สุมน อมรวิวัฒน์ (2542 : 36) ได้สรุปความหมายของโยนิโสมนสิการว่า หมายถึงการคิดแบบแยบคาย คิดถูกวิธี คิดเป็น คิดตรงตามสภาวะของเหตุปัจจัย คิดอย่างมีเหตุผล คิดสืบค้น และทำนายผลอย่างมีขั้นตอนเป็นระบบ
ทิศนา แขมมณี
และคณะ (2544 : 87) กล่าวว่า โยนิโสมนสิการคือ การคิดเป็น
เป็นความสามารถที่บุคคลรู้จักมอง
รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามสภาวะ
โดยวิธีคิดหาเหตุปัจจัยสืบค้นจากต้นเหตุตลอดทางจนถึงผลสุดท้ายที่เกิด แยกแยะเรื่องออกให้เห็นตามสภาวะที่เป็นจริง คิดตามความสัมพันธ์ที่สืบทอดจากเหตุ
โดยไม่เอาความรู้สึกอุปาทานของตนเองเข้าไปจับ หรือเคลือบคลุมบุคคลนั้นจะสามารถแก้ปัญหาต่าง
ๆ ได้อย่างเหมาะสมด้วยวิธีการแห่งปัญญา
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) (2546 : 615 – 671) ให้ความหมายของโยนิโสมนสิการว่า หมายถึง
ความรู้จักคิดหรือคิดเป็น
คิดถูกวิธีของบุคคลนั้นเอง
เป็นการเริ่มต้นจากปัจจัยภายในว่าโดยรูปศัพท์ โยนิโสมนสิการประกอบด้วย โยนิโส
กับ มนสิการ โยนิโสมาจากโยนิ แปลว่า
เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด
ปัญญา อุบาย วิธี
ทาง ส่วนมนสิการ แปลว่า
การทำในใจ การคิดคำนึง นึกถึง
ใส่ใจพิจารณา เมื่อรวมเข้าเป็นโยนิโสมนสิการ ท่านแปลสืบ ๆ กันมาว่า การทำในใจโดยแยบคาย คัมภีร์ชั้นอรรถกถาและฏีการได้ไขความไว้โดยแสดงไวพจน์ให้เห็นความหมายแยกเป็นแง่
ๆ ดังต่อไปนี้
1. อุบายมนสิการ
แปลว่า คิดหรือพิจารณา โดยอุบาย
คือ คิดอย่างมีวิธี หรือคิดถูกวิธี หมายถึง
คิดถูกวิธีที่จะให้เข้าถึงความจริง
สอดคล้องเข้าแนวกับสัจจะ
ทำให้หยั่งรู้สภาวะลักษณะและสามัญลักษณะของสิ่งทั้งหลาย
2. ปถมนสิการ
แปลว่า
คิดเป็นทางหรือคิดถูกทาง คือ คิดได้ต่อเนื่องเป็นลำดับ จัดลำดับได้หรือมีลำดับ มีขั้นตอน
แล่นไปเป็นแถวเป็นแนว หมายถึง ความคิดเป็นระเบียบตามแนวเหตุผล เป็นต้น
ไม่ยุ่งเหยิงสับสน
ไม่ใช่ประเดี๋ยววกเวียนติดพันเรื่องนี้
ที่นี้
เดี๋ยวเตลิดออกไปเรื่องนั้นที่โน้น
หรือกระโดดไปกระโดดมา
ต่อเป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้
ทั้งนี้รวมทั้งความสามารถที่จะชักนำความนึกคิดเข้าสู่แนวทางที่ถูกต้อง
3. การณมนสิการ
แปลว่า คิดตามเหตุ คิดค้นเหตุ
คิดตามเหตุผล
หรือคิดอย่างมีเหตุผล หมายถึง การคิดสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์สืบทอดกันแห่งเหตุปัจจัย พิจารณาสืบสาวหาสาเหตุ ให้เข้าถึงต้นเค้า หรือแหล่งที่มาซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาตามลำดับ
4. อุปปาทกมนสิการ แปลว่า
คิดให้เกิดผล คือใช้ความคิดให้เกิดผลที่พึงประสงค์เล็งถึงการคิดอย่างมีเป้าหมาย หมายถึง
การคิดการพิจารณาที่ทำให้เกิดกุศลกรรม
เช่น
ปลุกเร้าให้เกิดความเพียร
การคิดที่ทำให้หายหวาดกลัว
ให้หายโกรธ
การพิจารณาที่ทำให้มีสติ หรือทำให้จิตใจเข้มแข็ง มั่นคง
ไขความทั้ง 4 ข้อนี้
เป็นเพียงการแสดงลักษณะด้านต่าง ๆ
