วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

mAh คืออะไร, mAh อ่านว่าอะไร


mAh คืออะไร
mAh คือ m = มิลลิ , A = แอมป์ , h = ชั่วโมง หมายถึง ถ่านก้อนนี้สามารถจ่ายกระแสได้ กี่มิลิแอมป์ ใน 1 ชั่วโมง (เป็นความจุไฟ) (กระแสไฟ)

V คือ Volt เป็นค่าความต่างศักดิ์ไฟฟ้า คล้ายๆแรงดันไฟ นึกภาพดูถึง แรงดันน้ำ แรงดันลม ความดันเลือด

แล้วทั้ง 2 อย่างมีผลอย่างไรกับความสว่าง และเวลาที่ใช้ครับ  ฮืม
1.ความสว่าง
ปกติ หลอดไฟทั่วไปจะกินไฟเป็น วัตต์(W) ใช่มั้ยครับ อย่างหลอดผอมที่อยู่บนเพดานบ้านทั่วไปก็ 36W หลอดตะเกียบประหยัดไฟก็ 9W ,13W หลอดใส้ 25W, 40W ,60W เป็นต้น หลอด LED ก็เช่นกันครับ

ทีนี้มาดูว่า หน่วยวัตต์(W) เกิดจากอะไร เค้าใช้ค่า กระแสไฟ(I) คูณด้วย ค่าความต่างศักดิ์(V) หรือ IxV
W=IV
I มีหนวยเป็น A หรือ แอมป์, 1A = 1000mA (มิลลิแอมป์)
V มีหน่วยเป็น Volt
W สูง หลอดไฟก็จะสว่างมาก แต่หลอดไฟแต่ละหลอดจะทนค่าแรงดันไฟฟ้าหรือความต่างศักดิ์ได้จำกัด (Vf) ซึ่งถ้าแรงดันสูงเกินหลอดก็จะเสีย หรือ หลอดใส้ก็จะขาด


ปกติหลอด LED ยี่ห้อ CREE-XP ทั่วไปจะเป็นหลอด 3W ซึ่งจะมีระบุว่าใช้ค่า Vf ได้ไม่เกินเท่าไร โดยสามารถใช้กำลังไฟต่ำกว่าได้เช่น 1W, 2W ปริมาณแสงก็จะสูงหรือต่ำตามจำนวนวัตต์

แต่ที่ไฟฉายบางกระบอกสามารถ ใช้ถ่านที่มีค่าความต่างศักดิ์ มากๆได้(ใส่ถ่านได้หลายก้อน) เพราะ ว่ามีวงจรอิเล็กโทนิกควบคุมการจ่ายไฟให้หลอดไฟครับ เพราะฉะนั้นดูว่าไฟฉายใช้ถ่านชนิดไหนได้บ้างให้ดูจากรายละเอียดที่ผู้ ผลิตบอกไว้ครับ

มายกตัวอย่างกันครับ เช่น

-ใช้ถ่าน ชาร์ตNi-MH ขนาด AA 1.2v ถ้าไฟฉายกินไฟ 1วัตต์ ก็จะใช้กระแสไฟเท่าไร?
W=1
V= 1.2
I= ?
จากสูตร W=IV
1= 1.5xI
1/1.5 = I
0.833 = I

ตอบ ใช้กระแสไป 0.833 A หรือ 833mA (มิลลิแอมป์) ต่อชั่วโมง

(ต่อ) ถ้าเกิดสมมุติว่าถ่านที่เราใช้มีความจุ 2000mA เราก็จะรู้ว่าสามารถใช้ได้นานเท่าไรโดย 1ชั่วโมงใช้ไป 833 ถ้ามีอยู่ 2000 จะใช้ได้กี่ชั่วโมง เอา 2000 ตั้ง หารด้วย 833
2000/833 = 2.4 ชั่วโมง หรือ 2ชั่วโมง24นาที


2. ผลกับเวลาที่ใช้

ดูตรงความจุของถ่าน(mA) และ ความต่างศักดิ์ (v)

ทั้งสองอย่างมีผลกับเวลา หรือ runtime ครับ เพราะว่า หลอดไฟกินไฟเป็น วัตต์ (W) และ W = IV

1. ถ้าความต่างศักดิ์ Volt (v) สูง เช่นถ่าน Li-on 3.0v หรือแบบ ชาร์จได้ 3.7v หรือใช้ถ่านหลายก้อน ผลก็คือ ค่า V สูง

W = I V(สูง)

เมื่อ V สูง แต่ การกินไฟวัตต์ของหลอดไฟยังคงที่ Wคงที่ ดังนั้นก็จะกินกระแสไฟจากถ่านน้อยลง Iลดลง

W(คงที่) = Iลดลง V(สูง)

กินกระแสไฟน้อยลง ถ่านก็จะใช้ได้นานขึ้น

2. ถ้าความจุของถ่านสูง นึกภาพเหมือนกระติกน้ำ ถ้าเิกิดเรากินน้ำปกติ แล้วเปลี่ยนเป็นกระติกน้ำที่ใหญ่ขึ้น ก็จะกินได้นานขึ้น

Wคงที่ = I คงที่ Vคงที่

กินกระแสเท่าเดิม แต่ถ่านมีความจุที่สูงขึ้น (mAh) เช่น ถ่านความจุ 1000 mAh กับ ถ่านความจุ 2000mAh

