จิตเภท
โดย. พญ.สุพัฒนา เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา /คู่มือจิตเวชศาสตร์ สำหรับประชาชน หน้า 157-160
ประชาชน
จำนวนไม่น้อยมีความเข้าใจผิดและเชื่ออย่างผิดๆ
ว่าโรคจิตเป็นโรคที่เกิดจากการกระทำของภูตผีปีศาจ และเป็นโรคที่รักษาไม่หาย
จึงไม่พาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลจิตเวชแต่กลับพาไปรดน้ำมนต์ เข้าทรง
หรือปล่อยให้อยู่กับบ้านไปตามบุญตามกรรม
บางรายในชนบทถึงกับล่ามโซ่ผู้ป่วยไว้กับเสาเรือน
จึงขอให้ท่าน
ผู้อ่านโปรดเข้าใจ และเมื่อมีโอกาสก็ขอได้โปรดบอกกล่าวต่อๆ กันไปด้วยว่า
โรคจิตนั้นส่วนมากรักษาให้หายได้เช่นเดียวกับโรคทางกาย
ถ้าหากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเสียแต่เนิ่นๆ อย่างไรก็ตาม
โรคจิตก็เช่นเดียวกับโรคอื่นๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ฯลฯ บางรายอาจหายขาด
บางรายเพียงแต่ทุเลา และบางรายก็อาจเป็นเรื้อรังตลอดชีวิต
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยปลายประการ เช่น ประเภทหรือลักษณะของโรคนั้น
ความรุนแรง และระยะเวลาที่เป็นมา
จิตเภท
ใน
บรรดาผู้ป่วยโรคจิตที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลจิตเวชทุกแห่งทั่วประเทศไทย
จิตเภทเป็นโรคที่พบได้มากที่สุด เมื่อเทียบกับโรคจิตประเภทอื่นๆ
ผู้ป่วยจิตเภทแสดงอาการของโรคจิตให้ผู้ใกล้ชิดสังเกตเห็นได้ชัดเจนกว่า
จึงสมควรที่ประชาชนจะได้ทราบลักษณะอาการและวิธีการช่วยเหลือ
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว
ไม่ว่าโรค
จิตหรือโรคประสาทชนิดใดๆ
ระยะเวลาและผลของการรักษาขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่อาการของโรคดำเนินมา
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง
ยิ่งมาหาแพทย์เร็วเท่าใดอาการก็ทุเลาได้เร็วและทุเลาได้มากเท่านั้น
ผู้ป่วยที่มีอาการมานานโรคย่อมเรื้อรังรักษาหายได้ยาก
หรือในบางรายไม่อาจรักษาให้หายเป็นปกติได้เลยญาติหรือผู้ใกล้ชิดจึงควรรีบพา
ผู้ป่วยมาพบจิตแพทย์โดยเร็วที่สุด
จิตเภทเป็นโรคจิตชนิดหนึ่ง
แปลจากชื่อโรคในภาษาอังกฤษว่า ?schizophrenia?
ผู้ป่วยอาจเกิดอาการไม่ชัดเจนมาก่อนเป็นเวลานานหลายๆ เดือนก็ได้
อาการ
ผู้
ป่วยจะแสดงความผิดปกติหลายๆ ด้านร่วมกัน คือมีความผิดปกติของความนึกคิด
พฤติกรรม และอารมณ์มักจะเสียความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง เช่น เฉยเมย
ไม่ยินดียินร้าย ไม่สนใจและไม่แสดงปฏิกิริยาทางอารมณ์หรือท่าที
ไม่ว่าญาติหรือเพื่อนฝูงจะเป็นอย่างไรหรือแสดงต่อเขาอย่างไร
ขาดความสนใจและความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ไม่สนใจโลกภายนอก เช่น
ใครจะรักกัน ไฟจะไหม้ที่ใดก็ไม่รู้ มักแยกตัวอยู่คนเดียวไม่เข้ากลุ่ม เช่น
เคยรับประทานอาหารที่โต๊ะพร้อมหน้าบิดามารดา
ก็แยกไปรับประทานคนเดียวในห้องนอน
ชอบอยู่แต่ในห้องไม่ออกมาสังสรรค์กับครอบครัว เคยไปงานสังคมต่างๆ เช่น
งานเลี้ยง งานศพ ก็ไม่ไปโดยไม่มีเหตุผล
ความประพฤติมักเสื่อมถอยกลับไปคล้ายผู้ที่อยู่ในวัยอ่อนกว่า
หรือบางรายอาจคล้ายทารกไปเลย เช่น ผู้ป่วยอายุ 30 ปี
