วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ขับรถชนกันควรทำอย่างไร?

" เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนต้องทำอย่างไร "
เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน ไม่ว่าเราจะเป็นคนขับ ผู้โดยสารหรือผู้เห็นเหตุการณ์ เราควรปฎิบัติอย่างไร
1. ถ้าเป็นผู้เห็นเหตุการณ์
ควรเข้าช่วยเหลือคนป่วยเจ็บตามสมควร และเราจะต้องแสดงตัวเป็นพลเมืองดี โดยยินดีที่จะเป็นพยานในคดีให้ สมมุติว่าเราเห็นรถคันหนึ่งชนคนแล้วหนี สิ่งที่เราควรช่วยหลือจับกุมคนที่ทำผิดได้ก็คือ พยายามจดทะเบียนรถ ชื่อยี่ห้อ สีรถที่ชนไว้ได้แล้วรีบแจ้งให้ตำรวจทราบเพื่อติดตามจับกุมต่อไป มีพลเมืองดีบางท่านถึงกับขับรถตามจับคนขับ ที่ชน คนแล้วหนีได้ คนประเภทนี้ควรได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดีมีประโยชน์ต่อสังคม
2. ถ้าท่านเป็นคนเจ็บเพราะรถชน
ท่านจะต้องปฏิบัติเช่นเดียกับข้อ 1. สิ่งแรกคือท่านจะต้องขอร้องให้คนอื่น หรือตำรวจนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ที่สุดเพื่อช่วยชีวิตเขาไว้ก่อน ส่วนเรื่องคดีนั้นเอาไว้พิจารณาภายหลัง แต่ถ้าเจ็บเล็กน้อยพอยอมความได้ก็ยอมเสีย เพื่อมิให้เสียเวลาโดยใช่เหตุ แต่จะต้อง พยายามขอชื่อหรือจำทะเบียนรถคันที่ชนเราไว้ให้ได้ เพราะถ้าหากผู้ขับขี่เบี้ยวเราภายหลัง เราจะได้จัดการเรียกค่าเสียหายได้ตามกฎหมาย มิฉะนั้นแล้วจะไม่รู้ว่าจะไปฟ้องร้องเขาจากใคร ที่ไหน

