งานวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง
ศึกษาการอ่าน การเขียน ภาษาไทย ชั้น ป.4/2
ผู้วิจัย
ครูวรรณา มากะ
กลุ่มสาระเรียนรู้ ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2546
โดยได้รับความเห็นชอบจาก
ประธาน
(ภราดา จักรกรี อินธิเสน)
อาจารย์ที่ปรึกษา
(ม.สุชาติ ต.วิเชียร)
แบบฟอร์มรายงานการวิจัยชั้นเรียน ปีการศึกษา 2546
ชื่องานวิจัย ศึกษาการอ่าน การเขียน ภาษาไทย ชั้น ป.4/2
ชื่อผู้วิจัย ครูวรรณา มากะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ม.สุชาติ ต.วิเชียร
เค้าโครงการทำวิจัยในชั้นเรียน มี ไม่มี
ที่มาความสำคัญของการวิจัย มี ไม่มี
ออกแบบเก็บข้อมูล เสร็จ ไม่เสร็จ
เก็บข้อมูลเรียบร้อย เสร็จ ไม่เสร็จ
แปลผลและอภิปรายผล เสร็จ ไม่เสร็จ
สรุปเป็นรูปเล่ม เสร็จ ไม่เสร็จ
(ครูวรรณา มากะ)
ผู้วิจัย
(ม.สุชาติ ต.วิเชียร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
ประกาศคุณูปการ
งาน วิจัยฉบับนี้ เป็นการศึกษาวิจัย นักเรียนในชั้นเรียน ป.4/2 เกี่ยวกับการเรียน การสอน ในเรื่องการอ่าน การเขียนภาษาไทย โดยการวิจัยในครั้งนี้ ได้ทำแบบฝึกหัดที่ หลากหลาย เพื่อฝึกการอ่าน การเขียน ให้กับนักเรียนที่มีปัญหาในการอ่าน และการเขียนภาษาไทย ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ ในการทำวิจัย ณ โอกาสนี้ด้วย
ครูวรรณา มากะ
ผู้วิจัย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง
ชื่องานวิจัย ศึกษาการอ่าน การเขียน ภาษาไทย ชั้น ป.4/2
ชื่อผู้วิจัย ครูวรรณา มากะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ม.สุชาติ ต.วิเชียร
บทคัดย่อ
งาน การวิจัยเกี่ยวกับ การอ่าน การเขียนภาษาไทย ชั้น ป.4/2 ฉบับนี้ ข้าพเจ้าผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนครู และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาในด้านการอ่าน การเขียนภาษาไทย ให้เกิดการเรียนรู้และมีทักษะทางด้าน การอ่าน และการเขียนมากยิ่งขึ้น
เรื่อง
ศึกษาการอ่าน การเขียน ภาษาไทย ชั้น ป.4/2
ผู้วิจัย
ครูวรรณา มากะ
กลุ่มสาระเรียนรู้ ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2546
โดยได้รับความเห็นชอบจาก
ประธาน
(ภราดา จักรกรี อินธิเสน)
อาจารย์ที่ปรึกษา
(ม.สุชาติ ต.วิเชียร)
แบบฟอร์มรายงานการวิจัยชั้นเรียน ปีการศึกษา 2546
ชื่องานวิจัย ศึกษาการอ่าน การเขียน ภาษาไทย ชั้น ป.4/2
ชื่อผู้วิจัย ครูวรรณา มากะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ม.สุชาติ ต.วิเชียร
เค้าโครงการทำวิจัยในชั้นเรียน มี ไม่มี
ที่มาความสำคัญของการวิจัย มี ไม่มี
ออกแบบเก็บข้อมูล เสร็จ ไม่เสร็จ
เก็บข้อมูลเรียบร้อย เสร็จ ไม่เสร็จ
แปลผลและอภิปรายผล เสร็จ ไม่เสร็จ
สรุปเป็นรูปเล่ม เสร็จ ไม่เสร็จ
(ครูวรรณา มากะ)
ผู้วิจัย
(ม.สุชาติ ต.วิเชียร)
อาจารย์ที่ปรึกษา
ประกาศคุณูปการ
งาน วิจัยฉบับนี้ เป็นการศึกษาวิจัย นักเรียนในชั้นเรียน ป.4/2 เกี่ยวกับการเรียน การสอน ในเรื่องการอ่าน การเขียนภาษาไทย โดยการวิจัยในครั้งนี้ ได้ทำแบบฝึกหัดที่ หลากหลาย เพื่อฝึกการอ่าน การเขียน ให้กับนักเรียนที่มีปัญหาในการอ่าน และการเขียนภาษาไทย ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ ในการทำวิจัย ณ โอกาสนี้ด้วย
ครูวรรณา มากะ
ผู้วิจัย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง
ชื่องานวิจัย ศึกษาการอ่าน การเขียน ภาษาไทย ชั้น ป.4/2
ชื่อผู้วิจัย ครูวรรณา มากะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ม.สุชาติ ต.วิเชียร
บทคัดย่อ