อาจแสดงกิริยาวาจาหรือแต่งกายคล้ายเด็กอายุ 10 ขวบ บางรายไม่ชอบสวมเสื้อผ้า
มิใช่เพื่อโอ้อวดร่างกายส่วนที่ควรปกปิด
หรือเพราะเกิดอารมณ์ทางเพศอย่างที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิด
แต่เป็นเพราะสภาพของจิตใจที่เสื่อมถอยกลับไปสู่วัยเด็กหรือวัยทารกดังกล่าว
นั่นเอง ท่านคงสังเกตว่า
ทารกหรือเด็กเล็กไม่ใคร่ชอบสวมเสื้อผ้าโดยไม่รู้สึกกระดากอาย
ผู้ป่วยจิตเภทบางรายหัวเราะคิดคักอย่างไม่มีเหตุผล พูดคนเดียว
หรือพูดกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน
ผู้ป่วยจิตเภทอาจมีพฤติกรรมแปลก
ประหลาด เช่น ลุกขึ้นอาบน้ำเวลาตีสามขณะอากาศหนาว
ลงไปแช่ในตุ่มน้ำที่ขังไว้สำหรับริโภค
แต่งกายพิกลผิดผู้อื่นและผิดไปจากบุคลิกภาพเดิมของตนอย่างมาก
หัวเราะสลับกับร้องไห้ จุดธูปสวดมนต์ทั้งวัน ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น
บางรายเอะอะ อาละวาด หยาบคาย ก้าวร้าว
หรือพูดจาเลอะเทอะไม่ได้ใจความหรือบางรายอาจไม่พูดเลยคล้ายเป็นใบ้
ไม่ยอมรับประทานอาหาร ไม่ยอมเคลื่อนไหวเหมือนรูปปั้น
นอกจากนี้
ผู้ป่วยจิตเภทบางรายอาจมีความผิดปกติซึ่งไม่เป็นความจริงในชีวิตของเขา เช่น
หลงผิดว่าภรรยาเป็นชู้กับชายเพื่อนบ้าน
หลงผิดว่าคู่สมรสหรือเพื่อนของตนมีความมุ่งร้ายจะเอาชีวิต
หลงผิดว่าตนเป็นมหาเศรษฐีมีเงินหลายล้านบาท บางรายมีประสาทหลอน เช่น
หูแว่วได้ยินเสียงเพื่อนด่าหยาบคาย
ได้ยินเสียงบิดาสั่งให้ตัดนิ้วตนเองทิ้งเสีย หรือมีประสาทหลอนทางตา
เห็นเป็นภาพหลอนว่าภรรยากำลังถือมีดตรงเข้ามาจะทำร้ายตน
ผู้ป่วยหวาดกลัวมากจนอาจหาทางป้องกันตัว โดยรีบคว้าปืนยิงภรรยาเสียก่อน
ทำให้เกิดคดีฆาตกรรม
ซึ่งเป็นเรื่องชวนสลดใจที่ไม่น่าเกิดขึ้นเพราะเป็นสิ่งที่ป้องกันได้
จาก
การศึกษาผู้ป่วยคดีในโรงพยาบาลจิตเวชพบว่า
มีหลายรายที่การฆาตกรรมนั้นเกิดจากอาการทางจิต
คือเกิดจากอาการหลงผิดหวาดระแวง หรือประสาทหลอน
และอาการผิดปกติเหล่านี้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดก็สังเกตเห็นมาก่อน
แต่ไม่รีบพาไปรักษาด้วยความนิ่งนอนใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์
จึงปรากฏข่าวสะเทือนขวัญในหน้าหนังสือพิมพ์บ่อยๆ
ในทำนองพ่อใช้ขวานฟันคอลูกในเปล สามีแทงภรรยาที่กำลังนั่งหันหลังทำกับข้าว
เป็นต้น
ผู้ป่วยจิตเภทไม่จำเป็นต้องมีอาการดังกล่าวหลายอย่าง
ร่วมกัน บางคนอาจแสดงอาการผิดปกติให้เห็นเพียงอย่างเดียวหรือสองอย่างก็ได้
เช่น อาจมีเพียงอาการหลงผิดชนิดระแวงร่วมกับหูแว่ว
โดยยังคงประกอบกิจวัตรประจำวันได้เช่นปกติ และพูดคุยได้เรื่องราวดี
บางคนอาจเพียงแต่แยกตัวเอง เฉื่อยเฉยไม่ทำการงาน
ไม่ยินดียินร้ายแต่ก็ไม่เอะอะอาละวาด วุ่นวาย
และไม่มีประสาทหลอนหลงผิดแต่อย่างใด
ตำราแพทย์แขนงจิตเวชศาสตร์
จึงแบ่งการวินิจฉัยโรคจิตเภทออกเป็นย่อยๆ อีกหลายประเภท
ซึ่งจิตแพทย์ใช้ประกอบการพิจารณาทางวิชาการเพื่อให้การรักษาและพยากรณ์โรค
อาการ
ต่างๆ
ที่บรรยายมาข้างต้นล้วนเป็นอาการซึ่งผู้ใกล้ชิดจะสังเกตเห็นได้อย่างค่อน
ข้างชัดเจน
ไม่จำเป็นต้องมีพื้นเพความรู้ทางจิตเวชศาสตร์ก็พอทราบได้ว่าบุคคลนั้นเริ่ม
