือกันระหว่างประเทศใน ภูมิภาค
ดร. ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในขณะนั้น ได้มีบทบาทสำคัญในการเดินทางไปเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างประเทศ เพื่อนบ้านเหล่านี้ และได้เชิญให้รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีก 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ มาหารือร่วมกันที่แหลมแท่น จ. ชลบุรี อันนำมาสู่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เพื่อก่อตั้งอาเซียน ที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ไทยจึงถือเป็นทั้งประเทศผู้ร่วมก่อตั้งและเป็น ?บ้านเกิด? ของอาเซียน
อาเซียนได้ขยายสมาชิกภาพขึ้นมาเป็นลำดับ โดยบรูไนได้เข้าเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่ 6 ในปี 2527 และภายหลังเมื่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เหลืออีก 4 ประเทศ คือ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ได้ทะยอยกันเข้าเป็นสมาชิกจนครบ 10 ประเทศ เมื่อปี 2542 นับเป็นก้าวสำคัญที่ไทยได้มีบทบาทเชื่อมโยงประเทศที่ตั้งอยู่บนภาคพื้นทวีป และประเทศที่เป็นหมู่เกาะทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง
ถึงแม้ว่า ปฏิญญากรุงเทพ จะมิได้ระบุถึงความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง โดยกล่าวถึงเพียงความร่วมมือกันด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา การเกษตร อุตสาหกรรม การส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค แต่อาเซียนได้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื่อเชื่อใจระหว่างประเทศ ในภูมิภาค ลดความหวาดระแวง และช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และที่สำคัญ ไทยได้เป็นแกนนำร่วมกับอินโดนีเซียและประเทศสมาชิกอาเซียนดั้งเดิมในการ แก้ไขปัญหากัมพูชา รวมทั้งความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยอินโดจีนจนประสบความสำเร็จ ลุล่วงไปด้วยดี และช่วยเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อไทยซึ่งเป็นประเทศด่านหน้า
นอกจากนี้ ประเทศไทย โดยท่านอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ก็ได้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้มีความ คืบหน้า โดยการริเริ่มให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ ASEAN Free Trade Area (AFTA) ขึ้นเมื่อปี 2535 โดยตกลงที่จะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันให้เหลือร้อยละ 0-5 ในเวลา 15 ปี ซึ่งต่อมาได้ลดเวลาลงเหลือ 10 ปี โดยประเทศสมาชิกเก่า 6 ประเทศ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2546 ในขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ดำเนินการเสร็จสิ้นในปี 2551
ในปัจจุบัน บริบททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง คือ จีนและอินเดีย รวมทั้งแนวโน้มการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ ตลอดจนปัญหาท้าทายความมั่นคงในรูปแบบใหม่ เช่น โรคระบาด การก่อการร้าย ยาเสพติด การค้ามนุษย์ สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ ทำให้อาเซียนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ รวมทั้งเพื่อจัดการกับปัญหาท้าทายเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ปฏิญญากรุงเทพ ที่ก่อตั้งอาเซียน เมื่อปี 2510 ได้ระบุวิสัยทัศน์และวางรากฐานสำหรับการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนตั้งแต่ แรกเริ่ม แต่โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองในภูมิภาคในขณะนั้น ไม่เอื้ออำนวย เนื่องจากอยู่ในยุคของสงครามเย็น แนวคิดเรื่องบูรณาการในภูมิภาคจึงไม่ได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง แต่ต่อมาเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง ประเทศในภูมิภาคจึงสามารถหันหน้าเข้าหากันและร่วมมือกันมากขึ้น ส่งผลให้แนวคิดที่จะมีการรวมตัวการอย่างเหนียวแน่นได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีก ครั้งหนึ่ง โดยอาจกล่าวได้ว่า ข้อริเริ่มของท่านอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนโดยเริ่มจากเสา เศรษฐกิจ
ต่อมา ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่บาหลี เมื่อปี 2546 ได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะสร้าง ประชาคมอาเซียน โดยมีการจัดทำแผนงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว นำมาสู่การจัดทำกฎบัตรอาเซียน เพื่อวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของอาเซียน ทำให้อาซียนเป็นองค์กรที่มีกฎกติกาในการทำงาน มีประสิทธิภาพ และเป็นองค์กรเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้ กฎบัตรฯ ได้เริ่มมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นช่วงวลาเดียวกับที่ประเทศไทยได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน
ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ได้รับรองปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนใน ทั้ง 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558
2. ประเทศไทยกับการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน
เมื่อไทยเข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 นับเป็นช่วง หัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน รวมทั้งอยู่ในช่วงเดียวกับที่คนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ไทยจึงให้ความสำคัญต่อการวางรากฐานสำหรับการสร้างประชาคมอาเซียนเพื่อให้ เป็นประชาคมที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ โดยการเสริมสร้างประสิทธิภาพของกลไกต่าง ๆ ของอาเซียนให้สามารถเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชนได้อย่างทันท่วงที ทั้งปัญหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลก สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการป้องกันและควบคุมโรคระบาดต่าง ๆ เช่น การประสานมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการสร้างอุปสงค์ (demand) ภายในภูมิภาคเพื่อรองรับผลกระทบ จากวิกฤติการณ์ทางการเงินโลก การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติต่าง ๆ โดยมอบหมายให้เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ประสานงานในกรณีที่เกิดภัยพิบัติขนาด ใหญ่ รวมทั้งการจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาในเอเชีย ตะวันออก อีก 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อประสานนโยบายและมาตรการในการควบคุมากรแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ (H1N1)
นอกจากนี้ ไทยได้ผลักดันให้กลไกใหม่ ๆ ของอาเซียนที่กำหนดไว้ในกฎบัตรฯ สามารถดำเนินงาน ได้อย่างครบถ้วน ทั้งการจัดตั้งคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา คณะมนตรีประสานงานอาเซียน และคณะมนตรีประจำประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคประชาสังคมต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อช่วยกันสร้างประชาคมอาเซียน ดังจะเห็นได้จากริเริ่มให้มีการพบปะอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำอาเซียน กับผู้แทนสมัชชารัฐสภาอาเซียน เยาวชนอาเซียน และภาคประชาสังคมอาเซียน ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 และครั้งที่ 15 ที่ชะอำ-หัวหิน
เป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของไทยในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เป็น ?ประชาคมเพื่อประชาชน? ก็คือ การจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนเพื่อให้เป็นหน่วยงานหลักในการประสานความ ร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องและ องค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของประชาชนในภูมิภาค ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า เป้าหมายดังกล่าวได้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมในระหว่างการประชุมสุดยอดอา เซียน ครั้งที่ 15 ที่ชะอำ-หัวหิน เมื่อเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งมีการประกาศจัดตั้ง คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งนับเป็นความสำเร็จประการหนึ่งที่ไทยในฐานะประธานอาเซียนได้มีบทบาทสำคัญ ในการผลักดัน
3. อาเซียน : วิสัยทัศน์ในอนาคต
ถึงแม้ว่าอาเซียนจะประสบความสำเร็จในด้านการเสริมสร้างความมั่นคงและความ ร่วมมือในภูมิภาคจนเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ แต่ก็ยังมีปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขให้ลุล่วงเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อความ ร่วมมือและพัฒนาการในอนาคต ที่สำคัญ คือ ปัญหาความล่าช้าในการดำเนินงานและการที่ประเทศสมาชิกไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ว่า ในแต่ละปีอาเซียนมีการประชุมกว่า 700 การประชุม รวมทั้งมีการประเมินว่า ในบรรรดาความตกลงทางเศรษฐกิจที่ประเทศสมาชิกจัดทำไว้ร่วมกันรวม 134 ฉบับ มีเพียง 87 ฉบับ ที่ได้ห้สัตยาบันและมีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งคิดเป็นเพียงร้อยละ 65 เท่านั้น
นอกจากนี้ ในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายเรื่องการจัดตั้งประชาคมภายในปี 2558 อาเซียนจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับประชาชนทั้งในเรื่องการให้ประชาชนได้เข้า มามีส่วนร่วมและรู้สึกเป็นเจ้าของประชาคมที่จะสร้างขึ้น ทั้งนี้ บทเรียนจากสหภาพยุโรปชี้ให้เห็นว่า ประชาคมจะไม่สามารถบรรลุผลได้หากประชาชนไม่ให้การสนับสนุน ดังนั้น ในช่วงเวลานับจากนี้จนถึงปี 2558 ไทยจะพยายามผลักดันให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ (Community of Action) มีการเชื่อมโยงและติดต่อสื่อสารระหว่างกัน อย่างใกล้ชิด (Community of Connectivity) รวมทั้งเป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง (Community of People)
ในประเด็นแรก ไทยจะผลักดันให้เร่งรัดการดำเนินการตามข้อตกลงต่าง ๆ ของอาเซียนให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยเลขาธิการอาเซียนจะมีบทบาทสำคัญในการติดตามให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตาม พันธกรณีต่าง ๆ รวมทั้ง จะต้องพัฒนากรอบความร่วมมือของอาเซียนให้สามารถแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อ ประชาชนได้อย่างทันท่วงที เช่น ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิต วัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ หรือการนำความสำเร็จของกลไกสามฝ่ายระหว่างอาเซียน-สหประชาชาติและพม่าในการ ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยจากไซโคลนนาร์กีสในพม่ามาประยุกต์ใช้ในการ แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮิงญา เป็นต้น
สำหรับการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในภูมิภาค นั้น จะต้องดำเนินการทั้งในด้านกายภาพ คือ การพัฒนาเส้นทางคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ตลอดจนเครื่อข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการติดต่อค้าขาย การท่องเที่ยว และการเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนนอกจากนั้น ยังต้องให้ความสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมโยงในเชิงจิตวิญญาน คือ การทำให้ประชาชนในภูมิภาคมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและตระหนักถึง การเป็นประชากรของอาเซียนร่วมกัน ถึงแม้ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายใน ด้านเชื้อชาติ และศาสนา แต่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ ก็มีรากฐานทางประวัติศาสตร์และอารยธรรมร่วมกัน เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่เป็นจุดบรรจบของอารยธรรมจีนและอินเดีย ดังนั้น ประเด็นที่ท้าทายสำหรับอาเซียนในอนาคต ก็คือ การเสริมสร้างอัตลักษณ์ หรือ คุณลักษณะร่วมกันของประชาชนในอาเซียน โดยผ่านการศึกษา การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สื่อสารมวลชน และการส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจระหว่างประชาชนให้ยอมรับถึงความแตกต่างและสามารถอยู่ร่วมกันได้ อย่างสงบสุข
นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นที่ที่จะต้องส่งเสริมให้ประชาชนของแต่ละประเทศมองประเทศ เพื่อนบ้านอาเซียนในลักษณะที่เป็นมิตร และไม่นำประเด็นความขัดแย้งในประวัติศาสตร์มาเป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต ซึ่งในเรื่องนี้ ไทยจะริเริ่มให้มีการพิจารณาประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกันในเชิงความร่วมมือมากขึ้น
4. ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ
ตลอดระยะเวลา 40 กว่าปีที่ผ่านมาไทยได้ประโยชน์หลายประการจากอาเซียน ทั้งในแง่การเสริมสร้างความมั่นคงซึ่งช่วยเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยในปัจจุบันอาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกันกว่า 1.75 ล้านล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 19.2 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย ในจำนวนนี้ เป็นการส่งออกจากไทยไปอาเซียนร้อยละ 20.7 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลมาตลอด
การรวมตัวกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นทางด้านเศรษฐกิจ ประกอบกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โครงข่ายอินเตอร์เน็ต ฯลฯ ยังช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับไทย โดยขยายตลาดให้กับสินค้าไทยจากประชาชนไทย 60 ล้านคนเป็นประชาชนอาเซียนเกือบ 600 ล้านคน และเป็นแหล่งเงินทุนและเป้าหมายการลงทุนของไทย ซึ่งไทยจะได้เปรียบประเทศสมาชิกอื่นเพราะมีที่ตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน สามารถเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมและขนส่งในภูมิภาค
ในอนาคต คนไทยจะได้รับประโยชน์จากการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนมากน้อยเพียงใดย่อม ขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมของเรา ดังนั้น การสร้างความตื่นตัวและให้ความรู้กับประชาชน จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ตระหนักถึงโอกาสและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันซึ่งจะช่วยให้ คนไทยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในทางลบแก่ภาคส่วนต่าง ๆ
************************
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กระทรวงการต่างประเทศ
1. อาเซียน : จากสมาคมสู่ประชาคม
ตลอดช่วงระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนได้มีพัฒนาการมาเป็น ลำดับ และไทยก็มีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือของอาเซียนให้มีความคืบหน้ามา โดยตลอด โดยเมื่อเริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2510 สภาพแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความตึงเครียด อันเป็นผลมาจากสงครามเย็น ซึ่งมีความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ ระหว่างประเทศที่สนับสนุนอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยกับประเทศที่ยึดมั่น ในอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์
ในขณะเดียวกัน ความขัดแย้งด้านดินแดนระหว่างประเทศในภูมิภาค เช่น ความขัดแย้งระหว่าง มลายาและฟิลิปปินส์ ในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนซาบาห์และซาราวัก รวมทั้งการที่สิงคโปร์แยกตัวออกจากมลายา ทำให้หลายประเทศเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมมือกันระหว่างประเทศใน ภูมิภาค
ดร. ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในขณะนั้น ได้มีบทบาทสำคัญในการเดินทางไปเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างประเทศ เพื่อนบ้านเหล่านี้ และได้เชิญให้รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีก 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ มาหารือร่วมกันที่แหลมแท่น จ. ชลบุรี อันนำมาสู่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เพื่อก่อตั้งอาเซียน ที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ไทยจึงถือเป็นทั้งประเทศผู้ร่วมก่อตั้งและเป็น ?บ้านเกิด? ของอาเซียน
อาเซียนได้ขยายสมาชิกภาพขึ้นมาเป็นลำดับ โดยบรูไนได้เข้าเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่ 6 ในปี 2527 และภายหลังเมื่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เหลืออีก 4 ประเทศ คือ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ได้ทะยอยกันเข้าเป็นสมาชิกจนครบ 10 ประเทศ เมื่อปี 2542 นับเป็นก้าวสำคัญที่ไทยได้มีบทบาทเชื่อมโยงประเทศที่ตั้งอยู่บนภาคพื้นทวีป และประเทศที่เป็นหมู่เกาะทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง
ถึงแม้ว่า ปฏิญญากรุงเทพ จะมิได้ระบุถึงความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง โดยกล่าวถึงเพียงความร่วมมือกันด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา การเกษตร อุตสาหกรรม การส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค แต่อาเซียนได้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื่อเชื่อใจระหว่างประเทศ ในภูมิภาค ลดความหวาดระแวง และช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และที่สำคัญ ไทยได้เป็นแกนนำร่วมกับอินโดนีเซียและประเทศสมาชิกอาเซียนดั้งเดิมในการ แก้ไขปัญหากัมพูชา รวมทั้งความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยอินโดจีนจนประสบความสำเร็จ ลุล่วงไปด้วยดี และช่วยเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อไทยซึ่งเป็นประเทศด่านหน้า
นอกจากนี้ ประเทศไทย โดยท่านอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ก็ได้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้มีความ คืบหน้า โดยการริเริ่มให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ ASEAN Free Trade Area (AFTA) ขึ้นเมื่อปี 2535 โดยตกลงที่จะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันให้เหลือร้อยละ 0-5 ในเวลา 15 ปี ซึ่งต่อมาได้ลดเวลาลงเหลือ 10 ปี โดยประเทศสมาชิกเก่า 6 ประเทศ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2546 ในขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ดำเนินการเสร็จสิ้นในปี 2551
ในปัจจุบัน บริบททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง คือ จีนและอินเดีย รวมทั้งแนวโน้มการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ ตลอดจนปัญหาท้าทายความมั่นคงในรูปแบบใหม่ เช่น โรคระบาด การก่อการร้าย ยาเสพติด การค้ามนุษย์ สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ ทำให้อาเซียนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ รวมทั้งเพื่อจัดการกับปัญหาท้าทายเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ปฏิญญากรุงเทพ ที่ก่อตั้งอาเซียน เมื่อปี 2510 ได้ระบุวิสัยทัศน์และวางรากฐานสำหรับการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนตั้งแต่ แรกเริ่ม แต่โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองในภูมิภาคในขณะนั้น ไม่เอื้ออำนวย เนื่องจากอยู่ในยุคของสงครามเย็น แนวคิดเรื่องบูรณาการในภูมิภาคจึงไม่ได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง แต่ต่อมาเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง ประเทศในภูมิภาคจึงสามารถหันหน้าเข้าหากันและร่วมมือกันมากขึ้น ส่งผลให้แนวคิดที่จะมีการรวมตัวการอย่างเหนียวแน่นได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีก ครั้งหนึ่ง โดยอาจกล่าวได้ว่า ข้อริเริ่มของท่านอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนโดยเริ่มจากเสา เศรษฐกิจ
ต่อมา ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่บาหลี เมื่อปี 2546 ได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะสร้าง ประชาคมอาเซียน โดยมีการจัดทำแผนงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว นำมาสู่การจัดทำกฎบัตรอาเซียน เพื่อวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของอาเซียน ทำให้อาซียนเป็นองค์กรที่มีกฎกติกาในการทำงาน มีประสิทธิภาพ และเป็นองค์กรเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้ กฎบัตรฯ ได้เริ่มมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นช่วงวลาเดียวกับที่ประเทศไทยได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน
ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ได้รับรองปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนใน ทั้ง 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558
2. ประเทศไทยกับการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน
เมื่อไทยเข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 นับเป็นช่วง หัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน รวมทั้งอยู่ในช่วงเดียวกับที่คนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ไทยจึงให้ความสำคัญต่อการวางรากฐานสำหรับการสร้างประชาคมอาเซียนเพื่อให้ เป็นประชาคมที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ โดยการเสริมสร้างประสิทธิภาพของกลไกต่าง ๆ ของอาเซียนให้สามารถเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชนได้อย่างทันท่วงที ทั้งปัญหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลก สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการป้องกันและควบคุมโรคระบาดต่าง ๆ เช่น การประสานมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการสร้างอุปสงค์ (demand) ภายในภูมิภาคเพื่อรองรับผลกระทบ จากวิกฤติการณ์ทางการเงินโลก การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติต่าง ๆ โดยมอบหมายให้เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ประสานงานในกรณีที่เกิดภัยพิบัติขนาด ใหญ่ รวมทั้งการจัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาในเอเชีย ตะวันออก อีก 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพื่อประสานนโยบายและมาตรการในการควบคุมากรแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่ (H1N1)
นอกจากนี้ ไทยได้ผลักดันให้กลไกใหม่ ๆ ของอาเซียนที่กำหนดไว้ในกฎบัตรฯ สามารถดำเนินงาน ได้อย่างครบถ้วน ทั้งการจัดตั้งคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา คณะมนตรีประสานงานอาเซียน และคณะมนตรีประจำประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคประชาสังคมต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อช่วยกันสร้างประชาคมอาเซียน ดังจะเห็นได้จากริเริ่มให้มีการพบปะอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำอาเซียน กับผู้แทนสมัชชารัฐสภาอาเซียน เยาวชนอาเซียน และภาคประชาสังคมอาเซียน ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 และครั้งที่ 15 ที่ชะอำ-หัวหิน
เป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของไทยในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เป็น ?ประชาคมเพื่อประชาชน? ก็คือ การจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนเพื่อให้เป็นหน่วยงานหลักในการประสานความ ร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องและ องค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของประชาชนในภูมิภาค ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่า เป้าหมายดังกล่าวได้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมในระหว่างการประชุมสุดยอดอา เซียน ครั้งที่ 15 ที่ชะอำ-หัวหิน เมื่อเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งมีการประกาศจัดตั้ง คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งนับเป็นความสำเร็จประการหนึ่งที่ไทยในฐานะประธานอาเซียนได้มีบทบาทสำคัญ ในการผลักดัน
3. อาเซียน : วิสัยทัศน์ในอนาคต
ถึงแม้ว่าอาเซียนจะประสบความสำเร็จในด้านการเสริมสร้างความมั่นคงและความ ร่วมมือในภูมิภาคจนเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ แต่ก็ยังมีปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขให้ลุล่วงเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อความ ร่วมมือและพัฒนาการในอนาคต ที่สำคัญ คือ ปัญหาความล่าช้าในการดำเนินงานและการที่ประเทศสมาชิกไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ว่า ในแต่ละปีอาเซียนมีการประชุมกว่า 700 การประชุม รวมทั้งมีการประเมินว่า ในบรรรดาความตกลงทางเศรษฐกิจที่ประเทศสมาชิกจัดทำไว้ร่วมกันรวม 134 ฉบับ มีเพียง 87 ฉบับ ที่ได้ห้สัตยาบันและมีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งคิดเป็นเพียงร้อยละ 65 เท่านั้น
นอกจากนี้ ในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายเรื่องการจัดตั้งประชาคมภายในปี 2558 อาเซียนจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับประชาชนทั้งในเรื่องการให้ประชาชนได้เข้า มามีส่วนร่วมและรู้สึกเป็นเจ้าของประชาคมที่จะสร้างขึ้น ทั้งนี้ บทเรียนจากสหภาพยุโรปชี้ให้เห็นว่า ประชาคมจะไม่สามารถบรรลุผลได้หากประชาชนไม่ให้การสนับสนุน ดังนั้น ในช่วงเวลานับจากนี้จนถึงปี 2558 ไทยจะพยายามผลักดันให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ (Community of Action) มีการเชื่อมโยงและติดต่อสื่อสารระหว่างกัน อย่างใกล้ชิด (Community of Connectivity) รวมทั้งเป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง (Community of People)
ในประเด็นแรก ไทยจะผลักดันให้เร่งรัดการดำเนินการตามข้อตกลงต่าง ๆ ของอาเซียนให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยเลขาธิการอาเซียนจะมีบทบาทสำคัญในการติดตามให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตาม พันธกรณีต่าง ๆ รวมทั้ง จะต้องพัฒนากรอบความร่วมมือของอาเซียนให้สามารถแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อ ประชาชนได้อย่างทันท่วงที เช่น ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิต วัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ หรือการนำความสำเร็จของกลไกสามฝ่ายระหว่างอาเซียน-สหประชาชาติและพม่าในการ ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยจากไซโคลนนาร์กีสในพม่ามาประยุกต์ใช้ในการ แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮิงญา เป็นต้น
สำหรับการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในภูมิภาค นั้น จะต้องดำเนินการทั้งในด้านกายภาพ คือ การพัฒนาเส้นทางคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ตลอดจนเครื่อข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการติดต่อค้าขาย การท่องเที่ยว และการเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนนอกจากนั้น ยังต้องให้ความสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมโยงในเชิงจิตวิญญาน คือ การทำให้ประชาชนในภูมิภาคมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและตระหนักถึง การเป็นประชากรของอาเซียนร่วมกัน ถึงแม้ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายใน ด้านเชื้อชาติ และศาสนา แต่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ ก็มีรากฐานทางประวัติศาสตร์และอารยธรรมร่วมกัน เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่เป็นจุดบรรจบของอารยธรรมจีนและอินเดีย ดังนั้น ประเด็นที่ท้าทายสำหรับอาเซียนในอนาคต ก็คือ การเสริมสร้างอัตลักษณ์ หรือ คุณลักษณะร่วมกันของประชาชนในอาเซียน โดยผ่านการศึกษา การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สื่อสารมวลชน และการส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจระหว่างประชาชนให้ยอมรับถึงความแตกต่างและสามารถอยู่ร่วมกันได้ อย่างสงบสุข
นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นที่ที่จะต้องส่งเสริมให้ประชาชนของแต่ละประเทศมองประเทศ เพื่อนบ้านอาเซียนในลักษณะที่เป็นมิตร และไม่นำประเด็นความขัดแย้งในประวัติศาสตร์มาเป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต ซึ่งในเรื่องนี้ ไทยจะริเริ่มให้มีการพิจารณาประวัติศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกันในเชิงความร่วมมือมากขึ้น
4. ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ
ตลอดระยะเวลา 40 กว่าปีที่ผ่านมาไทยได้ประโยชน์หลายประการจากอาเซียน ทั้งในแง่การเสริมสร้างความมั่นคงซึ่งช่วยเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยในปัจจุบันอาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกันกว่า 1.75 ล้านล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 19.2 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย ในจำนวนนี้ เป็นการส่งออกจากไทยไปอาเซียนร้อยละ 20.7 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลมาตลอด
การรวมตัวกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นทางด้านเศรษฐกิจ ประกอบกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โครงข่ายอินเตอร์เน็ต ฯลฯ ยังช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับไทย โดยขยายตลาดให้กับสินค้าไทยจากประชาชนไทย 60 ล้านคนเป็นประชาชนอาเซียนเกือบ 600 ล้านคน และเป็นแหล่งเงินทุนและเป้าหมายการลงทุนของไทย ซึ่งไทยจะได้เปรียบประเทศสมาชิกอื่นเพราะมีที่ตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน สามารถเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมและขนส่งในภูมิภาค
ในอนาคต คนไทยจะได้รับประโยชน์จากการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนมากน้อยเพียงใดย่อม ขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมของเรา ดังนั้น การสร้างความตื่นตัวและให้ความรู้กับประชาชน จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ตระหนักถึงโอกาสและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันซึ่งจะช่วยให้ คนไทยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในทางลบแก่ภาคส่วนต่าง ๆ
************************
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กระทรวงการต่างประเทศ
ไอคิว และ อีคิว
ไอคิว และ อีคิว
ศจ.พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ
แหล่งที่มาของข้อมูล : หนังสือ ?เลี้ยงลูกถูกวิธี ชีวีเป็นสุข?