3. ถ้าท่านเป็นคนขับ
ถ้าท่านเป็นคนขับรถชนกัน สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ อย่าหนีเป็นอันขาด เพราะความผิดฐานขับรถประมาทนั้น ไม่ใช่ เรื่องเจตนา ผู้กระทำผิดไม่ใช่อาชญากร โทษก็ไม่มากมายอะไร ควรจะอยู่เพื่อต่อสู้กับความจริง มิฉะนั้นท่านจะต้องหลบหนี นานถึง 15 ปี ถ้าท่านขับรถชนคนตาย แต่ถ้าท่านมอบตัวสู้คดี บางทีท่านก็ไม่มีความผิด หรือมีความผิดศาลก็ปรานีลดโทษให้ ถ้าท่านเป็นคนดีมีน้ำใจ
หน้าที่ของคนขับรถเมื่อเกิดรถชนกันนั้น กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
  • ต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร เช่น ขับรถชนคนก็ต้องหยุดรถ ช่วยเหลือคนที่ถูกชน นำส่งโรงพยาบาลเท่าที่จะทำได้
  • ต้องไปแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันที คือต้องรีบไปแจ้งตำรวจที่ใกล้เคียงทันที แต่ต้องบอกตำรวจด้วยว่าเราเป็นคนขับรถอะไร
  • แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่หมายเลขทะเบียนรถ แก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย
  • ถ้าผู้ขับขี่หลบหนีหรือไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กฎหมายให้สันนิฐานว่าเป็นผู้กระทำผิด และตำรวจมีอำนาจยึดรถที่ขับไว้จนกว่าจะได้ตัวผู้ขับขี่หรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
  • ถ้าคนขับคนใดไม่ปฏิบัติตามข้อ ( 1), (2) และ (3) แล้วจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่ถ้าคนที่ถูกชนบาดเจ็บสาหัสหรือตาย ต้องจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท
4. ถ้ารถท่านมีประกันท่านตัองรีบติดต่อกับบริษัทประกันของท่านทันที เพราะบริษัทประกันเขาจะมีเจ้าหน้าที่มาตามที่เกิดเหตุ พร้อมทำแผนที่เกิดเหตุไว้พร้อมมูลเพื่อเอาไว้ต่อสู้คดี
5. ถ้ามีกล้องถ่ายรูปหรือหากล้องถ่ายรูปใกล้ที่เกิดเหตุได้ต้องรีบถ่ายรูปรถ และที่เกิดเหตุไว้ให้พร้อม เพื่อจะได้เก็บไว้เป็นหลักฐานการต่อสู้คดีต่อไป และหากมีเจ้าหน้าที่มูลนิธิปอเต็กตึ้งหรือมูลนิธิร่วมกตัญญูถ่ายภาพศพหรือที่เกิดเหตุไว้ ก็ให้ติดต่อขอภาพที่ถ่ายเก็บไว้ให้ได้ เพราะจะเป็นประโยชน์แก่รูปคดีในภายหลัง
6. ควรช่วยเหลือคนเจ็บหรือค่าทำศพของผู้เสียชีวิต เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ คนขับรถ มักไม่ค่อยเห็นประโยชน์ ของการช่วยเหลือเหล่านี้ ความจริงเมื่อเราขับรถชน คนตาย บาดเจ็บ หรือการขับรถโดยประมาทนั้น เรามีความผิดทั้งทางกฎหมายแพ่ง และอาญา
  • ทางอาญา เราอาจจะต้องรับโทษติดคุกติดตะราง
  • ทางแพ่ง เราจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย ค่าบาดเจ็บ ค่าทำศพให้กับเขาอีก คือติดคุกแล้วยังจะต้องเสียเงินให้กับ ฝ่ายคนเจ็บ คนตายเขาอีก ทีนี้ถ้าหากเราช่วยเหลือคนเจ็บ หรือใช้ค่าทำศพคนตายแล้ว มีผลดียังไง ตอบได้ว่า มีผลดีมาก ยกตัวอย่าง เช่น
    - เราขับรถชนคนบาดเจ็บไปโรงพยาบาล ต่อมาอัยการฟ้องเราต่อศาล เราก็แถลงต่อศาลว่าเราช่วยเหลือคนเจ็บ ส่งโรงพยาบาล ส่วนมาก ศาลจะเห็นว่า เราเป็นคนดีมีน้ำใจ ศาลก็อาจจะรออาญาให้เราโดยไม่จำคุกเรา แต่ถ้าเราชนแล้วหนี ส่วนมาก ศาลมักจะจำคุกเราเลย เพราะเห็นว่าเราเป็นคนแล้งน้ำใจ
    - การตกลงใช้ค่าเสียหายให้คนเจ็บก็มีประโยชน์มากยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราไม่พยายามตกลงใช้ค่าเสียหายให้กับคนเจ็บ ตำรวจเขาจะมีระเบียบไว้ว่า ไม่ให้คืนรถของกลางให้แก่ผู้ต้องหา จนกว่า ผู้ต้องหา จะพยายาม ตกลงกับฝ่ายผู้เสียหาย และถ้าหาก เราชดใช้ค่าเสียหาย จ่ายค่าทำศพให้เขา คดีแพ่งก็ระงับ เพราะถือว่า ยอมความคดีแพ่งกันแล้ว จะฟ้องเรียกค่าเสียหายเราในทางแพ่งไม่ได้อีกแล้ว และถ้าเราถูกฟ้อง คดีอาญาต่อศาล ผู้เสียหาย จะมาแถลงต่อศาลว่า เราได้ชดใช้ค่าเสียหายให้เขาแล้ว ส่วนมากแล้ว ศาลจะปรานีจำเลย โดยตัดสินให้รออาญาแก่จำเลย เห็นหรือยังว่า การช่วยเหลือคนเจ็บ และการมีน้ำใจนั้นดีอย่างไร