ป่วยเป็นโรคจิตแล้ว จึงไม่ควรรีรอหรือลังเลที่จะพาไปหาจิตแพทย์เลย
สาเหตุ
จาก
การศึกษาและงานวิจัยมากมาย ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุที่ชัดเจนของโรคจิตเภทได้
อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่า
โรคจิตเภทเกิดจากความผิดปกติทางชีวเคมีของร่างกายที่มีชื่อว่าโดปามีน
ซึ่งเป็นสารเคมีในสมอง หรือพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกันเป็นพหุปัจจัย
จิตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเชื่อว่า
สิ่งแวดล้อมทางจิตใจและสังคมซึ่งเริ่มตั้งแต่ในวัยทารกมีอิทธิพลไม่น้อย
ในอันที่จะช่วยส่งเสริม หรือสนับสนุนให้เกิดอาการของโรค
สิ่งแวดล้อมนี้มีความหมายกว้าง
นับตั้งแต่บุคลิกภาพและท่าทีของบิดามารดาที่ต่อผู้ป่วย เช่น ญาติ ครู
เพื่อน ผู้บังคับบัญ ชา ผู้ร่วมงาน ฯลฯ แต่อิทธิพลที่สำคัญที่สุดคือ
ความสัมพันธ์และท่าทีของมารดาต่อผู้ป่วยตั้งแต่ในวัยทารก
มารดาได้ให้ความรักความเข้าใจและความอบอุ่นอย่างถูกต้องและพอเพียงหรือไม่
เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาที่กระด้างชาเย็น เจ้าอารมณ์ ดุร้าย ทารุณ
หรือตรงกันข้าม ปกป้องฟูมฟักบุตรจนเกินควร
มีโอกาสและมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคทางจิตเวชหลายๆ ชนิด
รวมทั้งโรคจิตเภทได้มากกว่าเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาที่อบอุ่น
อารมณ์คงเส้นคงวา และบรรลุวุฒิภาวะ
อุบัติการณ์และระบาดวิทยา
จิตเภท
เป็นโรคจิตที่พบมากที่สุดในบรรดาโรคจิตทั้งหมด เกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศ
ทุกระดับการศึกษา อาชีพ และเศรษฐานะ
แม้ว่างานค้นคว้าวิจัยในต่างประเทศจะแสดงว่าประชาชนในระดับเศรษฐกิจและสังคม
ต่ำเป็นโรคจิตเภทมากกว่าพวกระดับเศรษฐกิจและสังคมสูงก็ตาม
จาก
สถิติผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต ปี พ.ศ. 2504
ผู้ป่วยโรคจิตที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล 2,406 ราย เป็นโรคจิตเภทเสีย 1,141
ราย หรือ 59.65% ของผู้ป่วยโรคจิตทั้งหมด จึงเห็นได้ว่า
จิตเภทเป็นโรคจิตที่พบได้มากที่สุดในโรงพยาบาลจิตเวชของประเทศไทย
สถิติที่ได้ใกล้เคียงกับสถิติของโรงพยาบาลจิตเวชในต่างประเทศมาก
ผู้
ป่วยโรคจิตเภทที่มารับบริการของโรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ
ซึ่งมีอยู่ 17 โรงพยาบาล ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศนั้น
ประกอบไปด้วยผู้ป่วยทั้งที่เป็นนักศึกษาจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
ครูอาจารย์ แพทย์ ข้าราชการพลเรือน พ่อค้า ชาวนา ชาวสวน กรรมกร ฯลฯ
โรค
นี้พบมากในเกณฑ์อายุ 15-44 ปี
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บุคคลต้องเผชิญปัญหาการปรับตัวกับเหตุการณ์และความตึง
เครียดของชีวิตหลายๆ ด้าน เช่น ปัญหาการศึกษา อาชีพ การสมรส
การสร้างฐานะและครอบครัว เป็นต้น ฯลฯ ในเด็กและผู้ชราก็อาจพบโรคนี้ได้บ้าง
แต่อุบัติการต่ำกว่าในวัยเจริญพันธุ์มาก
การรักษา
การ