ไอคิว คืออะไร
ไอ คิว เป็นคำที่คนทั่วไปรู้จักกันดีว่าหมายถึง ระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาของคน คนไอคิวดีจะเป็นคนเก่งมีสมองรับรู้ว่องไว เรียนหนังสือเก่ง ไอคิวนั้นมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Intelligence Quotient แล้วย่อเป็น IQ คนที่ใช้คำนี้เป็นคนแรกคือ LM Terman เป็นคนอเมริกันใช้ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1916
ไอคิวของมนุษย์แต่ละคน จะได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรม ฉะนั้นพ่อแม่ที่มีไอคิวสูงมักมีลูกไอคิวสูงด้วย แต่บางครั้งพ่อแม่ไอคิวสูงลูกอาจมีไอคิวไม่สูงได้เช่นกัน ส่วนพ่อแม่ที่มีไอคิวไม่สูงลูกจะมีไอคิวไม่สูงเหมือนพ่อแม่ แทบไม่เคยปรากฏว่าพ่อแม่ไอคิวไม่สูงแล้วมีลูกเป็นอัจฉริยะ แต่ในทางตรงข้ามพ่อแม่ที่มีไอคิวสูง บางครั้งอาจมีลูกปัญญาอ่อนได้จากสาเหตุบางประการ
ฉะนั้น ไอคิว จึงเป็นสิ่งติดตัวลูกมาตามธรรมชาติเพราะถ่ายทอดทางพันธุกรรม และพบว่าประสบการณ์ของชีวิต การศึกษาต่างๆ เปลี่ยนแปลงระดับไอคิวได้น้อยมาก
อีคิว คืออะไร
อีคิว เป็นคำค่อนข้างใหม่เมื่อเทียบกับไอคิวแต่อีคิวสามารถดึงดูดความสนใจคนได้มาก ทำให้คนหันมาสนใจคุณสมบัติเรื่องอีคิวของคนอย่างมาก อีคิวเป็นคำมาจากภาษาอังกฤษว่า Emotional Quotient และย่อว่า EQ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นชาวอเมริกันเช่นกันชื่อ Daniel Goleman เขียนเมื่อปี ค.ศ.1995
อีคิว นั้นหมายถึงความสามารถของคนด้านอารมณ์ จิตใจ และยังรวมถึงทักษะการเข้าสังคมด้วย ซึ่งที่จริงก็คือ วุฒิภาวะทางอารมณ์ หรือ ทักษะชีวิต นั่นเอง แต่คนทั่วไปแล้ว จะไม่ค่อยเข้าใจหรือไม่ซาบซึ้งนักว่าวุฒิภาวะทางอารมณ์นั้นหมายถึงอะไร จึงไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจมากนัก จนกระทั่งมีคำว่า อีคิว เกิดขึ้น จึงเป็นคำที่ติดตลาดเหมือนคำว่า ไอคิว คนจึงหันมาสนใจและให้ความสำคัญขึ้นอย่างมากซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดีทีเดียว
อีคิว หมายถึง ความสามารถด้านต่างๆ ทางจิตใจ อารมณ์ และสังคมหลายด้าน คนที่มีอีคิวสูงจะมีคุณสมบัติทั่วๆ ไป ดังนี้
- มีวุฒิภาวะทางอารมณ์
- มีการตัดสินใจที่ดี
- ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้
- มีความอดกลั้น
- ไม่หุนหันพลันแล่น
- ทนความผิดหวังได้
- เข้าใจจิตใจของผู้อื่น
- เข้าใจสถานการณ์ทางสังคม
- ไม่ย่อท้อหรือยอมแพ้ง่าย
- สามารถสู้ปัญหาชีวิตได้
- ไม่ปล่อยให้ความเครียดท่วมทับความคิดไปหมดจนทำอะไรไม่ถูก
เรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับอีคิวและไอคิว คือ
อีคิว เป็นเรื่องที่สอนให้เกิดขึ้นได้ สามารถฝึกฝนให้ลูกของเรามีอีคิวที่ดีขึ้นสูงขึ้น ในขณะที่เราไม่สามารถทำให้ลูกมีไอคิวสูงขึ้น
- คนที่มีอีคิวดีมักจะเป็นคนที่มีความสุขในชีวิต ในขณะที่คนมีไอคิวดีอาจมีปัญหาชีวิตมากมายได้
- คนที่มีอีคิวดี มักจะประสบความสำเร็จสูง ในขณะที่คนที่มีไอคิวดีก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าคนนั้นจะประสบความสำร็จ มีความสุข มีชื่อเสียงเสมอไป
- คนที่มีไอคิวดี มักประสบผลสำเร็จดีมากในการเรียนหนังสือ หรือทำงานด้านวิชาการ แต่เรื่องที่ไม่เกี่ยวกับวิชาการ คนไอคิวสูงอาจไม่ประสบผลสำเร็จ เช่น เรื่องชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัว หรือชีวิตในสังคม
ทั้งนี้จาก เหตุผลที่ว่าการวัดระดับไอคิวของคนที่ทำอยู่ในปัจจุบันนั้นวัดความสามารถของ คนเพียงไม่กี่อย่าง การวัดไอคิวจะวัดความสามารถด้านภาษา และการคิดคำนวณเป็นส่วนใหญ่ แต่ที่จริงแล้วความสามารถของคนนั้นมีมากมายหลายด้าน เช่น ความสามารถด้านต่อไปนี้
- ดนตรี
- กีฬา-การเคลื่อนไหว
- ศิลปะ
- ภาษา
- สังคม
- กาคิดคำนวณ
- เครื่องยนต์กลไก
- ตรรกะ
- การเข้าใจผู้อื่น
- อื่นๆ
คนที่มีความสามารถเด่นๆ เฉพาะทางที่รู้จักกันดีในสังคมโลก เช่น
-Magic Johnson เป็นนักบาสที่เก่งมาก
-Mozart เป็นนักดนตรีระดับโลก
-Martin Luther King Jr. เป็นผู้นำที่มีความสามารถมาก
-Sigmund Freud สามารถเข้าใจเรื่องจิตใจคนอย่างดีเยี่ยม
ฉะนั้นจึงควรส่งเสริมลูกให้พัฒนาความสามารถเฉพาะตัวของเขาให้เต็มที่ถ้ามี ผู้ใหญ่ไม่ควรไปขัดขวางเขาแต่ผู้ใหญ่ควรช่วยเขา
องค์ประกอบของอีคิว
ทักษะทางอารมณ์ หรือ อีคิวของคนอาจจัดได้เป็นเรื่องใหญ่ๆ 5 เรื่อง คือ
1. สามารถรู้อารมณ์ตัวเอง
2. สามารถบริหารอารมณ์ตัวเอง
3. สามารถทำให้ตัวเองมีพลังใจ
4. สามารถเข้าถึงจิตใจผู้อื่น
5. สามารถรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่น
1. สามารถรู้อารมณ์ตัวเอง
คน ที่จะมีทักษะชีวิตที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติข้อนี้ คือเป็นที่รู้ตัวเองกำลังรู้สึกอย่างไร หรือสามารถติดตามความรู้สึกของตัวเองได้ใน ขณะที่อารมณ์กำลังบังเกิดขึ้นในตัวเรา เช่น รู้สึกว่าเรากำลังเริ่มรู้สึกโกรธ หรือเริ่มรู้สึกไม่พอใจแล้ว ฉะนั้นเราจึงต้องมีการสังเกตตัวเราเองอยู่เสมอ การรู้ว่าตัวเองกำลังรู้สึกอย่างไรจะทำให้คนๆ นั้นควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ชั่ววูบ แล้วทำอะไรที่มีผลร้ายแรงดังที่เราเคยได้ยินเสมอๆ ว่า ?เขาฆ่าคนตายเพราะเกิดบันดาลโทสะ?
การรู้ว่าตัวเองกำลังมีอารมณ์ แบบใดนอกจากจะทำให้เราควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ยังทำให้เราสามารถหลุดพ้นจากอารมณ์นั้นได้เร็วขึ้น เพราะทำให้เรารู้จักไปหาทางระบายอารมณ์นั้นออกไปอย่างเหมาะสมถูกต้อง
คน ที่ไม่รู้จักหรือไม่รู้สึกถึงอารมณ์ตัวเองมากๆ จะไม่สามารถแสดงออกซึ่งอารมณ์ อาจกลายเป็นคนเฉยเมย เป็นคนไม่สนุก ไม่รู้สึกขบขันในเรื่องควรขบขันคือไม่มีอารมณ์ขัน ซึ่งจะกลายเป็นคนน่าเบื่อสำหรับผู้อื่นได้ เพราะเป็นคนจืดชืดไร้สีสัน
วิธี สอนให้ลูกรู้อารมณ์ตัวเองคือ พ่อแม่ต้องคอยสังเกตอารมณ์ลูกและพูดคุยถามถึงอารมณ์ของลูกที่เปลี่ยนไป เช่น พ่อแม่ อาจถามว่า ?วันนี้ดูลูกอารมณ์ไม่ดี หนูมีอะไรไม่สบายใจหรือ?? และพ่อแม่เองจะต้องรู้และแสดงอารมณ์ของตัวเองให้เหมาะสมด้วย เช่น พูดว่า ?วันนี้แม่รู้สึกหงุดหงิดไปหน่อยนะลูก?
2. สามารถบริหารอารมณ์ตัวเอง
ทุก คนเมื่อมีอารมณ์บางอย่างเกิดขึ้นแล้วต้อง รู้วิธีที่จะจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ อย่างเหมาะสม เช่น เกิดอารมณ์โกรธ อารมณ์ไม่พอใจอะไรใครจะต้องหาทางออก ไม่ใช่เก็บกดสะสมอารมณ์เหล่านี้ไว้มากๆ ซึ่งจะเกิดอาการทนไม่ไหวแล้วถึงจุดหนึ่งจะระเบิดอารมณ์ออกมารุนแรง โดยทำร้ายคนอื่นหรือทำร้ายตนเอง เช่น ฆ่าตัวตาย
วิธีบริหารอารมณ์หรือวิธีจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น คือ
- พูดระบาย ให้คนที่พูดด้วยได้รับฟัง ซึ่งคนที่รับฟังมักจะช่วยปลอบใจได้ไม่มาก็น้อย หรือเขาอาจแสดงความเห็นใจด้วย
- ทำความเข้าใจอีกฝ่ายหนึ่ง โดยคิดไตร่ตรองว่าคนที่ทำให้เราเกิดอารมณ์นี่เขาเป็นอย่างไร มีเหตุผลอะไร มีเจตนาร้ายหรือไม่ หรือเขามีปัญหาอะไร เป็นต้น ถ้าเราสามารถเข้าใจเขาได้ เราอาจเกิดความเห็นใจเขา หรือให้อภัยเขา ซึ่งจะลดลดอารมณ์ของเราลงได้
- หาวิธีผ่อนคลายให้ตัวเอง เช่น อาจไปเล่นกีฬา ร้องเพลง ฟังเพลง เล่นดนตรี เป็นการคลายเครียด
- วิธีอื่นๆ แต่ละคนอาจมีวิธีทำแตกต่างไปบ้าง เช่น บางคนอาจไปเดินเล่น ไปซื้อของ ไปทำงานอดิเรกที่ตัวเองชอบ เป็นต้น
ใน ชีวิตประจำวันทุกคนต้องหัดจัดการกับอารมณ์ของตนเองอยู่แล้ว เพราะทุกวันเราจะเกิดอารมณ์ต่างๆ ขึ้น เช่น อารมณ์เบื่อ เศร้า เครียด หงุดหงิด รำคาญ เซ็ง โดยทั่วไปควรจะหากิจกรรมทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ไปเที่ยว ไปคุยกับเพื่อน และอื่นๆ อีกมาก
วิธีช่วยลูกมีทักษะที่ ดี พ่อแม่สามารถทำเป็นตัวอย่าง หรือแนะนำให้ลูกมีงานอดิเรกทำ แนะนำให้ลูกเป็นคนชอบอ่านหนังสือ คุยกับเพื่อน และที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งคือถ้าเล่นดนตรีได้จะดีมาก ดนตรีเป็นเพื่อนที่ดีมากของมนุษย์ ถ้ามีโอกาสและลูกชอบ พ่อแม่ควรสนับสนุนให้ลูกเลือกเรียนดนตรีอย่างหนึ่ง อย่างที่สองคือ การเล่นกีฬา เด็กควรเลือกกีฬาสักอย่างที่ชอบและสามารถเล่นไปได้ตลอดชีวิต เพราะนอกจากจะคลายเครียดยังช่วยให้สุขภาพแข็งแรงอีกด้วย ซึ่งเป็นการป้องกันโรคต่าง ๆ ได้มาก จนมีคำพูดที่ว่า ?กีฬาๆ เป็นยาวิเศษ?
3. สามารถทำให้ตนเองมีพลัง
คือ เป็นคนที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจหรือแรงใจให้อยากทำสิ่งต่างๆ ในชีวิต ไม่เป็นคนย่อท้อหมดเรี่ยวแรงง่ายๆ หรือยอมแพ้โดยง่ายดาย สิ่งเหล่านี้จะเกิดได้มาจากหลายๆ องค์ประกอบ เช่น
- พ่อแม่ปลูกฝังมาให้แต่เด็ก เช่น พ่อแม่ชื่นชมในความสำเร็จของลูก ลูกก็จะกลายเป็นคนอยากมีความสำเร็จ หรือพ่อแม่คอยให้กำลังใจและคอยสนับสนุนเวลาลูกทำอะไรๆ
- การมีทัศนคติที่ดี เช่น พ่อแม่พูดว่า ?ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น? หรือมีทัศนคติว่าคนนั้นต้องมีความพากเพียรทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีใครได้อะไรมา อย่างง่ายๆ
- วัฒนธรรม หลายวัฒนธรรมสอนเด็กให้เป็นคนขยัน อดทน เช่น วัฒนธรรมจีน
- อารมณ์ คนที่มีอารมณ์ดีจึงจะมีจิตใจอยากทำสิ่งต่างๆ ถ้าเป็นคนมีปัญหาทางจิตใจ มีความขัดแย้งในชีวิตและครอบครัวจะมักไม่มีกำลังใจในการทำงาน
- ความหวัง คนมีพลังใจทำอะไรต่อๆ ไปได้ต้องเป็นคนที่มีความหวังเป็นตัวหล่อเลี้ยงจิตใจให้อยากทำต่อไป
- มองโลกในแง่ดี คนมองโลกในแง่ดีจะสามารถมองหาจุดดีๆ จากทุกๆ อย่างรอบตัวได้ คนนั้นก็จะสามารถมีแรงจูงใจในการทำอะไรต่อไป ตัวอย่างที่เคยได้ยิน เช่น
มีสามีภรรยาคู่หนึ่งทะเลาะกันบ่อยมาก แต่เวลาไม่ทะเลาะกันเพื่อนๆ จะเห็นว่าเขามีความสุขดี แม้ว่าเวลาทะเลาะกันฝ่ายภรรยาจะค่อนข้างกร้าวร้าวและจะชอบเอาจานชามขว้างใส่ สามี วันหนึ่งเพื่อนสามีจึงถามสามีว่าเห็นทะเลาะกันบ่อยๆ เหตุใดจึงยังมีความสุขได้ สามีจึงตอบเพื่อนว่ามีความสุขได้ เพราะเวลาภรรยาขว้างจานชามใส่ตน ถ้าตนหลบทันตนก็มีความสุข ส่วนถ้าตนหลบไม่ทันแล้วโดนขว้างภรรยาตนก็มีความสุข
4. สามารถเข้าถึงจิตใจผู้อื่น
ความ สามารถนี้เป็นคุณสมบัติของผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับจิตใจผู้อื่นจะขาดไม่ได้เลย เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ แต่ที่จริงแล้วทุกๆ คน เป็นคนที่คนอื่นนิยมชมชอบ เป็นคนที่เพศตรงข้ามชอบ ทำให้เข้ากับคนอื่นได้ดี เป็นคนที่มีเสน่ห์ และสามารถเข้าสังคมได้เป็นอย่างดี
ความสามารถ นี้ หมายถึง เราสามารถเข้าใจได้หรือรู้ได้ว่าถ้าเราเป็นเขาเราจะรู้สึกอย่างไร ซึ่งหมายถึง ความเห็นใจคนอื่น หรือความสามรถที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรานั่นเอง การที่คนเราจะสามารถเข้าใจจิตใจผู้อื่นได้เขาจะต้องเข้าใจตัวเขาเองก่อน เขาต้องรู้จักตัวเอง และมีความรู้สึกของตัวเองเสียก่อนว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร จึงจะสามารถ อ่านความรู้สึก ของผู้อื่นได้
การที่จะอ่านความรู้สึกคนอื่นได้ ดี จะต้องเป็นคนที่อ่านภาษาท่าทางได้ดี เพราะคนส่วนใหญ่แล้วจะแสดงอารมณ์เป็นภาษาท่าทางมากกว่าการแสดงอารมณ์เป็นคำ พูด เช่น คนเวลาโกรธ มักจะแสดงท่าทางโกรธแบบต่างๆ เช่น หน้างอ หน้าบึ้งตึง มีกริยากระแทกกระทั้น เกินกระแทกเท้าโครมๆ ปิดประตูปึงปัง เป็นต้น แต่มีน้อยคนที่เวลาโกรธจะใช้คำพูดแสดงออกมาตรงๆว่า ?ฉันกำลังรู้สึกโกรธคุณมากเลย คุณทำอย่านี้ได้อย่างไร?