ของความคิดที่เรียกว่า
โยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่ง
ๆ อาจมีลักษณะครบทีเดียวทั้ง 4 ข้อ
หรือเกือบครบทั้งหมด
หากจะเขียนลักษณะทั้ง 4 ข้อนั้นสั้น ๆ คงได้ความว่า
คิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผลและคิดเร้ากุศล แต่ถ้าจะสรุปเป็นคำจำกัดความ ก็เห็นว่าทำยาก มักจับเอาไปได้บางแง่บางด้าน ไม่ครอบคลุมทั้งหมด หรือไม่ก็ต้องเขียนบรรยายยืดยาว
อย่างไรก็ตามีลักษณะเด่นบางอย่างของความคิดแบบนี้ที่อาจถือเป็นตัวแทนของลักษณะอื่น
ๆ ได้
ดังที่เคยแปลโดยนัยว่า
ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด การคิดเป็น
การคิดตรงตามสภาวะและเหตุปัจจัย
การคิดสืบค้นถึงต้นเค้า
เป็นต้น หรือแปลสืบ ๆ กันมาว่า
การทำในใจโดยแยบคายก็ได้
วนิช สุธารัตน์
(2547
: 122) กล่าวถึงโยนิโสมนสิการว่า เป็นกระบวนการคิดที่อาศัยปัญญา เพื่อทำให้ความคิดเป็นความคิดที่บริสุทธิ์ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของอารมณ์ ความรู้สึก
ความต้องการ
หรือความอยากในรูปแบบต่างๆ
ซึ่งรู้จักกันในชื่อของอวิชชา
(ความโง่) และตัณหา (ความอยาก)
โดยปกติสิ่งต่าง ๆ
เหล่านี้มีอำนาจหรืออิทธิพลครอบงำความคิดของของปุถุชนทั่ว ๆ ไป
และมีอำนาจชักจูงให้ความคิดของบุคคลคล้อยตาม ทำให้บุคคลตกอยู่ภายใต้อำนาจของความคิด หรือทาสของความคิด โยนิโสมนสิการ
เป็นกระบวนการคิดที่อาศัยสติสัมปชัญญะเข้ามาร่วมทำงานกับปัญญา ทำให้บุคคลมีสติ สามารถรู้ตัวได้อย่างรวดเร็ว และว่องไว
รู้เท่าทันอวิชชา
และตัณหาที่เข้ามาครอบงำจิตใจของตนอยู่
ซึ่งส่งผลให้กระบวนการคิดเกิดขึ้นด้วยความบริสุทธิ์สามารถพิจารณาสรรพสิ่งตามสภาวะของเหตุปัจจัย ทำให้เข้าใจความจริงหรือเกิดกุศลธรรม
ส่งผลให้บุคคลวางท่าทีและการปฏิบัติต่อสิ่งนั้นได้อย่างเหมาะสม
จากความหมายของโยนิโสมนสิการสรุปได้ว่า โยนิโสมนสิการ
คือ การคิดในใจอย่างละเอียดถี่ถ้วน ลึกซึ้ง
มีระเบียน มีเหตุมีผล และสร้างสรรค์
ไม่ใช้อารมณ์เข้าใจโลกเข้าใจชีวิต
สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ
ได้อย่างเหมาะสมเกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม
2. วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
(2546
: 675 – 727) กล่าวว่า วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 2 แบบ
คือ
โยนิโสมนสิการที่มุ่งสกัดหรือกำจัดอวิชชาโดยตรง และโยนิโสมนสิการที่มุ่งเพื่อสกัดหรือบรรเทาตัณหา โยนิโสมนสิการที่มุ่งกำจัดอวิชชาโดยตรง ตามปกติเป็นแบบที่ต้องใช้ในการปฏิบัติธรรมจนถึงที่สุด
เพราะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตรัสรู้ ส่วนโยนิโสมนสิการแบบสกัดหรือบรรเทาตัณหามักใช้เป็นข้อปฏิบัติต้น
ๆ ซึ่งมุ่งเตรียมพื้นฐาน หรือพัฒนาตนในด้านคุณธรรมให้เป็นผู้พร้อมสำหรับการปฏิบัติขั้นสูงขึ้นไปพระธรรมปิฎก ได้ประมวลวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการได้ 10 แบบดังนี้
1.
วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย
คือ
พิจารณาปรากฎการณ์ที่เป็นผลให้รู้จักสภาวะที่เป็นจริง หรือพิจารณาปัญหา หาหนทางแก้ไขด้วยการค้นหาสาเหตุและปัจจัยต่าง
ๆ ที่สัมพันธ์ส่งผลสืบทอดกันมา อาจเรียกว่า
วิธีคิดตามหลักอิทัปปัจจยตา
หรือคิดตามหลักปฏิจจสมุปบาท
จัดเป็นวิธีโยนิโสมนสิการแบบพื้นฐาน
มีแนวปฏิบัติดังนี้
1.1
คิดแบบปัจจัยสัมพันธ์ สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดขึ้น “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ”
1.2 คิดแบบสอบสวนหรือตั้งคำถาม เช่น
อุปาทานมีเพราะอะไรเป็นปัจจัย
อุปาทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
ตัณหามีเพราะอะไรเป็นปัจจัย
ตัณหามีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
เวทนามีเพราะอะไรเป็นปัจจัย
2.
วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบหรือกระจายเนื้อหา
เป็นการคิดที่มุ่งให้มองและให้รู้จักสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมันเอง ใน
ทางธรรมมักใช้พิจารณาเพื่อให้เห็นความไม่มีแก่นสารหรือความไม่เป็นตัวเป็นตน
ที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลายให้หายยึดติดถือมั่นในสมมติบัญญัติ
โดยเฉพาะการพิจารณาเห็นสัตว์บุคคลเป็นเพียงการประชุมกันเข้าขององค์ประกอบต่าง
ๆ ที่เรียกว่าขันธ์ 5 การพิจารณาเช่นนี้ช่วยมองเห็นความเป็นอนัตตา
วิธีคิดแบบนี้มิใช่เพียงแต่จำแนกแจกแจงแยกแยะไปอย่างเดียวเท่านั้น แต่มีการจัดประเภทหมวดหมู่ไปพร้อมกัน จัดเป็น “วิภัชชวิธี” อย่างหนึ่ง เป็นการจำแนกอย่างมีหลักเกณฑ์ ถ้าจะเรียกอย่างสมัยใหม่คงหมายถึง “วิธีคิดแบบวิเคราะห์” วิธีคิดแบบนี้มีตัวอย่างมากในพุทธธรรม และรูปธรรม
มาแยกแยะส่วนประกอบ
และจัดหมวดหมู่อย่างชัดเจน
3. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ หรือวิธีคิดแบบรู้เท่าทันความเป็นไปของธรรมชาติและความเป็นปกติธรรมดาของสภาวะทั้งหลาย
วิธีคิดแบบนี้จะกระทำได้ต่อเมื่อได้มีสาระความรู้ในหลักการของธรรมชาติ รู้ความเป็นไปของเหตุผลและปัจจัยต่าง ๆ
อย่างลึกซึ้งจึงจะสามารถคิดสรุปความเป็นไปของสภาวะเหล่านั้น (Generalization) ว่ามันมีเหตุให้เกิดขึ้นเปลี่ยนแปลง
และสลายไปตระหนักถึงความจริงที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์นี้เป็น 2 ขั้นตอน
คือ
ขั้นที่หนึ่งเป็นการคิดอย่างรู้เท่าทันความเป็นไปของธรรมชาติและความเป็นปกติของธรรมดา วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์นี้เป็น 2 ขั้นตอน