รักษาโรคทางจิตเวชได้วิวัฒนาการไปมาก เมื่อเทียบกับสมัยก่อน เช่น
เมื่อศตวรรษก่อน
ในยุคที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาเพิ่งเปิดรับผู้ป่วยโรคจิต ในครั้งกระนั้น
โรงพยาบาลยังไม่มีแพทย์ศึกษาอบรมทางจิตเวชศาสตร์โดยตรง
และนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่พบยาสงบประสาทที่ให้ผลดีเยี่ยมเช่นในปัจจุบันนี้
การดูแลผู้ป่วยโรคจิตจึงเป็นไปอย่างล้าสมัย
แต่ในปัจจุบันเรา
กล้ากล่าวได้ว่า การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคจิตของโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
เป็นการดูแลรักษาที่ทันสมัยเทียบเท่าอารยประเทศ
แม้เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา
โรงพยาบาลมีหอผู้ป่วยหรือที่พักและเครื่องอำนวยความสะดวกเช่นเดียวกับโรง
พยาบาลฝ่ายกายทั่วไปมิได้กักขังหรือผูกมัดผู้ป่วยไว้ในห้องลูกกรงเหล็กเช่น
ที่ประชาชนบางคนเข้าใจผิด
ผู้ร่วมงานฝ่ายรักษาประกอบด้วยจิตแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา
อนึ่ง
ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท
มิได้หมายความว่าจะต้องเข้าอยู่ในโรงพยาบาลทุกรายไป
มีผู้ป่วยจำนวนมากที่อาจได้รับผลดีจากการรักษาแบบผู้ป่วยนอกคือยังอยู่บ้าน
ได้ แต่มาพบแพทย์สม่ำเสมอตามกำหนดนัด เช่น สัปดาห์ละครั้ง
ญาติผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดว่าเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการทางจิต
แพทย์จะต้องรับไว้ เมื่อแพทย์แนะนำให้รักษาแบบผู้ป่วยนอกก็โกรธ
โดยเข้าใจผิดว่า โรงพยาบาลปฏิเสธไม่ให้บริการแก่ผู้ป่วย ปัจจุบันนี้
ยังไม่มีโรงพยาบาลใดในโลกจะสามารถรับผู้ป่วยที่มารับการรักษาไว้เป็นผู้ป่วย
ในได้หมดทุกราย
เพราะนอกจากปัญหาใหญ่เรื่องจำนวนเตียงไม่พอกับจำนวนผู้ป่วยแล้วผู้ป่วยบาง
รายโรคหรือโรคเดียวกันแต่อาการต่างกัน
บางรายรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ผลดีกว่าด้วยซ้ำไป
ในกรณีผู้ป่วยโรค
จิตเภท ผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการ อาการไม่รุนแรง ควบคุมเองได้
ญาติช่วยดูแลได้ หรือยังพอประกอบอาชีพได้
ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าอยู่ในโรงพยาบาล
การพิจารณาว่าผู้ป่วยสมควร
เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือไม่
จึงควรเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้ตรวจเท่านั้น
ญาติหรือผู้พาผู้ป่วยมาจึงควรรับฟังความเห็นของแพทย์
วิธีการ
รักษาส่วนใหญ่ใช้ยารักษาโรคจิตเป็นหลัก
ยาประเภทนี้มีหลายชนิดแพทย์จะเลือกสั่งให้เหมาะสมกับอาการของโรค
ญาติจึงไม่ควรซื้อยาตามร้านขายยาให้ผู้ป่วยรับประทานเอง
เพราะนอกจากจะไม่ถูกกับอาการของโรคแล้ว ยังอาจเกิดอันตรายได้
ผู้ป่วยที่รับไว้ในโรงพยาบาล ยังมีวิธีการรักษาแบบอื่นร่วมด้วย ซึ่งแพทย์ผู้รักษาจะเลือกวิธีการร่วมเป็นรายๆ ไป เช่น
1. การทำจิตบำบัด คือ การทำให้ผู้ป่วยสบายใจขึ้น โดยพูดถึงปัญหาของผู้ป่วยด้วยการสร้างความสัมพันธ์กับแพทย์ผู้รักษา
2. การรักษาด้วยไฟฟ้า ใช้ในผู้ป่วยบางราย
3.
