ภาพที่ 1 ภาพภิกษุสันดานกา
เจ้าของผลงาน : นายอนุพงษ์ จันทร
ชื่อผลงาน : ภิกษุสันดานกา
วัสดุที่นำมาใช้ : สีอะคริลิคบนผ้าจีวร
ความเสื่อมต่ำของจิตใจมนุษย์เกิดขึ้นได้ในทุก ๆ คน ทุก ๆ สถานะ เมื่อแพ้อธรรมในใจเราเองกิเลสและความดิบเถื่อนก็ครอบงำ พุทธศาสนามีคำสอนอันเป็นอมตะธรรมชาติไม่เปลี่ยนแปลง มีเพียงมารในคราบสาวกเท่านั้นที่สร้างภาพความเสียหาย แต่มันก็แค่ภาพที่ไม่อาจทำลายแก่นแห่งศาสนาได้
สาวกแห่งศาสนาพุทธในสมัยพุทธกาลหลังจากพระพุทธเจ้าดับดับขันธปรินิพพาน ได้ออกมาประกาศว่าไม่มีพระพุทธเจ้าแล้วก็ไม่มีใครมาบังคับใช้กฏและศีลต่าง ๆ แล้วจะเห็นว่าความเสื่อมของตัวคนได้เกิดขึ้นมานานแล้วและเกิดขึ้นตลอดมา ทุกวันนี้ข่าวเรื่องพระสงฆ์เสื่อมถ่อยออกมาให้เห็นบ่อยเพราะว่าสามารถเข้าถึงสื่อได้ง่ายข่าวแพร่กระจายได้ง่าย โดยเฉพาะทาง Social Network เด่น ๆ เช่นเฟซบุ๊ค ทำให้เห็นความเสื่อมต่ำในตัวบุคคลได้ง่ายขึ้น และคำว่า ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ อาจใช้ไม่ได้เสมอไป
ภาพที่ 2 ข้อความในเฟซบุ๊คพระรูปหนึ่ง
ข้อความนี้สะท้อนให้เห็นว่าตัวคนในคราบสาวกซึ่งไม่ต้องเรียกว่าพระที่ความเสื่อมต่ำเกะกินอยู่ในใจ ออกมาแสดงความคิดเห็นเมื่อญาติโยมปุถุชนออกมาจับผิดพระสงฆ์ ซึ่งอีกในแง่มุมนึงพระที่มองการจับผิดต่างกันออกมาแสดงความคิดเห็นดังนี้
ภิกขุ วีระวังสะ 'พระวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ ก็มาจากการตำหนิของชาวบ้านทั้งนั้น
ท่าน (ไม่รู้ว่าพรรษาเท่าไหร่ ขอเรียกเป็นกลางๆ)ควรสำนึกตนเองว่ามีชีวิตอยู่ได้ด้วยข้าวชาวบ้าน จตุปัจจัยที่เอามาจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ตเล่นเฟซบุ๊ค ก็มาจากญาติโยมถวายทั้งนั้น
ถ้าเขาเห็นว่าพระสงฆ์ บางรูปทำไม่ถูกต้อง เขาตำหนิ มันก็เป็นเรื่องปกติ เพราะเขาเป็นผู้เลี้ยงพระอยู่ ก็อยากให้พระประพฤติดีปฏิบัติชอบ สมควรแก่ธรรม และคุ้มค่าก้อนข้าวที่ชาวบ้านยกมือไหว้ท่วมหัวแล้วถวายท่าน
ถ้าทนคำวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ ก็ควรจะลาสิกขาออกไป
อย่า ทำตนเองเป็นเทวดาที่ใครก็วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ ท่านไม่ได้เป็นพระอริยบุคคลที่ไหน เป็นปุถุชนสมมติสงฆ์ธรรมดาที่มีหน้าที่รักษาธรรมไว้ให้กับสังคม ก็ควรทำหน้าที่ของตนเอง
แท้จริงแล้วอุบาสกอุบาสิกาที่ตำหนิพระ โดยส่วนมากก็ปรารถนาให้พระดีพอที่เขาจะไม่ต้องเสียดายกับข้าวกับปลาที่ถวายให้ฉัน
ใน พระวินัยปิฎกจุลวรรค มีเรื่องว่าพระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อพระสุธรรมไม่พอใจที่จิตตคฤหบดีผู้ดูแลและถวายอุปฐากวัดที่ท่านอยู่ ได้นิมนต์พระเถระที่เดินทางมาในเมืองนั้นให้ฉันอาหาร โดยไม่ได้นิมนต์ท่านก่อน แต่นิมนต์ทีหลัง พระสุธรรมไม่พอใจที่จิตตคฤหบดีไม่ไว้หน้าตนเอง จึงได้กล่าวด่าจิตตคฤหบดี แล้วออกจากเมืองนั้นมา พอท่านมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วเล่าเรื่องราวให้พระองค์ฟัง พระพุทธเจ้ากลับตรัสว่า