การอ่านภาษาท่าทางทำได้โดยการสังเกตการแสดงออกของ
- น้ำเสียง เช่น เสียงดุ เสียงหวาน เสียงกัดฟัดพูด
- สีหน้า เช่น สีหน้ายิ้มแย้ม บูดบึ้ง เฉยเมย เคร่งเครียด เหนื่อยหน่าย เศร้า
- แววตา เช่น แจ่มใส เป็นประกาย เคียดแค้น หม่นหมอง อมทุกข์ โศก
- กริยาต่างๆ เช่น ท่านั่ง เบือนหน้าหนี นั่งห่างๆ นั่งเข้ามาใกล้ชิดเกินไป นั่งแบบผ่อนคลาย นั่งกระสับกระส่าย
5. สามารถรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่น
เป็น คุณสมบัติที่มีความสำคัญอักเช่นกัน เพราะคงไม่มีประโยชน์ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี แต่ไม่สามารถทำให้ความสัมพันธ์นั้นยั่งยืนยาวนานได้ คือจะต้อง รู้จักหล่อเลี้ยงความสัมพันธ์ ที่มีอยู่ให้มีอยู่ต่อไป ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถในการบริหารจัดการกับความรู้สึกของผู้อื่น โดยทำให้คนอื่นที่อยู่ใกล้เราแล้วเขาเกิดความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตัวเขาเอง และเขาเกิดความรู้สึกที่ดีกับเราด้วย เช่น เราสามารถทำให้เขารู้สึกว่าเรา
- เห็นเขาสำคัญ
- ให้เกียรติเขา
- ยกย่องเขา
- เข้าใจเขา
- เห็นเขามีคุณค่า
- ช่วยเหลือเขา
- เป็นมิตรกับเขา
- หวังดีต่อเขา
- รักเขา
ความ สามรถในการรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่นยังขึ้นกับว่า เรานั้นสามารถแสดงออกถึงความรู้สึกของเราเองได้ดีแค่ไหน ไม่เช่นนั้นแล้วเขาจะรู้สึกไม่เข้าใจเรา ไม่รู้จักเรา เข้าไม่ถึงเรา ทำให้เขาไม่ค่อยแน่ใจว่าเรานั้นเป็นคนอย่างไร วางใจได้แค่ไหน จริงใจเพียงใด เป็นต้น
ท้ายที่สุดนี้ ท่านผู้ปกครองที่สนใจข้อมูลข่าวสารเรื่องวิธีการเลี้ยงลูกอย่างไรให้มีความ สุข ยังสามารถศึกษาเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องจากหนังสือ เลี้ยงลูกถูกวิธี ชีวีเป็นสุข ได้จากผลงานการเขียนของ ศาสตราจารย์แพทย์หญิง นงพงา ลิ้มสุวรรณ ได้
************************************************
เอกสารอ้างอิง "ไอคิวและอิคิว"
นงพงา ลิ้มสุวรรณ (2542). ไอคิวและอีคิว. เลี้ยงลูกถูกวิธี ชีวีเป็นสุข พิมพ์ครั้งที่ 9, กรุงเทพ: พรินท์ติ้งเพรส.
ศจ.พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ
แหล่งที่มาของข้อมูล : หนังสือ ?เลี้ยงลูกถูกวิธี ชีวีเป็นสุข?
ไอคิว คืออะไร
ไอ คิว เป็นคำที่คนทั่วไปรู้จักกันดีว่าหมายถึง ระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาของคน คนไอคิวดีจะเป็นคนเก่งมีสมองรับรู้ว่องไว เรียนหนังสือเก่ง ไอคิวนั้นมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Intelligence Quotient แล้วย่อเป็น IQ คนที่ใช้คำนี้เป็นคนแรกคือ LM Terman เป็นคนอเมริกันใช้ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1916
ไอคิวของมนุษย์แต่ละคน จะได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรม ฉะนั้นพ่อแม่ที่มีไอคิวสูงมักมีลูกไอคิวสูงด้วย แต่บางครั้งพ่อแม่ไอคิวสูงลูกอาจมีไอคิวไม่สูงได้เช่นกัน ส่วนพ่อแม่ที่มีไอคิวไม่สูงลูกจะมีไอคิวไม่สูงเหมือนพ่อแม่ แทบไม่เคยปรากฏว่าพ่อแม่ไอคิวไม่สูงแล้วมีลูกเป็นอัจฉริยะ แต่ในทางตรงข้ามพ่อแม่ที่มีไอคิวสูง บางครั้งอาจมีลูกปัญญาอ่อนได้จากสาเหตุบางประการ
ฉะนั้น ไอคิว จึงเป็นสิ่งติดตัวลูกมาตามธรรมชาติเพราะถ่ายทอดทางพันธุกรรม และพบว่าประสบการณ์ของชีวิต การศึกษาต่างๆ เปลี่ยนแปลงระดับไอคิวได้น้อยมาก
อีคิว คืออะไร
อีคิว เป็นคำค่อนข้างใหม่เมื่อเทียบกับไอคิวแต่อีคิวสามารถดึงดูดความสนใจคนได้มาก ทำให้คนหันมาสนใจคุณสมบัติเรื่องอีคิวของคนอย่างมาก อีคิวเป็นคำมาจากภาษาอังกฤษว่า Emotional Quotient และย่อว่า EQ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เป็นชาวอเมริกันเช่นกันชื่อ Daniel Goleman เขียนเมื่อปี ค.ศ.1995
อีคิว นั้นหมายถึงความสามารถของคนด้านอารมณ์ จิตใจ และยังรวมถึงทักษะการเข้าสังคมด้วย ซึ่งที่จริงก็คือ วุฒิภาวะทางอารมณ์ หรือ ทักษะชีวิต นั่นเอง แต่คนทั่วไปแล้ว จะไม่ค่อยเข้าใจหรือไม่ซาบซึ้งนักว่าวุฒิภาวะทางอารมณ์นั้นหมายถึงอะไร จึงไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจมากนัก จนกระทั่งมีคำว่า อีคิว เกิดขึ้น จึงเป็นคำที่ติดตลาดเหมือนคำว่า ไอคิว คนจึงหันมาสนใจและให้ความสำคัญขึ้นอย่างมากซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดีทีเดียว
อีคิว หมายถึง ความสามารถด้านต่างๆ ทางจิตใจ อารมณ์ และสังคมหลายด้าน คนที่มีอีคิวสูงจะมีคุณสมบัติทั่วๆ ไป ดังนี้
- มีวุฒิภาวะทางอารมณ์
- มีการตัดสินใจที่ดี
- ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้
- มีความอดกลั้น
- ไม่หุนหันพลันแล่น
- ทนความผิดหวังได้
- เข้าใจจิตใจของผู้อื่น
- เข้าใจสถานการณ์ทางสังคม
- ไม่ย่อท้อหรือยอมแพ้ง่าย
- สามารถสู้ปัญหาชีวิตได้
- ไม่ปล่อยให้ความเครียดท่วมทับความคิดไปหมดจนทำอะไรไม่ถูก
เรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับอีคิวและไอคิว คือ
อีคิว เป็นเรื่องที่สอนให้เกิดขึ้นได้ สามารถฝึกฝนให้ลูกของเรามีอีคิวที่ดีขึ้นสูงขึ้น ในขณะที่เราไม่สามารถทำให้ลูกมีไอคิวสูงขึ้น
- คนที่มีอีคิวดีมักจะเป็นคนที่มีความสุขในชีวิต ในขณะที่คนมีไอคิวดีอาจมีปัญหาชีวิตมากมายได้
- คนที่มีอีคิวดี มักจะประสบความสำเร็จสูง ในขณะที่คนที่มีไอคิวดีก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าคนนั้นจะประสบความสำร็จ มีความสุข มีชื่อเสียงเสมอไป
- คนที่มีไอคิวดี มักประสบผลสำเร็จดีมากในการเรียนหนังสือ หรือทำงานด้านวิชาการ แต่เรื่องที่ไม่เกี่ยวกับวิชาการ คนไอคิวสูงอาจไม่ประสบผลสำเร็จ เช่น เรื่องชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัว หรือชีวิตในสังคม
ทั้งนี้จาก เหตุผลที่ว่าการวัดระดับไอคิวของคนที่ทำอยู่ในปัจจุบันนั้นวัดความสามารถของ คนเพียงไม่กี่อย่าง การวัดไอคิวจะวัดความสามารถด้านภาษา และการคิดคำนวณเป็นส่วนใหญ่ แต่ที่จริงแล้วความสามารถของคนนั้นมีมากมายหลายด้าน เช่น ความสามารถด้านต่อไปนี้
- ดนตรี
- กีฬา-การเคลื่อนไหว
- ศิลปะ
- ภาษา
- สังคม
- กาคิดคำนวณ
- เครื่องยนต์กลไก
- ตรรกะ
- การเข้าใจผู้อื่น
- อื่นๆ
คนที่มีความสามารถเด่นๆ เฉพาะทางที่รู้จักกันดีในสังคมโลก เช่น
-Magic Johnson เป็นนักบาสที่เก่งมาก
-Mozart เป็นนักดนตรีระดับโลก
-Martin Luther King Jr. เป็นผู้นำที่มีความสามารถมาก
-Sigmund Freud สามารถเข้าใจเรื่องจิตใจคนอย่างดีเยี่ยม
ฉะนั้นจึงควรส่งเสริมลูกให้พัฒนาความสามารถเฉพาะตัวของเขาให้เต็มที่ถ้ามี ผู้ใหญ่ไม่ควรไปขัดขวางเขาแต่ผู้ใหญ่ควรช่วยเขา
องค์ประกอบของอีคิว
ทักษะทางอารมณ์ หรือ อีคิวของคนอาจจัดได้เป็นเรื่องใหญ่ๆ 5 เรื่อง คือ
1. สามารถรู้อารมณ์ตัวเอง
2. สามารถบริหารอารมณ์ตัวเอง
3. สามารถทำให้ตัวเองมีพลังใจ
4. สามารถเข้าถึงจิตใจผู้อื่น
5. สามารถรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่น
1. สามารถรู้อารมณ์ตัวเอง
คน ที่จะมีทักษะชีวิตที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติข้อนี้ คือเป็นที่รู้ตัวเองกำลังรู้สึกอย่างไร หรือสามารถติดตามความรู้สึกของตัวเองได้ใน ขณะที่อารมณ์กำลังบังเกิดขึ้นในตัวเรา เช่น รู้สึกว่าเรากำลังเริ่มรู้สึกโกรธ หรือเริ่มรู้สึกไม่พอใจแล้ว ฉะนั้นเราจึงต้องมีการสังเกตตัวเราเองอยู่เสมอ การรู้ว่าตัวเองกำลังรู้สึกอย่างไรจะทำให้คนๆ นั้นควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ชั่ววูบ แล้วทำอะไรที่มีผลร้ายแรงดังที่เราเคยได้ยินเสมอๆ ว่า ?เขาฆ่าคนตายเพราะเกิดบันดาลโทสะ?
การรู้ว่าตัวเองกำลังมีอารมณ์ แบบใดนอกจากจะทำให้เราควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น ยังทำให้เราสามารถหลุดพ้นจากอารมณ์นั้นได้เร็วขึ้น เพราะทำให้เรารู้จักไปหาทางระบายอารมณ์นั้นออกไปอย่างเหมาะสมถูกต้อง
คน ที่ไม่รู้จักหรือไม่รู้สึกถึงอารมณ์ตัวเองมากๆ จะไม่สามารถแสดงออกซึ่งอารมณ์ อาจกลายเป็นคนเฉยเมย เป็นคนไม่สนุก ไม่รู้สึกขบขันในเรื่องควรขบขันคือไม่มีอารมณ์ขัน ซึ่งจะกลายเป็นคนน่าเบื่อสำหรับผู้อื่นได้ เพราะเป็นคนจืดชืดไร้สีสัน
วิธี สอนให้ลูกรู้อารมณ์ตัวเองคือ พ่อแม่ต้องคอยสังเกตอารมณ์ลูกและพูดคุยถามถึงอารมณ์ของลูกที่เปลี่ยนไป เช่น พ่อแม่ อาจถามว่า ?วันนี้ดูลูกอารมณ์ไม่ดี หนูมีอะไรไม่สบายใจหรือ?? และพ่อแม่เองจะต้องรู้และแสดงอารมณ์ของตัวเองให้เหมาะสมด้วย เช่น พูดว่า ?วันนี้แม่รู้สึกหงุดหงิดไปหน่อยนะลูก?
2. สามารถบริหารอารมณ์ตัวเอง
ทุก คนเมื่อมีอารมณ์บางอย่างเกิดขึ้นแล้วต้อง รู้วิธีที่จะจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ อย่างเหมาะสม เช่น เกิดอารมณ์โกรธ อารมณ์ไม่พอใจอะไรใครจะต้องหาทางออก ไม่ใช่เก็บกดสะสมอารมณ์เหล่านี้ไว้มากๆ ซึ่งจะเกิดอาการทนไม่ไหวแล้วถึงจุดหนึ่งจะระเบิดอารมณ์ออกมารุนแรง โดยทำร้ายคนอื่นหรือทำร้ายตนเอง เช่น ฆ่าตัวตาย
วิธีบริหารอารมณ์หรือวิธีจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น คือ
- พูดระบาย ให้คนที่พูดด้วยได้รับฟัง ซึ่งคนที่รับฟังมักจะช่วยปลอบใจได้ไม่มาก็น้อย หรือเขาอาจแสดงความเห็นใจด้วย
- ทำความเข้าใจอีกฝ่ายหนึ่ง โดยคิดไตร่ตรองว่าคนที่ทำให้เราเกิดอารมณ์นี่เขาเป็นอย่างไร มีเหตุผลอะไร มีเจตนาร้ายหรือไม่ หรือเขามีปัญหาอะไร เป็นต้น ถ้าเราสามารถเข้าใจเขาได้ เราอาจเกิดความเห็นใจเขา หรือให้อภัยเขา ซึ่งจะลดลดอารมณ์ของเราลงได้
- หาวิธีผ่อนคลายให้ตัวเอง เช่น อาจไปเล่นกีฬา ร้องเพลง ฟังเพลง เล่นดนตรี เป็นการคลายเครียด
- วิธีอื่นๆ แต่ละคนอาจมีวิธีทำแตกต่างไปบ้าง เช่น บางคนอาจไปเดินเล่น ไปซื้อของ ไปทำงานอดิเรกที่ตัวเองชอบ เป็นต้น
ใน ชีวิตประจำวันทุกคนต้องหัดจัดการกับอารมณ์ของตนเองอยู่แล้ว เพราะทุกวันเราจะเกิดอารมณ์ต่างๆ ขึ้น เช่น อารมณ์เบื่อ เศร้า เครียด หงุดหงิด รำคาญ เซ็ง โดยทั่วไปควรจะหากิจกรรมทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ไปเที่ยว ไปคุยกับเพื่อน และอื่นๆ อีกมาก
วิธีช่วยลูกมีทักษะที่ ดี พ่อแม่สามารถทำเป็นตัวอย่าง หรือแนะนำให้ลูกมีงานอดิเรกทำ แนะนำให้ลูกเป็นคนชอบอ่านหนังสือ คุยกับเพื่อน และที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งคือถ้าเล่นดนตรีได้จะดีมาก ดนตรีเป็นเพื่อนที่ดีมากของมนุษย์ ถ้ามีโอกาสและลูกชอบ พ่อแม่ควรสนับสนุนให้ลูกเลือกเรียนดนตรีอย่างหนึ่ง อย่างที่สองคือ การเล่นกีฬา เด็กควรเลือกกีฬาสักอย่างที่ชอบและสามารถเล่นไปได้ตลอดชีวิต เพราะนอกจากจะคลายเครียดยังช่วยให้สุขภาพแข็งแรงอีกด้วย ซึ่งเป็นการป้องกันโรคต่าง ๆ ได้มาก จนมีคำพูดที่ว่า ?กีฬาๆ เป็นยาวิเศษ?
3. สามารถทำให้ตนเองมีพลัง
คือ เป็นคนที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจหรือแรงใจให้อยากทำสิ่งต่างๆ ในชีวิต ไม่เป็นคนย่อท้อหมดเรี่ยวแรงง่ายๆ หรือยอมแพ้โดยง่ายดาย สิ่งเหล่านี้จะเกิดได้มาจากหลายๆ องค์ประกอบ เช่น
- พ่อแม่ปลูกฝังมาให้แต่เด็ก เช่น พ่อแม่ชื่นชมในความสำเร็จของลูก ลูกก็จะกลายเป็นคนอยากมีความสำเร็จ หรือพ่อแม่คอยให้กำลังใจและคอยสนับสนุนเวลาลูกทำอะไรๆ
- การมีทัศนคติที่ดี เช่น พ่อแม่พูดว่า ?ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น? หรือมีทัศนคติว่าคนนั้นต้องมีความพากเพียรทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีใครได้อะไรมา อย่างง่ายๆ
- วัฒนธรรม หลายวัฒนธรรมสอนเด็กให้เป็นคนขยัน อดทน เช่น วัฒนธรรมจีน
- อารมณ์ คนที่มีอารมณ์ดีจึงจะมีจิตใจอยากทำสิ่งต่างๆ ถ้าเป็นคนมีปัญหาทางจิตใจ มีความขัดแย้งในชีวิตและครอบครัวจะมักไม่มีกำลังใจในการทำงาน
- ความหวัง คนมีพลังใจทำอะไรต่อๆ ไปได้ต้องเป็นคนที่มีความหวังเป็นตัวหล่อเลี้ยงจิตใจให้อยากทำต่อไป
- มองโลกในแง่ดี คนมองโลกในแง่ดีจะสามารถมองหาจุดดีๆ จากทุกๆ อย่างรอบตัวได้ คนนั้นก็จะสามารถมีแรงจูงใจในการทำอะไรต่อไป ตัวอย่างที่เคยได้ยิน เช่น
มีสามีภรรยาคู่หนึ่งทะเลาะกันบ่อยมาก แต่เวลาไม่ทะเลาะกันเพื่อนๆ จะเห็นว่าเขามีความสุขดี แม้ว่าเวลาทะเลาะกันฝ่ายภรรยาจะค่อนข้างกร้าวร้าวและจะชอบเอาจานชามขว้างใส่ สามี วันหนึ่งเพื่อนสามีจึงถามสามีว่าเห็นทะเลาะกันบ่อยๆ เหตุใดจึงยังมีความสุขได้ สามีจึงตอบเพื่อนว่ามีความสุขได้ เพราะเวลาภรรยาขว้างจานชามใส่ตน ถ้าตนหลบทันตนก็มีความสุข ส่วนถ้าตนหลบไม่ทันแล้วโดนขว้างภรรยาตนก็มีความสุข
4. สามารถเข้าถึงจิตใจผู้อื่น
ความ สามารถนี้เป็นคุณสมบัติของผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับจิตใจผู้อื่นจะขาดไม่ได้เลย เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ แต่ที่จริงแล้วทุกๆ คน เป็นคนที่คนอื่นนิยมชมชอบ เป็นคนที่เพศตรงข้ามชอบ ทำให้เข้ากับคนอื่นได้ดี เป็นคนที่มีเสน่ห์ และสามารถเข้าสังคมได้เป็นอย่างดี
ความสามารถ นี้ หมายถึง เราสามารถเข้าใจได้หรือรู้ได้ว่าถ้าเราเป็นเขาเราจะรู้สึกอย่างไร ซึ่งหมายถึง ความเห็นใจคนอื่น หรือความสามรถที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรานั่นเอง การที่คนเราจะสามารถเข้าใจจิตใจผู้อื่นได้เขาจะต้องเข้าใจตัวเขาเองก่อน เขาต้องรู้จักตัวเอง และมีความรู้สึกของตัวเองเสียก่อนว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร จึงจะสามารถ อ่านความรู้สึก ของผู้อื่นได้
การที่จะอ่านความรู้สึกคนอื่นได้ ดี จะต้องเป็นคนที่อ่านภาษาท่าทางได้ดี เพราะคนส่วนใหญ่แล้วจะแสดงอารมณ์เป็นภาษาท่าทางมากกว่าการแสดงอารมณ์เป็นคำ พูด เช่น คนเวลาโกรธ มักจะแสดงท่าทางโกรธแบบต่างๆ เช่น หน้างอ หน้าบึ้งตึง มีกริยากระแทกกระทั้น เกินกระแทกเท้าโครมๆ ปิดประตูปึงปัง เป็นต้น แต่มีน้อยคนที่เวลาโกรธจะใช้คำพูดแสดงออกมาตรงๆว่า ?ฉันกำลังรู้สึกโกรธคุณมากเลย คุณทำอย่านี้ได้อย่างไร?
การอ่านภาษาท่าทางทำได้โดยการสังเกตการแสดงออกของ
- น้ำเสียง เช่น เสียงดุ เสียงหวาน เสียงกัดฟัดพูด
- สีหน้า เช่น สีหน้ายิ้มแย้ม บูดบึ้ง เฉยเมย เคร่งเครียด เหนื่อยหน่าย เศร้า
- แววตา เช่น แจ่มใส เป็นประกาย เคียดแค้น หม่นหมอง อมทุกข์ โศก
- กริยาต่างๆ เช่น ท่านั่ง เบือนหน้าหนี นั่งห่างๆ นั่งเข้ามาใกล้ชิดเกินไป นั่งแบบผ่อนคลาย นั่งกระสับกระส่าย
5. สามารถรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่น
เป็น คุณสมบัติที่มีความสำคัญอักเช่นกัน เพราะคงไม่มีประโยชน์ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี แต่ไม่สามารถทำให้ความสัมพันธ์นั้นยั่งยืนยาวนานได้ คือจะต้อง รู้จักหล่อเลี้ยงความสัมพันธ์ ที่มีอยู่ให้มีอยู่ต่อไป ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถในการบริหารจัดการกับความรู้สึกของผู้อื่น โดยทำให้คนอื่นที่อยู่ใกล้เราแล้วเขาเกิดความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตัวเขาเอง และเขาเกิดความรู้สึกที่ดีกับเราด้วย เช่น เราสามารถทำให้เขารู้สึกว่าเรา
- เห็นเขาสำคัญ
- ให้เกียรติเขา
- ยกย่องเขา
- เข้าใจเขา
- เห็นเขามีคุณค่า
- ช่วยเหลือเขา
- เป็นมิตรกับเขา
- หวังดีต่อเขา
- รักเขา
ความ สามรถในการรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่นยังขึ้นกับว่า เรานั้นสามารถแสดงออกถึงความรู้สึกของเราเองได้ดีแค่ไหน ไม่เช่นนั้นแล้วเขาจะรู้สึกไม่เข้าใจเรา ไม่รู้จักเรา เข้าไม่ถึงเรา ทำให้เขาไม่ค่อยแน่ใจว่าเรานั้นเป็นคนอย่างไร วางใจได้แค่ไหน จริงใจเพียงใด เป็นต้น
ท้ายที่สุดนี้ ท่านผู้ปกครองที่สนใจข้อมูลข่าวสารเรื่องวิธีการเลี้ยงลูกอย่างไรให้มีความ สุข ยังสามารถศึกษาเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องจากหนังสือ เลี้ยงลูกถูกวิธี ชีวีเป็นสุข ได้จากผลงานการเขียนของ ศาสตราจารย์แพทย์หญิง นงพงา ลิ้มสุวรรณ ได้
************************************************
เอกสารอ้างอิง "ไอคิวและอิคิว"
นงพงา ลิ้มสุวรรณ (2542). ไอคิวและอีคิว. เลี้ยงลูกถูกวิธี ชีวีเป็นสุข พิมพ์ครั้งที่ 9, กรุงเทพ: พรินท์ติ้งเพรส.
เทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับตนเอง
เทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับตนเอง
เทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในการทำงานสำหรับตนเอง
๑. รู้ทัน ฝึกรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง บอกกับตัวเองได้ว่าขณะนี้กำลังรู้สึกอย่างไร และรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น ซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตนเอง ยอมรับข้อบกพร่องของตนเองได้ แม้เมื่อผู้อื่นพูดถึง ก็สามารถเปิดใจรับมาพิจารณา เพื่อที่จะหาโอกาสปรับปรุงหรือใช้เป็นข้อเตือนใจที่จะระมัดระวังการแสดง อารมณ์มากขึ้น
๒. รับผิดชอบ เมื่อเกิดความหงุดหงิด ไม่พอใจ ท้อแท้ ให้ฝึกคิดอยู่เสมอว่า อารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นเองจากการกระตุ้นของปัจจัยภายนอก เพราะฉะนั้นจึงควรรับผิดชอบต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น และควรหัดแยกแยะ วิเคราะห์สถานการณ์ด้วยเหตุผล ไม่คิดเอาเองด้วยอคติหรือประสบการณ์เดิม ๆ ที่มีอยู่ เพราะอาจทำให้การตีความในปัจจุบันผิดพลาดได้
๓. จัดการได้ อารมณ์ไม่ดีที่เกิดขึ้นสามารถคลี่คลายสลายให้หมดไปด้วยการรู้เท่าทันและหา วิธีจัดการที่เหมาะสม เช่น ไม่จ่อมจมอยู่กับอารมณ์นั้น พยายามเบี่ยงเบนความสนใจ โดยหางานหรือกิจกรรมทำ เพื่อให้ใจจดจ่ออยู่กับงานนั้น เป็นการสร้างความเพลิดเพลินใจขึ้นมาแทนที่อารมณ์ไม่ดีที่มีอยู่
๔. ใช้ให้เป็นประโยชน์ ฝึกใช้อารมณ์ส่งเสริมความคิด ให้อารมณ์ช่วยปรับแต่งและปรุงความคิดให้เป็นไปในทางที่มีประโยชน์ ฝึกคิดในด้านบวกเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ในการทำงาน
๕. เติมใจให้ตนเอง โดยการหัดมองโลกในแง่มุมที่สวยงาม รื่นรมย์ มองหาข้อดีในงานที่ทำ ชื่นชมด้านดีของเพื่อนร่วมงาน เพื่อลดอคติและความเครียดในจิตใจ ทำให้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขมากขึ้น
๖. ฝึกสมาธิ ด้วยการกำหนดรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ รู้ว่าปัจจุบันกำลังสุขหรือทุกข์อย่างไร อาจเป็นสมาธิอย่างง่าย ๆ ที่กำหนดจิตใจไว้ที่ลมหายใจเข้าออก การทำสมาธิช่วยให้จิตใจสงบ และมีกำลังใจในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
๗. ตั้งใจให้ชัดเจน โปรแกรมจิตใจตนเอง ด้วยการกำหนดว่าต่อไปนี้จะพยายามควบคุมอารมณ์ให้ได้ และตั้งเป้าหมายในชีวิตหรือการทำงานให้ชัดเจน
๘. เชื่อมั่นในตนเอง จากงานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คนที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง จะมีความสำเร็จในการทำงานและการเรียนมากกว่าคนที่ไม่เชื่อมั่นในความสามารถ ของตนเอง
๙. กล้าลองเพื่อรู้ การกล้าที่จะลองทำในสิ่งที่ยากกว่าในระดับที่คิดว่าน่าจะทำได้ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ตนเอง และเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสามารถให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ฉลาดทางอารมณ์ = ฉลาดคิด+ ฉลาดพูด + ฉลาดทำ
ฉลาดคิด ---> ควบคุมความคิดได้ คิดในทางที่ดี คิดในทางสร้างสรรค์
ฉลาดพูด ---> เลือกพูดแต่สิ่งที่ดี มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงคำพูดที่จะทำให้คนเองและบุคคลอื่นเดือดร้อน
ฉลาดทำ ---> "ทำเป็น" ไม่ใช่แค่ "ทำได้" มีความรู้ความเชี่ยวชาญในงานนั้น ๆ
ความฉลาดทางอารมณ์กับความรักและครอบครัว
ครอบ ครัวที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ต้องอาศัยความรัก ความเข้าใจและยอมรับได้ในข้อบกพร่องของผู้อื่น อีคิวหรือความฉลาดทางอารมณ์ จึงมีผลอย่างมากต่อความสงบสุขในบ้าน หรือในชีวิตคู่ ปัญหาความแตกแยก หย่าร้างที่เกิดขึ้นล้วนมีต้นตอมาจากการไม่พยายามทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน หรือยอมรับข้อบกพร่องของอีกฝ่ายไม่ได้ เมื่อมีปัญหาก็ไม่หันหน้าคุยกันดี ๆ หรือบางทีก็ใช้ความรุนแรง
ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา จึงไม่ใช่ปัจจัยที่จะทำให้คนสองคนไปกันรอด ตรงกันข้าม ถ้าคนเก่งสองคนอยู่ด้วยกัน แล้วไม่ยอมกันพยายามที่จะเอาชนะคะคานกัน อนาคตก็คงไม่พ้นการหย่าร้าง ด้วยเหตุนี้ คนเก่ง ๆ จำนวนไม่น้อย ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน จึงล้มเหลวในชีวิตคู่
การ เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตคู่ ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว อุปสรรคและปัญหาแตกต่างกันไปในแต่ละคู่ การเรียนรู้ธรรมชาติและความต้องการของแต่ละฝ่ายจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
การเรียนรู้จะทำให้เราเข้าใจตัวเองและคนที่เรารักได้ดียิ่งขึ้น
เพราะเมื่อคนเรามีความข้าใจ ความยอมรับได้ก็จะตามมา
การ รู้ธรรมชาติของชายหญิง จะช่วยให้เราอ่านใจ อ่านอารมณ์ของอีกฝ่ายออก ว่าเขากำลังรู้สึกอย่างไร และต้องการอะไร ทำให้เราสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง และถูกใจคนที่เรารัก
แน่นอนว่า ในการเรียนรู้เรื่องความรักและการอยู่ร่วมกัน "หัวใจ" เท่านั้นที่มีความสำคัญในเรื่องนี้
ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญาจึงไม่ช่วยอะไรมากนักกับการประคองนาวารักของคนสองคน
ในทางจิตวิทยา กล่าวถึงอีคิวกับการสร้างความอบอุ่นในครอบครัวเอาไว้ว่า
๑. สนใจ และเข้าใจในความกังวลของคนในครอบครัว
๒. รับรู้และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของคนในครอบครับได้ดี
๓. รู้และเข้าใจศักยภาพ ส่งเสริมความรู้ความสามารถของสมาชิกในครอบครัวให้ถูกทาง
๔. ความจริงใจต่อกัน เป็นรากฐานของความผูกพันทางอารมณ์ที่ลึกซึ้ง
จากคู่มือความฉลาดทางอารมณ์ ฉบับปรับปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข หน้า 20-23
เทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในการทำงานสำหรับตนเอง
๑. รู้ทัน ฝึกรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง บอกกับตัวเองได้ว่าขณะนี้กำลังรู้สึกอย่างไร และรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น ซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตนเอง ยอมรับข้อบกพร่องของตนเองได้ แม้เมื่อผู้อื่นพูดถึง ก็สามารถเปิดใจรับมาพิจารณา เพื่อที่จะหาโอกาสปรับปรุงหรือใช้เป็นข้อเตือนใจที่จะระมัดระวังการแสดง อารมณ์มากขึ้น
๒. รับผิดชอบ เมื่อเกิดความหงุดหงิด ไม่พอใจ ท้อแท้ ให้ฝึกคิดอยู่เสมอว่า อารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นเองจากการกระตุ้นของปัจจัยภายนอก เพราะฉะนั้นจึงควรรับผิดชอบต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น และควรหัดแยกแยะ วิเคราะห์สถานการณ์ด้วยเหตุผล ไม่คิดเอาเองด้วยอคติหรือประสบการณ์เดิม ๆ ที่มีอยู่ เพราะอาจทำให้การตีความในปัจจุบันผิดพลาดได้
๓. จัดการได้ อารมณ์ไม่ดีที่เกิดขึ้นสามารถคลี่คลายสลายให้หมดไปด้วยการรู้เท่าทันและหา วิธีจัดการที่เหมาะสม เช่น ไม่จ่อมจมอยู่กับอารมณ์นั้น พยายามเบี่ยงเบนความสนใจ โดยหางานหรือกิจกรรมทำ เพื่อให้ใจจดจ่ออยู่กับงานนั้น เป็นการสร้างความเพลิดเพลินใจขึ้นมาแทนที่อารมณ์ไม่ดีที่มีอยู่
๔. ใช้ให้เป็นประโยชน์ ฝึกใช้อารมณ์ส่งเสริมความคิด ให้อารมณ์ช่วยปรับแต่งและปรุงความคิดให้เป็นไปในทางที่มีประโยชน์ ฝึกคิดในด้านบวกเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ในการทำงาน
๕. เติมใจให้ตนเอง โดยการหัดมองโลกในแง่มุมที่สวยงาม รื่นรมย์ มองหาข้อดีในงานที่ทำ ชื่นชมด้านดีของเพื่อนร่วมงาน เพื่อลดอคติและความเครียดในจิตใจ ทำให้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขมากขึ้น
๖. ฝึกสมาธิ ด้วยการกำหนดรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ รู้ว่าปัจจุบันกำลังสุขหรือทุกข์อย่างไร อาจเป็นสมาธิอย่างง่าย ๆ ที่กำหนดจิตใจไว้ที่ลมหายใจเข้าออก การทำสมาธิช่วยให้จิตใจสงบ และมีกำลังใจในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
๗. ตั้งใจให้ชัดเจน โปรแกรมจิตใจตนเอง ด้วยการกำหนดว่าต่อไปนี้จะพยายามควบคุมอารมณ์ให้ได้ และตั้งเป้าหมายในชีวิตหรือการทำงานให้ชัดเจน
๘. เชื่อมั่นในตนเอง จากงานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คนที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง จะมีความสำเร็จในการทำงานและการเรียนมากกว่าคนที่ไม่เชื่อมั่นในความสามารถ ของตนเอง
๙. กล้าลองเพื่อรู้ การกล้าที่จะลองทำในสิ่งที่ยากกว่าในระดับที่คิดว่าน่าจะทำได้ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ตนเอง และเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสามารถให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ฉลาดทางอารมณ์ = ฉลาดคิด+ ฉลาดพูด + ฉลาดทำ
ฉลาดคิด ---> ควบคุมความคิดได้ คิดในทางที่ดี คิดในทางสร้างสรรค์
ฉลาดพูด ---> เลือกพูดแต่สิ่งที่ดี มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงคำพูดที่จะทำให้คนเองและบุคคลอื่นเดือดร้อน
ฉลาดทำ ---> "ทำเป็น" ไม่ใช่แค่ "ทำได้" มีความรู้ความเชี่ยวชาญในงานนั้น ๆ
ความฉลาดทางอารมณ์กับความรักและครอบครัว
ครอบ ครัวที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ต้องอาศัยความรัก ความเข้าใจและยอมรับได้ในข้อบกพร่องของผู้อื่น อีคิวหรือความฉลาดทางอารมณ์ จึงมีผลอย่างมากต่อความสงบสุขในบ้าน หรือในชีวิตคู่ ปัญหาความแตกแยก หย่าร้างที่เกิดขึ้นล้วนมีต้นตอมาจากการไม่พยายามทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน หรือยอมรับข้อบกพร่องของอีกฝ่ายไม่ได้ เมื่อมีปัญหาก็ไม่หันหน้าคุยกันดี ๆ หรือบางทีก็ใช้ความรุนแรง
ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา จึงไม่ใช่ปัจจัยที่จะทำให้คนสองคนไปกันรอด ตรงกันข้าม ถ้าคนเก่งสองคนอยู่ด้วยกัน แล้วไม่ยอมกันพยายามที่จะเอาชนะคะคานกัน อนาคตก็คงไม่พ้นการหย่าร้าง ด้วยเหตุนี้ คนเก่ง ๆ จำนวนไม่น้อย ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน จึงล้มเหลวในชีวิตคู่
การ เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตคู่ ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว อุปสรรคและปัญหาแตกต่างกันไปในแต่ละคู่ การเรียนรู้ธรรมชาติและความต้องการของแต่ละฝ่ายจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
การเรียนรู้จะทำให้เราเข้าใจตัวเองและคนที่เรารักได้ดียิ่งขึ้น
เพราะเมื่อคนเรามีความข้าใจ ความยอมรับได้ก็จะตามมา
การ รู้ธรรมชาติของชายหญิง จะช่วยให้เราอ่านใจ อ่านอารมณ์ของอีกฝ่ายออก ว่าเขากำลังรู้สึกอย่างไร และต้องการอะไร ทำให้เราสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง และถูกใจคนที่เรารัก
แน่นอนว่า ในการเรียนรู้เรื่องความรักและการอยู่ร่วมกัน "หัวใจ" เท่านั้นที่มีความสำคัญในเรื่องนี้
ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญาจึงไม่ช่วยอะไรมากนักกับการประคองนาวารักของคนสองคน
ในทางจิตวิทยา กล่าวถึงอีคิวกับการสร้างความอบอุ่นในครอบครัวเอาไว้ว่า
๑. สนใจ และเข้าใจในความกังวลของคนในครอบครัว
๒. รับรู้และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของคนในครอบครับได้ดี
๓. รู้และเข้าใจศักยภาพ ส่งเสริมความรู้ความสามารถของสมาชิกในครอบครัวให้ถูกทาง
๔. ความจริงใจต่อกัน เป็นรากฐานของความผูกพันทางอารมณ์ที่ลึกซึ้ง
จากคู่มือความฉลาดทางอารมณ์ ฉบับปรับปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข หน้า 20-23
ADHD หรือ โรคสมาธิสั้น
ADHD หรือ โรคสมาธิสั้น
เรียบเรียงโดย DMH Staffs กรมสุขภาพจิต
เรา เคยเข้าใจคำว่า ADHD ไม่เป็นในวัยรุ่นที่อายุมากกว่า 15 ปี แต่ความคิดนี้เป็นจริงเพียงบางส่วน มีการวิจัยว่า ADHD เป็นในวัยรุ่นและพบได้บ่อยในวัยรุ่น ในปี ค.ศ. 1996 มีการศึกษา meta-analysis ที่ว่าทุกๆ 5 ปี คนไข้ครึ่งหนึ่งจะหายจากโรค แต่การศึกษาถูกตำหนิว่ามีปัญหาในการทำ การวิจัยอื่นพบว่า restoration rate มีเท่ากับ 40-90% โดยพบว่าอัตราในคลินิกมีมากกว่าในชุมชน โดยทั่วไปเมื่อโตขึ้นอาการหุนหันพลันแล่น และความซนจะลดลง ทำให้เข้าใจผิดว่าหาย แต่ถ้าดูกันดีๆ จะพบว่าเขาจะยังมีความผิดปกติอยู่เมื่อเทียบกับเพื่อนอายุรุ่นเดียวกัน
มี การศึกษา meta-analysis จาประเทศแคนาดาที่ศึกษาระดับของการทำงานพบว่า 1/3 จะปกติ ? จะยังมีความผิดปกติมีอาการของ ADHD และส่วนน้อยที่จะต้องอยู่ในตึกผู้ป่วยจิตเวชแบบระยะยาว การศึกษาของ Lambert ก็บอกเช่นกันว่า 20% หาย 37% มีความผิดปกติด้านการเรียนและพฤติกรรมเหลืออยู่ และ 43% อาการคงเดิม สิ่งนี้บอกอะไรเรา มันบอกว่าเด็กบางคนหายจาก ADHD ได้ อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสมองส่วนหน้า หรืออาจะเกิดจากโรคมีความรุนแรงต่างกันในแต่ละคน ทำให้เกิดปัญหาว่าจะสามารถหยุดยาได้ในคนไข้รายใด อย่างไรก็ตาม คนไข้ส่วนใหญ่ไม่หาย โยจะอยู่ในสองกลุ่มคือ
ADHD ที่ดีขึ้น ปัญหาลดลง
ADHD ที่ยังคงอยู่ และปัญหาก็ยังคงอยู่แต่ต้องเตือนไว้เสมอว่าคนไข้ ADHD มักเกิดร่วมกับ ปัญหาการเจ็บป่วยอย่างอื่น
ปัญหาที่เสี่ยงในวัยรุ่น ได้แก่ การเกี่ยวข้องกับยาเสพติด อารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวล การเรียนไม่ดี และทำงานที่ต่ำต้อยในสังคม
การวินิจฉัย ADHD ทำง่ายในเด็กอายุ 7-9 ปี แต่ถ้าเด็กหรือโตกว่านั้นจะดูยาก อาจต้องติดตามอาการนานหลายคนอ่านแล้วอาจจะงงๆ มาทำความรู้จักหรือรื้อฟื้นความจำเกี่ยวกับโรคนี้กันสักนิดค่ะ
โรคสมาธิสั้นหรือที่รู้จักกันในชื่อโรคเด็กซนจะ เกิดร่วมกับโรคอื่นๆ ในเด็กอีกหลายโรค ได้แก่ โรคดื้อ (Oppositional) โรคเกเร (Conduct) โรคบกพร่องทางการเรียน (Learning) โรควิตกกังวล (Anxiety) โรคซึมเศร้า (Depression) ถ้าหากโรคสมาธิสั้นได้รับการวินิจฉัยช้าจนเด็กโต จะทำให้มีความเสี่ยงไปกระตุ้นต่อโรคอื่นให้รุนแรงมากขึ้นด้วย
อาการ ของสมาธิสั้น ประกอบด้วย อาการซน ไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) และหุนหันพลันแล่น (Impulsive) อาการจะสังเกตเห็นได้ตั้งแต่เด็กอยู่ในวัยก่อนเข้าเรียน ซึ่งส่วนใหญ่อาการจะเห็นเด่นชัดมากขึ้นเมื่อเริ่มเข้าเรียน ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาเป็นอย่างมาก เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นและผู้ใหญ่จะเกิดปัญหาเพิ่มมากขึ้นอีก ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องโดยแพทย์ที่เข้าใจโรค
ระบาดวิทยา
ใน เด็กผู้ชายจะพบโรคซน-สมาธิสั้นมากกว่าเด็กผู้หญิง 4-6 เท่า นับว่าเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตของเด็กที่พบบ่อยที่สุดและเป็นปัญหาเกี่ยวกับ การเรียนด้วย
สาเหตุ
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรค ADHD แต่พอจะทราบ 3 ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค คือ
1. ปัจจัยทางพันธุกรรม
จาก การวิจัยพบว่า พี่น้องท้องเดียวกัน ถ้าหากคนหนึ่งเป็นโรค ADHD พี่น้องคนอื่นจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้สูงถึง 5 เท่า ในลูกฝาแฝดชนิดไข่ใบเดียวกัน โอกาสที่จะเป็นโรคนี้สูงถึงร้อยละ 51 ในไข่แฝด 2 ใบ (คนละใบ) อีกคนหนึ่งจะมีโอกาสป่วยถึงร้อยละ 33 เชื่อว่ามีความผิดปกติที่ยีนชื่อ DRD4
2. ปัจจัยทางชีวภาพ
มี โรคหลายโรคของผู้ป่วยที่เกิดทางร่างกายและทางสมอง แล้วเป็นสาเหตุของโรคเด็กซน-สมาธิสั้น เช่น โรคลมชัก (ลมบ้าหมู) โรคขาดอาหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีน) เด็กที่คลอดก่อนกำหนด เด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย ต้องอยู่ในตู้อบ โรคสมองอักเสบในเด็ก โรคพยาธิสมองในเด็ก จากการศึกษาพบว่ามีความผิดปกติในการทำงานของสมอง โดยสมองจะมีขนาดเล็กกว่าปกติ และมีสารซึ่งช่วยส่งสัญญาณของระบบประสาทต่ำกว่าปกติ
3. ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ ปัญหาการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมภายในบ้านไม่เหมาะสม ปัญหาทางด้านจิตใจของพ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็ก ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ADHD โดยตรง แต่จะเป็นตัวกระตุ้นเด็กที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคซน-สมาธิสั้นอยู่แล้ว ทำให้เกิดอาการปรากฏชัดขึ้น และมีอาการรุนแรงขึ้นด้วย
การวินิจฉัยอาการและอาการแสดง
1. อาการขาดสมาธิ เด็กจะมีลักษณะวอกแวกง่าย ขาดความตั้งใจในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ต้องใช้สมาธิ เด็กจะแสดงอาการเหม่อลอยบ่อยๆ ฝันกลางวัน ทำงานไม่เสร็จ ผลงานมักจะออกมาไม่เรียบร้อยตกๆ หล่นๆ เด็กจะมีลักษณะเป็นคนขี้ลืม ทำของใช้หายเป็นประจำมีลักษณะเหมือนไม่ฟังเวลามีคนอื่นพูดด้วย เวลาสั่งให้เด็กทำงานอะไรเด็กมักจะทำหรือทำครึ่งๆ กลางๆ เด็กเหล่านี้จะมีอาการติดตัวไปจนถึงเป็นผู้ใหญ่
2. อาการซน เด็กมีลักษณะอาการซนยุกยิก อยู่ไม่สุข นั่งนิ่งๆ ไม่ค่อยได้ ต้องลุกเดิน หรือขยับตัวไปมา ชอบปีนป่าย เล่นเสียงดัง เล่นผาดโผน หรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย ประสบอุบัติเหตุบ่อยๆ จากความซน และความไม่ระมัดระวัง พูดมาก พูดไม่หยุด อาการนี้เห็นได้ชัดในเด็กเล็กๆ เมื่อโตขึ้นอาการซนจะลดลงตามวัย จนเหลือแต่อาการกระสับกระส่ายกระวนกระวายใจ เวลาต้องอยู่นิ่งๆ ในวัยผู้ใหญ่หรือวัยรุ่น
