วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียน ส่งเสริมทักษะการอ่านสะกดคำ

งานวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง

ส่งเสริมทักษะการอ่านสะกดคำ ของเด็กชายมนู  รัตนน้อย
นักเรียนชั้น ป.3/3

ผู้วิจัย

ครูกาญจนา  วนิชรัตน์

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546

โดยได้รับความเห็นชอบจาก
ภราดาจักรกรี  อินธิเสน
ประธาน

ครูสมคิด  เจริญหิรัญ
อาจารย์ที่ปรึกษา


ประกาศคุณูปการ

   การ ศึกษางานวิจัยครั้งนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาจากครูสมคิด  เจริญหิรัญ อาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้ให้ความช่วยเหลือ ให้ความรู้ ความคิดให้คำแนะนำ คำปรึกษาตลอดจนการตรวจแก้ไข ข้อบกพร่องต่างๆ เป็นอย่างดีจนการศึกษาวิจัยครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์ ผู้วิจัยขอขอบคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้
   ขอขอบพระคุณ ท่านผู้อำนวยการ และท่านรองผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง ที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์ ให้คำแนะนำ ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ และอำนวยความสะดวกในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นอย่างดี และขอขอบใจนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 ของโรงเรียนอัสสัมชัญระยองทุกคน ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการวิจัยและเก็บข้อมูลในครั้งนี้จนเสร็จ สมบูรณ์


ครูกาญจนา    วนิชรัตน์
ผู้วิจัย

กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง


ชื่องานวิจัย   ส่งเสริมการอ่านสะกดคำของเด็กชายมนู  รัตนน้อย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3
ชื่อผู้วิจัย   ครูกาญจนา  วนิชรัตน์
กลุ่มสาระการเรียนรู้   ภาษาไทย


บทคัดย่อ
การ ศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการเรียนวิชาภาษาไทย และพัฒนาความสามารถทางการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนภาษาไทย จากการเรียนรู้พยัญชนะไทย สระและการฝึกอ่านสะกดคำ สำหรับเด็กชายมนู  รัตนน้อย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษาที่ 2546
ผลการศึกษาพบ ว่าการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเขียนพยัญชนะ สระ และสะกดคำภาษาไทยของเด็กชายมนู  รัตนน้อย มีความสามารถในการเขียนและอ่านภาษาไทยดีขึ้นจากที่ไม่สามารถเขียนและอ่านได้ ถูกต้อง


ชื่อเรื่องวิจัย : การส่งเสริมการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3

ความสำคัญที่มา
   ปัญหา การอ่านและทำความเข้าใจภาษาไทยเกิดขึ้นจากการที่ผู้เรียนขาดทักษะและความ เข้าใจในด้าน การอ่านที่พบเห็นในห้องเรียนและทำให้เกิดความเบื่อหน่ายการเรียน

จุดมุ่งหมาย
      เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน

ตัวแปรที่ศึกษา
      ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การเรียนรู้จากชุดแบบฝึกอ่านทำความเข้าใจ
      ตัวแปรตาม   ได้แก่ ความสามารถในการอ่านสะกดคำ

กรอบแนวคิดในการวิจัย
-   เสริมความรู้และฝึกฝนคำศัพท์
-   พัฒนาความเข้าใจในหลักภาษาแก่ผู้เรียน
-   ส่งเสริมการรักการอ่านแบบเรียน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

-   นักเรียนได้พัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทย
-   นักเรียนไม่เบื่อหน่ายการเรียน

ขอบเขตของการวิจัย
   ประชาชน  เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3/3 โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง
ปีการศึกษา 2546  จำนวนนักเรียน 1 คน


เนื้อหาในการวิจัย เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับทักษะ  ภาษาไทย
ระยะเวลาการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ? 2 ปีการศึกษา 2546

วิธีดำเนินการวิจัย

กิจกรรม   ระยะเวลา
   มิ.ย.   ก.ค.   ส.ค.   ก.ย.   ต.ค.   พ.ย.
1. วิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้
             