"ดู ก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ จิตตคหบดีผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก กัปปิยการกบำรุงสงฆ์ ไฉนเธอจึงได้พูดกด พูดข่ม ด้วยถ้อยคำอันเลวเล่า
ดู ก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส....ครั้นแล้วทรงทำธร รมีกถารับสั่งกะพระภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรมคือ ให้เธอขอขมาจิตตคหบดี."
พระ พุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับศรัทธาของชาวบ้าน ถ้าพระสงฆ์ประพฤติไม่เหมาะสม ชาวบ้านผู้มีศรัทธามาตักเตือนแล้วยังด่าชาวบ้านอีกนี่ พระองค์ทรงให้สงฆ์ลงโทษภิกษุนั้นด้วยปฏิสารณียกรรม (การให้ไปขอขมาโทษชาวบ้าน) พระองค์ไม่ได้ทรงถือว่าพระสงฆ์จะมีสิทธิพิเศษที่ชาวบ้านตำหนิติเตียนไม่ได้ ก็หาไม่'
ท่าน (ไม่รู้ว่าพรรษาเท่าไหร่ ขอเรียกเป็นกลางๆ)ควรสำนึกตนเองว่ามีชีวิตอยู่ได้ด้วยข้าวชาวบ้าน จตุปัจจัยที่เอามาจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ตเล่นเฟซบุ๊ค ก็มาจากญาติโยมถวายทั้งนั้น
ถ้าเขาเห็นว่าพระสงฆ์ บางรูปทำไม่ถูกต้อง เขาตำหนิ มันก็เป็นเรื่องปกติ เพราะเขาเป็นผู้เลี้ยงพระอยู่ ก็อยากให้พระประพฤติดีปฏิบัติชอบ สมควรแก่ธรรม และคุ้มค่าก้อนข้าวที่ชาวบ้านยกมือไหว้ท่วมหัวแล้วถวายท่าน
ถ้าทนคำวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ ก็ควรจะลาสิกขาออกไป
อย่า ทำตนเองเป็นเทวดาที่ใครก็วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ ท่านไม่ได้เป็นพระอริยบุคคลที่ไหน เป็นปุถุชนสมมติสงฆ์ธรรมดาที่มีหน้าที่รักษาธรรมไว้ให้กับสังคม ก็ควรทำหน้าที่ของตนเอง
แท้จริงแล้วอุบาสกอุบาสิกาที่ตำหนิพระ โดยส่วนมากก็ปรารถนาให้พระดีพอที่เขาจะไม่ต้องเสียดายกับข้าวกับปลาที่ถวายให้ฉัน
ใน พระวินัยปิฎกจุลวรรค มีเรื่องว่าพระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อพระสุธรรมไม่พอใจที่จิตตคฤหบดีผู้ดูแลและถวายอุปฐากวัดที่ท่านอยู่ ได้นิมนต์พระเถระที่เดินทางมาในเมืองนั้นให้ฉันอาหาร โดยไม่ได้นิมนต์ท่านก่อน แต่นิมนต์ทีหลัง พระสุธรรมไม่พอใจที่จิตตคฤหบดีไม่ไว้หน้าตนเอง จึงได้กล่าวด่าจิตตคฤหบดี แล้วออกจากเมืองนั้นมา พอท่านมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วเล่าเรื่องราวให้พระองค์ฟัง พระพุทธเจ้ากลับตรัสว่า
"ดู ก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ จิตตคหบดีผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก กัปปิยการกบำรุงสงฆ์ ไฉนเธอจึงได้พูดกด พูดข่ม ด้วยถ้อยคำอันเลวเล่า
ดู ก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส....ครั้นแล้วทรงทำธร รมีกถารับสั่งกะพระภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรมคือ ให้เธอขอขมาจิตตคหบดี."