3. อาการหุนหันพลันแล่น เด็กจะมีอาการวู่วาม ใจร้อน ทำอะไรลงไปโดยไม่คิดล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น ขาดความระมัดระวัง เช่น วิ่งข้ามถนนโดยไม่มองซ้ายมองขวา เวลาต้องการอะไรจะต้องได้ทันที รอคอยไม่ได้ เวลาอยู่ในห้องเรียนมักพูดโพล่งออกมา โดยไม่ขออนุญาตครูก่อน มักจะตอบคำถามโดยที่ฟังยังไม่ทันจบ ชอบพูดแทรกในเวลาที่ผู้อื่นกำลังคุยกัน หรือกระโดดเข้าเล่นร่วมลงโดยยังไม่ทันขออนุญาตก่อน เวลาทำการบ้านมักจะทำให้เสร็จไวๆ โดยไม่คำนึงถึงว่างานจะถูกต้องเสร็จเรียบร้อยหรือไม่
4. อาการอื่นๆ ในบางรายเด็ก ADHD จะมีอาการดื้อ ต่อต้าน เกเร ก้าวร้าว หรือมีพฤติกรรมอื่นๆ ร่วมด้วย บางรายอาจจะมีพัฒนาการเด็กล่าช้า มีปัญหาทางด้านภาษา และการพูด บางรายจะมีปัญหาการประสานงานกล้ามเนื้อไม่ดี ปัญหาการเรียนรู้บกพร่อง ในบางรายอาจจะมีอาการทางจิตเวชเกิดร่วมด้วย เช่น อาการซึมเศร้า และโรควิตกกังวล
สรุปอาการขาดสมาธิ 9 ประการ คือ
1. ไม่สามารถจดจำรายละเอียดของงานได้ มักจะทำผิดเนื่องจากขาดความรอบคอบ
2. ไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือเล่น
3. ไม่สนใจฟังคำพูดของคนอื่น
4. ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดของคำสั่งได้
5. ทำงานไม่เป็นระเบียบ
6. ไม่เต็มใจ หรือเลี่ยงการทำงานที่ต้องใช้ความคิด
7. ทำของใช้ส่วนตัวที่จำเป็นต้องใช้ในการเรียนหรือการทำงานหายบ่อยๆ
8. วอกแวกง่ายๆ
9. ขี้ลืมบ่อยๆ ในกิจวัตรประจำวันของงานที่ทำ
ผู้ป่วยต้องมีอาการอย่างน้อย 6 อาการจาก 9 อาการขึ้นไป และเป็นอย่างน้อย 6 เดือน
อาการซน หุนหันพลันแล่น 9 ประการ คือ
1. ยุกยิก อยู่ไม่เป็นสุข ชอบขยับมือ ขยับเท้าไปมา
2. ชอบลุกจากที่นั่งเวลาเรียน หรือสถานที่ที่จำกัดให้ต้องนั่งเฉยๆ
3. ชอบวิ่งหรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ (ในวัยรุ่นอาจจะแค่กระวนกระวายใจเท่านั้น)
4. ไม่สามารถเล่น หรือนั่งนิ่งอยู่เงียบๆ ได้
5. ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลาเหมือนมีเครื่องยนต์ติดตัว
6. พูดมาก พูดไม่หยุด
7. ชอบโพล่งคำตอบเวลาครูหรือพ่อแม่ถาม โดยที่ฟังคำถามยังไม่จบ
8. มีความลำบากในการเข้าคิวหรือการรอคอย
9. ชอบขัดจังหวะ หรือสอดแทรกเวลาผู้อื่นคุยกันหรือแย่งเพื่อนเล่น
การ วินิจฉัยโรค ต้องมีอาการ 6 อย่างใน 9 อย่างขึ้นไปนานกว่า 6 เดือน ก่อนอายุ 7 ปี และอาการต้องเกิดอย่างน้อย 2 แห่ง เช่น ที่บ้าน ที่โรงเรียน การทำงาน การเข้าสังคม ซึ่งอาการทั้ง 9 ข้อนี้ ไม่ได้เกิดต่อเนื่องหลังจากผู้ป่วยเป็นโรคทางจิตเวช
การรักษา
การรักษาที่ได้ผลดีที่สุดคือการผสมผสานกันระหว่างการรักษา ด้วยการปรับพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม กับการรักษาทางยา
การปรับพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
1. การฝึกสอนพ่อ แม่ ต้องอธิบายให้พ่อแม่เข้าใจว่า โรคเด็กซน-สมาธิสั้น นั้นเกิดจากการทำงานของสมองไม่ดี เกิดจากความตั้งใจก่อกวน โดยพฤติกรรมของเด็กเอง
พ่อแม่ต้องเรียนรู้วิธีการดูแลเด็ก
เด็ก เหล่านี้จะมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนในสังคม เด็กจะทรมานกับการทำการบ้านแต่แล้วก็ลืมเอาไปส่งครู เด็กจะมีปัญหากับเพื่อนร่วมชั้น พี่น้อง ส่วนพ่อแม่ที่ไม่เข้าใจเด็กก็จะไม่สนใจเนื่องจากเด็กจะไม่เชื่อฟังพ่อแม่จะ ไม่สามารถควบคุมเด็ก เด็กจะไม่มีระเบียบวินัย ต่อมาพ่อแม่ก็จะใช้วิธีดุ ตีแม้ว่าจะทราบว่าเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องแต่ก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร พฤติกรรมการดุด่าและการลงโทษจะทำให้อาการของเด็กแย่ลง เด็กจะดื้อมากขึ้น ต่อต้าน ก้าวร้าว วิธีการที่ดีกว่าคือ การให้คำชมหรือรางวาลเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้อง และควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยการงดกิจกรรมที่เด็กชอบ หรือตัดสิทธิอื่นๆ
ทั้งพ่อแม่และเด็กจะต้องปรึกษาจิตแพทย์ หรือทีมสุขภาพจิต เพื่อช่วยกันประคับประคองความรู้สึก พฤติกรรมให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง พ่อและแม่ต้องพูดคุยกับแพทย์เพื่อที่จะได้ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัด ที่ตัวเด็ก และช่วยแนะนำแนวทางปฏิบัติตัวเพื่อให้เด็กได้ใช้ความสามารถด้านอื่นทดแทนใน ส่วนที่บกพร่อง
2. การแนะนำต่อครู คุณครูควรจัดที่นั่งเด็กแถวหน้าหรือกลางห้อง ถ้าเด็กหมดสมาธิก็ให้โอกาสไปเดินได้ ชมเชยเมื่อเด็กทำดี แต่อย่าดุหรือลงโทษเมื่อทำผิด การสั่งการบ้านควรเขียนให้ชัดเจนให้เด็กทำงานทีละอย่าง อย่ามากไป อย่าตำหนิติเตียนเด็กอย่างรุนแรง พยายามเข้าใจและหาจุดดีของเด็ก สร้างความเข้าใจและอาจจำเป็นต้องสอนพิเศษ
3. แนะนำที่ตัวเด็กเอง เด็กควรได้รับการสอนเป็นพิเศษ เมื่อเรียนไม่ทัน มีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ถ้าหากเด็กมีอาการโรคจิตอื่นๆ ด้วยต้องได้รับการบำบัด เด็ก ADHD ที่ขาดทักษะทางสังคมต้องมีการฝึกฝนทางสังคม ให้เข้ากับผู้อื่นได้ การฟัง การเอาใจเขามาใส่ใจเรา การแสดงออกที่เหมาะสมในโรงเรียน ควรจะมีการฝึกฝนสมาธิสำหรับเด็กด้วย
>การรักษาด้วยยา
แพทย์ ที่รักษาโรคเด็กจะให้ยารักษาอาการซึมเศร้า ยากระตุ้นทางจิตเวช ยาต้านอัดรีเนอร์จิด และยาจิตเวช ต้องระมัดระวังใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ปลอดภัย ใช้ง่าย มีผลข้างเคียงน้อย
*******************************************
เอกสารอ้างอิง:
1. สรรสารวงการแพทย์ "ADHD". ปีที่ 7 ฉบับที่ 202 ประจำวันที่ 15-31 กรกฎามคม 2548.
2. โรคสมาธสั้น; กรมสุขภาพจิต. 2538.
เรียบเรียงโดย DMH Staffs กรมสุขภาพจิต
เรา เคยเข้าใจคำว่า ADHD ไม่เป็นในวัยรุ่นที่อายุมากกว่า 15 ปี แต่ความคิดนี้เป็นจริงเพียงบางส่วน มีการวิจัยว่า ADHD เป็นในวัยรุ่นและพบได้บ่อยในวัยรุ่น ในปี ค.ศ. 1996 มีการศึกษา meta-analysis ที่ว่าทุกๆ 5 ปี คนไข้ครึ่งหนึ่งจะหายจากโรค แต่การศึกษาถูกตำหนิว่ามีปัญหาในการทำ การวิจัยอื่นพบว่า restoration rate มีเท่ากับ 40-90% โดยพบว่าอัตราในคลินิกมีมากกว่าในชุมชน โดยทั่วไปเมื่อโตขึ้นอาการหุนหันพลันแล่น และความซนจะลดลง ทำให้เข้าใจผิดว่าหาย แต่ถ้าดูกันดีๆ จะพบว่าเขาจะยังมีความผิดปกติอยู่เมื่อเทียบกับเพื่อนอายุรุ่นเดียวกัน
มี การศึกษา meta-analysis จาประเทศแคนาดาที่ศึกษาระดับของการทำงานพบว่า 1/3 จะปกติ ? จะยังมีความผิดปกติมีอาการของ ADHD และส่วนน้อยที่จะต้องอยู่ในตึกผู้ป่วยจิตเวชแบบระยะยาว การศึกษาของ Lambert ก็บอกเช่นกันว่า 20% หาย 37% มีความผิดปกติด้านการเรียนและพฤติกรรมเหลืออยู่ และ 43% อาการคงเดิม สิ่งนี้บอกอะไรเรา มันบอกว่าเด็กบางคนหายจาก ADHD ได้ อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสมองส่วนหน้า หรืออาจะเกิดจากโรคมีความรุนแรงต่างกันในแต่ละคน ทำให้เกิดปัญหาว่าจะสามารถหยุดยาได้ในคนไข้รายใด อย่างไรก็ตาม คนไข้ส่วนใหญ่ไม่หาย โยจะอยู่ในสองกลุ่มคือ
ADHD ที่ดีขึ้น ปัญหาลดลง
ADHD ที่ยังคงอยู่ และปัญหาก็ยังคงอยู่แต่ต้องเตือนไว้เสมอว่าคนไข้ ADHD มักเกิดร่วมกับ ปัญหาการเจ็บป่วยอย่างอื่น
ปัญหาที่เสี่ยงในวัยรุ่น ได้แก่ การเกี่ยวข้องกับยาเสพติด อารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวล การเรียนไม่ดี และทำงานที่ต่ำต้อยในสังคม
การวินิจฉัย ADHD ทำง่ายในเด็กอายุ 7-9 ปี แต่ถ้าเด็กหรือโตกว่านั้นจะดูยาก อาจต้องติดตามอาการนานหลายคนอ่านแล้วอาจจะงงๆ มาทำความรู้จักหรือรื้อฟื้นความจำเกี่ยวกับโรคนี้กันสักนิดค่ะ
โรคสมาธิสั้นหรือที่รู้จักกันในชื่อโรคเด็กซนจะ เกิดร่วมกับโรคอื่นๆ ในเด็กอีกหลายโรค ได้แก่ โรคดื้อ (Oppositional) โรคเกเร (Conduct) โรคบกพร่องทางการเรียน (Learning) โรควิตกกังวล (Anxiety) โรคซึมเศร้า (Depression) ถ้าหากโรคสมาธิสั้นได้รับการวินิจฉัยช้าจนเด็กโต จะทำให้มีความเสี่ยงไปกระตุ้นต่อโรคอื่นให้รุนแรงมากขึ้นด้วย
อาการ ของสมาธิสั้น ประกอบด้วย อาการซน ไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity) และหุนหันพลันแล่น (Impulsive) อาการจะสังเกตเห็นได้ตั้งแต่เด็กอยู่ในวัยก่อนเข้าเรียน ซึ่งส่วนใหญ่อาการจะเห็นเด่นชัดมากขึ้นเมื่อเริ่มเข้าเรียน ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาเป็นอย่างมาก เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นและผู้ใหญ่จะเกิดปัญหาเพิ่มมากขึ้นอีก ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องโดยแพทย์ที่เข้าใจโรค
ระบาดวิทยา
ใน เด็กผู้ชายจะพบโรคซน-สมาธิสั้นมากกว่าเด็กผู้หญิง 4-6 เท่า นับว่าเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตของเด็กที่พบบ่อยที่สุดและเป็นปัญหาเกี่ยวกับ การเรียนด้วย
สาเหตุ
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรค ADHD แต่พอจะทราบ 3 ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค คือ
1. ปัจจัยทางพันธุกรรม
จาก การวิจัยพบว่า พี่น้องท้องเดียวกัน ถ้าหากคนหนึ่งเป็นโรค ADHD พี่น้องคนอื่นจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้สูงถึง 5 เท่า ในลูกฝาแฝดชนิดไข่ใบเดียวกัน โอกาสที่จะเป็นโรคนี้สูงถึงร้อยละ 51 ในไข่แฝด 2 ใบ (คนละใบ) อีกคนหนึ่งจะมีโอกาสป่วยถึงร้อยละ 33 เชื่อว่ามีความผิดปกติที่ยีนชื่อ DRD4
2. ปัจจัยทางชีวภาพ
มี โรคหลายโรคของผู้ป่วยที่เกิดทางร่างกายและทางสมอง แล้วเป็นสาเหตุของโรคเด็กซน-สมาธิสั้น เช่น โรคลมชัก (ลมบ้าหมู) โรคขาดอาหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีน) เด็กที่คลอดก่อนกำหนด เด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย ต้องอยู่ในตู้อบ โรคสมองอักเสบในเด็ก โรคพยาธิสมองในเด็ก จากการศึกษาพบว่ามีความผิดปกติในการทำงานของสมอง โดยสมองจะมีขนาดเล็กกว่าปกติ และมีสารซึ่งช่วยส่งสัญญาณของระบบประสาทต่ำกว่าปกติ
3. ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ ปัญหาการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมภายในบ้านไม่เหมาะสม ปัญหาทางด้านจิตใจของพ่อแม่ หรือผู้ดูแลเด็ก ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ADHD โดยตรง แต่จะเป็นตัวกระตุ้นเด็กที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคซน-สมาธิสั้นอยู่แล้ว ทำให้เกิดอาการปรากฏชัดขึ้น และมีอาการรุนแรงขึ้นด้วย
การวินิจฉัยอาการและอาการแสดง
1. อาการขาดสมาธิ เด็กจะมีลักษณะวอกแวกง่าย ขาดความตั้งใจในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ต้องใช้สมาธิ เด็กจะแสดงอาการเหม่อลอยบ่อยๆ ฝันกลางวัน ทำงานไม่เสร็จ ผลงานมักจะออกมาไม่เรียบร้อยตกๆ หล่นๆ เด็กจะมีลักษณะเป็นคนขี้ลืม ทำของใช้หายเป็นประจำมีลักษณะเหมือนไม่ฟังเวลามีคนอื่นพูดด้วย เวลาสั่งให้เด็กทำงานอะไรเด็กมักจะทำหรือทำครึ่งๆ กลางๆ เด็กเหล่านี้จะมีอาการติดตัวไปจนถึงเป็นผู้ใหญ่
2. อาการซน เด็กมีลักษณะอาการซนยุกยิก อยู่ไม่สุข นั่งนิ่งๆ ไม่ค่อยได้ ต้องลุกเดิน หรือขยับตัวไปมา ชอบปีนป่าย เล่นเสียงดัง เล่นผาดโผน หรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย ประสบอุบัติเหตุบ่อยๆ จากความซน และความไม่ระมัดระวัง พูดมาก พูดไม่หยุด อาการนี้เห็นได้ชัดในเด็กเล็กๆ เมื่อโตขึ้นอาการซนจะลดลงตามวัย จนเหลือแต่อาการกระสับกระส่ายกระวนกระวายใจ เวลาต้องอยู่นิ่งๆ ในวัยผู้ใหญ่หรือวัยรุ่น
3. อาการหุนหันพลันแล่น เด็กจะมีอาการวู่วาม ใจร้อน ทำอะไรลงไปโดยไม่คิดล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น ขาดความระมัดระวัง เช่น วิ่งข้ามถนนโดยไม่มองซ้ายมองขวา เวลาต้องการอะไรจะต้องได้ทันที รอคอยไม่ได้ เวลาอยู่ในห้องเรียนมักพูดโพล่งออกมา โดยไม่ขออนุญาตครูก่อน มักจะตอบคำถามโดยที่ฟังยังไม่ทันจบ ชอบพูดแทรกในเวลาที่ผู้อื่นกำลังคุยกัน หรือกระโดดเข้าเล่นร่วมลงโดยยังไม่ทันขออนุญาตก่อน เวลาทำการบ้านมักจะทำให้เสร็จไวๆ โดยไม่คำนึงถึงว่างานจะถูกต้องเสร็จเรียบร้อยหรือไม่
4. อาการอื่นๆ ในบางรายเด็ก ADHD จะมีอาการดื้อ ต่อต้าน เกเร ก้าวร้าว หรือมีพฤติกรรมอื่นๆ ร่วมด้วย บางรายอาจจะมีพัฒนาการเด็กล่าช้า มีปัญหาทางด้านภาษา และการพูด บางรายจะมีปัญหาการประสานงานกล้ามเนื้อไม่ดี ปัญหาการเรียนรู้บกพร่อง ในบางรายอาจจะมีอาการทางจิตเวชเกิดร่วมด้วย เช่น อาการซึมเศร้า และโรควิตกกังวล
สรุปอาการขาดสมาธิ 9 ประการ คือ
1. ไม่สามารถจดจำรายละเอียดของงานได้ มักจะทำผิดเนื่องจากขาดความรอบคอบ
2. ไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือเล่น
3. ไม่สนใจฟังคำพูดของคนอื่น
4. ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดของคำสั่งได้
5. ทำงานไม่เป็นระเบียบ
6. ไม่เต็มใจ หรือเลี่ยงการทำงานที่ต้องใช้ความคิด
7. ทำของใช้ส่วนตัวที่จำเป็นต้องใช้ในการเรียนหรือการทำงานหายบ่อยๆ
8. วอกแวกง่ายๆ
9. ขี้ลืมบ่อยๆ ในกิจวัตรประจำวันของงานที่ทำ
ผู้ป่วยต้องมีอาการอย่างน้อย 6 อาการจาก 9 อาการขึ้นไป และเป็นอย่างน้อย 6 เดือน
อาการซน หุนหันพลันแล่น 9 ประการ คือ
1. ยุกยิก อยู่ไม่เป็นสุข ชอบขยับมือ ขยับเท้าไปมา
2. ชอบลุกจากที่นั่งเวลาเรียน หรือสถานที่ที่จำกัดให้ต้องนั่งเฉยๆ
3. ชอบวิ่งหรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ (ในวัยรุ่นอาจจะแค่กระวนกระวายใจเท่านั้น)
4. ไม่สามารถเล่น หรือนั่งนิ่งอยู่เงียบๆ ได้
5. ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลาเหมือนมีเครื่องยนต์ติดตัว
6. พูดมาก พูดไม่หยุด
7. ชอบโพล่งคำตอบเวลาครูหรือพ่อแม่ถาม โดยที่ฟังคำถามยังไม่จบ
8. มีความลำบากในการเข้าคิวหรือการรอคอย
9. ชอบขัดจังหวะ หรือสอดแทรกเวลาผู้อื่นคุยกันหรือแย่งเพื่อนเล่น
การ วินิจฉัยโรค ต้องมีอาการ 6 อย่างใน 9 อย่างขึ้นไปนานกว่า 6 เดือน ก่อนอายุ 7 ปี และอาการต้องเกิดอย่างน้อย 2 แห่ง เช่น ที่บ้าน ที่โรงเรียน การทำงาน การเข้าสังคม ซึ่งอาการทั้ง 9 ข้อนี้ ไม่ได้เกิดต่อเนื่องหลังจากผู้ป่วยเป็นโรคทางจิตเวช
การรักษา
การรักษาที่ได้ผลดีที่สุดคือการผสมผสานกันระหว่างการรักษา ด้วยการปรับพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม กับการรักษาทางยา
การปรับพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
1. การฝึกสอนพ่อ แม่ ต้องอธิบายให้พ่อแม่เข้าใจว่า โรคเด็กซน-สมาธิสั้น นั้นเกิดจากการทำงานของสมองไม่ดี เกิดจากความตั้งใจก่อกวน โดยพฤติกรรมของเด็กเอง
พ่อแม่ต้องเรียนรู้วิธีการดูแลเด็ก
เด็ก เหล่านี้จะมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนในสังคม เด็กจะทรมานกับการทำการบ้านแต่แล้วก็ลืมเอาไปส่งครู เด็กจะมีปัญหากับเพื่อนร่วมชั้น พี่น้อง ส่วนพ่อแม่ที่ไม่เข้าใจเด็กก็จะไม่สนใจเนื่องจากเด็กจะไม่เชื่อฟังพ่อแม่จะ ไม่สามารถควบคุมเด็ก เด็กจะไม่มีระเบียบวินัย ต่อมาพ่อแม่ก็จะใช้วิธีดุ ตีแม้ว่าจะทราบว่าเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องแต่ก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร พฤติกรรมการดุด่าและการลงโทษจะทำให้อาการของเด็กแย่ลง เด็กจะดื้อมากขึ้น ต่อต้าน ก้าวร้าว วิธีการที่ดีกว่าคือ การให้คำชมหรือรางวาลเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้อง และควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยการงดกิจกรรมที่เด็กชอบ หรือตัดสิทธิอื่นๆ
ทั้งพ่อแม่และเด็กจะต้องปรึกษาจิตแพทย์ หรือทีมสุขภาพจิต เพื่อช่วยกันประคับประคองความรู้สึก พฤติกรรมให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง พ่อและแม่ต้องพูดคุยกับแพทย์เพื่อที่จะได้ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัด ที่ตัวเด็ก และช่วยแนะนำแนวทางปฏิบัติตัวเพื่อให้เด็กได้ใช้ความสามารถด้านอื่นทดแทนใน ส่วนที่บกพร่อง
2. การแนะนำต่อครู คุณครูควรจัดที่นั่งเด็กแถวหน้าหรือกลางห้อง ถ้าเด็กหมดสมาธิก็ให้โอกาสไปเดินได้ ชมเชยเมื่อเด็กทำดี แต่อย่าดุหรือลงโทษเมื่อทำผิด การสั่งการบ้านควรเขียนให้ชัดเจนให้เด็กทำงานทีละอย่าง อย่ามากไป อย่าตำหนิติเตียนเด็กอย่างรุนแรง พยายามเข้าใจและหาจุดดีของเด็ก สร้างความเข้าใจและอาจจำเป็นต้องสอนพิเศษ
3. แนะนำที่ตัวเด็กเอง เด็กควรได้รับการสอนเป็นพิเศษ เมื่อเรียนไม่ทัน มีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ถ้าหากเด็กมีอาการโรคจิตอื่นๆ ด้วยต้องได้รับการบำบัด เด็ก ADHD ที่ขาดทักษะทางสังคมต้องมีการฝึกฝนทางสังคม ให้เข้ากับผู้อื่นได้ การฟัง การเอาใจเขามาใส่ใจเรา การแสดงออกที่เหมาะสมในโรงเรียน ควรจะมีการฝึกฝนสมาธิสำหรับเด็กด้วย
>การรักษาด้วยยา
แพทย์ ที่รักษาโรคเด็กจะให้ยารักษาอาการซึมเศร้า ยากระตุ้นทางจิตเวช ยาต้านอัดรีเนอร์จิด และยาจิตเวช ต้องระมัดระวังใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ปลอดภัย ใช้ง่าย มีผลข้างเคียงน้อย
*******************************************
เอกสารอ้างอิง:
1. สรรสารวงการแพทย์ "ADHD". ปีที่ 7 ฉบับที่ 202 ประจำวันที่ 15-31 กรกฎามคม 2548.
