Download แบบฟอร์มในการทำวิจัยไฟล์เวิด ให้ใช้ IE9 และ Chrome ในการดาวน์โหลด
แบบฟอร์มเสนอหัวข้องานวิจัย
แนวทางการเขียนเสนอหัวข้อวิจัย
สไลด์สำหรับนำเสนอ
แบบประเมินหัวข้องานวิจัย
หรือของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จินตนา เวชมี http://goo.gl/YajDq
Tribute::ข้อมูลจากนักศึกษาปริญญาเอก kru-sanit.com
***ถึงผู้ศึกษาค้นคว้าทุกท่าน ทางเว็บอยากให้ท่านได้สมัครสมาชิกเพื่อแสดงตัวตน อีกทั้งร่วมแบ่งปันความรู้ขอบคุณครับ...
การเขียนเค้าโครงวิจัยในชั้นเรียนเป็นเสมือนพิมพ์เขียวที่ระบุรายละเอียดของสิ่งที่ดำเนินการว่าจะทำอะไร ทำไมต้องทำ ทำอย่างไร ทำที่ไหน ทำเมื่อไหร่ และทำกับใครนั้นเอง มีจุดมุ่งหมายให้ผู้วิจัยหรือผู้อ่านทราบกรอบการดำเนินการว่าจะวิจัยเรื่องอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร จะใช้ระเบียบการศึกษาเพื่ออะไร จะใช้รูปแบบการดำเนินการวิจัยอย่างไร และการวิจัยมีประโยชน์อย่างไร
โดยทั่วไปเค้าโครงการวิจัยในชั้นเรียนจะมีองค์ประกอบดังนี้
1. ชื่อเรื่อง
2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4. สมมติฐานของการวิจัย
5. ขอบเขตของการวิจัย
6. ข้อตกลงเบื้องต้น
7. คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย
8. ประโยชน์ของการวิจัย
9. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
10. วิธีการดำเนินการวิจัย
11. ปฏิทินปฏิบัติงาน
12. เอกสารอ้างอิง
1. ชื่อเรื่อง ต้องสื่อความหมายได้ดีกระทัดรัดชัดเจน เฉพาะเจาะจงสิ่งที่จะศึกษาควรมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนคือ ตัว ตัวแปรที่จะศึกษาและประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่จะแก้ไขปัญหาหรือพัฒนา สำหรับตัวแปรที่จะศึกษานั้นอย่างน้อยจะต้องมีตัวแปรต้น หรือนวกรรมที่ครูได้คิดค้นหรือพัฒนาปรากฏอยู่ในชื่อของเค้าโครงการวิจัยด้วยเสมอ ส่วนตัวแปรตามจะมีหรือไม่ก็ได้ในการเขียนควรเร้าความสนใจให้ผู้อื่นอยากศึกษา ตัวอย่างเช่น
* การพัฒนาชุดฝึกทักษะการสังเกตุในรายวิชา ท 101 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รร แจ่งหัวลินวิทยาคม
* การสร้างชุดการสอนเรื่อง ระบบการย่อยอาหาร ในรายวิชา ว 043 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
* การสร้างบทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง วัฏจักรของน้ำในรายวิชา ว 101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
*การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ 1 ในรายวิชา ว 431 โดยใช้ชุดกิจกรรมรูปแบบการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้ สำหรับนัเรียนชั้นมัธมศึกษาปีที่ 4
2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในหัวข้อนี้ ควรเขียนให้กระชับตรงประเด็น เป็นเหตุเป็นผล ชี้ให้เห็นประเด็นปัญหาและ นำไปสู่จุดประสงค์ที่จะทำวิจัยในชั้นเรียน โดยการเขียนปัญหาการวิจัยในชั้นเรียนจากภาพกว้างมาสู่ภาพเล็ก เปรียบเสมือนรูปสามเหลี่ยมซึ่งเอาด้านปลายอยู่ด้านล่าง ดังรูป เพื่อเป็นการขมวดลงให้เห็นความเชื่อมโยงของความคิดจากปัญหาการวิจัยในชั้นเรียนจนถึงความสำคัญของปัญหา โดยการเขียนอาจมีส่วนประกอบที่สำคัญที่เสนอประเด็นต่าง ๆ เป็นลำดับต่อเนื่อง ดังนี้