คือ
ขั้นที่หนึ่งเป็นการคิดอย่างรู้เท่าทันและยอมรับความจริง ขั้นที่สอง
เป็นการปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายโดยสอดคล้องกับความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็นการปฏิบัติด้วยปัญญา
รู้เท่าทันแก้ไขตรงเหตุและปัจจัยด้วยสติสัมปชัญญะ คือกำหนดรู้
เมื่อคิดเช่นนี้ได้ บุคคลก็จะมีอิสระไม่ถูกบีบคั้นหลงจมอยู่ในความทุกข์
4. วิธีคิดแบบอริยสัจหรือคิดแบบแก้ปัญหา พระราชวรมุนีอธิบายว่า
เป็นวิธีคิดที่สามารถขยายให้ครอบคลุมวิธีคิดแบบอื่น ๆ ได้ทั้งหมด
วิธีคิดแบบอริยสัจนี้มีลักษณะทั่วไป
2
ประการ คือ
4.1 เป็นวิธีคิดตามเหตุและผล หรือเป็นไปตามเหตุและผล สืบสาวจากผลไปหาเหตุ แล้วแก้ไขและทำการที่ต้นเหตุ จัดเป็น
2 คู่ คู่ที่
1 : ทุกข์เป็นผล เป็นตัวปัญหา
เป็นสถานการณ์ที่ประสบซึ่งไม่ต้องการ : สมุทัยเป็นเหตุ เป็นที่มาของปัญหา เป็นจุดที่ต้องจำกัดหรือแก้ไข จึงจะพ้นจากปัญหาได้ คู่ที่
2 : นิโรธเป็นผล เป็นภาวะสิ้นปัญหา เป็นจุดหมาย
ซึ่งต้องการจะเข้าถึง : มรรคเป็นเหตุ เป็นวิธีการ
เป็นข้อปฏิบัติที่ต้องกระทำในการแก้ไขสาเหตุ เพื่อบรรลุจุดหมาย คือ
ภาวะสิ้นปัญหาอันได้แก่
ความดับทุกข์
4.2 เป็นวิธีคิดที่ตรงจุด ตรงเรื่อง
ตรงไปตรงมา
มุ่งตรงต่อสิ่งที่จะต้องทำ
ต้องปฏิบัติ
ต้องเกี่ยวข้องกับชีวิต
ใช้แก้ปัญหา
ไม่เกี่ยวกับการแก้ปัญหา
5. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ คือ
การคิดพิจารณาให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างธรรม (หลักการ)
กับอรรถ (ความมุ่งหมาย) คำว่าธรรมนั้นคือหลักความจริงหลักความดีงาม หลักปฏิบัติ
หลักการนำไปใช้ปฏิบัติและหลักคำสอน
ส่วนอรรถนั้นแปลว่า ความมุ่งหมายหรือจุดหมายหรือสาระที่พึงประสงค์ พระราชวรมุนีได้อธิบายว่า ความรู้
เข้าใจ
ตระหนักในจุดหมายและขอบเขตแห่งคุณค่าของหลักธรรมต่าง ๆ
เป็นเครื่องกำหนดความถูกต้อง
พอเหมาะพอดีแห่งการปฏิบัติหลักธรรมนั้น ๆ อันเป็นธรรมมานุธรรมปฏิบัติ
การฝึกหัดอบรมตนให้ปฏิบัติในทางสายกลางก็ดี การบำเพ็ญศีล
สมาธิ ปัญญาก็ดี ย่อมอาศัยพื้นฐานการคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ และอาศัยการช่วยชี้แจงหลักการ จุดหมายโดยผู้เป็นกัลยาณมิตรด้วย
6. วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก
วิธีคิดแบบนี้เป็นวิธีคิดที่ใช้เป็นหลักในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติได้อย่างดีวิธีหนึ่ง