แหล่งที่มาของข้อมูล : กรมการประกันภัย

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สาระจากอีกแหล่ง
การปฏิบัติตน เมื่อรถยนต์ประสบอุบัติเหตุ ที่ไม่คาดคิด
การแจ้งเกิดอุบัติเหตุ
• กรณีเป็นสัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกัน และกัน (Knock for Knock) ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนสัญญา Knock for Knock
• กรณีเกิดอุบัติเหตุให้แจ้งศูนย์รับแจ้งเหตุ ของบ.ประกันภัย ทันทีที่เกิดเหตุ ไม่ว่าจะมีคู่กรณีหรือไม่ ตลอด 24 ชั่วโมง
• ข้อมูลที่ควรเตรียมไว้แจ้งอุบัติเหตุ ได้แก่ ชื่อผู้ขับขี่ ทะเบียน ยี่ห้อ รุ่น สี โทรศัพท์ติดต่อ ลักษณะการเกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุและจุดสังเกต (กรณีมีการเคลื่อนย้ายรถหรือสถานที่นัดหมายให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที)
• ควรสอบถามชื่อผู้รับแจ้งอุบัติเหตุ และชื่อเจ้าหน้าที่สำรวจอุบัติเหตุ

ณ จุดเกิดอุบัติเหตุ
• ห้ามแยกรถออกจากกันโดยไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจขีดเส้น หรือจนกว่าเจ้าหน้าที่บริษัทจะไปถึงที่เกิดเหตุ (หากเป็นสัญญา Knock for Knock ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนสัญญา Knock for Knock)
• ห้ามตกลงค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น และอย่ายอมรับผิด หากไม่แน่ใจว่าฝ่ายใดผิด ให้รอจนกว่าพนักงานจะไปถึงที่เกิดเหตุ
• หากคู่กรณีแสดงอาการพิรุธหรืออาจจะหนี ให้รีบจดรายละเอียดผู้ขับขี่รถคู่กรณี เช่น ชื่อ ที่อยู่ ที่ทำงาน โทรศัพท์ และรายละเอียดรถคู่กรณี เช่น ความเสียหาย ยี่ห้อ สี ทะเบียน ไว้ก่อนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือพนักงานจะไปถึงที่เกิดเหตุ
• กรณีเฉี่ยวชนแล้วหลบหนี ให้รีบจดรายละเอียดรถคู่กรณี เช่น ความเสียหาย ยี่ห้อ สี ทะเบียน ให้ละเอียดที่สุด แล้วแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ
• กรณีเฉี่ยวชนหลายคัน หากรถคู่กรณีคันใดขอแยกย้ายไปก่อนให้จดรายละเอียดผู้ขับขี่ และรถคู่กรณีรวมทั้งหมายเลขโทรศัพท์
• กรณีรถตกลงไปในน้ำ และไม่สะดวกในการติดต่อบ.ประกันภัย ให้นำรถขึ้นจากน้ำโดยเร็วที่สุด และห้ามสตาร์ทเครื่องเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื่องมากขึ้น

กรณีเป็นฝ่ายถูก
• ควรให้คู่กรณียอมรับผิดโดยการลงชื่อในใบคำขอยอมรับผิดเสียก่อน แล้วจึงเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุเพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร
• ควรจดทะเบียนรถคู่กรณี ชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ ของผู้ขับขี่ และเจ้าของรถยนต์ในกรณี ที่เจ้าของรถยนต์ไม่ได้เป็นผู้ขับขี่เอง
• ควรจดชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ ของพยานในที่เกิดเหตุ (ถ้ามี)
• แจ้งบ.ประกันภัย เพื่อทำการสำรวจอุบัติเหตุและสภาพความเสียหาย
• หากเป็นการประกันประเภท 3 (คุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อบุคคลภายนอก) บ.ประกันภัย จะส่งเจ้าหน้าที่ไปสถานที่เกิดเหตุหรือสถานีตำรวจ (หากมีความจำเป็น)