- สภาพปัจจุบันที่มีเหตุผลหรือข้อมูลทีเป็นหลักฐานประกอบการจูงใจ ซึ่งจะนำเข้าสู่ปัญหาหรือประเด็นที่จะทำการวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งจะทำให้มีนำหนักน่าเชื่อถือและเป็นเห็นความสำคัญว่าควรทำการวิจัยในชั้นเรียน
- ที่มาของปัญหาที่จะทำการวิจัยในชั้นเรียน โดยอธิบายถึงเบื้องหลัง หรือสาเหตุสำคุญที่จะส่งผลถึงปัญหาดังกล่าว ซึ่ง
จะชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงของเรื่องที่จะทำวิจัยในชั้นเรียน
- ความสำคัญของปัญหา เป็นการระบุถึงความสำคัญหรือความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาและผลการวิจัยที่ได้จะเกิด
ประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างไร
(ดังนั้นในการเขียนหัวข้อนี้สามารถนำเอาข้อมูลจากการวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอนและวิเคราะห์สาเหตุปัญหาจากผังก้างปลาในใบกิจกรรมที่ 2 มาประกอบ
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การเขียนจะสืบเนื่องมาจากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาและสอดรับกันเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน นอกจากนี้การเขียนจึงเป็นการเขียนในลักษณะที่บ่งบอกถึงว่าผู้วิจัย "ต้องการรู้อะไร" หรือ "ต้องการทำอะไร" เกี่ยวกับงานวิจัยในชั้นเรียนมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า "เพื่อ" และตามด้วยข้อความที่จะแสดงวิธีทำในการวิจัย เช่น เพื่อศึกษา เพื่อเปรียบเทียบ เพื่อสร้าง เพื่อทดลอง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อต้องสอดรับกับหัวข้อการวิจัยในชั้นเรียนด้วย
4. สมมติฐานการวิจัย
สมมติฐานการวิจัย คือ สิ่งที่ผู้วิจัยสันนิสฐาน หรือคาดคิดว่าจะเป็นคำตอบของปัญหาหรือข้อสงสัยที่จะทำการศึกษา ไม่ใช่การคาดเดาแต่ต้องมีเหตุผลหรือผลการวิจัยหรือทฤษฏีรองรับสมมติฐานที่ตั้งขึ้น ดังนั้นการตั้งสมมติฐานจึงไม่ในการตั้งขึ้นมาลอย ๆ แต่ตั้งขึ้นมาเพื่อในเป็นทิศทางในการพิสูจน์หรือทดสอบหรือดำเนินการวิจัยได้อย่างตรงประเด็น พร้อมทั้งช่วย
จำกัดของเขตและทำให้ปัญหาการวิจัยชัดเจนขึ้น
การเขียนสมมติฐานวิจัยในชั้นเรียนควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. ควรมีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะง่ายต่อการพิสูจน์หรือทดสอบ
2. ต้องสามารถทดสอบได้ทางสถิติจากการวิจัยในชั้นเรียนที่ทำอยู่
3. ต้องสอดคล้องกับสภาพความจริงทีเป็นอยู่ในปัจจุบัน
4. ใช้ภาษาที่ง่าย ๆ มีความหมายชัดเจน
5. สอดรับกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
6. ....การวิจัยและตัวแปรที่ต้องการศึกษา
5. ขอบเขตของการวิจัย
การกำหนดของเขตการวิจัย เป็นการขีดกรอบของการวิจัยให้ชัดเจนว่าการวิจัยครอบคลุมสิ่งใดบ้างสำหรับการวิจัยในชั้นเรียน การกำหนดขอบเขตของการวิจัยมักกำหนดในส่วนของ