2. โรคสมาธสั้น; กรมสุขภาพจิต. 2538.
จิตเภท
จิตเภท
โดย. พญ.สุพัฒนา เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา /คู่มือจิตเวชศาสตร์ สำหรับประชาชน หน้า 157-160
ประชาชน จำนวนไม่น้อยมีความเข้าใจผิดและเชื่ออย่างผิดๆ ว่าโรคจิตเป็นโรคที่เกิดจากการกระทำของภูตผีปีศาจ และเป็นโรคที่รักษาไม่หาย จึงไม่พาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลจิตเวชแต่กลับพาไปรดน้ำมนต์ เข้าทรง หรือปล่อยให้อยู่กับบ้านไปตามบุญตามกรรม บางรายในชนบทถึงกับล่ามโซ่ผู้ป่วยไว้กับเสาเรือน
จึงขอให้ท่าน ผู้อ่านโปรดเข้าใจ และเมื่อมีโอกาสก็ขอได้โปรดบอกกล่าวต่อๆ กันไปด้วยว่า โรคจิตนั้นส่วนมากรักษาให้หายได้เช่นเดียวกับโรคทางกาย ถ้าหากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเสียแต่เนิ่นๆ อย่างไรก็ตาม โรคจิตก็เช่นเดียวกับโรคอื่นๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ฯลฯ บางรายอาจหายขาด บางรายเพียงแต่ทุเลา และบางรายก็อาจเป็นเรื้อรังตลอดชีวิต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยปลายประการ เช่น ประเภทหรือลักษณะของโรคนั้น ความรุนแรง และระยะเวลาที่เป็นมา
จิตเภท
ใน บรรดาผู้ป่วยโรคจิตที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลจิตเวชทุกแห่งทั่วประเทศไทย จิตเภทเป็นโรคที่พบได้มากที่สุด เมื่อเทียบกับโรคจิตประเภทอื่นๆ ผู้ป่วยจิตเภทแสดงอาการของโรคจิตให้ผู้ใกล้ชิดสังเกตเห็นได้ชัดเจนกว่า จึงสมควรที่ประชาชนจะได้ทราบลักษณะอาการและวิธีการช่วยเหลือ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว
ไม่ว่าโรค จิตหรือโรคประสาทชนิดใดๆ ระยะเวลาและผลของการรักษาขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่อาการของโรคดำเนินมา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ยิ่งมาหาแพทย์เร็วเท่าใดอาการก็ทุเลาได้เร็วและทุเลาได้มากเท่านั้น ผู้ป่วยที่มีอาการมานานโรคย่อมเรื้อรังรักษาหายได้ยาก หรือในบางรายไม่อาจรักษาให้หายเป็นปกติได้เลยญาติหรือผู้ใกล้ชิดจึงควรรีบพา ผู้ป่วยมาพบจิตแพทย์โดยเร็วที่สุด
จิตเภทเป็นโรคจิตชนิดหนึ่ง แปลจากชื่อโรคในภาษาอังกฤษว่า ?schizophrenia? ผู้ป่วยอาจเกิดอาการไม่ชัดเจนมาก่อนเป็นเวลานานหลายๆ เดือนก็ได้
อาการ
ผู้ ป่วยจะแสดงความผิดปกติหลายๆ ด้านร่วมกัน คือมีความผิดปกติของความนึกคิด พฤติกรรม และอารมณ์มักจะเสียความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง เช่น เฉยเมย ไม่ยินดียินร้าย ไม่สนใจและไม่แสดงปฏิกิริยาทางอารมณ์หรือท่าที ไม่ว่าญาติหรือเพื่อนฝูงจะเป็นอย่างไรหรือแสดงต่อเขาอย่างไร ขาดความสนใจและความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ไม่สนใจโลกภายนอก เช่น ใครจะรักกัน ไฟจะไหม้ที่ใดก็ไม่รู้ มักแยกตัวอยู่คนเดียวไม่เข้ากลุ่ม เช่น เคยรับประทานอาหารที่โต๊ะพร้อมหน้าบิดามารดา ก็แยกไปรับประทานคนเดียวในห้องนอน ชอบอยู่แต่ในห้องไม่ออกมาสังสรรค์กับครอบครัว เคยไปงานสังคมต่างๆ เช่น งานเลี้ยง งานศพ ก็ไม่ไปโดยไม่มีเหตุผล ความประพฤติมักเสื่อมถอยกลับไปคล้ายผู้ที่อยู่ในวัยอ่อนกว่า หรือบางรายอาจคล้ายทารกไปเลย เช่น ผู้ป่วยอายุ 30 ปี อาจแสดงกิริยาวาจาหรือแต่งกายคล้ายเด็กอายุ 10 ขวบ บางรายไม่ชอบสวมเสื้อผ้า มิใช่เพื่อโอ้อวดร่างกายส่วนที่ควรปกปิด หรือเพราะเกิดอารมณ์ทางเพศอย่างที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิด แต่เป็นเพราะสภาพของจิตใจที่เสื่อมถอยกลับไปสู่วัยเด็กหรือวัยทารกดังกล่าว นั่นเอง ท่านคงสังเกตว่า ทารกหรือเด็กเล็กไม่ใคร่ชอบสวมเสื้อผ้าโดยไม่รู้สึกกระดากอาย ผู้ป่วยจิตเภทบางรายหัวเราะคิดคักอย่างไม่มีเหตุผล พูดคนเดียว หรือพูดกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน
ผู้ป่วยจิตเภทอาจมีพฤติกรรมแปลก ประหลาด เช่น ลุกขึ้นอาบน้ำเวลาตีสามขณะอากาศหนาว ลงไปแช่ในตุ่มน้ำที่ขังไว้สำหรับริโภค แต่งกายพิกลผิดผู้อื่นและผิดไปจากบุคลิกภาพเดิมของตนอย่างมาก หัวเราะสลับกับร้องไห้ จุดธูปสวดมนต์ทั้งวัน ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น บางรายเอะอะ อาละวาด หยาบคาย ก้าวร้าว หรือพูดจาเลอะเทอะไม่ได้ใจความหรือบางรายอาจไม่พูดเลยคล้ายเป็นใบ้ ไม่ยอมรับประทานอาหาร ไม่ยอมเคลื่อนไหวเหมือนรูปปั้น
นอกจากนี้ ผู้ป่วยจิตเภทบางรายอาจมีความผิดปกติซึ่งไม่เป็นความจริงในชีวิตของเขา เช่น หลงผิดว่าภรรยาเป็นชู้กับชายเพื่อนบ้าน หลงผิดว่าคู่สมรสหรือเพื่อนของตนมีความมุ่งร้ายจะเอาชีวิต หลงผิดว่าตนเป็นมหาเศรษฐีมีเงินหลายล้านบาท บางรายมีประสาทหลอน เช่น หูแว่วได้ยินเสียงเพื่อนด่าหยาบคาย ได้ยินเสียงบิดาสั่งให้ตัดนิ้วตนเองทิ้งเสีย หรือมีประสาทหลอนทางตา เห็นเป็นภาพหลอนว่าภรรยากำลังถือมีดตรงเข้ามาจะทำร้ายตน ผู้ป่วยหวาดกลัวมากจนอาจหาทางป้องกันตัว โดยรีบคว้าปืนยิงภรรยาเสียก่อน ทำให้เกิดคดีฆาตกรรม ซึ่งเป็นเรื่องชวนสลดใจที่ไม่น่าเกิดขึ้นเพราะเป็นสิ่งที่ป้องกันได้
จาก การศึกษาผู้ป่วยคดีในโรงพยาบาลจิตเวชพบว่า มีหลายรายที่การฆาตกรรมนั้นเกิดจากอาการทางจิต คือเกิดจากอาการหลงผิดหวาดระแวง หรือประสาทหลอน และอาการผิดปกติเหล่านี้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดก็สังเกตเห็นมาก่อน แต่ไม่รีบพาไปรักษาด้วยความนิ่งนอนใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงปรากฏข่าวสะเทือนขวัญในหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ ในทำนองพ่อใช้ขวานฟันคอลูกในเปล สามีแทงภรรยาที่กำลังนั่งหันหลังทำกับข้าว เป็นต้น
ผู้ป่วยจิตเภทไม่จำเป็นต้องมีอาการดังกล่าวหลายอย่าง ร่วมกัน บางคนอาจแสดงอาการผิดปกติให้เห็นเพียงอย่างเดียวหรือสองอย่างก็ได้ เช่น อาจมีเพียงอาการหลงผิดชนิดระแวงร่วมกับหูแว่ว โดยยังคงประกอบกิจวัตรประจำวันได้เช่นปกติ และพูดคุยได้เรื่องราวดี บางคนอาจเพียงแต่แยกตัวเอง เฉื่อยเฉยไม่ทำการงาน ไม่ยินดียินร้ายแต่ก็ไม่เอะอะอาละวาด วุ่นวาย และไม่มีประสาทหลอนหลงผิดแต่อย่างใด
ตำราแพทย์แขนงจิตเวชศาสตร์ จึงแบ่งการวินิจฉัยโรคจิตเภทออกเป็นย่อยๆ อีกหลายประเภท ซึ่งจิตแพทย์ใช้ประกอบการพิจารณาทางวิชาการเพื่อให้การรักษาและพยากรณ์โรค
อาการ ต่างๆ ที่บรรยายมาข้างต้นล้วนเป็นอาการซึ่งผู้ใกล้ชิดจะสังเกตเห็นได้อย่างค่อน ข้างชัดเจน ไม่จำเป็นต้องมีพื้นเพความรู้ทางจิตเวชศาสตร์ก็พอทราบได้ว่าบุคคลนั้นเริ่ม ป่วยเป็นโรคจิตแล้ว จึงไม่ควรรีรอหรือลังเลที่จะพาไปหาจิตแพทย์เลย
สาเหตุ
จาก การศึกษาและงานวิจัยมากมาย ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุที่ชัดเจนของโรคจิตเภทได้ อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่า โรคจิตเภทเกิดจากความผิดปกติทางชีวเคมีของร่างกายที่มีชื่อว่าโดปามีน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมอง หรือพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกันเป็นพหุปัจจัย จิตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเชื่อว่า สิ่งแวดล้อมทางจิตใจและสังคมซึ่งเริ่มตั้งแต่ในวัยทารกมีอิทธิพลไม่น้อย ในอันที่จะช่วยส่งเสริม หรือสนับสนุนให้เกิดอาการของโรค สิ่งแวดล้อมนี้มีความหมายกว้าง นับตั้งแต่บุคลิกภาพและท่าทีของบิดามารดาที่ต่อผู้ป่วย เช่น ญาติ ครู เพื่อน ผู้บังคับบัญ ชา ผู้ร่วมงาน ฯลฯ แต่อิทธิพลที่สำคัญที่สุดคือ ความสัมพันธ์และท่าทีของมารดาต่อผู้ป่วยตั้งแต่ในวัยทารก มารดาได้ให้ความรักความเข้าใจและความอบอุ่นอย่างถูกต้องและพอเพียงหรือไม่ เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาที่กระด้างชาเย็น เจ้าอารมณ์ ดุร้าย ทารุณ หรือตรงกันข้าม ปกป้องฟูมฟักบุตรจนเกินควร มีโอกาสและมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคทางจิตเวชหลายๆ ชนิด รวมทั้งโรคจิตเภทได้มากกว่าเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาที่อบอุ่น อารมณ์คงเส้นคงวา และบรรลุวุฒิภาวะ
อุบัติการณ์และระบาดวิทยา
จิตเภท เป็นโรคจิตที่พบมากที่สุดในบรรดาโรคจิตทั้งหมด เกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศ ทุกระดับการศึกษา อาชีพ และเศรษฐานะ แม้ว่างานค้นคว้าวิจัยในต่างประเทศจะแสดงว่าประชาชนในระดับเศรษฐกิจและสังคม ต่ำเป็นโรคจิตเภทมากกว่าพวกระดับเศรษฐกิจและสังคมสูงก็ตาม
จาก สถิติผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต ปี พ.ศ. 2504 ผู้ป่วยโรคจิตที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล 2,406 ราย เป็นโรคจิตเภทเสีย 1,141 ราย หรือ 59.65% ของผู้ป่วยโรคจิตทั้งหมด จึงเห็นได้ว่า จิตเภทเป็นโรคจิตที่พบได้มากที่สุดในโรงพยาบาลจิตเวชของประเทศไทย สถิติที่ได้ใกล้เคียงกับสถิติของโรงพยาบาลจิตเวชในต่างประเทศมาก
ผู้ ป่วยโรคจิตเภทที่มารับบริการของโรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ ซึ่งมีอยู่ 17 โรงพยาบาล ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศนั้น ประกอบไปด้วยผู้ป่วยทั้งที่เป็นนักศึกษาจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ครูอาจารย์ แพทย์ ข้าราชการพลเรือน พ่อค้า ชาวนา ชาวสวน กรรมกร ฯลฯ
โรค นี้พบมากในเกณฑ์อายุ 15-44 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บุคคลต้องเผชิญปัญหาการปรับตัวกับเหตุการณ์และความตึง เครียดของชีวิตหลายๆ ด้าน เช่น ปัญหาการศึกษา อาชีพ การสมรส การสร้างฐานะและครอบครัว เป็นต้น ฯลฯ ในเด็กและผู้ชราก็อาจพบโรคนี้ได้บ้าง แต่อุบัติการต่ำกว่าในวัยเจริญพันธุ์มาก
การรักษา
การ รักษาโรคทางจิตเวชได้วิวัฒนาการไปมาก เมื่อเทียบกับสมัยก่อน เช่น เมื่อศตวรรษก่อน ในยุคที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาเพิ่งเปิดรับผู้ป่วยโรคจิต ในครั้งกระนั้น โรงพยาบาลยังไม่มีแพทย์ศึกษาอบรมทางจิตเวชศาสตร์โดยตรง และนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่พบยาสงบประสาทที่ให้ผลดีเยี่ยมเช่นในปัจจุบันนี้ การดูแลผู้ป่วยโรคจิตจึงเป็นไปอย่างล้าสมัย
แต่ในปัจจุบันเรา กล้ากล่าวได้ว่า การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคจิตของโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เป็นการดูแลรักษาที่ทันสมัยเทียบเท่าอารยประเทศ แม้เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา โรงพยาบาลมีหอผู้ป่วยหรือที่พักและเครื่องอำนวยความสะดวกเช่นเดียวกับโรง พยาบาลฝ่ายกายทั่วไปมิได้กักขังหรือผูกมัดผู้ป่วยไว้ในห้องลูกกรงเหล็กเช่น ที่ประชาชนบางคนเข้าใจผิด
ผู้ร่วมงานฝ่ายรักษาประกอบด้วยจิตแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา
อนึ่ง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท มิได้หมายความว่าจะต้องเข้าอยู่ในโรงพยาบาลทุกรายไป มีผู้ป่วยจำนวนมากที่อาจได้รับผลดีจากการรักษาแบบผู้ป่วยนอกคือยังอยู่บ้าน ได้ แต่มาพบแพทย์สม่ำเสมอตามกำหนดนัด เช่น สัปดาห์ละครั้ง ญาติผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดว่าเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการทางจิต แพทย์จะต้องรับไว้ เมื่อแพทย์แนะนำให้รักษาแบบผู้ป่วยนอกก็โกรธ โดยเข้าใจผิดว่า โรงพยาบาลปฏิเสธไม่ให้บริการแก่ผู้ป่วย ปัจจุบันนี้ ยังไม่มีโรงพยาบาลใดในโลกจะสามารถรับผู้ป่วยที่มารับการรักษาไว้เป็นผู้ป่วย ในได้หมดทุกราย เพราะนอกจากปัญหาใหญ่เรื่องจำนวนเตียงไม่พอกับจำนวนผู้ป่วยแล้วผู้ป่วยบาง รายโรคหรือโรคเดียวกันแต่อาการต่างกัน บางรายรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ผลดีกว่าด้วยซ้ำไป
ในกรณีผู้ป่วยโรค จิตเภท ผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการ อาการไม่รุนแรง ควบคุมเองได้ ญาติช่วยดูแลได้ หรือยังพอประกอบอาชีพได้ ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าอยู่ในโรงพยาบาล
การพิจารณาว่าผู้ป่วยสมควร เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือไม่ จึงควรเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้ตรวจเท่านั้น ญาติหรือผู้พาผู้ป่วยมาจึงควรรับฟังความเห็นของแพทย์
วิธีการ รักษาส่วนใหญ่ใช้ยารักษาโรคจิตเป็นหลัก ยาประเภทนี้มีหลายชนิดแพทย์จะเลือกสั่งให้เหมาะสมกับอาการของโรค ญาติจึงไม่ควรซื้อยาตามร้านขายยาให้ผู้ป่วยรับประทานเอง เพราะนอกจากจะไม่ถูกกับอาการของโรคแล้ว ยังอาจเกิดอันตรายได้
ผู้ป่วยที่รับไว้ในโรงพยาบาล ยังมีวิธีการรักษาแบบอื่นร่วมด้วย ซึ่งแพทย์ผู้รักษาจะเลือกวิธีการร่วมเป็นรายๆ ไป เช่น
1. การทำจิตบำบัด คือ การทำให้ผู้ป่วยสบายใจขึ้น โดยพูดถึงปัญหาของผู้ป่วยด้วยการสร้างความสัมพันธ์กับแพทย์ผู้รักษา
2. การรักษาด้วยไฟฟ้า ใช้ในผู้ป่วยบางราย
3. อาชีวบำบัด คือการรักษาแบบให้ผู้ป่วยทำงาน เช่น งานหัตถกรรมประดิษฐ์ของต่างๆ งานเย็บสาน จักทอ เพื่อมิให้ผู้ป่วยมีเวลาว่างฟุ้งซ่าน ขณะเดียวกันก็ให้ประโยชน์ทางการรักษาด้วย เพราะกรรมวิธีของงานบางอย่างเป็นหนทางให้ผู้ป่วยได้ระบายอารมณ์หรือความ รู้สึกภายในด้วย เช่น การใช้ฆ้อนย้ำทุบเปลือกมะพร้าวแรงๆ เพื่อนำไปทำพรหมเช็ดเท้าเป็นทางระบายอารมณ์โกรธหรือความรู้สึกอยากทำร้ายผู้ อื่น นอกจากนี้เมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลไป อาจนำความชำนาญที่ได้รับไปประกอบอาชีพได้
4. สันทนาการบำบัดและการฟื้นฟูบุคลิกภาพ คือ การหย่อนใจ การกีฬา ศิลปะ และการรื่นเริงต่างๆ ซึ่ง นอกจากจะให้ประโยชน์ทางระบายอารมณ์และช่วยฟื้นฟูบุคลิกภาพของผู้ป่วยแล้วยัง ช่วยให้ผู้ป่วยโรคจิตซึ่งมักเสียความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น หรือแยกตัวจากสังคมได้ฝึกปรับตัวเข้าสังคมและสร้างความสัมพันธ์กับบุคลอื่น ด้วย อันเป็นการกรุยทางให้เขาได้กลับไปสู่สังคมและชุมชน อย่างที่สังคมและชุมชนเต็มใจต้อนรับเขา ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเภท
โรคจิตเภทส่วนมาก มักเป็นๆ หายๆ แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมในครอบครัวและในสังคมของเขาเหมาะสม เช่น ครอบครัวอบอุ่น มีความเข้าใจ เห็นใจ และยอมรับผู้ป่วย เต็มใจรับผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลกลับคืนสู่ครอบครัวอย่างจริงใจ สังคมและชุมชนไม่แสดงความรังเกียจผู้ป่วยและผู้ป่วยเลือกดำเนินชีวิตอย่าง ไม่ต้องพบความตรึงเครียดมากนัก ผู้ป่วยเองติดตามผลการรักษากับแพทย์สม่ำเสมอ อาการก็มักไม่กลับกำเริบอีก
ในทางตรงกันข้าม หากสภาพครอบครัวและชุมชนของผู้ป่วยไม่เอื้ออำนวยหรือผู้ป่วยไม่ได้รับการ รักษาที่ถูกต้องและพอเพียง ก็อาจมีอาการกำเริบบ่อยครั้ง หรืออาจเป็นเรื้อรังจนบุคลิกภาพเสื่อมกลับคืนสู่สภาพปกติไม่ได้ตลอดชีวิต
อย่าง ไรก็ตาม การอบรมเลี้ยงบุตรหลานอย่างถูกต้องตามหลักสุขภาพจิตอันจะให้เยาวชนเจริญเติบ โตอย่างมีสุขภาพจิตดี ซึ่งนอกจากจะเป็นการป้องกันมิให้โรคจิตเภทกลับเป็นซ้ำอีก ยังเป็นการป้องกันโรคจิตโรคประสาทอื่นๆ และบุคลิกภาพแปรปรวนต่างๆ อีกด้วย
*******************************************
ที่มาของข้อมูล: จาก คู่มือจิตเวชศาสตร์ สำหรับประชาชน หน้า 157-160.
