วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ไข้หวัดนก H7N9, H5N1

       ฤดูฝน....กำลังก้าวเข้ามาฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ บ้างก็เกิดพายุฝนบ้างก็พายุลูกเห็บ ฤดูกาลผันเปลี่ยนไปตามกลไกทางธรรมชาติที่เริ่มจะแสดงความรุนแรงเพิ่มขึ้นเช่นวันที่แดดจ้า อากาศร้อนมาก ฝนตกก็เกิดพายุลูกเห็บ สิ่งที่จะอยู่กับธรรมชาติที่แปรปรวนได้ต้องปรับตัวได้ ทั้งคน สัตว์ พืช และเชื้อไวรัส
        เชื้อร้ายชนิดหนึ่งที่ติดปีกให้กับตัวเองโดยการอาศัยนกเป็นพาหนะในการแพร่สายพันธุ์ ในช่วงแรกที่พบผู้ติดเชื้อในประเทศจีนได้ชื่อว่าไข้หวัดมรณะหรือโรคซาร์ ต่อมาได้มีการกำหนดชื่อเป็นทางการออกมาก็คือเชื้อ H5N1 ระบาดครั้งใหญ่เมื่อปี 2548 ลุกลามหลายประเทศรวมถึงไทย เมื่อ 13 เมษายน 2013 เชื้อเดิมซึ่งกลายพันธุ์ทำให้เชื้อรุนแรงขึ้นชื่อว่า H7N9 ติดต่อเข้าสู่คนมีรายงานผู้ติดเชื้อในประเทศจีน 49 ราย อายุ 4-87 ปี เป็นหญิง 15 ราย ผู้ป่วยเสียชีวิต 11 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการรุนแรง ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบแหล่งที่มาของเชื้อแน่ชัด รวมถึงยังไม่มีวัคซีนป้องกัน
        สำหรับไข้หวัดเอเชียตัวปัจจุบันคือ H5N1 หรือไข้หวัดกลายพันธุ์ที่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ระบาดใน กัมพูชา ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย ตามรายงานผู้ติดเชื้อในประเทศไทยมี 1 รายอยู่ในอยู่ในข่ายผู้ป่วยเฝ้าระวัง แต่ไม่พบพันธุกรรมไข้หวัดสายพันธุ์ A(H1N1)
        สายพันธุ์ A (H7N9) จากข้อมูลในขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินได้เนื่องจากข้อมูลการแพร่ระบาดในสัตว์ปีก เช่น นกในธรรมชาติ และการแพร่ระบาดในคนยังไม่ชัดเจน แต่มีความเป็นไปได้ที่จะมีผู้ที่ติดเชื้อที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ แต่มีการคาดการณ์ว่าอาจจะเป็นเชื้อที่รุนแรงกว่า H5N1
        การป้องกันตัวเองจากความเสี่ยงติดเชื้อ คือ
  1. แยกอาหารดิบและอาหารสุกออกจากกันโดยเด็ดขาด ไม่ใช้ภาชนะร่วมกัน ไม่จับอาหารสุกและอาหารดิบโดยที่ไม่ได้ล้างมือ
  2. ให้ล้างมือ ล้างภาชนะทุกครั้งที่สัมผัวอาหารสด
  3. ปรุงอาหารให้สุก อุณหภูมิอย่างน้อย 70 องศา
รับประทานอาหารสุกเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น