- ประชากร จำกล่าวถึงภาพรวม เช่น ชั้น ระดับการศึกษา เป็นต้น
- กลุ่มต้วอย่าง เช่น ชั้น ระดับการศึกษา ปีการศึกษา จำนวน (คน หรือ ห้อง) เป็นต้น
- ตัวแปรที่ศึกษา
- ตัวแปรอิสระ (ชื่อนวัตกรรมที่ใช้) > ปัจจัยต้นเหตุ
- ตัวแปรตาม (ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นโดยตรงหลังการใช้นวัตกรรม) > ผลที่ได้รับ
- ระยะเวลา / ช่วงเวลาที่ศึกษา (ช่วงที่มีการใช้นวกรรมจริง)
- เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล มีอะไรบ้าง
- ขอบเขตเนื้อหาสาระ
- สถานที่หรือพื้นที่ศึกษา (โรงเรียน, สังกัด, เขตการศึกษา)
6. ข้อตกลงเบื้องต้น
เป็นสถานการณ์หรือเงื่อนไขที่ผู้วิจัยจะไม่ได้ตรวจสอบหรือไม่ได้ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ ซึ่งเป็นสถานการณ์หรือเงื่อนไขที่ยอมรับอย่างมีเหตุผล โดยทั่วไปจะตกลงเกี่ยวกับการวัด การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผล
7. คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย
เป็นการให้นิยามแก่คำศัพท์หรือตัวแปรที่ปรากฏในงานวิจัยที่ทำหรือเรียกว่านิยามปฏิบัติการ ซึ่งการให้คำนิยามไม่ใช่เป็นการให้นิยามตามพจนานุกรมซึ่งถือว่าเข้าใจตรงกันแล้วแต่เป็นคำนิยามที่สร้างความเข้าใจตรงกันเมื่อผู้อื่นได้อ่านงานวิจัยเรื่องนั้น
8. ประโยชน์ของการวิจัยหรือผลที่คาดว่าจะได้รับ
การเขียนประโยชน์ของการวิจัยเป็นการย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการวิจัยที่จะดำเนินการว่าเกิดประโยชน์อย่างไรบ้างเมื่อได้ทำวิจัย เป็นการเขียนเพื่อบ่งบอกถึงประโยชน์ของการนำไปใช้ในภาพกว้าง โดยคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. เขียนแยกรายข้อ ไม่ควรเขียนรวมไว้ด้วยกันทั้งหมด
2. ต้องสอดรับกับวัตถุประสงค์และเกิดขึ้นจากผลการทำวิจัยหรือนำผลการวิจัยไปใช้ แต่ไม่ใช่ในลักษณะล้อเลียนวัตถุประสงค์การวิจัย
3. คุณค่าของงานวิจัยไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนข้อของประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย แต่ขึ้นอยู่กับผลที่เกิดขึ้นจริงจากการทำวิจัย
9. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
ผู้วิจัยต้องทำการศึกษาเอกสารต่าง ๆ เช่น งานวิจัย ตำรา บทความวิชาการ ทฤษฏีต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยกำลังทำวิจัยอยู่ เพื่อให้ได้ความรู้มาเพื่อใช้ในการวางแผนอ้างอิง และดำเนินการวิจัยอย่างมีคุณภาพการเขียนผลการศึกษาจะต้องเขียนในลักษณะของการสังเคราะห์ไม่ใช่การย่อหรือตัดตอนมาปะติดปะต่อกัน โดยนำเสนอประเด็นทีเกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนหรือชี้ประเด็นที่ได้แย้ง เพื่อให้เห็นกรอบการวิจัย หรือประเด็นปัญหาการวิจัย นอกจากนี้ควรเสนอผลการศึกษา ที่เป็นเหตุผลของการกำหนดวิธีการศึกษา และในการเขียนควรระบุแหล่งอ้างอิงไว้ด้วย
10. วิธีการดำเนินการวิจัย