โดย. พญ.สุพัฒนา เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา /คู่มือจิตเวชศาสตร์ สำหรับประชาชน หน้า 157-160
ประชาชน จำนวนไม่น้อยมีความเข้าใจผิดและเชื่ออย่างผิดๆ ว่าโรคจิตเป็นโรคที่เกิดจากการกระทำของภูตผีปีศาจ และเป็นโรคที่รักษาไม่หาย จึงไม่พาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลจิตเวชแต่กลับพาไปรดน้ำมนต์ เข้าทรง หรือปล่อยให้อยู่กับบ้านไปตามบุญตามกรรม บางรายในชนบทถึงกับล่ามโซ่ผู้ป่วยไว้กับเสาเรือน
จึงขอให้ท่าน ผู้อ่านโปรดเข้าใจ และเมื่อมีโอกาสก็ขอได้โปรดบอกกล่าวต่อๆ กันไปด้วยว่า โรคจิตนั้นส่วนมากรักษาให้หายได้เช่นเดียวกับโรคทางกาย ถ้าหากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเสียแต่เนิ่นๆ อย่างไรก็ตาม โรคจิตก็เช่นเดียวกับโรคอื่นๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ฯลฯ บางรายอาจหายขาด บางรายเพียงแต่ทุเลา และบางรายก็อาจเป็นเรื้อรังตลอดชีวิต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยปลายประการ เช่น ประเภทหรือลักษณะของโรคนั้น ความรุนแรง และระยะเวลาที่เป็นมา
จิตเภท
ใน บรรดาผู้ป่วยโรคจิตที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลจิตเวชทุกแห่งทั่วประเทศไทย จิตเภทเป็นโรคที่พบได้มากที่สุด เมื่อเทียบกับโรคจิตประเภทอื่นๆ ผู้ป่วยจิตเภทแสดงอาการของโรคจิตให้ผู้ใกล้ชิดสังเกตเห็นได้ชัดเจนกว่า จึงสมควรที่ประชาชนจะได้ทราบลักษณะอาการและวิธีการช่วยเหลือ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว
ไม่ว่าโรค จิตหรือโรคประสาทชนิดใดๆ ระยะเวลาและผลของการรักษาขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่อาการของโรคดำเนินมา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ยิ่งมาหาแพทย์เร็วเท่าใดอาการก็ทุเลาได้เร็วและทุเลาได้มากเท่านั้น ผู้ป่วยที่มีอาการมานานโรคย่อมเรื้อรังรักษาหายได้ยาก หรือในบางรายไม่อาจรักษาให้หายเป็นปกติได้เลยญาติหรือผู้ใกล้ชิดจึงควรรีบพา ผู้ป่วยมาพบจิตแพทย์โดยเร็วที่สุด
จิตเภทเป็นโรคจิตชนิดหนึ่ง แปลจากชื่อโรคในภาษาอังกฤษว่า ?schizophrenia? ผู้ป่วยอาจเกิดอาการไม่ชัดเจนมาก่อนเป็นเวลานานหลายๆ เดือนก็ได้
อาการ
ผู้ ป่วยจะแสดงความผิดปกติหลายๆ ด้านร่วมกัน คือมีความผิดปกติของความนึกคิด พฤติกรรม และอารมณ์มักจะเสียความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง เช่น เฉยเมย ไม่ยินดียินร้าย ไม่สนใจและไม่แสดงปฏิกิริยาทางอารมณ์หรือท่าที ไม่ว่าญาติหรือเพื่อนฝูงจะเป็นอย่างไรหรือแสดงต่อเขาอย่างไร ขาดความสนใจและความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ไม่สนใจโลกภายนอก เช่น ใครจะรักกัน ไฟจะไหม้ที่ใดก็ไม่รู้ มักแยกตัวอยู่คนเดียวไม่เข้ากลุ่ม เช่น เคยรับประทานอาหารที่โต๊ะพร้อมหน้าบิดามารดา ก็แยกไปรับประทานคนเดียวในห้องนอน ชอบอยู่แต่ในห้องไม่ออกมาสังสรรค์กับครอบครัว เคยไปงานสังคมต่างๆ เช่น งานเลี้ยง งานศพ ก็ไม่ไปโดยไม่มีเหตุผล ความประพฤติมักเสื่อมถอยกลับไปคล้ายผู้ที่อยู่ในวัยอ่อนกว่า หรือบางรายอาจคล้ายทารกไปเลย เช่น ผู้ป่วยอายุ 30 ปี อาจแสดงกิริยาวาจาหรือแต่งกายคล้ายเด็กอายุ 10 ขวบ บางรายไม่ชอบสวมเสื้อผ้า มิใช่เพื่อโอ้อวดร่างกายส่วนที่ควรปกปิด หรือเพราะเกิดอารมณ์ทางเพศอย่างที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิด แต่เป็นเพราะสภาพของจิตใจที่เสื่อมถอยกลับไปสู่วัยเด็กหรือวัยทารกดังกล่าว นั่นเอง ท่านคงสังเกตว่า ทารกหรือเด็กเล็กไม่ใคร่ชอบสวมเสื้อผ้าโดยไม่รู้สึกกระดากอาย ผู้ป่วยจิตเภทบางรายหัวเราะคิดคักอย่างไม่มีเหตุผล พูดคนเดียว หรือพูดกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน
ผู้ป่วยจิตเภทอาจมีพฤติกรรมแปลก ประหลาด เช่น ลุกขึ้นอาบน้ำเวลาตีสามขณะอากาศหนาว ลงไปแช่ในตุ่มน้ำที่ขังไว้สำหรับริโภค แต่งกายพิกลผิดผู้อื่นและผิดไปจากบุคลิกภาพเดิมของตนอย่างมาก หัวเราะสลับกับร้องไห้ จุดธูปสวดมนต์ทั้งวัน ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น บางรายเอะอะ อาละวาด หยาบคาย ก้าวร้าว หรือพูดจาเลอะเทอะไม่ได้ใจความหรือบางรายอาจไม่พูดเลยคล้ายเป็นใบ้ ไม่ยอมรับประทานอาหาร ไม่ยอมเคลื่อนไหวเหมือนรูปปั้น
นอกจากนี้ ผู้ป่วยจิตเภทบางรายอาจมีความผิดปกติซึ่งไม่เป็นความจริงในชีวิตของเขา เช่น หลงผิดว่าภรรยาเป็นชู้กับชายเพื่อนบ้าน หลงผิดว่าคู่สมรสหรือเพื่อนของตนมีความมุ่งร้ายจะเอาชีวิต หลงผิดว่าตนเป็นมหาเศรษฐีมีเงินหลายล้านบาท บางรายมีประสาทหลอน เช่น หูแว่วได้ยินเสียงเพื่อนด่าหยาบคาย ได้ยินเสียงบิดาสั่งให้ตัดนิ้วตนเองทิ้งเสีย หรือมีประสาทหลอนทางตา เห็นเป็นภาพหลอนว่าภรรยากำลังถือมีดตรงเข้ามาจะทำร้ายตน ผู้ป่วยหวาดกลัวมากจนอาจหาทางป้องกันตัว โดยรีบคว้าปืนยิงภรรยาเสียก่อน ทำให้เกิดคดีฆาตกรรม ซึ่งเป็นเรื่องชวนสลดใจที่ไม่น่าเกิดขึ้นเพราะเป็นสิ่งที่ป้องกันได้
จาก การศึกษาผู้ป่วยคดีในโรงพยาบาลจิตเวชพบว่า มีหลายรายที่การฆาตกรรมนั้นเกิดจากอาการทางจิต คือเกิดจากอาการหลงผิดหวาดระแวง หรือประสาทหลอน และอาการผิดปกติเหล่านี้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดก็สังเกตเห็นมาก่อน แต่ไม่รีบพาไปรักษาด้วยความนิ่งนอนใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงปรากฏข่าวสะเทือนขวัญในหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ ในทำนองพ่อใช้ขวานฟันคอลูกในเปล สามีแทงภรรยาที่กำลังนั่งหันหลังทำกับข้าว เป็นต้น
ผู้ป่วยจิตเภทไม่จำเป็นต้องมีอาการดังกล่าวหลายอย่าง ร่วมกัน บางคนอาจแสดงอาการผิดปกติให้เห็นเพียงอย่างเดียวหรือสองอย่างก็ได้ เช่น อาจมีเพียงอาการหลงผิดชนิดระแวงร่วมกับหูแว่ว โดยยังคงประกอบกิจวัตรประจำวันได้เช่นปกติ และพูดคุยได้เรื่องราวดี บางคนอาจเพียงแต่แยกตัวเอง เฉื่อยเฉยไม่ทำการงาน ไม่ยินดียินร้ายแต่ก็ไม่เอะอะอาละวาด วุ่นวาย และไม่มีประสาทหลอนหลงผิดแต่อย่างใด
ตำราแพทย์แขนงจิตเวชศาสตร์ จึงแบ่งการวินิจฉัยโรคจิตเภทออกเป็นย่อยๆ อีกหลายประเภท ซึ่งจิตแพทย์ใช้ประกอบการพิจารณาทางวิชาการเพื่อให้การรักษาและพยากรณ์โรค
อาการ ต่างๆ ที่บรรยายมาข้างต้นล้วนเป็นอาการซึ่งผู้ใกล้ชิดจะสังเกตเห็นได้อย่างค่อน ข้างชัดเจน ไม่จำเป็นต้องมีพื้นเพความรู้ทางจิตเวชศาสตร์ก็พอทราบได้ว่าบุคคลนั้นเริ่ม ป่วยเป็นโรคจิตแล้ว จึงไม่ควรรีรอหรือลังเลที่จะพาไปหาจิตแพทย์เลย
สาเหตุ
จาก การศึกษาและงานวิจัยมากมาย ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุที่ชัดเจนของโรคจิตเภทได้ อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่า โรคจิตเภทเกิดจากความผิดปกติทางชีวเคมีของร่างกายที่มีชื่อว่าโดปามีน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมอง หรือพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกันเป็นพหุปัจจัย จิตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเชื่อว่า สิ่งแวดล้อมทางจิตใจและสังคมซึ่งเริ่มตั้งแต่ในวัยทารกมีอิทธิพลไม่น้อย ในอันที่จะช่วยส่งเสริม หรือสนับสนุนให้เกิดอาการของโรค สิ่งแวดล้อมนี้มีความหมายกว้าง นับตั้งแต่บุคลิกภาพและท่าทีของบิดามารดาที่ต่อผู้ป่วย เช่น ญาติ ครู เพื่อน ผู้บังคับบัญ ชา ผู้ร่วมงาน ฯลฯ แต่อิทธิพลที่สำคัญที่สุดคือ ความสัมพันธ์และท่าทีของมารดาต่อผู้ป่วยตั้งแต่ในวัยทารก มารดาได้ให้ความรักความเข้าใจและความอบอุ่นอย่างถูกต้องและพอเพียงหรือไม่ เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาที่กระด้างชาเย็น เจ้าอารมณ์ ดุร้าย ทารุณ หรือตรงกันข้าม ปกป้องฟูมฟักบุตรจนเกินควร มีโอกาสและมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคทางจิตเวชหลายๆ ชนิด รวมทั้งโรคจิตเภทได้มากกว่าเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาที่อบอุ่น อารมณ์คงเส้นคงวา และบรรลุวุฒิภาวะ
อุบัติการณ์และระบาดวิทยา
จิตเภท เป็นโรคจิตที่พบมากที่สุดในบรรดาโรคจิตทั้งหมด เกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศ ทุกระดับการศึกษา อาชีพ และเศรษฐานะ แม้ว่างานค้นคว้าวิจัยในต่างประเทศจะแสดงว่าประชาชนในระดับเศรษฐกิจและสังคม ต่ำเป็นโรคจิตเภทมากกว่าพวกระดับเศรษฐกิจและสังคมสูงก็ตาม
จาก สถิติผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต ปี พ.ศ. 2504 ผู้ป่วยโรคจิตที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล 2,406 ราย เป็นโรคจิตเภทเสีย 1,141 ราย หรือ 59.65% ของผู้ป่วยโรคจิตทั้งหมด จึงเห็นได้ว่า จิตเภทเป็นโรคจิตที่พบได้มากที่สุดในโรงพยาบาลจิตเวชของประเทศไทย สถิติที่ได้ใกล้เคียงกับสถิติของโรงพยาบาลจิตเวชในต่างประเทศมาก
ผู้ ป่วยโรคจิตเภทที่มารับบริการของโรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ ซึ่งมีอยู่ 17 โรงพยาบาล ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศนั้น ประกอบไปด้วยผู้ป่วยทั้งที่เป็นนักศึกษาจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ครูอาจารย์ แพทย์ ข้าราชการพลเรือน พ่อค้า ชาวนา ชาวสวน กรรมกร ฯลฯ
โรค นี้พบมากในเกณฑ์อายุ 15-44 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บุคคลต้องเผชิญปัญหาการปรับตัวกับเหตุการณ์และความตึง เครียดของชีวิตหลายๆ ด้าน เช่น ปัญหาการศึกษา อาชีพ การสมรส การสร้างฐานะและครอบครัว เป็นต้น ฯลฯ ในเด็กและผู้ชราก็อาจพบโรคนี้ได้บ้าง แต่อุบัติการต่ำกว่าในวัยเจริญพันธุ์มาก
การรักษา
การ รักษาโรคทางจิตเวชได้วิวัฒนาการไปมาก เมื่อเทียบกับสมัยก่อน เช่น เมื่อศตวรรษก่อน ในยุคที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาเพิ่งเปิดรับผู้ป่วยโรคจิต ในครั้งกระนั้น โรงพยาบาลยังไม่มีแพทย์ศึกษาอบรมทางจิตเวชศาสตร์โดยตรง และนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่พบยาสงบประสาทที่ให้ผลดีเยี่ยมเช่นในปัจจุบันนี้ การดูแลผู้ป่วยโรคจิตจึงเป็นไปอย่างล้าสมัย
แต่ในปัจจุบันเรา กล้ากล่าวได้ว่า การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคจิตของโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เป็นการดูแลรักษาที่ทันสมัยเทียบเท่าอารยประเทศ แม้เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา โรงพยาบาลมีหอผู้ป่วยหรือที่พักและเครื่องอำนวยความสะดวกเช่นเดียวกับโรง พยาบาลฝ่ายกายทั่วไปมิได้กักขังหรือผูกมัดผู้ป่วยไว้ในห้องลูกกรงเหล็กเช่น ที่ประชาชนบางคนเข้าใจผิด
ผู้ร่วมงานฝ่ายรักษาประกอบด้วยจิตแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา
อนึ่ง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท มิได้หมายความว่าจะต้องเข้าอยู่ในโรงพยาบาลทุกรายไป มีผู้ป่วยจำนวนมากที่อาจได้รับผลดีจากการรักษาแบบผู้ป่วยนอกคือยังอยู่บ้าน ได้ แต่มาพบแพทย์สม่ำเสมอตามกำหนดนัด เช่น สัปดาห์ละครั้ง ญาติผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดว่าเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการทางจิต แพทย์จะต้องรับไว้ เมื่อแพทย์แนะนำให้รักษาแบบผู้ป่วยนอกก็โกรธ โดยเข้าใจผิดว่า โรงพยาบาลปฏิเสธไม่ให้บริการแก่ผู้ป่วย ปัจจุบันนี้ ยังไม่มีโรงพยาบาลใดในโลกจะสามารถรับผู้ป่วยที่มารับการรักษาไว้เป็นผู้ป่วย ในได้หมดทุกราย เพราะนอกจากปัญหาใหญ่เรื่องจำนวนเตียงไม่พอกับจำนวนผู้ป่วยแล้วผู้ป่วยบาง รายโรคหรือโรคเดียวกันแต่อาการต่างกัน บางรายรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ผลดีกว่าด้วยซ้ำไป
ในกรณีผู้ป่วยโรค จิตเภท ผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการ อาการไม่รุนแรง ควบคุมเองได้ ญาติช่วยดูแลได้ หรือยังพอประกอบอาชีพได้ ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าอยู่ในโรงพยาบาล
การพิจารณาว่าผู้ป่วยสมควร เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือไม่ จึงควรเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้ตรวจเท่านั้น ญาติหรือผู้พาผู้ป่วยมาจึงควรรับฟังความเห็นของแพทย์
วิธีการ รักษาส่วนใหญ่ใช้ยารักษาโรคจิตเป็นหลัก ยาประเภทนี้มีหลายชนิดแพทย์จะเลือกสั่งให้เหมาะสมกับอาการของโรค ญาติจึงไม่ควรซื้อยาตามร้านขายยาให้ผู้ป่วยรับประทานเอง เพราะนอกจากจะไม่ถูกกับอาการของโรคแล้ว ยังอาจเกิดอันตรายได้
ผู้ป่วยที่รับไว้ในโรงพยาบาล ยังมีวิธีการรักษาแบบอื่นร่วมด้วย ซึ่งแพทย์ผู้รักษาจะเลือกวิธีการร่วมเป็นรายๆ ไป เช่น
1. การทำจิตบำบัด คือ การทำให้ผู้ป่วยสบายใจขึ้น โดยพูดถึงปัญหาของผู้ป่วยด้วยการสร้างความสัมพันธ์กับแพทย์ผู้รักษา
2. การรักษาด้วยไฟฟ้า ใช้ในผู้ป่วยบางราย
3. อาชีวบำบัด คือการรักษาแบบให้ผู้ป่วยทำงาน เช่น งานหัตถกรรมประดิษฐ์ของต่างๆ งานเย็บสาน จักทอ เพื่อมิให้ผู้ป่วยมีเวลาว่างฟุ้งซ่าน ขณะเดียวกันก็ให้ประโยชน์ทางการรักษาด้วย เพราะกรรมวิธีของงานบางอย่างเป็นหนทางให้ผู้ป่วยได้ระบายอารมณ์หรือความ รู้สึกภายในด้วย เช่น การใช้ฆ้อนย้ำทุบเปลือกมะพร้าวแรงๆ เพื่อนำไปทำพรหมเช็ดเท้าเป็นทางระบายอารมณ์โกรธหรือความรู้สึกอยากทำร้ายผู้ อื่น นอกจากนี้เมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลไป อาจนำความชำนาญที่ได้รับไปประกอบอาชีพได้
4. สันทนาการบำบัดและการฟื้นฟูบุคลิกภาพ คือ การหย่อนใจ การกีฬา ศิลปะ และการรื่นเริงต่างๆ ซึ่ง นอกจากจะให้ประโยชน์ทางระบายอารมณ์และช่วยฟื้นฟูบุคลิกภาพของผู้ป่วยแล้วยัง ช่วยให้ผู้ป่วยโรคจิตซึ่งมักเสียความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น หรือแยกตัวจากสังคมได้ฝึกปรับตัวเข้าสังคมและสร้างความสัมพันธ์กับบุคลอื่น ด้วย อันเป็นการกรุยทางให้เขาได้กลับไปสู่สังคมและชุมชน อย่างที่สังคมและชุมชนเต็มใจต้อนรับเขา ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเภท
โรคจิตเภทส่วนมาก มักเป็นๆ หายๆ แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมในครอบครัวและในสังคมของเขาเหมาะสม เช่น ครอบครัวอบอุ่น มีความเข้าใจ เห็นใจ และยอมรับผู้ป่วย เต็มใจรับผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลกลับคืนสู่ครอบครัวอย่างจริงใจ สังคมและชุมชนไม่แสดงความรังเกียจผู้ป่วยและผู้ป่วยเลือกดำเนินชีวิตอย่าง ไม่ต้องพบความตรึงเครียดมากนัก ผู้ป่วยเองติดตามผลการรักษากับแพทย์สม่ำเสมอ อาการก็มักไม่กลับกำเริบอีก
ในทางตรงกันข้าม หากสภาพครอบครัวและชุมชนของผู้ป่วยไม่เอื้ออำนวยหรือผู้ป่วยไม่ได้รับการ รักษาที่ถูกต้องและพอเพียง ก็อาจมีอาการกำเริบบ่อยครั้ง หรืออาจเป็นเรื้อรังจนบุคลิกภาพเสื่อมกลับคืนสู่สภาพปกติไม่ได้ตลอดชีวิต
อย่าง ไรก็ตาม การอบรมเลี้ยงบุตรหลานอย่างถูกต้องตามหลักสุขภาพจิตอันจะให้เยาวชนเจริญเติบ โตอย่างมีสุขภาพจิตดี ซึ่งนอกจากจะเป็นการป้องกันมิให้โรคจิตเภทกลับเป็นซ้ำอีก ยังเป็นการป้องกันโรคจิตโรคประสาทอื่นๆ และบุคลิกภาพแปรปรวนต่างๆ อีกด้วย
*******************************************
ที่มาของข้อมูล: จาก คู่มือจิตเวชศาสตร์ สำหรับประชาชน หน้า 157-160.
