วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
การเรียนรู้ 6 ระดับ Conitive Domain
สำหรับคำว่า "การเรียนรู้ " ทุกคนล้วนคุ้นเคยกันดีและเคยได้ยินผ่านหู เคยพูด เคยเขียนมาตัง้ แต่เด็ก ๆ การเรียนรู้แท้จริงแล้วคือ อะไรแต่อาจจะกำหนดนิยามความเข้าใจส่วนตัว เอาไวในใจแลว้และถูกหนดแบ่งเป็นการเรียนรู้แบบใดบ้าง และการเรียนรู้มีระดับใดบ้าง กี่ระดับ ว่ากันจริง ๆ แล้วแค่คำพูดสั้น ๆ คำนี้สามารถตีความหมายแตกรายละเอียดได้อีมากมาย และมีการศึกษาวิจัยเอาไว้เป็นตำราด้านการเรียนรู้หลายทฤษฏี แต่ละทฤษฏีล้วนมีแนวคิดที่น่าสนใจการนำความรู้ หล่านั้นมาใช้ก็ ขึ้นอยู่กับว่าจะนำมาใช้ในเรื่องใดเช่นด้านการศึกษา เรานำทฤษฏีการเรียนรู้ 6 ลำ ดับขั้นมาใช้ในการกำหนดระดับความรู้แล้วนำมาใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน
การเรียนรู้เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์ตัง้ แต่เกิดจนตาย และช่วงที่มีการเรียนรู้ที่ยาวนานที่สุดคือวยั เรียนซึ่งก็ต้องอยู่ในระบบการศึกษา มีผู้สอนวิชาต่าง ๆ ให้เป็นพื้นฐานชีวิต ซึ่งมีทั้ง ในทางทฤษฏีและปฏิบัติ ระบบการศึกษาจำเป็นต้องมีทฤษฏีแต่การเรียนรู้เพียงในทางทฤษฏีแต่ไม่เคยนำไปปฏิบัติ หรือเรียนรู้ทฤษฏี แต่เมื่อปฏิบัติไม่ได้นำไปใช้ ก็ไม่ต่างจากการลองผิดลองถูกกับผู้เรียน มันจะส่งผลเสียต่อผู้เรียนทัง้ ในปัจจุบันและอนาคต ทฤษฏีการเรียนรู้สามารถนำไปปฏิบัติในครอบครัวโดยผู้ปกครองและในสถานศึกษาการเรียนรู้คือกระบวนกาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด ความสามารถ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้โดย การฟังพูด คิด อ่านเขียน ฝึกฝน การกระทำ โดยตรงที่เกิดความสำ เร็จและผิดพลาดทำให้เกิดทักษะ คุณค่า ความพึงพอใจ
ระดับขั้น การเรียนรู้มีอะไรบ้าง
1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) เป็นการเรียนรู้ระดับข้อมูลพื้นฐาน เช่น ศัพท์ นิยาม คำจำกัดความ รูปภาพ อักษร กฏสูตร ขนาด เวลา สถานที่ ระเบียบ แบบแผน ประเพณี
2. ความเข้าใจ (Comprehend) เช่น แปลความ ตีความ ขยายความอธิบายเพมิ่ เติมโดยสาระนั้นไม่เปลี่ยนแปลงไป ลำ ดับขั้น ตอน หรือเพิ่ม แง่คิดเข้าไป
3. การประยุกต์ใช้ (Application) คือการนำความรู้จำไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือใช้งานด้านต้าง ๆ เช่นเมื่อได้เรียนทำ อาหารแล้วสามารถนำความรู้มาประกอบอาหารได้หลายชนิด โดยรู้ว่าปริมาณเท่านี้ ต้องใช้เครื่องปรุงเท่าไหร่
4. การวิเคราะห์ ( Analysis) คือการแยก เช่นแยกคำพูด วิเคราะห์ชนิดสิ่ง ของต่าง ๆ หรือหรือเมื่อได้เรียนทำอาหารแล้วสามารถวิเคราะห์อาหารที่ปรุงเสร็จว่า ปรุงด้วยอะไรบ้าง ปรุงอย่างไร ใช้ไฟเบา ไฟแรง อย่างไรเป็นต้น
5. การสังเคราะห์ ( Synthesis) คือการรวม การนำเอาความรู้ประสบการณ์มาผสม ประยุกต์ให้เกิดสงิ่ ใหม่ ๆ หรือการทำ ความรู้ที่ได้จากการเรียนทำอาหารมาสร้างเป็นเมนูใหม่ อาหารชนิดใหม่ก็คือการคิดค้นนวัตกรรมใหม่นัน่ เอง