ให้ระบุถึงวิธีดำเนินการวิจัย อาจเขียนเป็นขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นเตรียมการ ควรระบุรายละเอียดเป็นข้อ ๆ เกี่ยวกับ
1.1 การรวบรวมข้อมูล การกำหนดปัญหาและการวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหา
1.2 การกำหนดหัวข้อที่จะจัดทำวิจัยในชั้นเรียน
1.3 การศึกษา หลักการ แนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
1.4 การกำหนดกรอบโครงร่างในการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนที่จะใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน
2. ขั้นดำเนินการ ควรระบุรายละเอียดเป็นข้อ ๆ เกี่ยวกับ
2.1 การสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน โดยเขียนขยายกรอบโครงร่างของนวัตกรรมดังกล่าวว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง มีรูปแบบหรือลักษณะอย่างไร อาจเขียนแสดงเป็นแผนภูมิหรือแผนภาพก็ได้ และจะนำไปทดลองหาประสิทธิภาพโดยวิธีการใด กับใคร จำนวนเท่าใด
2.2 การสร้างเครื่องมือวัด ให้ระบุว่าจะสร้างเครื่องมือชนิดใดบ้างจะมีการหาคุณภาพของเครื่องมือวัด โดยวิธีการใด กับใครบ้าง
2.3 การนำนวัตกรรมไปทดลองใช้งานจริงในรูปแบบการทดลองแบบใด ใช้กับกลุ่มประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง จำนวนเท่าใด เมื่อใด
2.4 การวิเคราห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ให้ระบุว่าจะวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการใดและสถิติอะไรในการรายงานผลการวิจัยในชั้นเรียน
3. ขั้นสรุปผลและเผยแพร่ อาจระบุว่าจะนำเสนอรายงานการวิจัยโดยการแบ่งหัวข้อหรือหมวดหมู่อย่างไรบ้าง และจะมีการเผยแพร่อย่างไร
11. ปฏิทินปฏิบัติงาน
เป็นการวางแผนการทำงาน ซึ่งควรสอดรับกับขั้นตอนการทำวิจัยและกำหนดระยะเวลาควรมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ ในปฏิทินการปฏิบัติงานควรจะประกอบไปด้วยกิจกรรม ขั้นตอนและระยะเวลาที่ปฏิบัติ
12. เอกสารอ้างอิง
ระบุถึงเอกสารต่าง ๆ เช่นงานวิจัย บทความ ตำรา หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่ผู้วิจัยนำมาอ้างอิง สำหรับการเขียนจะยึดระบบการเขียนอ้างอิงหรือบรรณานุกรมแบบหนึ่งแบบใดก็ได้
ในกรณีที่ผู้วิจัยมีความชำนาญในการทำวิจัยแล้ว หรือเป็นการทำวิจัยที่ไม่ได้ขอทุนวิจัยจากหน่วยงานต่าง ๆ
ก็ไม่จำเป็นต้องเขียนเค้าโครงเต็มรูป แต่อาจเขียนเป็น กรอบการทำวิจัย (Research Framework)
ซึ่งเป็นแผนการวิจัยที่แสดงเค้าโครงอย่างสังเขปของการวิจัย โดยมีรายละเอียดไม่มาก นำมาใช้ในกรณีทำวิจัยในชั้นเรียนได้
กรอบการทำวิจัยมีส่วนประกอบดังนี้
1. หัวข้อ หรือชื่อเรื่องการวิจัย
2. ปัญหาและสาเหตุที่ต้องการหรือพัฒนา
3. วัตถุประสงค์
4. หลักการ ทฤษฏีอ้างอิงที่สำคัญและเกี่ยวข้องที่นำมาแก้ปัญหา หรือ สร้างนวัตรกรรมที่สอดคล้องกับปัญหาการวิจัย
5. แนวทางของวิธีการหรือนวัตกรรมที่นำมาแก้ปัญหา หรือพัฒนารูปแบบที่นำไปใช้วิธีวิจัย
6. ระยะเวลาในการวิจัย
7. เอกสารอ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น