การคิดแบบนี้ต้องได้มีการมองสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริงทุกแง่ทุกด้าน คือมองในแง่เป็นอัสสาทะ (ส่วนดี
น่าพึงพอใจ) อาทีนวะ (ส่วนเสีย
โทษข้อบกพร่อง) และนิสสรณะ (ทางออกภาวะหลุดรอดปลอดพ้น) พระราชวรมุนีเน้นว่า การคิดแบบนี้มีลักษณะที่พึงย้ำ 2 ประการ
คือ
6.1 การที่จะเชื่อว่ามองเห็นตามเป็นจริงนั้น จะต้องมองเห็นทั้งด้านดี ด้านเสีย
หรือทั้งคุณแลโทษของสิ่งนั้น
6.2
เมื่อจะแก้ปัญหาหรือลงมือปฏิบัติต้องมองเห็นจุดหมาย และทางออก
นอกเหนือจากการรู้คุณโทษของสิ่งนั้น
ด้วยการคิดหาทางออกที่ดีที่สุดไปพร้อม ๆ
กับการพิจารณาผลดี
ผลเสียจะทำให้บุคคลสามารถปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับสภาพเหตุการณ์ และปัญหาที่เกิดขึ้น
7. วิธีคิดแบบคุณค่าแท้ –
คุณค่าเทียม
เป็นการคิดถึงคุณค่าหรือประโยชน์ที่สนองความต้องการของชีวิตโดยตรงหรือเป็นเพียงประโยชน์ที่พอกเสริม โดยมีตัณหาเป็นเครื่องวัด วิธีคิดนี้เป็นการพิจารณาอย่างใช้ปัญญาไตร่ตรองให้มนุษย์รู้จักเลือกเสพคุณค่าที่เป็นประโยชน์แก่ชีวิตที่แท้จริง และเกื้อกูลความเจริญในกุศลธรรม
ซึ่งต่างจากคุณค่าเทียมอันนำไปสู่อกุศลธรรม ความโลภ
มัวเมา ริษยา มานะ
ทิฎฐิ เบียดเบียน แก่งแย่งกัน
8. วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม อาจเรียกง่าย ๆ ว่า
วิธีคิดแบบเร้ากุศล
หรือคิดแบบกุศลภาวนา
เป็นวิธีคิดในแนวสกัดกั้นหรือบรรเทา
และขัดเกลาตัณหาจึงจัดได้ว่าเป็นข้อปฏิบัติระดับต้น ๆ
สำหรับส่งเสริมความเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรม สร้างเสริมสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกิยะหลักการทั่วไปของวิธีคิดแบบนี้มีอยู่ว่า ประสบการณ์คือ
สิ่งที่ได้ประสบหรือได้รับรู้อย่างเดียวกันบุคคลผู้ประสบหรือรับรู้ต่างกัน
อาจมองเห็นหรือคิดนึกปรุงแต่งไปคนละอย่างสุดแต่โครงสร้างแนวทางความเคยชินต่าง
ๆ ที่เป็นเครื่องปรุงของจิต คือ สังขารที่ผู้นั้นได้สั่งสมไว้ หรือสุดแต่การทำใจในขณะนั้น ๆ และในแง่ที่ช่วยให้แก้ไขนิสัยความเคยชินร้าย
ๆ
ของจิตที่ได้สั่งสมมาแต่เดิมพร้อมกับสร้างนิสัยความเคยชินใหม่ ๆ ที่ดีงามให้แก่จิตไปในเวลาเดียวกัน ในทางตรงข้ามหากปราศจากอุบายแก้ไขเช่นนี้ ความคิดและการกระทำของบุคคลที่จะถูกชักนำให้เดินไปตามแรงชักจูงของความเคยชินเก่า
ๆ ที่ได้สั่งสมไว้เดิมเพียงอย่างเดียว
และช่วยเสริมความเคยชินอย่างนั้นให้มีกำลังแรงมากยิ่งขึ้น
9. วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน
หรือวิธีคิดแบบมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์หมายถึง การใช้ความคิดและเนื้อหาของความคิดที่สติระลึกรู้กำหนดอยู่และการคิดในแนวทางของความรู้หรือคิดด้วยอำนาจของปัญญา
สามารถฝึกอบรมจิตให้เกี่ยวข้องรับรู้ในภารกิจที่กำลังกระทำอยู่ในปัจจุบันแม้หากจิตเกิดหลุดลอยไปยังเรื่องที่เกิดขึ้นและผ่านไปแล้ว
(อดีต)
หรือฟุ้งซ่านไปยังสิ่งที่ยังไม่เกิด (อนาคต)
ก็สามารถใช้สติเหนี่ยวรั้ง
เพ่งและโยงสู่ภาระหน้าที่ที่กำลังกระทำอยู่ในปัจจุบันได้
10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท เป็นวิธีคิดที่เชื่อโยงกับการพูด วิภัชชวาท
มาจากคำว่า วิภัชช (แยกแยะ จำแนก
วิเคราะห์) วาท (การพูด
การแสดงคำตอบ)
ในพระพุทธศาสนานั้น วาทะเป็นไวพจน์ของคำว่าทิฎฐิ (ความคิดเห็น)
ด้วยลักษณะที่สำคัญของความคิด
และการพูดแห่งนี้ คือ การมอง
และแสดงความจริงโดยแยกแยะออกให้เห็นแต่ละแง่ แต่ละด้านครบทุกแง่ทุกด้าน พระราชวรมุนีได้จำแนกแนววิธีคิดแบบวิภัชชวาทในลักษณะต่าง
ๆ ดังนี้
10.1 จำแนกโดยแง่ความจริง คือ
จำแนก
และอธิบายตามความจริงทีละแง่ทีละด้าน
ทั้งข้อดี
และข้อเสียจนครบทุกแง่
ทุกด้านว่าดี
และเสียอย่างไรตามความเป็นจริงแล้วประมวลกันเข้า โดยครบถ้วนสามารถสรุปลักษณะ และองค์ประกอบได้
10.2 จำแนกโดยส่วนประกอบ คือ
คิดแยกแยะองค์ประกอบย่อย ๆ
ของสิ่งนั้น
10.3 จำแนกโดยลำดับขณะ คือ
แยกแยะวิเคราะห์ปรากฏการณ์ตามลำดับความสืบทอดแห่งเหตุปัจจัยซอยออกไปเป็นแต่ละขณะ
ๆ
ให้มองเห็นด้วยเหตุปัจจัยที่แท้จริง
ไม่ถูกลวงไม่จับเหตุปัจจัยสับสน
10.4 จำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย คือ
สืบสาวสาเหตุปัจจัยต่าง ๆ
ที่สัมพันธ์สืบทอดกันมาของสิ่งหรือปรากฎการณ์ต่าง ๆ วิธีคิดจำแนกในแง่นี้ตรงกับวิธีคิดแบบที่ 1
ทั้งนี้เพราะภาวะของสิ่งทั้งหลายนั้นมีความสัมพันธ์กัน ขึ้นต่อกันและสืบทอดกัน เนื่องด้วยปัจจัยย่อยต่าง ๆ ความมีหรือไม่มีไม่ใช่ภาวะเด็ดขาดลอยตัว ภาวะที่เป็นจริงเป็นเหมือนอยู่กลางระหว่างความเห็นเอียงสุดทั้งสองนั้น
ความคิดแบบจำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยช่วยให้มองเห็นความจริงนั้น
และตามแนวคิดนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมอย่างที่เรียกว่า เป็นกลาง ๆ
คือ ไม่กล่าวว่าสิ่งนี้มี หรือว่าสิ่งนี้ไม่มี แต่กล่าวว่าเพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มีหรือว่านี้มีในเมื่อนั้นมี นี้ไม่มีเมื่อนั้นไม่มี