กรณีเป็นฝ่ายผิด
• ให้เขียนชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ ให้แก่คู่กรณี
• เคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุเพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร
• แจ้งบ.ประกันภัย ทันทีเพื่อทำการสำรวจอุบัติเหตุและสภาพความเสียหาย

กรณีไม่แน่ใจว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด
• แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ที่เกิดอุบัติเหตุ
• รอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบและทำเครื่องหมายบริเวณอุบัติเหตุ แล้วเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุเพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร
• ไม่ควรลงชื่อในเอกสารใด ๆ กับคู่กรณี
• แจ้งงบ.ประกันภัย ทันทีเพื่อทำการสำรวจอุบัติเหตุ และสภาพความเสียหาย

สัญญาสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกัน (Knock for Knock)
• ต้องเป็นการประกันภัยรถยนต์สี่ล้อประเภท 1 เท่านั้น (ไม่ว่าจะเป็นรถเก๋งหรือรถบรรทุก)
• ตรวจดูรายละเอียดใบเหลืองว่าตรงกับรถคู่กรณีหรือไม่ และหมดอายุหรือไม่
• กรณีตกลงกันได้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ให้ลงชื่อในเอกสาร โดยฝ่ายถูกลงชื่อที่ช่องฝ่ายถูก ฝ่ายผิดลงชื่อที่ช่องฝ่ายผิด จากนั้นแลกเปลี่ยนเอกสาร และเคลื่อนย้ายรถ ไม่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ
• กรณีตกลงกันไม่ได้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อทำเครื่องหมาย แล้วเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุ หรือแจ้งบ.ประกันภัย เพื่อทำการสำรวจอุบัติเหต ุและสภาพความเสียหาย
• ขอรับเอกสารใบเหลืองใหม่ได้จากบ.ประกันภัย

กรณีคู่กรณีได้รับบาดเจ็บ
• ให้นำคนเจ็บส่งโรงพยาบาลโดยด่วน จากนั้นแจ้งบริษัททันที
• แสดงหลักฐานให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทราบว่ามีประกัน พ.ร.บ.
• อย่าตกลงค่าเสียหายกับคู่กรณี โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ของบ.ประกันภัย
• แสดงตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีเรื่องถึงสถานีตำรวจ

กรณีคู่กรณีเสียชีวิต
• ติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและแจ้งบ.ประกันภัย ทันที
• ท่านต้องรับผิดทางอาญา ส่วนทางแพ่งบ.ประกันภัย จะเข้าร่วมเจรจาและให้คำปรึกษา • พร้อมทั้งรับผิดชอบค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
• ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่บ.ประกันภัย ในการตกลงค่าเสียหายกับคู่กรณี

กรณีถูกชนแล้วคู่กรณีหนี
ให้จดจำทะเบียน ยี่ห้อ รุ่น สี และแจ้งสถานีตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุ

กรณีเกิดอุบัติเหตุและเสียหายไม่มาก และไม่มีโทรศัพท์ติดต่อ
• กรณีเป็นฝ่ายถูก ให้คู่กรณีกรอกรายละเอียดและเซ็นเอกสาร “ใบยินยอมรับผิด” จากนั้นเคลื่อนย้ายรถเพื่อหาโทรศัพท์ติดต่อ บ.ประกันภัย หรือหากต้องการตกลงค่าเสียหาย จะต้องแจ้งให้บ.ประกันภัย ทราบก่อน
• กรณีคู่กรณีไม่มีบัตรประจำตัวหรือหลักฐานใด ๆ ให้ติดต่อบ.ประกันภัย หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ
• กรณีเป็นฝ่ายผิดและคู่กรณียินยอมแลกรายละเอียดซึ่งกันและกัน เช่น ชื่อ ที่อยู่ ที่ทำงาน โทรศัพท์ รวมทั้งรายละเอียดรถสองฝ่าย เช่น ยี่ห้อ สี ทะเบียน ความเสียหาย แล้วนัดพบภายหลัง พร้อมทั้งแจ้งให้บ.ประกันภัย ทราบ แต่ถ้าคู่กรณีไม่ยินยอมต้องติดต่อบ.ประกันภัย
• กรณีตกลงกันไม่ได้ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อทำเครื่องหมาย แล้วเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุ หรือแจ้งบ.ประกันภัย เพื่อทำการสำรวจอุบัติเหต ุและสภาพความเสียหาย