6. การประเมินค่า ( Evaluation) คือการนำความรู้ที่มีทัง้ หมดมาตัดสิน เช่นตัดสินคดี ตัดสินกีฬา ตัดสินว่าอะไรดีไม่ดี อย่างมีหลักการและเหตุผลด้านการศีกษาได้นำทฤษฏนี้ไปประยุกต์ใช้โดยการสร้างโจทย์ปัญ หาใหม่ที่ไม่คุ้นเคย ไม่ชัดเจน ให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้มาแก้ปัญหา ด้วยหลักการ ความคิดรวบยอด เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการประยุกต์ เป็นการฝึกให้นำความรู้ที่ได้เรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ถ้าหากว่าต้องการให้ลูกหลานมีการเรียนรู้ที่ถูกต้องอย่างเป็นระบบเกิดขึ้นที่บ้านจำ เป็นต้องสอนให้ถูกต้องตามหลักการ เพื่อปลูกฝัง ให้เป็นคนที่มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ใน อนาคตเมื่อโตขึ้นก็สามารถแก้ปญั หาต่าง ๆ ได้ดีรวมถึงประสบความสำเร็จในชีวิตได้ทฤษฏีการเรียนรู้ของบลูมเป็นการพัฒนาอยู่ 3 ด้านคือ แต่ในที่นี้เน้นในเรื่องพุทธิพิสัย
1. ด้านพุทธิพิสัย คือ ระดับการเรียนรู้ที่พัฒนาความรู้ ความคิดสติปัญญาเป็นด้านการรู้คิด
2. ด้านจิตพิสัย คือ ระดับการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาอารมณ์ ทางด้านจิตใจ เจตคติต่าง ๆ
3. ด้านทักษะพิสัย คือ การเรียนรู้ระดับปฏิบัติการ การสร้างพัฒนาการทางร่างกาย
ถ้ามองตามหลักการเรียนรู้เชิงพุทธนั้นได้มีการแบ่งแนวคิดการเรียนรู้ไว้ 3 ด้านเช่นกัน และครอบคลุมถึงระดับการเรียนรู้ของบลูมอีกด้วย คือ ศีลภาวนา การพัฒนาทางกายจิตตภาวนา การพัฒนาทางด้านจิตใจ และปญั ญาภาวนาการพัฒทางด้านปัญญา การเรียนรู้จึงจำ แนกเป็น 3 ด้านเรียกว่า ไตรสิกขา ประกอบด้วย อธิศีลสิกขา สิกขาคือศีลอันยิ่ง อธิจิตตสิกขา สิกขาคือจิตอันยิ่ง และ อธิปัญญาสิกขา สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง ทั้ง 3 อย่างนี้เรียก ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)ดังนั้นไม่ว่าใครจะยึดแนวไหนอย่างไรก็ไม่สำคัญหากแต่ศึกษาตามแนวทางแล้วก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ดังเช่นบุคคลที่เข้าถึงพุทธิพิสัยหรือพุทธิปัญาอย่างแท้จริงแล้วนำมาประยุกต์ใช้งานได้เช่น สตีฟ จ็อบส์ผู้ก่อตัง้ เแอปเปิลคอมพิวเตอร์ ผู้นำนวัตกรรมคอมพิวเตอร์,บิลเกตต์ ผู้ก่อตัง้ บริษัทไมโครซอฟท์ ผู้ผลิตระบบปฏิบัติการวินโดว์รวยอันดับต้น ๆ ของโลก, มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก ชายผู้เชื่อมโลก ด้วยเฟซบุ๊คเจ้าของธุรกิจมูลค่ามหาศาลอันดับต้น ๆ ของโลก บุคคลเหล่านี้คือผู้ที่ประยุกต์ใช้ความรู้อย่างแท้จริงจนประสบความสำเร็จเป็นทั้ง ตัวอย่าง และแรงบัลดาลใจให้คนบนโลกใบนี้อย่างมากมาย ดังนั้นทฤษฏีการเรียนรู้ 6 ระดับนี้จึงเป็นสิ่ง ที่ควรให้ความสำคัญในทุกระดับการศึกษา
บทความนี้เขียนโดย anut.smfnew.com
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556
ภาพ Model 3D สร้างโดย anut.smfnew.com
ตีพิมพ์ลงนิดยสาร PUWADHAM
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น