ถ่านที่มีความจุ 2000mAh ย่อมใช้งานได้นานกว่าครับ


ชนิดของถ่าน
- ชนิดของถ่านมีผลกับประสิทธิภาพการใช้งานด้วยครับ ถ่านแต่ละชนิดกันจะมีความสามารถในการจ่ายกระแสไฟในระยะเวลาสั้นๆ ได้ไม่เท่ากัน

ถ่าน Li-on จะจ่ายกระแสเป็นระยะเวลาสั้นๆได้ประมาณ 2-3เท่าของความจุ (C) เช่นมีความจุ 700mA ก็จะจ่ายกระแสกับอุปกรณ์ที่ใช้กระแส 1400mAh ได้

ถ่าน Ni-MH จะจ่ายกระแสเป็นระยะเวลาสั้นๆ ได้ประมาณ 5 เท่าของความจุ (C) เช่น ความจุ2000mA จ่ายกระแสได้ 10000mAh

ถ่าน Ni-Cd ถ่านชาร์จสมัยแรก จะจ่ายกระแสไฟเป็นระยะเวลาสั้นๆได้ดีมากที่สุดครับ 30-50เท่า เหมาะกับใช้งานหนักๆเช่น พวกงานมอเตอร์ สว่านไขควงมือถือ แต่ความจุจะไม่มาก แต่ถ่านชนิดนี้มีข้อเสียคือมีหน่วยความจำถ้าหากเราชาร์ตไฟโดยที่ถ่านยังไม่ หมด จะทำให้ถ่านเสื่อมสภาพเร็วมาก

ถ่านอังคาไรด์ จ่ายกระแสเป็นระยะเวลาสั้นๆได้ไม่ดีครับ ถ้าอุปกรณ์ที่กินกระแสไฟมากอย่างเช่นกล้องดิจิตอล หรือไฟฉายที่กินไฟมากๆ ถ่านจะหมดเร็วกว่าปกติ ทั้งๆที่ตัวถ่านเองมีความจุ 1300-1700mA แต่ถ้าเราเอาไปใช้กับอุปกรณ์ที่กินไฟไม่มาก เช่น เครื่องคิดเลข, นาฬิกา, รีโมดคอนโทร ก็จะใช้ได้เป็นระยะเวลานานเต็มความจุ

- ลองสังเกตดูว่า เมื่อใช้แล้วถ่านหมด พอปิดไปแล้ว แล้วเปิดใ้ช้ใหม่ ก็กลับมาใช้ได้อีกนิดนึ่ง
- มันจะคล้ายๆกับพวกแบตมือถือ ที่เสื่อมสภาพ เวลาชาร์จเต็มระดับถ่านในหน้าจอจะแจ้งว่าเต็ม แต่พอมีคนโทรเข้าหรือโทรออก แบตจะหมดภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ทั้งๆที่แบตเต็มอยู่ เพราะว่าแบตคายประจุได้ไม่ดีแล้วถึงมีประจุอยู่ แต่คายประจุจำนวนมากๆในระยะเวลาสั้นๆได้ไม่ดี

ลองนึกภาพดูถึงห้อง เรียนนะครับ เวลาหมดเวลาเรียนเสียงอ๊อดพักเที่ยง นักเรียนวิ่งกรูกันออกมาจากประตูได้ในเวลาแป๋บเดียว แต่ถ้าเิกิดเราสั่งให้นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่มๆ 10 คน จับมือกันไว้ เวลาวิ่งออกจากประตูก็จะลำบากขึ้น เปรียบเหมือนการคายประจุไฟครับ

ส่วน ถ่านZine หรือถ่านธรรมดานั้น ยิ่งคายประจุในระยะเวลาสั้นๆได้ไม่ดีที่สุดครับ ใช้แล้วหมดเร็วมากๆ จริงๆถ่านพวกนี้จะแบ่งเป็น 2 อย่างนะครับ ถ่านพวก Duty ใช้งานหนัก กับถ่าน Long live time(ผมจำชื่อไม่ไ่ด้) พวกนี้คายประจุได้น้อยแต่จะใช้ได้นานใส่พวกรีโมส


การคายประจุของตัวเองของถ่านก็มีผลต่อใช้ได้นานหรือไม่นานด้วยครับ
- พวกถ่านชาร์จชนิด Ni-MH แบบเก่า จะคายประจุตัวเองทุกวันวันละ 1% สมมุติว่าชาร์ตเสร็จแล้วทิ้งไว้ซัก 1 เืดือน แล้วเอามาใช้ จะรู้สึกว่าถ่านหมดเร็วกว่าปกติ แต่เดียวนี้จะมีถ่านรุ่นใหม่ที่คายประจุช้าเช่นยี่ห้อ enloop

-ถ่านพวก Li-on จะไม่ค่อยคายประจุตัวเองสามารถเก็บใช้ได้นาน

-อัง คาไรด์ ก็เก็บได้นานพอสมควรแต่ ก็ไม่ใช่ไม่คายประจุนะครับ ดังนั้นเวลาเลือกซื้อดูวันผลิตด้วยก็ดีครับ แต่ที่สำคัญคือวันหมดอายุ ส่วนใหญ่จะบอกเป็น ปี หรือเดือนปี เช่น 2010 หรือ Jul 2010

ที่มา : thaicpf.com/webboard/index.php?topic=547.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น