ข้อกฎหมายที่ควรทราบเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
• กรณีที่ท่านเป็นฝ่ายผิดท่านต้องรับผิดทางอาญา ส่วนทางแพ่งบ.ประกันภัย จะรับผิดชอบค่าเสียหายตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
• หากท่านถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจ และได้ซื้อความคุ้มครองประกันตัวผู้ขับขี่ โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่บ.ประกันภัย เพื่อนำหลักทรัพย์มาขอประกันตัวตามวงเงิน ที่ได้ซื้อความคุ้มครอง
• พนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิ์ควบคุมตัวท่านไว้ หากไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือตาย
• หากเกิดอุบัติเหตุแล้วหลบหนี ตามกฎหมายจะสันนิษฐานว่าท่านเป็นฝ่ายผิด 

credit:  guru.google.co.th/guru/thread?tid=33940f0ea08dd751&pli=1

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

1.หยุดรถ ให้หยุดรถทันที แม้ว่าจะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุเล็กน้อยเพียงใด อย่าเลื่อนรถจนกว่าจะตกลงกันได้ว่า อุบัติเหตุเกิดขึ้นจากสาเหตุใด และใครเป็นคนผิดหรือถ้าจะให้ดีควรรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาทำการตีเส้น อุบัติเหตุก่อน แล้วจึงค่อยเลื่อนรถ เว้นแต่จะเกิดอุบัติเหตุในที่เปลี่ยว ในกรณีนี้ให้คุณจดเลขทะเบียนรถคู่กรณี สี ยี่ห้อ ตำหนิ เวลาและสถานที่เกิดเหตุเอาไว้ แล้วขับต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงที่ชุมชน หรือพบตำรวจ อย่าจอดรถในที่เกิดเหตุเป็นอันขาด เพราะเคยมีเหตุการเจ้าของรถถูกจี้ หรือถูกทำร้ายบ่อยๆ เมื่อลงจากรถ หลังเกิดเหตุในที่เปลี่ยว
2.อย่าพูดพล่อย การขอโทษของคุณ อาจจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายอ้างขึ้นมาว่า คุณยอมรับเป็นฝ่ายผิด อีกทั้งไม่ควรกล่าวโทษอีกฝ่าย เพราะคุณยังไม่รู้ท่าทีของอีกฝ่าย การกล่าวโทษ อาจทำให้เหตุการเลวร้ายลงไปอีก จำไว้เสมอว่า คุณไม่มีอำนาจในการตัดสินว่าใครผิดใครถูก แม้แต่เวลาที่คุณคิดว่า คุณเป็นฝ่ายผิด คุณอาจจะไม่ผิดอย่างที่คิดก็ได้
3.ให้ข้อมูล ให้คุณให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณ ชื่อ- ที่อยู่เลขทะเบียนรถ และ ชื่อประกันที่คุณ มีแก่คู่กรณี หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ
4.หาข้อมูล หลังจากคุณให้ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นแล้ว คุณควรขอข้อมูลจากคู่กรณีด้วยเช่นเดียวกัน หากอีกฝ่ายไม่ให้ ก็ให้คุณจดเลขทะเบียน รูปพรรณของรถเอาไว้ อย่า !พยายามยึดใบขับขี่ของคู่กรณี เพราะคุณอาจโดนข้อหาลักทรัพย์