งาน การวิจัยเกี่ยวกับ การอ่าน การเขียนภาษาไทย ชั้น ป.4/2 ฉบับนี้ ข้าพเจ้าผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนครู และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาในด้านการอ่าน การเขียนภาษาไทย ให้เกิดการเรียนรู้และมีทักษะทางด้าน การอ่าน และการเขียนมากยิ่งขึ้น
เค้าโครงวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อผู้วิจัย ครูวรรณา มากะ สาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 2
ชื่อเรื่อง ศึกษาการอ่าน การเขียน ภาษาไทย ชั้น ป.4/2
สภาพปัญหา
จาก การสังเกตในชั้นเรียนของครูผู้สอนภาษาไทยพบว่า ด.ช.สมัชญ์ เซียวโช-ลิต, ด.ช. พสิษฐ์ ผาสุข, ด.ช. พิเชฐ ภัทรสุทธิ, ด.ช.เกียรติศักดิ์ กสิกรรม, ด.ช. กานต์ สมนึกแท่น ซึ่งเรียนอยู่ชั้น ป.4/2 ยังอ่านหนังสือภาษาไทยและ เขียนภาษาไทย ไม่คล่องและ ไม่มีทักษะในการอ่าน การเขียน เหตุผลดังกล่าว นักเรียนที่มีชื่อทั้ง 5 คนนี้ จำเป็นต้องฝึกทักษะในการอ่านและ การเขียนให้มากกว่าคนอื่น เพราะวิชาภาษาไทย มีความจำเป็นในชีวิตประจำวันและเป็นพื้นฐานการเรียนในระดับสูงต่อไป
ทางเลือกที่คาดว่าจะแก้ปัญหา
1. ฝึกทักษะในการอ่านและการเขียนสะกดคำ
2. สื่อการเรียนที่ง่ายต่อการเรียน การเข้าใจ
3. ปรับพื้นฐานวิชาภาษาไทย เกี่ยวกับทักษะในการอ่านและการเขียน
จุดประสงค์การวิจัย
1. ให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญ ของการอ่านและการเขียนภาษาไทย
2. เล็งเห็นถึงประโยชน์และมีเจตคติที่ดีต่อการอ่านและการเขียนภาษาไทย
3. สามารถนำทักษะการอ่านและการเขียนไปแสวงหาความรู้ในชีวิตประจำวัน
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
3 พฤศจิกายน 2546 ถึง 31 มกราคม 2547
กรอบแนวความคิด
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
- เพศ
- อายุ
- ระดับชั้น - นักเรียนอ่านหนังสือไม่คล่อง
- นักเรียนเขียนหนังสือ ไม่ถูกต้อง
เพศ หมายถึง นักเรียนชายในชั้น ป.4/2
อายุ หมายถึง นักเรียนชายอายุระหว่าง 9-10 ปี
ระดับชั้น หมายถึง นักเรียนชั้น ป.4/2
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. จัดเตรียมเอกสารแบบฝึกหัดทักษะการอ่าน, การเขียน
2. ปรับแผนการสอนให้สอดคล้องกับงานวิจัย
3. เตรียมการตามแผนการสอนที่ปรับเปลี่ยน
4. สอนโดยวิธีการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา ใช้เทคนิคแบบรายบุคคลและใช้สื่อการเรียนที่สร้างเพิ่มเติมในการจัดกิจกรรมการสอน
5. ตรวจสอบความก้าวหน้าและการพัฒนาการทักษะการอ่าน การเขียนจากแบบฝึกหัด
6. รวบรวมและสรุปผลการวิจัยเพื่อนำเสนอ
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยดังนี้
1. กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนอายุระหว่าง 9 - 10 ปี ที่เรียนอยู่ในชั้น ป. 4/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2546 โดยคัดเลือกเด็กที่อ่านไม่คล่องและเขียนหนังสือผิดมาก ๆ
2. กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเมตตากรุณา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม เพื่อช่วยในการอ่านและการเขียน
2. เป็นแนวทางให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียน และมีทักษะการอ่าน การเขียนมากขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการทดลอง และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม โดยการแนะแนวทางในการอ่าน การเขียน
โดยดำเนินการ 4 ขั้นตอนคือ
1. ชี้ให้ชัดถึงความถูกต้องในการอ่าน การเขียน
2. ชักชวนให้ปฏิบัติ
3. ปฏิบัติด้วยความเหมาะสม