10.5 จำแนกโดยเงื่อนไข คือ
มองหรือแสดงความจริงโดยพิจารณาเงื่อนไข
ประกอบด้วย เช่น ถ้ามีผู้ถามว่า “บุคคลนี้ควรคบหรือไม่” พระภิกษุจะตอบตามเงื่อนไขว่า “ถ้าคบแล้วอกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม ไม่ควรคบ
แต่ถ้าคบแล้ว อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญควรคบ ควรเกี่ยวข้อง”
10.6 วิภัชชวาทในฐานะวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง เป็นวิธีคิดตอบปัญหาอย่างหนึ่งใน 4 วิธีตอบปัญหาของพระพุทธเจ้าคือ
10.6.1 เอกังสพยากรณ์
การตอบแง่เดียว
คือตอบอย่างเดียวเด็ดขาด
10.6.2 วิภัชชพยากรณ์ การแยกแยกตอบ
10.6.3 ปฎิปุจฉาพยากรณ์ การตอบโดยย้อนถาม
10.6.4 ฐปนะ การยั้ง
หรือหยุด พับปัญหาเสียไม่ตอบ
วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการทั้ง 10 วิธีนี้
ถ้าตรวจดูขั้นตอนการทำงานแล้วจะเห็นการคิดเป็นสองช่วง คือ
คิดทั้งตอนรับรู้อารมณ์
หรือประสบการณ์จากภายนอก
และคิดค้นพิจารณาอารมณ์หรือเรื่องราวที่เก็บเข้ามาแล้วภายใน ซึ่งวิธีคิดนี้ต่างก็อิงอาศัยกันและกัน สัมพันธ์กัน
วิธีการศึกษาเผชิญสถานการณ์
และแก้ปัญหาของชีวิตต้องบูรณาการความคิดเหล่านี้ รู้จักเลือกรูปแบบวิธีคิดมาผสมกลมกลืนกัน เพื่อนำไปสู่การสร้างแนวปฏิบัติอย่างถูกต้อง ตรงกับความจริงในทางสายกลาง สรุปได้ว่า
ถ้าพูดในเชิงวิชาการ
และในแง่ของการทำหน้าที่ของวิธีโยนิโสมนสิการทั้งหมดสามารถสรุปได้ 2 ประเภท
คือ
1. โยนิโสมนสิการแบบปลุกปัญญา มุ่งให้รู้แจ้งตามสภาวะ เน้นการที่ขจัดอวิชชาเป็นฝ่ายวิปัสสนา มีลักษณะเป็นหารส่องสว่าง ทำลายความมืด
หรือชำระล้างสิ่งสกปรก
ไปสู่โลกุตรสัมมาทิฎฐิ
2. โยนิโสมนสิการแบบสร้างเสริมคุณภาพจิต มุ่งปลุกเร้ากุศลธรรมอื่น ๆ เน้นที่การสกัดหรือข่มตัณหา เป็นฝ่ายสัมถะ
มีลักษณะเป็นการเสริมสร้างพลังหรือปริมาณฝ่ายดีมากดข่มทับหรือบังฝ่ายชั่วไว้
สรุปว่าวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการนั้นสามารถใช้เพื่อการสกัดกั้นตัณหาและอวิชชาซึ่งมีวิธีคิดได้ถึง 10 วิธี
สำหรับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก และแบบคุณค่าแท้ –
คุณค่าเทียม
https://sites.google.com/site/sereerat2010/1-3
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=225039
https://sites.google.com/site/sereerat2010/1-3
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=225039
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น