2. ส่งชื่อเรื่องที่จะวิจัย
             
3. เขียนเค้าโครงการวิจัย
             
4. จัดเตรียม แบบฝึกทักษะการอ่าน
                
                
5. ให้ความรู้
                
                
6. รวบรวมข้อมูล
             
                

การวิเคราะห์ข้อมูล
ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1.   เปรียบ เทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงพยัญชนะไทยและสระไทยของเด็กชายมนู  รัตนน้อย จากการทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะแต่ละชุด โดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับคือ
1. ควรปรับปรุงแก้ไข
2. น่าพอใจปานกลาง
3. น่าพอใจมาก
2.   เปรียบ เทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงพยัญชนะไทยและสระไทยของเด็กชายมนู  รัตนน้อย จากการทดสอบหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะทุกชุด โดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับคือ
1. ควรปรับปรุงแก้ไข
2. น่าพอใจปานกลาง
3. น่าพอใจมาก
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
   ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฎตามตารางที่ 1 และ 2 ดังนี้
ตารางที่ 1
เปรียบเทียบความสามารถในการออกเสียง พยัญชนะ สระไทย ของเด็กชายมนู  รัตนน้อย จากการทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะแต่ละชุด
แบบฝึกเสริมทักษะ   ความสามารถก่อนการใช้แบบฝึก   ควาทมสามารถหลังการใช้แบบฝึก
1.   การอ่านออกเสียงพยัญชนะ
2.   การอ่านออกเสียงสระ
3.   การเขียนคำอ่านจากคำที่กำหนด   ควรปรับปรุง
ควรปรับปรุง
ควรปรับปรุง
   น่าพอใจมาก
น่าพอใจมาก
น่าพอใจปานกลาง

ตารางที่ 2
เปรียบเทียบความสามารถในการออกเสียง พยัญชนะ สระไทย จากการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ ทุกชุด
แบบฝึกเสริมทักษะ   ความสามารถก่อนการใช้แบบฝึก   ควาทมสามารถหลังการใช้แบบฝึก
ความสามารถในการอ่านสะกดคำของเด็กชายมนู  รัตนน้อย   ควรปรับปรุงแก้ไข
   น่าพอใจมาก



สรุปและสะท้อนผล
   จาก ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการใช้แบบฝึกเสริมทักษะดังกล่าวของเด็กชาย มนู  รัตนน้อย พบว่าก่อนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ นักเรียนมีความสามารถในการอ่านสะกดคำอยู่ในระดับที่ควรปรับปรุงแก้ไข แต่ภายหลังใช้แบบฝึกเสริมทักษะแต่ละชุด นักเรียนสามารถอ่านพยัญชนะ สระ และอ่านสะกดคำอยู่ในระดับที่น่าพอใจมาก


ภาคผนวก


รายงานการวิจัยชั้นเรียน ปีการศึกษา 2546

ชื่องานวิจัย   การส่งเสริม การอ่าน สะกดคำของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3
ชื่อผู้วิจัย      ครุกาญจนา  วนิชรัตน์
กลุ่มสาระการเรียนรู้   คณิตศาสตร์
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา   ครูสมคิด  เจริญหิรัญ


เค้าโครงการทำวิจัยในชั้นเรียน   /   มี   ไม่มี
ที่มาความสำคัญของการวิจัย   /   มี   ไม่มี
ออกแบบเก็บข้อมูล   /   เสร็จ   ไม่เสร็จ
เก็บข้อมูลเรียบร้อย      เสร็จ   ไม่เสร็จ
แปลผลและอภิปรายผล      เสร็จ   ไม่เสร็จ
สรุปเป็นรูปเล่ม      เสร็จ   ไม่เสร็จ



ผู้วิจัย
กาญจนา    วนิชรัตน์


????????????.

(ครูสมคิด   เจริญหิรัญ)
อาจารย์ที่ปรึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น