พระ พุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับศรัทธาของชาวบ้าน ถ้าพระสงฆ์ประพฤติไม่เหมาะสม ชาวบ้านผู้มีศรัทธามาตักเตือนแล้วยังด่าชาวบ้านอีกนี่ พระองค์ทรงให้สงฆ์ลงโทษภิกษุนั้นด้วยปฏิสารณียกรรม (การให้ไปขอขมาโทษชาวบ้าน) พระองค์ไม่ได้ทรงถือว่าพระสงฆ์จะมีสิทธิพิเศษที่ชาวบ้านตำหนิติเตียนไม่ได้ ก็หาไม่'
ดังภาพประกอบที่ 1
ภิกษุทั้งหลาย! กา เป็นสัตว์ที่ประกอบไปด้วยความเลว ๑๐ ประการคือ
- กา เป็นสัตว์ทำลายความดี
- กา เป็นสัตว์คะนอง
- กา เป็นสัตว์ทะเยอะทะยาน
- กา เป็นสัตว์กินจุ
- กา เป็นสัตว์หยาบคาย
- กา เป็นสัตว์ไม่กรุณาปรานี
- กา เป็นสัตว์ต่ำช้า
- กา เป็นสัตว์ร้องเสียงอึง
- กา เป็นสัตว์ปล่อยสติ
- กา เป็นสัตว์สะสมของกิน
ภิกษุทั้งหลาย! กาเป็นสัตว์ที่ประกอบด้วยความเลว ๑๐ ประการเหล่านี้ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุลามกก็เช่นเดียวกับกานี้แหละ เป็นคนประกอบด้วย อสัทธรรม ๑๐ ประการ คือ
- ภิกษุลามก เป็นคนทำลายความดี
- ภิกษุลามก เป็นคนคะนอง
- ภิกษุลามก เป็นคนทะเยอทะยาน
- ภิกษุลามก เป็นคนกินจุ
- ภิกษุลามก เป็นคนหยาบคาย
- ภิกษุลามก เป็นคนไม่กรุณาปราณี
- ภิกษุลากมก เป็นคนต่ำช้า
- ภิกษุลากมก เป็นคนพูดเสียงอึง
- ภิกษุลามก เป็นคนปล่อยสติ
- ภิกษุลามก เป็นคนสะสมของกิน
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุลามกเป็นคนประกอบด้วย อสัทธรรมสิบประการเหล่านี้ และ
(คัดจากบาลีพระพุทธภาษิต ทสก.องฺ ๔/๑๕๙/๗๗ ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ถ้าใครจะเรียกภิกษุรูปใดว่าเป็นภิกษุลามก ภิกษุนั้นคงโกรธมาก เพราะถือเป็นการประณามที่หนักแต่พระพุทธเจ้าจำแนกลักษณะของภิกษุลามกไว้ถึง ๑๐ อย่าง ภิกษุหรือฆราวาสทั่วไปน่าจะจำลักษณะเหล่านี้ไว้เป็นสูตรวัด ความเป็นภิกษุไม่ว่าเถระหรือลูกวัด เพื่อจะได้รู้ว่าเรากราบไหว้ภิกษุดี หรือภิกษุลามก)
รวมความคิดเห็นจากญาติโยม
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151705061313291&set=a.411063588290.186101.141108613290&type=1&theater
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น