วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สำเนาทะเบียนบานฉบับเจ้าบ้าน คืออะไร

"ทะเบียนบ้านฉบับจริง" ของทุกท่าน อยู่ที่อำเภอ หรือเขต
ไม่ว่าใคร ก็ล้วนไม่มี "ทะเบียนบ้านฉบับจริง" ในมือทั้งนั้น

ส่วนที่ทุกท่าน ถือครองนั้น เป็นฉบับที่คัดลอกขึ้นมา
เรียกว่า "สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน" (ภาษาราชการจริง ๆ)
หรือ บางทีก็เรียกกันว่า "สำเนาทะเบียนบ้านตัวจริง" (ภาษาที่เป็นที่เข้าใจโดยทั่วกัน)
แต่จะเรียกอย่างไร 2 คำนี้ ต้องมี คำว่า เป็นเพียงแค่ "สำเนา"
เพราะตัวจริง อยู่ที่อำเภอ หรือเขต เท่านั้น

และ เวลา ที่เราจะเอาไปยื่น ที่ไหน หรือนำไปใช้ ที่เรานำเอา
สำเนาทะเบียนบ้านที่มีอยู่ ไปถ่ายเอกสารนั้น
นั่นเรียกว่า "สำเนา" แต่ไม่ใช่ของเจ้าบ้าน จะถ่ายกี่ร้อยใบก็ได้
"สำเนา" คือที่อยู่ในรูป กระดาษ A4 นั่นแหละ
แต่ สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน "ตัวจริง" มีเพียง 1 เดียว
คือฉบับ ที่ อำเภอ "คัดลอก" มาให้ เป็นรูปเล่มสีน้ำเงินนั่นแหละ

ดังนั้น เวลาไปติดต่อ แล้ว เขาให้นำ "สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน" ไปด้วย

นั่นหมายถึง ท่านต้องนำ ตัวจริง ที่เป็นรูปเล่มไปด้วย
เพื่อประกอบ "สำเนา"(A4) ที่ท่านถ่ายเอกสารมา ว่า ตรงกันจริง
เพิ่มเติมอีกนิดหนึ่ง คือ สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
เมื่อก่อน นั้นเป็นแผ่น มีตัวจริง คือ ทะเบียนบ้าน อยู่ที่อำเภอ

ก็เลยแบ่ง เป็น ฉบับจริง(ที่อำเภอ) กับ
ฉบับเจ้าบ้าน (ที่คัดลอกมาให้เจ้าบ้านถือครองไว้)

แต่ปัจจุบันนี้ คัดลอกออกมาเป็น รูปเล่ม
และมี ทะเบียนบ้านตัวจริง อยู่ในลักษณะ"ฐานข้อมูล" ของรัฐ

ดังนั้น ทะเบียนบ้าน ฉบับรูปเล่ม ในสมัยนี้
จึงไม่มีคำว่า ฉบับเจ้าบ้านอีกแล้ว

แต่หากเป็น แบบเก่า ซึ่งเป็นแผ่น จะมีคำนี้ ว่า ฉบับเจ้าบ้าน ด้วย

คือสมัยก่อน จะแบ่งเป็น ฉบับที่อยู่กับ เจ้าบ้าน
และ ฉบับ ที่อยู่กับ อำเภอ หรือเขต เท่านั้นเอง

ดังนั้น คำเหล่านี้ ก็เหลือเป็นภาษา ที่ใช้ติดกันมาแต่เดิมเท่านั้น

ps. ถึงแม้ว่า จะไม่มีคำว่า "ฉบับเจ้าบ้าน" ตามหลัง แล้วก็ตาม
แต่ รูปเล่มทะเบียนบ้านที่ทุกท่าน มีอยู่ ยังคง ต้องถือว่า
เป็น เพียง "สำเนา" เท่านั้นครับ

Tribute : http://goo.gl/hujs1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น