5.แจ้งตำรวจ หลังเกิดเหตุ คุณควรแจ้งตำรวจทุกครั้ง แม้จะเป็นเพียงอุบัติเหตุเล็กน้อย หรืออีกฝ่ายยอมรับผิดก็ตาม เพราะมิฉะนั้นแล้ว หากอีกฝ่ายแจ้งความในภายหลัง เจ้าหน้าที่จะสรุปว่าคุณหลบหนี และคุณจะเป็นฝ่ายผิดทุกกรณี หาก เจ้าหน้าที่ยังไม่มาให้คุณไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดูที่เกิดเหตุ และตีเส้นตำแหน่งรถ อย่าเลื่อนรถจนกว่าเจ้าหน้าที่จะมาถึง หากไม่สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ ให้คุณทำหนังสือยืนยันเหตุการที่เกิดขึ้นไว้เป็นหลักฐาน โดยลงชื่อยืนยันไว้ทั้ง 2 ฝ่าย อย่าหลงเชื่อคู่กรณี หากบอกว่าไม่ต้องแจ้งตำรวจ เพราะอีกฝ่ายอาจปฏิเสธความรับผิดชอบในภายหลัง ในกรณีนี้ หากคุณไม่มีเจ้าหน้าที่เป็นพยานหรือหนังสือยืนยัน ตามกฏหมายจะถึงว่า คำพูดของคุณอ่อนหลักฐาน
6.หาพยาน โดยสอบถามจากคนบริเวณที่เกิดเหตุ อาจเป็นคนเดินถนน หรือรถคันข้าง ๆหากเขายินยอมเป็นพยาน ให้คุณจดชื่อ-ที่อยู่เพื่อติดต่อเอาไว้ เพื่อในกรณีเหตุที่ซับซ้อน เช่น คุณกำลังเข้าถนน 4 เลน รถ 2 เลนแรกหยุดให้คุณแล้ว แต่คุณชนรถในเลนที่ 3 ในกรณีนี้ คุณอาจเป็นฝ่ายผิดหากไม่สามารถหาพยานมายืนยันได้
7.ไปโรงพยาบาล หากคุณสงสัยว่าได้รับบาดเจ็บ ควรไปพอแพทย์เพื่อตรวจ หากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายและการเรียกร้องค่าเสียหายใน ภายหลังจะยากขึ้นด้วย
8.แจ้งความ ในกรณีที่มีผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต จะต้องไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ทันที แม้กฏหมายจะผ่อนปรนให้แจ้งความใน 6 เดือน เพราะบริษัทประกันส่วนใหญ่ไม่รับรองใบแจ้งความย้อนหลัง
9.ตกลงเงื่อนไข การจ่ายค่าเสียหาย เรียกเจ้าหน้าที่ประกันภัยมาทันที ที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่สามารถแนะนำคุณได้ว่า ควรให้บริษัทชดใช้ หรือคุณควรจ่ายเอง เพราะเบี้ยประกันของคุณอาจเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 20 หากค่าชดใช้นั้นเกินกว่าเบี้ยประกัน ร้อยละ 200 (ตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน) หากต้องชดใช้ 2,100 บาท ค่าเบี้ยประกันของคุณจะเพิ่มขึ้นเป็น 3,200 บาท คุณอาจจะประหยัดได้มากกว่า หากจ่ายเงินชดใช้ 2,100 บาทเอง
10.อย่ารีบรอมชอม หลังอุบัติเหตุ หากอีกฝ่ายยอมรับเป็นฝ่ายผิด และคุณสงสัยว่าคุณจะได้รับบาดเจ็บ อย่าเพิ่งรีบรับข้อเสนอให้ยอมความ เพราะการบาดเจ็บของคุณ อาจจะต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะรู้ว่าอาการของคุณรุนแรงเพียงใด หากคุณยอมความไปแล้ว การเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติม จะทำได้ยากขึ้น แต่ถ้าคุณไม่ได้รับบาดเจ็บ และข้อเสนออีกฝ่ายเป็นที่น่าพอใจ ก็ให้คุณยอมความได้ ทั้ง นี้ทั้งนั้น จากสถิติอุบัติเหตุ ร้อยละ 70 เกิดจากความประมาท การระมัดระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำแนะนำทั้ง 10 จะเป็นการดีที่สุด ที่มา : http://www.thaihomemaster.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น