อาชีวบำบัด คือการรักษาแบบให้ผู้ป่วยทำงาน เช่น
งานหัตถกรรมประดิษฐ์ของต่างๆ งานเย็บสาน จักทอ
เพื่อมิให้ผู้ป่วยมีเวลาว่างฟุ้งซ่าน
ขณะเดียวกันก็ให้ประโยชน์ทางการรักษาด้วย
เพราะกรรมวิธีของงานบางอย่างเป็นหนทางให้ผู้ป่วยได้ระบายอารมณ์หรือความ
รู้สึกภายในด้วย เช่น การใช้ฆ้อนย้ำทุบเปลือกมะพร้าวแรงๆ
เพื่อนำไปทำพรหมเช็ดเท้าเป็นทางระบายอารมณ์โกรธหรือความรู้สึกอยากทำร้ายผู้
อื่น นอกจากนี้เมื่อผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลไป
อาจนำความชำนาญที่ได้รับไปประกอบอาชีพได้
4.
สันทนาการบำบัดและการฟื้นฟูบุคลิกภาพ คือ การหย่อนใจ การกีฬา ศิลปะ
และการรื่นเริงต่างๆ ซึ่ง
นอกจากจะให้ประโยชน์ทางระบายอารมณ์และช่วยฟื้นฟูบุคลิกภาพของผู้ป่วยแล้วยัง
ช่วยให้ผู้ป่วยโรคจิตซึ่งมักเสียความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
หรือแยกตัวจากสังคมได้ฝึกปรับตัวเข้าสังคมและสร้างความสัมพันธ์กับบุคลอื่น
ด้วย อันเป็นการกรุยทางให้เขาได้กลับไปสู่สังคมและชุมชน
อย่างที่สังคมและชุมชนเต็มใจต้อนรับเขา
ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเภท
โรคจิตเภทส่วนมาก
มักเป็นๆ หายๆ แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมในครอบครัวและในสังคมของเขาเหมาะสม เช่น
ครอบครัวอบอุ่น มีความเข้าใจ เห็นใจ และยอมรับผู้ป่วย
เต็มใจรับผู้ป่วยที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลกลับคืนสู่ครอบครัวอย่างจริงใจ
สังคมและชุมชนไม่แสดงความรังเกียจผู้ป่วยและผู้ป่วยเลือกดำเนินชีวิตอย่าง
ไม่ต้องพบความตรึงเครียดมากนัก ผู้ป่วยเองติดตามผลการรักษากับแพทย์สม่ำเสมอ
อาการก็มักไม่กลับกำเริบอีก
ในทางตรงกันข้าม
หากสภาพครอบครัวและชุมชนของผู้ป่วยไม่เอื้ออำนวยหรือผู้ป่วยไม่ได้รับการ
รักษาที่ถูกต้องและพอเพียง ก็อาจมีอาการกำเริบบ่อยครั้ง
หรืออาจเป็นเรื้อรังจนบุคลิกภาพเสื่อมกลับคืนสู่สภาพปกติไม่ได้ตลอดชีวิต
อย่าง
ไรก็ตาม
การอบรมเลี้ยงบุตรหลานอย่างถูกต้องตามหลักสุขภาพจิตอันจะให้เยาวชนเจริญเติบ
โตอย่างมีสุขภาพจิตดี
ซึ่งนอกจากจะเป็นการป้องกันมิให้โรคจิตเภทกลับเป็นซ้ำอีก
ยังเป็นการป้องกันโรคจิตโรคประสาทอื่นๆ และบุคลิกภาพแปรปรวนต่างๆ อีกด้วย
*******************************************
ที่มาของข้อมูล: จาก คู่มือจิตเวชศาสตร์ สำหรับประชาชน หน้า 157-160.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น