การขจัดทุกข์ด้วยตนเอง
การขจัดทุกข์ด้วยตนเอง
คู่มือดูแลตนเอง ทำอย่างไรเมื่อใจเป็นทุกข์/ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข หน้า 9-17
การขจัดทุกข์ด้วยตนเอง
เมื่อ เกิดทุกข์มากๆ ผลที่ตามมาไม่ได้มีต่อจิตใจหรืออารมณ์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วเท่านั้น แต่จะมีผลกระทบต่อร่างกายและความเป็นอยู่ทุกอย่างของเราด้วย เช่น คนส่วนใหญ่จะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ หรือบางคนอาจจะกินมากขึ้น นอนมากกว่าปกติ ไม่อยากพูดกับใคร ไม่อยากทำงาน หรือทำงานไม่ได้เพราะจิตใจว้าวุ่นถ้าเรารู้สึกว่าทุกข์มาก กลุ้มมาก ควรจะขจัดออกไปให้เร็วและมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
ต้องยอมรับว่าเรามีความทุกข์ต้องรีบแก้ไข
หา สาเหตุของความทุกข์นั้น ว่าเราทุกข์เรื่องอะไร ใครที่ทำให้เราทุกข์ และตัวเรามีส่วนทำให้เกิดความทุกข์เองด้วยหรือไม่ เช่น คนรักทิ้งเราไป ตัวเขาเป็นสาเหตุให้เราทุกข์ใจ แต่อาจมีสาเหตุมาจากเราด้วยหรือไม่ เป็นต้นว่า เราดูแลเขาดีพอหรือเปล่า เราทำให้เขาไม่เห็นคุณค่าในตัวเราหรือไม่ หรือเราให้ความสำคัญต่อเขามากกว่าตัวเราหรือเปล่าจนทำให้เรารู้สึกแย่ หมดคุณค่าเมื่อเขาทิ้งเราไปทั้งๆ ที่เราก็ยังมีอะไรดีๆ อีกหลายอย่าง
ระบาย ความทุกข์ โดยพูดคุยกับเพื่อนสนิทหรือญาติผู้ใหญ่ที่รับฟังเราไม่ต้องกลัวเขาจะหาว่า เราอ่อนแอ ไม่เข้มแข็ง ถ้าเราไม่ได้ระบายความทุกข์ออกบ้างต้องเก็บไว้คนเดียวเราจะรู้สึกอึดอัด แต่ถ้าได้พูดให้ใครฟังบ้างเรื่องความทุกข์นั้น จะรบกวนความรู้สึกนึกคิดของเราน้อยลง จะทำให้เรามองเห็นทางที่จะแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น เรื่องอะไร เราจะเก็บความทุกข์เอาไว้คนเดียว
หากิจกรรมทำเพื่อให้เหนื่อยและ เป็นการดึงความคิดเกี่ยวกับความทุกข์ออกไปจากตนเองและช่วยให้หลุดพ้นจาก วังวนความคิดด้วยตนเอง ถ้ามีงานทำอยู่แล้วก็ควรทุ่มเทกับงานให้มาก เช่น ทำงานบ้าน ปลูกต้นไม้ เล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย
ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เช่น เปลี่ยนจากสถานที่ที่จำเจชั่วคราวเพื่อช่วยให้รู้สึกสบายใจ
หา คนสนับสนุนอาจจะเป็นการยากลำบากสักหน่อยในการกลับเข้าไปหากลุ่มเพื่อนเพราะ เรากลัวว่าเขาจะรู้เรื่องของเรา กลัวเขาประณาม กลัวถูกว่าเราแปลกไปจากเดิมแต่ถ้าเราสามารถเข้ากลุ่มเพื่อนได้เราจะรู้สึก ว่ากลุ่มสามารถช่วยทำให้จิตใจเราดีขึ้นและอาจจะช่วยเราแก้ปัญหาได้ด้วย
เมื่อ เราพยายามช่วยตัวเองด้วย วิธีการต่างๆ แล้ว ยังรู้สึกไม่ดีขึ้นหรือทนความทุกข์ไม่ได้ ก็ควรจะไปพบผู้ที่มีความรู้ที่สามารถให้การช่วยเหลือเราได้ที่สถานบริการ สาธารณสุขต่างๆ ที่ใกล้บ้าน เช่น สถานีอนามัย โรงพยาบาล หรือหน่วยงานที่ให้
จงละเว้นการแก้ปัญหาแบบต่างๆ ต่อไปนี้
อย่า แก้ปัญหาแบบวู่วามใช้อารมณ์เป็นใหญ่ เมื่อเจอปัญหาให้พยายามสงบสติอารมณ์อย่างเพิ่งเอะอะโวยวาย ให้หายใจช้าๆ ลึกๆ สัก 4-5 ครั้ง หรือนับ 1-10 ก่อนจะตอบโต้อะไรออกไป จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจภายหลังกับสิ่งที่ได้ทำไปเพราะอารมณ์ชั่ววูบ
อย่าหนีปัญหา แล้วหันเข้าหาบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน การเที่ยวกลางคืน ฯลฯ เพื่อช่วยให้สบายใจขึ้นชั่วคราว
จง กล้าเผชิญปัญหา และอย่าผัดวันประกันพรุ่ง รีบแก้ปัญหาเสียแต่เนิ่นๆ อย่าปล่อยให้ค้างคาอยู่เป็นเวลานาน เพราะความเครียดจะสะสมมากขึ้นด้วย
อย่า คิดแต่จะพึ่งพาผู้อื่นอยู่ร่ำไป
จง ถือคติ ?ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน? หัดใช้ความสามารถของตัวเองบ้าง แล้วจะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองแต่ถ้าปัญหานั้นเหลือบ่ากว่าแรงจริงๆ และลองใช้ความสามารถของตัวเองแล้ว ก็ยังไม่ได้ผล การขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นก็เป็นเรื่องที่พึงทำได้
อย่า เอาแต่ลงโทษตัวเอง
คน เราทำผิดกันได้ ถ้าพลาดไปแล้ว จงให้โอกาสตัวเองที่แก้ไขและอย่าได้ทำผิดในเรื่องเดิมซ้ำอีก การเฝ้าคิดลงโทษตัวเองไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา และไม่ได้อะไรขึ้นมา นอกจากความทุกข์ใจเท่านั้น
อย่า โยนความผิดให้คนอื่น
จง รับผิดชอบในสิ่งที่ได้ทำร่วมกัน การปฏิเสธไม่ยอมรับผิดชอบ โดยโยนความผิดให้คนอื่น ไม่ช่วยแก้ปัญหา มีแต่จะก่อความแตกแยกให้มากขึ้นเท่านั้น
จงแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ใช้เหตุผลและใช้ความคิดพิจารณาให้ถี่ถ้วน โดย
คิดหาสาเหตุของปัญหาด้วยใจเป็นธรรม ไม่เข้าข้างตัวเองไม่โทษคนอื่น
คิด หาวิธีแก้ปัญหาหลายๆ วิธี ถ้าคิดเองไม่ออกอาจปรึกษาผู้ใกล้ชิดหรือผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า ลงมือแก้ปัญหาตามวิธีที่คิดไว้ อาจต้องใช้ความกล้าหาญ อดทน หรือต้องใช้เวลาบ้างอย่าได้ท้อถอยไปเสียก่อน ประเมินผลดูว่าวิธีที่ใช้ได้ผลหรือไม่ ถ้าไม่ได้ผลก็เปลี่ยนไปใช้วิธีอื่นๆ ที่เตรียมไว้จนกว่าจะได้ผล
แก้ปัญหาได้ก็หายทุกข์
สาเหตุของความทุกข์ใจมาจากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตระดับของความทุกข์ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของปัญหา
ในช่วงที่ยังแก้ปัญหาไม่ได้ จะรู้สึกเครียดมากทุกข์มาก
เมื่อแก้ปัญหาได้แล้ว ความเครียด ความทุกข์ใจ ก็จะหมดไป
เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อจะได้แก้ปัญหาได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น
คิดอย่างไรไม่ให้ทุกข์
ความคิด เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คนเราเกิดความทุกข์ยิ่งคิดมากก็ทุกข์มาก หากรู้จักคิดให้เป็นก็จะช่วยให้ลดความทุกข์ไปได้มาก
วิธีคิดที่เหมาะสม ได้แก่
1. คิดในแง่ยืดหยุ่นให้มาก
อย่า เอาแต่เข้มงวด จับผิด หรือตัดสินผิดถูกตัวเองและผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา จงละวาง ผ่อนหนัก ผ่อนเบา ลดทิฐิมานะ รู้จักให้อภัยไม่ถือโทษโกรธเคือง หัดลืมเสียบ้าง ชีวิตจะมีความสุขมากขึ้น
2. คิดอย่างมีเหตุผล
อย่า ด่วนเชื่ออะไรง่ายๆ แล้วเก็บเอามาคิดวิตกกังวล ให้พยายามใช้เหตุผลตรวจสอบหาข้อเท็จจริง ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนนอกจากจะไม่ต้องตกเป็นเหยื่อให้ใครหลอกได้ง่ายๆ แล้วยังตัดความกังวลได้ด้วย
3. คิดหลายๆ แง่มุม
ลอง คิดหลายๆ ด้าน ทั้งด้านดี และด้านไม่ดี เพราะไม่ว่าคนหรือไม่ว่าเหตุการณ์อะไรก็ตามย่อมมีทั้งส่วนดี และไม่ดีประกอบกันทั้งนั้นอย่ามองเพียงด้านเดียวให้ใจเป็นทุกข์ นอกจากนี้ควรหัดคิดในมุมของคนอื่นบ้าง เช่น สามีจะคิดอย่างไรลูกจะรู้สึกอย่างไร เจ้านายจะแก้ปัญหานี้อย่างไรเป็นต้น จะช่วยให้มองอะไรได้กว้างไกลกว่าเดิม
4. คิดแต่เรื่องดีๆ
ถ้า คอยคิดถึงแต่เรื่องร้ายๆ เรื่องความล้มเหลว ผิดหวังหรือเรื่องไม่เป็นสุขทั้งหลายก็ยิ่งทุกข์ไปใหญ่ ควรคิดถึงเรื่องดีๆ ให้มากขึ้น เช่นคิดถึงประสบการณ์ที่เป็นสุขในอดีต ความสำเร็จในชีวิตที่ผ่านมา คำชมเชยที่ได้รับ ความดีของคู่สมรส ความมีน้ำใจของเพื่อน ฯลฯ จะช่วยให้สบายใจมากขึ้น
5. คิดถึงคนอื่นบ้าง
อย่า คิดหมกมุ่นอยู่กับตัวเองเท่านั้น เปิดใจให้กว้าง รับรู้ความเป็นไปของคนใกล้ชิด และใส่ใจที่จะช่วยเหลือ สนใจปัญหาของผู้คนในสังคมบ้างบางทีคุณอาจจะพบว่าปัญหาที่คุณกำลังเป็นทุกข์ อยู่นี้ ช่างเล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับปัญหาของคนอื่นๆ คุณจะรู้สึกดีขึ้น และยิ่งถ้าคุณช่วยเหลือคนอื่นได้ คุณจะสุขใจขึ้นเป็นทวีคูณด้วย
*******************************************
ที่มาของข้อมูล: จาก จากคู่มือดูแลตนเอง เรื่อง ทำอย่างไรเมื่อใจเป็นทุกข์ หน้า 9-17 โดย. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือดูแลตนเอง ทำอย่างไรเมื่อใจเป็นทุกข์/ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข หน้า 9-17
การขจัดทุกข์ด้วยตนเอง
เมื่อ เกิดทุกข์มากๆ ผลที่ตามมาไม่ได้มีต่อจิตใจหรืออารมณ์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วเท่านั้น แต่จะมีผลกระทบต่อร่างกายและความเป็นอยู่ทุกอย่างของเราด้วย เช่น คนส่วนใหญ่จะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ หรือบางคนอาจจะกินมากขึ้น นอนมากกว่าปกติ ไม่อยากพูดกับใคร ไม่อยากทำงาน หรือทำงานไม่ได้เพราะจิตใจว้าวุ่นถ้าเรารู้สึกว่าทุกข์มาก กลุ้มมาก ควรจะขจัดออกไปให้เร็วและมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
ต้องยอมรับว่าเรามีความทุกข์ต้องรีบแก้ไข
หา สาเหตุของความทุกข์นั้น ว่าเราทุกข์เรื่องอะไร ใครที่ทำให้เราทุกข์ และตัวเรามีส่วนทำให้เกิดความทุกข์เองด้วยหรือไม่ เช่น คนรักทิ้งเราไป ตัวเขาเป็นสาเหตุให้เราทุกข์ใจ แต่อาจมีสาเหตุมาจากเราด้วยหรือไม่ เป็นต้นว่า เราดูแลเขาดีพอหรือเปล่า เราทำให้เขาไม่เห็นคุณค่าในตัวเราหรือไม่ หรือเราให้ความสำคัญต่อเขามากกว่าตัวเราหรือเปล่าจนทำให้เรารู้สึกแย่ หมดคุณค่าเมื่อเขาทิ้งเราไปทั้งๆ ที่เราก็ยังมีอะไรดีๆ อีกหลายอย่าง
ระบาย ความทุกข์ โดยพูดคุยกับเพื่อนสนิทหรือญาติผู้ใหญ่ที่รับฟังเราไม่ต้องกลัวเขาจะหาว่า เราอ่อนแอ ไม่เข้มแข็ง ถ้าเราไม่ได้ระบายความทุกข์ออกบ้างต้องเก็บไว้คนเดียวเราจะรู้สึกอึดอัด แต่ถ้าได้พูดให้ใครฟังบ้างเรื่องความทุกข์นั้น จะรบกวนความรู้สึกนึกคิดของเราน้อยลง จะทำให้เรามองเห็นทางที่จะแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น เรื่องอะไร เราจะเก็บความทุกข์เอาไว้คนเดียว
หากิจกรรมทำเพื่อให้เหนื่อยและ เป็นการดึงความคิดเกี่ยวกับความทุกข์ออกไปจากตนเองและช่วยให้หลุดพ้นจาก วังวนความคิดด้วยตนเอง ถ้ามีงานทำอยู่แล้วก็ควรทุ่มเทกับงานให้มาก เช่น ทำงานบ้าน ปลูกต้นไม้ เล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย
ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เช่น เปลี่ยนจากสถานที่ที่จำเจชั่วคราวเพื่อช่วยให้รู้สึกสบายใจ
หา คนสนับสนุนอาจจะเป็นการยากลำบากสักหน่อยในการกลับเข้าไปหากลุ่มเพื่อนเพราะ เรากลัวว่าเขาจะรู้เรื่องของเรา กลัวเขาประณาม กลัวถูกว่าเราแปลกไปจากเดิมแต่ถ้าเราสามารถเข้ากลุ่มเพื่อนได้เราจะรู้สึก ว่ากลุ่มสามารถช่วยทำให้จิตใจเราดีขึ้นและอาจจะช่วยเราแก้ปัญหาได้ด้วย
เมื่อ เราพยายามช่วยตัวเองด้วย วิธีการต่างๆ แล้ว ยังรู้สึกไม่ดีขึ้นหรือทนความทุกข์ไม่ได้ ก็ควรจะไปพบผู้ที่มีความรู้ที่สามารถให้การช่วยเหลือเราได้ที่สถานบริการ สาธารณสุขต่างๆ ที่ใกล้บ้าน เช่น สถานีอนามัย โรงพยาบาล หรือหน่วยงานที่ให้
จงละเว้นการแก้ปัญหาแบบต่างๆ ต่อไปนี้
อย่า แก้ปัญหาแบบวู่วามใช้อารมณ์เป็นใหญ่ เมื่อเจอปัญหาให้พยายามสงบสติอารมณ์อย่างเพิ่งเอะอะโวยวาย ให้หายใจช้าๆ ลึกๆ สัก 4-5 ครั้ง หรือนับ 1-10 ก่อนจะตอบโต้อะไรออกไป จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจภายหลังกับสิ่งที่ได้ทำไปเพราะอารมณ์ชั่ววูบ
อย่าหนีปัญหา แล้วหันเข้าหาบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน การเที่ยวกลางคืน ฯลฯ เพื่อช่วยให้สบายใจขึ้นชั่วคราว
จง กล้าเผชิญปัญหา และอย่าผัดวันประกันพรุ่ง รีบแก้ปัญหาเสียแต่เนิ่นๆ อย่าปล่อยให้ค้างคาอยู่เป็นเวลานาน เพราะความเครียดจะสะสมมากขึ้นด้วย
อย่า คิดแต่จะพึ่งพาผู้อื่นอยู่ร่ำไป
จง ถือคติ ?ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน? หัดใช้ความสามารถของตัวเองบ้าง แล้วจะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองแต่ถ้าปัญหานั้นเหลือบ่ากว่าแรงจริงๆ และลองใช้ความสามารถของตัวเองแล้ว ก็ยังไม่ได้ผล การขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นก็เป็นเรื่องที่พึงทำได้
อย่า เอาแต่ลงโทษตัวเอง
คน เราทำผิดกันได้ ถ้าพลาดไปแล้ว จงให้โอกาสตัวเองที่แก้ไขและอย่าได้ทำผิดในเรื่องเดิมซ้ำอีก การเฝ้าคิดลงโทษตัวเองไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา และไม่ได้อะไรขึ้นมา นอกจากความทุกข์ใจเท่านั้น
อย่า โยนความผิดให้คนอื่น
จง รับผิดชอบในสิ่งที่ได้ทำร่วมกัน การปฏิเสธไม่ยอมรับผิดชอบ โดยโยนความผิดให้คนอื่น ไม่ช่วยแก้ปัญหา มีแต่จะก่อความแตกแยกให้มากขึ้นเท่านั้น
จงแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ใช้เหตุผลและใช้ความคิดพิจารณาให้ถี่ถ้วน โดย
คิดหาสาเหตุของปัญหาด้วยใจเป็นธรรม ไม่เข้าข้างตัวเองไม่โทษคนอื่น
คิด หาวิธีแก้ปัญหาหลายๆ วิธี ถ้าคิดเองไม่ออกอาจปรึกษาผู้ใกล้ชิดหรือผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า ลงมือแก้ปัญหาตามวิธีที่คิดไว้ อาจต้องใช้ความกล้าหาญ อดทน หรือต้องใช้เวลาบ้างอย่าได้ท้อถอยไปเสียก่อน ประเมินผลดูว่าวิธีที่ใช้ได้ผลหรือไม่ ถ้าไม่ได้ผลก็เปลี่ยนไปใช้วิธีอื่นๆ ที่เตรียมไว้จนกว่าจะได้ผล
แก้ปัญหาได้ก็หายทุกข์
สาเหตุของความทุกข์ใจมาจากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตระดับของความทุกข์ขึ้นอยู่กับความหนักเบาของปัญหา
ในช่วงที่ยังแก้ปัญหาไม่ได้ จะรู้สึกเครียดมากทุกข์มาก
เมื่อแก้ปัญหาได้แล้ว ความเครียด ความทุกข์ใจ ก็จะหมดไป
เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อจะได้แก้ปัญหาได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น
คิดอย่างไรไม่ให้ทุกข์
ความคิด เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คนเราเกิดความทุกข์ยิ่งคิดมากก็ทุกข์มาก หากรู้จักคิดให้เป็นก็จะช่วยให้ลดความทุกข์ไปได้มาก
วิธีคิดที่เหมาะสม ได้แก่
1. คิดในแง่ยืดหยุ่นให้มาก
อย่า เอาแต่เข้มงวด จับผิด หรือตัดสินผิดถูกตัวเองและผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา จงละวาง ผ่อนหนัก ผ่อนเบา ลดทิฐิมานะ รู้จักให้อภัยไม่ถือโทษโกรธเคือง หัดลืมเสียบ้าง ชีวิตจะมีความสุขมากขึ้น
2. คิดอย่างมีเหตุผล
อย่า ด่วนเชื่ออะไรง่ายๆ แล้วเก็บเอามาคิดวิตกกังวล ให้พยายามใช้เหตุผลตรวจสอบหาข้อเท็จจริง ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนนอกจากจะไม่ต้องตกเป็นเหยื่อให้ใครหลอกได้ง่ายๆ แล้วยังตัดความกังวลได้ด้วย
3. คิดหลายๆ แง่มุม
ลอง คิดหลายๆ ด้าน ทั้งด้านดี และด้านไม่ดี เพราะไม่ว่าคนหรือไม่ว่าเหตุการณ์อะไรก็ตามย่อมมีทั้งส่วนดี และไม่ดีประกอบกันทั้งนั้นอย่ามองเพียงด้านเดียวให้ใจเป็นทุกข์ นอกจากนี้ควรหัดคิดในมุมของคนอื่นบ้าง เช่น สามีจะคิดอย่างไรลูกจะรู้สึกอย่างไร เจ้านายจะแก้ปัญหานี้อย่างไรเป็นต้น จะช่วยให้มองอะไรได้กว้างไกลกว่าเดิม
4. คิดแต่เรื่องดีๆ
ถ้า คอยคิดถึงแต่เรื่องร้ายๆ เรื่องความล้มเหลว ผิดหวังหรือเรื่องไม่เป็นสุขทั้งหลายก็ยิ่งทุกข์ไปใหญ่ ควรคิดถึงเรื่องดีๆ ให้มากขึ้น เช่นคิดถึงประสบการณ์ที่เป็นสุขในอดีต ความสำเร็จในชีวิตที่ผ่านมา คำชมเชยที่ได้รับ ความดีของคู่สมรส ความมีน้ำใจของเพื่อน ฯลฯ จะช่วยให้สบายใจมากขึ้น
5. คิดถึงคนอื่นบ้าง
อย่า คิดหมกมุ่นอยู่กับตัวเองเท่านั้น เปิดใจให้กว้าง รับรู้ความเป็นไปของคนใกล้ชิด และใส่ใจที่จะช่วยเหลือ สนใจปัญหาของผู้คนในสังคมบ้างบางทีคุณอาจจะพบว่าปัญหาที่คุณกำลังเป็นทุกข์ อยู่นี้ ช่างเล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับปัญหาของคนอื่นๆ คุณจะรู้สึกดีขึ้น และยิ่งถ้าคุณช่วยเหลือคนอื่นได้ คุณจะสุขใจขึ้นเป็นทวีคูณด้วย
*******************************************
ที่มาของข้อมูล: จาก จากคู่มือดูแลตนเอง เรื่อง ทำอย่างไรเมื่อใจเป็นทุกข์ หน้า 9-17 โดย. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)