4. สนุกสนานในการเรียน มีนิสัยรักการอ่านและการเขียน
ใช้เวลาจัดการอ่าน การเขียนประมาณ 15 นาที
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกการสังเกต แบบฝึกหัด
การสร้างแบบฝึกหัด ดังนี้
1. ศึกษาจากตำรา
2. นำแบบฝึกหัดมาทดลองใช้
ตารางการทำวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อผู้วิจัย ครูวรรณา มากะ
ชื่องานวิจัย ศึกษาการอ่าน การเขียนภาษาไทย ระดับชั้น ป. 4/2
วัน / เดือน / ปี รายงาน / หัวข้อที่ปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา
พฤศจิกายน 1. ชื่อเรื่องที่จะทำการวิจัย
พฤศจิกายน 2. การเขียนเค้าโครงเรื่อง
พฤศจิกายน-ธันวาคม 3. เอกสารหรือหลักฐานที่จะมาอ้างอิง
พฤศจิกายน-ธันวาคม 4. ขั้นตอนในการดำเนินงาน
พฤศจิกายน-ธันวาคม 5. สังเกตพฤติกรรม
มกราคม 6. รวบรวมและสรุปผลการวิจัยเพื่อนำเสนอ
ข้อคิดที่ได้จากการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจจะนำไปประยุกต์ใช้
ผลจากการวิจัย พบว่า เด็กสามารถอ่านได้คล่องขึ้นและเขียนได้ดีขึ้นกว่าเดิม ผู้ที่สนใจสามารถนำแบบฝึกหัดนี้ไปใช้ได้
รายงานผลการวิจัย
สรุปผลการวิจัย
จาก ตารางสรุปผลการวิจัยเรื่อง ศึกษาการอ่านและการเขียนภาษาไทย ชั้น ป.4/2 จำนวน 5 คนจากการทำวิจัยการอ่าน โดยการฝึกจากแบบฝึกจำนวน 4 ใบงานผลปรากฏว่า
1. เด็กชายสมัชญ์ เซียวโชลิต หลังจากฝึกอ่านครบ 4 ใบงานแล้ว มีพัฒนาการดีขึ้นโดยลำดับ อยู่ในเกณฑ์ดี
2. เด็ก ชายพสิษฐ์ ผาสุข หลังจากฝึกอ่านครบ 4 ใบงานแล้วมีพัฒนาการอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ยังมีปัญหาอยู่บ้างว่า ถ้าเป็นคำที่ยากจะยังอ่านไม่ได้ เห็นสมควรว่า ควรนำคำยากมาให้ฝึกอ่านเพิ่มเติมอีกต่อไป
3. เด็กชายพิเชฐ ภัทรสุทธิ จากการฝึกอ่านครบ 4 ใบงานแล้ว มีพัฒนาการอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ดูคะแนนจากตารางจะเห็นว่าได้คะแนนสูงต่ำ สูงต่ำสลับกันเห็นสมควรว่า ควรฝึกอ่านเพิ่มเติมอีกต่อไปในเทอมหน้า
4. เด็กชายเกียรติศักดิ์ กสิกรรม จากการฝึกอ่านครบ 4 ใบงานแล้ว มีพัฒนาการอยู่ในเกณฑ์พอใช้ เห็นสมควรให้ฝึกอ่านเพิ่มเติมอีกต่อไปในเทอมหน้า
5. เด็กชายกานต์ สมนึกแท่น หลังจากฝึกอ่านครบ 4 ใบงานแล้ว มีพัฒนาการดีขึ้นตามลำดับ อยู่ในเกณฑ์ดี
จากการทำวิจัย การเขียนโดยการฝึก จากแบบฝึกหัด จำนวน 4 ใบงานผลปรากฏว่า
1. เด็ก ชายสมัชญ์ เซียวโชลิต หลังจากฝึกเขียนครบ 4 ใบงานแล้ว มีผลการพัฒนาการอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ดูคะแนนจากตารางจะเห็นว่าคะแนนที่ได้สูงต่ำ สลับกันไปคะแนนยังไม่คงที่ เห็นสมควรว่า ควรฝึกเขียนอีกต่อไปในเทอมหน้า
2. เด็กชายพสิษฐ์ ผาสุข หลังจากฝึกเขียนครบ 4 ใบงานแล้ว มีผลพัฒนาการอยู่ในเกณฑ์พอใช้ จากตารางคะแนนที่บันทึกจะเห็นว่า คะแนนที่ได้จะคงที่แต่ถ้า จะให้ดีควรฝึกเขียนเพิ่มเติมอีกต่อไปในเทอมหน้า
3. เด็กชายพิเชฐ ภัทรสุทธิ จากการฝึกเขียนครบ 4 ใบงานแล้ว มีผลพัฒนาการขึ้นตามลำดับ อยู่ในเกณฑ์ดี
4. เด็ก ชายเกียรติศักดิ์ กสิกรรม หลังจากฝึกเขียนครบ 4 ใบงานแล้ว มีพัฒนาการอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ เห็นสมควรให้ทำการฝึกเขียนอีกต่อไปในเทอมหน้า
5. เด็กชายกานต์ สมนึกแท่น จากการฝึกเขียนครบ 4 ใบงานแล้ว มีพัฒนาการค่อนข้างดีขึ้นโดยลำดับ อยู่ในเกณฑ์ดี
จาก การฝึกการอ่านและการเขียน โดยรวมจะเห็นว่านักเรียนที่ได้รับการฝึกมีพัฒนาการทางภาษาไทยดีขึ้น จึงควรนำผลการวิจัยนี้ไปใช้กับเด็กนักเรียนกลุ่มอื่น ๆ อีกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น